วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2019, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ พอเข้าสู่ช่วงที่สอง ตามปกติสำหรับมนุษย์ปุถุชน ก็จะมีแรงเร้าหรือแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง เข้ามากำหนดพฤติกรรมในการกินร่วมกับความหิวด้วย ตัวควบนี้ คือ ตัณหา


ตัณหาที่เข้ามาในตอนนี้ มีได้ทั้งสองอย่าง อย่างแรก คือ ความรนในการปกป้องความมั่นคงถาวรของตัวตน หรือ ภวตัณหา ซึ่งจะเห็นได้ชัดในกรณีที่หิวมาก คือ ร่างกายขาดอาหารมาก และตกอยู่ในภาวะที่อยากจะได้อาหารมากิน
ตัณหานี้จะก่อให้เกิดความรู้สึกกลัวตาย ความวิตกกังวล ความกระวนกระวาย ความทุรนทุรายเพิ่มเติมเข้ามา ผนวกกับความทุกข์ตามปกติจากการอดอาหาร ยิ่งตัณหาแรงเท่าใด อาการก็ยิ่งเป็นไปมากตามอัตรา จากนั้นก็จะมีการแสวงหาอาหาร พฤติกรรมในการแสวงหาที่ตัณหาเป็นผู้บัญชานั้น ย่อมดำเนินไปได้อย่างรุนแรง และไม่ต้องคำนึ่งถึงความชอบธรรม * อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมขั้นแสวงหานี้ จะขอข้ามไปก่อน เพื่อจะได้เน้นเรื่องซึ่งกำลังพิจารณา คือ ขั้นการกิน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2019, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง * คคห.บน

*อาจมีผู้สงสัยว่า ในเมื่อการแสวงหาเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากตัณหา ผู้ไม่ใช้ตัณหา ก็เป็นอันไม่ต้องแสวงหาหรืออย่างไร

พึงเข้าใจว่า คำว่า ปริเยสนาหรือแสวงหา ที่กล่าวข้างต้น เป็นคำที่ใช้อย่างศัพท์เฉพาะ เพื่อแยกความหมายให้ต่างจากคำว่า กระทำ โดยให้หมายถึงวิธีการต่างๆ ที่จะให้ได้สิ่งที่ต้องการมา อันเป็นความหมายที่กว้าง จะมีการกระทำ หรือไม่ ก็ได้

แต่ในกรณีใด การแสวงหาเป็นเหตุโดยตรงของผลที่จะเกิดขึ้น ในกรณีนั้น การแสวงหาก็เป็นเพียงการกระทำอย่างหนึ่งในความหมายอย่างปกติธรรมดา
เหมือนอย่างในกรณีนี้ ร่างกายต้องการอาหาร จะต้องกินอาหาร จึงจะดำรงชีวิตอยู่หรือมีสุขภาพดีได้ การแสวงหาเป็นเหตุโดยตรงแห่งการเกิดมีของอาหารที่จะต้องกินนั้น การแสวงหาจึงเป็นการกระทำเพื่อผลของมันเอง

จุดที่จะตัดสินความแตกต่างว่าเป็นอะไรแน่ อยู่ที่ว่ากินเพื่ออะไร ถ้ากินเพื่อเสพรส คือ การกินเป็นเงื่อนไขสำหรับการได้เสพรสอร่อย ระบบแห่งความเป็นเหตุเป็นผลก็คลาดเคลื่อนเสียไป
แต่ถ้ากินเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย ความเป็นเหตุเป็นผลก็ต่อเนื่องกันไปตลอดระบบ

ผู้ที่ไม่ปฏิบัติการด้วยตัณหา เริ่มต้นพฤติกรรมในกรณีอย่างนี้ ด้วยความคิด ความรู้เข้าใจ หรือความสำนึกเหตุผลว่า อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต (ที่จะดำรงอยู่ด้วยดี สามารถทำกิจหน้าที่บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่างๆได้) จึงจะต้องหาอาหารมากินเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย

ถ้าความเป็นเหตุเป็นผลดำเนินไป โดยมีความคิดหรือความสำนึกอย่างนี้เป็นฐาน ทางธรรมถึงกับกำหนดให้การแสวงหาอาหารโดยชอบธรรม เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งที่จะต้องทำทีเดียว และให้เพียรพยายามในการแสวงหานั้นด้วย
แม้แต่ภิกษุ ซึ่งควรมีชีวิตที่ขึ้นต่ออาหารน้อยที่สุด ท่านก็ให้มีอุตสาหะในการแสวงหาตามวิธีที่เป็นแบบแผนของตน
(ดูวินย.4/87/106;143/193 เรื่องในที่นี้ อาจช่วยให้เห็นความต่างอีกแง่หนึ่ง ระหว่างการแสวงหาที่เป็นการกระทำและเป็นหน้าที่ กับ การแสวงหาที่เป็นเพียงการหาทางให้ได้มาเสพเสวยโดยไม่ต้องทำ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2019, 19:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
#4

อ้างคำพูด:
ความหิว....

ความหิว...นี้..เพื่อนๆคิดว่า..มันเกี่ยวกับ...ร่างกายขาดพลังงาน..มั้ยครับ?

้ถ้า..ความหิว...เกี่ยวข้องเพราะร่างกายขาดพลังงาน

สมมุติ...วันหนึ่งๆ..ร่างกายต้องการปริมาณพลังงานเท่ากับข้าว 3 จาน..สมมุติ..นะ

้ถ้าเราทานข้าวเช้าทั้ง 3 จานในมื้อเดี่ยว...เลยนี้...มื้อที่เหลือ...ก็ไม่ควรจะหิว...จริงมั้ย?

ความจริง...ต่อให้เราทานข้าวให้พลังงานทั้งวัน..ในมื้อเช้ามื้อเดียว..พอถึงตอนเที่ยง...ก็ยังหิวอยู่ดี..ตอนเย็น..ไม่ต้องพูดถึงเลย...

นี้..แสดงว่า...ความหิว...ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง...ไม่ใช่อาการแสดงว่า..ร่างกายขาดพลังงาน


เพื่อนๆ...เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้..ของผม..มั้ยครับ?



คำถามของกบสุดท้าย ซึ่งยังไม่มีใครตอบ


:b1: :b1: :b1:

:b12: :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 04 ก.พ. 2019, 19:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2019, 19:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


คัดลอกมา...

[quote name='กบนอกกะลา' date='04/02/2019 - 00:34' timestamp='1549215276' post='828032']
[quote name='shadee' date='03/02/2019 - 21:41' timestamp='1549204902' post='828031']
อาหารคือคำข้าวเป็นปัจจัยต่อ ร่างกาย ( รูป ) ครับ
ความหิวเป็น อุปทาน ของจิต เมื่อร่างกายต้องการอาหารครับ
[/quote]

:12: :12:

ใช่ครับ....อาการหิว..เป็นเวทนา.มันกระตุ้นให้เราตัดสินใจนำอาหารเข้าสู่ร่างกาย..

แยกกัน..นะครับ...ระหว่าง...

ร่างกายขาดพลังงาน..กับ...ร่างกายต้องการอาหาร


ความหิว...ร่างกายต้องการอาหาร...เป็นกระบวนการที่ถูกสร้างขึ้น...อาจไม่สะท้อนกับความจริงเสมอไปว่า..ร่างกายขาดพลัง...

แต่..ในชีวิตประจำวัน..เราเรา..คิดว่ามันเป็นอันเดียวกัน...

เราถูก..ขันธ์หลอก.. :10: :10: :10:
[/quote]

:b13: :b13: :b13:

[quote name='กบนอกกะลา' date='04/02/2019 - 07:14' timestamp='1549239256' post='828034']
ส่วนตัวผมพบว่า..ความหิว..นอกจากถึงเวลาอาหารแล้ว...ยัง.สัมพันธ์กันกับความเครียด..อีกด้วย

กล่าวคือ...ช่วงไหน..เกิดความเครียด..เช่น..ช่วงอ่านหนังสือสอบ...งานยุ่ง...ฯ นอกจากที่จะชอบออกไปเตร็ดเตร่ข้างนอกบ้านแล้ว...มีอาการหนึ่งที่เป็นคือ..มักจะหิวบ่อย...จึงต้องซื้อขนมมาผื่อใว้เสมอ...รึไม่ก็กินข้าวนอกมื้อไปเลยก็มี.. :b32: :b32: :b32:

ปล. ผมเลยไม่แปลกใจ..ว่า..ทำไม..ร้านอาหารและการท่องเที่ยว..ของคนในโลกทุกวันนี้..จึงเกิดขึ้นมากมาย...เพราะคนในโลกเครียดกันมากขึ้น..นี้เอง
:10: :10:
[/quote]

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2019, 19:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


คัดลอกมา..

[quote name='กบนอกกะลา' date='04/02/2019 - 19:02' timestamp='1549281722' post='828072']

เป็นประเด็น..ครับ...

ประเด็น...คือ..ผมชวนให้มาดู..พฤติกรรม...ทำไมคนถึงกิน 3 มื้อ..อะไรทำให้คนเรากิน 3 มื้อ....

ผมกำลังชวนเพื่อนๆ..ให้มาดู..กาย..เวทนา..จิต...อันเกี่ยวเนื่องจากการกิน..

เราอาจได้เห็น..ความหลอกลวง...ของขันธ์5 ...ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการพลังงานจริงจริง...ของร่างกาย..นะครับคุณ sss

[/quote]

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2019, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คัดลอกมา..

[quote name='กบนอกกะลา' date='04/02/2019 - 19:02' timestamp='1549281722' post='828072']

เป็นประเด็น..ครับ...

ประเด็น...คือ..ผมชวนให้มาดู..พฤติกรรม...ทำไมคนถึงกิน 3 มื้อ..อะไรทำให้คนเรากิน 3 มื้อ....

ผมกำลังชวนเพื่อนๆ..ให้มาดู..กาย..เวทนา..จิต...อันเกี่ยวเนื่องจากการกิน..

เราอาจได้เห็น..ความหลอกลวง...ของขันธ์5 ...ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการพลังงานจริงจริง...ของร่างกาย..นะครับคุณ sss



:b16: :b16: :b16:[/quote]
:b8:

บางทีอาจมาจากความเคยชินที่เราทำกันมาตั้งแต่
เด็กๆแล้วครับ เหมือนกับระบบถูกร่างกายเราถูกจัดมา
เรียบร้อยแล้ว เมื่อถึงเวลานั้นก็จะทำงานตามความเคย
ชินนั้นเอง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2019, 19:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


คัดลอกมา..

[quote name='กบนอกกะลา' date='04/02/2019 - 19:21' timestamp='1549282866' post='828075']
การกิน...เพื่อเอาพลังงาน..ให้กับร่างกาย..เมื่อพลังงานพอ..ก็ไม่จำเป็นต้องกินเพิ่ม..กินเกิน..

พลังงานพอ..สำหรับแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน..นะครับ...แล้วอะไรเป็นจุดสังเกตว่าพลังงานที่เราทานเข้าไป..ไม่พอต่อร่างกาย?
:b13: :b13: :b13:
อย่างที่ผมเกริ่นใว้ตอนต้นๆแล้วว่า...ผมไม่เชื่อ...อาการความหิว...ดั่งที่ผมตั้งข้อสังเกต..ในความเห็นที่ 4


อ้างคำพูด:
[quote name='กบนอกกะลา' date='03/02/2019 - 19:38' timestamp='1549197533' post='828028']
ความหิว....

ความหิว...นี้..เพื่อนๆคิดว่า..มันเกี่ยวกับ...ร่างกายขาดพลังงาน..มั้ยครับ?

้ถ้า..ความหิว...เกี่ยวข้องเพราะร่างกายขาดพลังงาน
สมมุติ...วันหนึ่งๆ..ร่างกายต้องการปริมาณพลังงานเท่ากับข้าว 3 จาน..สมมุติ..นะ
้ถ้าเราทานข้าวเช้าทั้ง 3 จานในมื้อเดี่ยว...เลยนี้...มื้อที่เหลือ...ก็ไม่ควรจะหิว...จริงมั้ย?

ความจริง...ต่อให้เราทานข้าวให้พลังงานทั้งวัน..ในมื้อเช้ามื้อเดียว..พอถึงตอนเที่ยง...ก็ยังหิวอยู่ดี..ตอนเย็น..ไม่ต้องพูดถึงเลย... :10: :10: :10:

นี้..แสดงว่า...ความหิว...ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง...ไม่ใช่อาการแสดงว่า..ร่างกายขาดพลังงาน


เพื่อนๆ...เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้..ของผม..มั้ยครับ? :99: :99:
[/quote]
[/quote]

อะไรเป็นจุดสังเกตว่าพลังงานที่เราทานเข้าไป..ไม่พอต่อร่างกาย?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2019, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คัดลอกมา..

[quote name='กบนอกกะลา' date='04/02/2019 - 19:21' timestamp='1549282866' post='828075']
การกิน...เพื่อเอาพลังงาน..ให้กับร่างกาย..เมื่อพลังงานพอ..ก็ไม่จำเป็นต้องกินเพิ่ม..กินเกิน..

พลังงานพอ..สำหรับแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน..นะครับ...แล้วอะไรเป็นจุดสังเกตว่าพลังงานที่เราทานเข้าไป..ไม่พอต่อร่างกาย?
:b13: :b13: :b13:
อย่างที่ผมเกริ่นใว้ตอนต้นๆแล้วว่า...ผมไม่เชื่อ...อาการความหิว...ดั่งที่ผมตั้งข้อสังเกต..ในความเห็นที่ 4


อ้างคำพูด:
[quote name='กบนอกกะลา' date='03/02/2019 - 19:38' timestamp='1549197533' post='828028']
ความหิว....

ความหิว...นี้..เพื่อนๆคิดว่า..มันเกี่ยวกับ...ร่างกายขาดพลังงาน..มั้ยครับ?

้ถ้า..ความหิว...เกี่ยวข้องเพราะร่างกายขาดพลังงาน
สมมุติ...วันหนึ่งๆ..ร่างกายต้องการปริมาณพลังงานเท่ากับข้าว 3 จาน..สมมุติ..นะ
้ถ้าเราทานข้าวเช้าทั้ง 3 จานในมื้อเดี่ยว...เลยนี้...มื้อที่เหลือ...ก็ไม่ควรจะหิว...จริงมั้ย?

ความจริง...ต่อให้เราทานข้าวให้พลังงานทั้งวัน..ในมื้อเช้ามื้อเดียว..พอถึงตอนเที่ยง...ก็ยังหิวอยู่ดี..ตอนเย็น..ไม่ต้องพูดถึงเลย... :10: :10: :10:

นี้..แสดงว่า...ความหิว...ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง...ไม่ใช่อาการแสดงว่า..ร่างกายขาดพลังงาน


เพื่อนๆ...เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้..ของผม..มั้ยครับ? :99: :99:

[/quote]

อะไรเป็นจุดสังเกตว่าพลังงานที่เราทานเข้าไป..ไม่พอต่อร่างกาย?[/quote]
:b8:

สังเกตดูว่าร่างกายเราพอดีไหม อ้วนเกินไปหรือ
ผอมเกินไปไหม รู้สึกเหนื่อยเร็วกว่าเมื่อก่อนบ่อยๆมั้ย
แต่ทุกอย่างควรค่อยๆเป็นไป เปลี่ยนแปลง มิใช่จะตัด
จาก ๓ มื้อมาเป็นหนึ่งทันทีหากหลีกเลี่ยงได้ก็ควร

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2019, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
กิเลสหมดเพราะมีปัญญา
ไม่ได้หมดเพราะอดอาหาร
หิวแล้วไม่มีอะไรหม่ำคือโทสะ
ไม่ว่าจะนั่งนานจนปวดเมื่อยหรือหิวคือขุ่นใจ
อัตกิลมัตถานุโยโค...ทรมาณกายให้เดือดร้อน
:b32: :b32:

:b8:

ครับหิวแล้วก็ต้องกินต้องทานเพราะ
ร่างกายต้องการ กิเลสหมด เพราะมีปัญญา
แต่การหัวเราะคนอื่นหรือหัวเราะบ่อยๆนี้ก็จัด
เป็นกิเลส และอกุศลเช่นกัน หากสติปัญญา
ของคุณ โรส มากลองเอาการหัวเราะออกหรือ
ไม่หัวเราะดูจะทำได้ไหมลองดู?
หากปัญญามีมากพอผมว่าต้องทำได้แน่นอน

:b8:

พระอรหันต์หัวเราะไหมคะนั่นน่ะท่านมีอารมณ์นิพพานดับกิเลสสิ้นตามสภาวธรรม
ที่เหลือที่ยังไม่ถึงนิพพานน่ะล้วนยังมีกิเลสเยอะหัวเราะก็มีกิเลสปกติรู้เพราะปัญญารู้ไม่ใช่ตัวตนรู้
ขำก็อดหัวเราะไม่ได้ไงคะก็บอกว่าคิดให้ตรงขณะฟังใช้ตาฟังเหรอคะเนี่่ยเห็นมีแค่สีไม่มีตัวอักษรคิดเห็นผิด
:b13:
:b32: :b32:
เมื่อไหร่เขาจะเริ่มคิดได้ว่าต้องเริ่มฟังแล้วเพราะกว่าจะฟังเข้าใจกิเลสเพิ่มร้อยล้านแต่ปัญญาไม่เพิ่มขาดฟัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2019, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
#4

อ้างคำพูด:
ความหิว....

ความหิว...นี้..เพื่อนๆคิดว่า..มันเกี่ยวกับ...ร่างกายขาดพลังงาน..มั้ยครับ?

้ถ้า..ความหิว...เกี่ยวข้องเพราะร่างกายขาดพลังงาน

สมมุติ...วันหนึ่งๆ..ร่างกายต้องการปริมาณพลังงานเท่ากับข้าว 3 จาน..สมมุติ..นะ

้ถ้าเราทานข้าวเช้าทั้ง 3 จานในมื้อเดี่ยว...เลยนี้...มื้อที่เหลือ...ก็ไม่ควรจะหิว...จริงมั้ย?

ความจริง...ต่อให้เราทานข้าวให้พลังงานทั้งวัน..ในมื้อเช้ามื้อเดียว..พอถึงตอนเที่ยง...ก็ยังหิวอยู่ดี..ตอนเย็น..ไม่ต้องพูดถึงเลย...

นี้..แสดงว่า...ความหิว...ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง...ไม่ใช่อาการแสดงว่า..ร่างกายขาดพลังงาน


เพื่อนๆ...เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้..ของผม..มั้ยครับ?



คำถามของกบสุดท้าย ซึ่งยังไม่มีใครตอบ


:b1: :b1: :b1:

:b12: :b12: :b12:


คิกๆๆ มื้อหนึ่งจะกินกี่จานๆมันก็มื้อหนึ่งอิ่มหนึ่ง ถึงเวลามันก็หัวอีก ก็กินอีก ก็แค่นี้ ไม่มีอะไรลึกซึ้งซับซ้อน :b32: ยิ่งคนทำงานหนักใช้พลังทางกายมาก ก็หิวเร็ว เหงือออกมากก็ดื่มน้ำมาก มันก็ธรรมดาๆ ขี้มากกองโต เยี่ยวบ่อยเยี่ยวเยอะ คิกๆๆ เรื่องแค่นี้เอง ทำเป็นเทห์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2019, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ :b32:

ตัณหาอย่างที่ ๒ ที่จะเข้ามา ก็คือ กามตัณหา หรือ ความกระหายอยากในการเสพเวทนาอันอร่อย (สุขเวทนา) กามตัณหาจะเข้ามาร่วมกับความหิว ในการกำหนดพฤติกรรมการกิน

การร่วมกำหนดนี้ อาจเป็นไปในทางเสริมกัน ก็ได้ บั่นทอนกัน ก็ได้ เหมือนกับผู้ได้รับผลประโยชน์สองฝ่ายเข้ามาช่วงชิงผลประโยชน์กัน ถ้าต่างได้ประโยชน์ก็ช่วยกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งได้ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ ก็ขัดกัน

ถ้าความหิวกำหนดฝ่ายเดียว พฤติกรรมก็จะเป็นไปในรูปว่า อร่อยมากก็กินมาก อร่อยน้อย ก็กินน้อย

แต่นั่นเป็นเพียงข้อสมมติ ตามปกติ ตัณหาไม่เคยยอมปล่อยให้ความหิวกำหนดพฤติกรรมฝ่ายเดียว ตัณหาจะต้องแทรกเข้ามาเสมอ และ เมื่อความหิว กับ ตัณหาเข้ามาร่วมกำหนด ความหิวจะเอาอกเอาใจตัณหา โดยช่วยเหลือว่า ถ้าหิวมาก ก็ช่วยให้อร่อยมากขึ้น แต่ก็ช่วยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่อาจให้หิวกับอร่อยเท่ากันได้เสมอไป
ผลในทางพฤติกรรมจึงปรากฏว่า บางทีหิวมากแต่ไม่อร่อย กินน้อยเกินไป
บางทีหิวไม่มาก แต่อร่อยกินมากเกินไปจนท้องแน่นอืด
บางทีหิวน้อยไม่อร่อย ไม่ยอมกินเสียเลย ดังนี้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2019, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จุดที่เป็นปัญหา ก็คือ ตามปกติ ความหิวเป็นสัญญาณบอกความต้องการของร่างกาย เมื่อกินพอดีกับความหิว ก็พอดีกับความต้องการของร่างกาย

แต่เมื่อกินด้วยตัณหาตามความอร่อย บางคราวก็น้อยไป บางคราวก็มากเกินไป เกิดเป็นโทษแก่ร่างกาย

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า การกิน เป็นการกระทำ และการได้สนองความต้องการของร่างกาย เป็นผลโดยตรงของการกระทำคือการกินนั้น

ในส่วนกรณีของตัณหา การกินเป็นการกระทำ การได้เสพรสอร่อย ต้องอาศัยการกิน แต่ไม่ใช่ผลโดยตรงของการกระทำคือการกินนั้น
พูดตามหลักข้างต้นว่า การกินเป็นเหตุให้ร่างกายได้รับอาหารสนองความต้องการ แต่เป็นเงื่อนไขให้ตัณหาได้เสพรสอร่อยสนองความอยาก


โดยนัยนี้ ตัณหามิได้ต้องการการกระทำ คือ การกิน และตัณหาก็มิได้ต้องการภาวะที่ร่างกายได้รับอาหาร ซึ่งเป็นผลของการกระทำนั้น ตัณหาต้องการเสพรสอร่อยอย่างเดียว แต่การกินเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นที่จะให้ตัณหาได้เสพรสอร่อย ไม่มีทางเลือกอย่างอื่น จึงต้องกิน ถ้ายิ่งอร่อยก็ยิ่งกิน ไม่คำนึงว่าจะเกินความต้องการของร่างกายหรือไม่
แต่ถ้าไม่อร่อยก็จะไม่ยอมกิน ไม่คำนึ่งว่าร่างกายจะได้รับอาหารน้อยเกินไปหรือไม่ ซ้ำยังรู้สึกว่า การเคี้ยวการกลืนกิน ล้วนเป็นการกระทำที่ยากลำบาก ฝืน น่าเหน็ดเหนื่อยไปหมด ร่างกายจึงเป็นเพียงผู้พลอยได้รับผลโดยเขาไม่ได้ตั้งใจให้เลย

ถ้าจะพูดให้เป็นภาพพจน์ ก็เหมือนดังว่า ชีวิตร่างกายที่ต้องการอาหารเป็นฝ่ายหนึ่ง คนที่กินด้วยตัณหาเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อกายขาดอาหาร ก็ต้องการเอาอาหารเข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งทำได้ด้วยการกิน ชีวิตทางกายต้องการกิน แต่กายกินเองไม่ได้ ต้องอาศัยคนช่วยกินให้ ภาวะเช่นนี้ ทำให้กายลำบากมาก เพราะคนไม่ค่อยเอาใจใส่ที่จะช่วย และช่วยอย่างเสียไม่ได้ กายจึงได้อาหารพอบ้าง ไม่พอบ้าง บางคราวขาดแคลนมาก ต้องร่ำร้องโอดครวญ คนจึงช่วยกินให้

เมื่อเป็นเช่นนี้ กายจึงหาวิธีหลอกล่อให้คนชอบกิน โดยให้รางวัลว่า ในเวลากิน ให้คนได้อร่อย ปรากฏว่า คราวนี้ได้ผล พอกายส่งสัญญาณนิดเดียว คนก็ขมีขมันขวนขวายกิน บางทีกายไม่หิวเลย ไม่ส่งสัญญาณสักนิด คนเจอะอร่อยเข้า ก็กินเสียมากมายจนเกินที่กายต้องการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2019, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นอันว่า คราวนี้การกินมีความหมายสำหรับทั้งสองฝ่าย คือ สำหรับชีวิตทางกาย การกินหมายถึงการได้อาหารมาเพิ่มเติมเสริมซ่อมส่วนขาดแคลน

แต่สำหรับคน การกินหมายถึงการได้เสพรสอร่อย คราวนี้ไม่แต่กายเท่านั้นที่อยากกิน คนก็อยากกินด้วย

(ความจริงคนไม่ใช่อยากกิน เขาไม่ได้ต้องการเอาอาหารใส่ผ่านลงไปหรอก เขาอยากเสพรสอร่อยเท่านั้นเอง ขอให้ลองนึกสมมติดูว่า ถ้าคนต้องกินอาหารสัก ๒ จาน โดยไม่มีรสชาติใดเลย การเคี้ยวและการกล้ำกลืนจะกลายเป็นสิ่งที่ต้องฝืนทน ยากลำบากหรือทุกข์ทรมานเพียงใด แต่ถ้าอร่อย อาจรู้สึกแต่เพียงรส ไม่ได้นึกถึงการเคี้ยวกลืน จนแม้แต่จานที่ ๓ ก็แทบจะมาไม่ทัน)


เมื่อทำให้คนอยากกินได้แล้ว กายก็ค่อยสบายขึ้น เพียงคอยนอนรออยู่ คนเขากระตือรือร้นกินของเขาเอง พอคนกินอร่อยของเขาไป กายก็พลอยได้รับอาหารที่ต้องการไปด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2019, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม วิธีสร้างเงื่อนไขหลอกคนอย่างนี้ มิใช่จะได้ผลดีมากมายนัก บางครั้งก็กลับทำให้กายประสบผลร้ายอย่างหนัก
ถ้าคนนั้นเป็นคนชนิดไม่มีสำนึก ไม่รู้จักคิดคำนึงถึงอะไรๆเสียเลย ถูกหลอกเสียเต็มที่ จะเอาแต่เสพรสอย่างเดียว ความเดือดร้อนก็หวนกลับมาตกแก่กาย
บางคราวกินไม่พอที่กายต้องการ เพราะไม่อร่อย
บางคราวอร่อย กินไม่ใช่แค่เกินต้องการเท่านั้น แต่กินถึงขนาดที่กายรับไม่ไหว ป่วยไข้ไปเลย


เป็นอันว่า การกระทำที่เป็นเหตุ คือ การกิน ไม่พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผล คือ การแก้ไขความขาดแคลนที่ร่างกายต้องการ
ยิ่งกว่านั้น ยังมีบ่อยครั้งที่คนผู้ถูกหลอกนั้น ไปเที่ยวก่อเรื่องวุ่นวายต่างๆ ข้างนอก พาคนอื่นตลอดจนสังคมเดือดร้อนกันไปหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2019, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอนนี้

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร