วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2013, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พระมูลคันธกุฏี
บนยอดเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์

:b47: :b40: :b47:

เขาคิชฌกูฏ แปลกันว่า เขาหัวแร้ง “พระมูลคันธกุฏี” บนยอดเขาคิชฌกูฏ เป็นสถานที่ประทับจำพรรษาของพระพุทธเจ้าในพรรษาที่ ๓, ๕, ๗ และพรรษาสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน

เขาคิชฌกูฏอยู่ในบริเวณของแคว้นมคธ เป็นหนึ่งใน ๕ เบญจคีรีนคร เพราะแคว้นมคธล้อมรอบด้วยเขา ๕ ลูก ดังนั้น แคว้นมคธจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า คิริวราชา เพราะเมืองนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา ๕ ลูก ล้อมรอบทุกด้าน ภูเขาทั้ง ๕ คือ ๑. เวภาระ ๒. ปัณฑวะ ๓. เวปุลละ ๔. อิสิคิริ ๕. คิชฌกูฏ

ในคัมภีร์มหาภารตะ เรียกชื่อภูเขาทั้ง ๕ ต่างกับคัมภีร์บาลี คือ ๑. ไวภาระ ๒. วลาหะ ๓. วฤศภะ ๔. ฤาษีคิริ ๕. ไชตยากะ ปัจจุบันชาวอินเดียเรียกดังนี้ ๑. ไวภาระ ๒. วิปุลละ ๓. รัตนะ ๔. ฉหัตถะ ๕. ไสละ

ปัจจุบันเขาคิชฌกูฏอยู่ทางทิศใต้ในเขตตำบลราชคีร์ (Rajgir) จังหวัดนาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ใช้เวลาเดินทางไม่มากนัก ก่อนเดินทางไปถึงเขาคิชฌกูฏ จะผ่านสถานที่สำคัญ ๒ แห่ง คือ (๑) ชีวกัมพวัน หรือพระอารามสวนมะม่วง และ (๒) เรือนคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร

ราชคฤห์เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล (ปัจจุบันคือจังหวัดนาลันทา รัฐพิหาร) เป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งและมีอิทธิพลมากแห่งหนึ่ง เป็นเมืองสำหรับการแสวงบุญของชนชาวพุทธ พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ในเมืองนี้หลายครั้ง การกระทำปฐมสังคายนาก็ทำที่เมืองนี้ ปัจจุบันเมืองราชคฤห์ยังมีซากปรักหักพังของโบราณสถานให้เห็นอยู่ เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญในอดีตให้ศึกษากัน เบญจคีรีนครเป็นทิวเขา ๕ ลูก แลดูสวยงามและตระหง่านอยู่ล้อมรอบเมืองราชคฤห์ คือ อิสิคิรี บัณฑวะ คิชฌกูฏ เวภาระ และเวปลละ

ระหว่างทางไปเขาคิชฌกูฏ จะเห็นชีวกัมพวัน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในพระพุทธศาสนา หมอชีวก หรือ “หมอชีวกโกมารภัจจ์” ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก หมอชีวกเป็นบุตรของนางสาลวตี ซึ่งเป็นหญิงนครโสเภณีประจำกรุงราชคฤห์ เมื่อนางคลอดลูกออกมาเป็นชาย ก็ได้นำไปทิ้งยังกองขยะ ต่อมา อภัยราชกุมารไปพบเข้า จึงเก็บนำไปเลี้ยงไว้ในวัง และให้ไปศึกษาวิชาแพทย์ที่เมืองตักสิลา นครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ เมื่อจบออกมาก็เป็นหมอใหญ่ที่มีชื่อเสียงมาก

เขาคิชฌกูฏเป็นภูเขาที่เอียงลาดยาวขึ้นไป ทางขึ้นไม่ลำบาก เมื่อจวนจะถึงยอดเขาก็จะเห็นบริเวณที่พระเทวทัตคิดทำร้ายพระพุทธเจ้า โดยพระเทวทัตแอบขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌกูฏ แล้วงัดก้อนหินใหญ่ลงมา หวังจะปลงพระชนม์พระบรมศาสดา ในขณะเสด็จขึ้นจะไปประทับที่กุฏิวิหารของพระองค์บนยอดเขา แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายพระบรมศาสดาได้ เป็นแต่เพียงสะเก็ดหินได้กระเด็นไปกระทบพระบาทจนห้อพระโลหิต นายแพทย์ใหญ่ชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระองค์พระพุทธเจ้า ก็ถวายการปฐมพยาบาลพระองค์ในครั้งกระนั้น

บนยอดเขาคิชฌกูฏเป็นลานกว้างพอสมควร มีอิฐปรักหักพังลักษณะสี่เหลี่ยมเป็นแนวอยู่ เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า และกุฏิวิหารสำหรับพระภิกษุสงฆ์อีกหลายท่าน ทิวเขารอบๆ ใหญ่โต ห่างไกลเสียงอึกทึกครึกโครมของตัวเมือง คิชฌกูฏเป็นสถานที่เงียบสงัดเหมาะสำหรับจิตพึงให้อยู่ในความสงบ ทั้งอากาศและบรรยากาศเป็นที่โน้มน้าวจิตใจให้ใสสะอาดได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงมักเสด็จมาประทับที่นี่เสมอ


:b39:

:b50: :b49: :b50: หมายเหตุ : (๑) พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี
ซึ่งชาวพุทธเมื่อไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน แสวงบุญ
นิยมเดินทางเข้าไปสักการะที่โดดเด่น ๓ แห่ง คือ

๑.๑ พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี บนยอดเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์

๑.๒ พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี ที่สารนาถ เมืองพาราณสี

๑.๓ พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี
ที่วัดพระเชตวัน (วัดเชตวันมหาวิหาร) เมืองสาวัตถี


(๒) ในหนังสือพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด
โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต)
สมณศักดิ์ปัจจุบันคือ พระมหาโพธิวงศาจารย์
พระเดชพระคุณท่านได้กล่าวไว้ว่า


พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี
(อังกฤษ : Mulagandhakuti แปลว่า กุฏีที่มีกลิ่นหอม)
เป็นชื่อเรียกสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ
เรียกเต็มว่า “พระมูลคันธกุฏี”
ในพุทธประวัติ เล่าว่าสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าทุกแห่ง
จะมีผู้นำของหอมนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้หอม ดอกไม้หอม เป็นต้น
มาบูชาพระพุทธเจ้ามิได้ขาด โดยประดับไว้ภายในที่ประทับบ้าง
วางเรียงรายอยู่โดยรอบบ้าง โดยมุ่งบูชาพระพุทธเจ้าด้วยกลิ่นหอม
จึงปรากฏว่าหลังวัดที่ประทับจะมีดอกไม้ที่แห้งแล้ว
ถูกนำไปทิ้งไว้เป็นกองใหญ่ด้วยมีจำนวนมาก
พระคันธกุฏี มิใช่จะมีกลิ่นหอมเท่านั้น
ยังถูกสร้างขึ้นอย่างวิจิตรพิสดารเท่าที่มนุษย์จะทำกันได้ด้วยแรงศรัทธา


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
พระมูลคันธกุฏี หรือ “พระมูลคันธกุฏีวิหาร”
บนยอดเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์
กุฏิอันเป็นที่ประทับจำพรรษาของพระพุทธเจ้า
ในพรรษาที่ ๓, ๕, ๗
และพรรษาสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน

---------------
:b40: :b47: :b40:

รูปภาพ
พระมูลคันธกุฏี หรือ “พระมูลคันธกุฏีวิหาร” ที่สารนาถ เมืองพาราณสี
กุฏิหลังแรกอันเป็นที่ประทับจำพรรษาของพระพุทธเจ้า
ในพรรษาแรกและพรรษาที่ ๑๒


รูปภาพ
พระมูลคันธกุฏี หรือ “พระมูลคันธกุฏีวิหาร”
ที่วัดพระเชตวัน (วัดเชตวันมหาวิหาร) เมืองสาวัตถี
กุฏิอันเป็นที่ประทับจำพรรษาของพระพุทธเจ้า
ที่ทรงประทับนานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา
ซึ่งด้านหน้ามีซากฐานของพระเจดีย์ทอง


:b49: :b50: :b49:

:b44: พระมูลคันธกุฏี ที่สารนาถ เมืองพาราณสี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43034

:b44: พระมูลคันธกุฏี ที่วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=55476

ที่มา >>>> :b39: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2015, 19:27 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2019, 10:24 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: อัศจรรย์แห่งธรรมดีแท้
ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron