วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คคห. นี้

อ้างคำพูด:
Rosarin

กิเลสตัวเองเดี๋ยวนี้ดับไปแสนโกฏิขณะแล้ว ลืมตาปริบๆ ก็มีกิเลสใหม่ ถึงแสนล้านขณะตลอดเวลา บังคับให้มันไม่ดับได้ไหม จะไปทำวิเศษวิโสยังไง ก็รู้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ทศพลญาณ ยังคิดไม่ได้อีกอยู่ดอกหรือคะ

มันดับไปแล้วนับไม่ถ้วนเนี่ย แปลว่า ละชั่วไม่ได้แล้ว ดับเนี่ยหายไปเลย ในมโนทวารวิถี ถอนออกตอนไหน กระพริบตาคือแสนโกฏิขณะใหม่หมดไปตลอด

viewtopic.php?f=1&t=57275&p=441194#p441194



สองแถวล่าง ชัดเจนที่ว่า กิเลสดับหายไปแล้ว จะไถ่ถอนอกุศลจิต,อกุศลธรรม ความชั่วออกตอนไหนได้ ก็มันดับไปแล้วนะ ประมาณนี้ เท่ากับปฏิเสธข้อปฏิบัติทุกอย่าง่ ไม่ว่าจะเป็น ไตรสิกขา กรรมฐานต่างๆ ปฏิเสธพระอริยบุคคลซึ่งท่านละกิเลสสังโยชน์ตามลำดับขั้น อีกทั้งปฏิเสธนิพพานด้วย :b29:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์. เป็นโลกุตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

นิรฺวาณมฺ ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ ศัพท์ว่า นิพพาน นั่นเอง ปัจจุบันใช้เพียงว่า นิรวาณ กับ นิรวาณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกณฑ์จำแนกประเภททักขิไณยบุคคล หรือ อริยบุคคลนั้น ว่าโดยหลักใหญ่ มี ๒ วิธี คือ แบ่งแบบ ๘ (แบ่งตามขั้น หรือ ระดับที่กำจัดกิเลสได้ หรือ อาจเรียกว่า แบ่งแบบลบ) และแบ่งแบบ ๗ (แบ่งตามคุณธรรม หรือข้อปฏิบัติที่ให้เข้าถึงระดับหรือขั้นนั้นๆ จะเรียกว่า แบ่งแบบบวก ก็ได้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดเอาแค่นี้ก่อน (ความชั่วร้ายทั้งนั้น

แบบที่ ๑ ทักขิไณยบุคคล ๘ หรืออริยบุคคล ๘

เกณฑ์แบ่งแบบนี้ จัดตามกิเลส คือ สังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น พร้อมไปกับความความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นจึงควรรู้จักสังโยชน์ไว้ก่อน

สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ เหมือนผูกเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี ๑๐ อย่าง * คือ

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ

๑ . สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง *

๒. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุมีผล และในการที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา

๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี
ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี
ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค

๔. กามราคะ ความติดใคร่ในกาม ความอยากได้ใฝ่หาในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ

๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงที่ *

* เช่น สํ.ม.19/349/90 ฯลฯ (พึงสังเกตว่า ในบาลีทั่วไป สังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ เป็น กามฉันทะ และพยาบาท เฉพาะที่ องฺ.ติก. 20/524/312 เป็นอภิชฌา และพยาบาท แต่ที่เรียนกันมาเป็น กามราคะ และปฏิฆะนั้น ก็เพราะถือตามคัมภีร์ชั้นรอง และคัมภีร์รุ่นอรรถกถาฎีกา เช่น ขุ.ปฏิ.31/535/436...)

* คำจำกัดความตามแบบว่า มองห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือวิญญาณ เป็นตน มองเห็นตน มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร หรือมีวิญญาณ มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือวิญญาณ ในตน หรือมองเห็นตน ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร หรือในวิญญาณ (ดู ม.มู. 12/507/548 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง หรือขั้นละเอียด) ๕ อย่าง คือ

๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น

๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ เป็นต้น

๘. มานะ ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า สูงกว่าเขา เท่าเทียบเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น

๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดพล่านไป

๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล หรือไม่รู้อริยสัจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
คนมันไม่รู้จักการฟังแล้วคิดตามคำสอนทีละ1คำ

จากปรโตโฆสะ...มีแต่คิดเองตามเห็นผิดไปเรื่อยๆ

ทุกขณะมีสัญญาขันธ์+เวทนาขันธ์+สังขารขันธ์

กุศลปรุงดี หรือ อกุศลปรุงชั่ว มันอยู่ตรงสังขารขันธ์

ถ้าสังขารขันธ์ปรุงตามคิดเองผิดไปเรื่อยๆ

สัญญาขันธ์ก็จำผิดคิดผิดไปเรื่อยๆ

จนกว่าจะเริ่มฟังจึงจะเริ่มคิดตาม

คำสอนคือความจริงตรงคำที่กายตัวเองมีเดี๋ยวนี้

ไม่ใช่การไปท่องจำคำเพื่อการจำศัพท์ได้มากๆ

รู้จักคำว่าจำไหมคะ...บาลีใช้คำว่าสัญญา

สัญญาที่จดจำคำต่างๆได้มาก

แต่ไม่ตรงสัจจะที่กายตนมีคือมิจฉามรรคมันไม่ใช่รู้ที่บาลีใช้คำว่าปัญญา

ไม่มีใครสร้างทำเหตุปัจจัยเพราะมันมีแล้ว

ตั้งแต่ก่อนเกิดมาโน่นที่เกิดมาเพื่อรับผลกรรม

ของชาติไหนไม่มีใครรู้และเลือกรู้ไม่ได้

ใครจะคิดพูดทำอะไรด้วยตัวตนล้วนแต่วิปลาส

ไปตามการสะสมของจิตที่มีถึง89-121ประเภทมีแล้วไม่ได้ทำเข้าใจไหมมีแล้วกำลังเกิดดับนับแสนโกฏิขณะ

:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ที่ตาเนื้อทุกคนมองเห็นว่ามีคนสัตว์วัตถุ

เป็นการเห็นอดีตสีที่ดับไปนับแสนโกฏิขณะ

แล้วก็รู้สึกนึกคิดปรุงไปตามที่ตาเนื้อตัวเองเห็น

เรียกว่าเห็นผิดมีกิเลสอวิชชาไม่รู้ความจริงแต่ละ1ขณะ

ว่ามีตัวจริงธัมมะให้รู้ถูกตามได้ตรงทางเพียง1ทางตรงปัจจุบัน

จะไปทำไปเลือกอะไรที่ไม่ใช่การทำความเข้าใจตามคำสอนตรงที่กายมีตามเสียง

ก็เป็นการคิดมั่วไปตามความฟุ้งซ่านของตัวเองจนกว่าจะคิดตามทีละ1คำตรงตามเสียง

เช่นเห็นเป็นเห็น เห็นไม่ใช่ตา เห็นไม่ใช่ได้ยิน เห็นเป็นธัมมะ เห็นจึงไม่ใช่คนสัตว์วัตถุ ไม่คิดตามจะรู้ไหม
:b34: :b34: :b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสหยุดฟังมาอ่าน คือ ใช้ตาสักครู่ ก็เห็นชัดว่าอริยะแต่ขั้นๆละความชั่วร้ายอะไรบ้าง วิธีปฏิบัติก็ใช้ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) นั่นแล

ต่อ :b1:


ทักขิไณยบุคคล หรือ อริยบุคคล ๘ นั้น ว่าโดยระดับ หรือ ขั้นใหญ่แล้ว ก็มีเพียง ๔ และสัมพันธ์กับการละสังโยชน์ ดังนี้

ก. พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) หรือ สอุปาทิเสสบุคคล (ผู้ยังมีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่) คือ

๑. พระโสดาบัน ผู้ถึงกระแสคือเข้าสู่มรรค เดินทางถูกต้องอย่างแท้จริง หรือปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคอย่างแท้จริง เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

๒. พระสกทาคามี ผู้กลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวก็จะกำจัดทุกได้สิ้น เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้นได้แล้ว ยังทำราคะ โทสะ และโมหะ ให้เบาบางลงไปอีก ต่อจากขั้นของพระโสดาบัน

๓. พระอนาคามี ผู้จะปรินิพพานในที่ผุดเกิดขึ้น ไม่เวียนกลับมาอีก เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้อีก ๒ ข้อ คือ กามราคะ และปฏิฆะ (รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ครบ ๕ ข้อ)

ข. พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) หรือ อนุปาทิเสสบุคคล (ผู้ไม่มีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่) คือ

๔. พระอรหันต์ ผู้ควร (แก่ทักขิณาหรือการบูชาพิเศษ) หรือ ผู้หักกรรมแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในสิกขาทั้งสาม คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ละสังโยชน์เบื้องสูงได้อีกทั้ง ๕ ข้อ (รวมเป็นละสังโยชน์หมดทั้ง ๑๐)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระเสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษา คือ ยังมีกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนที่จะต้องทำต่อไปอีก จึงได้แก่ ทักขิไณยบุคคล ๓ ระดับต้น ซึ่งจะต้องปฏิบัติในสิกขา เพื่อละสังโยชน์ และบรรลุธรรมสูงขึ้นต่อไป จนถึงเป็นพระอรหันต์
ส่วนพระอเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษา คือ ทำกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนเสร็จสิ้นแล้ว บรรลุประโยชน์แล้ว ไม่ต้องปฏิบัติในสิกขาต่อไป ไม่มีกิเลสที่ต้องพยายามละต่อไป และไม่มีภูมิธรรมสูงกว่านั้นที่จะต้องขวนขวายบรรลุอีก จึงได้แก่พระอรหันต์

สอุปาทิเสสบุคคล คือผู้ยังมีอุปาทิเหลืออยู่ คือยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ซึ่งก็หมายถึงยังมีกิเลสเหลืออยู่บ้างนั่นเอง จึงได้แก่ทักขิไณยบุคคล ๓ ระดับต้น

ส่วนอนุปาทิเสสบุคคล คือผู้ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ คือไม่มีอุปาทานเหลือ ซึ่งก็หมายถึงว่าไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลยนั่นเอง จึงได้แก่พระอรหันต์


พึงสังเกตว่า ในที่นี้ แปลคำอุปาทิ ว่าอุปาทาน คือ ความยึดมั่นที่เป็นตัวกิเลสเอง ให้ต่างจากอุปาทิในสอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งแปลว่า สิ่งที่ถูกยึดมั่น อันหมายถึงเบญขันธ์ ความจึงไม่ขัดแย้งกัน


ในพระสูตร ที่แสดงข้อปฏิบัติสำคัญๆ เช่น สติปัฏฐาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ เป็นต้น ในตอนท้ายมักมีพุทธพจน์ ที่ตรัสทำนองสรุปแบบส่งเสริมกำลังใจ ผู้ปฏิบัติ ว่า เมื่อได้บำเพ็ญข้อปฏิบัตินั้นๆ แล้ว พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ อย่างนี้ได้ คือ "ทิฏฺเฐว ธมฺเม อญฺเญ สติ วา อุปาทิเสเส อนาคามิตา" (อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็เป็นอนาคามี) ซึ่งเห็นได้ชัดว่า คำว่า อุปาทิ ในกรณีเช่นนี้ หมายถึงอุปาทาน หรือพูดอย่างกว้างๆ ว่า กิเลสนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ที่ตาเนื้อทุกคนมองเห็นว่ามีคนสัตว์วัตถุ

เป็นการเห็นอดีตสีที่ดับไปนับแสนโกฏิขณะ

แล้วก็รู้สึกนึกคิดปรุงไปตามที่ตาเนื้อตัวเองเห็น

เรียกว่าเห็นผิดมีกิเลสอวิชชาไม่รู้ความจริงแต่ละ1ขณะ

ว่ามีตัวจริงธัมมะให้รู้ถูกตามได้ตรงทางเพียง1ทางตรงปัจจุบัน

จะไปทำไปเลือกอะไรที่ไม่ใช่การทำความเข้าใจตามคำสอนตรงที่กายมีตามเสียง

ก็เป็นการคิดมั่วไปตามความฟุ้งซ่านของตัวเองจนกว่าจะคิดตามทีละ1คำตรงตามเสียง

เช่นเห็นเป็นเห็น เห็นไม่ใช่ตา เห็นไม่ใช่ได้ยิน เห็นเป็นธัมมะ เห็นจึงไม่ใช่คนสัตว์วัตถุ ไม่คิดตามจะรู้ไหม


ทีนี้ จะชวนมองภาพกว้างไกลออกไป คือ นิทานเรื่องลูกนกแขกเต้าสองตัว ซึ่งถูกลมพัดไปตกคนละแห่งกัน ตัวหนึ่งตกในอาศรมฤๅษี
ตัวหนึ่งตกในดงโจร สถานที่สภาพแวดล้อมทั้งสองแห่งนั้นเป็นปรโตโฆสะของลูกนกทั้งสอง ตัวที่อยู่กับฤๅษีก็เห็น ได้ยินแบบหนึ่ง ตัวที่ในดงโจรก็ได้เห็น ได้ยินแบบหนึ่ง (คิดต่อเอง :b1: )

นี่ คคห.คุณโรส ซึ่งได้เห็น ได้ยิน มาจากสถานที่สภาพแวดล้อมการฝึกอบรมมาจาก (คิดต่อเอง :b13: )

มันดับไปแล้วนับไม่ถ้วนเนี่ย แปลว่า ละชั่วไม่ได้แล้ว ดับเนี่ยหายไปเลย ในมโนทวารวิถี ถอนออกตอนไหน กระพริบตาคือแสนโกฏิขณะใหม่หมดไปตลอด

(ปรโตโฆสะ มีสอง คือ ปรโฆสะที่ดี กับ ปรโตโฆสะที่ไม่ดี เรื่องนี้ยาว อาจเป็นอีกกระทู้หนึ่ง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ๘ ก็คือ ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ใน ๔ ระดับข้างต้นนั้นเอง ที่แบ่งซอยออกไประดับละคู่ ดังนี้

๑. โสดาบัน (ท่านผู้ทำให้แจ้ง คือบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว)

๒. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

๓. สกทาคามี (ท่านผู้ทำให้แจ้งสกทาคามิผลแล้ว)

๔. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล

๕. อนาคามี (ท่านผู้ทำให้แจ้งอนาคามิผลแล้ว)

๖. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล

๗. อรหันต์ (ท่านผู้ทำให้แจ้งอรหัตผลแล้ว)

๘. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตผล

ทักขิไณยบุคคล ๘ จัดเป็น ๔ คู่ ชุดนี้แล ที่ท่านหมายถึงว่าเป็น สาวกสงฆ์ หรือพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ที่เป็นอย่างหนึ่งในพระรัตนตรัย หรือ เป็นชุมชนในอุดมคติของพระพุทธศาสนา ดังคำในบทสวดสังฆคุณว่า "ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ" (ได้แก่คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้...) และสาวกสงฆ์นี้แล ที่ต่อมานิยมเรียกกันว่า อริยสงฆ์

ในชั้นพระไตรปิฎก พบใช้คำว่า "อริยสงฆ์" แห่งเดียว ในข้อความที่เป็นคาถาในอังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต คือใช้อริยสงฆ์ เป็นไวพจน์ของสาวกสงฆ์

ในคัมภีร์รุนอรรถกถาจึงใช้คำว่า อริยสงฆ์ กันดื่นขึ้น ดังจะเห็นได้ชัดเจนในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ เมื่อนิยมเรียกสาวกสงฆ์ เป็นอริยสงฆ์แล้ว ก็เรียก ภิกษุสงฆ์ เป็นสมมติสงฆ์ (สงฆ์โดยสมมติ คือ โดยการตกลงหรือยอมรับร่วมกัน ได้แก่ ชุมนุมพระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ไม่เจาะจงรูปใดๆ) เป็นอันเข้าคู่กัน (สาวกสงฆ์ คู่กับภิกษุสงฆ์ อริยสงฆ์ คู่กับสมมติสงฆ์)

อย่างไรก็ดี การเรียกว่า อริยสงฆ์ และสมมติสงฆ์นี้ นับว่าเป็นการเรียกที่มีหลัก และเป็นการเน้นความหมายที่มีประโยชน์อีกด้านหนึ่งของคำว่าสงฆ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

(ตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออกหมด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
ที่ตาเนื้อทุกคนมองเห็นว่ามีคนสัตว์วัตถุ

เป็นการเห็นอดีตสีที่ดับไปนับแสนโกฏิขณะ

แล้วก็รู้สึกนึกคิดปรุงไปตามที่ตาเนื้อตัวเองเห็น

เรียกว่าเห็นผิดมีกิเลสอวิชชาไม่รู้ความจริงแต่ละ1ขณะ

ว่ามีตัวจริงธัมมะให้รู้ถูกตามได้ตรงทางเพียง1ทางตรงปัจจุบัน

จะไปทำไปเลือกอะไรที่ไม่ใช่การทำความเข้าใจตามคำสอนตรงที่กายมีตามเสียง

ก็เป็นการคิดมั่วไปตามความฟุ้งซ่านของตัวเองจนกว่าจะคิดตามทีละ1คำตรงตามเสียง

เช่นเห็นเป็นเห็น เห็นไม่ใช่ตา เห็นไม่ใช่ได้ยิน เห็นเป็นธัมมะ เห็นจึงไม่ใช่คนสัตว์วัตถุ ไม่คิดตามจะรู้ไหม


ทีนี้ จะชวนมองภาพกว้างไกลออกไป คือ นิทานเรื่องลูกนกแขกเต้าสองตัว ซึ่งถูกลมพัดไปตกคนละแห่งกัน ตัวหนึ่งตกในอาศรมฤๅษี
ตัวหนึ่งตกในดงโจร สถานที่สภาพแวดล้อมทั้งสองแห่งนั้นเป็นปรโตโฆสะของลูกนกทั้งสอง ตัวที่อยู่กับฤๅษีก็เห็น ได้ยินแบบหนึ่ง ตัวที่ในดงโจรก็ได้เห็น ได้ยินแบบหนึ่ง (คิดต่อเอง :b1: )

นี่ คคห.คุณโรส ซึ่งได้เห็น ได้ยิน มาจากสถานที่สภาพแวดล้อมการฝึกอบรมมาจาก (คิดต่อเอง :b13: )

มันดับไปแล้วนับไม่ถ้วนเนี่ย แปลว่า ละชั่วไม่ได้แล้ว ดับเนี่ยหายไปเลย ในมโนทวารวิถี ถอนออกตอนไหน กระพริบตาคือแสนโกฏิขณะใหม่หมดไปตลอด

(ปรโตโฆสะ มีสอง คือ ปรโฆสะที่ดี กับ ปรโตโฆสะที่ไม่ดี เรื่องนี้ยาว อาจเป็นอีกกระทู้หนึ่ง)

เป็นคนมีตัวตนมีสัญญาจำชื่อตัวเองเรื่องราวต่างๆกำลังมีไม่ใช่หรือ
มรณภาพเขาก็ใส่ชื่อคุณไม่ใช่หรือคะแล้วรู้ไหมว่าตัวตนนั้นไม่มี
ตัวจริงธัมมะที่เกิดดับภายในจิต-ใจดับไปตลอดเวลานับไม่ถ้วน
คำว่านับไม่ถ้วนมีแค่6ทางอายตนะดับไปแสนโกฏิขณะมีแล้ว
ไม่ได้ทำอะไรมันก็เกิดดับจนปรากฏเป็นโลกภายนอกคือนิมิต
ตามภพภูมิที่ตนอยู่อาศัยอยู่ทุกคนที่มีตาไม่บอดเห็นโลกปกติ
ที่มีคนสัตว์วัตถุมีการติดต่อสื่อสารมีสังคมแวดล้อมรอบตัว
จิตมีพร้อมกัน2ดวงไม่ได้มันเกิดดับทีละ1ดวงดับทันที
มีกิเลสแปลว่าไม่รู้ความจริงที่กำลังมีกำลังเกิดดับ
แสนโกฏิขณะมีสัญญาก็ลองนับสิจะนับตัวจริง
ของลักษณะไหนที่ปรากฏก่อนดับเดี๋ยวนี้ทันสัก1ไหมคะ
จะเอาแต่อ่านแล้วท่องจำบัญญัติคำต่างๆนั้นน่ะเหรอมาเป็นปัญญา555
อ่านชาดกชาติต่างๆไม่คิดเลยเหรอที่ชาตินี้รวย80โกฏิตายไปเกิดเป็นลูกขอทานทันทีเอา80โกฏิไปได้ไหม
:b13:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
ที่ตาเนื้อทุกคนมองเห็นว่ามีคนสัตว์วัตถุ

เป็นการเห็นอดีตสีที่ดับไปนับแสนโกฏิขณะ

แล้วก็รู้สึกนึกคิดปรุงไปตามที่ตาเนื้อตัวเองเห็น

เรียกว่าเห็นผิดมีกิเลสอวิชชาไม่รู้ความจริงแต่ละ1ขณะ

ว่ามีตัวจริงธัมมะให้รู้ถูกตามได้ตรงทางเพียง1ทางตรงปัจจุบัน

จะไปทำไปเลือกอะไรที่ไม่ใช่การทำความเข้าใจตามคำสอนตรงที่กายมีตามเสียง

ก็เป็นการคิดมั่วไปตามความฟุ้งซ่านของตัวเองจนกว่าจะคิดตามทีละ1คำตรงตามเสียง

เช่นเห็นเป็นเห็น เห็นไม่ใช่ตา เห็นไม่ใช่ได้ยิน เห็นเป็นธัมมะ เห็นจึงไม่ใช่คนสัตว์วัตถุ ไม่คิดตามจะรู้ไหม


ทีนี้ จะชวนมองภาพกว้างไกลออกไป คือ นิทานเรื่องลูกนกแขกเต้าสองตัว ซึ่งถูกลมพัดไปตกคนละแห่งกัน ตัวหนึ่งตกในอาศรมฤๅษี
ตัวหนึ่งตกในดงโจร สถานที่สภาพแวดล้อมทั้งสองแห่งนั้นเป็นปรโตโฆสะของลูกนกทั้งสอง ตัวที่อยู่กับฤๅษีก็เห็น ได้ยินแบบหนึ่ง ตัวที่ในดงโจรก็ได้เห็น ได้ยินแบบหนึ่ง (คิดต่อเอง :b1: )

นี่ คคห.คุณโรส ซึ่งได้เห็น ได้ยิน มาจากสถานที่สภาพแวดล้อมการฝึกอบรมมาจาก (คิดต่อเอง :b13: )

มันดับไปแล้วนับไม่ถ้วนเนี่ย แปลว่า ละชั่วไม่ได้แล้ว ดับเนี่ยหายไปเลย ในมโนทวารวิถี ถอนออกตอนไหน กระพริบตาคือแสนโกฏิขณะใหม่หมดไปตลอด

(ปรโตโฆสะ มีสอง คือ ปรโฆสะที่ดี กับ ปรโตโฆสะที่ไม่ดี เรื่องนี้ยาว อาจเป็นอีกกระทู้หนึ่ง)

เป็นคนมีตัวตนมีสัญญาจำชื่อตัวเองเรื่องราวต่างๆกำลังมีไม่ใช่หรือ
มรณภาพเขาก็ใส่ชื่อคุณไม่ใช่หรือคะแล้วรู้ไหมว่าตัวตนนั้นไม่มี
ตัวจริงธัมมะที่เกิดดับภายในจิต-ใจดับไปตลอดเวลานับไม่ถ้วน
คำว่านับไม่ถ้วนมีแค่6ทางอายตนะดับไปแสนโกฏิขณะมีแล้ว
ไม่ได้ทำอะไรมันก็เกิดดับจนปรากฏเป็นโลกภายนอกคือนิมิต
ตามภพภูมิที่ตนอยู่อาศัยอยู่ทุกคนที่มีตาไม่บอดเห็นโลกปกติ
ที่มีคนสัตว์วัตถุมีการติดต่อสื่อสารมีสังคมแวดล้อมรอบตัว
จิตมีพร้อมกัน2ดวงไม่ได้มันเกิดดับทีละ1ดวงดับทันที
มีกิเลสแปลว่าไม่รู้ความจริงที่กำลังมีกำลังเกิดดับ
แสนโกฏิขณะมีสัญญาก็ลองนับสิจะนับตัวจริง
ของลักษณะไหนที่ปรากฏก่อนดับเดี๋ยวนี้ทันสัก1ไหมคะ
จะเอาแต่อ่านแล้วท่องจำบัญญัติคำต่างๆนั้นน่ะเหรอมาเป็นปัญญา555
อ่านชาดกชาติต่างๆไม่คิดเลยเหรอที่ชาตินี้รวย80โกฏิตายไปเกิดเป็นลูกขอทานทันทีเอา80โกฏิไปได้ไหม
:b13:
:b32: :b32:

ฟังบ้างจะได้เข้าใจความจริงที่กำลังมี
https://youtu.be/sO2qfcyPphE


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 08 มี.ค. 2019, 12:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ :b13:


แบบที่ ๒ ทักขิไณยบุคคล ๗ หรือ อริยบุคคล ๗

เกณฑ์แบ่งแบบนี้ จัดตามอินทรีย์ที่แก่กล้าเป็นตัวนำในการปฏิบัติ และสัมพันธ์กับวิโมกข์ ๘ จึงควรทราบอินทรีย์ และวิโมกข์ ๘ ก่อน

อินทรีย์ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจ หมายถึง ธรรมที่เป็นเจ้าการ ในการครอบงำ หรือ กำราบสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ในการปฏิบัติธรรม คือ ความขาดศรัทธา ความเกียจคร้าน ความเพิกเฉยปล่อยปละละเลย ความฟุ้งซ่าน และการขาดความรู้ ความหลงผิด หรือ การไม่ใช้ปัญญา


อินทรีย์ เป็นอำนาจที่หนุนนำให้ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้ มี ๕ อย่าง คือ
สัทธา (ความเชื่อ)
วิริยะ (ความเพียร)
สติ (ความระลึกได้ หรือ ครองใจไว้กับกิจที่กำลังทำ)
สมาธิ (ความมีจิตตั้งมั่น) และ
ปัญญา (ความรู้ชัดหรือความเข้าใจ)

ในการปฏิบัติธรรม อินทรีย์แต่ละอย่างของต่างบุคคล จะยิ่งหรือหย่อนไม่เท่ากัน

อินทรีย์ที่ทำให้เกิดความแตกต่างในการบรรลุธรรม จนเป็นเกณฑ์แบ่งประเภททักขิไณยบุคคล มี ๓ อย่าง คือ
สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ) และ
ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร