วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 274 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2019, 10:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การดำรงชีพนี้ เป็นการทำให้ได้มาซึ่งทั้งปัจจัย ๔

1. อาหาร
2. ที่อยู่อาศัย
3. เครื่องนุ่งห่ม
4. ยารักษาโรค


ในยุคปัจจุบันนี้เป็นในส่วนที่ทรัพย์ที่เป็นอามิส มีค่าต่อบุคคล โดยการใช้ในปัจจัยที่ ๕ คือ เงิน, การทำงานหาเงินนั่นเอง ซึ่งการทำงานหาเงินนี้ เราจำแนกได้ทั้งเจ้าขององค์กร เจ้าของบริษัท เจ้าพนักงาน พนักงานทั่วไป พ่อบ้าน แม่บ้าน การเลี้ยงดูครอบครัว บริวาร อุปถัมป์พระพุทธศาสนา ฯลฯ

ในเมื่อเราทุกคนเป็นเพียงฆราวาส ยังต้องใช้ชีวิตกับทางโลก ยังไม่ได้บวชบรรลุธรรม ตามที่เรารู้กันดีว่า พุทธบริษัท ๔ อุบาสก อุบาสิกา มีทั้งพระราชา ทีทั้งพระมเหสี มีทั้งเศรษฐี ิอำมาตย์ ทหาร ประชาชน คนมีฐานะ วรรธดี และทรามต่างกัน เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสสอน จึงตรัสสอนด้วยการจำแนกธรรมให้เหมาะสมแก่แต่ละเพศ และภูมิธรรม อายุ วรรณะ สุขะ พละ ต่างๆ เรามาพูดถึง พุทธเศรษฐศาสตร์ พุทธบริหาร หัวใจนักปราชญ์ หัวใจเศรษฐี ธรรมผู้ครองเรือนกันดีกว่าครับ เรามาแบ่งปันกันว่า จะใช้ธรรมข้อใด บทใด ธรรมคู่ ธรรม ๔ ธรรม ๕ ธรรม ๖ ธรรม ๗ ธรรม ๘ ธรรมใดในการดำรงชีพ อยู่กับสังคม ที่ทำงาน วิธีการทำงาน ครอบครัว แก้ปัญญาชีวิต แก้ปัญหาที่ทำงาน การตอบโจทย์ความต้องการของใจ การบริหารองค์กร เป็นต้น

การตั้งกระทู้ในข้อนี้สำคัญอย่างไร กระทู้นี้เป็นการเจริญปฏิบัติตามพระพุทธศาสดาตรัสสอนในสิ่งที่ควรทำของฆราวาส ดัง สิงคาลกสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่สิงคาลกคฤหบดีบุตร ณ พระวิหารเวฬุวัน ดังนี้ว่า


อ้างคำพูด:
๘. สิงคาลกสูตร (๑๓)


[๑๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้น สิงคาลกคฤหบดีบุตร
ลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าชุ่ม มีผมเปียก ประคองอัญชลี นอบ
น้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย
ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน ฯ
[๑๗๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็น
สิงคาลกคฤหบดีบุตร ซึ่งลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าชุ่ม มีผมเปียก
ประคองอัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศ
เบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ แล้วได้ตรัสถามว่า
ดูกรคฤหบดีบุตร ท่านลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าชุ่ม มีผมเปียก
ประคองอัญชลีนอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้อง
หลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ เพราะเหตุอะไรหนอ ฯ
สิงคาลกคฤหบดีบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คุณพ่อของข้าพระ-
*พุทธเจ้าเมื่อใกล้จะตายได้สั่งไว้อย่างนี้ว่า ดูกรพ่อ เจ้าพึงนอบน้อมทิศทั้งหลาย
ข้าพระพุทธเจ้าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาคำของคุณพ่อ จึงลุกขึ้นแต่เช้า
ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าชุ่ม มีผมเปียก ประคองอัญชลี นอบน้อมทิศ
ทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศ
เบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ ฯ
ภ. ดูกรคฤหบดีบุตร ในวินัยของพระอริยเจ้า เขาไม่นอบน้อมทิศ ๖ กัน
อย่างนี้ ฯ
สิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศ ๖
กันอย่างไร ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์
ตามที่ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศ ๖ กันนั้นเถิด ฯ
[๑๗๔] ดูกรคฤหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เรา
จักกล่าว ฯ
สิงคาลกคฤหบดีบุตร ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรคฤหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลสทั้ง ๔ ได้แล้ว ไม่
ทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔ และไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ อริยสาวกนั้นเป็นผู้
ปราศจากกรรมอันลามก ๑๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
ชำนะโลกทั้งสอง และเป็นอันอริยสาวกนั้นปรารภแล้ว ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ



กรรมกิเลส ๔ เป็นไฉน ที่อริยสาวกละได้แล้ว ดูกรคฤหบดีบุตร กรรม
กิเลส คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ กรรม
กิเลส ๔ เหล่านี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๗๕] ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาท และการคบหาภรรยาผู้อื่น
เรากล่าวว่าเป็นกรรมกิเลส บัณฑิตไม่สรรเสริญ ฯ
[๑๗๖] อริยสาวกไม่กระทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔ เป็นไฉน ปุถุชนถึง
ฉันทาคติ ย่อมทำกรรมอันลามก ถึงโทสาคติ ย่อมทำกรรมอันลามก ถึงโมหา-
*คติ ย่อมทำกรรมอันลามก ถึงภยาคติ ย่อมทำกรรมอันลามก ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร ส่วนอริยสาวกย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ
ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึงภยาคติ ท่านย่อมไม่ทำกรรมอันลามกโดยฐานะ ๔
เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๗๗] ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความกลัว
ความหลง ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ดังดวงจันทร์ในข้างแรม
ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรมเพราะความรัก ความชัง ความกลัว
ความหลง ยศย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ดุจดวงจันทร์ในข้างขึ้น ฯ



[๑๗๘] อริยสาวกย่อมไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน ดูกร
คฤหบดีบุตร การประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการ
เที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การเที่ยว
ดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ
เนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบ
เนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ ฯ
[๑๗๙] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการนี้ คือ ความเสื่อมทรัพย์
อันผู้ดื่มพึงเห็นเอง ๑ ก่อการทะเลาะวิวาท ๑ เป็นบ่อเกิดแห่งโรค ๑ เป็นเหตุ
เสียชื่อเสียง ๑ เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย ๑ มีบทที่ ๖ คือ เป็นเหตุทอนกำลัง
ปัญญา ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๐] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการเที่ยวไปใน
ตรอกต่างๆ ในกลางคืน ๖ ประการเหล่านี้ คือ ผู้นั้นชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ตัว ๑ ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา ๑ ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ ๑
เป็นที่ระแวงของคนอื่น ๑ คำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้นๆ ย่อมปรากฏในผู้นั้น ๑
อันเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากแวดล้อม ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการ
ประกอบเนืองๆ ซึ่งการเที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืนเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๑] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประการเหล่านี้คือ
รำที่ไหนไปที่นั่น ๑ ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น ๑ ประโคมที่ไหนไปที่นั่น ๑ เสภาที่ไหน
ไปที่นั่น ๑ เพลงที่ไหนไปที่นั่น ๑ เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร
โทษ ๖ ประการในการเที่ยวดูมหรสพเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๒] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการเหล่านี้ คือ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ๑ ผู้แพ้ย่อม
เสียดายทรัพย์ที่เสียไป ๑ ความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ๑ ถ้อยคำของคนเล่นการ
พนัน ซึ่งไปพูดในที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ๑ ถูกมิตรอมาตย์หมิ่นประมาท ๑ ไม่มีใคร
ประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่า ชายนักเลงเล่นการพนันไม่สามารถจะเลี้ยง
ภรรยา ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๓] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่ว
เป็นมิตร ๖ ประการเหล่านี้ คือ นำให้เป็นนักเลงการพนัน ๑ นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
๑ นำให้เป็นนักเลงเหล้า ๑ นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม ๑ นำให้เป็นคน
โกงเขาซึ่งหน้า ๑ นำให้เป็นคนหัวไม้ ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการ
ประกอบเนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตรเหล่านี้แล ฯ
[๑๘๔] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน
๖ ประการเหล่านี้ คือ มักให้อ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าร้อน
นัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าเวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้
อ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าหิวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑
มักให้อ้างว่าระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ ผลัด
เพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความสิ้น
ไป ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน
เหล่านี้แล ฯ



พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๘๕] เพื่อนในโรงสุราก็มี เพื่อนกล่าวแต่ปากว่าเพื่อนๆ ก็มี
ส่วนผู้ใดเป็นสหายในเมื่อความต้องการเกิดขึ้นแล้ว ผู้นั้นจัดว่า
เป็นเพื่อนแท้ เหตุ ๖ ประการ คือ การนอนสาย ๑ การเสพ
ภรรยาผู้อื่น ๑ ความประสงค์ผูกเวร ๑ ความเป็นผู้ทำแต่สิ่งหา
ประโยชน์มิได้ ๑ มิตรชั่ว ๑ ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่นนัก
๑ เหล่านี้ ย่อมกำจัดบุรุษเสียจากประโยชน์สุขที่จะพึงได้พึงถึง
คนมีมิตรชั่ว มีเพื่อนชั่ว มีมรรยาทและการเที่ยวชั่ว ย่อม
เสื่อมจากโลกทั้งสอง คือ จากโลกนี้และจากโลกหน้า เหตุ ๖
ประการ คือ การพนันและหญิง ๑ สุรา ๑ ฟ้อนรำขับร้อง ๑
นอนหลับในกลางวันบำเรอตนในสมัยมิใช่การ ๑ มิตรชั่ว ๑
ความตระหนี่เหนียวแน่นนัก ๑ เหล่านี้ ย่อมกำจัดบุรุษเสียจาก
ประโยชน์สุข ที่จะพึงได้พึงถึง ชนเหล่าใดเล่นการพนัน ดื่ม
สุรา เสพหญิงภรรยาที่รักเสมอด้วยชีวิตของผู้อื่น คบแต่คน
ต่ำช้า และไม่คบหาคนที่มีความเจริญ ย่อมเสื่อมเพียงดัง
ดวงจันทร์ในข้างแรม ผู้ใดดื่มสุรา ไม่มีทรัพย์ หาการงานทำ
เลี้ยงชีวิตมิได้ เป็นคนขี้เมา ปราศจากสิ่งเป็นประโยชน์ เขา
จักจมลงสู่หนี้เหมือนก้อนหินจมน้ำ ฉะนั้น จักทำความอากูล
แก่ตนทันที คนมักมีการนอนหลับในกลางวัน เกลียดชังการ
ลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมาเป็นนิจ ไม่อาจครอบครอง
เหย้าเรือนให้ดีได้ ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยชายหนุ่มที่
ละทิ้งการงาน ด้วยอ้างเลศว่า หนาวนัก ร้อนนัก เวลานี้เย็น
เสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น ส่วนผู้ใดไม่สำคัญความหนาวและความ
ร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า ทำกิจของบุรุษอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจาก
ความสุขเลย ฯ



[๑๘๖] ดูกรคฤหบดีบุตร คน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ คนนำสิ่งของๆ
เพื่อนไปถ่ายเดียว [คนปอกลอก] ๑ คนดีแต่พูด ๑ คนหัวประจบ ๑ คนชักชวนใน
ทางฉิบหาย ๑ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร ฯ
[๑๘๗] ดูกรคฤหบดีบุตร คนปอกลอก ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็น
แต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ เป็นคนคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑ เสียให้น้อยคิด
เอาให้ได้มาก ๑ ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย ๑ คบเพื่อนเพราะเห็นแก่
ประโยชน์ของตัว ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนปอกลอก ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
[๑๘๘] ดูกรคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็น
แต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย ๑ อ้างเอาของที่ยัง
ไม่มาถึงมาปราศรัย ๑ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ เมื่อกิจเกิดขึ้นแสดง
ความขัดข้อง [ออกปากพึ่งมิได้] ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่า
ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
[๑๘๙] ดูกรคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็น
แต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ ตามใจเพื่อนให้ทำความชั่ว [จะทำชั่วก็คล้อย
ตาม] ๑ ตามใจเพื่อนให้ทำความดี [จะทำดีก็คล้อยตาม] ๑ ต่อหน้าสรรเสริญ ๑
ลับหลังนินทา ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่
คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
[๑๙๐] ดูกรคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่
มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ ชักชวนให้ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน
๑ ชักชวนให้เที่ยวดูการมหรสพ ๑ ชักชวนให้เล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ



พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๙๑] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรปอกลอก ๑
มิตรดีแต่พูด ๑ มิตรหัวประจบ ๑ มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ๑
ว่าไม่ใช่มิตรแท้ ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เหมือนคน
เดินทางเว้นทางที่มีภัย ฉะนั้น ฯ
[๑๙๒] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรแนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ท่านพึงทราบว่า
เป็นมิตรมีใจดี [เป็นมิตรแท้] ฯ
[๑๙๓] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
โดยสถาน ๔ คือ รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้
ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้นเพิ่มทรัพย์ให้
สองเท่า [เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก] ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร มิตร
มีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
[๑๙๔] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตร
แท้โดยสถาน ๔ คือ บอกความลับ [ของตน] แก่เพื่อน ๑ ปิดความลับของเพื่อน ๑
ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย ๑ แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑ ดูกร
คฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔
เหล่านี้แล ฯ
[๑๙๕] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตร
แท้โดยสถาน ๔ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยัง
ไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึง
ทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
[๑๙๖] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
โดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ๑ ยินดีด้วยความเจริญของ
เพื่อน ๑ ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน ๑ ดูกรคฤหบดี
บุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๙๗] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรแนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรัก
ใคร่ ๑ ว่าเป็นมิตรแท้ ฉะนี้แล้ว พึงเข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพ
เหมือนมารดากับบุตร ฉะนั้น บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อม
รุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลออมโภคสมบัติอยู่
เหมือนแมลงผึ้งผนวกรัง โภคสมบัติย่อมถึงความสั่งสมดุจ
จอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น คฤหัสถ์ในตระกูลผู้
สามารถ ครั้นสะสมโภคสมบัติได้อย่างนี้แล้ว พึงแบ่งโภค
สมบัติออกเป็นสี่ส่วน เขาย่อมสมานมิตรไว้ได้ พึงใช้สอย
โภคสมบัติด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการงานด้วยสองส่วน
พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย หมายว่าจักมีไว้ในยามอันตราย ดังนี้ ฯ



[๑๙๘] ดูกรคฤหบดีบุตร ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖ อย่างไร ท่าน
พึงทราบทิศ ๖ เหล่านี้ คือ พึงทราบมารดาบิดาว่าเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็น
ทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรและอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย
ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน ฯ
[๑๙๙] ดูกรคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึงบำรุง
ด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยตั้งใจไว้ว่าท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑ จักรับทำ
กิจของท่าน ๑ จักดำรงวงศ์สกุล ๑ จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑
ก็หรือเมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าอันบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่
ในความดี ๑ ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑ หาภรรยาที่สมควรให้ ๑ มอบทรัพย์ให้
ในสมัย ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าอันบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหน้านั้น ชื่อว่า
อันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ
[๒๐๐] ดูกรคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์พึงบำรุงด้วย
สถาน ๕ คือ ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๑ ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้ ๑ ด้วยการเชื่อฟัง ๑
ด้วยการปรนนิบัติ ๑ ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงด้วยสถาน ๕
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ แนะนำดี ๑ ให้เรียนดี ๑ บอก
ศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด ๑ ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง ๑ ทำความป้องกัน
ในทิศทั้งหลาย ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่า
นี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องขวานั้น ชื่อว่าอันศิษย์
ปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ
[๒๐๑] ดูกรคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีพึงบำรุงด้วย
สถาน ๕ คือ ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑ ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑ ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ
๑ ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๑ ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานดี ๑ สงเคราะห์คน
ข้างเคียงของผัวดี ๑ ไม่ประพฤตินอกใจผัว ๑ รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ ๑ ขยัน
ไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหลังนั้น ชื่อว่า
อันสามีปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ
[๒๐๒] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรพึงบำรุงด้วย
สถาน ๕ คือ ด้วยการให้ปัน ๑ ด้วยเจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก ๑ ด้วยประพฤติ
ประโยชน์ ๑ ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑ ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความ
จริง ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมิตรมีภัยเอาเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ ไม่ละทิ้ง
ในยามวิบัติ ๑ นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องซ้ายนั้น ชื่อว่า
อันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ
[๒๐๓] ดูกรคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำอันนายพึงบำรุง
ด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ๑ ด้วยให้อาหารและ
รางวัล ๑ ด้วยรักษาในคราวเจ็บไข้ ๑ ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน ๑
ด้วยปล่อยในสมัย ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำอันนายบำรุงด้วยสถาน ๕
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ คือ ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย ๑
เลิกการงานทีหลังนาย ๑ ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๑ ทำการงานให้ดีขึ้น ๑
นำคุณของนายไปสรรเสริญ ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำอันนายบำรุงด้วยสถาน ๕
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องต่ำนั้น ชื่อว่า
อันนายปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัย ด้วยประการฉะนั้น ฯ
[๒๐๔] ดูกรคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตร
พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยวจีกรรมประกอบ
ด้วยเมตตา ๑ ด้วยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑
ด้วยให้อามิสทานเนืองๆ ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรบำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ คือ ห้ามไม่ให้ทำ
ความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่
ยังไม่เคยฟัง ๑ ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรบำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้ ทิศเบื้องบน
นั้น ชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัย ด้วยประการฉะนี้ ฯ

** ความว่า "อริยะสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศ ทั้ง ๖" ในที่นี้ ผมเห็นว่า คำว่า "ปกปิด" นี้ จะหมายเอาซึ่งกิริยาที่เป็นการ..สอดส่อง ดูแล ค้ำจุน จุนเจือ ไม่ขาด ไม่ตก ไม่บกพร่อง ให้เป็นช่องว่าง ช่องโหว่ในกรรมชั่ว หรือสิ่งอันทำให้ก้าวล่วงในที่ชั่ว**


พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๒๐๕] มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรภรรยา
เป็นทิศเบื้องหลัง มิตรอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสกรรมกร
เป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน คฤหัสถ์ในสกุล
ผู้สามารถควรนอบน้อมทิศเหล่านี้ บัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ มีความประพฤติเจียมตน
ไม่ดื้อกระด้าง ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ คนหมั่นไม่เกียจคร้าน
ย่อมไม่หวั่นไหว ในอันตรายทั้งหลาย คนมีความประพฤติ
ไม่ขาดสาย มีปัญญา ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ คนผู้สงเคราะห์
แสวงหามิตรที่ดี รู้เท่าถ้อยคำที่เขากล่าว ปราศจากตระหนี่
เป็นผู้แนะนำแสดงเหตุผลต่างๆ เนืองๆ ผู้เช่นนั้น ย่อม
ได้ยศ การให้ ๑ เจรจาไพเราะ ๑ การประพฤติให้เป็น
ประโยชน์ ๑ ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย ในคนนั้นๆ
ตามควร ๑ ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจในโลกเหล่านี้แล เป็น
เหมือนสลักรถอันแล่นไปอยู่ ถ้าธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้
ไม่พึงมีไซร้ มารดาและบิดาไม่พึงได้ความนับถือหรือความบูชา
เพราะเหตุแห่งบุตร เพราะบัณฑิตทั้งหลายพิจารณาเห็นธรรม
เครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้โดยชอบ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้นจึงถึง
ความเป็นใหญ่ และเป็นผู้อันหมู่ชนสรรเสริญทั่วหน้า ดังนี้ ฯ



[๒๐๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสฉะนี้แล้ว สิงคาลกคฤหบดีบุตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิต
ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง
แก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉันใด
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัย
เป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล ฯ


จบ สิงคาลกสูตร ที่ ๘



-----------------------------------------------------


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๓๙๒๓-๔๒๐๖ หน้าที่ ๑๖๒-๑๗๓.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_si ... =11&siri=8
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=11&i=172
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
[172-206] http://www.84000.org/tipitaka/pali/pali ... 2&items=35
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://www.84000.org/tipitaka/atthapali ... B=6&A=3307
The Pali Tipitaka in Roman :-
[172-206] http://www.84000.org/tipitaka/pali/roma ... 2&items=35
The Pali Atthakatha in Roman :-
http://www.84000.org/tipitaka/atthapali ... B=6&A=3307
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_11
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
http://metta.lk/tipitaka/2Sutta-Pitaka/ ... la-e2.html
https://accesstoinsight.org/tipitaka/dn ... .ksw0.html
https://accesstoinsight.org/tipitaka/dn ... .nara.html
https://suttacentral.net/dn31/en/sujato
https://suttacentral.net/dn31/en/kelly-sawyer-yareham




ด้วยเหตุดังนี้ตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสดาแล้ว ซึ่งผมแบ่งแยกข้อธรรมตามสีๆไว้ให้ดูง่ายเป็นกลุ่มข้อธรรมนั้นๆแล้ว ทีนี้เรานำธรรมนั้นๆ หรือข้อธรรมใดที่เรารู้จัก หรือธรรมใดที่เราเจริญ หรือข้อธรรมใดเราใช้ปัญญาพลิกแพลงประยุกต์ใช้ หรือข้อธรรมใดๆของพระพุทธเจ้าที่ยิ่งกว่าไปใช้ในกิจการงาน ที่ทำงาน องค์กร สังคม ชุมชน ครอบครัว แบบไหน อันใด อย่างไรได้บ้าง เอามาแบ่งปันกันครับ ผมเชื่อว่าเราทุกคนในที่นี้ มีคภูมิธรรมสูงพอที่จะประยุกต์ใช้พระธรรมของพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดามาใช้ในการดำรงชีพและแบ่งปันแก่ผู้อื่นได้ ดังนี้เรามาแบ่งปันกันครับ มีใครใช้ข้อธรรมใด ใจกาลอย่างไร สถานที่ใด เช่น องค์กร บริษัท ที่ทำงาน สังคม เพื่อนฝูง ชุมชน หรือครอบครัวอย่างไร แล้วธรรมในกระทู้นี้ของท่านทั้งหลายจะเผยแพร่ไปช่วนเหลือคนอื่นๆ เปิดปัญญาให้แค่ชาวพุทธที่ยังสถานะครองเรือน เป็นฆราวาส มนุษย์เงินเดือน คนเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นบุตร เป็นหลานได้ทำหน้าที่อย่างดีสืบไปครับ ดังนี้ขอเชิญทุกท่านมาแบ่งปันกันครับ...

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 22 ม.ค. 2019, 14:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2019, 12:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ฝึกอบรมจิตให้ถึงปัญญาทำความแจ้งโลก ด้วยธรรมเบื้องสูง
ธรรม ๔ ที่ประเสริฐสุด คือ พระอริยะสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

(พระอริยะสัจ ๔ นี้คือปัญญาล้วนๆ ใช้พระอริยะสัจ ๔ นำ ประครองอารมณ์ เรียกว่า ใช้ปัญญานำ สมาธิตาม ซึ่งทั้งหมดประครองด้วยสติเป็นฐาน)

...ปัญญาทางธรรม..ท่านไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ยึดสัญญาสมมติ แต่ใช้ความจริง

...ปัญญาทางโลก..ท่านอาศัยความคิด ความจำ พลิกแพลง สร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ คือ แนวคิดพิจารณา พลิกแพลงปรับใช้ประโยชน์ให้เป็น ถูกกาลที่ควรทำ ฟังมาก อ่านจำรู้มาก คิดกพิขารณาตามให้เข้าถึงในทุกเรื่อง รู้จักซักถามเมื่อไม้เข้าใจ รู้จักจดบันทึกไว้ทบทวนปัญญา แล้วจึงค่อยๆสืบต่อไปทำความรู้เห็นตามจริงโดยปราศจากความคิดอนุมานคาดคะเน ซึ่งหากนำมาใช้ทางโลกเราก็เข้าใจธรรมชาติของคนผู้นั้น เข้าใจคำว่า "สิ่งมีชีวิต" ย่อมมีความรู้สึกนึกคิด อารมณ์แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา มีการตอบโต้ การสะท้อนกลับหรือไหลตามของแรงกระทบทางที่มีผลต่อใจ ด้วยความคิด ด้วยวาจา ด้วยกาย

...การใช้ปัญญานี้ เราต้องเป็นมนุษย์ให้ได้ก่อน..แล้วเราจะต้องทำอย่างไรจึงชื่อว่ามนุษย์ได้ เพราะไม่ว่าพ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก เมีย หลาน ญาติ มิตร คนรอบข้างที่บ้าน ที่เรียน ที่ทำงาน หัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชาเรา แม้แต่ลูกน้องใต้บังคับบัญชาเรา ทุกๆคนย่อมต้องการจะคุยประสานงาน ร่วมงาน ร่วมชีวิตกับ..มนุษย์ ทั้งนั้น "เพราะมนุษย์จะพูดคุยรู้เรื่อง" และ "ใช้ปัญญามากกว่าใช้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดสมมติ มีเหตุมีผล แยกแยะเป็น" แต่สัตว์เดรัจฉาน หรือแค่สมมติว่าคนนั้น มันคุยไม่รู้เรื่อง มันใช้ความรู้สึกไม่ใช้ปัญญา พัฒนาไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่กลับกันกับมนุษย์

เมื่อเราจะเป็นมนุษย์ มนุษย์เป็นผู้ที่จะหลุดพ้นทุกข์ได้ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น มนุษย์คือผู้ที่ได้สดับรู้จักพระอริยสัจ ๔ เป็นผู้ใช้ปัญญามากกว่าความรู้สึก ดังนั้นจึงรู้ได้ว่า อวิชชา คือความไม่รู้ ไม่รู้อะไร ก็คือไม่รู้ของจริงต่างหฟากจากสมมตินั่นเอง เพราะเข้าไม่ถึงไม่เห็นจริงในพระอริยะสัจ ๔ ซึ่งพระอริยะสัจ ๔ แท้ๆ คือองค์ธรรมที่เป็นการกระทำของจิตนั่นเอง จึงเรียกว่าจิตทำกิจโดยแยบคาย แต่ในทางโลกที่เราเรียนรู้สะสมเป็นแบบสาสวะ คือ เป็นบุญบารมีแก่ขันธ์ เป็นปัญญาธรรมและโลก เรานำพระอริยะสัจ ๔ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนี้มา โอปะนะยิโก คือ น้อมมาสู่ตน ใช้ปัญญาทางโลกคือ ความคิดวิเคราะห์ พิจารณา แทนการใช้ความรู้สึก นี่ก็เป็นการน้อมเอาสันดารพระอริยัะมาสถิตย์ในกายใจตนแล้ว เป็นกุลบุตรผู้ฉลาดผู้เจริญตามสิ่งอันพระอริยะบรรลุบทอันกระทำแล้ว

ทุกข์ของเขาเป็นแบบไหน
(เขาคิดแบบไหน,ทุกข์ร้อนยังไง, พบเจอยังไง, จึงแสดงออกมาอย่างนั้น)

สิ่งใดเป็นเหตุแห่งทุกข์ของเขา
(เหตุที่ทำให้เขาคิดและทำแบบนั้น คือสิ่งใด, สิ่งใดเป็นเหตุที่นำพาความทุกข์ร้อนมาสู่เขา เขายินดีหรือยินร้ายในสิ่งไหน, ชอบหรือชังในสิ่งไร, เขามีหรือขาดในสิ่งใด, เขาให้ความจดจำสำคัญมั่นหมายในใจไว้อย่างไรต่อสิ่งต่างๆที่มากระทบ, เขาควรตั้งมั่นหรือปล่อยวางยังไง)

ความดับทุกข์ของเขาเป็นอย่างไร
(ความดับทุกข์และความหน่วงนึกคิดอันเร่าร้อนนั้นๆของเขาเป็นแบบไหน, อย่างไรจึงชื่อว่าเขาไม่มีทุกข์นั้น, การสนองตอบโจทย์ความต้องการของใจเขาให้ไม่เร่าร้อนคือสิ่งใด อะไรที่เมื่อเขามีดขาได้รับแล้วไม่มีทุกข์นั้นๆ)

สิ่งใดเป็นทางดับทุกข์ของเขา
(เหตุที่นำไปสู่ความสำเร็จประโยชน์สุขของเขาคือสิ่งใด, แสดงให้เห็นแบบไหน,สื่ออย่างไร, เขาต้องเติมส่วนที่ขาดสิ่งใด, เขาต้องละสิ่งที่เกินแบบไหน, เขาต้องคงไว้ซึ่งสิ่งที่เหมาะควรยังไง)


- ซึ่งทั้งหมดนี้เราต้องทำกับกายใจเราได้ก่อน เราจึงจะเห็นจริง แจ้งใจรู้ทางจริง แล้วจึงบอกต่อผู้อื่นได้ถูก กล่าวคือ..หากเราตอบโจทย์ชีวิตตนเองไม่ได้ ตอบโจทย์สนองความต้องการตนเองไม่ได้ แก้ไขข้อบกพร่องตนเองไม่ได้ เข้าถึงใจตนไม่ได้ทั้งๆที่เป็นสิ่งที่ตนรู้สึกได้แท้ๆ แล้วจะเอาปัญญาที่ไหนไปตอบสนองผู้แอื่น คนอื่น สัตว์อื่น สิ่งมีชีวิตอื่น สิ่งแวดล้อมตนอื่นๆได้เล่า

- ดังนั้น จึงต้องฝึกฝนตนให้พิจารณาตามนี้ทุกครั้ง เพราะพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วตรัสสอนมาดีแล้ว รวมทั้งคุณสมบัตินักปราชญ์ตามที่พระบรมศาสดาตรัสสอนคือ ดู/ฟัง/อ่าน สังเกตุ/คิดตาม ไม่เข้าใจก็ถาม จดไว้ทบทวน ซึ่งใช้ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกใช้ในการฉลาดคิดพิจารณา คิดพลิกแพลงประยุกต์ใช้
ส่วนทางธรรมคือดับสิ้นโลกดับสิ้นการเวียนว่ายตายเกิดและกองทุกข์ทั้งปวงด้วยเข้าถึงจริงเห็นของจริงโดยไม่มีสมมติ ไม่ใช้ความคิด ไม่ต้องอนุมาน คือ..ยถาภูญาณทัสนะ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ นั่นเอง

- ฝึกทำใจให้หมั่นขยันและใฝ่รู้ มีสติตั้งประครองใจไม่ให้หลงไปตามอารมณ์อยู่ทุกเมื่อ แล้วก็ยินดีในการแก้ไขให้ตนดียิ่งๆขึ้น แล้วทบทวนมองดูตนกับการตอบสนองของคนรอบๆกายเราบ่อยๆ หัดสังเกตคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อม ุแล้วแก้ที่ตน หมั่นฝึกระลึกรู้ทันความคิดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดบ่อยๆ แล้วสำเหนียกรู้คุณและโทษในความคิดนั้น ฝึกเพิกเฉย นิ่งเฉยไม่ใส่ใจไม่สนใจกับความคิดอันเป็นมีโทษเป็นทุกข์ ฝึกทำสักแต่รู้ความคิดอันเป็นทุกข์ ฝึกสร้างเสริมความคิดที่เอื้อเฟื้อ เบา สบาย ผ่องใส ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งที่ทำให้เกิดความคิดอันเร่าร้อนของตน ทำสิ่งนี้จะช่วยให้เรา มีสติตอบสนองความรู้สึกนึกคิดได้ไวขึ้น แล้วนั่งสมาธิทำความสงบใจ สงบนิ่งบ่อยๆจะทำให้จิตไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้จิตมีกำลังไม่อ่อนไหวไปตามความคิดฟุ้งซ่าน และเป็นกำลังเสริมให้สติมีพลังได้มากขึ้น เมื่อสมองโล่งว่างมันก็พร้อมที่จะรับรู้จดจำความคิดหรือแนวทางอันเป็นประโยชน์เพิ่มได้มากขึ้น

- ทำไปเรื่อยๆจนเมื่อตนทำได้แน่นอนจนแจ้งชัดใจจนเป็นนิสัยแล้วเราจึงจะสอนคนอื่นต่อได้ เพื่อที่เราจะได้ตอบโจทยความต้องการ์ของเขาได้ถูกและตรงจุด ชักนำให้เขาเดินตามทางโดยชอบได้จริง ดั่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้ทรงกระทำ


ทำไมพระอริยะสัจ ๔ ต้องแสดงเป็นผลก่อน
ทุกข์ -> เหตุแห่งทุกข์
ความดับทุกข์ -> ทางดับทุกข์


..โดยความอนุมานส่วนตัวที่พอจะรู้ได้ของผมนั่นคือ ผลมักจะแสดงให้เราเห็นก่อน รับรู้ได้ง่าย สัมผัสได้ง่าย ดูกริยา วาจา ท่าทางได้ง่าย เพราะเมื่อรู้ผลแล้วจึงจะน้อมไปในเหตุได้ เหมือนเราประชุมเสนองาน ถกปัญญาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน เรามักจะกล่าวผลก่อนเช่น ผลประกอบการดี ไม่ดี ลูกค้าคอมเพลน ไม่พอใจมาก แล้วค่อยมาพูดกันว่านั่นเพราะอะไร ซึ่งไม่ใช่ไปตำหนิว่า คุณทำงานไม่ดี คุณดูแลพลาด เพราะคุณทำแบบนี้ๆ ผลประกอบการณ์จึงแย่ ไม่มีเหตุผล
ถ้าจะกล่าวอย่างนี้ ผู้ร่วมประชุมก็จะไม่มีใครอยากฟังแล้ว เขาย่อมคิดว่า..
"นี่มึงเรียกกูมาด่าใช่ไหม"

..คนฉลาดเขาทำให้คนน้อมตาม โดยไม่ขัดคน..
..คนโง่ย่อมบังคับข่มขู่หาเรื่อง ขัดใจ ตำหนิ กลั่นแกล้ง ด่าพาลคนเขาไปทั่ว ตรงกับคำว่าใครตามข้าอยู่ใครขวางข้าตาย..


- ประดุจดั่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา เสด็จไปโปรด ชฎิล 3 พี่น้องที่บูชาไฟนั่นเอง
.. ในขณะที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดชฏิล 3 พี่น้องนั้น ก็ทรงพิจารณาลำดับความสำคัญก่อน (order of magnitude) ก็จึงเห็นว่าต้องเข้าไปหาชฎิลผู้พี่ก่อน เพราะผู้พี่เป็นหัวเป็นเสาหลักที่จะนำพาชฎิลน้องๆอีก 2 คน รวมทั้งสาวกตามไปด้วย เรียกว่ารู้เขาแล้ว จู่โจมที่เสาหลัก ให้สั่นไหวไปทิศทางใด ตัวบ้านอาคารก็น้อมสั่นคลอนตามไปด้วย เหมือนต้นไม้ลำต้นเองไปกิ่งใบก็ย่อมมีความโน้มไปตาม เมื่อกิ่งและใบโน้มไปตามลำต้นจะเกิดภาวะที่พยายามจะเอาตัวเองไปรับแสง, รับน้ำ และรับอากาศ เมื่อนั่นหากเราให้แสง, น้ำ, อากาศแก่ต้น กิ่ง ใบ ในทิศทางใด ต้นกิ่งใบก็ย่อมเอนไหวชอนไชแผ่คลืนคลายกิ่งก้านและลำต้นไปในทิศทางนั้นทันที
.. เริ่มแรกพระพุทธศาสดาก็ทรงรับฟังเขา พิจารณารู้ทุกข์ของเขา ว่าที่เขาเป็นแบบนี้เพราะอะไร
.. พิจารณาเหตุแห่งทุกข์เขาว่าสำคัญมั่นหมายใจไว้ยังไง ยินดี-ยินร้ายอย่างไร ชอบ-ชังยังไง
.. แล้วจึงทรงพิจารณาถึงความดับทุกข์ของเขาว่าเป็นแบบไหน เขาจะไม่ขัดไม่ข้อง ไม่โกรธแค้นชิงชัง หากเดินไปทางเดียวกับเขา แล้วก็พิจารณาทางดับทุกข์ของเขาให้น้อมมาสู่ทางของตนเช่นว่า เมื่อเขาชอบบูชาไฟ ก็เอาไฟนี้แหละเป็นทางดับทุกข์ของเขา
.. แล้วพระพุทธศาสดาก็พูดคุยสนทนาเออออชื่นชมตามเขาว่า..การเพ่งไฟ บูชาไฟนี้มันก็ดี ทำให้มีพลัง มีฤทธิ์ เป็นต้น(ซึี่งก็มีจริงในกสินไฟ จึงไม่ใช่การมุสาวาสหรือลวงหลอกแต่อย่างใด) ..ทำให้เขาก็ชอบใจเจริญใจว่าเห็นเหมือนกันกลับเขา
.. เสร็จแล้วจากนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา..จึงทรงตรัสกับ ท่านพระอุรุเวลกัสสปะ ว่า..พระองค์ทรงรู้การเพ่งไฟที่ยิ่งกว่า เหนือกว่านี้อีก..
.. เมื่อท่านอุรุเวลกัสสปะได้ยินดังนั้นก็สนใจมากเพราะเป็นสิ่งที่ตนยินดีอยู่แล้ว แล้วก็รับฟัง
.. พระพุทธศาสดาจึงตรัสว่า การเพ่งไฟที่มีฤทธิ์ยิ่งกว่านี้ คือ การเพ่งไฟในใจตน เห็นไฟในใจตน คือ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ เพ่งรู้มันแล้วเห็นโทษ เป็นทุกข์ ไม่เสพย์ ไม่หลงตาม ควรละ (นี่เปลี่ยน Attitude ใหม่เลย คือ เปลี่ยนทัศนคติ, มุมมอง, โลกทัศน์, ภูมิความคิด, แนวความเชื่อ, ความคิดเห็นมุมมองในเรื่องต่างๆ) จึงแสดงพระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร ทำให้ท่านอุรุเวลกัสสปะได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุธรรมตาม..



บทสวด อาทิตตปริยายสูตร


เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา คะยายัง วิหะระติ คะยาสีเส สัทธิง ภิกขุ สะหัสเสนะ ตัตตระ โข
ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ

ข้าพเจ้าได้ฟังมา ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยา พร้อมด้วยพระภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติภิกษุเหล่านั้น ตามพุทธภาษิตของพระองค์อย่างนี้ว่า
สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง , ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง , ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ที่ชื่อว่าเป็นของร้อน

จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง, ภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นของร้อน
รูปา อาทิตตา, รูปทั้งหลาย เป็นของร้อน
จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง, ความรู้อารมณ์ทางตา เป็นของร้อน
จักขุสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางตา เป็นของร้อน
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย ตาสัมผัสรูป เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, จะรู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา , ร้อนเพราะไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ, ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ , เราจึงกล่าวว่า เหล่านี้เป็นของร้อน ฯ

โสตัง อาทิตตัง, หู เป็นของร้อน
สัททา อาทิตตา, เสียง เป็นของร้อน
โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง, ความรู้อารมณ์ทางหู เป็นของร้อน
โสตะสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางหู เป็นของร้อน
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยหูสัมผัสเสียงเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, จะรู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง , แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไรเล่า ?
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา , ร้อนเพราะไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ, ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร้ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ , เราจึงกล่าวว่า เหล่านี้เป็นของร้อน ฯ

ฆานัง อาทิตตัง, จมูก เป็นของร้อน
คันธา อาทิตตา, กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน
ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง, ความรู้อารมณ์ทาง จมูก เป็นของร้อน
ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางจมูก เป็นของร้อน
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยจมูกสัมผัสกลิ่นเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง , แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง , ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ,ร้อนเพราะไปคือราคะ
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา , ร้อนเพราะไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ, ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ , เราจึงกล่าวว่า เหล่านี้เป็นของร้อน

ชิวหา อาทิตตา, ลิ้นเป็นของร้อน
ระสา อาทิตตา, รสทั้งหลายเป็นของร้อน
ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง, ความรู้อารมณ์ทางลิ้นเป็นของร้อน
ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางลิ้นเป็นของร้อน
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยลิ้นสัมผัสรสเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่มุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง , แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ,ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา , ร้อนเพราะไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ, ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ , เรากล่าวว่า นี้เป็นของร้อน

กาโย อาทิตโต, กายเป็นของร้อน
โผฏฐัพพา อาทิตตา, สิ่งที่มาถูกต้องกายเป็นของร้อน
กายะวิญญาณัง อาทิตตัง, ความรู้อารมณ์ทางกายเป็นของร้อน
กายะสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางกายเป็นของร้อน
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น เพราะอาศัยการสัมผัสทางกายเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง , แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง , ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา , ร้อนเพราะไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ, ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ , เราจึงกล่าวว่า เหล่านี้เป็นของร้อน

มะโน อาทิตโต, ใจเป็นของร้อน
ธัมมา อาทิตตา, อารมณ์ที่เกิดกับใจเป็นของร้อน
มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง, ความรู้อารมณ์ทางใจเป็นของร้อน
มะโนสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางใจ เป็นของร้อน
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น เพราะอาศัยการสัมผัสทางใจ เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง , แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง , ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา , ร้อนเพราะไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ, ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ , เราจึงกล่าวว่า เหล่านี้เป็นของร้อน

เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับฟังแล้ว
สุตฺวา อะริยะสาวะโก , ย่อมเห็นอยู่อย่างนี้
จักขุสสะมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ตา
รูเปสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย รูปทั้งหลาย
จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในการเสวยอารมณ์ทางตา
จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในการสัมผัส ด้วยตา
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
เพราะอาศัยการสัมผัสทางตา เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ , ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

โสตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย หู
สัทเทสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายใน เสียงทั้งหลาย
โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย อารมณ์ทีเกิดขึ้น ทางหู
โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในการสัมผัส ทางหู
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
เพราะอาศัยการสัมผัสทางหู เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ , ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

ฆานัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย จมูก
คันเธสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในกลิ่น
ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ทางจมูก
ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัสทางจมูก
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
เพราะอาศัยการสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ , ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

ชิวหายะปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ลิ้น
ระเสสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน รส
ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ ทางลิ้น
ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัส ทางลิ้น
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
เพราะอาศัยการสัมผัสทางลิ้น เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ , ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

กายัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ในกาย
โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในสิ่งที่ถูกต้องทางกาย
กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ ทางกาย
กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัส ทางกาย
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
เพราะอาศัยการสัมผัสทางกาย เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ , ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

มะนัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ใจ
ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในธัมมารมณ์ที่เกิดกับใจ
มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ ทางใจ
มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัส ทางใจ
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
เพราะอาศัยการสัมผัสทางใจ เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา, รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ , ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

นิพพินทัง วิรัชชะติ , เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ไม่ยินดี
วิราคา วิมุจจะติ , เพราะสิ้นกำหนัดไม่ยินดี จิตก็หลุดพ้น
วิมุตตัสสะมิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ , เมื่อจิตหลุดพ้น ญาณก็หยั่งรู้ว่าจิตพ้นแล้ว
ขีณา ชาติ, อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
วุสิตัง พรัหมะจะริยัง, พรหมจรรย์บริสุทธิ์หมดจด อยู่จบแล้ว
กะตัง กะระณียัง, กิจที่ควรกระทำ ได้กระทำสำเร็จแล้ว
นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ , กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ก็ไม่มีอีกแล้ว

อิทะมะโวจะ ภะคะวา , พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมอันเป็น
เหตุให้ใจเร่าร้อน โดยปริยายอันนี้แล้ว
อัตตะมะนา เต ภิกขู ภิกษุเหล่านั้น ต่างก็มีใจยินดี ชื่นชมใน
ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง , พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อิมัสฺมิญจะ ปะนะ ,ก็เมื่อตรัส เวยยากรณ์ภาษิต ละเอียดพิศดาร
เวยยากะระณัสฺมิง ภัญญะมาเน, ในธรรมอันเป็นเหตุให้ใจเร่าร้อน ขณะนั่นแล
ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อะนุปาทายะ, ภิกษุหนึ่งพันรูปนั้นก็พ้นจากอุปาทานทั้งหลาย
อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ , จิตหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น ดังนี้แล


ขอขอบพระคุณบทสวดมนต์แปล ที่มาจาก
https://my.dek-d.com/ra_pat/writer/viewlongc.php?id=832933&chapter=6

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 22 ม.ค. 2019, 15:24, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2019, 15:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งกระทู้เสร็จก็ขี้เกียจพิมพ์ต่อแระ :b32: :b32: :b32: อยู่ๆทุกอย่างมันดับไปเอง :b32: :b32: :b32:

ถามท่านผู้รู้ทุกท่านดีกว่าว่า เอาพละ ๕ มาใช้ยังไง เอาหัวใจเศรษฐี ใช้ยังไง ข้างต้นผมยกเอาพระอริยะสัจ ๔ กับ หัวใจนักปราชญ์ แล้ว

ใช้กับ WIN & WIN ได้มั้ย

สูงสุด สู่สามัญ


:b32: :b32: :b32:

ท่านอ๊บ ท่านเอกอน ท่านทริปเปิ้ลเอส ท่านกรัซกาย ป้ารส ท่าน J และ ผู้รู้ทุกๆท่าน ต้องมาตอบด้วยนะครับ นี่เป็นพุทธเศรษฐศาสตร์ พุทธบริหาร เลยนะครับ อิอิ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 22 ม.ค. 2019, 17:46, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2019, 17:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ เราจะใช้ข้อธรรมใดในการดำเนินงานได้ดี

ใช้อิทธิบาท ๔, ฆราวาสธรรม ๔ ได้หรือไม่

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 22 ม.ค. 2019, 17:45, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2019, 17:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยะสัจ ๔ ใช้แก้ปัญหางานที่ผิดพลาดได้หรือไม่ เช่น ถูกลูกค้าคอมเพลน ลูกค้าด่ายกเลิกสัญญาจ้าง หรืองานที่เราทำถูก ผู้บริหารตีกลับ

เราใใช้พละ ๕ แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม

เราใช้หัวใจนักปราญช์ แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม

เราใช้หัวใจเศรษฐี แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2019, 17:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลุ่มบริษัท ชุมชน ครอบครัว

เราใช้ จรณะ ๑๕ ในการดำรงชีพได้ไหม

เราใช้ จรณะ ๑๕ ในการทำงานได้ไหม

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2019, 18:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
พระอริยะสัจ ๔ ใช้แก้ปัญหางานที่ผิดพลาดได้หรือไม่ เช่น ถูกลูกค้าคอมเพลน ลูกค้าด่ายกเลิกสัญญาจ้าง หรืองานที่เราทำถูก ผู้บริหารตีกลับ
เราให้พละ ๕ ในการทำงานได้/ไหม
ใช้หัวใจนักปราญช์ แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม
ใช้หัวใจเศรษฐี แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม


:b1: :b32: คือจริง ๆ ใช้หลายอย่างเลย

อย่างเรื่องการรับมือกับลูกค้า

ด่านแรก เราต้องปะทะกับอารมณ์ที่ไม่พอใจของลูกค้าก่อน
ซึ่งความไม่พอใจของลูกค้ามีมิติที่หลากหลายมาก
การที่จะเบรคลูกค้าที่เข้ามาหาเราด้วยอารมณ์ที่ดุเดือน
และให้เขาเย็นลงและสนทนากับเราด้วยโหมดที่ว่ากันไปด้วยเหตุผล
เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย.......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2019, 18:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
พระอริยะสัจ ๔ ใช้แก้ปัญหางานที่ผิดพลาดได้หรือไม่ เช่น ถูกลูกค้าคอมเพลน ลูกค้าด่ายกเลิกสัญญาจ้าง หรืองานที่เราทำถูก ผู้บริหารตีกลับ
เราให้พละ ๕ ในการทำงานได้/ไหม
ใช้หัวใจนักปราญช์ แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม
ใช้หัวใจเศรษฐี แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม


:b1: :b32: คือจริง ๆ ใช้หลายอย่างเลย

อย่างเรื่องการรับมือกับลูกค้า

ด่านแรก เราต้องปะทะกับอารมณ์ที่ไม่พอใจของลูกค้าก่อน
ซึ่งความไม่พอใจของลูกค้ามีมิติที่หลากหลายมาก
การที่จะเบรคลูกค้าที่เข้ามาหาเราด้วยอารมณ์ที่ดุเดือน
และให้เขาเย็นลงและสนทนากับเราด้วยโหมดที่ว่ากันไปด้วยเหตุผล
เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย.......



:b35: :b35: :b35: :b35:

ท่านเอกอนลองยกตัวอย่างสถานการณ์ และวิธีการแก้ไขที่ท่านเอกอนพบเจอสักสาเหตุครับ ถือว่าเป็นธรรมทานครับ :b12: :b12: :b12:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2019, 21:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
พระอริยะสัจ ๔ ใช้แก้ปัญหางานที่ผิดพลาดได้หรือไม่ เช่น ถูกลูกค้าคอมเพลน ลูกค้าด่ายกเลิกสัญญาจ้าง หรืองานที่เราทำถูก ผู้บริหารตีกลับ
เราให้พละ ๕ ในการทำงานได้/ไหม
ใช้หัวใจนักปราญช์ แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม
ใช้หัวใจเศรษฐี แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม


:b1: :b32: คือจริง ๆ ใช้หลายอย่างเลย

อย่างเรื่องการรับมือกับลูกค้า

ด่านแรก เราต้องปะทะกับอารมณ์ที่ไม่พอใจของลูกค้าก่อน
ซึ่งความไม่พอใจของลูกค้ามีมิติที่หลากหลายมาก
การที่จะเบรคลูกค้าที่เข้ามาหาเราด้วยอารมณ์ที่ดุเดือน
และให้เขาเย็นลงและสนทนากับเราด้วยโหมดที่ว่ากันไปด้วยเหตุผล
เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย.......



:b35: :b35: :b35: :b35:

ท่านเอกอนลองยกตัวอย่างสถานการณ์ และวิธีการแก้ไขที่ท่านเอกอนพบเจอสักสาเหตุครับ ถือว่าเป็นธรรมทานครับ :b12: :b12: :b12:


:b1: เอกอนไม่เก่งหรอก :b32:
คือทำได้บ้าง แต่เอกอนก็ยังคิดว่า เอกอนยังทำได้ไม่ดีนัก
เอกอนยังคิดว่า เอกอนควรจะทำได้ดีกว่านี้น่ะ
คือ ... มันยากจริง ๆ นะ

อย่างเรื่องการเบรคอารมณ์ร้อนของลูกค้า
โดยมากแล้ว เอกอนก็จะต้องรู้จักสังเกต และรีบที่จะเข้าไปหา
แสดงรอยยิ้มที่เป็นมิตร พร้อมรับฟัง คือแสดงความเอาใจใส่น่ะ
พอทุกอย่างเริ่มสงบลงแล้ว เราก็ค่อยเข้าไปสู่การคุยชี้แจงแลกเปลี่ยนเหตุผลกัน
ซึ่งโดยมากแล้วเอกอนค่อนข้างปิดการเจรจาได้แบบค่อนข้าง Win-Win

แต่กระนั้นเอกอนก็มองว่า เอกอนยังต้องฝึกอีกเยอะ ...
เพราะการเจรจา มันก็ต้องอาศัยการแสดงที่ต้องดูเปิดเผย เป็นมิตร สุขุม ใจเย็น
ต้องแสดงความเป็นผู้รู้ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
และต้องแสดงความหนักแน่น ซื่อสัตย์-สุจริต ไม่ลำเอียง
เพื่อที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจ ว่าข้อมูลที่เขาได้จากเรา เชื่อถือได้
ซึ่งถ้าเขารู้สึกเชื่อ เขาก็จะค่อย ๆ เริ่มเปิดใจกับการสนทนามากขึ้นเรื่อย ๆ
ไม่มีอาการดูหมิ่น ไม่เอาอารมณ์ส่วนตัวเข้ามา ต้องไม่แสดงอคติ
ต้องแสดงว่าเราปฏิบัติต่อเขาอย่างมีคุณธรรม
ใส่ใจให้เขารู้สึกว่าเราเห็นความสำคัญกับเรื่องราวของเขา
หลายอย่าง ... ลูกค้าเมื่อสนทนากับเราเขาจะรู้สึกเอง ถ้าเราทำให้เขารู้สึกได้
เขาจะสงบ และเปิดใจกับการเจรจากับเรา
โดยมาก การเจรจาค่อนข้างจบลงด้วยดี
เพราะบางการเจรจาเอกอนคิดว่า เอกอนควรจะทำได้ดีกว่านั้นน่ะ

ซึ่งการจะรับมือกับเรื่องพวกอย่างนี้ได้ ก็ต้องอาศัย ศึกษาธรรม ฝึกฝนในธรรม มานั่นล่ะ
ซึ่งก็คงต้องฝึกฝนมามากพอน่ะ
เพราะสิ่งที่ฝึกฝนมา มันต้องกำลังมากพอที่จะหยิบมาใช้ได้

เพราะในความเป็นจริง ถ้าหากว่าคนทั่วไปโดยปกติ
ที่เมื่อเดิน ๆ อยู่ดี ๆ จู่หมาก็กระโจนเข้ามา แยกเขี้ยวเห่าใส่
เป็นใครก็ต้องตกใจ ผวา ผงะ เดินเลี่ยง เผ่นป่าราบ
แต่นี่ก็เหมือนกับว่า เราต้องฝืนทำให้สิ่งที่ตรงข้าม
คือ ต้องเดินเข้าไปอย่างท่าที่เป็นมิตร เพื่อสงบศึกน่ะ
และเมื่อเดินเข้าไป อาจจะต้องมีการเจอเขาแยกเขี้ยว ระเบิดอารมณ์
ซึ่งเราต้องรักษาอารมณ์เราเอาไว้ให้ได้
ถ้าไม่ได้ก็จะกลายเป็นเราก็จะเผลอระเบิดอารมณ์ไปกับเขาด้วย
และสุดท้าย ตั้งแต่ต้นจนจบ
จิตเราจะต้องไม่เก็บเอาขยะอารมณ์ใด ๆ มาค้างอยู่ในจิตให้หงุดหงิดด้วย

ก็เหมือนกับว่าเราจะต้องกระโดดลงไปยืนกลางลำน้ำเชี่ยว อย่างมั่นคง
และเมื่อขึ้นมาแล้ว ก็จบ ความเชี่ยวก็ไม่ได้ตามกลับขึ้นมาด้วย

จริง ๆ เรื่องนี้เอกอนมองว่า คนที่น่าจะบริหารงานได้เก่ง น่าจะเป็น อ๊บซ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2019, 06:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
...
จริง ๆ เรื่องนี้เอกอนมองว่า คนที่น่าจะบริหารงานได้เก่ง น่าจะเป็น อ๊บซ์


บริหารเก่งอาราย..อกอีแป้น..กำลังจะแตก..อยู่แล้วนิ...
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2019, 07:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม..มันเป็นกรรม

ทุกอย่างที่มากระทบเราให้รู้สึกไม่พอใจ..มันเป็นกรรม..ทั้งสิ้น

นึกไปแล้ว...ก็อะเหน็ดอนาถใจ :b9: :b9:

เคยเป็นลูกน้อง...เคยดี..เคยเก่ง..เคยเกเร..เป็นมาหมด..
พอมาเป็นลูกพี่..ก็โดนดี..โดนเก่ง..โดนเกเร..โดนหมดที่เคยทำ :b13: :b13:

เมื่อมอง...ทุกเหตุการณ์..อย่างดีดี..แล้วนี้...ก็จะเห็น...ทุกอย่างที่เราทำ..ทุกอย่างที่ลูกพี่ทำ...ทุกอย่างที่ลูกน้องทำ..ทุกอย่างที่คนรอบข้างทำ..หรือคนทั้งโลกทำลงไป...นั้น..ดูเหมือนมีหลากหลายความต้องการ..แต่จริงๆแล้ว มีเป้าหมาย.เดียว..คือ..ความสุข

ความหวังในความสุข..ความเข้าใจในความสุขที่แตกต่างกัน..ทำให้เกิดพฤติกรรมในสิ่งสิ่งเดียวกัน..ต่างกันไป..เช่น

พฤติกรรมในการทำงาน..
หากเราเห็นว่าความถูกต้องตามศีลธรรม..ตามกฏหมาย..นำมาซึ่งความสุข เราก็ไม่ทำผิดกฏหมาย..ทำผิดศีลธรรม...ใครจะให้เราทำผิดกฏระเบียบ.ก็ไม่พอใจเขาแล้ว..เพราะมันขัดกับความสุขของเรา

หากเราเห็นว่า..เงินทองทรัพย์สิน ยศ..ตำแหน่ง..จะนำความสุขมาให้..ก็เป็นธรรมดาที่จะสะสมมัน...บางคนถึงขนาดเสี่ยง..หน้ามืดผิดระเบียบวินัย..ผิดกฏหมาย..หลบๆซ้อนๆทำ...ก็มี..เป็นต้น

พฤติกรรมในการพูด.

เมื่อ..เขาคิดว่า..ความเป็นมิตร..การมีเพื่อน..จะนำความสุขมาให้..ก็เป็นธรรมดาที่เขาจะพูดเอาอกเอาใจเพื่อนหรือคนรอบข้าง...จนบางทีอยากให้เขารักเราจนถึงขนาด..นินทาว่าร้ายคนที่เพื่อนไม่ชอบ...กะจะแสดงตนว่าเป็นพวกเดียวกัน...กะจะให้เพื่อนนิยมชมชอบตน..เอาเรื่องจริงมานินทาไม่พอ...อาจถึงขั้นปั้นเรื่องเท็จ..ใส่ไฟ...เข้าไปอีก..เป็นต้น...

รวมๆความว่า...ทุกอย่างที่ทำไป..ต่างก็เพื่อ..ความสุข

ความสุข...จึงสำคัญ..เป็นกุญแจในทุกทุกจุด..ทุกๆทิศทาง..ที่กำลังดำเนินไป

หากต้องการให้คนในองค์กร..ทำงานในทิศทางเดียวกัน...ก็ต้องสร้างความรับรู้ในความสุข..ให้เป็นไปอย่างเดียวกัน.หรือ..รับคนที่มีการรับรู้ความสุข..อย่างเดียวกัน..เข้ามาในองค์กร .


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2019, 09:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรรม..มันเป็นกรรม

ทุกอย่างที่มากระทบเราให้รู้สึกไม่พอใจ..มันเป็นกรรม..ทั้งสิ้น

นึกไปแล้ว...ก็อะเหน็ดอนาถใจ :b9: :b9:

เคยเป็นลูกน้อง...เคยดี..เคยเก่ง..เคยเกเร..เป็นมาหมด..
พอมาเป็นลูกพี่..ก็โดนดี..โดนเก่ง..โดนเกเร..โดนหมดที่เคยทำ :b13: :b13:

เมื่อมอง...ทุกเหตุการณ์..อย่างดีดี..แล้วนี้...ก็จะเห็น...ทุกอย่างที่เราทำ..ทุกอย่างที่ลูกพี่ทำ...ทุกอย่างที่ลูกน้องทำ..ทุกอย่างที่คนรอบข้างทำ..หรือคนทั้งโลกทำลงไป...นั้น..ดูเหมือนมีหลากหลายความต้องการ..แต่จริงๆแล้ว มีเป้าหมาย.เดียว..คือ..ความสุข

ความหวังในความสุข..ความเข้าใจในความสุขที่แตกต่างกัน..ทำให้เกิดพฤติกรรมในสิ่งสิ่งเดียวกัน..ต่างกันไป..เช่น

พฤติกรรมในการทำงาน..
หากเราเห็นว่าความถูกต้องตามศีลธรรม..ตามกฏหมาย..นำมาซึ่งความสุข เราก็ไม่ทำผิดกฏหมาย..ทำผิดศีลธรรม...ใครจะให้เราทำผิดกฏระเบียบ.ก็ไม่พอใจเขาแล้ว..เพราะมันขัดกับความสุขของเรา

หากเราเห็นว่า..เงินทองทรัพย์สิน ยศ..ตำแหน่ง..จะนำความสุขมาให้..ก็เป็นธรรมดาที่จะสะสมมัน...บางคนถึงขนาดเสี่ยง..หน้ามืดผิดระเบียบวินัย..ผิดกฏหมาย..หลบๆซ้อนๆทำ...ก็มี..เป็นต้น

พฤติกรรมในการพูด.

เมื่อ..เขาคิดว่า..ความเป็นมิตร..การมีเพื่อน..จะนำความสุขมาให้..ก็เป็นธรรมดาที่เขาจะพูดเอาอกเอาใจเพื่อนหรือคนรอบข้าง...จนบางทีอยากให้เขารักเราจนถึงขนาด..นินทาว่าร้ายคนที่เพื่อนไม่ชอบ...กะจะแสดงตนว่าเป็นพวกเดียวกัน...กะจะให้เพื่อนนิยมชมชอบตน..เอาเรื่องจริงมานินทาไม่พอ...อาจถึงขั้นปั้นเรื่องเท็จ..ใส่ไฟ...เข้าไปอีก..เป็นต้น...

รวมๆความว่า...ทุกอย่างที่ทำไป..ต่างก็เพื่อ..ความสุข

ความสุข...จึงสำคัญ..เป็นกุญแจในทุกทุกจุด..ทุกๆทิศทาง..ที่กำลังดำเนินไป

หากต้องการให้คนในองค์กร..ทำงานในทิศทางเดียวกัน...ก็ต้องสร้างความรับรู้ในความสุข..ให้เป็นไปอย่างเดียวกัน.หรือ..รับคนที่มีการรับรู้ความสุข..อย่างเดียวกัน..เข้ามาในองค์กร .



สาธุ สาธุ สาธุ เป็นแง่คิดที่ดีมากครับ การใรักษาความสุขให้พนักงานได้ ก็ทำให้ผู้ทำงานเห็นว่าองค์กรดี องค์กรน่าอยู่ ในองค์กรมีร้อยพ่อพันแม่หลายจริตนิสัย เปิดและปลูกฝังทัศนคติไปในทางเดียวกันเป็นเรื่องที่ดี แล้วทำงานออกมาดีในทิศทางเดียวกัน :b8: :b8: :b8:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2019, 09:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
พระอริยะสัจ ๔ ใช้แก้ปัญหางานที่ผิดพลาดได้หรือไม่ เช่น ถูกลูกค้าคอมเพลน ลูกค้าด่ายกเลิกสัญญาจ้าง หรืองานที่เราทำถูก ผู้บริหารตีกลับ
เราให้พละ ๕ ในการทำงานได้/ไหม
ใช้หัวใจนักปราญช์ แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม
ใช้หัวใจเศรษฐี แก้ไขงานที่ผิดพลาดได้ไหม


:b1: :b32: คือจริง ๆ ใช้หลายอย่างเลย

อย่างเรื่องการรับมือกับลูกค้า

ด่านแรก เราต้องปะทะกับอารมณ์ที่ไม่พอใจของลูกค้าก่อน
ซึ่งความไม่พอใจของลูกค้ามีมิติที่หลากหลายมาก
การที่จะเบรคลูกค้าที่เข้ามาหาเราด้วยอารมณ์ที่ดุเดือน
และให้เขาเย็นลงและสนทนากับเราด้วยโหมดที่ว่ากันไปด้วยเหตุผล
เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย.......



:b35: :b35: :b35: :b35:

ท่านเอกอนลองยกตัวอย่างสถานการณ์ และวิธีการแก้ไขที่ท่านเอกอนพบเจอสักสาเหตุครับ ถือว่าเป็นธรรมทานครับ :b12: :b12: :b12:


:b1: เอกอนไม่เก่งหรอก :b32:
คือทำได้บ้าง แต่เอกอนก็ยังคิดว่า เอกอนยังทำได้ไม่ดีนัก
เอกอนยังคิดว่า เอกอนควรจะทำได้ดีกว่านี้น่ะ
คือ ... มันยากจริง ๆ นะ

อย่างเรื่องการเบรคอารมณ์ร้อนของลูกค้า
โดยมากแล้ว เอกอนก็จะต้องรู้จักสังเกต และรีบที่จะเข้าไปหา
แสดงรอยยิ้มที่เป็นมิตร พร้อมรับฟัง คือแสดงความเอาใจใส่น่ะ
พอทุกอย่างเริ่มสงบลงแล้ว เราก็ค่อยเข้าไปสู่การคุยชี้แจงแลกเปลี่ยนเหตุผลกัน
ซึ่งโดยมากแล้วเอกอนค่อนข้างปิดการเจรจาได้แบบค่อนข้าง Win-Win

แต่กระนั้นเอกอนก็มองว่า เอกอนยังต้องฝึกอีกเยอะ ...
เพราะการเจรจา มันก็ต้องอาศัยการแสดงที่ต้องดูเปิดเผย เป็นมิตร สุขุม ใจเย็น
ต้องแสดงความเป็นผู้รู้ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
และต้องแสดงความหนักแน่น ซื่อสัตย์-สุจริต ไม่ลำเอียง
เพื่อที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจ ว่าข้อมูลที่เขาได้จากเรา เชื่อถือได้
ซึ่งถ้าเขารู้สึกเชื่อ เขาก็จะค่อย ๆ เริ่มเปิดใจกับการสนทนามากขึ้นเรื่อย ๆ
ไม่มีอาการดูหมิ่น ไม่เอาอารมณ์ส่วนตัวเข้ามา ต้องไม่แสดงอคติ
ต้องแสดงว่าเราปฏิบัติต่อเขาอย่างมีคุณธรรม
ใส่ใจให้เขารู้สึกว่าเราเห็นความสำคัญกับเรื่องราวของเขา
หลายอย่าง ... ลูกค้าเมื่อสนทนากับเราเขาจะรู้สึกเอง ถ้าเราทำให้เขารู้สึกได้
เขาจะสงบ และเปิดใจกับการเจรจากับเรา
โดยมาก การเจรจาค่อนข้างจบลงด้วยดี
เพราะบางการเจรจาเอกอนคิดว่า เอกอนควรจะทำได้ดีกว่านั้นน่ะ

ซึ่งการจะรับมือกับเรื่องพวกอย่างนี้ได้ ก็ต้องอาศัย ศึกษาธรรม ฝึกฝนในธรรม มานั่นล่ะ
ซึ่งก็คงต้องฝึกฝนมามากพอน่ะ
เพราะสิ่งที่ฝึกฝนมา มันต้องกำลังมากพอที่จะหยิบมาใช้ได้

เพราะในความเป็นจริง ถ้าหากว่าคนทั่วไปโดยปกติ
ที่เมื่อเดิน ๆ อยู่ดี ๆ จู่หมาก็กระโจนเข้ามา แยกเขี้ยวเห่าใส่
เป็นใครก็ต้องตกใจ ผวา ผงะ เดินเลี่ยง เผ่นป่าราบ
แต่นี่ก็เหมือนกับว่า เราต้องฝืนทำให้สิ่งที่ตรงข้าม
คือ ต้องเดินเข้าไปอย่างท่าที่เป็นมิตร เพื่อสงบศึกน่ะ
และเมื่อเดินเข้าไป อาจจะต้องมีการเจอเขาแยกเขี้ยว ระเบิดอารมณ์
ซึ่งเราต้องรักษาอารมณ์เราเอาไว้ให้ได้
ถ้าไม่ได้ก็จะกลายเป็นเราก็จะเผลอระเบิดอารมณ์ไปกับเขาด้วย
และสุดท้าย ตั้งแต่ต้นจนจบ
จิตเราจะต้องไม่เก็บเอาขยะอารมณ์ใด ๆ มาค้างอยู่ในจิตให้หงุดหงิดด้วย

ก็เหมือนกับว่าเราจะต้องกระโดดลงไปยืนกลางลำน้ำเชี่ยว อย่างมั่นคง
และเมื่อขึ้นมาแล้ว ก็จบ ความเชี่ยวก็ไม่ได้ตามกลับขึ้นมาด้วย

จริง ๆ เรื่องนี้เอกอนมองว่า คนที่น่าจะบริหารงานได้เก่ง น่าจะเป็น อ๊บซ์



สาธุ สาธุ สาธุ ดีแล้ว ถูกแล้ว ท่านเอกอนเปิดโลกทัศน์ได้ดีครับ การทำงานพบปะลูกค้า ลูกค้ามีทั้งแยกเขี้ยว ทั้งยิ้มแบบไทย เราก็จำเป็นต้องมีพรหมวิหาร ๔ ดังท่านเอกอนว่า
1. เขาร้อนมา ก็เอาเมตตาความปารถนาดีต้อนรับดับไฟโทสะเขา
2. เขาต้องการการซับพอร์ตช่วยเหลือ ต้องการผลตอบแทน เราก็เอากรุณาความแบ่งปันสุข รับฟังปัญหาพร้อมช่วยเหลือแก้ไขให้เขา
3. เราแสดงให้เขาเห็นว่าเราต้องการจะช่วยเหลือเขา ยินดีที่เขาเป็นสุขพึงพอใจได้รับผลตอบแทนที่ดี นี่ซื้อใจได้เลย เราจริงใจ
4. มีใจวางไว้กลางๆ ไม่เอนเอียง ไม่อคติ ๔ คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ไม่ลำเอียงเพราะชัง ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ไม่ลำเอียงเพราะไม่รู้ชัดจริง

ผลก็ออกมาแบบ WIN WIN ลูกค้าได้ เราก็ไม่เสีย :b35: :b35: :b35: :b35:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2019, 09:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมติว่า องค์กรเรา ได้งานกับ องค์กรณ์ ก. มูลค่าเนื้องานอยู่ที่ 30 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นในส่วยงาน CM(ซ่อมบำรุง), PM(ดูแลรักษาให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ) ซึ่งทั้งส่วนส่วนแบ่งกันคนละครึ่งคือ อย่างละ 15 ล้านบาท
อยู่มาวันหนึ่ง เราทำ CM เกินกว่า 15 ล้าน และได้ทำการซ่อมบำรุงจริง เปลี่ยนถ่ายอุปกรณ์ใหม่ Replace จริง รวมมูลค่าทั้งสิ้นเป็น 22 ล้านบาท ซึ่งเกินโควต้ามา 7 ล้านบาท แล้วในเส่วนเนื้องาน PM มีค่าดูแลรักษาอยู่ที่ 8 ล้านบาท โดยที่ยังเหลือระยะเวลาในสัญญาของทั้ง 2 อยู่อีก 1 ปี ซึ่งระยะเวลานี้ยังต้องมีการซ่อมบำรุงแต่ละครั้งเงินอยู่ที่ขั้นต่ำ 2 แสนบาทต่อ 1 จุด และ ดูแลรักษาแต่ละครั้งอยู่ที่ 1 แสนบาท ต่อ 1 จุด เหลือเวลาอีกตั้ง 365 วัน ท่านเอกอน และท่านกบ จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไรครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2019, 10:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

โดยเบื้องต้น งานโครงการต้องมีงบแผนนะตะเอง
ต้องมีขอบเขต spec. งาน
การที่งาน CM ใช้เกินประมาณการมาถึงขนาดนี้
โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลย เป็นไปได้ยากน๊าาาาาา

:b32: :b32: :b32:

แอบอมยิ้มก่อน

ต้องมีการรื้อรายละเอียด
ตรวจสอบรายละเอียด
ตรวจสอบข้อตกลงสัญญา
เพราะบางทีอาจจะมีการรับรู้รายการผิดประเภท

ตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง

:b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 274 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร