วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2019, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20190108_062821.jpg
20190108_062821.jpg [ 45.99 KiB | เปิดดู 2030 ครั้ง ]
พุทธคุณ ๙ มี อิติปิโส ภควา ฯลฯ พระพุทธเจ้ากล่าวไว้เอง
โดยการสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ และนำมากล่าวแก่สาวก
อรหํ = นั้นจะต้องอาศัย สัทธาปสาท ได้แก่ (สุตะ) การฟัง
จะต้องอาศัย โอกาปนสัทธา หมายถึง ควรน้อมเข้ามา(ปฏิบัติ)ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจของตนหรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติให้เกิดขึ้นในใจ สัทธาที่มีอธิโมกข์
จะต้องอาศัยอธิคมสัทธา (ปฏิเวธ) เข้าถึงสิกขา ๓ (พระสูตร พระอภิธรรม พระวินัย)
เข้าถึงพุทธคุณ(ปัญญา) ที่มีสัทธาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (พระอริยะบุคคล)

อรหํ มี ๕ ความหมาย คือ
๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์ เป็นผูุ้ห่างไกลจากกิเลส พร้อมทั้ง วาสนา

๒. อรหํ เป็นผู้กำจัดกิเลส ด้วยอริยะมรรค

๓. อรหํ เป็นผู้ทรงไกลจากกิเลส คือ อวิชชา และตัณหา

๔. อรหํ เป็นผู้คู่ควร ปัจจัย บูชา ทักษิณาทานอันเลิศ

๕. อรหํ เป็นผู้ทรงไม่มีบาปธรรมทั้งที่ลับและที่แจ้ง เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น

"วาสนา" ไม่ใช่กิเลสแต่เกิดจากความเคยชินที่ต่อเนื่องจากกิเลส พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ละวาสนาได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธเป็นผู้ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง คือ เญยฺยธรรม
คือธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์พึงรู้แจ้ง (เญยยธรรมก็คือใบไม้ทั้งป่า) มี ๕ ประการ คือ

๑. สังขาร คือ นามธรรม ๕๓ (จิต ๑ เจตสิก ๕๒) และนิปผันนรูป ๑๘
๒. วิการ คือ วิการรูป ๕ (วิญญัติรูป ๒ ลหุตา มุทุตา และกัมมัญญตา)
๓. ลักขณะรูป คือ ลักขณรูป ๔ (อุปจย สันตติ ชรตา และอนิจจตา)
๔. นิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลส และกองทุกข์
๕. บัญญัติ คือ สมมุติที่ชาวโลกรู้กัน เช่น ภูเขา ต้นไม้ แผ่นดิน เป็นต้น

ว่าโดยประเภท ของเญยยธรรมมี ๕ อย่าง

๑. อภิญเญยยธรรม เป็นธรรมที่ ควรรู้ยิ่ง (อริยสัจจ ๔)
๒. ปริญเญยยธรรม เป็นธรรมที่ ควรกำหนดรู้ (ทุกข์)
๓. ปหาตัพพธรรม เป็นธรรมที่ ควรละ (สมุทัย)
๔. สัจฉิกรณตัพพธรรม เป็นธรรมที่ ควรทำให้แจ้ง (นิโรธ)
๕. พาเวตัพพธรรม เป็นธรรมที่ ควรเจริญ (มรรค)

ข้อที ๒-๔ นั้นแยกมาจากอภิญเญยยธรรม เป็นธรรมที่ ควรรู้ยิ่ง (อริยสัจจ ๔)
ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นการค้นพบด้วยพระองค์เอง ไม่มีครู อาจารย์เป็นผู้สอน
เญยธรรมก็ได้เปรียบไว้เหมือนใบไม้ทั้งป่า เวลาที่นำมาสอนเพียงใไม้ในกำมือ

ธรรม ๔ (ธรรมทั้งปวงประดามี จัดประเภทตามลักษณะความสัมพันธ์ที่มนุษย์พึงปฏิบัติหรือเกี่ยวข้องเป็น ๔ จำพวก อันสอดคล้องกับหลักอริยสัจจ์ ๔ และกิจในอริยสัจจ์ ๔)
๑. ปริญเญยธรรม - ธรรมที่เข้ากันกิจในอริยสัจจ์ที่ ๑ คือ ปริญญา (ธรรมอันพึงกำหนดรู้, สิ่งที่ควรรอบรู้ หรือรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ กล่าวคือ ทุกข์และสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในจำพวกที่เป็นปัญหาหรือเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา )
๒. ปหาตัพพธรรม - ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ ๒ คือ ปหานะ (ธรรมอันพึงละ, สิ่งที่จะต้องแก้ไขกำจัดทำให้หมดไป ว่าโดยต้นตอรากเหง้า ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา กล่าวคือธรรมจำพวกสมุทัยที่ก่อให้เกิดปัญหา เป็นสาเหตุของทุกข์ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า อกุศลทั้งปวง )
๓. สัจฉิกาตัพพธรรม - ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ ๓ คือ สัจฉิกิริยา (ธรรมอันพึงประจักษ์แจ้ง, สิ่งที่ควรได้ควรถึงหรือควรบรรลุ ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ เมื่อกล่าวโดยรวบยอด คือ นิโรธ หรือนิพพาน หมายถึงจำพวกที่เป็นจุดหมาย หรือเป็นที่ดับหายสิ้นไปแห่งทุกข์หรือปัญหา )
๔. ภาเวตัพพธรรม - ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ ๔ คือ ภาวนา (ธรรมอันพึงเจริญหรือพึงปฏิบัติบำเพ็ญ, สิ่งที่จะต้องปฏิบัติหรือลงมือทำ ได้แก่ ธรรมที่เป็นมรรค โดยเฉพาะสมถะ และวิปัสสนา กล่าวคือ ประดาธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติ หรือเป็นวิธีการที่จะทำหรือดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดหมายแห่งการสลายทุกข์หรือดับปัญหา)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 14:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ช่วงนี้ลุงหมานเงียบ ๆ ไปนะคะ

แต่เริ่มเห็นโพสต์ของลุงหมานมาเรื่อย ๆ

ก็รู้สึกดีใจ เหมือนลุงหมานจะกลับมาแล้ว

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b8: :b8: :b8:

ช่วงนี้ลุงหมานเงียบ ๆ ไปนะคะ

แต่เริ่มเห็นโพสต์ของลุงหมานมาเรื่อย ๆ

ก็รู้สึกดีใจ เหมือนลุงหมานจะกลับมาแล้ว

:b16: :b16: :b16:



ช่วงนี้ก็ไปอยู่ในไลน์เสียส่วนมากครับ
และนอกนั้นก็หาความในพระสูตรบ้าง
บางทีรู้อะไรดีๆที่น่าจดจำก็เอามาลงในลานธรรมเรา
ธรรมที่เรายังไม่รู้ยังมีอีกเยอะมาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือ มีวิชชาความรู้ตั้งแต่ความรู้ระดับพื้นฐาน จนกระทั่งความรู้ระดับสูงสุด และมีจรณะความประพฤติดีประพฤติได้ตามที่ทรงรู้ เช่น ความสำรวมในศีล เป็นต้น

วิชชาจรณสัมปันโน ยังแบ่งได้ ๒ คำ ได้แก่ วิชชา ๘ จรณะ ๑๕

วิชชา การที่พระพุทธองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา ๘ ประการนี้ จึงทำให้พระองค์สามารถกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป และยังสั่งสอนให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้รู้เห็นจนสามารถกำจัดกิเลสไปได้หมด เหมือนอย่างกับพระองค์ วิชชา จึงเป็นความรู้ที่สามารถจะกำจัดความมืด คือ อวิชชา ให้หมดสิ้นไปได้อย่างถาวร วิชชามี ๘ ประการได้แก่

๑. วิปัสสนาญาณ ความเห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หมายถึง พระพุทธองค์ทรงเห็นแจ้งในสภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง เช่น เห็นขันธ์ ๕ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ซึ่งการเห็นแจ้งนั้น ไม่ใช่จะมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ แต่พระพุทธองค์ทรงรู้เห็นได้ด้วยตาธรรม
๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ คือ จะนึกให้เป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามที่นึกได้.
๓. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เนรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคนได้
๔. ทิพพโสต มีหูทิพย์ มีญาณพิเศษที่จะฟังอะไรก็ได้ยินตามที่ปรารถนา
๕. เจโตปริยญาณ คือ รู้วาระจิตของผู้อื่น

ปัญญาขันธ์

๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่สามารถระลึกชาติหนหลังได้ว่า ชาติไหน เกิดเป็นอะไร
๗. ทิพพจักษุ คือ ตาทิพย์ พระองค์ทรงสามารถมองเห็นทุกสิ่งได้หมด ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลอย่างไร และระลึกชาติหนหลังของสัตว์อื่นได้.
๘. อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้น คือ ทรงขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป ไม่มีเหลือในขันธสันดานของพระองค์เลยแม้แต่นิดเดียว ดังที่ได้ตรัสกับสคารวมาณพว่า เมื่อจิตเราเป็น สมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นไม่มี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จรณะ ๑๕ หมายถึง ความประพฤติอันงดงาม มี ๑๕ ประการ ได้แก่รักษาศิล ในการปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์ถึงจิตแท้ ให้หลุดพ้น เป็นการกระทำที่ไม่มีโลภ โกรธ หลง เข้ามาผูกพันธ์อยู่ในจิต การปฏิบัติตนให้อยู่ในศิล ให้ได้ละเอียดขึ้นไปตามระดับ โดยสังวรณ์อยู่ในจรณะ ๑๕ ดังนี้

จตุปาสุทธิศีล ๔ สีลขันธ์
๑. สังวรศิลความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติให้เข้าใจสิ่งดีชั่ว ในบาปบุญ คุณ โทษ ให้บริสุทธิ์ด้วยศิล ให้รู้ว่ามีศิลปกติอยู่ในตน รู้ทัน หลุดพ้นจาก ความโกรธ โลภ หลง ทังหลายทั้งปวง
๒. สำรวมอินทรีย์ ความสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ระวังตนให้รู้ทั่วพร้อมทั้ง ๖ ทวารนอก ๖ ทวารใน ที่จะเกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากการกระทำนั้นๆ
๓. โภชเนมัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณในการบริโภค รู้จักประมาณตน รู้ตนให้พร้อม พอเหมาะ พอควรที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะมีจะเกิดขึ้น ในอาหาร การกิน การใช้จ่าย
๔. ชาคิยานุโยคะ ความเชื่อมั่น การประกอบความเพียรที่ทำให้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ พิจารณาควบคุมรู้อยู่ในการกระทำที่พึงประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในการสังวรศีล สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตาทั้ง 3 ข้อให้ถูกต้องตรงจริง

สัทธรรม ๗
๕. ศรัทธา เชื่อมันในหลักธรรมคำสอน ปฏิบัติตน รู้ตน เชื่อมั่นในตนว่าปฏิบัติอยู่ในทางที่ถูกต้องดีงามเป็นมัมมาแล้วจริง มีผลเกิดแล้ว เห็นผลแล้ว พากเพียรตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลยิ่งขึ้น
.หิริ ความละอายต่อบาปมีความละอายแก่ใจตนเองเมื่อรู้ว่าตนได้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นทางกาย วาจา ใจ ในทางใดทางหนึ่งก็ดี ที่ไม่ถูกไม่ควรแล้ว รู้สึกผิดละอาจตนเอง และจะไม่ทำสิ่งที่ผิดนี้ให้เกิดขึ้นอีกเลย
๗. โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่ตนได้กระทำสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ไม่ดีไม่งาม ที่เกิดขึ้นนั้นๆ ระวังควบคุมตนไม่ให้เกิดอีก
๘. พหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้สดับมาก ( พหูสูต ) เห็นอยู่รู้อยู่ เข้าใจอยู่ ในผลของการปฏิบัติ ที่ถูกตรงบริสุทธิ์แท้ พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์ ตั้งใจทำจริง ให้ยิ่งๆ ขึ้นอีก
๙. วิริยะ พากเพียร ประพฤติปฏิบัติ กระทำตนให้ดีให้ได้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก
๑๐. สติ ความระลึกได้ ควบคุมให้รู้ตัวทั่วพร้อม พิจารณารู้อยู่ เป็นอยู่ในการกระทำทวารทั้ง ๖ ทวารนอก ๖ ทวารใน
๑๑. ปัญญา รู้แจ้งชัดในทุกสิ่งที่เกิด ที่มี ที่ถูก ที่ควร ได้ยิ่งๆ ขึ้น ปล่อยจิต วางจิต ทำจิตให้สงบ เกิดญานทั้ง ๔ ในตนแล้ว
สมาธิขันธ์
๑๒. ปฐมฌาน เข้าสู่ความสงบระงับ จิตสงบ พ้นนิวรณ์ ๕ ใจปลอดโปร่งติดอยู่ในอารมณ์เดียว (วิตก) มีวิจาร อ่านอยู่ในอารมณ์นั้น จิตเบิกบานเป็นหนึ่งเป็นอิสระ
๑๓ ทุติยฌาน ระงับวิตกวิจาร มีปิติสุข จิตคิดอ่านอะไร วางวิตก วิจาร จิตเบิกบาน เสวยปิติสุขอยุ่
๑๔. ตติยฌาน ระงับบปิติ หมดความรู้สึกปิติ มีสติสัมปชัญญะ ควบคุมตนเอง รู้ตนเองชัด ขณะจิตสงบเสวยสุขอยู่
๑๕. จตุตฌาน ระดับสุขเป็นอุเบกขา เฉยวางสุข จิตผ่องใส สงบบริสุทธิ์ เป็นเอกถตาจิต จิตเป็นหนึ่ง ที่ประกอบด้วยมรรคมีองค์ ๘ ถูกต้อง

พระพุทธองค์ทรงมีศีลาจารวัตรที่งดงาม ทรงประพฤติปฏิบัติจรณะทั้ง ๑๕ ประการมามากมายหลายภพหลายชาติ จึงทำให้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะจรณะทั้ง ๑๕ ประการ เป็นพื้นฐานที่ทำให้พระองค์มีความหนักแน่น มั่นคงอย่างต่อเนื่องในการสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตามความปรารถนาที่ตั้งใจไว้

เพราะฉะนั้น คำว่า วิชชาจรณสัมปันโน จึงหมายความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เพราะพระองค์ทรงประพฤติปฏิบัติจรณะทั้ง ๑๕ ประการมาหลายภพหลายชาติ จึงทำให้พระองค์มีวิชชาที่รู้ในสิ่งที่สามารถกำจัดความมืด คือ อวิชชา และบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ด้วยพระองค์เอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดี คำว่า “ไปดี” มีความหมายหลายนัยคือ

๑.เสด็จดำเนินตามอริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางเดินที่ดี
๒.เสด็จไปสู่พระนิพพาน อันเป็นสภาวะที่ดียิ่ง
๓.เสด็จไปดีแล้ว เพราะทรงละกิเลสได้โดยสิ้นเชิง
๔.เสด็จไปปลอดภัยดี เพราะเสด็จไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2019, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. โลกวิทู แปลว่า ผู้รู้แจ้งโลก ใช้หมายถึงพระพุทธเจ้า เป็นบทพระพุทธคุณบทหนึ่ง
โลกวิทู หมายถึงทรงรู้แจ้งเรื่องราวของโลกทั้งสาม เช่นทรงรู้แจ้งถึงความเป็นไปตามธรรมดาของสังขารทั้งปวง ทรงรู้ถึงพื้นเพอุปนิสัยของสัตวโลกทั้งหลาย ทรงรู้ถึงวิธีแสดงธรรมนำให้สัตว์โลก ซึ่งแตกต่างกันได้บรรลุธรรมตามควรแก่อุปนิสัย เป็นต้น

โลกวิทู แสดงถึงพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอันเป็นเหตุให้พระองค์ทรงเผยแผ่และวางรากฐาน พระพุทธศาสนาบรรลุผลสำเร็จด้วยดี เช่นทรงแสดงธรรมถูกกับอุปนิสัยของผู้ฟังทำให้เข้าใจและได้บรรลุธรรมไม่ยาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร