วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 13:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 79, 80, 81, 82, 83, 84, 85 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ผลไม้นานาชนิด เถาและเหง้าของต้นไม้ ที่อาศรมของข้าพเจ้านั่นมีมาก. บทว่า
มา เม ตโต ความว่า พวกพรานจำนวนมาก ย่อมพากันมายังอาศรมของ
ข้าพเจ้านั้น ก็มูลผลาหารที่มีรสอร่อยมากมาย ที่ข้าพเจ้านำมาวางไว้ในที่นี้ ก็
มีอยู่ เมื่อข้าพเจ้ามัวแต่ชักช้า พวกพรานเหล่านั้น ก็จะพึงลักเอามูลผลาหาร

ไปเสีย ขอพวกพรานอย่าได้มาลักมูลผลาหารของข้าพเจ้าไปจากที่นั้นเลย เพราะ
ฉะนั้น พระราชธิดาจึงตรัสว่า แม้ถ้าท่านมีความประสงค์จะไปกับเราก็เชิญ
หากไม่มีความประสงค์จะไปไซร้ เราก็จักไปละ.

ดาบสได้สดับดังนั้นแล้ว เพื่อจะยับยั้งพระราชธิดาไว้ จนกว่าบิดา
ตนจะกลับมา จึงกล่าวคาถาว่า
บิดาของเราไปแสวงหามูลผลาหาร จะกลับมา
ในเย็นวันนี้ เราทั้งสองจะไปสู่อาศรมนั้นได้ ก็ต่อเมื่อ
บิดากลับมาจากการแสวงหามูลผลาหาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภว คจฺฉามเส ความว่า เราทั้งสอง
คนแจ้งให้บิดาเราได้ทราบแล้ว จึงจักไปได้.

ลำดับนั้น พระราชธิดานั้น คิดแล้วว่า ดาบสนี้ ไม่รู้ว่าเราเป็นหญิง
เพราะค่าที่ท่านเจริญเติบโตมาในป่าเท่านั้น ตั้งแต่แรก แต่บิดาของดาบสนั้น
พอเห็นเราเข้า ก็รู้ทันที คงถามว่า เจ้ามาทำอะไรในที่นี้ ? แล้วคงจะเอา
ปลายไม้คานตีเรา แม้ศีรษะของเราก็ต้องแตก เราควรจะไปเสีย ในเวลาที่
บิดาของเขายังไม่มาดีกว่า ถึงหน้าที่ในการมาของเรา ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว.
พระราชธิดานั้น เมื่อจะบอกอุบายแห่งการมาแก่ดาบสนั้น จึงกล่าวคาถานอก
นี้ว่า

พราหมณ์ ฤาษี และราชฤาษี ผู้มีรูปสวยเหล่า
อื่นเป็นอันมาก ย่อมอยู่ใกล้ทางโดยลำดับ ท่านพึง
ถามถึงอาศรมของข้าพเจ้ากะท่านพวกนั้นเถิด ท่าน
พวกนั้นจะพาท่านไปในสำนักของข้าพเจ้า.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชีสโย ความว่า สหายเอย ! เรา
ไม่สามารถจะชักช้าอยู่ได้ เพราะพวกพราหมณ์ ฤาษี และพวกราชฤาษี ผู้มี
รูปร่างสวยงามเหล่าอื่น ย่อมอยู่ใกล้ทางโดยลำดับ คือ อยู่ใกล้ทางไปอาศรม
ของเรา เราบอกแก่เขาเหล่านั้นแล้วจักไป ท่านพึงถามเขาเหล่านั้นเถิด เขา
เหล่านั้น จักนำท่านไปสู่สำนักเราเอง.

พระราชธิดานั้น กระทำอุบายสำหรับที่ตนจะหนีไปอย่างนั้นแล้ว ออก
จากบรรณศาลาแล้ว กล่าวกะดาบสผู้กำลังมองดูอยู่นั่นแหละว่า ท่านกลับไป
เถอะ แล้วได้ไปยังสำนักของพวกอำมาตย์ โดยหนทางที่มานั่นแล. พวก
อำมาตย์เหล่านั้น ได้พาพระราชธิดานั้นไปยังค่ายพักแรมแล้ว ก็ไปถึงกรุง
พาราณสีโดยลำดับ. ในวันนั้นนั่นเอง แม้ท้าวสักกเทวราชก็ทรงดีใจ ยังฝน

ให้ตกชุ่มฉ่ำทั่วแว่นแคว้น. ต่อแต่นั้นมา ชนบทก็ได้มีภิกษาสมบูรณ์. พอ
พระราชธิดานั้น กลับไปแล้วเท่านั้น ความเร่าร้อนก็เกิดขึ้นในร่างกายแม้ของ
อิสิสิงคดาบส. ดาบสนั้นหวั่นไหวใจ เข้าไปยังบรรณศาลา เอาผ้าป่านคลุม
ร่างนอนเศร้าโศกอยู่แล้ว.

ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์กลับมามองไม่เห็นบุตร จึงคิดว่า เขาไป
เสียในที่ไหนหนอ แล้ววางหาบเข้าไปยังบรรณศาลา มองเห็นเขานอน จึง
ลูบหลังพลางถามว่า ลูกเอ๋ย ! เจ้าทำอะไร แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า

ฟืนเจ้าก็ไม่หัก น้ำเจ้าก็ไม่ตัก แม้ไฟเจ้าก็ไม่ติด
เจ้าอ่อนใจซบเซาอยู่ทำไมหนอ ดูก่อนเจ้าผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ เมื่อก่อนฟืนเจ้าก็หัก ไฟเจ้าก็ติด แม้ไฟ
สำหรับผิงเจ้าก็จัดได้ ตั่งเจ้าก็ตั้ง น้ำเจ้าก็ตักไว้ให้เรา
วันอื่น ๆ เจ้าเป็นผู้ประเสริฐดีอยู่ วันนี้เจ้าไม่หักฟืน
ไม่ตักน้ำ ไม่ติดไฟ ไม่จัดเครื่องบริโภคไว้ ไม่ทัก-
ทายเรา ของอะไรของเจ้าหายไปหรือ หรือว่าเจ้ามี
ทุกข์ในใจอะไร.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺนานิ ได้แก่ ฟืนที่นำมาจากป่า
เจ้าก็ไม่หัก. บทว่า น หาสิโต ได้แก่ แม้ไฟเจ้าก็ไม่ให้ลุกโพลง. บทว่า
ภินฺทานิ ความว่า เมื่อก่อนเวลาที่เรามา เจ้าก็ได้หักฟืนไว้เรียบร้อยแล้ว.
บทว่า หุโต จ อคฺคิ ความว่า ไฟสำหรับบูชาเจ้าก็ติด. บทว่า ตปนี
ความว่า แม้ไฟลุ่น ๆ คือไฟสำหรับผิง เจ้าเองก็ตระเตรียมจัดแจงไว้. บทว่า

ปิ€ํ ความว่า และตั่งประจำสำหรับที่อยู่ของเรา เจ้าก็จัดตั้งไว้แล้วทีเดียว.
บทว่า อุทกญฺจ ความว่า แม้น้ำสำหรับล้างเท้า เจ้าก็ตักตั้งไว้เหมือนกัน.
บทว่า พฺรหฺมภูโต ความว่า ในวันอื่นจากวันนี้ แม้เจ้าเป็นผู้ประเสริฐ
รื่นรมย์อยู่ในอาศรมนี้. บทว่า อภินฺนกฏฺโ€สิ ได้แก่ วันนี้เจ้าไม่หักฟืน.
บทว่า อสิทฺธโภชโน ความว่า หัวเผือกหัวมัน หรือใบไม้อะไร ๆ ที่เจ้า

จะนึ่งไว้สำหรับเราไม่มีเลย. บทว่า มมชฺช ความว่า ลูกเอ๋ย ! วันนี้เจ้าไม่
ยอมทักทายพ่อเลย. บทว่า นฏฺ€ํ นุ กึ นี้ พระโพธิสัตว์ถามลูกดาบสว่า
ของอะไรของลูกหายไปหรือ หรือว่าลูกมีความทุกข์ในใจอะไรอยู่ รีบบอกเหตุ
แห่งการนอนซบเซามาให้พ่อทราบบ้างเถอะ.

ดาบสนั้น ฟังคำของบิดาแล้ว เมื่อจะเล่าถึงเหตุการณ์นั้นให้ทราบ
จึงเรียนว่า
ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์มาในอาศรมนี้ มีรูป
ร่างน่าดู น่าชม เอวเล็กเอวบาง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก
รัศมีสวยงาม มีศีรษะปกคลุมด้วยผมอันดำเป็นเงางาม
ไม่มีหนวด บวชไม่นาน มีเครื่องประดับเป็นรูปเชิง
บาตรอยู่ที่คอ มีปุ่มสองปุ่มงามเปล่งปลั่งดังก้อนทองคำ

เกิดดีแล้วที่อก หน้าของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก มีกรรเจียก
จอนห้อยอยู่ที่หูทั้งสองข้าง กรรเจียกเหล่านั้นย่อม
แวววาว เมื่อชฏิลนั้นเดินไปมา สายพันชฎาก็งาม
แพรวพราว เครื่องประดับเหล่าอื่นอีกสี่อย่างของชฎิล
นั้นมีสีเขียว เหลือง แดง และขาว เมื่อชฎิลนั้นเดิน
ไปมา เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดังกริ่งกร่าง เหมือน


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ฝูงนกติริฏิร้องในเวลาฝนตก ฉะนั้น ชฎิลนั้นไม่ได้
คาดเครื่องรัดเอวที่ทำด้วยหญ้าปล้อง ไม่ได้นุ่งผ้าที่ทำ
ด้วยเปลือกไม้ เหมือนของพวกเรา ผ้าเหล่านั้นพันอยู่
ที่ระหว่างแข้งงามโชติช่วง ปลิวสะบัดดังสายฟ้าแลบ
อยู่ในอากาศ ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิลนั้นมีผลไม้ไม่สุก
ไม่มีขั้ว ติดอยู่ที่สะเอวภายใต้นาภี ไม่กระทบกัน

กระดูกเล่นอยู่เป็นนิตย์ อนึ่ง ชฎิลนั้นมีชฎาน่าดูยิ่งนัก
มีปลายงอนมากกว่าร้อย มีกลิ่นหอม มีศีรษะอันแบ่ง
ด้วยดีเป็นสองส่วน โอ ขอให้ชฎาของเรา จงเป็นเช่น
นั้นเถิดหนอ และในคราวใด ชฎิลนั้นขยายชฎาอัน
ประกอบด้วยสีและกลิ่น ในคราวนั้น อาศรมก็หอม

ฟุ้งไป เหมือนดอกอุบลเขียวที่ถูกลมรำเพยพัด ฉะนั้น
ผิวพรรณของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ไม่เป็นเช่นกับผิว-
พรรณที่กายของข้าพเจ้า ผิวกายของชฎิลนั้น ถูกลม
รำเพยพัดแล้วย่อมหอมฟุ้งไป ดุจป่าไม้ อันมีดอกบาน
ในฤดูร้อน ฉะนั้น ชฎิลนั้นตีผลไม้อันวิจิตรงามน่าดู
ลงบนพื้นดิน และผลไม้ที่ขว้างไปแล้ว ย่อมกลับมา
สู่มือของเขาอีก ข้าแต่ท่านพ่อ ผลไม้นั้นชื่อผลอะไร

หนอ อนึ่ง ฟันของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ขาวสะอาด
เรียบเสมอกันดังสังข์อันขัดดีแล้ว เมื่อชฎิลเปิดปากอยู่
ย่อมยังใจให้ผ่องใส ชฎิลนั้นคงไม่ได้เคี้ยวผักด้วยฟัน
เหล่านั้นเป็นแน่ คำพูดของเขาไม่หยาบคาย ไม่เคลื่อน
คลาด ไพเราะ อ่อนหวาน ตรง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่
คลอนแคลน เสียงของเขาเป็นเครื่องฟูใจ จับใจดัง


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เสียงนกการเวก นำใจของข้าพเจ้าให้กำหนัดยิ่งนัก
เสียงของเขาหยดย้อย เป็นถ้อยคำไม่สะบัดสะบิ้ง ไม่
ประกอบด้วยเสียงพึมพำ ข้าพเจ้าปรารถนาจะได้เห็น
เขาอีก เพราะชฎิลนั้นเป็นมิตรของข้าพเจ้ามาก่อน
แผลที่ต่อสนิทดี เกลี้ยงเกลาในที่ทั้งปวงใหญ่ เกิดดี
แล้วคล้ายกับกลีบบัว ชฎิลนั้นให้ข้าพเจ้าคร่อมตรง

แผลนั้น แหวกขาเอาแข้งบีบไว้ รัศมีซ่านออกจาก
กายของชฎิลนั้น ย่อมเปล่งปลั่งสว่างไสวรุ่งเรือง ดัง
สายฟ้าอันแลบแปลบปลาบอยู่ในอากาศ ฉะนั้น อนึ่ง
แขนทั้งสองของชฎิลนั้นอ่อนนุ่ม มีขนเหมือนขนดอก
อัญชัน แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้น ก็ประกอบด้วยนิ้ว

มืออันเรียววิจิตรงดงาม ชฎิลนั้นมีอวัยวะไม่ระคาย
มีขนไม่ยาว เล็บยาว ปลายเป็นสีแดง ชฎิลนั้นมีรูป
งาม กอดรัดข้าพเจ้าด้วยแขนทั้งสองอันอ่อนนุ่ม บำเรอ
ให้รื่นรมย์ ข้าแต่ท่านพ่อ มือทั้งสองของชฎิลนั้นอ่อน
นุ่มคล้ายสำลี งามเปล่งปลั่ง พื้นฝ่ามือเกลี้ยงเกลา
เหมือนแว่นทอง ชฎิลนั้นกอดรัดข้าพเจ้า ด้วยมือทั้ง

สองนั้นแล้ว ไปจากที่นี้ ย่อมทำให้ข้าพเจ้าเร่าร้อน
ด้วยสัมผัสนั้น ชฎิลนั้นมิได้นำหาบมา มิได้หักฟืนเอง
มิได้ฟันต้นไม้ด้วยขวาน แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้นก็
ไม่มีความกระด้าง หมีได้กัดชฎิลนั้นเป็นแผล เธอจึง
กล่าวกะข้าพเจ้าว่า ขอท่านช่วยทำให้ข้าพเจ้ามีความสุข

เถิด ข้าพเจ้าจึงช่วยทำให้เธอมีความสุข และความสุข
ก็เกิดมีแก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าแต่ท่านผู้เป็นพรหม เธอได้
บอกข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ามีความสุขแล้ว ก็ที่อันปูลาด
ด้วยใบเถาย่างทรายของท่านนี้ กระจุยกระจายแล้ว


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เพราะข้าพเจ้าและชฎิลนั้น เราทั้งสองเหน็ดเหนื่อยแล้ว
ก็รื่นรมย์กันในน้ำ แล้วเข้าสู่กุฏิอันมุงบังด้วยใบไม้
บ่อย ๆ ข้าแต่ท่านพ่อ วันนี้มนต์ทั้งหลายย่อมไม่แจ่ม
แจ้งแก่ข้าพเจ้าเลย การบูชาไฟข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย
แม้การบูชายัญ ในที่นั้นข้าพเจ้าก็ไม่ชอบใจ ตราบใด

ที่ข้าพเจ้า ยังมิได้พบเห็นชฎิล ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ข้าพเจ้าจะไม่บริโภคมูลผลาหารของท่านพ่อเลย ข้าแต่
ท่านพ่อ แม้ท่านพ่อย่อมรู้เป็นแน่แท้ว่า ชฎิลผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์อยู่ทิศใด ขอท่านพ่อจงพาข้าพเจ้าไปให้
ถึงทิศนั้นโดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าอย่าได้ตายเสียในอาศรม

ของท่านเลย ข้าแต่ท่านพ่อ ข้าพเจ้าได้ฟังถึงป่าไม้
อันวิจิตรมีดอกบาน กึกก้องไปด้วยเสียงนกร้อง มี
ฝูงนกอาศัยอยู่ ขอท่านพ่อช่วยพาข้าพเจ้าไปให้ถึงป่า
ไม้นั้น โดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าจะต้องละชีวิตเสียก่อนใน
อาศรมของท่านพ่อเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธาคมา ได้แก่ ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิล
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์มายังอาศรมนี้. บทว่า สุทสฺสเนยฺโย ได้แก่ มีรูปร่าง
ควรดูด้วยดี. บทว่า สุตนู ได้แก่ มีรูปร่างบางกำลังดี ไม่ผอมนัก ไม่
อ้วนนัก. บทว่า วิเนติ ความว่า ย่อมยังอาศรมให้ถึง คือให้เต็มเปี่ยมด้วย
รัศมีกายของตน คล้ายกับว่าอาศรมมีแต่รัศมีอย่างเดียว. บทว่า สุกณฺหกณฺ-

หจฺฉทเนหิ โภโต ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ศีรษะของท่านผู้เจริญนั้น มี
สีดำสนิทด้วยเส้นผมที่มีสีคล้ายแมลงภู่ เพราะปกคลุมด้วยสีดำเป็นเงางามย่อม
ปรากฏ คล้ายทำด้วยแก้วมณีที่ขัดสีดีแล้ว ฉะนั้น. บทว่า อมสฺสุชาโต
ได้แก่ ชฎิลนั้นยังเป็นหนุ่มแน่น หนวดของเขาจึงยังไม่ปรากฏก่อน. บทว่า
อปุราณวณฺณี ได้แก่ ยังบวชไม่นานนัก. บทว่า อาธารรูปญฺจ ปนสฺส


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กณฺเ€ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงแก้วมุกดาหารว่า ก็ชฎิลนั้นมีเครื่องประดับคล้าย
กับรูปเชิงบาตรสำหรับใช้วางภาชนะภิกษาของพวกเราอยู่ที่คอ. บทว่า คณฺฑา
นี้ ท่านกล่าวหมายถึงนมทั้งสองข้าง. บทว่า อุเร สุชาตา ได้แก่ เกิดดี
แล้วที่อก. ปาฐะว่า อุรโต ดังนี้ก็มี. บทว่า ปภสฺสรา ได้แก่ สมบูรณ์
ด้วยรัศมี. ปาฐะว่า ปภาสเร ดังนี้ก็มี ความว่า ย่อมส่องสว่าง. บทว่า
ภุสทสฺสเนยฺยํ แปลว่า น่าดูยิ่งนัก. บทว่า กุญฺจิตคฺคา นี้ ท่านกล่าว

หมายถึงกรรเจียกจอน. บทว่า สุตฺตญฺจ ความว่า สายพันที่ชฎาของชฎิล
นั้น ย่อมส่องแสงแพรวพราว. ด้วยบทว่า สํยมานิ จตสฺโส นี้ ท่านแสดง
ถึงเครื่องประดับ ๔ อย่างที่ทำด้วยแก้วมณี ทองคำ แก้วประพาฬ และเงิน.
บทว่า ตา สํสเร ความว่า เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดังกริ่งกร่าง เหมือน
ฝูงนกติริฏิร้องในเวลาที่ฝนตก ฉะนั้น. บทว่า เมขลํ แปลว่า สายรัดเอว

สำหรับผู้หญิง. ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงผ้าใยไม้ชนิด
บางสำหรับนุ่ง. บทว่า น สนฺถเร ได้แก่ ไม่ใช่ผ้าเปลือกไม้. มีคำที่ท่าน
กล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิลนั้นมิได้ใช้ผ้าที่ทำด้วยหญ้าปล้อง หรือ
ที่ทำด้วยเปลือกไม้ เหมือนของพวกเราเลย แต่ชฎิลนั้นใช้ผ้าใยไม้ชนิดบาง
สีทอง. บทว่า อขิลกานิ ได้แก่ ไม่สุก ไม่มีขั้ว. บทว่า กฏิสโมหิตานิ

ได้แก่ ผูกติดอยู่ที่สะเอว. บทว่า นิจฺจกีฬํ กโรนฺติ ความว่า แม้จะไม่
กระทบกัน แต่ก็กระดกเล่นอยู่เป็นนิตย์. บทว่า หนฺตาต แปลว่า ข้าแต่
ท่านพ่อผู้เจริญ. บทว่า กึ รุกฺขผลานิ ตานิ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงแก้วมณี
และผ้าพาดว่า ผลไม้เหล่านั้น เป็นผลไม้ชนิดไหน ที่ผูกด้ายเป็นปมติดอยู่ที่
สะเอวของมาณพนั้น. บทว่า ชฎา ท่านกล่าวหมายถึงมวยผมที่แซมเสียบติด

ด้วยรัตนะ โดยเป็นระเบียบวงรอบชฎา. บทว่า เวลฺลิตคฺคา แปลว่า มี
ปลายงอนขึ้น. บทว่า เทฺวธาสิโร ได้แก่ ศีรษะของชฎิลนั้น มีชฎาที่ผูก
แบ่งด้วยดีเป็นสองส่วน. บทว่า ตถา ความว่า ดาบสปรารถนาว่า ชฎาของ
ผม ท่านพ่อมิได้ผูกให้เหมือนชฎาของมาณพนั้นเลย โอ หนอ ขอให้ชฎาแม้


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ อาหารยังมีเฉพาะแต่ละวัยฉันใด แม้พระธรรมคำสอนก็ฉันนั้น
+ จิตยิ่งบริสุทธิจากกิเลส ปัญญาก็ยิ่งเจริญยิ่ง
+ ปัญญาส่องเห็นความจริง ผู้ที่เสพคบแต่ความจริงนั้นปัญญาย่อมเจริญ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ของผมจงเป็นเช่นนั้นเถิด ดังนี้ จึงได้กล่าวไว้แล้ว. บทว่า อุเปตรูปา ได้แก่
ชฎามีสภาวะอันประกอบแล้ว. บทว่า วาตสเมริตํว ความว่า กลิ่นหอม
ย่อมฟุ้งขจรไปในอาศรมไพรสณฑ์นี้ เหมือนดอกอุบลเขียวที่ถูกลมรำเพยพัด
ฟุ้งไป ฉะนั้น. บทว่า เนตาทิโส ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ผิวพรรณที่
สรีระของชฎิลนั้นทั้งน่าดูยิ่งนัก ทั้งมีกลิ่นหอมด้วย ไม่เป็นเช่นกับผิวพรรณที่

กายของข้าพเจ้าเลย. บทว่า อคฺคคิมฺเห ได้แก่ ในสมัยต้นฤดูฝน. บทว่า
นิหนฺติ แปลว่า ย่อมตี. บทว่า กึ รุกฺขผลํ นุโข ตํ ได้แก่ ผลไม้นั้น
เป็นผลของต้นไม้อะไรหนอ. บทว่า สงฺขวรูปปนฺนา ได้แก่ มีส่วนเปรียบ
เสมอด้วยสังข์อันขัดดีแล้ว. บทว่า น นูน โส สากมขาทิ ความว่า มาณพ
นั้น ไม่ได้เคี้ยวผัก หัวมันและผลไม้ด้วยฟันเหล่านั้น เหมือนอย่างพวกเรา

เป็นแน่. ดาบสนั้นย่อมแสดงว่า เพราะเมื่อพวกเราพากันเคี้ยวผลไม้เหล่านั้น
อยู่ ฟันจึงมีสีเปลือกตมจับสนิท. บทว่า อกกฺกสํ ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ
คำพูดของดาบสนั้น แม้จะพูดอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่หยาบคาย ไม่เคลื่อนคลาด
อ่อนหวานเพราะไพเราะหวานสนิท เป็นคำตรงเพราะไม่หลงลืม เป็นคำสงบ

เรียบเพราะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นคำไม่คลอนแคลน เพราะเป็นคำมั่นคงหลักฐาน.
บทว่า รุทํ ความว่า แม้เสียงร้องคือเสียงของเขาผู้พูดอยู่ ย่อมจับใจ เป็น
เสียงดี ไพเราะหวานดุจเสียงนกการเวก ฉะนั้น. บทว่า รญฺชยเตว ความ
ว่า ใจของข้าพเจ้า ย่อมกำหนัดยิ่งนัก. บทว่า พินฺทุสฺสโร ได้แก่ เสียง
ของเขาหยดย้อย. บทว่า มาณวาหุ ความว่า เพราะมาณพนั้นได้เป็นมิตร

ของข้าพเจ้ามาก่อน. บทว่า สุสนฺธิ สพฺพตฺถ วีมฏ€ิมํ วณํ ความว่า
ข้าแต่ท่านพ่อ แผลแผลหนึ่ง มีอยู่ที่ระหว่างขาอ่อนของมาณพนั้น แผลนั้น
มีรอยต่อสนิทดี สัมผัสดี เกลี้ยงเกลาในที่ทั้งปวง คือ เกลี้ยงเกลาโดยรอบ
คล้ายกับปากแผลที่มีศิลปะ บทว่า ปุถุ ได้แก่ ใหญ่. บทว่า สุชาตํ


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ อาหารยังมีเฉพาะแต่ละวัยฉันใด แม้พระธรรมคำสอนก็ฉันนั้น
+ จิตยิ่งบริสุทธิจากกิเลส ปัญญาก็ยิ่งเจริญยิ่ง
+ ปัญญาส่องเห็นความจริง ผู้ที่เสพคบแต่ความจริงนั้นปัญญาย่อมเจริญ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ได้แก่ ดำรงอยู่เหมาะดี. บทว่า ขรปตฺตสนฺนิภํ แปลว่า คล้ายกับกลีบ
ดอกบัว. บทว่า อุตฺตริยาน ได้แก่ คร่อม คือ ทับลง. บทว่า ปิฬยิ
แปลว่า บีบไว้. บทว่า ตปนฺติ ความว่า รัศมีมีสีดุจทองคำแผ่ซ่านออก
จากสรีระของมาณพนั้น ย่อมเปล่งปลั่งสว่างไสวและรุ่งเรือง. บทว่า พาหา
ได้แก่ แม้แขนทั้ง ๒ ข้างของชฎิลนั้นก็อ่อนนุ่ม. บทว่า อญฺชนโลมสทิสา

ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยขนทั้งหลาย เช่นกับขนดอกอัญชัน. บทว่า วิจิตฺร-
วฏฺฏงฺคุลิกสฺส โสภเร ความว่า แม้มือทั้งสองข้างของชฎิลนั้น ก็ประกอบ
ด้วยนิ้วมืออันเรียวงดงาม มีลักษณะอันวิจิตร เช่นกับยอดผ้าขนสัตว์. บทว่า
อกกฺกสงฺโค ได้แก่ มีอวัยวะน้อยใหญ่ปราศจากโรคภัย มีโรคหิดที่เบียด-
เบียนเป็นต้น. บทว่า รมยํ อุปฏฺ€หิ ความว่า บำรุง บำเรอให้ข้าพเจ้า

รื่นรมย์. บทว่า ตูลูปนิภา ได้แก่ เป็นข้ออุปมาถึงความอ่อนนุ่ม. บทว่า
สุวณฺณกมฺพูตลวฏฺฏสุจฺฉวี ได้แก่ พื้นฝ่ามือกลมเกลี้ยง และมีผิวพรรณดี
คล้ายพื้นแว่นทองคำ อธิบายว่า มีพื้นกลมเกลี้ยง และมีผิวพรรณงดงาม.
บทว่า สํผุสิตฺวา ได้แก่ สัมผัสด้วยดี คือ ใช้มือทั้งสองของตนสัมผัส
ทำให้สรีระของข้าพเจ้า ซาบซ่าน. บทว่า อิโต คโต ได้แก่ ทั้ง ๆ ที่
ข้าพเจ้ามองดูอยู่นั่นแหละ เธอก็จากที่นี้ไปเสียแล้ว. บทว่า เตน มํ ทหนฺติ

ความว่า ด้วยการกอดรัดสัมผัสนั้นของเขา ทำให้ข้าพเจ้าเร่าร้อนอยู่จนถึงบัดนี้
แหละ อธิบายว่า ก็จำเดิมแต่กาลที่ชฎิลนั้นจากไปแล้วอย่างนั้น ความเร่าร้อน
ก็บังเกิดขึ้นในสรีระของข้าพเจ้า ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงถึงความโทมนัสนอน
ซมอยู่แล้ว. บทว่า ขาริวิธํ ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ มาณพนั้นมิได้ยกหาบ
เที่ยวไปเป็นแน่. บทว่า ขีฬานิ ได้แก่ สิ้นความกระด้าง. อีกอย่างหนึ่ง

บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า สุขฺยํ ได้แก่ ความสุข. บทว่า สนฺถตา
ได้แก่ อันปูลาด. บทว่า วิกิณฺณรูปา จ ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ที่อัน
ปูลาดด้วยใบเถาย่างทรายของท่านนี้ กลายเป็นที่เปรอะเปื้อนอากูล ด้วยอำนาจ
การที่ข้าพเจ้าและชฎิลนั้นลูบคลำ สัมผัสทางเพศกันและกัน ในวันนี้ คล้าย
กระจุยกระจาย ด้วยการนอนพลิกไปพลิกมา ฉะนั้น. บทว่า ปุนปฺปุนํ


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ อาหารยังมีเฉพาะแต่ละวัยฉันใด แม้พระธรรมคำสอนก็ฉันนั้น
+ จิตยิ่งบริสุทธิจากกิเลส ปัญญาก็ยิ่งเจริญยิ่ง
+ ปัญญาส่องเห็นความจริง ผู้ที่เสพคบแต่ความจริงนั้นปัญญาย่อมเจริญ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปณฺณกุฏึ วชาม ความว่า ชฎิลนั้น พูดว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ข้าพเจ้าและ
ชฎิลนั้นอภิรมย์กันแล้ว ก็เหน็ดเหนื่อย ออกจากบรรณศาลา พากันไปยัง
แม่น้ำ รื่นรมย์แล้ว พอปราศจากความกระวนกระวายแล้วก็กลับเข้าไปยังกุฎี
นี้นั่นแหละบ่อย ๆ. บทว่า มนฺตา ความว่า วันนี้ คือ ตั้งแต่กาลที่ชฎิล
นั้นจากข้าพเจ้าไปแล้ว มนต์ทั้งหลาย ย่อมไม่แจ่มแจ้ง คือ ย่อมไม่ปรากฏ

ได้แก่ ย่อมไม่ชอบใจข้าพเจ้าเลย. บทว่า น อคฺคิหุตฺตํ นปิ ยญฺ ตตฺร
ความว่า แม้กิริยาของยัญมีจุดไฟ (สุมไฟ) ในการสังเวยเป็นต้น ที่ควรทำ
เพื่อต้องการอ้อนวอนท้าวมหาพรหม ย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่
ชอบใจเลย. บทว่า น จาปิ เต ความว่า ข้าพเจ้าจะไม่ยอมบริโภค แม้

ซึ่งมูลผลาหารที่ท่านพ่อนำมาแล้ว. บทว่า ยสฺสํ ทิสํ แปลว่า ในทิศใด.
บทว่า วนํ ได้แก่ ป่าไม้ที่เกิดอยู่แวดล้อมอาศรมของมาณพนั้น.

เมื่อดาบสนั้น กำลังพร่ำเพ้ออยู่นั่นเอง พระมหาโพธิสัตว์ ได้ฟังคำ
พร่ำเพ้อนั้นแล้ว ก็ทราบว่า ศีลของดาบสนี้ เห็นทีจักถูกผู้หญิงคนหนึ่งทำลาย
ให้ขาดเสียแล้วเป็นแน่ ดังนี้ เมื่อจะกล่าวสอนดาบสนั้น จึงกล่าวคาถา ๖ คาถา
ความว่า

เราไม่ควรให้เจ้าผู้ยังเป็นเด็กเช่นนี้ ถึงความ
กระสันในป่าโชติรส ที่หมู่คนธรรพ์และเทพอัปสร
ซ่องเสพ เป็นที่อยู่อาศัยแห่งฤาษีทั้งหลาย ในกาลก่อน
พวกมิตรย่อมมีบ้าง ไม่มีบ้าง ชนทั้งหลาย ย่อมทำ
ความรักในพวกญาติและพวกมิตร กุมารใดย่อมไม่รู้ว่า

เราเป็นผู้มาแต่ไหน กุมารนี้เป็นผู้ลามก อยู่ในกลางวัน
เพราะเหตุอะไร มิตรสหายย่อมสนิทกันบ่อย ๆ เพราะ
ความอยู่ร่วมกัน มิตรนั้นนั่นแหละย่อมเสื่อมไป เพราะ
ความไม่อยู่ร่วมของบุรุษที่ไม่สมาคม ถ้าเจ้าได้เห็น
พรหมจารี ได้พูดกับพรหมจารี เจ้าจักละคุณคือตป-

ธรรมนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะ
น้ำมาก ฉะนั้น หากเจ้าได้เห็นพรหมจารีอีก ได้พูด
กับพรหมจารีอีก เจ้าจักละสมณเดชนี้เร็วไว ดุจข้าว
กล้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะน้ำมาก ฉะนั้น


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ อาหารยังมีเฉพาะแต่ละวัยฉันใด แม้พระธรรมคำสอนก็ฉันนั้น
+ จิตยิ่งบริสุทธิจากกิเลส ปัญญาก็ยิ่งเจริญยิ่ง
+ ปัญญาส่องเห็นความจริง ผู้ที่เสพคบแต่ความจริงนั้นปัญญาย่อมเจริญ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูก่อนลูกรัก พวกยักษ์นั้น ย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก
โดยรูปแปลก ๆ นรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงคบพวกยักษ์
นั้น พรหมจารีย่อมฉิบหายไป เพราะความเกาะเกี่ยว
กัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมสฺมา ได้แก่ อิมสฺมึ แปลว่า.
(ในป่าอันเป็นโชติรส) นี้. คำว่า หิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า โชติรเส
ได้แก่ ในป่าอันมีรัศมีโชติช่วงสว่างไสวปกคลุมทั่ว. บทว่า สนนฺตนมฺหิ
แปลว่า ในกาลก่อน บทว่า ปาปุเณถ แปลว่า (ไม่) ควรให้ถึง. มีคำ
อธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ลูกเอ๋ย ! กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตอยู่ในป่าเห็นปานนี้

ไม่ควรให้เจ้าผู้ยังเป็นเด็กเช่นนี้ ถึงความกระสันเลย อธิบายว่า ไม่ควรให้ถึง
บทว่า ภวนฺติ ความว่า พระมหาโพธิสัตว์ กล่าวคาถานี้ เฉพาะคนที่อยู่
ภายในเท่านั้น. ความในคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมดาว่าหมู่มิตร
ของปวงสัตว์ในโลก ย่อมมีบ้าง ไม่มีบ้าง ในบรรดาคนเหล่านั้น พวกที่เป็น
มิตร ย่อมทำความรักในพวกญาติและพวกมิตรของตน. บทว่า อยญฺจ ชมฺโม

ได้แก่ (กุมารนี้) เป็นมิคสิงคะ ผู้ลามก. บทว่า กิสฺส ทิวา นิวิฏฺโ€
ความว่า เพราะค่าที่ตนเกิดในท้องของมิคีแล้วเติบโตในป่า ด้วยเหตุอะไร
กุมารนั้นจึงอยู่กับมาตุคาม โดยสำคัญว่าเป็นมิตรเล่า บทว่า กุโตมฺหิ
อาคโต ความว่า กุมารนั้น ย่อมไม่รู้ว่าตนมีฐานะมาอย่างไร จะป่วย
กล่าวไปไยถึงหมู่ญาติและมิตรเล่า. บทว่า ปุนปฺปุนํ ความว่า ลูกเอ๋ย !

ธรรมดาว่าหมู่มิตรย่อมสนิทสนมกัน ติดต่อกันบ่อย ๆ เพราะการอยู่ร่วมกัน
คือ คบหากัน. บทว่า เสฺวว มิตฺโต ความว่า มิตรนั้นนั่นแหละ ย่อม
เสื่อมไป คือย่อมพินาศไป เพราะการไม่อยู่ร่วมกล่าวคือการไม่สมาคมกันนั้น
ของบุรุษผู้ที่ไม่สมาคม. คำว่า สเจ ความว่า เพราะฉะนั้น ลูกเอ๋ย ! ถ้า

เจ้าได้เห็นพรหมจารีนั้นซ้ำอีก หรือว่าได้พูดกับพรหมจารีนั้น เจ้าก็จักละ
จักทำให้คุณ คือตปธรรมของตนนี้ เสื่อมไปเร็วไว ดุจข้าวกล้าที่เผล็ดผล
สมบูรณ์ดีแล้ว เสียไปเพราะน้ำมาก ฉะนั้น. บทว่า อุสฺมาคตํ แปลว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ อาหารยังมีเฉพาะแต่ละวัยฉันใด แม้พระธรรมคำสอนก็ฉันนั้น
+ จิตยิ่งบริสุทธิจากกิเลส ปัญญาก็ยิ่งเจริญยิ่ง
+ ปัญญาส่องเห็นความจริง ผู้ที่เสพคบแต่ความจริงนั้นปัญญาย่อมเจริญ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สมณเดช. บทว่า วิรูปรูเปน แปลว่า โดยรูปแปลก ๆ. มีคำที่ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า พระโพธิสัตว์กล่าวสอนแล้วซึ่งบุตรอย่างนี้ว่า ดูก่อนลูกรัก ก็
ภูตคือพวกยักษ์เหล่านี้ ย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก โดยรูปร่างของตนปกปิด
รูปแปลก ๆ ไว้ ก็เพื่อเคี้ยวกินพวกคนที่ตกไปสู่อำนาจของตน นรชนผู้มีปัญญา
ไม่พึงคบหาพวกภูตคือยักษ์เหล่านั้น เพราะถึงความเกาะเกี่ยวกันเช่นนั้น การ
ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมฉิบหายไป เจ้าถูกนางยักษิณีนั้นพบเห็นแล้ว แต่
ยังไม่ถูกเคี้ยวกิน.

ดาบสนั้น ได้ฟังถ้อยคำของบิดาแล้วเกิดความกลัวขึ้นว่า เพิ่งทราบ
ว่า หญิงคนนั้นคือนางยักษิณี จึงกลับใจแล้ว ขอขมาคุณพ่อว่า คุณพ่อครับ
ผมจักไม่ขอไปจากที่นี้ พ่อยกโทษให้ผมเถอะ. แม้พระโพธิสัตว์นั้น ปลอบใจ
ให้ลูกสบายใจแล้ว จึงบอกถึงวิธีการเจริญพรหมวิหารว่า มาณพน้อย เอ๋ย !

เจ้ามานี่ซิ เจ้าจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเถิด. ดาบสนั้น
ปฏิบัติตามอย่างนั้นแล้ว ก็ทำฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นได้อีก.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ
ทั้งหลายแล้ว ทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ อุกกัณฐิตภิกษุ ดำรงอยู่
ในโสดาปัตติผล. พระราชธิดานฬินิกาในกาลนั้น ได้เป็นปุราณทุติยิกา.
อิสิสิงคดาบส ได้เป็นอุกกัณฐิตภิกษุ ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้เป็นบิดา
ก็คือเรานั่นเอง.
จบอรรถกถานฬินิกาชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาอุมมาทันตีชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารทรงพระปรารภ
อุกกัณฐิตภิกษุ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า นิเวสนํ กสฺส นุทํ สุนนฺท
ดังนี้เป็นต้น.

ได้ยินว่า วันหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้
มองเห็นหญิงคนหนึ่ง ซึ่งประดับตกแต่งร่างกาย มีรูปร่างงดงามอย่างยิ่ง เกิด
มีจิตปฏิพัทธ์ ไม่อาจจะกลับใจหักห้ามได้ มายังวิหาร จำเดิมแต่นั้น ก็เป็น
ผู้อ่อนแอเพราะโรค ดุจถูกลูกศรทิ่มแทงแล้ว มีส่วนเปรียบด้วยเนื้อที่วิ่งพล่าน
ไป ผ่ายผอม ร่างกายมีเส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง กลายเป็นคนผอมเหลือง ไม่ยินดี

(ในพระศาสนา) เมื่อไม่ได้ความสบายใจ แม้ในอิริยาบถหนึ่ง จึงละเว้นวัตร
มีอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเป็นต้น อยู่ชนิดที่เว้นว่างจากการประกอบความ
เพียรในอุทเทส ปริปุจฉา และกัมมัฏฐาน. เธอถูกพวกเพื่อนภิกษุถามว่า
อาวุโส เมื่อก่อนท่านมีอินทรีย์เปล่งปลั่ง มีสีหน้าผ่องใส แต่เดี๋ยวนี้ หาได้เป็น

อย่างนั้นไม่ เพราะเหตุอะไรกันหนอ ? จึงตอบว่า อาวุโส ผมไม่ยินดียิ่ง
(ในพระศาสนา) เลย. ลำดับนั้น พวกเพื่อนภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวสอนเธอ
ว่า อาวุโสเอย ! ท่านจงยินดียิ่ง (ในพระศาสนา) เถิด ธรรมดาว่า การ
อุบัติเกิดแห่งพระพุทธเจ้า เป็นสภาวะที่ได้โดยยาก การได้ฟังพระสัทธรรม

และการได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ก็เป็นสิ่งที่ได้โดยยากเหมือนกัน ท่านนั้นได้
อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อปรารถนาจะทำที่สุดแห่งทุกข์ให้ได้ จึงละคนผู้
เป็นญาติมีน้ำตานองใบหน้าแล้ว บวชด้วยศรัทธา เพราะเหตุไร ท่านจึงตก
ไปสู่อำนาจแห่งกิเลสเล่า ขึ้นชื่อว่า กิเลสเหล่านั้น มีทั่วไปแก่คนพาลทุก

จำพวก ตั้งแต่สัตว์มีชีวิตไส้เดือนขึ้นไป มีอุปมาเหมือนผลไม้ กิเลสเหล่านั้น
เป็นที่ตั้งแห่งวัตถุกาม กามแม้เหล่านั้น มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้น มีประมาณยิ่ง กามทั้งหลาย เปรียบเหมือน
ร่างกระดูก กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบ


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ อาหารยังมีเฉพาะแต่ละวัยฉันใด แม้พระธรรมคำสอนก็ฉันนั้น
+ จิตยิ่งบริสุทธิจากกิเลส ปัญญาก็ยิ่งเจริญยิ่ง
+ ปัญญาส่องเห็นความจริง ผู้ที่เสพคบแต่ความจริงนั้นปัญญาย่อมเจริญ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เพลิงหญ้า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง กามทั้งหลายเปรียบ
เหมือนความฝัน กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมเขามา กามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนผลของต้นไม้ที่มีพิษ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกและหลาว
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู ธรรมดาว่าท่านบวชแล้วในพระศาสนาเห็น
ปานนี้ ยังตกไปสู่อำนาจของเหล่ากิเลส ซึ่งเป็นเหตุกระทำความพินาศถึงอย่าง

นั้นได้ดังนี้ เมื่อไม่สามารถจะให้ภิกษุนั้นรับเอาถ้อยคำของตนได้ จึงพากันนำ
ไปเข้าเฝ้าพระศาสดายังธรรมสภา เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่มีความปรารถนาจะมา ทำไม ? จึงพากันกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทราบว่าภิกษุรูปนี้ เป็นผู้มีความเบื่อหน่าย เจ้าข้า. พระ

ศาสดาตรัสถามว่า ที่เล่ามาเป็นความจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เป็น
ความจริง พระเจ้าข้า ดังนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย
แม้ตามพร่ำสอน ซึ่งพระราชาผู้ครอบครองราชสมบัติอยู่ จนไม่ตกไปสู่อำนาจ
กิเลสที่เกิดขึ้น ห้ามจิตเสียได้ ไม่ยอมทำสิ่งที่ไม่สมควร ดังนี้แล้ว ทรงนำ
อดีตนิทานมาตรัสว่า

ในอดีตกาล ในแคว้นสีวี พระราชาทรงพระนามว่า สีวี ทรงครอบ
ครองราชสมบัติ ในอริฏฐบุรีนคร พระโพธิสัตว์ บังเกิดในพระครรภ์พระ
อัครมเหสีของพระราชาพระองค์นั้นแล้ว. พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย พากัน
ขนานพระนามพระราชโอรสนั้นว่า สีวิกุมาร. แม้บุตรของท่านเสนาบดี ก็
คลอดแล้ว. พวกหมู่ญาติ พากันตั้งชื่อเด็กนั้นว่า อภิปารกะ เด็กทั้งสองคน

นั้น เป็นสหายกัน พอเจริญวัยมีอายุได้ ๑๖ ปี ไปยังกรุงตักกศิลา พอเล่า
เรียนศิลปะจบแล้ว ก็พากันกลับมา. พระราชาได้ทรงพระราชทานพระราช-
สมบัติให้พระราชโอรสครอบครอง. แม้พระราชโอรสนั้น ก็ทรงแต่งตั้ง
อภิปารกะไว้ในตำแหน่งเสนาบดีแล้ว ทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรม

ในพระนครนั้นนั่นเอง มีบุตรสาวของท่านติริฏิวัจฉเศรษฐี ผู้มีทรัพย์สมบัติ
ประมาณ ๘๐ โกฏิ เธอมีรูปร่างสวยยิ่งนัก เลอเลิศด้วยความงาม ประกอบ
ด้วยลักษณะอันงดงาม ในวันตั้งชื่อ หมู่ญาติได้ตั้งชื่อเธอว่า อุมมาทันตี. ใน
เวลาเธอมีอายุได้ ๑๖ ปี เธอมีผิวพรรณเกินล้ำหมู่มนุษย์ งดงาม น่าดูน่าชม
ปานเทพยดาชั้นฟ้า. พวกปุถุชนที่พบเห็นเธอเข้าทุกคน ๆ คน ไม่สามารถจะ


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ อาหารยังมีเฉพาะแต่ละวัยฉันใด แม้พระธรรมคำสอนก็ฉันนั้น
+ จิตยิ่งบริสุทธิจากกิเลส ปัญญาก็ยิ่งเจริญยิ่ง
+ ปัญญาส่องเห็นความจริง ผู้ที่เสพคบแต่ความจริงนั้นปัญญาย่อมเจริญ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดำรงอยู่ได้โดยภาวะของตน เป็นผู้เมาแล้ว ด้วยความเมาคือกิเลส เหมือนเมา
แล้วด้วยน้ำเมา ฉะนั้น ชื่อว่า สามารถจะตั้งสติได้ ไม่ได้มีแล้ว ครั้งนั้น
ท่านติริฏิวัจฉะผู้เป็นบิดาของนาง เข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ อิตถีรัตนะอันสมควรแด่พระเจ้าแผ่นดิน ได้บังเกิดขึ้น

แล้วในเรือนของข้าพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดส่งพราหมณ์ผู้ทำนายลักษณะ
ทั้งหลายไป ให้พิจารณาอิตถีรัตนะนั้นแล้ว โปรดจงทำตามความพอพระทัย
เถิด. พระราชา ทรงรับคำแล้วทรงสั่งพราหมณ์ทั้งหลายไปแล้ว. พราหมณ์
เหล่านั้นไปยังเรือนของท่านเศรษฐีแล้ว ได้รับการต้อนรับด้วยสักการะและ
สัมมานะ พากันบริโภคข้าวปายาสแล้ว.

ในขณะนั้น นางอุมมาทันตี ผู้ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการพร้อม
สรรพ ได้ไปสู่สำนักของพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว พราหมณ์เหล่านั้น พอพบ
เห็นนางเข้าก็ไม่สามารถจะดำรงสติไว้ได้ เป็นผู้เมาด้วยความเมาคือกิเลส ไม่
ได้รู้เลยว่าตนกำลังบริโภคค้างอยู่ บางพวก ก็จับคำข้าวเอาวางไว้บนศีรษะ
ด้วยสำคัญว่าเราจะบริโภค บางพวก ก็ยัดใส่ในระหว่างซอกรักแร้. บางพวก

ก็ทุบตีฝาเรือน พวกพราหมณ์ได้กลายเป็นคนบ้าไปแม้ทั้งหมด นางเห็น
พราหมณ์เหล่านั้นเข้า จึงกล่าวว่า ทราบว่าพราหมณ์เหล่านี้ จักตรวจดูลักษณะ
ของเรา ท่านทั้งหลาย จงลากคอพราหมณ์เหล่านั้นออกไปให้หมด ดังนี้แล้ว
ให้คนรับใช้นำพราหมณ์เหล่านั้นออกไป พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ขวยเขิน
ไปยังพระราชนิเวศน์แล้ว โกรธต่อนางอุมมาทันตีจึงกราบทูลความเท็จว่า ขอ

เดชะ ผู้หญิงคนนั้น เป็นหญิงกาลกรรณี มิได้สมควรแก่พระองค์เลยพระเจ้าข้า
พระราชา ทรงทราบว่า หญิงคนนั้น เป็นกาลกรรณี จึงมิได้ทรงรับสั่งให้
นำหญิงนั้นมา. นางอุมมาทันตีได้ทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า พระราชาไม่
ทรงรับเราด้วยทรงสำคัญว่า ทราบว่าเราเป็นคนกาลกรรณี ขึ้นชื่อว่า หญิง

กาลกรรณี ย่อมไม่มีรูปร่างอย่างนี้เป็นแน่ ดังนี้ จึงผูกอาฆาตในพระราชา
พระองค์นั้นว่า ช่างเถอะ ก็ถ้าว่าเราจักได้เข้าเฝ้าพระราชา ก็จักรู้กัน. ครั้น
ต่อมา ท่านบิดา ได้มอบเธอให้แก่ท่านอภิปารกะ นางได้เป็นที่รัก ที่ชอบ
ใจของท่านอภิปารกะเสนาบดี ถามว่า ก็นางได้มีรูปร่างงดงามอย่างนี้ เพราะ
วิบากแห่งกรรมอะไร ? ตอบว่า ด้วยวิบากแห่งการถวายผ้าแดง.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ ความรู้จะมีมากขึ้น หากมิมากไปด้วยความเกียจคร้าน
+ อาหารยังมีเฉพาะแต่ละวัยฉันใด แม้พระธรรมคำสอนก็ฉันนั้น
+ จิตยิ่งบริสุทธิจากกิเลส ปัญญาก็ยิ่งเจริญยิ่ง
+ ปัญญาส่องเห็นความจริง ผู้ที่เสพคบแต่ความจริงนั้นปัญญาย่อมเจริญ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 79, 80, 81, 82, 83, 84, 85 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร