วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 105 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 20:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
sssboun เขียน:
:b8:

ไร้ความรู้ ไร้ความขยัน ไร้ความเพียร
ไร้เมตตา ก็ไม่ตอบ ตอบไม่


เมื่อขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปย่อมไม่ก่อให้เกิดเหตุ คือการตอบ

:b8:

:b8:

ท่าน กบ คงจะขาดข้อใดข้อในหนึ่งดั่งข้างบน
ไปเป็นแน่ จะว่าให้ถูกต้องคือมีน้อยจะถูกกว่า
หรือกำลังน้อย ถึงเงียบๆ

:b8:


ก็ใช่นะ....มีน้อย... :b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 20:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
ถามใหม่ๆๆ

ถามท่านกรัซกาย ท่านอ๊บ ท่าน ทริปเปิ้ลเอส และทุกท่าน ว่า

โรคกลาก เกลื้อน หูด ท้าวแสนปม โรคเรื้อน ใช้..มหาสติปัฏฐาน ๔ รักษายังไงครับ

ซึ่ง โรคผิวหนังเหล่านี้จะครอบคลุม
- ว่าด้วยเรื่องกรรมก็ได้ เช่น เป็นมาแต่กำเนิด หรือโตมาในช่วงวัยเด็กแล้วเป็นสืบต่อมา.. วิบากกรรมให้เป็นไป
- ว่าด้วยเรื่องการกระทำเป็นกรรมก็ได้ คือ ปัจจุบันนั้นไม่รักษาความสะอาด ก็ทำให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง
- ร่างกายผิดปรกติก็ได้.. เช่น เกิดจากการรับสะสารหรือไวรัสที่เป็นตัวทำลายเซลล์ปรกติต่อผิวหนังร่างกายเกี่ยวกับสภาพจิตใจก็ได้..
- เรื่องใจ ใครเป็นแล้วมันสบายใจบ้าง ยิ่งหดหู่กับสิ่งที่ตนเป็น หรือพยายามรักษาแต่รักษาไม่ได้ ร่างกายก็เสื่อมถอย กำลังใจไม่มี เมื่อจิตใจห่อเหี่ยวก็ไม่มีพลังชีวิตหล่อเลี้ยงเป็นกำลังกาย ไม่อยากกิน ภาวะเศร้าซึม หวาดกลัวเป็นต้น

ตามหัวข้อที่ว่า ทุกโรคเกิดจากใจ ทุกโรคเกิดจากกรรม สติปัฏฐาน ๔ รักษาโรคได้ จะทำอย่างไรครับ


ผมไม่ได้บอกนะว่า..รักษาทุกโรค..หากผมเป็นทุกโรค...ก็คงไม่ได้อยู่ให้คุยถีงตอนนี้..แล้วละ :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 21:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เปิดกระทู้...เพื่อให้เพื่อนๆ...มาแชร์ความรู้.หรือ..หลักความคิด..ประยุกต์ใช้ความรู้แห่งพุทธะ...มาใช้กับการดูแลสุขภาพร่างกาย

จั่วหัวก่อนเลยว่า..

โรคทุกโรคเกิดจากใจ.. :b19: :b19:

อีกอัน...

โรคทุกโรค..เกิดจากกรรม.. :b12: :b12:

อีกสักนิด..

สติปัฏฐาน 4 รักษาโรคได้ :b9: :b9: :b9:


มา..มา...มาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน...นอกตำราก็ได้..ฟรีสไตล์..ได้เลย..

rolleyes rolleyes rolleyes


โรคทุกโรคเกิดจากใจ...

คำคำนี้..ไม่ใช่คำของกระผม..นะครับ..

หากจำไม่ผิด...เป็นของนักปราชญ์ชาวกรีก นามว่า..อริสโตเติล..ประมาณ 384 ปีก่อนคริสตกาล..ซึ่งก็ไม่รู้แก่คิดยังงัย...มีหลักฐานอะไร...ได้ยินครั้งแรก..ผมก็ว่าแกเพ้อ..แน่แน่ :b9: :b9:

แต่พอมาเข้าวัดเข้าวา...กะเขาบ้าง...ก็มีมุมมองที่เพิ่มมากขึ้น...

ก่อนจะไปทางศาสนา...มาดูว่า..นักวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน..ก็มีแนวคิดนี้มากขึ้น..

มาดู..แพทย์ท่านว่าอย่างไร..
อ้างคำพูด:
ภาวะทางจิตใจที่ทำให้เกิดโรคทางกายที่พบบ่อย


ภาวะทางจิตใจที่ทำให้เกิดโรคทางกายที่พบบ่อย

โดย ผศ. นพ. ปราโมทย์ สุดคนิชย์ (คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี)

ข้อมูลจาก : หนังสือจิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี

โรคภาวะทางจิตใจสามารถทำให้เกิดโรคทางกายได้หลายชนิดมักผ่านการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมน โรคทางกายที่พบบ่อยได้แก่

1. ปวดศีรษะ ถือเป็นอาการที่พบบ่อยมากที่สุดอาการหนึ่ง เนื่องมาจากมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้มากมาย แต่การตรวจร่างกายแล้วพบสาเหตุนั้น กลับพบไม่บ่อย ซึ่งทำให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วยไม่สบายใจ เชื่อว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอารมณ์และความเครียด เช่น ภาวะวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า มากระตุ้นให้เกิดอาการขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาการปวดศีรษะนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงออกของอารมณ์ภายในแล้ว ยังอาจมาจากความเชื่อแบบหลงผิด (delusion) หรือเป็นการสื่อให้บุคคลภายนอกรอบตัวผู้ป่วยให้ความสนใจกับผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งแพทย์ควรให้ความสนใจกับผลของอาการนี้ต่อชีวิตทั่วไปของผู้ป่วยและครอบครัวด้วย
ชนิดของโรคปวดศีรษะที่สัมพันธ์กับจิตใจคือ

1.1. ไมเกรน มีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องด้วยกว่า 2 ใน 3ของผู้ป่วยและมักพบในผู้มีอาการมีบุคลิกภาพแบบพยายามควบคุมทุกอย่างในชีวิตให้ดี มีระเบียบ ไม่แสดงความโกรธ แต่ไม่พบว่าจะมีเหตุการณ์ใดที่เจาะจงให้เกิดอาการนี้ อาศัยการรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมอาการ และใช้จิตบำบัดเพื่อแก้ไขบุคลิกดังกล่าวในระยะยาว
1.2. ปวดศรีษะจากความตึงเครียด (Tension headache) ส่วนใหญ่มีอาการในช่วงบ่ายหรือเย็นหลังการงานที่ทำให้เครียด หรือบางรายก็มีปัญหากับครอบครัว โรคทางจิตเวชเกือบทุกโรคทำให้เกิดอาการชนิดนี้ได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่จริงจังและแข่งขัน ควรค้นหาว่ามีโรคทางจิตเวชหรือไม่ โดยถามถึงอาการร่วมอื่นๆ อาจให้ยาคลายกังวล ในระยะยาว นอกจากนี้ การฝึกผ่อนคลาย การทำจิตบำบัดจะช่วยป้องกันอาการเป็นซ้ำได้

2. โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน มีข้อสังเกตมานานแล้วว่า เมื่อบุคคลมีความเครียด จะเกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายและบ่อยขึ้นจากโรคต่างๆ ไม่ว่าโรคติดเชื้อหรือโรคภูมิแพ้ ปัจจุบันจึงมีการศึกษาทางการแพทย์ในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้น แม้การศึกษาจะไม่บ่งชี้ชัดนักในแง่การวัดปริมาณเม็ดเลือดหรือสารภูมิคุ้มกัน เช่น มีเส้นใยประสาทในไขกระดูกหรือต่อมไทมัสหรือหากไฮโปทาลามัส ถูกทำลายจะทำให้ปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่างไปจากเดิม
นอกจากนี้ การทำงานของเม็ดเลือดขาว ก็ขึ้นกับสื่อประสาทและฮอร์โมนหลายชนิด หรือโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบางอย่าง รวมทั้งผู้ป่วยเอดส์ มีอาการรุนแรงมากน้อยตามความเครียด มีผู้พบว่าผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการช่วยเหลือทางจิตใจจะฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้น

3. ปวดหลัง เช่นเดียวกับอาการปวดศีรษะ กว่าร้อยละ 95 ของผู้มีอาการปวดหลังไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติที่ชัดเจนได้ นอกจากนั้น พบว่าผู้มีอาการนี้ไม่น้อยมีความกังวลหรือซึมเศร้าร่วมอยู่ด้วย การรักษาจึงอาจให้ยารักษาภาวะดังกล่าวร่วมกับยาแก้ปวด รวมทั้งให้คำแนะนำ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และสนับสนุนให้กลับไปทำหน้าที่เดิม

4. ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ มีผู้สนใจในบุคลิกภาพของผู้ป่วยด้วยโรคนี้ว่า มักมีลักษณะเสียสละ ทำตนให้ลำบาก อดกลั้น และต้องพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุด โดยไม่แสดงความรู้สึก และมีบางรายพบว่า อาการกำเริบตามความเครียดทางจิตใจ ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเกิดความซึมเศร้าอันเป็นผลมาจากความพิการจากโรคได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

5. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจขาดเลือด เกิดอาการได้เสมอหากผู้ป่วยเกิดความเครียดหรือโกรธ มีผู้เสนอว่า ผู้ที่ป่วยโรคเหล่านี้มักมีบุคลิกภาพที่แข่งขัน รุนแรง ทะเยอทะยาน ไขว่คว้า แต่อารมณ์ฉุนเฉียว โดยจะพบระดับโปรตีนในเลือด, คลอเลสสเตอรอล หรือไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูงด้วย จนเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว
โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ คนเหล่านี้มักมีท่าทีเป็นมิตร เชื่อฟังเคร่งครัดตามกฎ และเก็บงำความโกรธไว้ไม่แสดงออก ร่วมกับมีประวัติครอบครัวของการป่วยโรคนี้
การรักษาของทั้ง 2 โรค ได้แก่ การทำจิตบำบัดเพื่อเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต แนวคิดมุ่งหวัง ให้รู้จักผ่อนคลาย ทำเทคนิคคลายเครียดอย่างมีหลักการ ร่วมกับการใช้ยาควบคุมโรคดังกล่าวโดยตรง

6. โรคระบบทางเดินอาหาร โรคแผลในกระเพาะอาหารและอาการท้องอืด เป็นที่ยอมรับมานานแล้วว่า อาการและโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรควิตกกังวลเรื้อรัง โดยเฉพาะแผลในกระเพาะอาหารมากกว่าแผลในลำไส้เล็กมีการศึกษาด้วยว่า ความกังวลทำให้มีการเคลื่อนไหวบีบตัวของกระเพาะอาหารผิดปกติ ร่วมกับรายงานที่ว่า เมื่อบุคคลต้องเผชิญกับเหตุการณ์เครียดที่รุนแรง เช่น การสูญเสียคนใกล้ชิด จะมีอาการท้องอืดมากกว่าคนทั่วไป การรักษาด้วยยารักษาโรคกระเพาะเท่านั้น จึงอาจไม่เพียงพอในการรักษาหรือป้องกันในระยะยาว การฝึกผ่อนคลาย การแก้ปัญหา และจิตบำบัดร่วมไปด้วย จะทำให้ผู้ป่วยปลอดจากอากรดังกล่าวได้นานกว่าผ็รับประทานยารักษาโรคกระเพาะเพียงอย่างเดียว
ภาวะกลุ่มอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย (Irritable bowel syndrome) มักมีอาการทองผูกสลับท้องเสีย ปวดท้องมีลมในทางเดินอาหารมากอย่างเรื้อรัง โดยไม่สัมพันธ์กับชนิดของมื้ออาหาร หรือการติดเชื้อ หรือการใช้ยา ในสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ไปพบแพทย์ระบบทางเดินอาหารมากกว่าร้อยละ 50 มีอาการนี้ และกว่าร้อยละ 32 มีสมาธิในครอบครัวที่มีอาการนี้เช่นกัน การทดสอบด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยาพบว่า ผู้ป่วยจะมีความกังวล ขาดความเชื่อมั่น โทษตนเอง และอาจบอกอาการเจ็บป่วยอื่นๆ อีกคล้ายในโรคความผิดปกติทางจิตใจที่แสดงอาการออกทางร่างกาย (กลุ่ม somatization disorder) และเมื่อมีความเครียด ผู้ป่วยจะเกิดอาการมากขึ้น คนรอบข้างจะให้ความสนใจผู้ป่วยมากขึ้นด้วย การรักษาจึงต้องอาศัยหลายวิธี ทั้งการใช้ยารักษาอาการท้องผูก ท้องเสีย การควบคุมชนิดของอาหาร การฝึกผ่อนคลาย การทำจิตบำบัด ให้ให้ยาต้านเศร้า กลุ่ม tricyclic ร่วมกับการเปลี่ยนการสนองต่อการของครอบครัวของผู้ป่วยด้วย

7. อาการของระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยมากในห้องฉุกเฉินของทุกโรงพยาบาล คืออาการของระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง (hyperventilation syndrome) ที่มีอาการคล้ายหอบหืด โดยผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบเร็ว หัวใจเต้นแรง บ่นแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก มือเท้าชา เกร็ง บางรายจะมีนิ้วมือจีบร่วมด้วย
โรคหอบหืด แม้ว่าจะมีการพิสูจน์แล้วว่าอาการของโรคเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันแต่มีข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยมักมีลักษณะเก็บความโกรธ ไม่สามารถแสดงความอยากพึ่งพิงผู้อื่นออกได้ และอารมณ์ดังกล่าวถูกส่งผ่านระบบประสาทอัตโนมัติและระบบภูมิคุ้มกันจนเกิดอาการ ดังนั้น เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการเป็นประจำ การมองหาปัจจัยทางจิตใจและแก้ไขนอกเหนือไปจากการให้ยาขยายหลอดลม อาจช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพจิตใจกับการเกิดมะเร็งนั้น ยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าเป็นเหตุและผลต่อกันได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นอีกหลายประการที่เข้ามามีบทบาทในการเกิดมะเร็ง เช่น พันธุกรรม การใช้ชีวิต การได้เผชิญกับสารต่างๆ ตลอดจนภาวะภูมิคุ้มกันของบุคคลนั้นๆ อย่างไรก็ตาม พบว่าสภาพจิตใจมีผลต่อการดำเนินโรคของมะเร็งอยู่ไม่น้อย

จะเห็นได้ว่า โรคทางกายที่เป็นผลจากจิตใจดังกล่าว แม้จะมีพยาธิสภาพทางกายหรือพยาธิสรีระที่เกิดขึ้นจริง แต่การใช้ยารักษาอาการทางกายโดยไม่สนใจสภาพจิตใจ จะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาด้อยลง ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงการรักษาด้านจิตสังคม การเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้ป่วยควบคู่ไปด้วย
**********************************************
19 October 2547

By ผศ. นพ. ปราโมทย์ สุดคนิชย์ (คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี)

Views, 19743


แม้ความเห็นของนายแพทย์ท่านนี้..จะไม่ได้บอกว่า..ทุกโรค...แต่..ก็เริ่มที่จะเห็น..ความสัมพันธ์กันระหว่าง..ใจ..กับ...กาย..บ้างแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
โรคที่เป็นกันมานานมากเป็นแสนโกฏิกัปป์กัลป์และเป็นกันหนักมากๆคือโรคไม่รู้ไงคะถึงยังเกิดอยู่ไง...อิอิอิ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 05:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(มะเร็งเต้านมนี่เป็นที่กายหรือที่ใจ)


และสุดท้ายความทรมานก็จบลง วันที่11/01/2562 เวลา22.16น. นางฟ้าตัวน้อยได้จากเราไป ทิ้งรูปใบสุดท้ายให้กับวิท คือรูป 2 นิ้วเพื่อจะบอกให้คนข้างหลังสู้ๆนะ อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด ทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนแล้วต้องมีเกิดแล้วก็ต้องดับไปหลับให้สะบายนะนางฟ้าของผม

สำหรับคนที่กินเหล้ามาก ผมขอฝากเรื่องราวของปุ๊กไว้เพื่อเป็นอุทาธรณ์สอนใจ เพราะ

การดูแลตัวเองเป็นเรื่องสำคัญอย่าชะล่าใจกับเรื่องสุขภาพ

เหล้าก็มีส่วนเพราะมันอาหารมะเร็งชั้นดีนี้เอง เพื่อเป็นการลดอาหารของมะเร็งลดเถอะครับ เพื่อคนข้างหลัง เชื่อผมเถอะแย่ที่สุดคือการสูญเสีย

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_2113139

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b12:
โรคที่เป็นกันมานานมากเป็นแสนโกฏิกัปป์กัลป์และเป็นกันหนักมากๆคือโรคไม่รู้ไงคะถึงยังเกิดอยู่ไง...อิอิอิ
:b32: :b32:


ก็คุมกำเนิดดิถ้าไม่ยากเกิด :b32: ปัจจุบันมีวิธีป้องกันเยอะแยะ

ที่เกิดมาแล้วก็ปฏิบัติให้ถึงนิพพาน คือ ดับกิเลสได้ แต่ก็อีกแหละสำนักแม่สุจินบอกไม่ต้องปฏิบัติมันมีอยู่แล้วว่า คิกๆๆ

มันขัดกันหมดขอรับโผม

สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรปิดลานเถอะ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
เปิดกระทู้...เพื่อให้เพื่อนๆ...มาแชร์ความรู้.หรือ..หลักความคิด..ประยุกต์ใช้ความรู้แห่งพุทธะ...มาใช้กับการดูแลสุขภาพร่างกาย

จั่วหัวก่อนเลยว่า..

โรคทุกโรคเกิดจากใจ.. :b19: :b19:

อีกอัน...

โรคทุกโรค..เกิดจากกรรม.. :b12: :b12:

อีกสักนิด..

สติปัฏฐาน 4 รักษาโรคได้ :b9: :b9: :b9:


มา..มา...มาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน...นอกตำราก็ได้..ฟรีสไตล์..ได้เลย..

rolleyes rolleyes rolleyes


โรคทุกโรคเกิดจากใจ...

คำคำนี้..ไม่ใช่คำของกระผม..นะครับ..

หากจำไม่ผิด...เป็นของนักปราชญ์ชาวกรีก นามว่า..อริสโตเติล..ประมาณ 384 ปีก่อนคริสตกาล..ซึ่งก็ไม่รู้แก่คิดยังงัย...มีหลักฐานอะไร...ได้ยินครั้งแรก..ผมก็ว่าแกเพ้อ..แน่แน่ :b9: :b9:

แต่พอมาเข้าวัดเข้าวา...กะเขาบ้าง...ก็มีมุมมองที่เพิ่มมากขึ้น...

ก่อนจะไปทางศาสนา...มาดูว่า..นักวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน..ก็มีแนวคิดนี้มากขึ้น..

มาดู..แพทย์ท่านว่าอย่างไร..
อ้างคำพูด:
ภาวะทางจิตใจที่ทำให้เกิดโรคทางกายที่พบบ่อย


ภาวะทางจิตใจที่ทำให้เกิดโรคทางกายที่พบบ่อย

โดย ผศ. นพ. ปราโมทย์ สุดคนิชย์ (คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี)

ข้อมูลจาก : หนังสือจิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี

โรคภาวะทางจิตใจสามารถทำให้เกิดโรคทางกายได้หลายชนิดมักผ่านการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมน โรคทางกายที่พบบ่อยได้แก่

1. ปวดศีรษะ ถือเป็นอาการที่พบบ่อยมากที่สุดอาการหนึ่ง เนื่องมาจากมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้มากมาย แต่การตรวจร่างกายแล้วพบสาเหตุนั้น กลับพบไม่บ่อย ซึ่งทำให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วยไม่สบายใจ เชื่อว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอารมณ์และความเครียด เช่น ภาวะวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า มากระตุ้นให้เกิดอาการขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาการปวดศีรษะนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงออกของอารมณ์ภายในแล้ว ยังอาจมาจากความเชื่อแบบหลงผิด (delusion) หรือเป็นการสื่อให้บุคคลภายนอกรอบตัวผู้ป่วยให้ความสนใจกับผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งแพทย์ควรให้ความสนใจกับผลของอาการนี้ต่อชีวิตทั่วไปของผู้ป่วยและครอบครัวด้วย
ชนิดของโรคปวดศีรษะที่สัมพันธ์กับจิตใจคือ

1.1. ไมเกรน มีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องด้วยกว่า 2 ใน 3ของผู้ป่วยและมักพบในผู้มีอาการมีบุคลิกภาพแบบพยายามควบคุมทุกอย่างในชีวิตให้ดี มีระเบียบ ไม่แสดงความโกรธ แต่ไม่พบว่าจะมีเหตุการณ์ใดที่เจาะจงให้เกิดอาการนี้ อาศัยการรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมอาการ และใช้จิตบำบัดเพื่อแก้ไขบุคลิกดังกล่าวในระยะยาว
1.2. ปวดศรีษะจากความตึงเครียด (Tension headache) ส่วนใหญ่มีอาการในช่วงบ่ายหรือเย็นหลังการงานที่ทำให้เครียด หรือบางรายก็มีปัญหากับครอบครัว โรคทางจิตเวชเกือบทุกโรคทำให้เกิดอาการชนิดนี้ได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่จริงจังและแข่งขัน ควรค้นหาว่ามีโรคทางจิตเวชหรือไม่ โดยถามถึงอาการร่วมอื่นๆ อาจให้ยาคลายกังวล ในระยะยาว นอกจากนี้ การฝึกผ่อนคลาย การทำจิตบำบัดจะช่วยป้องกันอาการเป็นซ้ำได้

2. โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน มีข้อสังเกตมานานแล้วว่า เมื่อบุคคลมีความเครียด จะเกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายและบ่อยขึ้นจากโรคต่างๆ ไม่ว่าโรคติดเชื้อหรือโรคภูมิแพ้ ปัจจุบันจึงมีการศึกษาทางการแพทย์ในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้น แม้การศึกษาจะไม่บ่งชี้ชัดนักในแง่การวัดปริมาณเม็ดเลือดหรือสารภูมิคุ้มกัน เช่น มีเส้นใยประสาทในไขกระดูกหรือต่อมไทมัสหรือหากไฮโปทาลามัส ถูกทำลายจะทำให้ปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่างไปจากเดิม
นอกจากนี้ การทำงานของเม็ดเลือดขาว ก็ขึ้นกับสื่อประสาทและฮอร์โมนหลายชนิด หรือโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบางอย่าง รวมทั้งผู้ป่วยเอดส์ มีอาการรุนแรงมากน้อยตามความเครียด มีผู้พบว่าผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการช่วยเหลือทางจิตใจจะฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้น

3. ปวดหลัง เช่นเดียวกับอาการปวดศีรษะ กว่าร้อยละ 95 ของผู้มีอาการปวดหลังไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติที่ชัดเจนได้ นอกจากนั้น พบว่าผู้มีอาการนี้ไม่น้อยมีความกังวลหรือซึมเศร้าร่วมอยู่ด้วย การรักษาจึงอาจให้ยารักษาภาวะดังกล่าวร่วมกับยาแก้ปวด รวมทั้งให้คำแนะนำ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และสนับสนุนให้กลับไปทำหน้าที่เดิม

4. ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ มีผู้สนใจในบุคลิกภาพของผู้ป่วยด้วยโรคนี้ว่า มักมีลักษณะเสียสละ ทำตนให้ลำบาก อดกลั้น และต้องพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุด โดยไม่แสดงความรู้สึก และมีบางรายพบว่า อาการกำเริบตามความเครียดทางจิตใจ ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเกิดความซึมเศร้าอันเป็นผลมาจากความพิการจากโรคได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

5. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจขาดเลือด เกิดอาการได้เสมอหากผู้ป่วยเกิดความเครียดหรือโกรธ มีผู้เสนอว่า ผู้ที่ป่วยโรคเหล่านี้มักมีบุคลิกภาพที่แข่งขัน รุนแรง ทะเยอทะยาน ไขว่คว้า แต่อารมณ์ฉุนเฉียว โดยจะพบระดับโปรตีนในเลือด, คลอเลสสเตอรอล หรือไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูงด้วย จนเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว
โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ คนเหล่านี้มักมีท่าทีเป็นมิตร เชื่อฟังเคร่งครัดตามกฎ และเก็บงำความโกรธไว้ไม่แสดงออก ร่วมกับมีประวัติครอบครัวของการป่วยโรคนี้
การรักษาของทั้ง 2 โรค ได้แก่ การทำจิตบำบัดเพื่อเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต แนวคิดมุ่งหวัง ให้รู้จักผ่อนคลาย ทำเทคนิคคลายเครียดอย่างมีหลักการ ร่วมกับการใช้ยาควบคุมโรคดังกล่าวโดยตรง

6. โรคระบบทางเดินอาหาร โรคแผลในกระเพาะอาหารและอาการท้องอืด เป็นที่ยอมรับมานานแล้วว่า อาการและโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรควิตกกังวลเรื้อรัง โดยเฉพาะแผลในกระเพาะอาหารมากกว่าแผลในลำไส้เล็กมีการศึกษาด้วยว่า ความกังวลทำให้มีการเคลื่อนไหวบีบตัวของกระเพาะอาหารผิดปกติ ร่วมกับรายงานที่ว่า เมื่อบุคคลต้องเผชิญกับเหตุการณ์เครียดที่รุนแรง เช่น การสูญเสียคนใกล้ชิด จะมีอาการท้องอืดมากกว่าคนทั่วไป การรักษาด้วยยารักษาโรคกระเพาะเท่านั้น จึงอาจไม่เพียงพอในการรักษาหรือป้องกันในระยะยาว การฝึกผ่อนคลาย การแก้ปัญหา และจิตบำบัดร่วมไปด้วย จะทำให้ผู้ป่วยปลอดจากอากรดังกล่าวได้นานกว่าผ็รับประทานยารักษาโรคกระเพาะเพียงอย่างเดียว
ภาวะกลุ่มอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย (Irritable bowel syndrome) มักมีอาการทองผูกสลับท้องเสีย ปวดท้องมีลมในทางเดินอาหารมากอย่างเรื้อรัง โดยไม่สัมพันธ์กับชนิดของมื้ออาหาร หรือการติดเชื้อ หรือการใช้ยา ในสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ไปพบแพทย์ระบบทางเดินอาหารมากกว่าร้อยละ 50 มีอาการนี้ และกว่าร้อยละ 32 มีสมาธิในครอบครัวที่มีอาการนี้เช่นกัน การทดสอบด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยาพบว่า ผู้ป่วยจะมีความกังวล ขาดความเชื่อมั่น โทษตนเอง และอาจบอกอาการเจ็บป่วยอื่นๆ อีกคล้ายในโรคความผิดปกติทางจิตใจที่แสดงอาการออกทางร่างกาย (กลุ่ม somatization disorder) และเมื่อมีความเครียด ผู้ป่วยจะเกิดอาการมากขึ้น คนรอบข้างจะให้ความสนใจผู้ป่วยมากขึ้นด้วย การรักษาจึงต้องอาศัยหลายวิธี ทั้งการใช้ยารักษาอาการท้องผูก ท้องเสีย การควบคุมชนิดของอาหาร การฝึกผ่อนคลาย การทำจิตบำบัด ให้ให้ยาต้านเศร้า กลุ่ม tricyclic ร่วมกับการเปลี่ยนการสนองต่อการของครอบครัวของผู้ป่วยด้วย

7. อาการของระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยมากในห้องฉุกเฉินของทุกโรงพยาบาล คืออาการของระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง (hyperventilation syndrome) ที่มีอาการคล้ายหอบหืด โดยผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบเร็ว หัวใจเต้นแรง บ่นแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก มือเท้าชา เกร็ง บางรายจะมีนิ้วมือจีบร่วมด้วย
โรคหอบหืด แม้ว่าจะมีการพิสูจน์แล้วว่าอาการของโรคเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันแต่มีข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยมักมีลักษณะเก็บความโกรธ ไม่สามารถแสดงความอยากพึ่งพิงผู้อื่นออกได้ และอารมณ์ดังกล่าวถูกส่งผ่านระบบประสาทอัตโนมัติและระบบภูมิคุ้มกันจนเกิดอาการ ดังนั้น เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการเป็นประจำ การมองหาปัจจัยทางจิตใจและแก้ไขนอกเหนือไปจากการให้ยาขยายหลอดลม อาจช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพจิตใจกับการเกิดมะเร็งนั้น ยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าเป็นเหตุและผลต่อกันได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นอีกหลายประการที่เข้ามามีบทบาทในการเกิดมะเร็ง เช่น พันธุกรรม การใช้ชีวิต การได้เผชิญกับสารต่างๆ ตลอดจนภาวะภูมิคุ้มกันของบุคคลนั้นๆ อย่างไรก็ตาม พบว่าสภาพจิตใจมีผลต่อการดำเนินโรคของมะเร็งอยู่ไม่น้อย

จะเห็นได้ว่า โรคทางกายที่เป็นผลจากจิตใจดังกล่าว แม้จะมีพยาธิสภาพทางกายหรือพยาธิสรีระที่เกิดขึ้นจริง แต่การใช้ยารักษาอาการทางกายโดยไม่สนใจสภาพจิตใจ จะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาด้อยลง ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงการรักษาด้านจิตสังคม การเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้ป่วยควบคู่ไปด้วย
**********************************************
19 October 2547

By ผศ. นพ. ปราโมทย์ สุดคนิชย์ (คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี)

Views, 19743


แม้ความเห็นของนายแพทย์ท่านนี้..จะไม่ได้บอกว่า..ทุกโรค...แต่..ก็เริ่มที่จะเห็น..ความสัมพันธ์กันระหว่าง..ใจ..กับ...กาย..บ้างแล้ว

:b8:

อนุโมทนา สาธุด้วยครับ

ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ดั่งคำว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวค่อยรับใช้
อุปมาอยู่ในบริษัทหนึ่งมีพนักงานหลายคน แต่
ละคนก็ต้องมารับงานจากนาย(จิต) เมื่อนายหัว
เสีย อารมณ์ไม่ดี เนื่องจากป่วยบ้าง พักผ่อนไม่
เพียงพอ เป็นโรคบ้าง.... ย่อมจะสั่งงานไปแบบ
ถูกบ้าง ผิดบ้าง สั่งด้วยโทสะบ้าง ผู้รับงานนั้นก็
ย่อมบังเกิดโทสะบ้าง เลยนำคำสั่งที่ผิดๆ และ
อาจจะผิดเพราะได้รับโทสะมาจากนายเลยทำงาน
ผิดเพี้ยนไป นั้นก็คือสาเหตุที่ก่อให้เกิดเป็นโรค
ต่างๆ

ความคิดดี คำพูดที่ดี ที่ตรง ที่ถูกต้อง การกระ
ทำก็พลอยดีงาม ถูกต้องไปด้วยเช่นกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 09:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
ถามใหม่ๆๆ

ถามท่านกรัซกาย ท่านอ๊บ ท่าน ทริปเปิ้ลเอส และทุกท่าน ว่า

โรคกลาก เกลื้อน หูด ท้าวแสนปม โรคเรื้อน ใช้..มหาสติปัฏฐาน ๔ รักษายังไงครับ

ซึ่ง โรคผิวหนังเหล่านี้จะครอบคลุม
- ว่าด้วยเรื่องกรรมก็ได้ เช่น เป็นมาแต่กำเนิด หรือโตมาในช่วงวัยเด็กแล้วเป็นสืบต่อมา.. วิบากกรรมให้เป็นไป
- ว่าด้วยเรื่องการกระทำเป็นกรรมก็ได้ คือ ปัจจุบันนั้นไม่รักษาความสะอาด ก็ทำให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง
- ร่างกายผิดปรกติก็ได้.. เช่น เกิดจากการรับสะสารหรือไวรัสที่เป็นตัวทำลายเซลล์ปรกติต่อผิวหนังร่างกายเกี่ยวกับสภาพจิตใจก็ได้..
- เรื่องใจ ใครเป็นแล้วมันสบายใจบ้าง ยิ่งหดหู่กับสิ่งที่ตนเป็น หรือพยายามรักษาแต่รักษาไม่ได้ ร่างกายก็เสื่อมถอย กำลังใจไม่มี เมื่อจิตใจห่อเหี่ยวก็ไม่มีพลังชีวิตหล่อเลี้ยงเป็นกำลังกาย ไม่อยากกิน ภาวะเศร้าซึม หวาดกลัวเป็นต้น

ตามหัวข้อที่ว่า ทุกโรคเกิดจากใจ ทุกโรคเกิดจากกรรม สติปัฏฐาน ๔ รักษาโรคได้ จะทำอย่างไรครับ


ผมไม่ได้บอกนะว่า..รักษาทุกโรค..หากผมเป็นทุกโรค...ก็คงไม่ได้อยู่ให้คุยถีงตอนนี้..แล้วละ :b32: :b32:



ท่านอ๊บต้องเปลี่ยนคำใหม่ ภาษาไทยมันมองได้หลายมุม ต้องเปลี่ยนเป็นแบบนี้จะดีกว่าไหมครับ

โรคทุกโรค "ที่" เกิดจากใจ ไม่ใช่ โรคทุกโรคเกิดจากใจ

โรคทุกโรค "ที่" เกิดจากกรรม ไม่ใช่ โรคทุกโรค..เกิดจากกรรม

สติปัฏฐาน ๔ รักษาได้



ทีนี้เมื่อกล่าวดังนี้คนจะมองเห็นเลย โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคเจ้าชาย โรค Center สภาวะทางจิตทั้งหลาย เรื่องเกี่ยวกับจิตที่สืบต่อไปยังกายให้ทรุดโทรม เช่น ความขุ่นใจ เสียใจ อคติ มองแง่ร้าย โทสะ คิดลบ เก็บกด ทำให้กายทรุดโทรมมาได้ ระบบการทำงานของกายนี้เสื่อม เพราะใจทรุดทำให้ชีวิตรูปที่หล่อเลี้ยงทรงธาตุนี้บกพร่อง การทำงานของธาตุแปรปรสวน อาจมีไฟมากบ้าง ยังกายให้กระวนกระววายเป็นไข้ระทม ระบบขับถ่ายที่เกี่ยวกับน้ำน้อย ดินมาก เป็นต้น

โรคกรรม กลากเกลื้อนก็โรคกรรม ท้าวแสนปม แบบท่านสุปะพุทธะกุฏฐิ และอีกหลายท่านในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสชี้ชัด

กลากเกลื้อน โรคเรื้อน ท้าวแสนปม หูด ก็เกิดจากไวรัส หรือความผิดปรกติทางผิวหนังได้

- ท่านอ๊บก็น่าจะกล่าวที่เกี่ยวกับกรรม หรือสภาวะทางใจได้ เพราะบางอย่างมันสิ้นไปด้วยเคล็ดแก้ปมก็มี การรักษายาแผนปัจจุบันก็มี
- เหมือนตาอักเสบที่ท่านอ๊บว่าแก้ด้วยสติปัฏฐานก็มีใช่ไหมครับ ดังนั้นถ้าแค่เปลี่ยนจั่วหัวข้อใหม่ คำพูดทุกคำจะไม่ผิดกับหัวข้อเลย
- เอากรรมฐานรักษากลากเกลื้อนอย่างนี้ รักษาใจ คือให้ใจไม่วิตกกังวลเป็นวิกลจริต ปลงใจยอมรับ ใจก็ไม่ร้อนวิตกจริตกับสิ่งที่เป็น เมื่อมีกำลังใจดีมันก็กระตุ้นเซลล์ให้ตอบรับการรักษาที่ดี โดยรักษาร่วมกับการรักษาทางโลก
- เมื่อเห็นมันเป็นวิบากกรรมให้เกิดสืบต่อที่กาย เมื่อกรรมหมดมันก็หายไป เช่น บางคนรักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย เข้ากรรมฐานทำดีตัดใจความยึดทุกข์จากโรค เมื่อกรรมดีมีมากแผ่ไปเจ้ากรรมนายเวรเขาอโหสิกรรม กรรมเก่าที่เคยทำเขาไว้ กรรมที่ทำต่อโรคดับ ใจสบาย การรักษาก็ดีขึ้นวิบากกรรมถูกชะล้างด้วยกรรมดีแม้มีอยู่ก็ไม่แสดงผล แต่ทำให้ไม่สบายกายใจเล็กน้อยเท่านั้น
- มาทีใจเห็นธาตุรู้อาการ ๓๒ เป็นธาตุในส่วนใด
.. ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นดิน อย่างนี้เป็นธาตุดินเป็นต้น
.. น้ำเลือด น้ำหนอง ปัสสาวะ เป็นน้ำ อย่างนี้เป็นธาตุน้ำเป็นต้น
.. ลมหายใจเป็นวาโยธาตุ อานาปานสติคือกำหนดรู้วาโยธาตุ ขาดอะไรก็ไม่ตายแต่ขาดลมหายใจนี้ตายเลย นี้เป็นธาตุลมเป็นต้น
.. ความร้อน เย็น อบอุ่น ย่อยอาหาร อาการที่ยังกายให้อบอุ่น หรือเร่าร้อน เป็นธาตุไฟเป็นต้น
.. ช่องว่างที่ผ่านเข้าออกได้ ให้สิ่งต่างผ่านเข้าออกได้ นี่เป็นอากาศธาตุเป็นต้น
.. ความรู้ๆ ตัวรู้ที่จรมาเข้ายึดครองกายนี้อันเป็นอุปาทินนกรูป รูปมีใจครอง คือ ร่างกายเรานี้แหละเป็นรูปที่มีใจครอง ทำให้เกิดชีวิตทรงการทำงานของแต่ละธาตุมันอยู่ได้ เกิดประสาทสัมผัสรับรู้สัมผัสทางสฬายตนะ(มโนสังขาร, วิญญาณขันธ์) อาศัยลมหายใจนี้แลเป็นกายสังขารหล่อเลี้ยงกายให้มีชีวิตอยู่ รู้แค่นี้พอ ลึกมันเป็นวิปัสสนา อันนี้เราพูดถึงรักษาโรค :b32: :b32: :b32:
กำหนดใจเข้าคลุมธาตุในส่วนนั้น(ต้องเรียนวิชาธาตุแท้ๆ และ กสินธาตุ) ซึ่งข้อนี้อาศัยการเข้าถึงธาตุจริงและมีกสินธาตุจะทำได้ ซึ่งมันยากสำหรับคนทั่วไปมาก
..แต่ถึงแม้เราไม่เคยเรียนธาตุเลย อย่างนั้นก็ลองนึกถึงตอนเราฉี่แล้วฉี่ไม่ออก เรามักจะเพ่งจุดไปทีน้ำเหยี่ยวให้ไหลออกจากท่อปัสสาวะถูกมะ อาจะพูดฉีๆๆๆๆๆๆๆยาวๆ นี่ธรรมชาติของจิตเดิมแท้มันรู้อยู่แล้วว่ากายเราเป็นเพียงแค่ธาตุ มันรู้จักคลุมธาตุอยู่แล้วโดยสัญชาติญาณของมัน ดังนี้..ก็บรรเทาได้กับคนทั่วไป
.. กรรมฐานพุทธานุสสติ+แผ่เมตตาไปกรรมก็เบาบางลงบ้าง คำว่าเบาบางลงหมายถึงวิบากกรรมที่มีเจ้ากรรมนายเวรอาจคลายความผูกเวร และพยายาบาทแก่เรา หลงเหลือเพียงวิบากกรรมที่ทำไว้เท่านั้นซึ่งอาจจะรักษาโดยยาทางโลกหายได้ดี กำลังใจดีก็มีส่วนในจุดนี้แหละ เพราะเห็นอย่างนี้จึงทำกรรมฐาน จิตใจก็ดี มีกำพลีังว่าจะต้องดีขึ้นแน่ ธาตุกายก็กลับมาทำงานที่สมส่วนขึ้น

สรุป การกรรมฐานทุกอย่างมารวมลงที่อานาปานสติเป็นที่สุด รู้ตัวรู้ใจ รู้อาการ ๓๒ รู้ธาตุ ๖ การละอุปาทาน ละใจเข้ายึดครองในสิ่งใด เห็นกายเป็นเพียงอุปาทนนกะรูป อันนี้อยู่ในกายานุปัสสนาทั้งหมด

ทั้งหมดที่ผมกล่าวมานี้ไม่ขัดเลยกับจั่วหัวข้อที่ว่า

โรคทุกโรค "ที่" เกิดจากใจ

โรคทุกโรค "ที่" เกิดจากกรรม

สติปัฏฐาน ๔ รักษาได้


สี่ตีนยังรู้พลาด คนหล่ออย่างเราๆย่อมมีพลั้ง เนาะท่านอ๊บ :b32: :b32: :b32:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 21 ม.ค. 2019, 14:20, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 10:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๗. เรื่องสุปปพุทธกุฏฐิ [๕๑]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษโรคเรื้อน ชื่อว่าสุปปพุทธะ ตรัสว่าธรรมเทศนานี้ว่า "จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา" เป็นต้น.

สุปปพุทธะกราบทูลคุณวิเศษแด่พระศาสดา
เรื่องสุปปพุทธะนี้มาแล้วในอุทาน๑- นั่นแล.
ก็ในกาลนั้น สุปปพุทธกุฏฐินั่งที่ท้ายบริษัท ฟังธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว บรรลุโสดาปัตติผล ปรารถนาจะกราบทูลคุณที่ตนได้แล้ว แด่พระศาสดา (แต่) ไม่อาจเพื่อจะหยั่งลงในท่ามกลางบริษัท ได้ไปยังวิหารในเวลามหาชนถวายบังคมพระศาสดากลับไปแล้ว.
____________________________
๑- ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๑๑๒.

คนมีอริยทรัพย์ ๗ เป็นผู้ไม่ขัดสน
ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า "สุปปพุทธกุฏฐินี้ใคร่เพื่อกระทำคุณที่ตนได้ในศาสนาของพระศาสดาให้ปรากฏ" ทรงดำริว่า "เราจักทดลองนายสุปปพุทธกุฏฐินั้น" เสด็จไปยืนในอากาศแล้ว ได้ตรัสคำนี้ว่า "สุปปพุทธะ เธอเป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์ยากไร้, เราจักให้ทรัพย์หาที่สิ้นสุดมิได้แก่เธอ, เธอจงกล่าวว่า ‘พระพุทธไม่ใช่พระพุทธ, พระธรรมไม่ใช่พระธรรม, พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์, อย่าเลยด้วยพระพุทธแก่เรา, อย่าเลยด้วยพระธรรมแก่เรา, อย่าเลยด้วยพระสงฆ์แก่เรา."
ลำดับนั้น สุปปพุทธกุฏฐินั้นกล่าวกะท้าวสักกะนั้นว่า "ท่านเป็นใคร?"
สักกะ. เราเป็นท้าวสักกะ.
สุปปพุทธะ. ท่านผู้อันธพาล ผู้ไม่มียางอาย, ท่านเป็นผู้ไม่สมควรจะพูดกับเรา, ท่านพูดกะเราว่า ‘เป็นคนเข็ญใจ เป็นคนขัดสน เป็นคนกำพร้า’, เราไม่ใช่คนเข็ญใจ ไม่ใช่คนขัดสนเลย, เราเป็นผู้ถึงความสุข มีทรัพย์มาก,
ทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ๑, ทรัพย์คือศีล ๑,
ทรัพย์คือหิริ ๑, ทรัพย์คือโอตตัปปะ ๑,
ทรัพย์คือสุตะ ๑, ทรัพย์คือจาคะ ๑,
ปัญญาแลเป็นทรัพย์ที่ ๗,
ย่อมมีแก่ผู้ใด จะเป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม, บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน’, ชีวิตของบุคคลนั้นไม่ว่างเปล่า.๑-
เพราะเหตุนั้น อริยทรัพย์มีอย่าง ๗ นี้ มีอยู่แก่ชนเหล่าใดแล ชนเหล่านั้นอันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่กล่าวว่า ‘เป็นคนจน.’
____________________________
๑- องฺ. สตฺตก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๕.

ท้าวสักกะทรงสดับถ้อยคำของสุปปพุทธะนั้นแล้ว ทรงละเขาไว้ในระหว่างทาง เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลการโต้ตอบถ้อยคำนั้นทั้งหมดแด่พระศาสดาแล้ว.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท้าวสักกะนั้นว่า "ท้าวสักกะทั้งร้อยทั้งพันแห่งคนทั้งหลายผู้เช่นกับพระองค์ ไม่อาจเพื่อจะให้สุปปพุทธกุฏฐิกล่าวว่า ‘พระพุทธไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม หรือพระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์’ ได้เลย."
ฝ่ายสุปปพุทธะแลไปสู่สำนักของพระศาสดา มีความบันเทิงอันพระศาสดาทรงกระทำแล้ว กราบทูลคุณอันตนได้แล้วแด่พระศาสดา ลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว. ขณะนั้น แม่โคลูกอ่อนปลงสุปปพุทธะนั้น ผู้หลีกไปแล้วไม่นานจากชีวิตแล้ว.

บุรพกรรมของสุปปพุทธะและแม่โค
ได้ยินว่า โคแม่ลูกอ่อนนั้น เป็นยักษิณีตนหนึ่ง เป็นแม่โคปลงชนทั้ง ๔ นี้
คือ
กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ๑
พาหิยทารุจีริยะ ๑
นายโจรฆาตกะชื่อตัมพทาฐิกะ ๑
สุปปพุทธกุฏฐิ ๑
จากชีวิตคนละร้อยอัตภาพ.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ชนเหล่านั้นเป็นบุตรเศรษฐีทั้ง ๔ คน นำหญิงแพศยาผู้เป็นนครโสเภณีคนหนึ่ง ไปสู่สวนอุทยาน เสวยสมบัติตลอดวันแล้ว ในเวลาเย็น ปรึกษากันอย่างนี้ว่า "ในที่นี้ไม่มีคนอื่น, เราทั้งหลายจักถือเอากหาปณะพันหนึ่งและเครื่องประดับทั้งหมดที่พวกเราให้แก่หญิงนี้แล้ว ฆ่าหญิงนี้เสียไปกันเถิด."
หญิงนั้นฟังถ้อยคำของเศรษฐีบุตรเหล่านั้นแล้ว คิดว่า "ชนพวกนี้ไม่มียางอาย อภิรมย์กับเราแล้ว บัดนี้ปรารถนาจะฆ่าเรา, เราจักรู้กิจที่ควรกระทำแก่ชนเหล่านั้น"
เมื่อถูกชนเหล่านั้นฆ่าอยู่ ได้กระทำความปรารถนาว่า "ขอเราพึงเป็นยักษิณี ผู้สามารถเพื่อฆ่าชนเหล่านั้น เหมือนอย่างที่พวกนี้ฆ่าเรา ฉะนั้นเหมือนกัน."

คนโง่ทำกรรมลามก
ภิกษุหลายรูปกราบทูลการกระทำกาละของสุปปพุทธะนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว่า "คติของสุปปพุทธะนั้นเป็นอย่างไร? เพราะเหตุไรเล่า? เขาจึงถึงความเป็นคนมีโรคเรื้อน."
พระศาสดาทรงพยากรณ์ความที่สุปปพุทธะนั้นบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว เกิดในดาวดึงสภพ และการเห็นพระตครสิขีปัจเจกพุทธเจ้า ถ่ม (น้ำลาย) แล้วหลีกไปทางซ้าย๑- ไหม้แล้วในนรกตลอดกาลนาน ด้วยวิบากที่เหลือ ถึงความเป็นคนมีโรคเรื้อนในบัดนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้เที่ยวกระทำกรรมมีผลเผ็ดร้อนแก่ตนเองแล" ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๗. จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา อมิตฺเตเนว อตฺตนา
กโรนฺตา ปาปกํ กมฺมํ ยํ โหติ กฏุกปฺผลํ.
ชนพาลทั้งหลาย มีปัญญาทราม มีตนเป็นดังข้าศึก
เที่ยวทำกรรมลามก ซึ่งมีผลเผ็ดร้อนอยู่.
____________________________
๑- อปพฺยามํ กตฺวา ถือเอาความว่า หลีกซ้าย. ธรรมดาบัณฑิตเห็นพุทธบุคคลแล้ว ย่อมหลีกทางขวา. ดูใน อรรถกถาอุทาน หน้า ๓๖๘.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จรนฺติ ความว่า เที่ยวกระทำอกุศลถ่ายเดียวด้วยอิริยาบถ ๔ อยู่.
ชนทั้งหลายผู้ไม่รู้ประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ชื่อว่าพาล ในบทว่า พาลา นี้.
บทว่า ทุมฺเมธา คือ มีปัญญาเขลา.
บทว่า อมิตฺเตเนว ความว่า เป็นราวกะว่าคนมีเวรผู้มิใช่มิตร.
บทว่า กฏุกปฺผลํ ความว่า มีผลเข้มแข็ง คือมีทุกข์เป็นผล.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องสุปปพุทธกุฏฐิ จบ.
-----------------------------------------------------
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 14อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 15อ่านอรรถกถา 25 / 16อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... =434&Z=478
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
http://www.84000.org/tipitaka/atthapali ... =20&A=2059
The Pali Atthakatha in Roman
http://www.84000.org/tipitaka/atthapali ... =20&A=2059
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 10:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ลำดับนั้น ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้เข้าไปยังหมู่มหาชนนั้น ได้เห็นพระผู้มี
พระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ จึงมีความคิดดังนี้ว่า
“ชนทั้งหลายคงไม่แจกของเคี้ยวหรือของบริโภคในที่นี้ พระสมณโคดมนี้แสดงธรรม
ในบริษัท ทางที่ดีเราควรฟังธรรมบ้าง” จึงนั่งลง ณ ที่สมควรในที่นั้น ด้วยตั้งใจว่า
“เราจักฟังธรรม”
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการกำหนดจิตของบริษัททุกหมู่เหล่าด้วย
พระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอแลควรรู้แจ้งธรรม พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตร
เห็นชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะนั่งอยู่ในบริษัทนั้น จึงทรงพระดำริดังนี้ว่า “ในบริษัทนี้
ชายคนนี้แลควรรู้แจ้งธรรม” พระองค์ทรงปรารภชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ จึงตรัส
อนุปุพพีกถา คือ ทรงประกาศ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)๑-
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)
เมื่อทรงทราบว่าชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะมีจิตควรบรรลุธรรม สงบ อ่อน
ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา๒- ของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันไร้ธุลี ปราศจากมลทิน
ได้เกิดแก่ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ ณ ที่นั่งนั้นนั่นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือนผ้า
ขาวสะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
@เชิงอรรถ :
@๑ แปลจากคำว่า กามานํ อาทีนวํ โอการํ สงฺกิเลสํ (ขุ.อุ. ๒๕/๔๓/๑๖๐)
@๒ สามุกกังสิกเทศนา หมายถึงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่มีผู้ทูลอาราธนา
@หรือทูลถาม พระธรรมเทศนานั้น คือ อริยสัจ ๔ ประการ (ขุ.อุ.อ. ๔๓/๓๐๓)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๕๖}

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 11:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๓. สุปปพุทธกุฏฐิสูตร
[๑๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาป-
*สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์ มีบุรุษเป็น
โรคเรื้อนชื่อว่าสุปปพุทธะ เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ ก็สมัย
นั้นแล พระผู้มีพระภาคแวดล้อมไปด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่
สุปปพุทธกุฏฐิได้เห็นหมู่มหาชนประชุมกันแต่ที่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้มีความดำริ
ว่าหมู่มหาชนจะแบ่งของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภคอะไรๆ ให้ในที่นี้แน่แท้
ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปหาหมู่มหาชน เราพึงได้ของควรเคี้ยวหรือควรบริโภคใน
หมู่มหาชนนี้เป็นแน่ ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิได้เข้าไปหาหมู่มหาชนนั้นแล้ว
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่
ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า หมู่มหาชนคงไม่แบ่งของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภค
อะไรๆ ให้ในที่นี้ พระสมณะโคดมนี้ทรงแสดงธรรมอยู่ในบริษัท ถ้ากระไร แม้
เราก็พึงฟังธรรม เขานั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในบริษัทนั้นเอง ด้วยคิดว่า
แม้เราก็จักฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดใจของบริษัททุก
หมู่เหล่าด้วยพระทัยแล้ว ได้ทรงกระทำไว้ในพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอ
แลควรจะรู้แจ้งธรรม พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นสุปปพุทธกุฏฐินั่งอยู่ในบริษัทนั้น
ครั้นแล้วได้ทรงพระดำริว่า ในบริษัทนี้ บุรุษนี้แลควรจะรู้แจ้งธรรม พระองค์
ทรงปรารภสุปปพุทธกุฏฐิตรัสอนุปุพพิกถาคือ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา
โทษแห่งกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ เมื่อใด
พระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่าสุปปพุทธกุฏฐิมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์
เฟื่องฟู ผ่องใส เมื่อนั้น พระองค์ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรม-
*จักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่สุปปพุทธกุฏฐิในที่นั่งนั้นแลว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา
เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น ฯ
[๑๑๓] ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุ
แล้ว มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลง บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นใน
ศาสนาของพระศาสดา ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศโดยอเนกปริยาย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตาม
ประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป ฯ
ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี-
*พระภาค ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อนชนสุปปพุทธกุฏฐิผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสีย
จากชีวิต ลำดับนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว กระทำกาละ คติของเขาเป็น
อย่างไร ภพหน้าของเขาเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และ
ไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะธรรมเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิ
เป็นพระโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งสาม มีความไม่ตกต่ำเป็น
ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ
[๑๑๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระ-
*ผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้
สุปปพุทธกุฏฐิเป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว สุปปพุทธกุฏฐิเป็นเศรษฐีบุตรอยู่ในกรุง-
*ราชคฤห์นี้แล เขาออกไปยังภูมิเป็นที่เล่นในสวน ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
นามว่าตครสิขีกำลังเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนคร ครั้นแล้วเขาดำริว่า ใครนี่
เป็นโรคเรื้อนเที่ยวไปอยู่ เขาถ่มน้ำลายแล้วหลีกไปข้างเบื้องซ้าย เขาหมกไหม้
อยู่ในนรกสิ้นปีเป็นอันมาก สิ้นร้อยปี สิ้นพันปี สิ้นแสนปีเป็นอันมาก เพราะ
ผลแห่งกรรมนั้นยังเหลืออยู่ เขาจึงได้เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ อยู่ใน
กรุงราชคฤห์นี้แล เขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว สมาทานศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ครั้นอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วสมาทาน
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็น
ผู้เข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาย่อมไพโรจน์ล่วงเทวดา
เหล่าอื่นในชั้นดาวดึงส์นั้นด้วยวรรณะและด้วยยศ ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงละเว้นบาปทั้งหลายในสัตว์โลก เหมือน
บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อทางอื่นที่จะก้าวไปมีอยู่ ย่อมหลีกที่อันไม่
ราบเรียบเสียฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๓

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๒๙๐๐-๒๙๗๐ หน้าที่ ๑๒๖-๑๒๙.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_si ... 25&siri=78
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=25&i=112
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
[112-114] http://www.84000.org/tipitaka/pali/pali ... 12&items=3
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://www.84000.org/tipitaka/atthapali ... =26&A=6670
The Pali Tipitaka in Roman :-
[112-114] http://www.84000.org/tipitaka/pali/roma ... 12&items=3
The Pali Atthakatha in Roman :-
http://www.84000.org/tipitaka/atthapali ... =26&A=6670
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_25
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn ... .than.html
https://suttacentral.net/ud5.3/en/anandajoti

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 11:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านสุปพุทธกุฏฐิ

โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเคยปรารภกันว่า ในสมัยองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดา เขาฟังเทศน์กันอย่างง่าย ๆ แล้วก็ปฏิบัติกันแบบง่าย ๆ พระพุทธเจ้าเทศน์จบเมื่อไร ก็ปรากฎว่าบางท่านได้เป็นพระอรหันต์บ้าง บางท่านได้เป็นพระอนาคามีบ้าง เป็นพระสกิทาคามีบ้าง เป็นพระโสดาบันกันบ้าง อย่างนี้รู้สึกว่าง่ายมากเกินไป แต่ว่าในสมัยนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศน์ เหตุที่เขาจะได้เป็นอริยเจ้าอย่างนั้น เขาตั้งใจยังไง บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะทราบได้จากเรื่องนี้
ความมีอยู่ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่ ในวันหนึ่งองค์สมเด็จพระบรมครูทรงเสด็จไปในภาคพื้นปกติ เวลาที่พระพุทธเจ้าเทศน์น่ะ บรรดาท่านพุทธบริษัท หาธรรมาสน์เทศน์นี่ยากเต็มที เพราะว่าองค์สมเด็จพระชินสีห์มักจะเทศน์กลางป่าบ้าง กลางทุ่งนาบ้าง เอาสังฆาฏิปูบ้าง นั่งบนตอไม้บ้าง นาน ๆ องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาจึงจะเทศน์ในพระมหาวิหาร ในวันนั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาทรงเสด็จประทับอยู่ที่ตอไม้ มีคนทั้งหลายแวดล้อมนั่งฟังกันอยู่เป็นอันมาก
ขณะที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะแสดงพระสัทธรรมเทศนา เวลานั้นก็ปรากฎว่ามีกระทาชายนายหนึ่ง มีนามว่าสุปพุทธกุฏฐิ คำว่า “สุปพุทธะ” เป็นชื่อ กุฏฐิ นี่เป็นฉายา ที่มีฉายาอย่างนี้เพราะว่าแกเป็นโรคเรื้อนทั้งตัว ชาวบ้านจึงให้นามว่า สุปพุทธะ แล้วก็ลงท้ายว่า กุฏฐิ ซึ่งแปลเป็นใจควาว่า นายสุปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน แล้วท่านผู้นี้ก็มีอาชีพเป็นขอทานด้วย
บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เวลาที่เธอเข้ามาเห็นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาประทับนั่งอยู่บนตอไม้ มีบรรดาประชาชนทั้งหลายแวดล้อมอยู่เป็นส่วนมาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังจะแสดงพระสัทธรรมเทศนา ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บังเกิดมีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้นั่งลงตั้งใจจะฟังองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์แสดงธรรม แต่ทว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ควรจะนึกถึงความเป็นจริง เขาทั้งหลายเหล่านั้นทั้งชายและหญิง เป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาปกติ มีฐานะดี แต่ทว่าชายผู้เป็นโรคเรื้อนคนนี้เป็นโรคเรื้อนด้วยแล้วก็เป็นขอทาน ไม่กล้าที่จะเข้าไปนั่งปะปนกับชาวบ้านเพราะเกรงว่าเขาจะรังเกียจ จึงได้นั่งอยู่ท้ายปลายสุดของบรรดาบริษัทที่รับฟังพระธรรมเทศนา นั่งห่าง ๆ เขา
เวลานั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมกล่าวถึงโทษของการละเมิดศีล 5 กล่าวถึงคุณการปฏิบัติในศีล 5 เป็นต้น โดยองค์สมเด็จพระทศพลเทศน์มีใจความว่า บุคคลที่จะมีความสุขได้ ก็ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีใจร้าย นั่นก็คือ
1. ไม่ทำลายชีวิตสัตว์และไม่ทำลายชีวิตคน เพราะสัตว์ก็ดี คนก็ดี ย่อมมีการรักชีวิตรักร่างกายของตน มีสภาวะเสมอกัน เหตุฉะนั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์จึงทรงแนะนำให้ทุกคนมีเมตตาความรักซึ่งกันและกัน มีกรุณาความสงสารซึ่งกันและกัน ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน
และประการที่ 2 ไม่ยื้อแย่งทรัพย์ของบุคคลอื่นมาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม
และก็ประการที่ 3 ไม่ยื้อแย่งคนรักของบุคคลอื่นมาครอบครอง โดยที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต
ประการที่ 4 องค์สมเด็จพระโลกนาถตรัสว่า ควรจะพูดแต่ความจริง เพราะคนทุกคนรักความจริง
ประการที่ 5 สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสว่า ไม่ควรดื่มสุราและเมรัย เพราะเป็นฐานะที่ตั้งแห่งความประมาท
แล้วองค์สมเด็จพระโลกนาถก็ทรงกล่าวแสดงถึงโทษของการละเมิดศีล 5 ว่า บุคคลใดทำปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ประทุษร้างร่างกายเขา ตายจากความเป็นคนก็ไปเกิดเป็นสัตว์นรก แล้วก็มาเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดมาภายหลังก็มาเป็นคน กรรมที่เป็นอกุศลให้ผลยังไม่ถึงที่สุด ก็ตามมาให้ผลในสมัยที่เป็นมนุษย์ นั่นก็คือมีร่างกายมีการป่วยไข้ไม่สบายบ้าง มีร่างกายทุพลภาพบ้าง มีชีวิตสั้นพลันตายบ้าง เป็นต้น
หลังจากนั้น องค์สมเด็จพระทศพลก็ทรงตรัสโทษของอทินนาทานว่า คนที่ทำอทินนาทาน คนประเภทนี้เกิดมาเป็นคนก็จะพบกับการถูกล้างผลาญทรัพย์สมบัติ คือไฟไหม้ทรัพย์สมบัติบ้าง น้ำท่วมบ้าง ลมพัดให้สมบัติสลายตัวบ้าง ถูกโจรลักบ้าง
โทษของกาเมสุมิจฉาจาร ก็เป็นปัจจัยให้คนทั้งหลายเหล่านั้นมีชีวิตไม่เป็นสุข คือคนในครอบครัวหรือในบังคับบัญชาว่ายากสอนยาก เป็นการขื่นขมระทมใจ
โทษมุสาวาท เป็นปัจจัยให้ไม่มีใครเชื่อฟัง ถึงแม้จะพูดวาจาจริง
ข้อที่ 5 องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงตรัสว่า ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว คือผ่านนรก เปรต อสุรกาย มาแล้วอย่างนี้ องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า โทษการดื่มสุราและเมรัย จะต้องกลายเป็นคนเป็นโรคเส้นประสาทบ้าง เป็นคนบ้าบ้าง
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวถึงโทษการละเมิดศีล 5 คือปัญจเวร แล้วต่อไปสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็กล่าวถึง คุณการปฏิบัติในศีล 5 ประการครบถ้วนว่า
ศีลข้อที่ 1 คนรักษาได้ด้วยเมตตา ถ้าเกิดมาภายหลังจะมีโรคภัยไข้เจ็บเล็กน้อย มีชีวิตมีอายุขัย ร่างกายสะสวยงดงาม ร่างกายดีเป็นปกติ
ศีลข้อที่ 2 ถ้ารักษาได้ ทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่มีอยู่จะไม่สลายตัว เพราะไฟไหม้ 1 น้ำท่วม 1 ลมพัด 1 โจรผู้ร้ายไม่รบกวน 1
ศีลข้อที่ 3 พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ถ้าทรงไว้ได้ คนใต้บังคับบัญชาจะว่านอนสอนง่าย อยู่ในโอวาท
ศีลข้อที่ 4 องค์สมเด็จพระโลกนาถกล่าวว่า สัจวาจาที่กล่าวไว้ในชาติก่อน ๆ นั้นไซร้ จะเป็นปัจจัยให้เกิดมาในชาติหลัง มีวาจาเป็นที่รักของบุคคลผู้รับฟัง
ศีลข้อที่ 5 องค์สมเด็จพระศาสดากล่าวว่า ถ้ารักษาได้ เกิดมาภายหลังจะเป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีปัญญาดี
เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ก็ลงท้ายศีลว่า สีเลน สุคติง ยันติ บุคคลใดมีศีลบริสุทธิ์ เกิดในสมัยที่เป็นมนุษย์ก็มีความสุข ตายไปแล้วก็มีความสุข มีสวรรค์เป็นที่ไป
ข้อที่ 2 องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวว่า สีเลน โภคสัมปทา บุคคลใดปฏิบัติในศีลได้นี้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่นี้ สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า มีทรัพย์สมบูรณ์แบบ คือการจับจ่ายใช้สอยทรัพย์จะมีตามปกติ ทรัพย์ไม่สิ้นเปลือง จะมีความสุขเพราะการปกครองทรัพย์ ตายไปเป็นเทวดาก็มีทิพยสมบัติ มาเป็นคนก็จะเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี เพราะความดีในข้อนี้
ข้อสุดท้ายองค์สมเด็จพระชินสีห์กล่วว่า สีเลน นิพพุติง ยันติ บุคคลใดมีศีลครบถ้วนบริบูรณ์ จะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย
ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสจบ ก็ปรากฎว่าบุคคลผู้รับฟังได้เป็นพระอริยเจ้า เป็นพระโสดาบันบ้าง สกิทาคามีบ้าง อนาคามีบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง สำหรับท่านที่เป็นอรหันต์ก็ขออุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนาทันที แต่ทว่า สุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อนและเป็นยาจกคนนี้ ปรากฎว่าเธอได้เป็นพระโสดาบัน มีความปลื้มใจเป็นอันมาก
เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสจบคนทั้งหลายก็พากันลาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เสด็จกลับพระวิหาร สำหรับท่านสุปพุทธกุฏฐิ ซึ่งเป็นพระโสดาบัน ก็กลับกระท่อมของตน ในตอนกลางคืนได้มาปรารภพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระทศพลว่า
“โอหนอ พระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงไพเราะอย่างยิ่ง ทำให้ท่านบรรดาพุทธบริษัทชายหญิงเข้าถึงความเป็นคนดี แต่ว่าพระธรรมเทศนาที่เราฟังแล้วนี้จับใจมาก เป็นจิตใจให้คิดเห็นว่า ชีวิตของบุคคลเราเกิดมามันต้องตาย เมื่อตายแล้ว ความตายไม่ได้ทำให้จิตใจสลายไปด้วย ช่วยให้คนมีความสุข อาศัยตัวเราที่เป็นโรคเรื้อนและเป็นขอทานในชาตินี้ เห็นจะเป็นเพราะที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงกล่าวว่า เคยทำปาณาติบาตฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทำร้ายร่างกายเขา ร่างกายเราจึงไม่เป็นปกติ มีเชื้อโรคเรื้อนประจำกาย ที่มีทรัพย์สินไม่พอกินไม่พอใช้ต้องขอทานเขากิน เห็นจะเป็นโทษอทินนาทาน แต่ทว่าเวลานี้ สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสอนเราให้เข้าใจถึงความเป็นจริง ฉะนั้น พระพุทธศาสนา มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ทั้ง 3 ประการ เป็นที่เคารพสักการะของจิตใจของเราเป็นอย่างยิ่ง”
เป็นอันว่าสุปพุทธกุฏฐิฟังเทศน์แล้ว ก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าด้วย เลื่อมใสในพระธรรมด้วย เลื่อมใสในบรรดาพระอริยสงฆ์ทั้งหลายด้วย และจิตใจของเธอคิดไว้ว่า นับตั้งแต่บัดนี้ไปจนกว่าจะตาย จะมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นก็ตามที เรานี้จะไม่ยอมละเมิดศีล 5 เป็นอันขาด องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถกล่าวในข้อท้ายว่า สีเลน นิพพุติง ยันติ คือกล่าวว่า การทรงศีลบริสุทธิ์เป็นปัจจัยให้เข้าถึงนิพพานโดยง่าย ฉะนั้น ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสแล้ว เราจะรักษาด้วยดี เราต้องการพระนิพพาน
รวมความว่า ท่านมีความรู้ตัวว่าท่านนี้ต้องการพระนิพพาน ท่านเองท่านเป็นพระโสดาบัน ท่านก็ทราบ
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท จงจำให้ดีว่า การฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระชินสีห์นั้น เขาก็คิดไปด้วย หาเหตุหาผล เมื่อได้เหตุได้ผลก็ตั้งใจของตนให้ตรงตามความเป็นจริง ตามธรรม ปฏิบัติตามนั้น ทรงอารมณ์ตามนั้น
สำหรับท่านสุปพุทธกุฏฐินี่ท่านเป็นขอทาน ก็คิดว่าเป็นคนที่ชาวบ้านเขาเหยียดหยามว่าเป็นคนชั้นต่ำ เป็นคนมีทรัพย์สินน้อย แล้วประการที่สอง ท่านเป็นโรคเรื้อน เป็นโรคที่น่ารังเกียจ แต่ทว่าความเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้เลือกบุคคล ไม่ใช่ว่าต้องเป็นบุคคลที่มีฐานะดี มีร่างกายดี มีความรู้ดี มีความสามารถดีเป็นพิเศษ มีศักดิ์ศรีดี จึงจะเป็นพระอริยเจ้าได้ ความเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้เลือกบุคคล เลือกใจคน
รวมความว่า ท่านสุปพุทธกุฏฐิท่านถึงความเป็นคนทรงคุณธรรม 3 ประการได้ครบถ้วน ก็คือ
ในข้อแรก มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์ นี่เป็นปัจจัยตัวที่หนึ่งให้เป็นพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามี
จำไว้ให้ดีนะว่า คนที่จะเป็นพระโสดาบันหรือพระสกิทาคามีน่ะ เขาทรงคุณธรรมตามนี้ ที่เรียกกันว่าองค์ของพระโสดาบัน ท่านที่เป็นพระโสดาบันนั้น มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม พระสงฆ์ ด้วยจริงใจ
ประการที่สอง ทรงศีล 5 บริสุทธิ์
แล้วก็ประการที่สาม จิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ นึกอย่างเดียวว่า เราตายชาตินี้ขอไปนิพพาน การทำความดีทุกอย่างเราทำเพื่อพระนิพพานอย่างเดียว อย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามี
ถ้าใครทำใจได้อย่างนี้ ปฏิบัติได้ตามนี้ละก็ ทุกคนเป็นพระโสดาบันก็ได้ เป็นพระสกิทาคามีก็ได้ ใจความสำคัญในตอนนี้มีเท่านี้
ต่อไปตอนกลางคืน ท่านสุปพุทธะได้มาพิจารณาความดีที่ท่านได้ในคราวนี้ว่า ท่านเป็นพระโสดาบันเพราะพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมา-สัมพุทธเจ้าแท้ ๆ ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้า ทรงมีคุณแก่ท่านอย่างยิ่ง แต่ก็คิดในใจว่า เวลานี้ สมเด็จพระชินสีห์ทรงทราบหรือเปล่าว่าท่านเป็นพระโสดาบัน
แต่ความจริงใครจะเป็นอะไร พระพุทธเจ้าทรงทราบเสมอ ทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณ แต่ทว่า ท่านสุปพุทธกุฏฐิ ท่านเพิ่งจะเป็นพระโสดาบัน ท่านเพิ่งจะพบพระพุทธเจ้าใหม่ ๆ จึงไม่มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า พระพุทธเจ้าจะทราบหรือไม่ทราบ จึงได้นอนคำนึง คืนนั้นทั้งคืนท่านนอนไม่หลับ เพราะความปลื้มใจ มีความอิ่มใจในความเป็นพระโสดาบัน ท่านจึงได้คิดในใจว่า 1. เราเป็นขอทานด้วย แล้วก็ประการที่ 2. เราก็เป็นคนเป็นโรคเรื้อน ถ้าสมเด็จพระมหามุนีทรงทราบว่าเราเป็นพระโสดาบันจะทรงดีพระทัยมาก จึงอยากจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะทูลให้ทรงทราบว่า ท่านเองได้เป็นพระโสดาบัน คืนนั้นจึงนอนไม่หลับ
ตอนเช้ารีบกินข้าวแต่เช้า หุงข้าวกิน กับข้าวก็ไม่มีอะไรมาก จัดแจงแต่งกายอย่างดีที่สุดของขอทาน ออกจากบ้านตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จะกราบทูลให้ทรงทราบว่าตัวเองเป็นพระโสดาบัน ทั้งนี้เพราะอาศัยธรรมปีติล้นกำลังใจ
เวลานั้น ท้าวโกสีย์สักกเทวราช คือพระอินทร์อยู่บนวิมาน นั่งอยู่ที่บนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ทรงทราบว่า เวลานี้สุปพุทธกุฏฐิจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ตั้งใจจะกราบทูลให้ทรงทราบว่าเป็นพระโสดาบัน ถ้ากระไรก็ดี วันนี้เราจะลองใจสุปพุทธกุฏฐิดู ว่ามีความเคารพในองค์พระบรมครู จะเป็นพระโสดาบันจริงหรือเปล่า คิดแล้วท่านจึงได้เหาะมาลอยอยู่ในอากาศ ใกล้ข้างหน้า คือไม่สูงกว่าศรีษะของสุปพุทธกุฏฐิเท่าไร จึงได้ตรัสถามว่า “สุปพุทธกุฏฐิ เธอจะไปไหน”
ท่านสุปพุทธกุฏฐิ เห็นท้าวโกสีย์สักกเทวราชลอยอยู่ใกล้ ๆ จึงได้กล่าวว่า “ท้าวโกสีย์ เวลานี้เราจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า”
พระอินทร์ท่านจึงได้ถามว่า “ไปเฝ้าทำไม”
ท่านสุปพุทธะก็ตอบว่า “ฉันจะไปกราบทูลองค์สมเด็จพระจอมไตรว่า เวลานี้ ฉันเป็นพระโสดาบันแล้ว”
พระอินทร์ก็เลยแกล้งพูดว่า “เธอน่ะรึ คนอย่างเธอเป็นโรคเรื้อนอย่างนี้ เป็นขอทานอย่างนี้น่ะรึ จะเป็นพระโสดาบัน ฉันไม่เชื่อ” และพระอินทร์ก็กล่าวต่อไปว่า “เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน มาพิสูจน์กัน ไม่ใช่ว่าพิสูจน์ผิดพิสูจน์ถูก เธอทราบไหมว่า เวลานี้เธอเป็นขอทาน”
ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บอกว่า “ฉันเป็นขอทานอาชีพจ้ะ ทำไมฉันจะไม่รู้ ตั้งแต่ออกจากท้องพ่อท้องแม่ฉันก็ขอทานตลอดมา”
พระอินทร์ก็ถามต่อไปว่า “ท่านทราบหรือเปล่าว่า ตัวเองเป็นโรคเรื้อน เป็นโรคที่ชาวบ้านเขารังเกียจ”
สุปพุทธะก็บอกว่า “ไม่น่าจะถาม ไม่น่าจะโง่ ฉันรู้”
แล้วพระอินทร์ก็เลยบอกว่า “สุปพุทธะ ความเป็นคนจนเป็นของไม่ดี ไม่มีความสุขในชีวิต และร่างกายที่ประกอบไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บอย่างนี้ ก็จะมีความทุกข์หนัก เอาอย่างนี้นะ ถ้าหากว่าท่านพูดตามคำเราพูด 3 คำ จะตั้งใจพูดหรือว่าสักแต่ว่าพูดก็ได้ พูดเฉย ๆ เล่น ๆ ก็ได้ ถ้าหากท่านพูดตามคำเราแนะ 3 คำ ละก็ ประการที่ 1 เราจะบันดาลทรัพย์ให้มากมายให้กลายเป็นมหาเศรษฐี ประการที่ 2 โรคเรื้อนนี้ในร่างกายของท่านจะหมดไป จะกลายเป็นคนมีร่างกายสมบูรณ์ และจะมีความสวยสดงดงามมาก”
ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็ดีใจ ถามว่า “จะให้ว่ายังไงล่ะ พระอินทร์ ว่ามาเถอะ ถ้าไม่เกินวิสัยที่ฉันจะพูดได้ ฉันจะพูด”
พระอินทร์ก็บอกว่า “เธอพูดเล่น ๆ ก็ได้นะ ไม่ต้องตั้งใจว่าหรอก ไม่ต้องตั้งใจเอาจริงเอาจัง แค่ว่าตามเรา พูดเล่น ๆ ก็พอ”
ท่านสุปพุทธะก็พร้อมรับ ท่านจึงกล่าวว่า “เธอจงพูดอย่างนี้นะ ว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ เอาแค่นี้ก็แล้วกัน พูดเล่น ๆ ก็ได้ไม่ต้องตั้งใจ”
สุปพุทธะพอฟังเท่านั้นเกิดความไม่พอใจ ชี้หน้าด่าพระอินทร์ทันทีว่า “พระอินทร์ถ่อยจงถอยไป เจ้ามาพูดอะไรตามนั้น สำหรับพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป็นจิตใจที่เราเคารพอย่างยิ่ง เวลานี้กล่าวว่าเราเป็นคนจนนั่นเราจนจริงสำหรับโลกียทรัพย์ แต่อริยทรัพย์ของเราสมบูรณ์บริบูรณ์ เราเป็นพระโสดาบัน ท่านจงถอยไป ไอ้โรคเรื้อนจังไรอย่างนี้ไซร้ มันเป็นกับเรามาตลอดกาลตลอดสมัย เราไม่มีทุกข์ใจ เจ้าสรรหาอะไรมาพูดตามถ้อยคำเลว ๆ ของท่าน จงหลีกไปเดี๋ยวนี้”
รวมความว่า ท่านสุปพุทธะจึงได้ไล่พระอินทร์ไป แต่พระอินทร์ท่านหลีกไปแล้วท่านก็ไม่ไปไหน ท่านย่องไปบ้านสุปพุทธกุฏฐิ
ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็หลีกจากพระอินทร์ไป แล้วก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ตอนนี้ตามพระบาลีท่านไม่ได้บอก เข้าใจว่าจะไปพบพระพุทธเจ้าจริง ๆ แล้วกราบทูลจริง ๆ
สำหรับพระอินทร์ ท่านก็ย้อนหลังมาที่บ้านของสุปพุทธกุฏฐิ มาถึงก็บันดาลแก้วเจ็ดประการให้ตกจากอากาศเต็มบริเวณบ้านสุปพุทธกุฏฐิ เต็มเลยหลังคากระท่อมไป แล้วบันดาลให้ร่างกายของสุปพุทธกุฏฐิหมดจากความเป็นโรคเรื้อน เป็นคนที่มีความสวยสดงดงามตามที่ท่านให้สัญญา แต่ความจริงไม่พูดท่านก็ไม่ว่า ท่านทราบว่าสุปพุทธกุฏฐิเป็นพระโสดาบันจริง ที่ท่านสอบอย่างนี้เพราะว่าพระอินทร์ท่านเป็นพระโสดาบัน ท่านรู้กำลังใจของสุปพุทธกุฏฐิและรู้กำลังใจของบุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน
เมื่อท่านสุปพุทธกุฏฐิกลับมาบ้าน เห็นบ้านหาย บริเวณลานบ้านทั้งหมดสูงกว่าหลังคาเป็นไหน ๆ เต็มไปด้วยแก้วเจ็ดประการ ร่างกายของตนนั้นก็กลายเป็นร่างกายของบุคคลที่มีความสวยสดงดงามอย่างยิ่ง และโรคเรื้อนก็หายไป จึงตกใจคิดว่าไอ้ทรัพย์นี่มันมาจากไหน จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอเป็นพระราชาเวลานั้น กราบทูลว่า “เวลานี้ทรัพย์ของพระองค์ ทรัพย์ของแผ่นดินเกิดขึ้นในบ้านของข้าพระพุทธเจ้า พระเจ้าข้า”
พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ถามว่า “มีอะไรบ้าง”
ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บอกว่า “มีแก้วเจ็ดประการ มันเต็มไปหมดเต็มบริเวณพื้นที่บ้านทั้งหมด สูงเกือบจะเท่ายอดตาล”
พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ถามว่า “ต้องการภาชนะเท่าไรจึงจะขนพอ”
ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บอกว่า “ประมาณ 500 เล่มเกวียน จึงจะขนพอพระเจ้าข้า”
พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้ให้คนนำเกวียนประมาณ 500 เล่มเกวียนเศษ ขนแก้วเจ็ดประการมากองที่พระลานหลวง แล้วประกาศให้คนมาดูกัน ถามว่า “เวลานี้ทรัพย์ใหญ่เกิดขึ้นแล้วแก่หลวง ใครมีสมบัติเท่านี้บ้าง”
เศรษฐีทั้งหลายก็บอกว่า “แก้วเจ็ดประการ อย่าว่าแต่มีเท่านี้เลย 1 ทะนานมันยังหาได้ยาก”
ฉะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงแต่งตั้งให้สุปพุทธเป็นมหาเศรษฐี ให้เศวตฉัตร 3 ชั้น ให้ข้าทาสหญิงชาย 100 ให้ช้าง 100 ม้า 100 โค 100 กระบือ 100 ข้าทาสหญิง 100 ชาย 100 มีบ้านส่วยสำหรับเก็บภาษี 100 หลัง
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ที่เล่ามานี้ต้องการให้บรรดาท่านพุทธบริษัททราบว่า การฟังเทศน์นะอย่าฟังกันเฉย ๆ ในสมัยโบราณน่ะท่านไม่ได้ฟังเฉย ๆ ท่านฟังแล้วต้องคิด ต้องตั้งใจปฏิบัติตามไปด้วย จึงช่วยให้คนเป็นพระอริยเจ้ากันง่าย ๆ
สำหรับการเป็นพระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี ทั้งสองประการนี้ไม่ใช่ของสูงของเลิศประเสริฐ คิดว่าเราจะทำไม่ได้ ถ้าจะเรียกกันไป พระโสดาบันกับพระสกิทาคามีก็เป็นเรื่องของชาวบ้านชั้นดีนั่นเอง ไม่มีอะไรมาก แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกพระแล้วนะ ผู้หญิงก็ตาม ผู้ชายก็ตามที่ไม่ได้บวชพระ ไม่ได้บวชเณร ถ้าเป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกว่าพระ เพราะว่าเป็นพระแท้
สำหรับคนที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ที่ยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน ท่านเรียกว่าสมมุติสงฆ์ เพราะว่าเป็นสงฆ์สมมุติ ไม่ใช่สงฆ์แท้ ความเป็นพระแท้ของความเป็นพระ ก็เริ่มต้นตั้งแต่พระโสดาบัน อย่างที่ท่านเรียกนางวิสาขา หรืออนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านเรียกนางวิสาขาว่าพระโสดาบัน เรียกอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่าพระโสดาบัน อันนี้เป็นพระแท้ ๆ
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท จงจำไว้ว่า ความเป็นพระโสดาบันเขาเรียกว่า องค์ของพระโสดาบัน เราไม่ต้องพูดถึงสังโยชน์ สังโยชน์ฟังกันแล้วลำบากใจ จำไว้แต่เพียงว่า ความเป็นพระโสดาบันมีทรงคุณธรรม 3 ประการ จำไว้ให้ดี เป็นของไม่ยาก คือ
1. มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง พระสงฆ์นี่เลือกเอาพระอริยสงฆ์นะ เพราะถ้าไม่ใช่พระอริยะ แกก็ไม่ค่อยแน่นักหรอก ดีไม่ดีแกก็เลวกว่าชาวบ้านเขาก็มี
2. งดการละเมิดศีล 5 โดยเด็ดขาด เรียกว่า รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ศีล 5 ประการนี้ รักษาโดยเด็ดขาด
3. จิตใจของพระโสดาบันมุ่งอย่างเดียวคือนิพพาน ขึ้นชื่อว่าทำความดีตั้งแต่ฟังเทศน์ปฎิบัติธรรม ลงไปถึงเทกระโถน ล้างส้วม ตั้งใจอย่างเดียว เราทำเพราะเมตตาปราณีแก่บุคคลทั้งหลาย ความดีนี่ไม่ต้องการตอบแทนจากบุคคลผู้ใด เราต้องการอย่างเดียว ทำเพื่อผลของพระนิพพาน เพียงเท่านี้เขาเรียกกันว่า พระโสดาบัน
เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตามที่เล่ามาในเรื่องสุปพุทธกุฏฐิ ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้

**************

ขอบคุณที่มาจาก http://www.kaskaew.com

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
:b12:
โรคที่เป็นกันมานานมากเป็นแสนโกฏิกัปป์กัลป์และเป็นกันหนักมากๆคือโรคไม่รู้ไงคะถึงยังเกิดอยู่ไง...อิอิอิ
:b32: :b32:


ก็คุมกำเนิดดิถ้าไม่ยากเกิด :b32: ปัจจุบันมีวิธีป้องกันเยอะแยะ

ที่เกิดมาแล้วก็ปฏิบัติให้ถึงนิพพาน คือ ดับกิเลสได้ แต่ก็อีกแหละสำนักแม่สุจินบอกไม่ต้องปฏิบัติมันมีอยู่แล้วว่า คิกๆๆ

มันขัดกันหมดขอรับโผม

สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรปิดลานเถอะ :b32:

:b32:
โรคเห็นผิดคือทิฏฐิวิปลาส
เห็นผิดเลยจำผิดเป็นสัญญาวิปลาส
พอทิฏฐิวิปลาส+สัญญาวิปลาสจึงเท่ากับมีจิตวิปลาส
วิปลาส3อยู่ครบเดี๋ยวนี้มีแล้วแค่กระพริบตายังไม่ทำอะไรก็จิตวิปลาส
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 12:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
:b12:
โรคที่เป็นกันมานานมากเป็นแสนโกฏิกัปป์กัลป์และเป็นกันหนักมากๆคือโรคไม่รู้ไงคะถึงยังเกิดอยู่ไง...อิอิอิ
:b32: :b32:



:b32:
โรคเห็นผิดคือทิฏฐิวิปลาส
เห็นผิดเลยจำผิดเป็นสัญญาวิปลาส
พอทิฏฐิวิปลาส+สัญญาวิปลาสจึงเท่ากับมีจิตวิปลาส
วิปลาส3อยู่ครบเดี๋ยวนี้มีแล้วแค่กระพริบตายังไม่ทำอะไรก็จิตวิปลาส
:b32: :b32:



:b32: :b32: :b32: ไม่มีคนคุยด้วยเลยมาเรียกร้องความสนใจ :b32: :b32: :b32: น่าสงสารๆ
อันนี้ก็โรคทางใจอีกโรค :b32: :b32: :b32:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 105 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร