วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 11:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

โทษ ๙ ประการของผ้าสาฎก

Quote Tipitaka:
ด้วยบทว่า นวโทสมุปาคตํ นี้ ท่านแสดงว่า เราเมื่อจะละทิ้งผ้า
สาฎก เพราะได้เห็นโทษ ๙ ประการ จึงได้ละทิ้งไปเสีย. จริงอยู่ สำหรับ
ผู้บวชเป็นดาบส โทษ ๙ ประการย่อมปรากฏในผ้าสาฎก คือความเป็น
ของมีค่ามาก เป็นโทษอันหนึ่ง, เกิดขึ้นเพราะเกี่ยวเนื่องกับคนอื่น เป็น

โทษอันหนึ่ง, เศร้าหมองเร็วเพราะการใช้สอย เป็นโทษอันหนึ่ง, เพราะ
ว่าผ้าสาฎกเศร้าหมองแล้ว จะต้องซักต้องย้อม. การที่เก่าไปเพราะการ
ใช้สอย เป็นโทษอันหนึ่ง, จริงอยู่ สำหรับผ้าที่เก่าแล้ว จะต้องทำการ
ชุนหรือทำการปะผ้า. แสวงหาใหม่กว่าจะได้ก็แสนยาก เป็นโทษอันหนึ่ง,

ไม่เหมาะสมแก่การบวชเป็นดาบส เป็นโทษอันหนึ่ง, เป็นของทั่วไปแก่
ศัตรู เป็นโทษอันหนึ่ง, เพราะว่า จะต้องคุ้มครองไว้โดยประการที่ศัตรู
จะถือเอาไปไม่ได้. การอยู่ในฐานะเป็นเครื่องประดับของผู้ใช้สอย เป็น
โทษอันหนึ่ง, เป็นความมักมากในของใช้ประจำตัวสำหรับผู้ถือเที่ยวไป
เป็นโทษอันหนึ่ง.

บทว่า วากจีรํ นิวาเสสึ ความว่า ดูก่อนสารีบุตร ในครั้งนั้น
เราเห็นโทษ ๙ ประการเหล่านี้ จึงละทิ้งผ้าสาฎกแล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้
คือถือเอาผ้าเปลือกไม้ซึ่งเอาหญ้ามุงกระต่ายมาทำให้เป็นชิ้น ๆ แล้วถักทำ
ขึ้น เพื่อต้องการใช้เป็นผ้านุ่งและผ้าห่ม.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อานิสงส์ผ้าเปลือกไม้ ๑๒ ข้อ

Quote Tipitaka:
บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ แปลว่า ประกอบด้วยอานิสงส์ ๑๒
ประการ. จริงอยู่ ผ้าเปลือกไม้ มีอานิสงส์ ๑๒ ประการ คือ
ข้อว่า มีราคาถูก ดี สมควร นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ก่อน
ข้อว่า สามารถทำด้วยมือของตนเองได้ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒
ข้อที่ว่า จะค่อย ๆ สกปรกเพราะการใช้สอย แม้เมื่อจะซักก็ไม่
เนิ่นช้าเสียเวลา นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓

แม้เมื่อเก่าก็ไม่มีการจะต้องเย็บ เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔
เมื่อแสวงหาใหม่ก็กระทำได้ง่าย เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕
เหมาะสมแก่การบวชเป็นดาบส เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๖
พวกศัตรูไม่ต้องการใช้สอย เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๗
ไม่อยู่ในฐานะเป็นเครื่องประดับสำหรับผู้ใช้สอย เป็นอานิสงส์
ข้อที่ ๘

ในเวลาครองเป็นของเบา เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๙
ความเป็นผู้มักน้อยในปัจจัยคือจีวร เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๐
การเกิดขึ้นแห่งผ้าเปลือกไม้เป็นของชอบธรรมและไม่มีโทษ เป็น
อานิสงส์ข้อที่ ๑๑
เมื่อผ้าเปลือกไม้หายไปก็ไม่เสียดาย เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๒.


หรือผ้าอะไรก็ได้ที่คล้ายคือกัน มานุ่งห่ม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

การอยู่โคนไม้มีคุณ ๑๐ ประการนี้

Quote Tipitaka:
มีความริเริ่มน้อย เป็นคุณข้อที่ ๑ เพราะเพียงแต่เข้าไปเท่านั้น
ก็อยู่ที่นั้นได้.
การปฏิบัติรักษาน้อย เป็นคุณข้อที่ ๒ เพราะโคนไม้นั้น จะ
กวาดหรือไม่กวาดก็ตาม ก็ใช้สอยได้สบายเหมือนกัน.
การที่ไม่ต้องถูกปลุกให้ลุกขึ้น เป็นคุณข้อที่ ๓.
ไม่ปกปิดข้อครหา เมื่อจะทำชั่วที่โคนไม้นั้นย่อมละอายใจ เพราะ
เหตุนั้น การปกปิดข้อครหาไม่ได้ เป็นคุณข้อที่ ๔.

ไม่ทำร่างกายให้อึดอัด เหมือนกับอยู่กลางแจ้ง เพราะเหตุนั้น
การที่ร่างกายไม่อึดอัด เป็นคุณข้อที่ ๕.
ไม่มีการต้องทำความหวงแหนไว้ เป็นคุณข้อที่ ๖.
ห้ามความอาลัยว่าเป็นบ้านเรือนเสียได้ เป็นคุณข้อที่ ๗.
ไม่มีการไล่ไปด้วยคำว่า เราจักปัดกวาดเช็ดถูที่นั้น พวกท่านจง
ออกไป เหมือนดังในบ้านเรือนอันทั่วไปแก่คนจำนวนมาก เป็นคุณ
ข้อที่ ๘.

ผู้อยู่ก็มีความปีติอิ่มเอิบใจ เป็นคุณข้อที่ ๙.
การไม่มีความห่วงใย เพราะเสนาสนะคือโคนไม้หาได้ง่ายในที่
ที่ผ่านไป เป็นคุณข้อที่ ๑๐.
พระมหาสัตว์เห็นคุณ ๑๐ ประการเหล่านี้ จึงกล่าวว่า เราเข้าหา
โคนไม้ ดังนี้.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ใน ๕ ประการนั้น พระโพธิสัตว์จะตรวจดูกาลข้อแรกว่า เป็น
กาลสมควรหรือกาลไม่สมควร. ในเรื่องกาลนั้น กาลแห่งอายุที่เจริญเกิน
กว่าแสนปี ชื่อว่าเป็นกาลไม่สมควร. เพราะเหตุไร ? เพราะว่า ในกาล
นั้น ชาติ ชรา และมรณะของสัตว์ทั้งหลายไม่ปรากฏ และพระธรรม-
เทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ย่อมไม่มี เมื่อ
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พวกเขาจะคิดว่า
พระองค์ตรัสข้อนี้ชื่ออะไร จึงย่อมไม่เห็นสำคัญว่า จะควรฟัง และควร
เชื่อ แต่นั้น การตรัสรู้มรรคผลก็จะมีไม่ได้ เมื่อไม่มีการตรัสรู้มรรคผล

ศาสนาคือคำสอนจะไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. เพราะฉะนั้น กาลนั้น
จึงเป็นกาลไม่สมควร. แม้กาลแห่งอายุหย่อนกว่าร้อยปี ก็ชื่อว่าเป็นกาล
ไม่สมควร เพราะเหตุไร ? เพราะว่าในกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนา
และโอวาทที่ให้แก่สัตว์ผู้มีกิเลสหนา ย่อมไม่ตั้งอยู่ในฐานเป็นโอวาท จะ
ปราศจากไปเร็วพลัน เหมือนรอยไม้ขีดในน้ำ เพราะฉะนั้น แม้กาลนั้น
ก็เป็นกาลไม่สมควร. กาลแห่งอายุตั้งแต่แสนปีลงมา และตั้งแต่ร้อยปีขึ้น
ไป ชื่อว่าเป็นกาลสมควร และกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งอายุร้อยปี ลำดับนั้น
พระมหาสัตว์ก็มองเห็นกาลว่า เป็นกาลที่ควรบังเกิด.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2019, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ในบทว่า พุทฺโธ พระพุทธเจ้า นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงหยั่งเห็นสิ่งทั้งปวง.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ไม่มีคนอื่นแนะนำ.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะสิ้นอาสวะแล้ว.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะปราศจากอุปกิเลส.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะการถือบวช.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าไม่เป็นที่สอง.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าละตัณหาได้.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะเสด็จดำเนินทางเป็นที่ไปอันเอก.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะพระองค์เดียวตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยม.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงได้เฉพาะความรู้ เป็นเหตุกำจัด
ความไม่รู้เสียได้.
บททั้งสามคือ พุทฺธิ พุทฺธํ โพโธ นี้ ไม่มีความแตกต่างกัน. ผ้า
เขาเรียกว่า ผ้าเขียว ผ้าแดง เพราะประกอบด้วยสีเขียวเป็นต้น ฉันใด.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า
ฉันนั้น.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
มิตรนั้นมี ๒ พวก คือ อคาริยมิตร และ อนคาริยมิตร.

บรรดามิตร ๒ พวกนั้น อคาริยมิตรมี ๓ คือ มิตรมีอุปการะ ๑
มิตรร่วมสุขและร่วมทุกข์ ๑ มิตรผู้มีความเอ็นดู ๑. อนคาริยมิตร โดย
พิเศษเป็นแต่ผู้บอกประโยชน์ให้เท่านั้น. มิตรเหล่านั้นเป็นผู้ประกอบด้วย
องค์ ๔ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนคฤหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี มีอุปการะโดย
สถาน ๔ คือ ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ ป้องกันทรัพย์
สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อเพื่อนมีภัย เป็นที่พึ่ง
พำนักได้ ๑ เมื่อกิจจำต้องทำเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเพิ่มโภคทรัพย์
ให้สองเท่าของจำนวนนั้น ๑
อนึ่ง เหมือนอย่างที่ตรัสว่า :-

ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี เป็นผู้ร่วมสุข
และร่วมทุกข์โดยสถาน ๔ คือบอกความลับของตนแก่เพื่อน ๑
ปกปิดความลับของเพื่อน ๑ ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑ แม้
ชีวิตก็ย่อมสละให้เพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑
อนึ่ง เหมือนอย่างที่ตรัสว่า :-
ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี ผู้มีความรักใคร่
โดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีเพราะความเสื่อมเสียของเพื่อน ๑
ยินดีเพราะความเจริญของเพื่อน ๑ ห้ามคนผู้กล่าวโทษของ
เพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่กล่าวสรรเสริญเพื่อน ๑
อนึ่ง เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี ผู้แนะประโยชน์
ให้โดยสถาน ๔ คือห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความ
ดีงาม ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์
ให้ ๑.
บรรดามิตร ๒ พวกนั้น ในที่นี้ประสงค์เอาอคาริยมิตร แต่โดย
ความ ย่อมรวมเอามิตรแม้ทั้งหมด. บทว่า มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน
ได้แก่ เอ็นดูมิตรสหายเหล่านั้น คือต้องการนำสุขเข้าไปให้มิตรเหล่านั้น
และต้องการบำบัดทุกข์ออกไป.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
เข้าไปหาหญิงผู้เป็นนางสนมผู้ประดับตกแต่ง เมื่อนางกล่าวคำมีอาทิว่า
ข้าแต่พระลูกเจ้า นางฟ้าเหล่านั้นชื่อเป็นเช่นไร ท่านประพฤติพรหมจรรย์
เพราะเหตุแห่งนางฟ้าเหล่านั้นหรือดังนี้แล้ว เมื่อนางสนมนั้นเริ่มเพื่อทำ
กรรมคือการประเล้าประโลม จึงได้เปลี่ยนแปลงความประสงค์เช่นนั้น
แสดงธรรมอันเกี่ยวด้วยอนิจจลักษณะเป็นต้น จึงได้กล่าวคาถเหล่านี้ว่า

เชิญดูอัตภาพอันธรรมดาตกแต่งให้วิจิตร มีกายเป็นแผล
อันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว กระสับกระส่าย คนพาล
พากันดำริหวังมาก อันไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น
เชิญดูรูปอันปัจจัยกระทำให้วิจิตรด้วยตุ้มหูอันสำเร็จด้วย
แก้วมณี หุ้มด้วยหนังมีร่างกระดูกอยู่ภายใน. งามพร้อม
ไปด้วยผ้าต่าง ๆ.

มีเท้าทั้งสองอันฉาบทาด้วยครั่งสด มีหน้าอันไล้ทาด้วย
จุณ สามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้ แต่ไม่สามารถทำให้
ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง.
ผมทั้งหลาย อันบุคคลตบแต่งเป็นลอนคลุมด้วยตาข่าย
นัยน์ตาทั้งสองอันหยอดด้วยยาตา สามารถทำให้คนพาล
ลุ่มหลงได้ แต่ไม่สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง.

กายอันเปื่อยเน่าอันบุคคลตบแต่งแล้ว เหมือนกล่องยาตา
ใหม่ ๆ วิจิตรด้วยลวดลายต่าง ๆ สามารถทำให้คนพาล
ลุ่มหลงได้ แต่ไม่สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง.
นายพรานเนื้อดักบ่วงไว้ แต่เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อนายพราน
เนื้อคร่ำครวญอยู่ พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อแล้วหนีไป.
บ่วงของนายพรานขาดไปแล้ว เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อ
นายพรานเศร้าโศกอยู่ พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อแล้วหนีไป(๑).


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อากาศ. ลำดับนั้น พระ-
เจ้าโกรพยะทรงทราบว่าพระเถระนั่งในที่นั้น จึงเสด็จเข้าไปหาท่านให้
ระลึกด้วยสัมโทนียกถาและสารณียกถาแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านรัฐปาละ
ผู้เจริญ ท่านบวชในพระศาสนานี้ ถึงความเสื่อมเพราะพยาธิหรือ หรือ
เสื่อมเพราะชราโภคะและญาติ จึงบวช ก็ท่านไม่ถึงความเสื่อมอะไร ๆ แล
แต่เหตุไฉนจึงบวชเล่า. ลำดับนั้น พระเถระได้แสดงภาวะที่ตนทราบ

ถึงธรรมุเทศ ๔ ข้อเหล่านี้แก่พระราชา คือโลกอันชราน้อมเข้าไปใกล้
# ๑. ม.ม. ๑๓/ข้อ ๔๓๙.
ไม่ยั่งยืน, โลกไม่มีที่ต้านทานไม่เป็นอิสระ โลกไม่มีที่พึ่ง จำต้องละ
สิ่งทั้งปวงไป โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่อิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา เมื่อ
จะกล่าวตามคติเทศนานั้น จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เราเห็นหมู่มนุษย์ที่มีทรัพย์ในโลกนี้ ได้ทรัพย์แล้วไม่
ให้ทาน เพราะความลุ่มหลง ได้ทรัพย์แล้วทำการสั่งสมไว้
และปรารถนาอยากได้ยิ่งขึ้นไป.
พระราชากดขี่ช่วงชิงเอาแผ่นดิน ครอบครองแผ่นดินอันมี
สาครเป็นที่สุด ตลอดฝั่งสมุทรข้างนี้แล้ว ไม่รู้จักอิ่ม ยัง
ปรารถนาจักครอบครองเฝ้าสมุทรข้างโน้นอีกต่อไป.

พระราชาก็ดี มนุษย์เหล่าอื่นเป็นอันมากก็ดี ผู้ยังไม่
ปราศจากตัณหา ย่อมเข้าถึงความตาย ทั้งยังไม่เต็มความ
ประสงค์ ก็พากันละทิ้งร่างกายไป ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย
ย่อมไม่มีในโลกเลย.
หมู่ญาติพากันสยายผมร้องไห้คร่ำครวญถึงผู้นั้น และ
รำพันว่าทำอย่างไรหนอ พวกญาติของเราจึงจะไม่ตาย ครั้น
พวกญาติตายแล้ว ก็เอาผ้าห่มนำไปเผาเสียที่เชิงตะกอน ผู้ที่
ตายไปนั้นถูกเขาแทงด้วยหลาว เผาด้วยไฟ ละโภคะทั้งหลาย
มีแต่ผ้าผืนเดียวติดตัวไป เมื่อบุคคลจะตาย ย่อมไม่มีญาติ
หรือมิตรสหายช่วยต้านทานได้.

พวกที่รับมรดก ก็มาขนเอาทรัพย์ของผู้ตายนั้นไป ส่วน
สัตว์ที่ตายย่อมไปตามยถากรรม เมื่อตายไม่มีทรัพย์สมบัติ
อะไร ๆ คือพวกบุตร ภริยา ทรัพย์ แว่นแคว้นสิ่งใด ๆ
จะติดตามไปได้เลย.
บุคคลจะอายุยืนเพราะทรัพย์ก็หาไม่. จะละความแก่ไป
แม้เพราะทรัพย์ก็หาไม่ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้น
แลว่า เป็นของน้อยไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.

ทั้งคนมั่งมีและคนยากจน ย่อมถูกต้องผัสสะเหมือนกัน
ทั้งคนพาลและคนฉลาดก็ถูกต้องผัสสะเหมือนกันทั้งนั้น แต่
คนพาลถูกอารมณ์ที่ไม่พอใจเบียดเบียน ย่อมอยู่เป็นทุกข์
เพราะความเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์ถูกผัสสะถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหว.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2019, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
เพราะฉะนั้นแล ปัญญาจึงจัดว่าประเสริฐกว่าทรัพย์ เพราะ
ปัญญาเป็นเหตุให้บรรลุนิพพาน แต่คนพาลไม่ปรารถนาจะ
บรรลุ พากันทำความชั่วต่าง ๆ อยู่ในภพน้อยภพใหญ่เพราะ
ความหลง.
ผู้ใดทำกรรมชั่วเพราะหลงแล้ว ผู้นั้นจะต้องเวียนตาย
เวียนเกิดอยู่ในวัฏสงสารร่ำไป บุคคลผู้มีปัญญาน้อย เมื่อเชื่อ
ต่อการทำของบุคคลผู้ที่ทำกรรมนั้น ก็จะต้องเวียนตายเวียน
เกิดอยู่ร่ำไปเหมือนกัน.

เปรียบเหมือนโจรผู้มีความผิด ถูกจับเพราะโจรกรรมมา
มีตัดช่องเป็นต้น ละไปแล้วย่อมเดือดร้อนในปรโกลเพราะ
กรรมของตนฉะนั้น.
ฉะนั้น กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลก ๆ ดูก่อนมหาบพิตร เพราะ
อาตมภาพได้เห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงออกบวช.

มาณพทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ ย่อมตกไปเพราะร่างกาย
แตกเหมือนผลไม้หล่นฉะนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพ
เห็นความไม่เที่ยงแม้ข้อนี้ ความเป็นสมณะอันไม่ผิดนั้นแล
ประเสริฐ
อาตมภาพออกบวชด้วยศรัทธา เข้าถึงการปฏิบัติชอบ
ในศาสนาของพระชินเจ้า บรรพชาของอาตมภาพไม่มีโทษ
อาตมภาพไม่เป็นหนี้บริโภคโภชนะ อาตมภาพเห็นกาม
ทั้งหลายโดยความเป็นของอันไฟติดทั่วแล้ว เห็นทองทั้งหลาย
โดยความเป็นดังศาสตรา เห็นทุกข์จำเดิมแต่ก้าวลงสู่ครรภ์
เห็นภัยในนรกจึงออกบวช.

อาตมภาพเห็นโทษอย่างนี้แล้ว ได้ความสังเวชในกาล
นั้น ในกาลนั้นอาตมภาพเป็นผู้ถูกลูกศร คือราคะเป็นต้น
แทงแล้ว บัดนี้บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว(๑).


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้. คำว่า กัป ในคำว่า
กปฺเป นั้น มี ๔ อย่างเท่านั้นคือ สารกัป วรกัป มัณฑกัป และภัททกัป. ใน
บรรดากัปทั้ง ๔ อย่างนั้น พระพุทธเจ้าองค์เดียว ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด
กัปนี้ชื่อว่า สารกัป. พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์หรือ ๓ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น

ในกัปใด กัปนี้ชื่อว่า วรกัป. พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด
กัปนี้ชื่อว่า มัณฑกัป. พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด กัปนี้
ชื่อว่า ภัททกัป. แต่ในที่อื่นท่านกล่าวกัปไว้ ๕ อย่าง อย่างนี้คือ:-

กัปมี ๕ อย่างคือ สารกัป มัณฑกัป สาร-
มัณฑกัป วรกัป และภัททกัป. พระผู้นำโลก
ย่อมทรงอุบัติขึ้น ในบรรดากัปทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้
ตามลำดับคือ:-

พระพุทธเจ้า ๑ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น
ในสารกัป พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ทรงอุบัติ
ขึ้นในมัณฑกัป พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ ทรง
อุบัติขึ้นในสารมัณฑกัป พระพุทธเจ้า ๔ พระ-
องค์ ทรงอุบัติขึ้นในวรกัป พระพุทธเจ้า ๕
พระองค์ ทรงอุบัติขึ้นในภัททกัป.

บรรดาบทเหล่านั้น กัปนี้ได้มีชื่อว่า ภัททกัป เพราะประดับไปด้วย
พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า
พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคดมพุทธเจ้า และพระเมตเตยยพุทธเจ้า. เชื่อม
ความว่า เพราะฉะนั้น พระกัสสปพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงอุบัติขึ้นแล้วใน
ภัททกัปนี้. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้
ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง
ทั้งปวง เป็นของร้อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า
ชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ภิกษุทั้งหลาย จักษุ
เป็นของร้อน รูปทั้งหลายก็เป็นของร้อน วิญญาณ
อาศัยจักษุก็เป็นของร้อน.

จักษุสัมผัสก็เป็นของร้อน ความเสวย
อารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้
อันใด เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข
ก็ แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร
ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือดมหะ
ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และเพราะ
ความตาย เพราะความเศร้าโศก เพราะความคร่ำ-
ครวญเพราะความทุกข์ เพราะความโทมนัส
เพราะความคับแค้นใจ เราจึงกล่าวว่าเป็นของ
ร้อน.

โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายก็เป็น
ของร้อน ฯลฯ ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลาย
ก็เป็นของร้อน ฯลฯ ลิ้นเป็นของร้อน รสก็เป็น
ของร้อน ฯลฯ กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะก็
เป็นของร้อน ฯลฯ ใจเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลาย
ก็เป็นของร้อน

มโนวิญญาณก็เป็นของร้อน มโนสัมผัส
ก็เป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์นี้เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใดเป็นสุขก็ดี
เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี แม้อันนั้น
ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟ
คือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ
ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และ
ความตาย เพราะความเศร้าโศก เพราะความ
คร่ำครวญ เพราะความทุกข์ เพราะความโทมนัส
เพราความคับแค้นใจ เราจึงกล่าวว่าเป็นของ
ร้อนแล.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2019, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้เห็น
ได้ฟังแล้วอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในจักษุ ย่อม
เบื่อหน่ายในรูป ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณที่
อาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายในสัมผัสอาศัยจักษุ
ความเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสแม้
อันใด เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่

สุขก็ดี ย่อมเบื่อหน่ายในความเสวยอารมณ์นั้น
ย่อมเบื่อหน่ายในโสต ย่อมเบื่อหน่ายในกลิ่น ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายในกลิ่น ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายในรส
ทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่าย

แม้ในใจ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในใจ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อยมเบื่อหน่ายแม้
ในมโนสัมผัส ความเสวยอารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขก็ดี เป็น
ทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในความเสวยอารมณ์นั้น เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม
คลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า

หลุดพ้นแล้ว พระอริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจอื่นที่
ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีก เพื่อความเป็น
อย่างนี้ มิได้มีอีกต่อไป ดังนี้.
ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของภิกษุ
๑,๐๐๐ รูปนั้น ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นแล.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พราหมณ์เอ๋ย! พระสุคตมุนีเจ้า ผู้เป็น
พระอรหันต์ในโลก ถูกโรคลมเข้าเบียดเบียน ถ้า
ท่านมีน้ำอุ่นจงถวายแด่พระมุนีเจ้าเถิด การบูชา
แล้วแก่ผู้ควรบูชา การสักการะแล้วแก่ผู้ควร
สักการะ การนอบน้อมแล้วแก่ผู้ควรนอบน้อม
เราปรารถนาเพื่อจะนำน้ำอุ่นไปเพื่อพระมุนีเจ้า
พระองค์นั้น.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2019, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
จักษุ ๕ ประการ

ก็จักษุนั้นมี ๒ อย่างคือ ญาณจักษุและมังสจักษุ. บรรดาจักษุทั้งสอง
นั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่างคือ พุทธจักษุ ธัมมจักษุ สมันตจักษุ ทิพพจักษุ
ปัญญาจักษุ.

บรรดาจักษุทั้ง ๕ นั้น ญาณที่หยั่งรู้อาสยะและอนุสยะ และญาณที่
หยั่งรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ ซึ่งมาในบาลีว่า ทรงตรวจดูโลกด้วย
พระพุทธจักษุ ชื่อว่า พุทธจักษุ.

มรรค ๓ ผล ๓ เบื้องต่ำ ที่มาในบาลีว่า ธรรมจักษุที่ปราศจากกิเลส
ดุจธุลี ปราศจากมลทินเกิดขึ้นแล้วชื่อว่า ธัมมจักษุ. พระสัพพัญญุตญาณที่มา
ในบาลีว่า ข้าแต่พระผู้มีปัญญาดี ผู้มีจักษุโดยรอบ โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทที่
สำเร็จด้วยธรรม ก็อุปมาฉันนั้นเถิด ชื่อว่า สมันตจักษุ.

ญาณที่ประกอบพร้อมด้วยอภิญญาจิตที่เกิดขึ้น ด้วยการเจริญอาโลก-
กสิณสมาบัติ ที่มาในบาลีว่า ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ชื่อว่า ทิพพจักษุ.
ญาณที่มาแล้วว่า ปัญญาจักษุ มีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้นที่มาในบาลีนี้ว่า จักษุ
เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ปัญญาจักษุ.

มังสจักษุเป็นที่อาศัยของประสาท ที่มาในบาลีนี้ว่าอาศัยจักษุและรูปดังนี้
ชื่อว่า มังสจักษุ. ก็มังสจักษุนั้นมี ๒ คือ สสัมภารจักษุ ปสาทจักษุ. บรรดา
จักษุทั้ง ๒ นั้น ชิ้นเนื้อนี้ใด อันชั้นตาทั้งหลายล้อมไว้ในเบ้าตา ในชิ้น

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2019, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เนื้อใด มีส่วนประกอบ ๑๓ ส่วนโดยสังเขป คือ ธาตุ ๔ สี กลิ่น รส โอชะ
สัมภวะ ชีวิต ภาวะ จักษุประสาท กายประสาท แต่โดยพิศดาร มีส่วน
ประกอบ คือ สมุฏฐาน ๔ ที่ชื่อว่า สัมภวะ สมุฏฐาน ๓๖ และ
กัมมสมุฏฐาน ๔ คือ ชีวิต ภาวะ จักษุประสาท กายประสาทอันนี้ ชื่อว่า
สสัมภารจักษุ. จักษุใดตั้งอยู่ในวงกลม "เห็น" [เล็นซ์] ซึ่งถูกวงกลมดำ
อันจำกัดด้วยวงกลมขาวล้อมไว้ เป็นเพียงประสาทสามารถเห็นรูปได้
จักษุนี้ ชื่อว่า ปสาทจักษุ.

ก็จักษุเหล่านี้ทั้งหมด มีอย่างเดียว โดยความไม่เที่ยง โดยมีปัจจัย
ปรุงแต่ง. มี ๒ อย่าง โดยเป็นไปกับอาสวะ และไม่เป็นไปกับอาสวะ, โดย
โลกิยะและโลกุตระ. จักษุมี ๓ อย่าง โดย ภูมิ โดย อุปาทินนติกะ, มี ๔
อย่างโดย เอกันตารมณ์ ปริตตารมณ์ อัปปมาณารมณ์และอนิยตารมณ์. มี
๕ อย่าง คือ รูปารมณ์ นิพพานารมณ์ อรูปารมณ์ สัพพารมณ์และอนารัมม-
ณารมณ์. มี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจพุทธจักษุเป็นต้น จักษุดังกล่าวมาเหล่านี้ มีอยู่
แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงเรียก
ว่า จักขุมา ผู้มีพระจักษุ.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร