วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก ภาวิตจิต: มีจิตที่ได้พัฒนาแล้ว

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวิตปัญญา : มีปัญญาที่ได้พัฒนาแล้ว

ลักษณะสำคัญที่เป็นพื้นฐานทางปัญญาของผู้บรรลุนิพพาน คือ การมองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น หรือเห็นตามเป็นจริง
เริ่มต้นตั้งแต่การรับรู้อารมณ์ทางอายตนะ ด้วยจิตใจที่มีท่าทีเป็นกลาง และมีสติไม่หวั่นไหว ไม่ถูกชักจูงไปตามความชอบใจ ไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมัน ตั้งแต่ต้นจนตลอดสาย ไม่ถูกความติดพัน ความข้องขัดขุ่นมัว หรือความกระทบกระแทกที่ เนื่องจากอารมณ์นั้นฉุดรั้งหรือสะดุดเอาไว้ให้เขวออกไปเสียก่อน

ทั้งนี้ ต่างจากปุถุชน ที่เมื่อรับรู้อารมณ์ใด ก็มักไปสะดุดอยู่ตรงจุด หรือแง่ที่กระทบความชอบใจไม่ชอบใจ แล้วเกาะเกี่ยวพัวพันอยู่ตรงนั้น สร้างความตริตรึกคิดปรุงแต่งผันพิสดารขึ้นนั้น แล้วไถล หรือ เขวออกไป จากทางแห่งความเป็นจริง เกิดความรู้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน คือ รู้เห็นได้ตามอำนาจกิเลสที่ปรุงแต่ง ไม่รู้เห็นตามความเป็นไปของสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ
เช่น
เรื่องราวมีสาระอย่างเดียวกัน คนหนึ่งมาพูดโดยเสริมคำเยินยอผู้ ฟัง ประกอบเข้าด้วย ผู้ฟังนั้นเห็นคล้อยไปตาม
แต่อีกคนหนึ่งมาพูดโดยไม่เสริมแต่งเลย ผู้ฟังเดียวกันนั้น กลับไม่เห็นชอบด้วย
หรือ
ข้อความอย่างเดียวกัน คนที่ผู้ฟังรักใคร่ชอบใจนำมาพูด ผู้ฟังชมว่าถูกต้องเห็นดี เห็นงามไปตาม
แต่คนที่ผู้ฟังเกลียดชังนำมาพูด ผู้ฟังเห็นเป็นผิดพลาดเสียหาย ไม่อาจยอมรับได้ ดังนี้ เป็นต้น (แง่นี้ ดู สํ.สฬ.18/213/157; 208/151 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลึกซึ้งลงไปอีก คือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทันสมมติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกให้หลงไปตามรูปลักษณะภายนอกของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุกด้าน มิใช่ติดอยู่เพียงแง่ใดแง่หนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้เห็นตามที่มันเป็น หรือ รู้เห็นตามความเป็นจริงขั้น นี้ จะช่วยแก้ความเข้าใจผิดที่ว่า พระพุทธศาสนาเป็นลัทธิมองแง่ร้ายได้โดยสิ้นเชิง เช่น ผู้เข้าถึงพุทธธรรมรู้ว่าขันธ์ ๕ มิใช่เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยส่วนเดียว(สํ.ข.17/131/85) รู้ว่า

"ความอยากย้อมใจ ที่เกิดจากความนึกคิดของคนต่างหากเป็นกาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก หาชื่อ ว่า กามไม่..อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของมันอย่างนั้นเอง ดังนั้น ธีรชนทั้งหลาย จึงเปลื้องออกไปเพียงความติดใจชอบในอารมณ์เหล่านั้น"

ผู้ที่จะตรัสรู้ได้ ต้องเข้าใจทั้งส่วนดีหรือส่วนที่น่าชื่นชม (อัสสาทะ)
ส่วนเสียหรือส่วนที่เป็นโทษ (อาทีนพ) และ
ทางปลอดพ้น (นิสสรณะ) ของกาม ของโลก ของขันธ์ ๕
มองเห็นส่วนดี ว่า เป็นส่วนดี
มองเห็นส่วนเสีย ว่า เป็นส่วนเสีย
มองเห็นทางปลอดพ้น ว่า เป็นทางปลอดพ้น
แต่ที่ละกาม หายติดใจในโลก เลิกยึดขันธ์ ๕ เสีย ก็เพราะมองเห็นทางปลอดพ้นเป็นอิสระ (นิสสรณะ) ซึ่งจะทำให้อยู่ดีมีสุขได้โดยไม่ต้องขึ้นต่อส่วนดี หรือ ส่วนเสียเหล่านั้น อีกทั้งเป็นการอยู่ดีมีสุขที่ประเสริฐกว่า ประณีตกว่า อีกด้วย* (ดู ม.มู.12/196-208/168-178)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้เท่าทันสมมติบัญญัตินั้น รวมไปถึงการรู้เข้าใจวิถีทางแห่งภาษา ที่เรียกว่า โวหารโลก
รู้จักใช้ภาษาเป็นเครื่องสื่อความหมาย โดยไม่ยึดติดในสมมติของภาษา ดังพุทธพจน์ว่า

"ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่กล่าวเข้าข้างกับใคร ไม่กล่าวทุ่มเถียงกับใคร อันใดเขาพูดกันในโลก ก็กล่าวไปตามนั้น ไม่ยึดติด" (ม.ม.13/273/268)

"ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ขีณาสพ...จะพึงกล่าวว่า ฉันพูดดังนี้ ก็ ดี เขาพูดกับฉัน ดังนี้ ก็ดี เธอเป็นผู้ฉลาด รู้ถ้อยคำที่เขาพูดกันในโลก ก็พึงกล่าวไปตามโวหารเท่านั้น" (สํ.ส.15/65/169)

"ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ขัดแย้งกับโลกดอก โลกต่างหากขัดแย้งกับเรา ธรรมวาที (ผู้กล่าวธรรม, ผู้พูดตามธรรม) ย่อมไม่ขัดแย้งกับใครในโลก สิ่งใดบัณฑิตในโลกสมมติกันว่าไม่มี เราก็กล่าวสิ่งนั้น ว่า ไม่มี สิ่งใดบัณฑิตในโลกสมมติกัน ว่า มี เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามี" (สํ.ข.17/239/169)

"เหล่านี้เป็นโลกสมัญญา เป็นโลกนิรุติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ซึ่งตถาคตใช้พูดจา แต่ไม่ยึดติด" (ที.สี.9/312/248)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมาย สมมติ บัญญัติ ทำความเข้าใจให้ชัด


สมมติ (สํ+มติ) การรู้ร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน

บัญญัติ การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ, การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น


โลกสมัญญา เป็นถ้อยคำที่รู้เข้าใจกันของชาวโลก
โลกนิรุตติ เป็นภาษาของชาวโลก
โลกโวหาร เป็นคำสื่อสารกันของชาวโลก (โวหาร-การแลกเปลี่ยนข่าวสาร การโต้ตอบ การสื่อภาษา ถ้อยคำที่สื่อสารกัน)
โลกบัญญัติ เป็นบัญญัติของชาวโลก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 มี.ค. 2019, 19:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเกิดปัญญารู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นอาการที่มันเกิดจากเหตุปัจจัยอาศัยกันและกันจึงมีขึ้น ก็เข้าใจโลก และชีวิตตามเป็นจริง เรียกว่า เกิดมีโลกทัศน์ และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง ความยึดถือ ทิฏฐิ ทฤษฎีทั้งหลายในทางอภิปรัชญา รวมทั้งความสงสัยในปัญหาต่างๆ ที่เรียกว่าอัพพยากตปัญหา (ปัญหาที่พระพุทธเจ้า ไม่ทรงพยากรณ์) เช่นว่า โลกเที่ยง หรือไม่เที่ยง เป็นต้น ก็พลอยหายหมดไปด้วยพร้อมกันอย่างเป็นไปเอง ดังบาลีว่า

"ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาจางหายดับไปไม่เหลือ ความเห็นขัดแย้งกันไปต่างๆ การถือดื้อดึง ความเห็นที่พล่านสับสน อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ว่า สังขารเป็นไฉน สังขารเหล่านี้ของใคร สังขารก็อย่างหนึ่ง เจ้าของสังขารก็อย่างหนึ่ง ตัวชีวะกับสรีระเป็นอันเดียวกัน ตัวชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ความเห็นเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมถูกละหมดไป…” (สํ.นิ.13/142/77)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาศัยกันและกันขึ้น เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะทางปัญญาอีกอย่างหนึ่งของผู้เข้าถึงสัจธรรมแล้ว คือ ไม่ต้องเชื่อ ไม่ต้องมีศรัทธา หรือไม่ต้องอาศัยศรัทธา เรียกตามคำบาลีสั้นๆว่า "อัสสัทธะ"

ลักษณะนี้ ต่างกันอย่างตรงข้ามกับความไม่เชื่อ หรือ ความไม่มีศรัทธา ตามความหมายสามัญขั้นต้น ซึ่งหมายถึงไม่รู้ไม่เห็น จึงไม่เชื่อ หรือ ไม่เลื่อมใสในตัวผู้พูด หรือ ดึงดื้อถือรั้น เป็นต้น จึงไม่ยอมเชื่อ
แต่ในที่นี้ ไม่ต้องเชื่อ เพราะรู้เห็นสิ่งนั้นๆ แจ้งประประจักษ์กับตนเอง รู้เอง เห็นเองแล้ว ไม่ต้องรู้เห็นผ่านผู้อื่น ไม่ต้องอาศัยความรู้ของคนอื่น (ศรัทธา คือ การยอมขึ้นต่อความรู้ของผู้อื่น ในเมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์ด้วยตนเอง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเมื่อรู้เห็นอยู่แล้วว่าเป็นเช่นนั้น จะต้องไปเชื่อใครอีก หรือจะต้องไปเอาใครมาบอกให้อีก เรียกว่าเป็นขั้นที่ยิ่งกว่าเชื่อ หรือเลยเชื่อไปแล้ว อยู่เหนือความเชื่อ ดังที่ท่านอธิบายว่า

"เกี่ยวกับธรรมที่รู้แน่อยู่ด้วยตนเอง ประจักษ์กับตนเอง เธอไม่เชื่อต่อใครๆอื่น ไม่ว่าจะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม คือ ไม่เชื่อต่อใครๆ เกี่ยวกับธรรมที่รู้แน่อยู่เอง ประจักษ์กับตัวว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงมิใช่เป็นตัวตน เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ" (ขุ.ม.29/407/281)

หรือที่พระสารีบุตรทูลพระพุทธเจ้าว่า

"ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มิใช่ถือไปตามด้วยศรัทธาต่อพระผู้มีพระภาค...เรื่องนี้ ข้าพระองค์ทราบแล้ว เห็นแล้ว รู้ชัดแล้ว ทำให้ประจักษ์แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วยปัญญา จึงไม่มีความสงสัย ไม่มีความคลางแคลงใจ"(สํ.ม.19/724/211)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสมบัติของผู้บรรลุนิพพาน ไม่ว่าจะพูดพรรณนาในลักษณะใด ตลอดจนที่จัดเป็นภาวิต ๔ ดังที่อธิบายมานั้น รวมแล้ว ก็ตั้งอยู่บนฐานของธรรม ๓ ประการ มีธรรม ๓ อย่างนั้นเป็นหลัก เป็นแกน คือ ปัญญา ที่เรียกจำเพาะว่า วิชชา
ความหลุดพ้นเป็นอิสระที่เรียกว่า วิมุตติ และกรุณา ที่เป็นหลักแผ่ปรีชาญาณออกไปทำให้ผู้อื่นพลอยได้วิชชา และถึงวิมุตติด้วย


ถ้าเปรียบปุถุชนเหมือนคนถูกมัด วิชชา ก็เป็นมีดตัดเครื่องผูกขาดออกไป
วิมุตติ ก็คือการหลุดพ้นออกไปจากเครื่องผูกมัด เป็นอิสรเสรี
กรุณา ก็ แสดงออกมาว่า เมื่อหายเดือดร้อนวุ่นวาย กับ เรื่องของตัวเองแล้ว มองกว้างออกไป เห็นคนอื่นๆถูกมัดอยู่ ตัวเองไม่มีอะไรต้องวุ่นพะวงอีกแล้ว ก็เอาแต่เที่ยวแก้มัดคนอื่นต่อไป

ในทางหลักวิชา ถือว่า วิชชา เป็นมรรค
ส่วนวิมุตติเรียก คร่าวๆ ว่า เป็นผล
แต่ตามตำรา ท่านแยกวิมุตติละเอียดออกไปเป็นสองตอน คือ เป็นทั้ง มรรค และทั้งผล

กิริยาที่หลุด หรือพ้นออกไป หรือขณะที่หลุดพ้น ท่านว่าเป็นมรรค
ภาวะที่เมื่อหลุดพ้นออกไปแล้ว มีความเป็นอิสรเสรีเป็นปกติ เรียกว่าเป็นผล

ลำพังการบรรลุนิพพาน ย่อมเสร็จสิ้นเพียงแค่วิชชา และวิมุตติ
ส่วนกรุณาเป็นเรื่องของการทำเพื่อผู้อื่นต่อไป

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เรื่องส่วนตัว (อัตตัตถะ) สำเร็จที่วิชชา และวิมุตติ

ส่วนเรื่องที่จะทำเพื่อคนอื่น (ปรัตถะ) เป็นกิจของกรุณารับช่วงต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่งพึงสังเกตว่า ในบรรดาองค์ธรรมทั้งสาม คือ วิชชา วิมุตติ และกรุณา นั้น วิมุตติเป็นภาวะฝ่ายผล พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นภาวะเสร็จงาน และเป็นภาวะเอื้ออำนวยแก่การทำงานต่อไป ไม่ใช่เป็นตัวการทำงานเอง

ส่วนปัญญา กับ กรุณา เป็นองค์ธรรมฝ่ายทำงาน

ปัญญาเป็นตัวทำงานให้การบรรลุนิพพานซึ่งเป็นเรื่องของตนเองสำเร็จ

กรุณาเป็นตัวทำงานให้เรื่องของคนอื่นสำเร็จ


ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงถือว่า ปัญญา กับ กรุณา เป็นพระคุณหลักของพระพุทธเจ้า
ปัญญาเป็นแกนนำของอัตตัตถะ หรือ อัตตหิตสมบัติ
กรุณาเป็นแกนนำของ ปรัตถะ หรือ ปรหิตปฏิบัติ

ในคัมภีร์มากหลาย จึงนิยมย่อพุทธคุณลงเป็นข้อ หลัก ๒ อย่าง คือ อัตตหิตสมบัติ มีปัญญาเป็นตัวทำการ และปรหิตปฏิบัติ มีกรุณาเป็นตัวทำการ

แต่อัตตหิตสมบัติ และปรหิตปฏิบัติ ทั้งสองอย่างนั้น มีความหมายและเป็นของแท้จริงได้ ก็เพราะมีวิมุตติยืนยันเป็นพยาน

วิมุตตินั้น เป็นเครื่องส่องแสดงถึงการเข้าถึงนิพพานแล้ว เรียกว่าเป็นอาการสำแดง หรือลักษณะสำคัญด้านหนึ่งของนิพพาน จัดเป็นไวพจน์ข้อหลักของนิพพาน


(ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
คิดถึงความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแสดงดูสิ
เดี๋ยวนี้จิตเกิดดับแล้วถึงแสนล้านขณะจิตตายแล้วเกิดทันที
เข้าร่างใหม่เร็วแบบกระพริบตาลืมตาตื่นในร่างใหม่จะทำอะไรได้ไหมคะ
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2019, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พัฒนาปัญญากันต่อไป ตราบที่ยังไม่นิพพาน

s007


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2019, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังที่กล่าวแล้ว วิมุตติแสดงความหมายสำคัญของนิพพาน ซึ่งเน้นในด้านความหลุดพ้น เป็นอิสรเสรี เมื่อโยงกับคุณสมบัติสำคัญ ๒ ประการ ที่เนื่องด้วยการถึงวิมุตติ หรือ บรรลุนิพพานนั้น คือ ปัญญา และ กรุณา ก็เรียกบุคคลผู้บรรลุนิพพานนั้น ด้วยคำไทยที่ชาวบ้านพอจะเข้าใจ ไม่ยากว่า เป็นอิสรเสรีชน ผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา และทำการด้วยกรุณา


นอกจากวิมุตติ ที่ยืนเป็นหลักแล้ว ยังมีไวพจน์แสดงลักษณะด้านต่างๆ ของนิพพานอีกมากมาย ดังที่ยกมาให้ดูแล้วข้างต้น


บรรดาไวพจน์เหล่านั้น มีอยู่อย่างน้อยสองคำ ที่ใช้เป็นคำสามัญในภาษาไทย และเป็นลักษณะทีสำคัญด้วย คือ วิสุทธิ และสันติ

วิสุทธิ คือความบริสุทธิ์ หรือสะอาด หมายถึงภาวะปราศจากกิเลสที่จะทำให้สกปรกเศร้าหมองหรือขุ่นมัว จึงใสและมองเห็นอะไรๆชัดเจน

สันติ คือความสงบ หมายถึงภาวะที่หายวุ่น หายพลุ่ง พล่านกระวนกระวาย ปราศจากความทุรนทุรายเร่าร้อนแห่งกิเลส หมดสิ่งที่จะ กวนให้ไหวกระเพื่อม จึงเรียบ ซึ้ง สงบ เย็น ทุกอย่างเข้า ที่ เป็นสภาวะของตัวเอง สามารถเสวยผลต่างๆได้บริบูรณ์ที่สุด และมี ความพร้อมมากที่สุดที่จะทำการทั้งหลายอย่างถูกต้องสมบูรณ์

จากไวพจน์เหล่านี้ จึงวางหัวข้อบทไว้ว่า วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน ถ้าจะแปลง่ายๆ คงได้ความว่า สว่าง อิสระ สะอาด สงบ หรือนิพพาน

ใครพอใจไวพจน์อื่นใด จะเติมต่อเข้ามาอีกก็ได้ เช่นว่า วิชชา วิมุตติ เกษม วิสุทธิ สันติ ปรมัตถ์ บรมสัจจ์ นิพพาน เป็นต้น ก็อยู่ในขอบเขตความหมายของนิพพานอยู่นั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร