วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 17:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ธรรมทั้งปวงล้วนแล้วแต่อาศัยกันและกันเชื่อมถึง
กันทั้งหมด ทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นสมถ วิปัสสนา
ก็เช่นกัน ล้วนแล้วแต่ เกี่ยวข้องกันและขาดกันไปไม่ได้
เลย อุปมาเหมือน การเรียนมี ๓ ระดับ ระดับต้น ระดับกลาง
ระดับสูง ระดับต้นนั้นเปรียบได้ดั่ง(ทาน ศีล) กลาง (ศีล สมาธิ)
สูง(ภาวนา ปัญญา) บางท่านอาจจะเข้าใจว่า เมื่อรักษาศีล หรือ
ภาวนาแล้วไม่ต้องให้ทานก็ได้นั้นลองฟังดูนะครับ พิจารณากัน
เอาเอง

หากถามว่า เรียนระดับต้นคือประถม เมื่อเลื่อนขั้นเป็นระดับกลาง
และระดับสูงแล้ว ยังใช้ความรู้ระดับต้นหรือประถมนั้นหรือไม่? s006 s006
s006 ยังต้องใช้ใช่ไหมครับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ทาน นั้นมี ๓ ระดับ ดั่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ในบารมี ๓๐ ทัด นั้นก็คือ ขั้นต้น กลาง และขั้นสูงสุด
แต่เท่าที่ผมอ่านศึกษาพระไตรปิฏกมาระยะหนึ่ง คิดว่า
สาวกนั้นอาจไม่ต้องสร้างบารมีมากเท่าไหร่เท่า คือแล้ว
แต่ความปราถนาคือว่าจะเป็นอะไร หากเป็นพระพุทธเจ้า
ก็คงต้องสะสม และสร้างบารมีไว้มากที่สุด ในบรรดาพระ
อริยะเจ้าทั้งหลาย ต่อมาก็พระปัจเจกพุทธเจ้า และ อัครสาวก
ทั้ง ๒ ตามลำดับลงมา

ทาน ก็คือการให้ ให้อภัย สละให้ เสียสละ การให้ทานนั้น
จะเป็นคำกลางๆ คือรวม อาจหมายความได้ทั้งหมด อภัยทาน
สละ และเสียสละ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ่านหลักการให้ทาน และเรื่องทานส่วนตัวผมได้ที่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56773

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2019, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ทานนั้นหมายถึงการให้ การสละ การเสียสละ
การให้อภัยทาน ให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง
ดั่งนั้นเรื่องของศีลนั้นก็ยังมีเรื่องของทานเข้ามาเกี่ยว
คือการให้ชีิวิตสัตว์จำนวนมากนับไม่ได้ หากเราถือศีล
เป็นประจำที่เกิดจากเราฆ่า ไม่รู้กี่ตัว การไม่ฆ่าสัตว์นั้น
ยาก บางครั้งเราต้องสละเวลาเพื่อจะนำเอาสัตว์เหล่านั้น
ออกจากบริที่อาจทำให้ตายได้ เช่นมดแดง มดดำที่อยู่
ถ้วยชาม และภาชนะใส่อาหารอื่นๆ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

การให้ทานนั้นควรให้ตามลำดับความสำคัญ
หรือจากภายในออกสู่ภายนอกนั้นก็คือ คนในครอบครัว
เริ่มจากผู้ที่รักเรามากและเราก็รักท่านมาก มีอุปการะคุณ
แก่เรามาก โดยส่วนมากแล้วก็จะเป็นพ่อแม่ หากยังเรียน
อยู่ก็ให้ทานด้วยการทำตัวให้เป็นลูกที่ดี ช่วยเหลือการงาน
ท่านทั้งสอง เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ประหยัดใช้จ่าย ตั้งใจเรียน
หรือตั้งใจทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี นั้นก็คือการให้ทาน เมื่อ

ทำได้ดีแล้วค่อยๆขยายออกสู่บุคคลที่รักน้อยๆลงตามลำดับ
ใกล้ชิด ตลอดจนถึงผู้มีเคยรู้จัก จนถึงศรัตรู คู่แค้น หากเพียร
ปฏิบัติไปเรื่อยย่อมจะกระทำได้แน่นอนครับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2019, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

เมื่อไม่กี่วันผ่านมานี้ ผมได้ให้พัดลมตั้งโต๊ะ แก่พี่
ชาย เห็นท่านบนว่าพัดลมของท่านเสีย ผมเลยบอกว่า
เอาตัวนี้ไปใช้สิครับพี่ ผมซ้อม ของจากเพื่อนบ้านเอาให้
และเก็บไว้ก็ไม่ได้ใช้เพราะมีหลายเครื่องอยู่

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2019, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทาน ศีล ภาวนา (บุญกิริยาวัตถุ) ท่านใช้สอนคฤหัสถ์

ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา) ท่านเน้นสอนภิกษุ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2019, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ทาน ศีล ภาวนา (บุญกิริยาวัตถุ) ท่านใช้สอนคฤหัสถ์

ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา) ท่านเน้นสอนภิกษุ

:b8:

แต่ความจริงแล้ว ภิกษุท่านก็ให้ทานนะครับ เพราะ
ทานนั้นทุกขั้นล้วนแต่ต้องใช้ เพราะเป็นพื้นฐาน เริ่มต้น
ท่านทานด้วยการให้ธรรมเป็นทาน ให้อภัยทาน แก่ชีวิต
สัตว์คน การปฏิบัติก็ถวายชีวิตเป็นทาน คือต้องเอาชีิวิต
เข้าแรกเลย คือเสี่ยงต่อความตายในบางคราว แม้สมัยก่อน
ภิกษุบางองค์ยังต้องสละชีวิตกว่าจะบรรลุพระอรหันต์ เรื่อง
ภิกษุโดนเสือคาบไป

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2019, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ทาน ศีล ภาวนา (บุญกิริยาวัตถุ) ท่านใช้สอนคฤหัสถ์

ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา) ท่านเน้นสอนภิกษุ

:b8:

แต่ความจริงแล้ว ภิกษุท่านก็ให้ทานนะครับ เพราะ
ทานนั้นทุกขั้นล้วนแต่ต้องใช้ เพราะเป็นพื้นฐาน เริ่มต้น
ท่านทานด้วยการให้ธรรมเป็นทาน ให้อภัยทาน แก่ชีวิต
สัตว์คน การปฏิบัติก็ถวายชีวิตเป็นทาน คือต้องเอาชีิวิต
เข้าแรกเลย คือเสี่ยงต่อความตายในบางคราว แม้สมัยก่อน
ภิกษุบางองค์ยังต้องสละชีวิตกว่าจะบรรลุพระอรหันต์ เรื่อง
ภิกษุโดนเสือคาบไป

:b8:


ไม่เถียงประเด็นที่ภิกษุก็ให้ทาน (ทาน แปลว่า การให้) ทุกวันนี้ในสังคมไทยก็มีภิกษุให้แบ่งปัน แต่อย่างที่บอกนั่นแหละ บุญกิริยาวัตถุ ๓ ก็ดี บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ก็ดี ท่านเน้นสอนฆราวาส

บุญกิริยาวัตถุ ๓ ท่านผ่อนให้เพลาลงมาจากไตรสิกขานั่นเอง แต่ไตรสิกขาท่านเน้นที่ภิกษุ แต่ก็มิได้ห้ามฆราวาส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2019, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญกิริยา หรือบุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนั้น คือ (ดูหลักคำอธิบายประกอบใน ที.ปา.11/228/230 ฯลฯ)

๑. ทาน การให้ การสละ การเผื่อแผ่แบ่งปัน เป็นการให้เพื่ออนุเคราะห์ เช่น ช่วยเหลือผู้ยากไร้ตกทุกข์ขาดแคลนบ้าง
ให้เพื่อสงเคราะห์ เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ สมานไมตรี แสดงน้ำใจ สร้างสามัคคีบ้าง
ให้เพื่อบูชาคุณความดี เพื่อยกย่องส่งเสริมสนับสนุนคนดีบ้าง
เป็นการให้ในด้านทรัพย์สินสิ่งของ ปัจจัยเครื่องใช้ยังชีพ วัตถุอุปกรณ์ต่างๆ ก็มี
ให้ความรู้ศิลปวิทยาการ ให้คำแนะนำสั่งสอน บอกแนวทางดำเนินชีวิต หรือให้ธรรม ก็มี
ให้ความมีส่วนร่วมในการบำเพ็ญกิจที่ดีงาม ก็มี ตลอดจนให้อภัยที่เรียกว่าอภัยทาน

๒. ศีล ความประพฤติดีงาม และการหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต ความมีระเบียบวินัย และมีกิริยามารยาทงดงาม เฉพาะอย่างยิ่ง เน้นศีลในระดับการไม่เบียดเบียน หรือการอยู่ร่วมกันด้วยดีโดยสงบสุขในสังคม

ศีลที่เน้นในระดับนี้ ก็คือ ศีล ๕ ได้แก่ การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิต และร่างกาย
การไม่ละเมิดกรรมสิทธิ์กัน การไม่ละเมิดต่อของรัก ไม่ประทุษร้ายจิตใจลบหลู่เกียรติทำลายตระกูลวงศ์ของกันและกัน
การไม่หักรานลิดรอนผลประโยชน์กันด้วยวิธีประทุษร้ายทางวาจา และการไม่ซ้ำเติมตนเองด้วยสิ่งเสพติด ซึ่งทำให้เสื่อมทรามเสียสติสัมปชัญญะ ที่เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งป้องกันจากความผิดพลาดเสียหายและคุ้มตัวไว้ในคุณความดี


นอกจากนี้ อาจฝึกตนเพิ่มขึ้นในด้านการงดเว้นสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือยบำรุงบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุขต่างๆและ หัดให้เป็นอยู่ง่ายๆ มีชีวิตเป็นอิสระจากวัตถุมากขึ้น ด้วยการรักษาอุโบสถ ถือศีล ๘ ตลอดจนศีล ๑๐ ตามโอกาส หรืออาจปฏิบัติในทางบวก เช่น ขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ร่วมมือและบริการต่างๆ (ไวยาวัจกรรม)

๓. ภาวนา การฝึกปรือจิตและปัญญา คือพัฒนาฝึกอบรมจิตใจให้เจริญขึ้นด้วยคุณธรรมต่างๆ ให้เข้มแข็งมั่นคงหนักแน่น และให้มีปัญญารู้เท่าทันสังขาร
พูดอย่างสมัยใหม่ว่า รู้เท่าทันโลกและชีวิต หรือมีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง

ภาวนามัย ในที่นี้ ก็คือสมาธิ และปัญญา ในไตรสิกขา พูดเต็มว่า สมาธิภาวนา หรือจิตตภาวนา และปัญญาภาวนานั่นเอง แต่ไม่ย้ำเน้นแต่ละอย่างให้เด่นนัก จึงผ่อนเอามารวมจัดเข้าเป็นหัวข้อเดียวกัน มีความหมายคลุมตั้งแต่สัมมาวายามะ ให้เพียรละกิเลส เพียรอบรมปลูกฝังกุศลธรรมในหมวดสมาธิ จนมาถึงการมีสัมมาทิฏฐิ และความดำริชอบ ในหมวดปัญญา โดยเน้นเมตตาภาวนา อันเป็นที่มาของความสุขทั้งในตนเองและในสังคม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2019, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีการและข้อปฏิบัติที่ท่านแนะนำ สำหรับการพัฒนาจิต และปัญญาในระดับเหมารวมอย่างนี้ ก็คือการแสวงปัญญา และชำระจิตใจ ด้วยการสดับธรรม (รวมทั้งอ่าน) ที่เรียกว่าธัมมัสสวนะ การแสดงธรรม สนทนาธรรม การแก้ไขปลูกฝังความเชื่อ ความเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้อง การเจริญเมตตา และการควบคุมขัดเกลากิเลสโดยทั่วไป

เป็นอันเห็นได้ชัดว่า พระพุทธเจ้า เมื่อทรงผ่อนกระจายจุดหมายของชีวิต หรือจุดหมายของการปฏิบัติธรรมออกเป็นระดับต่างๆ จนถึงขั้นต้นๆแล้ว ก็ได้ทรงผ่อนจัดระบบวิธีดำเนินชีวิต หรือวิธีประพฤติปฏิบัติธรรมให้สอดคล้องกันด้วย


ในระบบที่ผ่อนลงมานี้ เน้นข้อปฏิบัติเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางกายวาจา การปฏิบัติต่อกันระหว่างมนุษย์ หรือความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเป็นการกระทำที่ปรากฏรูปร่าง มองเห็นได้ชัด ปฏิบัติง่ายกว่า
แยกกระจายเป็น ๒ ข้อ คือ ทาน และศีล มุ่งให้ขัดเกลาทำชีวิตจิตใจภายในให้ประณีตเจริญงอกงามขึ้น โดยใช้กระทำภายนอกที่หยาบกว่าเป็นเครื่องมือ เรียกตามสำนวนทางธรรมว่า เพื่อกำจัดกิเลสอย่างหยาบ

ส่วนการปฏิบัติขั้นสมาธิ และปัญญา หรืออธิจิตต์สิกขา และอธิปัญญา ซึ่งเน้นหนักด้านภายในโดยตรง เป็นเรื่องยากละเอียดลึกซึ้ง ระบบบุญกิริยานี้ไม่แยกเน้น แต่เอามาจัดรวมเสีย และพยายามชี้แนะเนื้อหาที่เบาลงในทางปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2019, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในสมัยต่อมา มักเป็นที่รู้กันว่า ระบบของมรรค ในรูปบุญกิริยา ๓ นี้ ท่านจัดไว้ให้เหมาะสำหรับสอนคฤหัสถ์ คือชาวบ้าน
ส่วนระบบที่ออกรูปเป็นไตรสิกขา เป็นแบบแผนใหญ่ยืนพื้น เป็นหลักกลางสำหรับการปฏิบัติธรรมเต็มตามกระบวนการ พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการปฏิบัติธรรมแบบเต็มแผนนั้น จึงควรเป็นผู้นำในการปฏิบัติตามระบบไตรสิกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2019, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แก้อรรถบารมี ๑๐ ประการ
บรรดาบารมีเหล่านั้น จะกล่าวทานบารมีก่อน การบริจาคสิ่งของ
ภายนอก ชื่อว่า บารมี. การบริจาคอวัยวะชื่อว่า อุปบารมี. การบริจาคชีวิต
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี. แม้ในบารมีที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บารมี ๑o
อุปบารมี ๑o ปรมัตถบารมี ๑o รวมเป็นบารมี ๓o ทัศ ด้วยประการฉะนี้.
ในบารมี ๓o ทัศนั้น อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญทานบารมีก็นับไม่
ถ้วน ในสสบัณฑิตชาดก ทานบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละ
ชีวิตเป็นปรหิตประโยชน์อย่างนี้ว่า

ภิกฺขาย อุปคตํ ทิสฺวา สกตฺตานํ ปริจฺจชึ
ทาเนน เม สโม นตฺถิ เอสา เม ทานปารมี.
เราเห็นภิกษุเข้าไปหาอาหาร ก็เสียสละตัวเอง
ผู้เสมอเราด้วยทานไม่มี นี่เป็น ทานบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญศีลบารมีก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน
ในสังขปาลชาดก ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละตัวอย่างนี้ว่า
สูเลหิ วินิวิชฺฌนฺเต โกฏฺฏยนฺเตปิ สตฺติภิ
โภชปุตฺเต น กุปฺปามิ เอสา เม สีลปารมี.
ถึงบุตรนายบ้าน แทงด้วยหลาว ตอกด้วยหอก

เราก็ไม่โกรธ นี่เป็น ศีลบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียวเหมือนกัน.

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ทรงสละราชสมบัติใหญ่บำเพ็ญเนกขัมม-
บารมี ก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน ในจุลสุตโสมชาดก เนกขัมมบารมีของพระ
โพธิสัตว์นั้น ผู้สละราชสมบัติ เพราะไม่มีความประสงค์แล้ว ออกทรงผนวช
อย่างนี้ว่า
มหารชฺชํ หตฺถคตํ เขฬปิณฺฑํว ฉฑฺฑยึ
จชโต น โหติ ลคฺคนํ เอสา เม เนกฺขมฺมปารมี.

เราสละราชสมบัติใหญ่ ที่อยู่ในเงื้อมมือเหมือน
ก้อนเขฬะ เราผู้สละโดยไม่ติดข้องเลย นี่เป็นเนกขัมม-
บารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.
อัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ในครั้งเป็น
มโหสธบัณฑิตเป็นต้นก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน. ครั้งเป็นสัตตุภัตตกบัณฑิต
ปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้แสดงงูที่อยู่ในถุงหนังว่า

ปญฺาย วิจินนฺโตหํ พฺราหฺมณํ โมจยี ทุกฺขา
ปญฺาย เม สโม นฺตฺถิ เอสา เม ปญฺาปารมี.
เราเมื่อพิจารณาเฟ้นด้วยปัญญา ก็เปลื้องทุกข์
ของพราหมณ์ได้ ผู้เสมอเราด้วยปัญญาไม่มี นี่เป็น
ปัญญาบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี ก็นับไม่ถ้วนเหมือน
กัน. ในมหาชนกชาดก วิริยบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ข้ามมหาสมุทร
อย่างนี้ว่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2019, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ธรรมดาทาน ท่านกล่าวว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของ
สุขเป็นต้น ยังกล่าวว่าเป็นที่ตั้งแห่งบันไดทั้งหลายที่
ไปสู่พระนิพพาน.
ทานเป็นเครื่องป้องกันของมนุษย์ ทานเป็นเผ่า
พันธุ์เป็นเครื่องนำหน้า ทานเป็นคติสำคัญของสัตว์ที่
ถึงความทุกข์.

ทาน ท่านแสดงว่าเป็นนาวา เพราะอรรถว่าเป็น
เครื่องช่วยข้ามทุกข์ และทานท่านสรรเสริญว่าเป็น
นคร เพราะป้องกันภัย.
ทาน ท่านกล่าวว่าเป็นอสรพิษ เพราะอรรถว่า
เข้าใกล้ได้ยาก ทานเป็นดังดอกปทุม เพราะมลทินคือ
โลภะเป็นต้นฉาบไม่ได้.

ที่พึ่งพาอาศัยของบุรุษ เสมอด้วยทานไม่มีในโลก
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญทาน ด้วยการ
ทำตามอัธยาศัย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2019, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นรชนคนไรเล่า ผู้มีปัญญาในโลกนี้ ผู้ยินดีใน
ประโยชน์เกื้อกูล จะไม่พึงให้ทานทั้งหลาย ที่เป็นเหตุ
แห่งโลกสวรรค์.
นรชนคนไรเล่า ได้ยินว่าทานเป็นแดนเกิดสมบัติ
ในเทวดาทั้งหลาย จะไม่พึงให้ทานอันให้ถึงซึ่งความ
สุข ทานเป็นเครื่องยังจิตให้ร่าเริง.

นรชนบำเพ็ญทานแล้ว ก็เป็นผู้อันเทพอัปสร
ห้อมล้อม อภิรมย์ในนันทนวัน แหล่งสำเริงสำราญ
ของเทวดาตลอดกาลนาน.
ผู้ให้ย่อมได้ปีติอันโอฬาร ย่อมประสบความ
เคารพในโลกนี้ ผู้ให้ ย่อมประสบเกียรติเป็นอันมาก
ผู้ให้ย่อมเป็นผู้อันมหาชนไว้วางใจ.

นรชนนั้นให้ทานแล้ว ย่อมถึงความมั่งคั่งแห่ง
โภคะ และมีอายุยืน ย่อมได้ความมีเสียงไพเราะและ
รูปสวยอยู่ในวิมานทั้งหลายที่นกยูงอันน่าชื่นชมนานา
ชนิดร้องระงม เล่นกับเทวดาทั้งหลายในสวรรค์.

ทานเป็นทรัพย์ไม่ทั่วไปแก่ภัยทั้งหลายคือโจรภัย
อริภัย ราชภัย อุทกภัย และอัคคีภัย ทานนั้น ย่อม
ให้สาวกญาณภูมิ ปัจเจกพุทธภูมิ ตลอดถึงพุทธภูมิ.
ครั้นทรงทำอนุโมทนาทาน ประกาศอานิสงส์แห่งทาน โดยนัยดัง
กล่าวมาอย่างนี้เป็นต้นแล้ว ก็ตรัสศีลกถา ในลำดับต่อจากทานนั้น ธรรมดา
ศีลนั้นเป็นมูลแห่งสมบัติในโลกนี้และโลกหน้า

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร