วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2012, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


๐๐ ความสุข ๐๐

สรุปและเรียบเรียงจากบทความโดยผู้เขียน "พุทธสัตยา"
นิตยสารศุภมิตร. ปีที่ ๔๘, ฉบับที่ ๕๓๙,
เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๔๖. หน้า ๘๒-๙๐


รูปภาพ

"คนดี ทำดีได้ง่าย ทำชั่วได้ยาก
คนชั่ว ทำชั่วได้ง่าย ทำดีได้ยาก
คนชั่วหาความสุขได้ยาก
คนดีหาความสุขได้ง่าย
เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการความสุข
จึงควรทำดีไว้เสมอ และตั้งใจเป็นคนดี"


:b48: :b48:

ความสุข (๑)

บางคนบอกว่า ศาสนาพุทธพูดถึงแต่เรื่องทุกข์เยอะ
ความจริงศาสนาพุทธก็พูดเรื่อง "ความสุข" เยอะเช่นกัน
เรื่องของความทุกข์ก็คือ ให้ใช้ปัญญาพิจารณา ว่า อะไรเป็นตัวทุกข์
ก็เพื่อที่จะละ (ทุกข์นั้นๆ)

พูดเรื่องความทุกข์ เพื่อชี้ทุกข์ให้เห็น และก็เพื่อที่จะให้เป็นสุข
ถ้าการสอนเรื่องทุกข์ในพุทธศาสนาเป็นทุกขนิยม
การสอนเรื่องนิโรธ ความดับทุกข์ ก็เป็นสุขนิยม
ซึ่งก็แปลว่า สอนให้มองความจริงเท่านั้นเอง


ความสุขอย่างที่สอนให้ศาสนาพุทธ
จะยกตัวอย่างสักตอนหนึ่งก่อน กล่าวคือ

ตอนพระพุทธเจ้าตอนตรัสรู้ใหม่ๆ
ประทับอยู่ใต้ต้นมุจลินทร์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ระยะ ๗ วันนั้นทรงประทับนั่งเข้าสมาธิบัลลังก์เดียว
เอกปลฺลงฺเก นิสินฺโน
คือ นั่งท่าเดียว ไม่ลุกเลย
ทรงเสวยวิมุติสุขอยู่ตลอด ๗ วัน
ครั้นออกจากสมาธิ พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทาน เป็นต้นว่า
"สุโข วิเวโก ตุฏฐสฺส"
ความวิเวกของผู้ที่พอใจในวิเวกมีธรรม ซึ่งได้สดับแล้ว
มองเห็นความจริงเป็นความสุข
การไม่เบียดเบียน คือ การสำรวมในสัตว์ทั้งหลายเป็นความสุขในโลก

และตอนที่สองที่จะกล่าวถึง
คือ ความปราศจากราคะ หรือ การก้าวล่วงกามทั้งหลายเสียได้เป็นสุขในโลก
การถอนอัสสมิมานะออกเสียได้ เป็นบรมสุข
เอตํเว ปรมํ สุขํ
นี่เป็นการเปล่งพระอุทานของพระพุทธเจ้า
ในคัมภีร์อุทานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕


ต่อไปจะขยายความเกี่ยวกับความสุขเหล่านี้

๑.) วิเวก

ในทางศาสนาจะกล่าวถึงไว้ ๓ อย่าง

- กายวิเวก สงัดกาย คือ อยู่ได้ในที่สงบสงัด
- จิตตวิเวก ท่านหมายถึง การได้ฌาณในระดับใดระดับหนึ่ง
- อุปธิวิเวก สงัดกิเลส ระงับกิเลสได้ พ้นจากกิเลส

วิเวกทั้ง ๓ นำมาซึ่งความสุข

กายวิเวก นำมาซึ่งความสุขเพราะคนถ้าคลุกคลีกันเป็นหมู่คณะ มันไม่ได้วิเวก
แต่ถ้าเป็นพระอริยเจ้าแล้ว ท่านได้อุปวิเวกแล้ว ท่านบอกว่า
ถึงอยู่ท่ามกลางคนทั้ง ๔๐๐-๕๐๐ คนก็ยังถือว่าอยู่ในวิเวก
ภายในจิตใจท่านสงบ ไม่พลอยวุ่นไปด้วย
แต่คนทั่วไปพอคลุกคลีมาก จิตก็พลอยวุ่นไปด้วย

ในพุทธภาษิตก็มีว่า
พระอรหันต์อยู่ที่ใด ที่นั่นเป็นที่รื่นรมย์
จะเป็นบ้าน เป็นป่าช้าก็ตาม ที่นั่นเป็นที่รื่นรมย์เพราะจิตของท่านรื่นรมย์
ท่านได้นั่งอยู่ที่ใดที่นั้นก็เป็นอริยอาสน์
จะบนฟาง บนดิน หรือ บนหิน ก็เป็นอริยอาสน์ทั้งนั้น

ผู้ที่ได้ฌาณ นั่ง ยืน เดิน อยู่ที่ใด
ที่นั่นก็ถือว่าเป็น ทิพยอาสน์ เป็นต้น

๒.) สันโดษ

สันโดษ มี ๑๒ กล่าวคือ

- ยถาลาภะ พอใจตามที่ได้
- ยถาพละ พอใจตามกำลัง
- ยถาสารุปปะ พอใจตามสมควร

พอใจปัจจัยทั้ง ๔ ด้วยอาการทั้ง ๓ อย่างนี้ จึงรวมเป็น ๑๒

คำว่า สมควร (พอใจตามสมควร-ยถาสารุปปะ)
สมควรแก่ฐานะ,สมควรแก่คภาวะ,สมควรแก่ความเป็น
ในกรณีคฤหัสถ์ สมควรหรือไม่สมควรก็ต้องพิจารณา
ทีนี้ถ้ายินดีตามที่ได้ ยินดีตามกำลัง
แม้ได้มาโดยไม่ได้ร้องขอ แต่สมควรรับหรือเปล่าก็ต้องพิจารณา
แม้ในภิกษุสงฆ์ ใครถวายอะไรก็ได้
แต่ท่านก็พิจารณาตรงนี้ว่า สมควรหรือไม่
ท่านจะไม่รับก็ได้ถ้าเห็นว่าไม่สมควร


:b41: :b41:

ความสุข (๒)

คนในสมัยนี้มีปัญหาต่างๆ มากมาย
ดูแล้วไม่มีความสุข หรือมีความสุขน้อยและมีความสุขได้ยากจริงๆ
ถ้าเผื่อปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนา
ก็จะเป็นผู้ที่มีทุกข์น้อย มีความสุขมาก
มีความทุกข์ยาก คือ ยากที่จะมีความทุกข์
ความทุกข์เข้าครอบงำได้ยาก
ถ้าคนทุกข์ง่าย ยุงกัดหน่อยก็ทุกข์แล้ว

ผู้ที่ปฏิบัติธรรม ถ้าถึงระดับโสดาบันแล้ว
ความทุกข์ของท่านเหมือนกับหยาดน้ำ
บนใบหญ้าที่จุ่มลงในสระแล้วดึงขึ้นมา
นั่นแหล่ะความทุกข์ของท่าน
เปรียบว่า น้ำในสระ คือ ความทุกข์ของปุถุชน
น้ำที่ติดใบหญ้าขึ้นมา คือ ความทุกข์ของโสดาบัน

คนที่ปฏิบัติธรรมไปมาก ยิ่งศึกษาก็ตั้งใจปฏิบัติขัดเกลา
กิเลสก็จะค่อยๆเบาบางลงแม้จะยังไม่เป็นพระโสดาบัน
พอใกล้เข้าไป ความทุกข์ก็จะน้อยลงๆ
ลดความทุกข์ลง ความสุขก็จะมีมากขึ้น
ชีวิตคนก็เหมือนกัน ถ้าความทุกข์ลด ความสุขก็ปรากฏขึ้นมา
ถ้าดำเนินชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตหน่อย
ชีวิตก็จะมีความทุกข์น้อย และมีความสุขมากอย่างที่ท่านกล่าว


และเรื่องความสุข ควรพิจารณาในกรณีทั้ง ๒ นี้ด้วย คือ

- สุขสุสานนฺตรํ ทุกฺขํ ทุกข์หลังจากสุข
- ทุกฺขสฺสานนฺตรํ สุขํ สุขหลังจากทุกข์


ทุกข์หลังจากสุข คือ ถ้าสุขในทางไม่ชอบธรรม หรือไม่ถูกต้อง
ยิ่งสุขมากเท่าไร ความทุกข์เป็นอันมากจะตามมาเท่านั้น
แสดงว่า ความสุขไม่ถูกต้อง เช่น ดื่มเหล้า เล่นการพนัน
ที่เราคิดว่าเป็นความสุข แต่หลังจากนั้นทุกข์จะตามมา

สุขหลังจากทุกข์ คือ คนที่ยอมทุกอย่างบ้างเพื่อความถูกต้อง
หรือเพื่อทำให้ถูกต้อง เช่น อดทนอยู่ในศีลธรรม
แม้จะทุกข์ยากลำบากเพียงใดก็ไม่ล่วงศีลล่วงธรรม
ความสุขก็จะตามมา (ไม่มีทุกข์ตามหลัง)

เราต้องเน้นความสุขอย่างหลังนี้
แรกๆอาจลำบาก แต่จะสบายเมื่อปลายมือ
ทำในสิ่งที่ถูกต้อง อดทนในสิ่งที่ควรอดทน
อย่างนี้ความสุขก็ตามมา

ท่านมีสุภาษิตว่า กิจฺฉกาเล กิจฺฉสโห
ผู้ใดอดทนต่อความลำบากได้ ผู้นั้นไม่ลำบากนาน
ท่านเป็นนักปราชญ์ย่อมบรรลุถึงสุขเพราะความเพียร

ความจริง ความทุกข์ในกฎไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเกิดขึ้นมา มันก็อยู่ไม่นาน
ที่อยู่นานเพราะเราไปทำเหตุที่จะเกิดความทุกข์ขึ้นมาเพิ่ม
หรือเหมือนหนี้ ถ้าเราไม่ทำเพิ่ม มันก็ลดลงจนวันหนึ่งมันก็หมด
แต่ถ้าทำเพิ่ม มันก็เป็นหนี้ไปเรื่อยๆ

ความทุกข์ถ้ามันมี แล้วเราไม่ไปสร้างเหตุเพิ่ม
วันหนึ่งมันก็ต้องหมดไป มันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย
ถ้าไม่ทำเหตุปัจจัย ทุกข์เก่าก็จะหมดไป ทุกข์ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้นมา
ก็ค่อยๆ สบายขึ้น

ปัจจุบัน คนเราไม่ค่อยทำเหตุให้เิกิดสุข
แต่กลับทำเหตุให้เกิดแต่ทุกข์ เพราะเหตุแห่งทุกข์มันยั่วยวน
มีเสน่ห์ดึงดูด ถ้ามันไม่มีเสน่ห์ คนก็จะไม่ติดมัน
อบายมุขทุกอย่างมันมีเสน่ห์ยั่วยวน

แต่การทำความดี ระยะแรกมันไม่มีเสน่ห์อะไร
แต่ถ้าทำไปๆ มันจะมีเสน่ห์เหมือนกัน เรียกว่า "ติดในความดี"
และก็จะมีเสน่ห์อยากให้ทำ เพราะว่าทำแล้วมีความสุข

ธรรมดาคนเราทำอะไรแล้วมีความสุขมันก็อยากทำซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
ก็เข้าทางแห่งความดี ก็เดินไปบนวิถีทางแห่งความดี

พระพุทธเจ้าตรัสว่า
แม้จะมีใบหน้านองไปด้วยน้ำตาเพื่อประพฤติความดี
ก็ขอให้ทำ มันมีวิบากเป็นผล คือ ความสุขในบั้นปลาย


แต่ถ้าเป็นความชั่ว ความผิด
มันก็คล้ายๆน้ำผึ้งหวานเจือด้วยยาพิษ ยั่วยวนชวนเชิญให้ดื่ม
พอยาพิษมันออกฤทธิ์คราวนี้ก็ทุกข์

ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติธรรม เขาจะไม่แสวงหาความสุข
เขาเพียงแต่ทำอย่างใดจะดับทุกข์ได้
ดับทุกข์ได้แล้ว ความสุขก็เกิดขึ้นเอง นี่เป็นเทคนิคในการดำเนินชีวิต


เช่น คนที่ไปกราบไหว้ต้นไม้
คือ ไปแสวงหาความสุขด้วย ไปบำบัดทุกข์ด้วย
แต่มันไม่ถูกทาง ไม่พบสุขและบำบัดทุกข์ก็ไม่ได้
พระพุทธเจ้าท่านเปรียบว่า
เหมือนไปคั้นน้ำมันจากเม็ดทรายและไปบีบนมจากเขาโค มันไม่ได้
ใช้ความเพียรไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เป็นมิจฉาวายามะ
ผลที่ออกมาก็ไม่มี สูญเปล่า

ในแนวทางของพุทธศาสนา เน้นการแสวงหาความสุขจากสิ่งที่เป็นสัจธรรม
เป็นความถูกต้อง เมื่อพยายามเน้นย้ำให้แสวงหาสันติสุข
เขาเหล่านั้น (ที่ยังหลงงมงายอยู่) ก็จะเบื่อความสุขอย่างอื่นๆ ไปเอง

พุทธภาษิตกล่าวว่า
ไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าความสงบ
นตฺถิ ปรมํ สุขํ

ท่านจัดเป็น พุทธะ

พุทธะนั้นมี ๔ จำพวก ได้แก่
๑. สัมมาสัมพุทธะ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองและสั่งสอนไวไนยสัตว์ให้พ้นทุกข์ตาม
๒. ปัจเจกพุทธะ ผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
๓. อนุพุทธะ ผู้ที่ได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้า เป็นอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป
๔. สุตพุทธะ ผู้ที่รู้มาก ฟังมาก จัดเป็นสุตพุทธะแม้จะยังไม่ได้บรรลุอะไรก็ตาม

ในที่นี้ ท่านใช้คำว่า
สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต ผู้เห็นความจริงแล้ว
อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก ปาณภูเตสุ สญญโม
ความไม่เบียดเบียน คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลายเป็นสุขในโลก

นี่เป็นความสุขขั้นจริยธรรม

เช่น การดื่มเหล้าทำไมจึงเป็นบาป ทำไมจึงเป็นความทุกข์
ก็เพราะการดื่มเหล้านั้นเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ท่านกล่าวไว้ อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก
การไม่เบียดเบียนกัน เป็นสุขในโลก
เมื่อการดื่มเหล้าเป็นการเบียดเบียนดังนี้ จึงเป็นบาป


:b46: :b46: :b46:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2022, 12:34 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร