วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกเรื่องชาติก่อนชาติหน้าอีกหน่อย คือว่า เรื่องนี้มนุษย์เราก็ยังมืดมนด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็อยากรู้ ถามไถ่กันทั่วๆไป พระพุทธเจ้าจึงบอกอุทายีประมาณว่า เมื่อเธอยังไม่รู้เห็นด้วยตนเองแล้วถาม ฉันตอบไป เธอยิ่งฟุ้งซ่านกว่าเดิม หรืออาจคิดว่าฉันโกหกด้วยซ้ำ แล้วจึงบอกให้รู้เรื่องปัจจุบันถึงสิ่งที่อาศัยกันเกิด อาศัยกันดับ

ลองดู



“ดูกรอุทายี ผู้ใดระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่มาก่อนได้ต่างๆมากมาย ... ผู้นั้น จึงควรถามปัญหากะเราในเรื่องหนหลัง (ชาติก่อน) หรือเราจึงควรถามปัญหาในเรื่องหนหลังกะผู้นั้น ผู้นั้น จึงจะทำให้เราถูกใจได้ด้วยการแก้ปัญหาในเรื่องชาติก่อน หรือเราจึงจะทำให้ผู้นั้นถูกใจได้ด้วยการแก้ปัญหาในชาติก่อน
ผู้ใดเห็นสัตว์ทั้งหลายทั้งที่จุติอยู่ ทั้งที่อุบัติอยู่ ด้วยทิพยจักษุ ...ผู้นั้นจึงควรถามปัญหากะเราในเรื่องหนหน้า (ชาติหน้า) หรือว่า เราจึงควรถามปัญหาในเรื่องชาติหน้ากะผู้นั้น ผู้นั้นจึงจะทำให้เราถูกใจได้ด้วยการแก้ปัญหาในเรื่องชาติหน้า หรือเราจึงจะทำให้ผู้นั้นถูกใจได้ด้วยการแก้ปัญหาในเรื่องชาติหน้า”

“ก็แล อุทายี เรื่องชาติก่อน ก็งดไว้เถิด เรื่องชาติหน้า ก็งดไว้เถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ” (ม.ม.13/371/355)

(พุทธธรรมหน้า ๑๘๐)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อย่างไรก็ดีในเรื่องนี้ ยังไม่สามารถพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริง ผู้เขียนขอให้ความเห็นว่าหากสิ่งใดที่พิสูจน์ยังไม่ได้ เพราะคำตอบยังก่ำกึ่งว่าใช่หรือไม่ใช่เท่าๆกันแล้ว ถ้าเชื่อไว้ก่อนว่าใช่ หรือจริงจะไม่เป็นการดีกว่าหรือ ที่เราจะได้ไม่ประมาทปล่อยใจไปทำความชั่วช้าสาระเลวในสิ่งนั้น ขอท่านผู้อ่านโปรดคิดดู

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 06:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
"ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาว และมีความสุข" โดยนายแพทย์ เฉก ธนะสิริ

เป็นหนังสือที่น่าอ่าน อ่านแล้วประเทืองปัญญาอีกเล่มหนึ่ง :b27:


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต่อ

อย่างไรก็ดีในเรื่องนี้ ยังไม่สามารถพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริง ผู้เขียนขอให้ความเห็นว่าหากสิ่งใดที่พิสูจน์ยังไม่ได้ เพราะคำตอบยังก่ำกึ่งว่าใช่หรือไม่ใช่เท่าๆกันแล้ว ถ้าเชื่อไว้ก่อนว่าใช่ หรือจริงจะไม่เป็นการดีกว่าหรือ ที่เราจะได้ไม่ประมาทปล่อยใจไปทำความชั่วช้าสาระเลวในสิ่งนั้น ขอท่านผู้อ่านโปรดคิดดู

:b8:

ความดีคนสนใจน้อยเชื่อน้อย แชร์กันน้อย
แต่สิ่งที่ไม่ได้เชื่อง่าย สนใจกันมากกระทำกันมากแชร์กัน
มากนี้แหละเหตุแห่งความเสื่อมของสังคม

ดั่งนั้นอยากเห็นสังคมดีขึ้นและอยากมีสังคมที่ดีขึ้นควร
แชร์แต่สิ่งที่ดีๆ เมื่อรู้เมื่อเห็นเมื่อเจอ ก็ควรบอกต่อกันไป
ยิ่งมากก็ยิ่งดีครับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 05:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


มีผู้กล่าวอย่างน้อยเนื้อต่ำใจว่า ทำดีทำไมไม่ได้ดี คนทำชั่วร้ายคดโกงบ้านโกงเมืองเสวยสุขได้ดี มองเห็นๆกันอยู่ออกแยะไป จะมามัวทำดีอยู่ทำไม

ผู้เขียนเห็นใจท่านเป็นอย่างยิ่ง ขอให้ท่านใจเย็นๆ อ่านแล้วคิด คิดดูช้าๆ ตรึกตรองให้ถ่องแท้ให้ดีเสียก่อนแล้วท่านจึงค่อยลงมือทำดี หรือทำชั่วต่อไป

ก่อนอื่นท่านต้องนิยามคำว่า ความดี ให้ได้เสียก่อนว่า ความดีทีท่านหมายถึงนั้น มันอะไรกันแน่

ผู้เขียนสมมติ เรื่องของวงราชการในฐานะผู้เขียนเป็นข้าราชการก็แล้วกัน ดังนี้

การพิจารณาความดีความชอบนั้น ผู้บังคับบัญชาเท่านั้นเป็นผู้พิจารณา ถ้าผู้บังคับบัญชาถือเอาความดี คือ การประจบรับใช้ส่วนตัวตั้งแต่เช้ายันดึก หาของกำนัล หารายได้อันมิชอบหรือสรรพสิ่งของมีชีวิต และไม่มีชีวิตมาให้ท่านโดยว่าสิ่งนั้นเป็นความดีแล้วไซร้

ท่านก็ลองพิจารณาเอาเองว่า ความดีในความหมายของท่านนั้นมันเป็นอย่างไรกันแน่ ถ้ามันตรงกับที่ท่านคิดไว้ ท่านก็จงทำสิ่งนั้นให้เด่นยิ่งกว่าผู้อื่น

แต่ถ้าความดีที่ท่านคิดมันไม่ตรงกันอย่างนั้น ผู้เขียนขอแนะนำว่า ขอให้ท่านจงรักษาความดีของท่านเอาไว้ให้ดีที่สุด ก้มหน้าขยันขันแข็งในการงานของท่านต่อไป อย่าย่อท้อ อย่าเสียใจในโชควาสนาของตนเป็นอันขาด ทำความดีเรื่อยๆไปเถิด อย่าเอาทุกข์มาใส่ตนเลย เพราะมันไม่เกิดประโยชน์ แต่กลับจะเป็นการลงโทษตัวท่านเองอย่างไม่สมควรเลย
สรรพสิ่งใดๆ ทุกอย่างในโลกไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ทุกอย่างนับแต่วินาทีที่เกิดอะไรขึ้นมันก็จะตามมาด้วยความเสื่อมและดับไปในที่สุด
ยิ่งความชั่วร้ายด้วยแล้ว จะดับรวดเร็วยิ่งนัก ซึ่งถ้าท่านอดทน ขยันทำงานโดยไม่ทุกข์ ในที่สุดคำนิยามความดีของท่านก็จะต้องตรง กับ ของผู้บังคับบัญชาคนใดคนหนึ่งของท่านสักวันหนึ่งแน่นอน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิยามคำว่า ความดี,ความชั่ว บทความข้างบนท่านอธิบายได้เคลียร์ระดับหนึ่ง

แต่เพื่อให้เห็นนิยามคำว่า ดี,ชั่ว,ความดี,ความชั่ว ได้กว้างยิ่งขึ้นจึงคัดหลักธรรมแท้ๆ ข้อ ก. กับ ข. จากพุทธธรรมหัวข้อกรรม หน้า ๒๕๔ เทียบไว้ด้วย

เกณฑ์ตัดสิน ความดี - ความชั่ว

ก. ปัญหาเกี่ยวกับความดี - ความชั่ว

กรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความดีและความชั่วโดยตรง เมื่อพูดถึงกรรม จึงควรพูดถึงเรื่องความดี และความชั่วไว้ด้วย เพื่อช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมชัดเจนขึ้น

เรื่องความดี และความชั่ว มักมีปัญหาเกี่ยวกับความหมาย และหลักเกณฑ์ที่จะวินิจฉัย เช่นว่า อะไรและอย่างไร จึงจะเรียกว่า ดี อะไรและอย่างไรจึงจะเรียกว่า ชั่ว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเช่นนี้ มีมากเฉพาะในภาษาไทยเท่านั้น

ส่วนในทางธรรม ที่ใช้คำบัญญัติจากภาษาบาลี ความหมาย และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้นับได้ว่าชัดเจน ดังจะได้กล่าวต่อไป

คำว่า "ดี" ว่า "ชั่ว" ในภาษาไทย มีความหมายกว้างขวางมาก โดยเฉพาะคำว่าดี มีความหมายกว้างยิ่งกว่าคำว่า ชั่ว

คนประพฤติดีมีศีลธรรม ก็เรียกว่า คน ดี

อาหารอร่อยถูกใจ ผู้ที่กินก็อาจพูด ว่า อาหารมื้อนี้ ดี หรืออาหารร้านนี้ ดี

เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพ หรือทำงานเรียบร้อย คนก็เรียกว่า เครื่องยนต์ ดี

ไม้ค้อนที่ใช้ได้สำเร็จประโยชน์สมประสงค์ คนก็ว่า ค้อนนี้ ดี

ภาพยนตร์ที่สนุกสนาน ถูกใจ คนที่ชอบ ก็ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ ดี

ภาพเขียนสวยงาม คนก็ว่า ภาพนี้ ดี หรือ ถ้าภาพนั้นอาจขายได้ราคาสูง คนก็ว่าภาพนั้น ดี

เช่นเดียวกัน โรงเรียนที่บริหารงาน และมีการสอนได้ผล นักเรียนเก่ง ก็เรียกกัน ว่า โรงเรียน ดี

โต๊ะตัวเดียวกัน คนสามคนบอกว่า ดี แต่ความหมายที่ว่า ดี นั้น อาจไม่เหมือนกันเลย

คนหนึ่งว่า ดี เพราะสวยงามถูกใจเขา

อีกคนหนึ่งว่า ดี เพราะเหมาะแก่การใช้งานของเขา

อีกคนหนึ่งว่า ดี เพราะเขาจะขายได้กำไรมาก

ในทำนองเดียวกัน ของที่คนหนึ่งว่า ดี อีกหลายคนอาจบอกว่า ไม่ดี
ของบางอย่างมองในแง่หนึ่งว่า ดี มองในแง่อื่นอาจว่าไม่ดี
ความประพฤติ หรือการแสดงออกบางอย่างในถิ่นหนึ่ง หรือสังคมหนึ่งว่า ดี
อีกถิ่นหนึ่งหรืออีกสังคมหนึ่งว่า ไม่ดี ดังนี้ เป็นต้น หาที่ยุติไม่ได้ หรืออย่างน้อยไม่ชัดเจน อาจต้องจำแนกเป็นดีในทางจริยธรรม ดีในแง่สุนทรียภาพ ดีในแง่เศรษฐกิจ เป็นต้น

เหตุที่มีความยุ่งยากสับสนเช่นนี้ ก็เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่า และคำว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” ในภาษาไทย ใช้กับเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าได้ทั่วไปหมด ความหมายจึงกว้างขวางและผันแปรได้มากเกินไป

เพื่อตัดปัญหาเกี่ยวกับความยุ่งยากสับสนนี้ จึงจะไม่ใช้คำว่าดี ไม่ดีหรือชั่ว ในภาษาไทย และเป็นอันไม่ต้องพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับคุณค่าด้านต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด

ในการศึกษาเรื่องความดีความชั่วที่เกี่ยวกับกรรม มีข้อควรทราบดังนี้

ก. ความดีและความชั่ว ณ ที่นี้ เป็นการศึกษาในแง่ของกรรมนิยาม และมีคำเรียกโดยเฉพาะว่า กุศล และ อกุศลตามลำดับ คำทั้งสองนี้ มีความหมายและหลักเกณฑ์วินิจฉัยที่นับได้ว่า ชัดเจน

ข. การศึกษาเรื่องกุศล และอกุศลนั้น มองในแง่จริยธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของกรรมนิยามจึงเป็น การศึกษาในแง่สภาวะ หาใช่เป็นการศึกษาในแง่คุณค่าอย่างที่มักเข้าใจกันไม่ การศึกษาในแง่คุณค่า เป็นเรื่องในระดับสมมตินิยามหรือสังคมบัญญัติ ซึ่งมีขอบเขตที่แยกจากกรรมนิยามได้ชัดเจน

ค. ความเป็นไปของกรรมนิยาม ย่อมสัมพันธ์กับนิยามและนิยามอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะที่พึงใส่ใจพิเศษ คือ ในด้านภายในบุคคล กรรมนิยาม อิงอยู่กับจิตนิยาม ในด้านภายนอก กรรมนิยาม สัมพันธ์ กับ สมมตินิยาม หรือสังคมบัญญัติ ข้อที่พึงเน้นก็คือ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่าง กรรมนิยามกับสมมตินิยาม จะต้องแยกขอบเขต ระหว่างกันให้ชัด และจุดเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นทั้งที่แยก และที่สัมพันธ์ระหว่างขอบเขตทั้งสองนั้น ก็มีอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข) ความหมายของกุศล และอกุศล

กุศล และอกุศล แปลกันโดยทั่วไปว่า ดี และชั่ว หรือไม่ดี ก็จริง แต่แท้จริงแล้ว หาตรงกันทีเดียวไม่ สภาวะบางอย่างเป็นกุศล แต่อาจจะไม่เรียก ว่า ดี ในภาษาไทย

สภาวะบางอย่าง อาจเป็นอกุศล แต่ในภาษาไทยก็ไม่เรียก ว่า ชั่ว ดังจะเห็นต่อไป

กุศล และ อกุศล เป็นสภาวะ ที่เกิดขึ้นในจิตใจ และมีผลต่อจิตใจก่อน แล้วจึงมีผลต่อบุคลิกภาพ และแสดงผลนั้นออกมาภายนอก
ความหมายของกุศล และ อกุศล จึงเพ่งไปที่พื้นฐาน คือ เนื้อหาสาระ และความเป็นไปภายในจิตใจเป็นหลัก

กุศล แปลตามศัพท์ว่า ฉลาด ชำนาญ สบาย เอื้อ หรือเกื้อกูล เหมาะ ดีงาม เป็นบุญ คล่องแคล่ว ตัดโรค หรือตัดสิ่งชั่วร้ายที่น่ารังเกียจ

ส่วนอกุศล ก็แปลว่า สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล หรือตรงข้ามกับกุศล เช่นว่า ไม่ฉลาด ไม่สบาย เป็นต้น

ความหมายเชิงอธิบายในทางธรรมของกุศล ที่ถือได้ว่าเป็นหลักมี 4 อย่าง คือ

1. อาโรคยะ ความไม่มีโรค คือสภาพจิตที่ไม่มีโรค อย่างที่นิยมเรียกกันบัดนี้ว่าสุขภาพจิต หมายถึง สภาวะ หรือองค์ประกอบที่เกื้อกูลแก่สุขภาพจิต ทำให้จิตไม่ป่วยไข้ ไม่ถูกบีบคั้น ไม่กระสับกระส่าย เป็นจิตแข็งแรง คล่องแคล่ว สบาย ใช้งานได้ดี เป็นต้น

2. อนวัชชะ ไม่มีโทษหรือไร้ตำหนิ แสดงถึงภาวะที่จิตสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง ไม่เสียหาย หรือไม่มีของเสีย ไม่มัวหมอง ไม่ขุ่นมัว สะอาด เกลี้ยงเกลา เอี่ยมอ่อง ผ่องแผ้ว เป็นต้น

3. โกศลสัมภูต เกิดจากปัญญาหรือเกิดจากความฉลาด หมายถึง ภาวะที่จิตประกอบอยู่ด้วยปัญญา หรือมีคุณสมบัติต่างๆ ซึ่งเกิดจากความรู้ความเข้าใจ สว่าง มองเห็น หรือรู้เท่าทันความเป็นจริง สอดคล้องกับหลักที่ว่า กุศลธรรมมีโยนิโสมนสิการ คือความรู้จักคิดแยบคาย หรือรู้จักทำใจอย่างฉลาดเป็นปทัฏฐาน

4. สุขวิบาก มีสุขเป็นวิบาก คือเป็นสภาพที่ทำให้มีความสุข เมื่อกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจ ย่อมเกิดความสุข สบายคล่องใจในทันทีนั้นเอง ไม่ต้องรอว่า จะมีผลตอบแทนภายนอกหรือไม่ เหมือนกับว่า เมื่อร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคเบียดเบียน (อโรค) ไม่มีสิ่งสกปรกเสียหาย มลทิน หรือของที่เป็นพิษภัยมาพ้องพาน (อนวัชชะ) และรู้ตัวว่า อยู่ในที่มั่นคงปลอดภัยถูกต้องเหมาะสม (โกศลสัมภูต) ถึงจะไม่ได้เสพเสวย สิ่งใดพิเศษออกไป ก็ย่อมมีความสบาย ได้เสวยความสุขอยู่แล้วในตัว


นอกจากความหมายทั้ง ๔ นี้แล้ว คัมภีร์บางแห่งกล่าวถึงความหมายอื่นอีก ๓ อย่าง คือ เฉกะ แปลว่า ฉลาด และเขมะ แปลว่า เกษม คือปลอดโปร่ง มั่นคง ปลอดภัย และนิททรถะ แปลว่า ไม่มีความกระวนกระวาย แต่พอเห็นได้ว่า ความหมาย ๓ อย่างนี้ รวมลงได้ในความหมาย ๔ อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างบน และในบรรดาความหมาย ๔ อย่างนั้น ความหมายที่ ๓ คือ โกศลสัมภูต เป็นความหมายแกน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของอกุศล ก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามจากที่กล่าวมานั้น คือ เป็นสภาพจิตที่มีโรค ไร้สุขภาพ มีโทษ มีตำหนิ มีข้อเสียหาย เกิดจากอวิชชา และมีทุกข์เป็นผล (วิบาก)
พูดสั้นๆ อีกนัยหนึ่งว่า เป็นสภาพที่ทำให้จิตเสียคุณภาพ และเสื่อมสมรรถภาพ
ตรงข้าม กับ กุศล ซึ่งส่งเสริมคุณภาพ และสมรรถภาพของจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น อาจบรรยายลักษณะของจิตที่ดีงาม ไร้โรค ไม่มีโทษ เป็นต้น ให้ดูก่อน แล้วพิจารณาว่า กุศลธรรม คือ สิ่งที่ทำให้จิตมีลักษณะเช่นนั้น หรือกุศลธรรมทำให้เกิด สภาพจิตเช่นนั้น อย่างไร

อกุศลธรรม คือ สิ่งที่ทำให้จิตขาดคุณลักษณะเช่นนั้น หรือ ทำให้จิตเสื่อมเสียสภาพจิตเช่นนั้นอย่างไร


ลักษณะที่จะกล่าวต่อไปนี้ นำมาจากบาลีในที่ต่างๆหลายแห่ง เป็นลักษณะของจิตที่ดีงาม ตั้งแต่ระดับสามัญจนถึงขั้นสูงสุด คือ จิตของพระอรหันต์ ขอให้ถือว่าเป็นการวางภาวะที่สมบูรณ์ไว้เป็นมาตรฐาน

- ชุดหนึ่งว่า ปัสสัทธะ - ผ่อนคลายหรือเรียบสงบ หรือเย็นสบาย
ลหุ - เบา
มุทุ - นุ่มนวล หรืออ่อนโยนหรือละมุน
กัมมัญญะ - ควรแก่งาน หรือพร้อมที่จะใช้งาน
ปคุณะ - คล่องแคล่ว
อุชุ - ซื่อตรง ไม่คดโค้งโกงงอ บิดเบือนเชือนแช

( อภิ.สํ. 34/240-250/94-5 ชุดนี้จากโสภณเจตสิกส่วนหนึ่งในอภิธรรม)

- ชุดหนึ่งว่า มุทุ - นุ่มนวล ละมุน
กัมมนียะ - ควรแก่งาน เหมาะแก่การใช้งาน
ประภัสสร - ผ่องใส แจ่มจ้า
อปภังคุ - ไม่เปราะเสาะ แข็งแรงทนทาน
สมาหิตะ - ตั้งมั่น
อนาวรณ์ - ไม่มีสิ่งกีดกั้น ไม่ถูกจำกัด
อนิวรณ์ - ไม่มีสิ่งขัดขวาง ไม่ติดขัดหรือคับข้อง
อนุปักกิลิฏฐะ - ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว
อนัชฌารุฬห์ - ไม่ถูกกดทับ ไม่ถูกกดถูกบีบ
อวิฆาตะ - ไม่คับแค้น ไม่คับเครียดอึดอัด

(ชุดนี้เกี่ยวด้วยนิวรณ์และโพชฌงค์ สํ.ม.19/474-502/131-7)

- อีกชุดหนึ่งว่า สมาหิตะ - ตั้งมั่น ทรงตัวเรียบสม่ำเสมอ
ปริสุทธะ - สะอาด หมดจด
ปริโยทาตะ - ผุดผ่อง กระจ่าง สว่างไสว
อนังคณะ - ไร้ไฝฝ้า โปร่งโล่งเลี้ยงเกลา
วิคตูปกิเลส - ปราศสิ่งมัวหมอง
มุทุภูตะ - นุ่มนวล ละมุนละไม
กัมมนียะ - ควรแก่งาน
ฐิตะ และ อาเนญชัปปัตตะ - ทรงตัวอยู่ ตั้งอยู่ได้ เข้าที่ อยู่ตัว ไม่หวั่นไหว แน่วแน่ ไม่วอกแวก

(ชุดนี้ คือลักษณะจิตที่ประกอบด้วยสมาธิเป็นอย่างดีแล้ว ม.ม. 13/506/460)

ลักษณะต่อไปนี้ โดยมากเป็นภาวะจิตและบุคลิกภาพของพระอรหันต์ นำมาลงไว้สำหรับประกอบการพิจารณาด้วย เช่น

อกิญจนะ - ไม่มีอะไรค้างใจ ไม่มีสิ่งคั่งค้างกังวล
สันตะ- สงบ แสนซึ้ง
อโศก - ไร้โศก
วิรชะ - ไม่มีธุลี (ธุลี คือ กิเลส เครื่องเศร้าหมอง)
เขมะ เกษม ปลอดโปร่ง มั่นคง ไม่มีภัย
นิจฉาตะ - ใจไม่โหยหิว อิ่มใจ
สีติภูตะ - เย็นหรือเย็นซึ้ง
นิพพุตะ - หมดร้อน เสรี เที่ยวไปได้สบายไม่มีอะไรเกาะเกี่ยว
สยังวสี - มีอำนาจในตัวเอง เป็นตัวของตัวเองแท้จริง
สุขี - มีความสุข หรือเป็นสุข

อีกชุดหนึ่ง โดยมากเป็นลักษณะจิตและบุคลิกภาพของพระอรหันต์เหมือนกัน แต่เน้นเฉพาะแง่ที่เป็นอิสระ เช่น

อนัลลีนะ - ไม่ติด หรือไม่หมกมุ่น
อนัชโฌสิตะ - ไม่สยบ
อนิสสิตะ - ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด
อนูปลิตต์ - ไม่ถูกฉาบติดหรือไม่แปดเปื้อน
อนิสสิตะ - ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด
วิสัญญตะ - ไม่พัวพัน
วิปปมุตต์ - หลุดพ้น
วิมริยาทิกตจิต - มีจิตไร้ขอบคัน หรือมีใจไร้เขตแดน

(ม.อุ.14/155/117;168/124 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้กำหนดได้ง่ายขึ้น อาจรวมลักษณะเหล่านี้เข้าเป็นกลุ่มได้ ดังนี้

๑. ตั้งมั่น เช่น แน่วแน่ อยู่ตัว ทรงตัวเรียบสม่ำเสมอ ไม่หวั่นไหว ไม่วอกแวก ไม่พล่าน ไม่ส่าย

๒. บริสุทธิ์ผ่องใส เช่น ปราศจากสิ่งมัวหมอง ไม่ขุ่นมัว ไม่เศร้าหมอง ไร้ใฝ่ฝ้า เกลี้ยงเกลา ผุดผ่อง แจ่มจ้า สว่างไสว

๓.โปร่งโล่งเป็นอิสระ เช่น ไม่ติดข้อง ไม่คับแคบ ไม่ถูกจำกัดขัดขวาง ไม่ถูกกดทับหรือบีบคั้น ไม่อึดอัด กว้างขวาง ไร้เขตแดน

๔. เหมาะแก่การใช้งาน เช่น นุ่มนวล อ่อนละมุ่น เบาสบาย ไม่หนัก คล่องแคล่ว ทนทาน ไม่เปราะเสาะ ไม่กระด้าง ซื่อตรง ไม่เอนเอียง ไม่คดงอ ไม่บิดเบือน ไม่เฉไฉ

๕. สงบสุข เช่น ผ่อนคลาย เรียบสงบ ไม่เครียด ไม่คับแคบ ไม่เดือดร้อน ไม่กระสับกระส่าย หรือทุรนทุราย ไม่ขาดแคลน ไม่หิวโหย เอิบอิ่ม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อทราบลักษณะของจิตใจที่สมบูรณ์ มีสุขภาพดี ไร้มลทินโทษ เช่นนี้แล้ว ก็พึงนำเอาธรรมที่ได้ชื่อว่า
เป็นกุศล และ อกุศลมา พิจารณาตรวจสอบดูว่า ธรรมที่เป็นกุศลส่งเสริมคุณภาพและสมรรถภาพของจิตใจจริงหรือไม่อย่างไร และ
ธรรมที่เป็นอกุศลทำให้จิตมีโรค เกิดความเน่าเสีย ผุโทรม เสียหายบกพร่อง ไม่สบาย เป็นทุกข์ เสื่อมเสียคุณภาพ และสมรรถภาพจิต จริงหรือไม่ อย่างไร

ตัวอย่างกุศลธรรม เช่น เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข

อโลภะ - ความไม่โลภ ว่างจากความใคร่ติดใจ ตลอดจนมีความคิดเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น

ปัญญา - ความรู้ชัด ความเข้าใจ ความรู้เท่าทันตามความเป็นจริง

ปัสสัทธิ - ความผ่อนคลายสงบ เย็นกายเย็นใจ ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย

มุทิตา - ความพลอยเบิกบานยินดี บันเทิงใจ เมื่อผู้อื่นประสบความเจริญหรือเป็นสุข เป็นต้น

สติ - ความระลึกได้ ความสามารถคุมจิตอยู่กับสิ่งที่พึงเกี่ยวข้อง หรือกิจที่ต้องทำ

กุศลฉันทะ - ความพอใจใฝ่รักในสิ่งดีงาม อยากรู้อยากทำให้เป็นจริง มีจิตพุ่งแล่นไปในแนวทางแห่งเหตุปัจจัย


ตัวอย่างอกุศลธรรม เช่น กามฉันท์ - ความอยากได้ใคร่เอา *

พยาบาท - ความคิดร้าย ขัดเคือง หรือ แค้นใจ

ถีนมิทธะ - ความหดหู่ท้อแท้ หงอยเหงา เซื่องซึม และโงกง่วง

อุทธัจจกุกกุจจะ - ความฟุ้งซ่าน คิดพล่าน หงุดหงิด กลัดกลุ้ม รำคาญ และเดือดร้อนใจ

วิจิกิจฉา - ความลังเล ไม่อาจตัดสินใจ โกธะ - ความโกรธ

อิสสา - ความริษยา เห็นคนอื่นได้ดีทนไม่ได้

มัจฉริยะ - ความตระหนี่ ความหึงหวง ความคิดเกียดกัน เป็นต้น


เมื่อมีเมตตา จิตใจย่อมสุขสบาย แช่มชื่นผ่องใส ปลอดโปร่งและกว้างขวาง เป็นสภาพเกื้อกูล แก่ชีวิตจิตใจ ส่งเสริมคุณภาพและสมรรถภาพของจิต เมตตา จึงเป็นกุศล

สติ ทำให้ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังเกี่ยวข้องหรือกำลังทำ ระลึกได้ถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมในกรณีนั้นๆ และป้องกันไม่ให้อกุศลธรรมทั้งหลายได้โอกาส ทำให้จิตใจอยู่ในสภาพพร้อม ที่จะทำงานได้อย่างดี สติจึงเป็นกุศล

ความริษยา - ทำให้จิตใจคับแคบ ถูกกดทับบีบคั้น ไม่สบาย ไม่ปลอดโปร่ง บั่นทอนคุณภาพ และสุขภาพจิต อย่างเห็นได้ชัด ความริษยา จึงเป็นอกุศล

ความโกรธ - ก็แผดเผาใจของตนเอง บีบคั้นกระทบใจให้ไม่สบายและส่งผลกระทบกระเทือน ออกมาถึงสุขภาพกายได้อย่างรวดเร็ว จึงเห็นได้ชัดเช่นกันว่าเป็นอกุศล

กามฉันท์ หรือแม้ความโลภอย่างกว้างๆ ก็ทำให้จิตวกวนพัวพัน ติดข้อง กลัดกลุ้ม หรือเอนเอียงไป เดินไม่ตรง และมัวหมอง ไม่โล่ง ไม่โปร่ง ไม่ผ่องใส จึงเป็นอกุศล ดังนี้ เป็นต้น


ที่อ้างอิง *

* ความแตกต่าง ระหว่าง กุศลฉันทะ กับ กามฉันท์หรือโลภะ พึงสังเกตคร่าวๆว่า โลภะจับอารมณ์ที่เสมือนสำเร็จรูปแล้ว หรือตั้งอยู่ ณ สุดทางที่ตันหรือตายตัวของมัน โลภะ มุ่งจะเอาอารมณ์นั้นมาเสพเสวย และเกิดมีตัวตนที่จะเอาหรือจะเสพเสวยนั้น

ส่วนฉันทะ จับอารมณ์เสมือนตั้งอยู่ ณ จุดเริ่มต้นของมัน มีอาการที่จิตแผ่ไปรวมกลมกลืนกับสิ่ง หรืออารมณ์นั้นในการกระทำ
เพื่อก้าวไปสู่จุดหมาย คือ ความเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ไม่เกี่ยวกับความรู้สึก ที่จะเสพเสวย และไม่เกิดความรู้สึกจำกัดแบ่งแยกมีตัวตนที่จะเอาหรือจะเสพเสวย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อสังเกตว่า ความหดหู่ หงอยเหงา เฉาซึม และความฟุ้งซ่าน เป็นต้น แม้จะเป็นอกุศล
แต่ในภาษาไทย จะเรียกว่า เป็นความชั่ว ก็คงไม่สู้ถนัดปากนัก

ในทำนองเดียวกัน กุศลธรรมบางอย่าง เช่น ความสงบผ่อนคลายภายในกายในใจ จะเรียก ในภาษาไทยว่า ความดี ก็อาจจะไม่สนิททีเดียวนัก

นี้เป็นตัวอย่างแง่หนึ่ง ให้เห็นว่า กุศล และอกุศล กับความดี และความชั่ว มิใช่มีความหมายตรงกันแท้ทีเดียว


เมื่อเข้าใจความหมายของกุศล และอกุศลอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมเข้าใจความหมายของกรรมดี และกรรมชั่ว คือ กุศลกรรม และอกุศลกรรมด้วย


ดังได้กล่าวแล้วว่า เจตนาเป็นตัวกรรม ดังนั้นเจตนาที่ประกอบด้วยกุศล ก็เป็นกุศลเจตนา และเป็นกุศลกรรม
เจตนาที่ประกอบด้วยอกุศล ก็เป็นอกุศลเจตนา และเป็นอกุศลกรรม


เมื่อกุศลเจตนา และ อกุศลเจตนานั้น เป็นไปหรือแสดงออก โดยทางกาย ทางวาจา และทางใจ ก็เรียกว่า เป็นกุศลกรรม และ อกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจ หรือ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่เป็นกุศล และเป็นอกุศลตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ผู้เขียนใคร่ขอย้ำว่า ท่านจงหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่ผู้เขียนบรรยายถึง คือ ความสุข หรือความร่ำรวยของผู้ใดผู้หนึ่งที่ท่านคิดเอาเองว่า เขาผู้นั้นร่ำรวยมีความสุขเหลือล้น ไม่ว่าเขาจะหามาด้วยความซื่อสัตย์สุจริตหรือทุจริตคดโกงเขามา ท่านไม่รู้ความรู้สึกอันแท้จริงของเขาหรอก เขาอาจเป็นผู้มีทุกข์มากที่สุดก็ได้ ใครจะรู้
ผู้เขียนได้พยายามศึกษาหาเหตุผลจากตัวอย่างชีวิตของคนมามากจนเห็นได้ชัดว่า บางครั้งกรรมนั้นกลับตกทอดไปถึงลูกถึงเมียถึงผัวสุดที่รักของเขา แล้วตัวเขาเองเป็นอย่างไรเล่า ทุกข์ของเขานั้นมหันต์ยิ่งเสียกว่ากรรมนั้นตกแก่ตัวเขาเองเสียอีก เราก็คงจะได้เห็นๆกันในชาตินี้ทั้งนั้นไม่ต้องรอถึงชาติหน้าหรอกท่าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยสรุปว่า ถ้าท่านมีจิตเป็นกุศล หากกาลเวลาใดทำให้ท่านต้องตกอยู่ในกลุ่มโจร ท่านอยากจะได้รับการยกย่องว่า เป็นสมุนโจรยอดเยี่ยมแห่งยุคกระนั้นหรือ หรือว่าท่านพอใจจะอยู่ในลักษณะโจรที่ไม่มีชื่อไปพลางก่อน จนกว่าความถูกต้องจะมาถึง
พิเคราะห์ดูให้เห็นถ่องแท้แล้วจะทำให้ท่านสบายใจไม่เกิดทุกข์ มีจิตใจเป็นสุขอันเป็นกุศลจิต อย่าใจร้อน อย่าวิตกกังวล อดทนเพียรทำความดีต่อไป รอไปจนกว่ากาลเวลาจะปลดปล่อย ท้องฟ้าย่อมมีทั้งมืด สว่างแจ่มใส ครึ้มฝนและพายุ ฉันใด ชีวิตมนุษย์ ก็ย่อมเป็นฉันนั้น
แต่ธรรมะอย่างหนึ่งที่ไม่หวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลง นั้นก็คือ ความเป็นผู้มีศีล มีสัจจะ มีสมาธิ ภาวนา ปัญญาจะพาท่านรอดพ้นจากภยันตรายทั้งมวลได้อย่างประหลาดตลอดไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร