วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กท.นี้ จะรวมธรรมะเบื้องต้นทำนองนี้ไว้สัก กท.หนึ่ง ซึ่งชาวพุทธบ้านเรามองข้ามไป แต่อาจมีธรรมะดับกลาง ระดับสูงแจมบ้าง ถ้าเรื่องโยงไปถึง

อ้างคำพูด:
ครั้งหนึ่ง อุชชัยพราหมณ์ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และกราบทูลว่า ตนจะไปอยู่ต่างถิ่น จะขอให้พระพุทธองค์แสดงธรรม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขปัจจุบัน และธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขภายหน้า

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า

“ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขปัจจุบัน กล่าวคือ อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา สมชีวิตา

๑) อุฏฐานสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันในการงาน ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรม ก็ดี พาณิชยกรรม ก็ดี โครักขกรรม ก็ดี ราชการทหาร ก็ดี ราชการพลเรือน ก็ดี ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ดี เธอเป็นผู้ขยัน ชำนิชำนาญ ไม่เกียจคร้าน ในงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอบสวนตรวจตรา รู้จักวิธีปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดการ นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา

๒) อารักขสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรมีโภคทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอจัดการรักษาคุ้มครองทรัพย์เหล่านั้น โดยพิจารณาว่า ทำอย่างไร ราชาทั้งหลายจะไม่พึงริบโภคะเหล่านี้ของเราเสีย พวกโจรไม่พึงลักไปเสีย ไฟไม่พึงไหม้เสีย น้ำไม่พึงพาไปเสีย ทายาทอัปรีย์ก็จะไม่พึงเอาไปเสีย นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา

๓) กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรเข้าอยู่อาศัยในคามหรือนิคมใดก็ตาม เธอเข้าสนิทสนมสนทนาปราศรัย ถกถ้อยปรึกษา กับท่านที่เป็นคหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้าง พวกคนหนุ่มที่มีความประพฤติเป็นผู้ใหญ่บ้าง คนสูงอายุที่มีความประพฤติเป็นผู้ใหญ่บ้าง ผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา เธอศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศรัทธา ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศีล ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศีล ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยจาคะ ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยปัญญา ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา

๔) สมชีวิตา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรเลี้ยงชีวิพอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ให้ฝืดเคืองเกินไป โดยรู้เข้าใจทางเพิ่มพูนและทางลดถอยแห่งโภคทรัพย์ ว่าทำอย่างนี้ รายได้ของเราจึงจะเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจึงจักไม่เหนือรายได้ เปรียบเหมือนคนชั่งตาชั่งหรือลูกมือคนชั่งยกตาชั่งขึ้นแล้ว ย่อมรู้ว่าหย่อนไปเท่านั้น หรือเกินไปเท่านี้

“ถ้าหากกุลบุตร นี้ รายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ ...กินใช้ทรัพย์สมบัติเหมือนคนกินมะเดื่อ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ คงจะตายอย่างคนอนาถา แต่เพราะกุลบุตรนี้เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ...นี้เรียกว่า สมชีวิตา

"ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมี อบายมุข ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรชั่วสหายชั่ว ฝักใฝ่ในคนชั่ว เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำแหล่งใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนปิดทางน้ำเข้าเสีย เปิดแต่ทางน้ำออก อีกทั้งฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น เป็นอันหวังได้แต่ความลดน้อยลงอย่างเดียว ไม่มีความเพิ่มขึ้นได้เลย...

“ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมี อายมุข ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรดี มีสหายดี ใฝ่ใจในกัลยาณชน เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำใหญ่ ใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนเปิดทางน้ำเข้า ปิดทางน้ำออก และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น เป็นอันหวังได้แต่ความเพิ่มพูนอย่างเดียว ไม่มีความลดน้อยลงเลย...

“ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขปัจจุบัน แก่กุลบุตร” (องฺ.อฏฺฐก.23/145/294)

@ จำง่ายๆ ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร ใช้ชีวิตเหมาะสม = อุ อา ก ส โบราณเรียกหัวใจเศรษฐี


อ้างคำพูด:
Love J.
ธรรมะ ประเภทนี้แหละที่ผมอยากได้ ขอบคุณครับคุณกรัชกาย
โมทนาสาธุ ครับ

viewtopic.php?f=1&t=57044&p=438052#p438052



.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดๆจากพุทธธรรมหน้า ๗๕๓ มา

ย้อนกลับไปที่การปกครองบ้านเมืองในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล (แต่ปัจจุบันอินเดียเปลี่ยนการปกครองไปแล้ว) ปัจจุบันก็ให้ดูประเทศนั้นประเทศนี้เทียบเอา



ชมพูทวีปครั้งพุทธกาล มีการปกครอง ๒ แบบ คือ

๑. ปกครองแบบสามัคคีธรรม หรือ แบบสาธารณรัฐ

๒. ปกครองแบบราชาธิปไตย

พระโพธิสัตว์หลังจากตรัสรู้แล้วก็เที่ยวสั่งสอนธรรมะแก่ประชาชนในบ้านในเมืองที่มีระบอบการปกครองต่างกันนั้น

ทรงสั่งสอนหลักอปริหานิยธรรมสำหรับรัฐที่ปกครองแบบแรก

ทรงสั่งสอนหลักจักรวรรดิวัตรสำหรับรัฐที่ปกครองแบบราชาธิปไตย

เรื่องนี้ แสดงลักษณะอย่างหนึ่งของพุทธธรรมด้วย คือ พุทธธรรมไม่ใช่เป็นเพียงปรัชญา หรือ เรื่องของนักคิด แต่เป็นเรื่องของศาสดานักปฏิบัติ ซึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องกับประชาชนผู้ดำรงชีวิตจริง ท่ามกลางสภาพสังคมและสถานการณ์ที่เป็นไปอยู่ในเวลานั้นๆ ต้องสั่งสอนสิ่งที่เขาใช้ได้ ปฏิบัติได้ ให้เกิดประโยชน์สุขแก่เขาตั้งแต่ปัจจุบัน ดังที่เรียกว่า สอนความจริงที่เป็นประโยชน์

@ สำหรับระบอบแรก ทรงเน้นให้ผู้ปกครองมองเห็นยศศักดิ์อำนาจ เป็นเครื่องมือสร้างประโยชน์สุขแก่ราษฎร มิใช่เป็นเครื่องมือแสวงหาสิ่งปรนเปรอบำเรอสุขส่วนตน

@ สำหรับระบอบหลัง ทรงแนะนำหลัก และวิธีการที่จะดำเนินกิจการให้เข้มแข็งมั่นคงใด้ผลดี

ในระบอบที่ราชาธิปไตยเจริญในทางดีงามอย่างสูงสุด คติธรรมแนวพุทธนี้ ก็ได้เป็นหลักการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช ดังดำรัสของพระองค์ในศิลาจารึกว่า

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ไม่ทรงถือว่า ยศหรือเกียรติ จะเป็นสิ่งมีประโยชน์มาก เว้นแต่จะทรงปรารถนายศ หรือเกียรติ เพื่อความมุ่งหมายนี้ว่า ทั้งในบัดนี้ และในเบื้องหน้า ขอประชาชนทั้งหลาย จงตั้งใจสดับฟังคำสอนธรรมของข้า ฯ และจงปฏิบัติตามหลักความประพฤติในทางธรรม” * (ดูธรรมโองการ จารึกศิลา ฉบับที่ ๑๐ ในจารึกอโศก (หนังสือ Asokan Edikan Edicts หรือ Asokan Inscriptions ฉบับใดก็ได้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร ต้องบำบัดทุกข์บำรุงสุขต่อประชาชนในแว่นแคว้นของตน


ในแง่รัฐ พระพุทธศาสนามองเห็นความสำคัญของทรัพย์ในสังคมของชาวโลกว่า ความจนเป็นความทุกข์ในโลก * (องฺ.ฉกฺก.22/316/393)
ความยากไร้ขาดแคลน เป็นสาเหตุสำคัญของอาชญากรรมและความชั่วร้ายต่างๆในสังคม* (ที.ปา.11/39/70; 45/77) (เช่นเดียวกับความโลภ และสัมพันธ์กันกับความโลภด้วย) และ
ถือว่า เป็นหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ปกครองบ้านเมืองที่จะต้องคอยเอาใจใส่ดูแลจัดสรรปันทรัพย์ให้แก่เหล่าชนผู้ไร้ทรัพย์ ไม่ให้มีคนจนยากขัดสนในแผ่นดิน* (เช่น ที.ปา.11/35/65 ฯลฯ มุ่งช่วย พร้อมกับส่งเสริมความขยัน ไม่ให้จนเพราะเกียจคร้าน) ซึ่งทั้งนี้ ย่อมต้องอาศัยวิธีการต่างๆประกอบกัน และตามที่เหมาะกับสถานการณ์

เฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดช่องทางสร้างโอกาสให้ทวยราษฎร์ทำมาหาเลี้ยงชีพเจริญก้าวหน้าโดยสุจริต การส่งเสริมอาชีพ การจัดสรรเกี่ยวกับทุนและอุปกรณ์ ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ * (เช่น องฺ.อฏฺฐก.23/91/152 ฯลฯ) และ
การควบคุมป้องกันไม่ให้มีอธรรมการ คือ การทำการ และวิธีการทั้งหลาย ที่ไม่ชอบธรรม ไม่เป็นธรรม มีการเอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น
โดยที่รัฐควรถือเป็นหลักการว่า การลดหมดไปของคนยากไร้ เป็นเครื่องวัดความสำเร็จได้ดีกว่าการเพิ่มขึ้นของคนร่ำรวย และให้การลดหมดไปของความขัดสนนั้น เป็นผลของการจัดการทางสังคม ที่ไม่ละเลยการพัฒนาคน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นแหละแนวคิดของพระพุทธศาสนา


เพียงแค่นั้นเห็นโล่งเลยระหว่างรัฐ กับ ประชาชนผู้ซึ่งเสียภาษี ประเทศแถวๆนี้ตอนนี้เป็นไง :b10: รีดภาษีไปบำรุงอะไร ใคร ? ย้อนกลับมายังเจ้าของบ้างไหม เท่าไหร่


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาชีวะเป็นหลักการขั้นศีลที่มักถูกมองข้ามไปเสีย

หลักการขั้นศีล ดำเนินตามพุทธพจน์ว่า

“พาหุสัจจะ ๑ สิปปะ ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว หรือฝึกอบรมเป็นอย่างดีแล้ว ๑ วาจาที่กล่าวได้ดี ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ... การงานไม่คั่งค้างอากูล นี่ก็เป็นอุดมมงคล...กิจกรรมที่ไร้โทษ นี่ก็เป็นอุดมมงคล” (ขุ.ขุ.25/5/3 ฯลฯ)

- พาหุสัจจะ = ความเป็นผู้ได้สดับมาก หรือเล่าเรียนกว้างขวางลึกซึ้ง

- สิปปะ = วิชาชีพ หรือความจัดเจนงาน


นอกจากนี้ มีบาลีภาษิตเตือนให้ศึกษาศิลปวิทยาอีกมาก เช่น

“คนไม่มีศิลปวิทยา เลี้ยงชีวิตอยู่ได้ยาก” (ขุ.ชา.27/1651/330)

“จงให้บุตรเรียนรู้วิทยา” (ขุ.ชา.27/2141/434)

“อะไรควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด” (ขุ.ชา.27/108/35)

“ขึ้นชื่อว่า ศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆ ให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น” (ขุ.ชา.27/107/35)

“อันความรู้ ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ ว่าสูง หรือปานกลาง ควรรู้ความหมายเข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง วันหนึ่ง จะถึงเวลา ที่ความรู้นั้นนำมาซึ่งประโยชน์” (ขุ.ชา.27/817/184)



เกี่ยวกับอุดมมงคลระดับนี้ว่า พาหุสัจจะ ความชำชองเชิงวิชาการ ควรมาพร้อมกับ สิปปะ ความชำนาญในเชิงปฏิบัติ คือ ดีทั้งวิชา และฝีมือ ถ้าทั้งสองอย่างนี้มาเข้าคู่กันครบ ก็หวังได้ ซึ่งความเป็นเลิศแห่งงาน

ยิ่งเป็นคนมีวินัย ที่ได้ฝึกมาอย่างดี และเป็นคนที่พูดเป็น คือรู้จักพูดจาให้ได้ผลดี สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจหรือเห็นตามได้ ชวนให้เกิดความร่วมมือและสามัคคี ก็ยิ่งหวังได้ว่ากิจการจะประสบความสำเร็จ

ครั้นสำทับเข้าด้วยการปฏิบัติงาน ที่เรียบร้อย ฉับไว ไม่คั่งค้างอากูล และเสริมด้วยการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ก็ยิ่งเป็นเครื่องประกันถึงความสำเร็จบริบูรณ์แห่งชีวิตด้านการงาน

แต่เพื่อป้องกันมิให้มีช่องว่าง ที่บุคคลนั้นจะมัวหลงเพลิดเพลินแต่วิทยาและการงาน จนลืมหน้าที่ต่อบุคคลใกล้ชิดภายในความรับผิดชอบที่บ้าน ท่านจึงแทรกมงคลอีก ๒ อย่างเข้ามาในช่องว่างแรกที่เว้นไว้ คือ การบำรุงมารดาบิดา และการสงเคราะห์บุตรภรรยา

ครั้นภาระด้านส่วนตัวครบครันแล้ว ท่านจะให้บุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น คำนึงถึงความรับผิดชอบที่ตนจะพึงเกื้อกูลแก่คนอื่นขยายกว้างออกไป ตลอดถึงเพื่อนมนุษย์ทั้งหมด ให้ชีวิตของตนก้าวหน้าไปในความดีงามและได้ชื่อว่า มีส่วนร่วมในการผดุงธรรมของมนุษยชาติ
ท่านจึงเสริมมงคลอีก ๓ อย่าง เข้ามาในช่องว่างหลัง คือ ญาติสังคหะ การสงเคราะห์ญาติ ทาน การให้ปันเกื้อกูลกว้างออกไป และธรรมจริยา การประพฤติธรรม

เมื่อประพฤติตนได้เพียงนี้ ก็นับว่าเพียงพอ สำหรับจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ครองชีวิตที่ดีงามในโลก

เรื่องอาชีวะนี้ เห็นควรพูดสรุปไว้อีก ว่าพระพุทธศาสนายอมรับ และยืนยันความจำเป็นทางวัตถุ โดยเฉพาะปัจจัย ๔ ดังเช่น พุทธพจน์ที่ตรัสบ่อยว่า

"สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา" สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร * (ที.ปา.11/226/226; 375/289ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ร้อง! กยศ.เกือบจบเทอมยังไม่จ่ายเงิน นศ.บางส่วนต้องลาออก

รูปภาพ


http://news.thaipbs.or.th/content/277542

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


คริคริ

คุณลุงกรัชกายไม่ได้เรียนพระปริยัติ ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎก


เรยไม่รู้ว่า ชมพูทวีปเป็นอย่างนี้ ค่ะ



ทวีป ๔,พื้นที่ในจักรวาล
จักรวาลหนึ่ง ๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป และ
ทวีปน้อย ๒ พันทวีป อย่างนี้ คือ
๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์
ซึ่งประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

#ขุทฺทก.อ. ๑/๖/๓๕-๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
คริคริ

คุณลุงกรัชกายไม่ได้เรียนพระปริยัติ ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎก


เรยไม่รู้ว่า ชมพูทวีปเป็นอย่างนี้ ค่ะ



ทวีป ๔,พื้นที่ในจักรวาล
จักรวาลหนึ่ง ๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป และ
ทวีปน้อย ๒ พันทวีป อย่างนี้ คือ
๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์
ซึ่งประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

#ขุทฺทก.อ. ๑/๖/๓๕-๓


แล้วมันอยู่ตรงไหนบนแผ่นดินนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งใจจะลงกท.นี้ แต่ตอนลงมัวคิดถึงคนถาม สติเลยหายไปชั่วครู่ คิกๆๆ เอาใหม่

ชมพูทวีป "ทวีปที่กำหนดหมายด้วยต้นหว้า (มีต้นหว้าเป็นเครื่องหมาย) หรือทวีปที่มีต้นหว้าใหญ่ (มหาชมพู) เป็นประธาน"

ตามคติโบราณว่า มีสัณฐานคือรูปร่างเหมือนเกวียน, เป็นชื่อครั้งโบราณอันใช้เรียกดินแดนที่กำหนดคร่าวๆ ว่า คือ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (แต่แท้จริงนั้น ชมพูทวีปกว้างใหญ่กว่าอินเดียปัจจุบันมาก เพราะครอบคลุมถึงปากีสถานและอัฟกานิสถาน เป็นต้น ด้วย)

ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล ประกอบด้วยมหาชนบท คือ แว่นแคว้นใหญ่ หรือมหาอาณาจักร ๑๖ เรียงคร่าวๆ จากตะวันออก (แถบบังคลาเทศ) ขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ (แถบเหนือของอัฟกานิสถาน) คือ อังคะ มคธ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ และกัมโพชะ (กล่าว่ในพระไตรปิฎก เช่น องฺ.ติก. 20/510/273) ดู อินเดีย

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มคธราช ราชาผู้ครองแคว้นมคธ, หมายถึงพระเจ้าพิมพิสาร

มคธภาษา ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

มคธ 1 ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่ง กับ แคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ครองพระนามว่า พิมพิสาร
ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ถูกพระโอรสชื่อ อชาตศัตรู ปลงพระชนม์ และขึ้นครองราชย์สืบแทน

ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมื่องหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคง เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุด ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว

บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร 2. เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่า ภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมาจนบัดนี้ คือ ภาษามคธ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัลละ ชื่อแคว้นหนึ่งบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยมีพวก มัลลกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง นครหลวงเดิมชื่อกุสาวดี แต่ภายหลังแยกเป็น กุสินารา กับ ปาวา

มัลลกษัตริย์ คณะกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นมัลละ แบ่งเป็น ๒ พวก คณะหนึ่งปกครองที่นครกุสินารา อีกคณะหนึ่งปกครองที่นครปาวา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัลละ ชื่อแคว้นหนึ่งบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยมีพวก มัลลกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง นครหลวงเดิมชื่อกุสาวดี แต่ภายหลังแยกเป็น กุสินารา กับ ปาวา

มัลลกษัตริย์ คณะกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นมัลละ แบ่งเป็น ๒ พวก คณะหนึ่งปกครองที่นครกุสินารา อีกคณะหนึ่งปกครองที่นครปาวา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นเป็นประวัติศาสตร์ทางภูมิศาสตร์สมัยพุทธกาลเมื่อสองพันกว่าปีล่วงแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
นั่นเป็นประวัติศาสตร์ทางภูมิศาสตร์สมัยพุทธกาลเมื่อสองพันกว่าปีล่วงแล้ว


ประเทศอื่นๆ สปาต้า กรีก เปอร์เซีย มาสิโดเนีย ไม่มีบันทึกเรื่องพุทธศาสนา เรยหรอคะ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่อ


คุณลุงกรัชกายคะ

ที่ถูกต้องคือ

พระพุทธเจ้า ไม่ได้บัญญัติศีลค่ะ
บัญญัติแต่พระธรรมวินัย

เพราะศีล มีมาก่อนแล้ว ในสมัยพรามหณ์ค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร