วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 61 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น ภรรยาเศรษฐีเห็นทาสีนั้น ถามว่า เจ้าจะไปไหน เมื่อทาสี
ตอบว่า ธิดาของแม่เจ้าให้ไปตลาดจ้ะ จึงกล่าวว่า จงมานี่ก่อน งดไปตลาด
ไว้ก่อน เจ้าจงปูตั่งให้บุตรของเรา หาน้ำมาล้างเท้า ทาน้ำมัน ปูที่นอนให้
ภายหลังจึงไปตลาด ทาสีได้ทำตามนั้น ลูกสาวเศรษฐีทาสีมาช้า ทาสีจึงบอก
กะธิดาว่า อย่าโกรธฉันเลย โฆสิตะบุตรเศรษฐีมา ฉันทำโน่นบ้าง นี่บ้าง

ให้แก่โฆสิตะนั้นแล้วก็ไปตลาด เสร็จแล้วจึงกลับมานี่แหละจ้ะ. ลูกสาวเศรษฐี
ครั้นได้ฟังชื่อว่าโฆสิตะบุตรเศรษฐีเท่านั้น ความรักด้วยอำนาจบุพเพสันนิวาส
ตัดผิวหนังเป็นต้นจดเยื่อกระดูกตั้งอยู่. นางจึงถามทาสีนั้นว่า เขานอนที่ไหนเล่า
ตอบว่า นอนหลับบนที่นอนจ้ะ. ถามว่า มีอะไรที่มือของเขาบ้าง. ตอบว่า
มีหนังสือที่ชายผ้าจ้ะ นางคิดว่า นั่นหนังสืออะไรหนอ เมื่อโฆสิตะกำลังหลับ

เมื่อมารดาบิดาไม่เห็นเพราะส่งใจไปอื่น จึงไปหาโฆสิตะนั้นแก้หนังสือออก
ถือเข้าไปห้องของตนเปิดประตู เปิดหน้าต่าง เพราะนางฉลาดในอักขรสมัย
จึงอ่านหนังสือนั้น คิดว่า โอช่างโง่เสียจริง ผูกใบมรณะของตนไว้ที่ชายผ้า
เที่ยวไป หากเราไม่เห็น เขาก็จะไม่มีชีวิต จึงฉีกหนังสือนั้นเสียแล้ว เขียน

หนังสืออื่นแทนด้วยคำของเศรษฐีว่า บุตรของเราชื่อโฆสิตะให้นำบรรณาการ
จาก ๑๐๐ หมู่บ้านมาทำการมงคลสมรสกับธิดาของเศรษฐีชนบทนี้ ให้ปลูกเรือน
๒ ชั้น ท่ามกลางบ้านเป็นที่อยู่ของตนแล้วจัดการอารักขาให้ดี ด้วยการล้อม
กำแพงและตั้งยามคุ้มกัน เมื่อทำทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จงส่งข่าวให้เราทราบ
ด้วย เมื่อทำอย่างนี้เสร็จแล้ว เราจะสมนาคุณแก่ลุง ครั้นเขียนเสร็จจึงม้วน
หนังสือ ผูกไว้ที่ชายผ้าของเขา.

โฆสิตะนอนหลับตลอดวัน ลุกขึ้นบริโภคอาหารแล้วก็กลับไป รุ่งขึ้น
ไปบ้านนั้นแต่เช้าตรู่ เห็นผู้จัดการทรัพย์สินกำลังทำการงานในบ้าน. ผู้จัดการ
ทรัพย์สินเห็นโฆสิตะจึงถามว่า อะไรพ่อคุณ โฆสิตะบอกว่า พ่อของฉันส่ง
หนังสือมาให้ท่าน เขารับหนังสือไปอ่านดีใจ สั่งช่างทำเรือนว่า ดูเถิด นาย

ของเราเขารักเรา ส่งบุตรมาหาเรา ขอให้ทำพิธีมลคลสมรสแก่บุตรคนโตของเขา
กับลูกสาวของเรา พวกท่านรีบไปหาไม้เป็นต้นมาเถิด แล้วให้ปลูกเรือนตาม
ที่กล่าวแล้ว ในท่ามกลางบ้านให้นำเครื่องบรรณาการมาจาก ๑๐๐ หมู่บ้าน
แล้วนำธิดาเศรษฐีชนบทมาทำพิธีมงคลสมรส เสร็จแล้วส่งข่าวไปให้เศรษฐี
ทราบว่า ได้ทำทุกอย่างเสร็จแล้ว.


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
เศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็เกิดเสียใจใหญ่หลวงว่า ธุระที่เราให้ทำไม่สำเร็จ
ธุระที่เราไม่ให้ทำสำเร็จ พร้อมกับความโศกถึงบุตร ความโศกนั้นประดัง
เข้ามาอีก จึงเกิดร้อนท้องถึงกับท้องร่วง แม้ลูกเศรษฐีก็สั่งว่า หากมีใคร
มาจากสำนักของเศรษฐี จงบอกเรา อย่าบอกแก่บุตรของเศรษฐีก่อน. แม้เศรษฐี
ก็คิดว่า บัดนี้เราจะไม่ให้บุตรชั่วเป็นเจ้าของสมบัติของเรา จึงกล่าวกะผู้จัดการ
ทรัพย์อีกคนหนึ่งว่า ลุง ฉันอยากเห็นบุตรของฉัน ลุงส่งคนใกล้ชิดคนหนึ่ง
แล้วเขียนหนังสือฉบับหนึ่งส่งไป เรียกบุตรของเรามา.

ผู้จัดการทรัพย์สินรับคำ แล้วให้หนังสือส่งบุรุษคนหนึ่งไป ลูกสาว
เศรษฐีได้พาโฆสิตกุมารไปในเวลาที่เศรษฐีเจ็บหนัก เศรษฐีไดถึงแก่กรรมเสีย
แล้ว เมื่อบิดาถึงแก่กรรม พระราชาทรงประทานสมบัติที่บิดาใช้สอย ทรงมอบ

ตำแหน่งเศรษฐีพร้อมด้วยฉัตรให้. โฆสิตะเศรษฐีดำรงอยู่ในมหาสมบัติ รู้ว่า
ตนพ้นจากความตายในฐาน ๗ ครั้งตั้งแต่ตามคำของลูกเศรษฐีและ
นางกาฬี จึงสละทรัพย์วันละ ๑,๐๐๐ บริจาคทาน. ความที่โฆสิตะเศรษฐีไม่มีโรค
ในฐานะ ๗ ครั้งอย่างนี้เป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า คห คือเรือน ผู้เป็นใหญ๋ในเรือนคือคหบดี
บทนี้เป็นชื่อของผู้เป็นใหญ่ในตระกูลมหาศาล ในบางคัมภีร์เขียนเมณฑกเศรษฐี
ไว้ในลำดับของโฆสิตเศรษฐี. ในบทว่า ปญจนน มหาปญญาน ปุญญวโต
อิทธิ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญนี้ มีความว่า
พึงเห็นบุญฤทธิ์ของผู้มีบุญมาก ๕ คน ชน ๕ คนเหล่านี้ ชื่อว่า ผู้มีบุญมาก

๕ คือ เมณฑกเศรษฐี ๑ นางจันทปทุมา ภริยาเมณฑกเศรษฐี ๑ ธนัญชัย
เศรษฐีบุตร ๑ นางสุมนาเทวีสะใภ้ ๑ นายปุณณทาส ๑ ได้สะสมบุญญาธิการ
ในพระปัจเจกพุทธเจ้า. ในชนเหล่านั้นเมณฑกเศรษฐี สร้างฉางไว้ ๑,๒๕๐
ฉาง ลูกศรีษะแล้วนั่งที่ประตู แหงนดูเบื้องบน สายข้าวสาลีแดง หล่นจาก

อากาศเต็มฉางทั้งหมด. ภริยาของเมณฑกเศรษฐีนั้น เอาข้าวสารประมาณ
ทะนานหนึ่งหุงข้าว แล้วทำแกงในสูปะและพยัญชนะอย่างหนึ่ง ประดับด้วย
เครื่องประดับทุกชนิด นั่งเหนืออาสนะที่ปูไว้ที่ซุ้มประตู ประกาศเรียกว่า ผู้มี
ความต้องการภัตตาหารทั้งปวงจงมาเถิด ถือทัพพีทองคำตักใส่ภาชนะที่คนมา
แล้ว ๆ นำเข้าไปแล้วให้ แม้เมื่อนางให้อยู่ตลอดวันก็ปรากฎเพียงถือเอาด้วย
ทัพพีคราวเดียวเท่านั้น.

บุตรของมณฑกเศรษฐี ลูบศรีษะแล้วถือเอาถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ถุง
ประกาศว่า ผู้มีความต้องการกหาปณะจงมาเถิด แล้วใส่ภาชนะที่คนมาแล้ว ๆ
ให้ไป กหาปณะ ๑,๐๐๐ ถุงก็ยังอยู่

สะใภ้ของเศรษฐีประดับด้วยเครื่องประดับทุกชนิด ถือเอาตะกร้าข้าว-
เปลือก ๔ ทะนาน นั่งบนที่นั่งประกาศว่า ผู้มีความต้องการพืชข้าวจงมาเถิด
แล้วตักใส่ภาชนะที่คนถือมาแล้ว ๆ ให้ ตะกร้าก็ยังเต็มอย่างเดิม.

ทาสของเศรษฐีประดับด้วยเครื่องประดับทุกชนิด เชือกทองคำเทียมโค
ที่แอกทองคำ ถือด้ามปฎักทองคำ ให้นิ้วทั้ง ๕ ของโคมีกลิ่นหอม สวมปลอกกก
ทองคำที่เขาทั้งสองข้างขับไปนา ไถรอยไถไว้ ๗ แห่ง คือ ข้างนี้ ๓ ข้างนี้ ๓
ท่ามกลาง ๑ แล้วไป. ชาวชมพูทวีปถือเอาภัตร พืช เงินและทองเป็นต้น

จากเรือนเศรษฐีตามความชอบใจ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงภัททิยนคร
โดยลำดับ ผู้มีบุญทั้ง ๕ และนางวิสาขาธิดาของธนัญชัยเศรษฐี ได้บรรลุ
โสดาปัตติผล ด้วยการฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้ฤทธิ์ของผู้มีบุญมาก
๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ แต่โดยสังเขปความวิเศษแห่งความสำเร็จ
ในการสะสมบุญที่ถึงความแก่กล้าเป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญ.


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
พึงทราบวินิจฉัยในวิชชามยิมธินิเทศ ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า วิชชาธรา
เพราะทรงไว้ซึ่งวิชชาของชาวคันธาระ มีอาการให้สำเร็จ หรือวิชชาอื่นอันสำเร็จ
ใกล้เคียง อันสำเร็จตามความปรารถนา. บทว่า วิชช ปริชปเปตวา ร่ายวิชชา
คือ ร่ายวิชชาตามที่ใกล้เคียงด้วยปาก บทที่เหลือมีอรรถดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาปโยคิทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. ท่านถามเพียง
อาการแห่งความสำเร็จ ไม่ถามว่า กตมา เป็นไฉน เพราะไม่มีคุณวิเศษ
อย่างอื่น แล้วถามเพียงประการเท่านั้น จึงตั้งคำถามว่า กถ อย่างไร แล้ว
สรุปว่า เอว อย่างนี้. อนึ่ง ในนิเทศนี้บาลีเช่นกับบาลีมีในก่อนมาแล้วด้วย
การแสดง การประกอบชอบ กล่าวคือการปฏิบัตินั่นเอง แต่มาในอรรถว่า

ความวิเศษเกิดขึ้นเพราะทำการกรรมนั้น หมายถึงการเตรียมการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ด้วยทำสกฏพยุหะ (การตั้งค่ายรบแบบกองเกวียน) เป็นต้น ศิลปกรรมอย่างใด
อย่างหนึ่ง เวชกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง การเรียนไตรเพท การเรียนพระไตร

ปิฎก โดยที่สุดการไถและการหว่านเป็นต้น ชื่อว่า ฤทธิ์ ด้วยความสำเร็จ
เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๆ ตัวประการดังนี้.
จบอรรถกถาอิทธิกถา

บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังมิได้พรรณาแห่งอภิสยฃมยกถาอันพระสารี-
บุตรเถระผู้แสดงอภิสมัยอันเป็นฤทธิ์อย่างยิ่งในลำดับแห่งอิทธิกถากล่าวแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิสมโย ความตรัสรู้ คือถึงพร้อมด้วยธรรม
เป็นประธานแห่งสัจจะทั้งหลาย อธิบายว่าแทงตลอด อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ความตรัสรู้อรรถ. บทว่า เกน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ท่านอธิบาย
ไว้อย่างไร ท่านกล่าวความตรัสรู้ว่า ความตรัสรู้เป็นรสนั้นใดในบทแห่งสูตร

มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล
เมื่อความตรัสรู้นั้นเป็นไปอยู่ บุคคลผู้ตรัสรู้ย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยธรรมอะไรเป็นผู้
มีธรรมเป็นประธาน ย่อมถึงพร้อมอธิบายว่าแทงตลอดนี้เป็นคำถามของผู้ท้วง
ก่อน. บทว่า จิตเตน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยจิต คือแก้อย่างนั้นเพราะ

เว้นจิตเสียแล้วไม่มีความตรัสรู้. บทมีอาทิว่า หญจิ เป็นการท้วงอีก หญจิ
แปลว่า ถ้าว่า. เพราะท่านกล่าวว่า ด้วยจิตผู้ท้วงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นบุคคลผู้ไม่มี
ญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ. บทว่า น อญญาณี อภิสเมติ บุคคลไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้
คือปฏิเสธเพราะไม่มีความตรัสรู้โดยเพียงจิตเท่านั้น. บทว่า ญาเณน อภิสเมติ

ย่อมตรัสรู้ด้วยญานเป็นการรับรอง. บทมีอาทิว่า หญจิ อีกครั้งเป็นการท้วงว่า
ผู้ไม่มีความรู้ ย่อมตรัสรู้เพราะไม่มีจิตได้ซิเพราะท่านกล่าวว่า ญาเณน ด้วย
ญาณ. บทว่า น อจิตตโก อภิเสเมติ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ เป็น
การปฏิเสธเพราะผู้ไม่มีจิตตรัสรู้ไม่ได้. บทมีอาทิว่า จิตเตน จ เป็นการรับรอง.
บทมีอาทิว่า หญจิ อีกครั้งเป็นการท้วงอำนาจทั่วไปแห่งจิตและญาณทั้งหมด.
แม้ในการท้วงและการแก้ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า กมมสสกตาจิตเตน จ ญาเณน จ ด้วยกัมมัสสกตาจิตและ
ด้วยญาณ คือ ด้วยจิตอันเป็นไปแล้วด้วยกัมมัสสกตาอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายมี
กรรมเป็นของตน. บท สจจานุโลมิกจิตเตน จ ญาเณน จ ด้วย สัจจา-
นุโลมิกจิต และด้วยญาณคือด้วยจิตสัมปยุตด้วยวิปัสสนากล่าวคือ สัจจา
นุโลมิกญาณ เพราะช่วยการแทงตลอดสัจจะและด้วยวิปัสสนาญาณ.


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
บทว่า กถํ อย่างไรเป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเองตอบเอง)
เหมือนอภิสมัย. บทว่า อุปปาทาธิปเตยยํ จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น
ได้แก่ เพราะเมื่อไม่มีจิตเกิด เจตสิกก็ไม่เกิด เพราะจิตยึดอารมณื เจตสิกก็เกิด
พร้อมกับจิตนั้น เมื่อไม่มีอารมณ์จะยึดจักเกิดได้อย่างไรเล่า แม้ในอภิธรรม

ท่านก็จำแนกเจตสิกไว้ด้วยการเกิดขึ้นแห่งจิตนั่นแหละ ฉะนั้นจิตจึงเป็นใหญ่
ในการเกิดขึ้นแห่งมรรคญาณ. บทว่า ญาณสส คือแห่งมรรคญาณ. บทว่า
เหตุ ปจจโย จ เป็นเหตุเป็นปัจจัยคือเป็นผู้ให้เกิดและเป็นผู้อุปถัมภ์. บทว่า
ตํสมปยุตตํ คือ จิตสัมปยุตด้วยญาณนั้น. บทว่า นิโรธโคจรํ มีนิโรธ

เป็นโคจร คือมีนิพพานเป็นอารมณ์. บทว่า ทสสนาธิปเตยยํ ญาณเป็น
ใหญ่ในการเห็นคือเป็นใหญ่ในการเห็นนิพพานเพราะไม่มีกิจที่จะเห็นสิ่งที่เหลือ.
บทว่า จิตตสส แห่งจิต คือแห่งจิตสัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า ตํสมปยุตตํ
คือญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น.

เพราะปริยายแม้นี้มิใช่ความตรัสรู้ด้วยจิตและญาณเท่านั้น ที่แท้ธรรม
คือจิตและเจตสิกอันสัมปยุตด้วยมรรค แม้ทั้งหมดชื่อว่า เป้นความตรัสรู้ด้วย
ยังกิจคือความตรัสรู้สัจจะให้สำเร็จ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดง
ปริยายแม้นั้นจึงถามว่าความตรัสรู้มีเท่านั้นหรือ ปฏิเสธว่า นหิ ไม่ใช่มีเท่านั้น
แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า โลกุตตรมคคกขเณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค.

บทว่า ทสสนาภิสมโย ความตรัสรู้ด้วยความเห็น คือ ความตรัสรู้อันเป็น
ความเห็น แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า สจจา คือสัจจญาณ มรรคญาณ
นั่นแลชื่อว่าวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นพระนิพพาน. บทว่า วิโมกโข
คือมรรควิโมกข์. บทว่า วิชชา คือมรรคญาณนั้นแหละ. บทว่า วิมุตติ

คือสมุจเฉทวิมุตติ. นิพพานชื่อว่า อภิสมโย เพราะตรัสรู้ ที่เหลือชื่อว่า
อภิสมยา เพราะเป็นเหตุตรัสรู้.


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
พระสารีบุตรเถระเพื่อแสดงจำแนกอภิสมัยด้วยมรรคและผล จึงกล่าว
คำมีอาทิว่า กินนุ ดังนี้. อนึ่ง ในที่นี้ เพราะญาณย่อมไม่ได้ในความสิ้นไป
ด้วยอรรถว่าตัดขาดในขณะผล ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อนุปปาเท ญาณํ
ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น. พึงทราบบทที่เหลือตามสมควร บัดนี้

เพราะเมื่อมีการละกิเลส ความตรัสรู้ก็ย่อมมีได้ และเมื่อมีความตรัสรู้การละ
กิเลสก็ย่อมมีได้ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ ประสงค์จะแสดงถึงการละกิเลส
อันมีการท้วงเป็นเบื้องต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สวายํ บุคคลนี้นั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สวายํ คือพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคนี้
นั้น. คำ ๔ คำในบทนี้มี เอวํ เป็นอาทิ เป็นการถามของผู้ท้วง. บทนี้ว่า
อตีเต กิเลเส ปชหติ ละกิเลสที่เป็นอดีต เป็นคำแก้เพื่อให้โอกาสแก่การ
ท้วง.

บทว่า ขีณํ คือสิ้นไปแล้วด้วยความดับ. บทว่า นิรุทธํ ดับแล้ว
คือ ดับด้วยไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยสันดาน. บทว่า วิคตํ ปราศไป คือ ปราศไป
จากขณะที่กำลังเป็นไปอยู่. บทว่า วิคเมติ คือ ให้ปราศไป. บทว่า อตถงคตํ
ถึงการดับไป คือ ถึงความไม่มี. บทว่า อตถงคเมติ คือ ให้ถึงความไม่มี.

ครั้นแสดงโทษในข้อนั้นแล้วจึงกล่าวปฏิเสธว่า บุคคลละกิเลสอันเป็นอดีต
หาได้ไม่. บทว่า อชาตํ ที่ไม่เกิดขึ้น คือ ยังไม่เกิดขึ้นจากการท้วงอันเป็น
อนาคต. บทว่า อนิพพตตั กิเลสที่ยังไม่เกิด คือ กิเลสที่ยังไม่ถึงสภาวะ.
บทว่า อนุปปนนํ กิเลสที่ยังไม่เกิด คือ ยังไม่ปฏิบัติในอนาคตจำเดิมแต่เกิด.

บทว่า อปาตุภูตํ ไม่ปรากฏ คือ ไม่ปรากฏแห่งจิตโดยความเป็นปัจจุบัน.
เมื่อผู้ละในอดีตและอนาคต ความพยายามไม่มีผลย่อมได้รับเพราะไม่มีสิ่งที่ควร
ละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงปฏิเสธแม้ทั้งสองอย่าง. บทว่า รตโต ราคํ ปชหติ
บุคคลผู้กำหนัดย่อมละราคะได้ คือ บุคคลผู้กำหนัดย่อมละราคะนั้นได้ด้วยราคะ
ที่กำลังเป็นไปอยู่. แม้ในกิเลสที่กำลังเป็นไปอยู่ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ถามคโต ผู้มีกิเลสเรี่ยวแรง คือ ผู้ถึงสภาพมั่นคง. บทว่า กณหสุกกา
ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว คือ ธรรมที่เป็นอกุศลและกุศลซึ่งเป็นคู่กันกำลัง
เป็นไป คือ ย่อมถึงเสมอกัน. บทว่า สงกิเลสิกา มรรคภาวนาอันมีความ
หม่นหมองด้วยกิเลส คือ เมื่อความที่ความหม่นหมองสัมปยุตกันมีอยู่ มรรค-
ภาวนาประกอบด้วยความหม่นหมอง ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ เมื่อละในปัจจุบันอย่างนี้
มรรคภาวนาอันเป็นความหม่นหมองย่อมมีได้ และความพยายามก็ไม่มีผล
เพราะมีสิ่งที่ควรละกับความพยายาม เพราะยังไม่มีการแยกจิตออกจากกิเลส
อันเป็นปัจจุบัน.

บทว่า น หิ ไม่มี คือ ปฏิเสธคำที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ๔ ส่วน. บทว่า
อตถิ มีอยู่ คือ รับรอง. บทว่า ยถา กถํ วิย เหมือนอะไร เป็นการถาม
เพื่อชี้ให้เห็นอุทาหรณ์แห่งความมี คือ มีเหมือนโดยประการไร มีเหมือนอะไร.
บทว่า ยถาปิ แม้ฉันใด. บทว่า ตรุโณ รุกโข ต้นไม้รุ่น คือ ถือเอา

ต้นไม้รุ่นเพื่อจะได้ให้ผล. บทว่า อชาตผโล ผลที่ยังไม่เกิด คือ แม้เมื่อ
ยังมีการให้ผลอยู่ก็ฉวยเอาก่อนเวลาจากการได้ผล. บทว่า ตเมนํ คือ ต้นไม้
นั้น. บทว่า เอนํ เป็นเพียงนิบาต หรือคือ ตํ เอตํ. บทว่า มูลํ ฉินเทยย
พึงตัดราก คือ พึงตัดตั้งแต่ราก. บทว่า อชาตผลา คือ ผลยังไม่เกิด. บทว่า

เอวเมวํ ตัดบทเป็น เอวํ เอวํ. ท่านกล่าวถึงการสืบต่อขันธ์อันเป็นปัจจุบัน
แม้ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ การเกิด ๑ ความเป็นไป ๑ นิมิต ๑ การประมวล ๑
ขันธสันดานอันไม่เป็นพืชของกิเลสที่ควรละได้ด้วยมรรคญาณ เพราะขันธ-
สันดานนั้นไม่เป็นพืช กิเลสนั้นมีขันธสันดานนั้นเป็นปัจจัยยังไม่เกิดขึ้น ย่อม
ไม่เกิดขึ้น. บทว่า อาทีนวํ ทิสวา เห็นโทษ คือ เห็นโทษโดยความเป็น

ของไม่เที่ยงเป็นต้น. ท่านกล่าวถึงนิพพานเท่านั้นด้วยบท ๔ บท มีอาทิว่า
อนุปปาโท การไม่เกิดขึ้น. บทว่า จิตตํ ปกจนทติ จิตแล่นไป คือ จิต


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
สัมปยุตด้วยมรรค ย่อมแล่นไป. บทว่า เหตุนิโรธา ทุกขนิโรโธ เพราะเหตุ
ดับ ทุกข์ก็ดับ คือ เพราะความไม่เกิดสันดานอันเป็นพืชของกิเลสทั้งหลายดับ
ก็เป็นอันดับความไม่เกิดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ อันเป็นขันธ์ในอนาคต.
เพราะความไม่เกิดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์อย่างนี้ดับ จึงเป็นอันดับความไม่
เกิดแห่งทุกข์ด้วย. พระสารีบุตรเถระกล่าวคำมีอาทิว่า อตถิ มคคภาวนา
มรรคภาวนามีอยู่ เพราะมีข้อยุติในการละกิเลส.

แต่ในอรรถกถากล่าวไว้ว่า ด้วยบทนี้ท่านแสดงไว้อย่างไร. ท่านแสดง
ถึงการละกิเลสอันได้ภูมิแล้ว ก็ภูมิที่ได้นั้นเป็นอดีต อนาคต หรือเป็นปัจจุบัน.
พึงทราบกถาพิสดารแห่งการละกิเลสที่ท่านกล่าวแล้วว่า กิเลสอันได้ภูมิเกิดขึ้น
แล้วโดยนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถามรรคสัจจนิเทศแห่งสุตมยญาณกถา. แต่ใน
ที่นี้ท่านประสงค์เอากิเลสที่ควรละได้ด้วยมรรคญาณเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอภิสมยกถา


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 16:39 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2019, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ที่เทสนาไม่ค่อยจะมีคนเชื่อฟังเหตุหนึ่งก็มาจาก
พระที่เทสนาโดยส่วนมากไร้เรื่องของฤทธิ์ เพราะฤธิ์
นั้นเปรียนก็คล้ายกับยศถาบรรดาศักดิ์ที่คนโดยส่วนมาก
ชอบและสนใจนั้นเอง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดาประทับอยู่ในอนุปิยนิคม ทรง
ทราบว่าญาณของเขาแก่กล้าแล้ว เพื่อจะให้เขาเกิดความสังเวช จึงทรงเนรมิต
รูปหญิงที่งามน่ารื่นรมย์ใจ อยู่ในวัยรุ่น ทรงแสดงให้ปรากฏข้างหน้าตาม
ลำดับอีก ปรากฏเป็นไปตามความวิบัติด้วยความชราและโรคภัยไข้เจ็บ. ได้ทรง
กระทำอย่างนั้นแล้ว. กิมิลกุมารได้เห็นรูปนั้นแล้วได้เกิดความสังเวชเป็นยิ่งนัก
เมื่อจะประกาศความสังเวชของตน


บางครั้งการสอนการแนะนำธรรมแก่บางบุคคล
ก็จำเป็นจะต้องอาศัย ฤทธิ์ เหมือนกัน

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแลเห็นว่าญาณของเขาแก่กล้า
แล้ว จึงเสด็จไปยังสถานที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์มีพระองคุลียาวเรียวอ่อนนุ่ม
ดุจปุยนุ่นเหมือนดัดด้วยเปลวไฟ คล้ายท่อธารทองคำสีแดงชาติหลั่งไหลออก
เพราะมีพระหัตถ์และพระนขาอันงดงามดุจสำเร็จด้วยแก้วมณีทำให้สั่นสะเทือน
ลงบนศีรษะของอุตรสามเณรตรัสว่า อุตตระ นี้เป็นผลกรรมในครั้งก่อน

เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอพึงอดกลั้นด้วยกำลังแห่งปัจจเวกขณญาณแล้ว จึง
ทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่อัธยาศัย. อุตตรสามเณร ได้รับปีติปราโมทย์
อันโอฬาร เพราะเกิดความเลื่อมใสโสมนัสใจ ด้วยการสัมผัสพระหัตถ์
ของพระศาสดา เช่นกับได้รับการรดด้วยน้ำอมฤต เริ่มยกจิตขึ้นสู่หนทาง
วิปัสสนาตามที่ตนได้สั่งสมมา เพราะญาณถึงความแก่กล้า และเพราะ

ความไพเราะแห่งเทศนาของพระศาสดา จึงทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปได้ตาม
ลำดับแห่งมรรค ในขณะนั้นนั่นเอง เป็นผู้ได้อภิญญา ๖. ก็ครั้นท่านเป็นผู้
ได้อภิญญา ๖ แล้วได้ถอนตนขึ้นจากหลาว ยืนอยู่ในอากาศ เพื่ออนุเคราะห์
ผู้อื่น จึงแสดงปาฏิหาริย์แล้ว. มหาชนได้เกิดความอัศจรรย์ใจ. ในขณะนั้น

นั้นเอง แผลของท่านก็หายสนิทดี. สามเณรนั้น ถูกพวกภิกษุถามว่า อาวุโส
ได้รับทุกข์ถึงอย่างนั้น เธอยังสามารถเพื่อเจริญวิปัสสนาได้อย่างไร ดังนี้
จึงกล่าวว่า อาวุโส จะกล่าวไปทำไมถึงโทษในสงสารของผมเล่า, ก็สภาวะ
แห่งสังขารทั้งหลาย ผมเห็นได้ชัดเจนแล้ว ผมแม้จะเสวยทุกข์ถึงเช่นนั้น

ก็ยังสามารถเพื่อบรรลุวิปัสสนาได้ และกล่าวอีกว่า ในชาติก่อนเวลาเป็น
เด็กหนุ่ม ผมถือหลาวไม้สะเดาไล่แทงแมลงวัน เพราะอาศัยการเล่นจับสัตว์
เสียบหลาว จึงได้เสวยความทุกข์ถูกเสียบหลาว ตั้งหลายร้อยชาติอย่างนี้ ใน
ชาติสุดท้ายนี้ก็ยังได้รับทุกข์ถึงอย่างนี้แล.


เรื่องของการเอาไม้เสียบก้นสัตว์นี้ผมก็เคยทำมาตอน
เป็นเด็กเช่นกัน แต่ไม่มากนัก รอรับผลไปตามกรรมที่ทำ
อยู่เหมือนกัน

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แล้ว. ในเวลาที่เรือแล่นไปในท่ามกลางแม่น้ำคงคา
พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ ในเวลาที่เธอเป็นพระเจ้ามหาปนาทะ รัตนปราสาท
จมลงในที่ไหนเล่า? พระเถระกราบทูลว่า จมลงในที่ตรงนี้ พระเจ้าข้า,
พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ ถ้าเช่นนั้น เธอจงตัดความสงสัยของเพื่อนสพรหม-
จารีทั้งหลายเสียเถอะ. ในขณะนั้น พระเถระ จึงถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
ไปด้วยกำลังแห่งฤทธิ์แล้ว เอาระหว่างนิ้วเท้าคีบยอดปราสาท ถือปราสาทอัน

ใหญ่ประมาณ ๓๕ โยชน์ไว้ เหาะไปในอากาศ, ก็เมื่อเหาะไป ได้ยกขึ้นสูง
ถึง ๕๐ โยชน์. ลำดับนั้น พวกญาติของท่านในภพก่อน ซึ่งได้เกิดเป็นปลา
เต่าและกบ ด้วยความโลภในปราสาท เมื่อปราสาทนั้น ถูกยกลอยไป ก็พา
กันล้มกลิ้งไปมา. พระศาสดา ทรงเห็นสัตว์เหล่านั้นล้มกลิ้งเช่นนั้นแล้ว จึง
ตรัสว่า ภัททชิ พวกญาติของเธอกำลังลำบากนะ. พระเถระเชื่อพระดำรัส

ของพระศาสดา จึงปล่อยปราสาทแล้ว. ปราสาทก็คงตั้งสถิตอยู่ตามเดิมนั่นแล.
พระศาสดา เสด็จถึงฝั่งแล้ว ถูกพวกภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ปราสาทหลังนี้ อันพระภัททชิเถระ ให้จมลงเมื่อไร แล้วจึงตรัสมหาปนาท-
ชาดก ทำชนหมู่มากให้ได้ดื่มน้ำอมตะคือธรรมะ.

:b8: :b8: :b8:

หมดความสงสัย เพราะได้เห็นฤทธิ์ของท่าน

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
Quote Tipitaka:
แล้ว. ในเวลาที่เรือแล่นไปในท่ามกลางแม่น้ำคงคา
พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ ในเวลาที่เธอเป็นพระเจ้ามหาปนาทะ รัตนปราสาท
จมลงในที่ไหนเล่า? พระเถระกราบทูลว่า จมลงในที่ตรงนี้ พระเจ้าข้า,
พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ ถ้าเช่นนั้น เธอจงตัดความสงสัยของเพื่อนสพรหม-
จารีทั้งหลายเสียเถอะ. ในขณะนั้น พระเถระ จึงถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
ไปด้วยกำลังแห่งฤทธิ์แล้ว เอาระหว่างนิ้วเท้าคีบยอดปราสาท ถือปราสาทอัน

ใหญ่ประมาณ ๓๕ โยชน์ไว้ เหาะไปในอากาศ, ก็เมื่อเหาะไป ได้ยกขึ้นสูง
ถึง ๕๐ โยชน์. ลำดับนั้น พวกญาติของท่านในภพก่อน ซึ่งได้เกิดเป็นปลา
เต่าและกบ ด้วยความโลภในปราสาท เมื่อปราสาทนั้น ถูกยกลอยไป ก็พา
กันล้มกลิ้งไปมา. พระศาสดา ทรงเห็นสัตว์เหล่านั้นล้มกลิ้งเช่นนั้นแล้ว จึง
ตรัสว่า ภัททชิ พวกญาติของเธอกำลังลำบากนะ. พระเถระเชื่อพระดำรัส

ของพระศาสดา จึงปล่อยปราสาทแล้ว. ปราสาทก็คงตั้งสถิตอยู่ตามเดิมนั่นแล.
พระศาสดา เสด็จถึงฝั่งแล้ว ถูกพวกภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ปราสาทหลังนี้ อันพระภัททชิเถระ ให้จมลงเมื่อไร แล้วจึงตรัสมหาปนาท-
ชาดก ทำชนหมู่มากให้ได้ดื่มน้ำอมตะคือธรรมะ.

:b8: :b8: :b8:

หมดความสงสัย เพราะได้เห็นฤทธิ์ของท่าน


ปราสาทอันใหญ่ประมาณ ๓๕ โยชน์ ใหญ่โตขนาดนี้
แน่นอนคนในยุคนั้นต้องใหญ่โตด้วยจึงคู่ควรกัน

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว



https://www.youtube.com/watch?v=WMTRfUzcBOc

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว



https://www.youtube.com/watch?v=Fxd5r_1xUoo

ใฝ่เรียนใฝ่ศึกษา เสริมสร้างพัฒนาปัญญาบารมี

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 61 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร