วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 125, 126, 127, 128, 129, 130, 131 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน สจฺเจน ได้แก่ ด้วยความจริงใด
คือด้วยสภาวะใด. บทว่า ธมฺมจารี ได้แก่ ผู้ประพฤติธรรมคือกุศลกรรมบถ
สิบ. บทว่า สจฺจวาที ความว่า ไม่กล่าวมุสาวาท แม้ด้วยการหัวเราะ.
บทว่า มาตาเปติภโร ความว่า เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน เลี้ยงดูบิดามารดา
ตลอดคืนวัน. บทว่า กุเล เชฏฺฐาปจฺจายิโก ความว่า เป็นผู้กระทำสักการะ
แก่บิดาเป็นต้นผู้เจริญที่สุด.

เมื่อมารดาทำสัจจกิริยาด้วยเจ็ดคาถาอย่างนี้ สามกุมารก็พลิกตัวกลับ
นอนต่อไป ลำดับนั้น บิดาคิดว่า ลูกของเรายังมีชีวิตอยู่ เราจักทำสัจจกิริยา
บ้าง จึงได้ทำสัจจกิริยาอย่างนั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

บิดาผู้ระทมจิตด้วยความโศกถึงบุตร ได้เห็น
สามะผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ได้
กล่าวคำสัจว่า ลูกสามะนี้ได้เป็นผู้ประพฤติธรรมเป็น
ปกติ ได้เป็นผู้ประพฤติดังพรหมเป็นปกติ ได้เป็นผู้
กล่าวคำจริงมาแต่ก่อน ได้เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดา ได้
เป็นผู้ประพฤติยำเกรงต่อท่านผู้เจริญในสกุล เป็นผู้

เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเรา โดยความจริงใด ๆ ด้วย
การกล่าวความจริงนั้น ๆ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป
บุญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลูกสามะกระทำแล้วแก่เราและ
แก่มารดาของเธอ มีอยู่ ด้วยอานุภาพกุศลบุญนั้น
ทั้งหมด ขอพิษของลูกสามะจงหายไป.

เมื่อบิดาทำสัจจกิริยาอยู่อย่างนี้ พระมหาสัตว์พลิกตัวอีกข้างหนึ่งนอน
ต่อไป ลำดับนั้น เทพธิดาผู้มีนามว่าพสุนธรีได้ทำสัจจกิริยาลำดับที่สามแก่
พระมหาสัตว์นั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางพสุนธรีเทพธิดา อันตรธานไปจากภูเขา
คันธมาทน์ มากล่าวสัจจวาจาด้วยความเอ็นดูสามกุมาร
ว่า เราอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ตลอดราตรีนาน ใคร ๆ
อื่นซึ่งเป็นที่รักของเรากว่าสามกุมาร ไม่มี ของหอม
ล้วนแล้วด้วยไม้หอมทั้งหมด ณ คันธมาทน์บรรพต
มีอยู่ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอพิษของสามกุมารจงหายไป
เมื่อฤาษีทั้งสองบ่นเพ้อรำพันเป็นอันมากน่าสงสาร
สามกุมารผู้หนุ่มงดงามน่าทัศนา ก็ลุกขึ้นเร็วพลัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพตฺยาหํ ตัดบทเป็น ปพฺพเต อหํ
ความว่า เราอยู่ ณ บรรพต. บทว่า วนมยา ได้แก่ ล้วนแล้วไปด้วยต้นไม้
มีกลิ่นหอม ที่ภูเขานั้นไม่มีต้นไม้อะไร ๆ ที่ไม่มีกลิ่นหอมเลย. บทว่า เตสํ
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อฤาษีทั้งสองนั้นบ่นเพ้อรำพันกันอยู่นั่นแล

สามกุมารได้ลุกขึ้นเร็วพลัน ในกาลที่เทพธิดาทำสัจจกิริยาจบลง ความเจ็บป่วย
ของสามกุมารนั้นได้คลายหายไปเหมือนน้ำกลิ้งจากใบบัว ไม่ปรากฏแผลที่ถูก
ยิงว่า ถูกยิงตรงนี้ ถูกยิง ณ ที่นี้.

อัศจรรย์ทั้งปวงคือ พระมหาสัตว์หายโรค ฤาษีผู้เป็นบิดามารดาได้
ดวงตากลับเห็นเป็นปกติ แสงอรุณขึ้น และท่านทั้งสี่เหล่านั้นปรากฏที่อาศรม
ได้มีขึ้นในขณะเดียวกันทีเดียว บิดามารดาทั้งสองได้ดวงตาดีเป็นปกติแล้ว
ยินดีอย่างเหลือเกินว่า ลูกสามะหายโรค ลำดับนั้น สามบัณฑิตได้กล่าวกะท่าน
เหล่านั้นด้วยคาถานี้ว่า

ข้าพเจ้ามีนามว่าสามะ ขอความเจริญจงมีแก่
ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าลุกขึ้นได้แล้วโดยสวัสดี ขอ
ท่านทั้งหลายอย่าคร่ำครวญนักเลย จงพูดกะข้าพเจ้า
ด้วยเสียงอันไพเราะเถิด.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์แลเห็นพระราชา เมื่อจะทูลปฏิสันถาร จึง
กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง
พระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์ผู้มี
อิสระเสด็จมาถึงแล้ว ขอจงทรงทราบสิ่งที่มีอยู่ในที่นี้
ข้าแต่มหาบพิตร เชิญเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด ผล
มะซาง และผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้เล็กน้อย

ขอได้โปรดเลือกเสวยผลที่ดี ๆ เถิด ข้าแต่มหาบพิตร
ขอจงทรงดื่มน้ำซึ่งเป็นน้ำเย็น นำมาแต่มิคสัมมตานที
ซึ่งไหลจากซอกเขา ถ้าทรงพระประสงค์.
ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์นั้น จึงตรัสว่า

ข้าพเจ้าหลงเอามาก หลงเอาจริง ๆ มืดไป
ทั่วทิศ ข้าพเจ้าได้เห็นสามบัณฑิตนั้นทำกาลกิริยาแล้ว
ทำไมท่านเป็นได้อีกเล่าหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปตํ ความว่า ได้เห็นสามบัณฑิตทำ
กาลกิริยาแล้ว. บทว่า โก นุ ตฺวํ ความว่า พระราชาตรัสถามว่า ท่าน
กลับเป็นขึ้นมาได้อย่างไรหนอ.

ฝ่ายสามบัณฑิตดำริว่า พระราชาทรงกำหนดเราว่าตายแล้ว เราจัก
ประกาศความที่เรายังไม่ตายแก่พระองค์ จึงทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกย่อมสำคัญซึ่งบุคคลผู้ยัง
มีชีวิตอยู่ เสวยเวทนาอย่างหนัก มีความดำริในใจ
เข้าไปใกล้แล้ว ยังเป็นอยู่แท้ ๆ ว่าตายแล้ว ข้าแต่
มหาราชเจ้า โลกย่อมสำคัญซึ่งบุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่
เสวยเวทนาอย่างหนัก ถึงความดับสนิทระงับแล้วนั้น
ยังเป็นอยู่แท้ ๆ ว่าตายแล้ว.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ ชีวํ ได้แก่ ยังเป็นอยู่แท้ ๆ. บทว่า
อุปนีตมนสงฺกปฺปํ ได้แก่ มีจิตวาระหยั่งลงในภวังค์. บทว่า ชีวนฺตํ
แปลว่า ยังมีชีวิตอยู่จริง ๆ. บทว่า มญฺญเต ความว่า โลกนี้ย่อมสำคัญว่า
ผู้นี้ตายแล้ว. บทว่า นิโรธคตํ ความว่า สามบัณฑิตกล่าวว่า โลกย่อมสำคัญ
ซึ่งบุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่ มีอัสสาสะปัสสาสะ ถึงความดับสนิท ระงับแล้วยัง
เป็นอยู่แท้ ๆ เช่นข้าพระองค์ ว่าตายแล้วอย่างนี้.

ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ประสงค์จะประกอบพระราชา
ไว้ในประโยชน์ เมื่อแสดงธรรมจึงได้กล่าวคาถาอีกสองคาถาว่า

บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมแก้ไขคุ้มครองบุคคลผู้เลี้ยงดูบิดา
มารดานั้น บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม นัก-
ปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้นั้นในโลกนี้
บุคคลนั้นละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงอยู่ใน
สวรรค์.

พระราชาได้สดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า น่าอัศจรรย์หนอ แม้เทวดา
ทั้งหลายก็เยียวยาโรคที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เลี้ยงดูบิดามารดา สามบัณฑิตนี้
งดงามเหลือเกิน ทรงดำริฉะนี้แล้ว ประคองอัญชลีตรัสว่า

ข้าพเจ้านี้หลงเอามากจริง ๆ มืดไปทั่วทิศ
ท่านสามบัณฑิต ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นสรณะ และ
ขอท่านจงเป็นสรณะของข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิยฺโย ความว่า เพราะข้าพเจ้าได้ทำผิด
ในผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมเช่นท่าน ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงหลงเอา
จริง ๆ เหลือเกิน. บทว่า ตฺวญฺจ เม สรณํ ภว ความว่า ข้าพเจ้าขอ
ถึงท่านเป็นสรณะ และขอท่านจงเป็นสรณะ คือจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าผู้ขอ
ถึงสรณะ คือขอท่านจงทำข้าพเจ้าให้ไปเทวโลก.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าพระองค์
มีพระประสงค์เสด็จสู่เทวโลก มีพระประสงค์บริโภคทิพยสมบัติใหญ่ จงทรง
ประพฤติในทศพิธราชธรรมจรรยาเหล่านี้เถิด เมื่อจะถวายโอวาทแด่พระราชา
จึงได้กล่าวคาถาอันว่าด้วยการประพฤติทศพิธราชธรรมว่า

ข้าแต่ขัตติยมหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติ-
ธรรมในพระชนกพระชนนี ในพระโอรสและ
พระมเหสี ในมิตรและอมาตย์ ในพาหนะและพล
นิกาย ในชาวบ้านและชาวนิคม ในชาวแว่นแคว้น
และชาวชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในฝูงมฤค
และฝูงปักษีเถิด ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรม

นั้น ๆ ในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่
มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด ธรรม
ที่พระองค์ทรงประพฤติแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้
ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จัก
เสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรง

ประพฤติธรรมเถิด พระอินทร์ เทพเจ้าพร้อมทั้ง
พระพรหมถึงแล้วซึ่งทิพยสถาน ด้วยธรรมที่ประพฤติ
ดีแล้ว ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์อย่าทรงประมาท
ธรรม.

ก็เนื้อความของคาถาเหล่านี้ มีกล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสกุณชาดก
นั้นแล.
พระมหาสัตว์แสดงธรรมถวายพระราชาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะถวายโอวาท
ยิ่งขึ้น ได้ถวายเบญจศีล พระราชาทรงรับโอวาทของพระมหาสัตว์นั้นด้วย
พระเศียร ทรงไหว้พระโพธิสัตว์ ขอขมาโทษพระโพธิสัตว์แล้วเสด็จกลับกรุง
พาราณสี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมีทานเป็นต้น ทรงรักษาเบญจศีลครองราช
สมบัติโดยธรรมโดยเสมอ ในที่สุดแห่งพระชนม์ ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปใน

เบื้องหน้า ฝ่ายพระโพธิสัตว์ปฏิบัติบำรุงบิดามารดา ยังอภิญญาและสมาบัติ
ให้บังเกิดพร้อมด้วยบิดามารดา มิได้เสื่อมจากฌาน ในที่สุดแห่งอายุได้เข้าถึง
พรหมโลกพร้อมด้วยบิดามารดานั้นแล.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ชื่อว่าการเลี้ยงดูบิดามารดาเป็นวงศ์ของบัณฑิตทั้งหลาย ตรัสฉะนี้
แล้ว ทรงประกาศอริยสัจสี่ประชุมชาดก ในเวลาเทศนาอริยสัจสี่จบลง ภิกษุ
นั้นบรรลุโสดาปัตติผล พระราชาปิลยักขราช ในกาลนั้นกลับชาติมาเป็นภิกษุ
ชื่ออานนท์ในกาลนี้ พสุนธรีเทพธิดาเป็นภิกษุณีชื่ออุบลวรรณา ท้าวสักก-

เทวราชเป็นภิกษุชื่ออนุรุทธะ ทุกูลบัณฑิตผู้บิดาเป็นภิกษุชื่อมหากัสสปะ
นางปาริกาผู้มารดาเป็นภิกษุณีชื่อภัททกาปิลานี ก็สุวรรณสามบัณฑิต
คือเราผู้สัมมาสัมพุทธะนี้เองแล.
จบ สุวรรณสามชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เนมิราชชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระราชอุทยานอัมพวัน ของพระเจ้า
มฆเทวราช ทรงอาศัยกรุงมิถิลาเป็นที่ภิกษาจาร ทรงปรารภการทำความแย้ม
พระโอฐให้ปรากฏ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อจฺเฉรํ วต โลกสฺมึ ดังนี้
เป็นต้น.

เรื่องย่อมีว่า วันหนึ่ง พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จจาริก
ไปในอัมพวันนั้นในเวลาเย็น ทอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศแห่งหนึ่งเป็นรมณี-
ยสถาน ทรงใคร่จะตรัสบุรพจริยาของพระองค์ จึงทรงแย้มพระโอฐ ท่านพระ
อานนทเถระ กราบทูลถามเหตุที่ทรงแย้มพระโอฐ จึงมีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อน

อานนท์ ภูมิประเทศนี้เราเคยอาศัยอยู่ เจริญฌานในกาลที่เราเสวยชาติเป็นมฆ-
เทวราชา ตรัสดังนี้แล้วก็ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลวิงวอน
เพื่อให้ทรงแสดง จึงประทับนั่ง ณ บวรพุทธาสนะที่ปูลาดไว้ ทรงนำอดีต
นิทานมาแสดง ดังต่อไปนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ณ กรุงมิถิลา แคว้นวิเทหรัฐ ได้
มีพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่ามฆเทวราช พระองค์ทรงเล่นอย่างราชกุมาร
อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ครองไอศวรรย์ ๘๔,๐๐๐ ปี เมื่อเสวยราชย์เป็นพระราชา-
ธิราชได้ ๘๔,๐๐๐ ปี มีพระราชดำรัสกะเจ้าพนักงานภูษามาลาว่า เมื่อใด
เจ้าเห็นผมหงอกในศีรษะเรา เจ้าจงบอกข้าเมื่อนั้น ครั้นกาลต่อมา เจ้าพนัก

งานภูษามาลาได้เห็นเส้นพระศกหงอก จึงกราบทูลแด่พระราชา พระองค์
ตรัสสั่งให้ถอนด้วยแหนบทองคำ ให้วางไว้ในพระหัตถ์ ทอดพระเนตรพระศก
หงอก ทรงพิจารณาเห็นมรณะเป็นประหนึ่งว่ามาข้องอยู่ที่พระนลาต มีพระ-
ดำริว่า บัดนี้เป็นกาลที่จะผนวช จึงพระราชทานบ้านส่วยแก่เจ้าพนักงานภูษา

มาลา แล้วตรัสเรียกพระเชษฐโอรสมา มีพระดำรัสว่า พ่อจงรับครองราชสมบัติ
พ่อจักบวช พระราชโอรสทูลถามถึงเหตุที่จะทรงผนวช เมื่อจะตรัสบอกเหตุ
แก่พระราชโอรส จึงตรัสคาถานี้ว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ผมหงอกที่งอกบนศีรษะของพ่อนี้ นำความหนุ่ม
ไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว คราวนี้จึงเป็นคราว
ที่พ่อจะบวช.

ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็อภิเษกพระราชโอรสในราชสมบัติ แล้วพระราช-
ทานพระโอวาทว่า แม้ตัวเธอเห็นผมหงอกอย่างนี้แล้ว ก็พึงบวช ตรัสฉะนี้
แล้ว เสด็จออกจากพระนคร ทรงผนวชเป็นฤาษี เจริญพรหมวิหาร ๔ ตลอด
๘๔,๐๐๐ ปี บังเกิดในพรหมโลก แม้พระราชโอรสของพระเจ้า
มฆเทวราชก็ทรงผนวชโดยอุบายนั้นแหละ ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้อง
หน้า กษัตริย์ผู้เป็นพระราชโอรสของพระราชาเป็นลำดับมานับได้ ๘๔,๐๐๐

องค์ หย่อน ๒ องค์ ทอดพระเนตรเห็นเส้นพระศกหงอกบนพระเศียร แล้ว
ทรงผนวชในพระราชอุทยานอัมพวันนี้ เจริญพรหมวิหาร ๔ บังเกิดใน
พรหมโลก บรรดากษัตริย์เหล่านั้น กษัตริย์มีพระนามว่ามฆเทวะบังเกิด
ในพรหมโลกก่อนกว่ากษัตริย์ทั้งปวง สถิตอยู่ในพรหมโลกนั่นแหละ ตรวจดู
พระวงศ์ของพระองค์ ทอดพระเนตรเห็นกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ หย่อน ๒

องค์ ผู้บวชแล้ว ก็มีพระมนัสยินดี ทรงพิจารณาว่า เบื้องหน้าแต่นี้ วงศ์
ของเราจักเป็นไป หรือจักไม่เป็นไปหนอ ก็ทรงทราบว่าจักไม่เป็นไป จึง
ทรงคิดว่า เรานี่แหละจักสืบต่อวงศ์ของเรา ก็จุติจากพรหมโลกนั้นลงมาถือ
ปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของพระราชาในกรุงมิถิลา กาลล่วงไป
๑๐ เดือน ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา พระราชาตรัสเรียกพราหมณ์

ทั้งหลายผู้รู้ทำนาย มาถามเหตุการณ์ ในวันขนานพระนามพระราชกุมาร
พราหมณ์ทั้งหลายตรวจดูพระลักษณะแล้ว กราบทูลว่า พระราชกุมารนี้สืบต่อ
วงศ์ของพระองค์เกิดแล้ว ด้วยว่าวงศ์ของพระองค์เป็นวงศ์บรรพชิต ต่อแต่
พระกุมารนี้ไปเบื้องหน้า จักไม่มี พระราชาทรงสดับดังนั้น มีพระดำริว่า
พระราชโอรสนี้สืบต่อวงศ์ของเรามาเกิด ดุจวงล้อรถ ฉะนั้น เราจักขนานนาม


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระโอรสนั้นว่า เนมิกุมาร ทรงดำริฉะนี้แล้ว จึงพระราชทานพระนาม
พระโอรสว่า เนมิกุมาร. พระเนมิกุมารนั้นเป็นผู้ทรงยินดีในการบำเพ็ญรักษา
ศีลและอุโบสถกรรม จำเดิมแต่ยังทรงพระเยาว์ ลำดับนั้น พระราชาผู้พระชนก
ของเนมิราชกุมารนั้น ทอดพระเนตรเห็นเส้นพระศกบนพระเศียรหงอก ก็
พระราชทานบ้านส่วยแก่เจ้าพนักงานภูษามาลา แล้วมอบราชสมบัติแก่พระ-
ราชโอรส ทรงผนวชในพระราชอุทยานอัมพวันนั่นเอง เป็นผู้มีพรหมโลก
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า โดยนัยหนหลังนั่นแล.

ฝ่ายพระเจ้าเนมิราชโปรดให้สร้างโรงทาน ๕ แห่ง คือ ที่ประตู
พระนคร ๔ แห่ง ท่ามกลางพระนคร ๑ แห่ง ยังมหาทานให้เป็นไปด้วยความ
เป็นผู้มีพระอัธยาศัยในทาน พระราชทานทรัพย์ที่โรงทานแห่งละ ๑๐๐,๐๐๐
ทรงบริจาคทรัพย์วันละ ๕๐๐,๐๐๐ กหาปณะ ทุก ๆ วัน ทรงเบญจศีลเป็นนิจ
ทรงสมาทานอุโบสถทุกวันปักษ์ ทรงชักชวนมหาชนในการบำเพ็ญบุญมีให้

ทานเป็นต้น ทรงแสดงธรรมสอนให้ทราบทางสวรรค์ คุกคามประชุมชนให้
กลัวนรก ประชุมชนตั้งอยู่ในพระโอวาทของพระองค์ บำเพ็ญบุญมีให้ทาน
เป็นต้น จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก เทวโลกเต็ม นรกเป็นดุจ
ว่างเปล่า กาลนั้นหมู่เทวดาในดาวดึงสพิภพ ประชุมกัน ณ เทวสถาน ชื่อ

สุธรรมา กล่าวสรรเสริญคุณของพระมหาสัตว์ว่า โอ พระเจ้าเนมิราช
เป็นพระอาจารย์ของพวกเรา ชาวเราทั้งหลายอาศัยพระองค์ จึงได้เสวยทิพย-
สมบัตินี้ แม้พระพุทธญาณก็มิได้กำหนด แม้ในมนุษยโลก มหาชนก็สรรเสริญ
คุณของพระมหาสัตว์ คุณกถาแผ่ทั่วไป ราวกะน้ำมันที่เทราดลงบนหลัง
มหาสมุทร ฉะนั้น.

พระศาสดาเมื่อตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ทรงทำเนื้อความนั้นให้แจ้งชัด จึง
ตรัสว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อใดพระเจ้าเนมิราชผู้เป็นบัณฑิต มีพระประ-
สงค์ด้วยกุศล เป็นพระราชาผู้ปราบข้าศึก ทรงบริจาค
ทานแก่ชาววิเทหะทั้งปวง เมื่อนั้นบุคคลผู้ฉลาดก็ย่อม
เกิดขึ้นในโลก ความเกิดขึ้นของท่านเหล่านั้นน่า
อัศจรรย์หนอ เมื่อพระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญทานนั้น
อยู่ ก็เกิดพระราชดำริขึ้นว่า ทานหรือพรหมจรรย์
อย่างไหนมีผลานิสงส์มาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา อหุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดพระเจ้าเนมิราชผู้เป็นบัณฑิต มีพระประสงค์ด้วยกุศลเพื่อพระองค์ด้วย
เพื่อชนเหล่าอื่นด้วย เมื่อนั้นเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้กล่าวคุณกถาของ
พระเจ้าเนมิราชนั้นอย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์หนอ ที่พุทธญาณยังไม่เกิดขึ้น ก็
มีคนฉลาดสามารถยังพุทธกิจให้สำเร็จแก่มหาชนเห็นปานนี้เกิดขึ้นในโลก.ปาฐะ
ว่า ยถา อหุ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้นมีความว่า พระเจ้าเนมิราช เป็นบัณฑิต มี

พระประสงค์ด้วยกุศลเท่านั้น ฉันใด คนฉลาดทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้น
ยังพุทธกิจให้สำเร็จแก่มหาชน การเกิดขึ้นของคนฉลาดเหล่านั้น นั้นน่า
อัศจรรย์ในโลกหนอ. พระศาสดาทรงเป็นอัจฉริยะเองทีเดียว จึงตรัสอย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้. บทว่า สพฺพวิเทหานํ ได้แก่ ชาววิเทหรัฐทั้งปวง. บทว่า
กตมํ สุ ความว่า บรรดาทานและพรหมจรรย์สองอย่างนี้ อย่างไหนหนอมี
ผลมาก.

ได้ยินว่า พระเจ้าเนมิราชนั้นทรงสมาทานอุโบสถศีล ในวันอุโบสถ
๑๕ ค่ำ ทรงเปลื้องราชาภรณ์ทั้งปวง บรรทมบนพระยี่ภู่มีสิริ หยั่งลงสู่
นิทรารมณ์ตลอดสองยาม ตื่นบรรทมในปัจฉิมยาม ทรงคู้บัลลังก์ขัดสมาธิ
ทรงดำริว่า เราให้ทานไม่มีปริมาณแก่ประชุมชนและรักษาศีล ผลแห่งทาน
บริจาคมีมาก หรือแห่งพรหมจริยาวาสมีผลมากหนอ ทรงดำริฉะนี้ก็ไม่ทรง
สามารถตัดความสงสัยของพระองค์ได้.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ขณะนั้น พิภพแห่งท้าวสักกเทวราชก็แสดงอาการเร่าร้อน ท้าวสักก-
เทวราชทรงอาวัชนาการเหตุนั้น ก็ทรงเห็นพระเจ้าเนมิราชกำลังทรงปริวิตกอยู่
อย่างนั้น จึงคิดว่า เราจักตัดความสงสัยของเธอ จึงเสด็จมาโดยพลันแต่
พระองค์เดียว ทำสกลราชนิเวศน์ให้มีรังสิโยภาสเป็นอันเดียวกัน เข้าสู่ห้อง
บรรทมอันมีสิริ แผ่รัศมีสถิตอยู่ในอากาศ ทรงพยากรณ์ปัญหาที่พระเจ้าเนมิราช
ตรัสถาม.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท้าวมฆวานเทพกุญชรสหัสสเนตรทรงทราบ
พระดำริของพระเจ้าเนมิราช ทรงกำจัดความมืดด้วย
รัศมีปรากฏขึ้น พระเจ้าเนมิราชจอมมนุษย์มีพระโลม
ชาติชูชัน ได้ตรัสกะท้าววาสวะว่า ท่านเป็นเทวดา
หรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะผู้ให้ทานในก่อน

รัศมีของท่านเช่นนั้น ข้าพเจ้ายังไม่เคยเห็น หรือ
ไม่ได้ยินมาเลย ขอท่านจงแจ้งตัวท่าน แก่ข้าพเจ้า ขอ
ความเจริญจงมีแก่ท่าน พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร.
ท้าววาสวะทรงทราบว่าพระเจ้าเนมิราชมีพระโลมชาติ
ชูชัน ได้ตรัสตอบว่า หม่อมฉันเป็นท้าวสักกะจอม-
เทพ มาสู่สำนักพระองค์ท่าน ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอม

มนุษย์ พระองค์อย่าทรงสยดสยองเลย เชิญตรัสถาม
ปัญหาที่ต้องพระประสงค์เถิด. พระเจ้าเนมิราชทรงได้
โอกาสฉะนั้นแล้ว จึงตรัสถามท้าววาสวะว่า ข้าแต่
เทวราชผู้เป็นอิสระแห่งปวงภูต หม่อมฉันขอทูลถาม
พระองค์ท่าน ทานหรือพรหมจรรย์อย่างไหนมีผลา-


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นิสงส์มาก. อมรินทรเทพเจ้าอันนรเทพเนมิราชตรัส
ถามดังนี้ พระองค์ทรงทราบวิบากแห่งพรหมจรรย์
จึงตรัสบอกแก่พระเจ้าเนมิราชผู้ยังไม่ทรงทราบว่า
บุคคลย่อมบังเกิดในขัตติยสกุล เพราะประพฤติพรหม-
จรรย์อย่างต่ำ บุคคลได้เป็นเทพเจ้า เพราะประพฤติ

พรหมจรรย์ปานกลาง บุคคลย่อมหมดจดวิเศษเพราะ
ประพฤติพรหมจรรย์สูงสุด หมู่พรหมเหล่านั้นอัน
ใคร ๆ จะพึงได้เป็น ด้วยการประพฤติวิงวอน ก็หาไม่
ต้องเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือนบำเพ็ญตบธรรม จึงจะได้
บังเกิดในหมู่พรหม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สโลมหฏฺโฐ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พระเจ้าเนมิราชนั้นทอดพระเนตรเห็นแสงสว่าง จึงทรงแลไปใน
อากาศ ก็ทอดพระเนตรเห็นท้าวสักกเทวราชนั้นประดับด้วยทิพยาภรณ์ มี
พระโลมชาติชูชันเพราะความกลัว จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นเทวดาหรือ ดังนี้

เป็นต้น. บทว่า อโลมหฏฺโฐ ความว่า พระองค์อย่าทรงกลัว อย่าทรงมี
พระโลมชาติชูชันเลย จงถามเถิด มหาราช. บทว่า วาสวํ อวจ ความว่า
ทรงมีพระทัยยินดีได้ตรัสแล้ว. บทว่า ชานํ อกฺขาสิชานโต ความว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราชนั้น ทรงทราบวิบากแห่งพรหมจรรย์ ซึ่ง
เคยทรงเห็นประจักษ์ด้วยพระองค์เองในอดีตภพ จึงได้ตรัสบอกแก่พระเจ้า
เนมิราชผู้ยังไม่ทรงทราบ.

ในบทว่า หีเนน เป็นต้นมีวินิจฉัยว่า ในลัทธิเดียรถีย์โดยมาก
ศีลเพียงเมถุนวิรัติ ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างต่ำ ผู้บำเพ็ญย่อมเกิดในขัตติยสกุล
ด้วยพรหมจรรย์อย่างต่ำนั้น การได้อุปจารฌาน ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างกลาง

ผู้บำเพ็ญย่อมเกิดเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลางนั้น ก็การให้สมาบัติ
แปดเกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างสูงสุด ผู้บำเพ็ญย่อมบังเกิดในพรหมโลกด้วย
พรหมจรรย์อย่างสูงสุดนั้น ชนภายนอกพระพุทธศาสนากล่าวพรหมจรรย์อย่าง
สูงสุดนั้นว่านิพพาน ผู้บำเพ็ญย่อมบริสุทธิ์ด้วยนิพพานนั้น.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แต่ในพระพุทธศาสนานี้ ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปรารถนาเทพนิกาย
อย่างใดอย่างหนึ่ง พรหมจรรย์ของเธอชื่อว่าต่ำ เพราะเจตนาต่ำ เธอย่อม
บังเกิดในเทวโลกตามผลที่เธอปรารถนานั้น ก็การที่ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ยัง
สมาบัติแปดให้บังเกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างกลาง เธอย่อมบังเกิดในพรหมโลก
ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลางนั้น การที่ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์เจริญวิปัสสนายัง
อรหัตมรรคให้บังเกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างสูงสุด เธอย่อมบริสุทธิ์ด้วย
พรหมจรรย์อย่างสูงสุดนั้น.

บทว่า กายา ได้แก่ หมู่พรหม. บทว่า ยาจโยเคน ได้แก่
ด้วยประกอบการขอร้อง หรือด้วยประกอบการวิงวอน อธิบายว่า ด้วย
ประกอบการบูชายัญ บทนี้เป็นชื่อของผู้ให้นั่นเอง แม้ด้วยประการทั้งสอง.
บทว่า ตปสฺสิโน ได้แก่ ผู้อาศัยตบะ.

ท้าวสักกเทวราชตรัสสรรเสริญว่า ดูก่อนพระมหาราช การประพฤติ
พรหมจรรย์เป็นคุณมีผลมากกว่าทาน ร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า ด้วยประการฉะนี้
ครั้นทรงแสดงความที่การอยู่พรหมจรรย์เป็นคุณมีผลมากด้วยคาถาแม้นี้แล้ว
บัดนี้จะทรงแสดงพระราชาทั้งหลายในอดีต ผู้บริจาคมหาทานแล้วไม่สามารถ
จะก้าวล่วงกามาพจรไปได้ จึงตรัสว่า

พระราชาเหล่านี้ คือ พระเจ้าทุทีปราช พระเจ้า
สาครราช พระเจ้าเสลราช พระเจ้ามุจลินทราช
พระเจ้าภคีรสราช พระเจ้าอุสินนรราช พระเจ้า
อัตถกราช พระเจ้าอัสสกราช พระเจ้าปุถุทธนราช
และกษัตริย์เหล่าอื่นกับพราหมณ์เป็นอันมาก บูชายัญ
มากมาย ก็ไม่ล่วงพ้นความละโลกนี้ไป.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คาถานั้นมีความว่า ดูก่อนมหาราช พระราชาพระนามว่า ทุทีปราช
ณ กรุงพาราณสีในกาลก่อน ทรงบริจาคทานเป็นอันมาก สวรรคตแล้วบังเกิด
ในสวรรค์ชั้นกามาพจรนั่นแล พระราชาแปดองค์มีพระเจ้าสาครราชเป็นต้น
ก็เหมือนกัน ก็พระราชามหากษัตริย์และพราหมณ์อื่น ๆ เหล่านี้มากมาย ได้

บูชายัญเป็นอันมาก บริจาคทานมีประการไม่น้อย ก็ไม่ล่วงพ้นความละโลกนี้
กล่าวคือกามาวจรภูมิไปได้ จริงอยู่เหล่าเทพชั้นกามาพจร เรียกกันว่า เปตะ
เพราะสำเร็จได้โดยอาศัยผู้อื่น เพราะเหตุกิเลสวัตถุมีรูปเป็นต้น สมด้วย
พระพุทธภาษิตว่า

ชนเหล่าใดไม่มีเพื่อนสอง อยู่คนเดียว ย่อมไม่
รื่นรมย์ ย่อมไม่ได้ปีติเกิดแต่วิเวก ชนเหล่านั้นถึงจะ
มีโภคสมบัติเสมอด้วยพระอินทร์ ก็ชื่อว่าเป็นคนเข็ญใจ
เพราะได้ความสุขที่ต้องอาศัยผู้อื่น.

ท้าวสักกเทวราชทรงแสดงความที่ผลแห่งพรหมจรรย์นั่นแล เป็นของ
มากกว่าผลแห่งทาน แม้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงดาบสผู้ก้าวล่วง
เปตภพด้วยการอยู่พรหมจรรย์ บังเกิดในพรหมโลก จึงตรัสว่า
ฤาษีผู้ไม่มีเหย้าเรือนเหล่านี้บำเพ็ญตบธรรม ได้ก้าว-
ล่วงกามาวจรภพแล้วโดยแท้ คือ ฤาษี ๗ ตน อันมี
นามว่า ยามหนุฤาษี โสมยาคฤาษี มโนชวฤาษี
สมุททฤาษี มาฆฤาษี ภรตฤาษี และกาลปุรักขิตฤาษี

และฤาษีอีก ๔ ตน คือ อังคีรสฤาษี กัสสปฤาษี
กีสวัจฉฤาษี และอกันติฤาษี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติวตฺตึสุ ได้แก่ ก้าวล่วงกามาวจรภพ.
บทว่า ตปสฺสิโน ความว่า อาศัยตบะคือศีล และตบะคือสมาบัติแปด. บทว่า
สตฺติสโย ท่านกล่าวหมายเอาฤาษีพี่น้องกัน ๗ ตน มียามหนุฤาษีเป็นต้น
ฤาษีเหล่านี้กับฤาษี ๔ ตน มีอังคีรสฤาษีเป็นต้น รวมเป็นฤาษี
๑๑ ตน.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท้าวสักกเทวราชตรัสสรรเสริญพรหมจริยวาสว่ามีผลมาก ตามที่ได้
สดับมาอย่างนี้ก่อน บัดนี้ เมื่อทรงนำเรื่องที่เคยทรงเห็นด้วยพระองค์เองมา
จึงตรัสว่า

แม่น้ำชื่อสีทามีอยู่ทางด้านทิศอุดร เป็นแม่น้ำลึก
ข้ามยาก กาญจนบรรพตมีสีประหนึ่งไฟที่ไหม้ไม้อ้อ
โชติช่วงอยู่ในกาลทุกเมื่อ ที่ฝั่งแม่น้ำนั้นมีต้นกฤษณา
งอกงาม มีภูเขาอื่นอีกมีป่าไม้งอกงาม แต่ก่อนมามี
ฤาษีเก่าแก่ประมาณหมื่นตน อาศัยอยู่ในภูมิประเทศ
นั้น หม่อมฉันเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยทาน ด้วย
สัญญมะและทมะ หม่อมฉันอุปัฏฐากดาบสเหล่านั้น

ผู้ปฏิบัติวัตรจริยาไม่มีวัตรอื่นยิ่งกว่า ละหมู่คณะไปอยู่
ผู้เดียว มีจิตมั่นคง หม่อมฉันจักนมัสการนรชนผู้
ปฏิบัติตรง จะมีชาติก็ตาม ไม่มีชาติก็ตาม เป็นนิตย
กาล เพราะสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
วรรณะทั้งปวงที่ตั้งอยู่ในอธรรม ย่อมตกนรกเบื้องต่ำ
วรรณะทั้งปวงย่อมบริสุทธิ์ เพราะประพฤติธรรม
สูงสุด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตเรน ความว่า ดูก่อนมหาราช
ในอดีตกาล มีแม่น้ำชื่อว่าสีทาไหลมาระหว่างสุวรรณบรรพตทั้งสอง ใน
หิมวันตประเทศด้านทิศอุดร เป็นแม่น้ำลึก ยานมีเรือเป็นต้นข้ามยาก เพราะ
เหตุไร เพราะแม่น้ำนั้นมีน้ำใสยิ่ง แม้เพียงแต่แววหางนกยูงตกในแม่น้ำนั้น
ก็ไม่ลอยอยู่ จมลงถึงพื้นทีเดียวเพราะน้ำใส ด้วยเหตุนั้นแหละ แม่น้ำนี้จึงมี

ชื่อว่า สีทา ก็กาญจนบรรพตเหล่านั้นใกล้ฝั่งแห่งแม่น้ำนั้นมีพรรณดุจไฟไหม้
ไม้อ้อโชติช่วง คือ สว่างอยู่ทุกเมื่อ. บทว่า ปรุฬฺหคจฺฉา ตครา ความว่า
ริมฝั่งแม่น้ำนั้นมีต้นกฤษณางอกงาม เป็นกฤษณาที่มีกลิ่นหอม. บทว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปรุฬฺหคจฺฉา วนา นคา ความว่า ภูผาอื่น ๆ ในที่นั้นมีพื้นที่งอกงามไป
ด้วยหมู่ไม้ อธิบายว่า ปกคลุมไปด้วยพฤษชาติทรงดอกและผล. บทว่า ตตฺราสุํ
ความว่า มีฤาษีนับด้วยหมื่นอาศัยอยู่ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์นั้น ท่านเหล่านั้น
ทั้งหมดล้วนได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ บรรดาฤาษีเหล่านั้น ถึงเวลาภิกษาจาร

บางพวกไปถึงอุตตรกุรุทวีป บางพวกนำผลชมพู่ใหญ่มา บางพวกนำผลไม้
น้อยใหญ่ที่มีรสหวานในหิมวันตประเทศมาฉัน บางพวกไปสู่นครนั้น ๆ ใน
พื้นชมพูทวีป แม้ตนหนึ่งที่ถูกตัณหาในรสครอบงำ ก็ไม่มี ท่านเหล่านั้นยัง
กาลเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขในฌานเท่านั้น.

ครั้งนั้น มีดาบสรูปหนึ่งมาสู่กรุงพาราณสีทางอากาศ นุ่งห่มเรียบร้อย
เที่ยวบิณฑบาตถึงประตูเรือนแห่งปุโรหิต ปุโรหิตนั้นเลื่อมใสในความสงบของ
ท่าน นำท่านมาสู่ที่อยู่ของตนให้ฉันแล้ว ปฏิบัติอยู่สองสามวัน เมื่อเกิดความ
คุ้นเคยกันจึงถามว่า ผู้เป็นเจ้าอยู่ที่ไหน ท่านตอบว่าอยู่ในที่โน้น ปุโรหิต
จึงถามต่อไปว่า ผู้เป็นเจ้าอยู่ในที่นั้นรูปเดียว หรือรูปอื่น ๆ ก็มีอยู่ ท่าน

ตอบว่า พูดอะไร ฤาษีนับด้วยหมื่นอยู่ในที่นั้น ล้วนแต่ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ
๘ กันทั้งนั้น ปุโรหิตได้ฟังคุณสมบัติของฤาษีเหล่านั้นจากดาบสรูปนั้น จิตก็
น้อมไปในบรรพชา จึงกล่าวกะดาบสนั้นว่า ขอผู้เป็นเจ้าโปรดพาข้าพเจ้าไป
บวชในที่นั้นเถิด ท่านกล่าวว่า เธอเป็นราชบุรุษ อาตมาไม่อาจให้บวชได้

ปุโรหิตจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น วันนี้ข้าพเจ้าจะทูลลาพระราชา พรุ่งนี้ผู้เป็นเจ้า
โปรดมาที่นี้ ดาบสนั้นรับคำ ฝ่ายปุโรหิตบริโภคอาหารเช้าแล้วเข้าเฝ้าพระราชา
กราบทูลว่า ข้าพระบาทปรารถนาจะบวช พระราชาตรัสถามว่า ท่านอาจารย์
จะบวชด้วยเหตุไร ปุโรหิตกราบทูลว่า ด้วยเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็น

อานิสงส์ในเนกขัมม์ พระราชาทรงอนุญาตว่า ถ้าเช่นนั้น จงบวชเถิด แม้
บวชแล้วจงมาเยี่ยมเราบ้าง ปุโรหิตรับพระโองการแล้วถวายบังคมพระราชา
กลับไปสู่เรือนของตน พร่ำสอนบุตรภรรยา มอบสมบัติทั้งปวง ถือบรรพชิต


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 125, 126, 127, 128, 129, 130, 131 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร