วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2018, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
บทว่า นว ตณฺหามูลกา*(ที. มหา. ๑๐/๕๙.) - ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙
ได้แก่ เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา ๑ เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิด
ลาภ ๑ เพราะอาศัยลาภจึงเกิดการตกลงใจ ๑ เพราะอาศัยการตกลงใจจึง
เกิดการรักใคร่พึงใจ ๑ เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง ๑
เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดการยึดถือ ๑ เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิด

ความตระหนี่ ๑ เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน ๑ เพราะ
อาศัยการป้องกัน อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย คือ การถือไม้ ถือมีด
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูด
คำส่อเสียด การพูดปด ย่อมเกิดขึ้น ๑. ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙
เหล่านี้ ชื่อว่า ตัณหามูลกา เพราะธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ. การ
แสวงหาเป็นต้น เป็นอกุศลทั้งนั้น.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2019, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ในบทว่า ปีติสุขํ นี้ ชื่อว่า ปีติ เพราะอรรถว่า อิ่มใจ,
ปีตินั้นมีลักษณะอิ่มเอิบ. ปีตินั้นมี ๕ อย่าง คือ
ขุททกาปีติ - ปีติอย่างน้อย ๑.
ขณิกาปีติ - ปีติชั่วขณะ ๑.
โอกกันติกาปีติ - ปีติเป็นพัก ๆ ๑.
อุพเพงคาปีติ - ปีติอย่างโลดโผน ๑.
ผรณาปีติ - ปีติซาบซ่าน ๑.

ในปีติเหล่านั้น บทว่า ขุททกาปีติ ได้แก่ เมื่อเกิดขึ้นสามารถ
ทำเพียงให้ขนชันในร่างกายเท่านั้น. บทว่า ขณิกาปีติ ได้แก่ เมื่อ
เกิดขึ้นเช่นกับสายฟ้าแลบเป็นพัก ๆ. บทว่า โอกกันติกาปีติ ได้แก่
เมื่อเกิดขึ้นทำร่างกายให้ซู่ซ่าแล้วหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง. บทว่า
อุพเพงคาปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลังทำให้กายลอยขึ้นไปถึงกับโลดขึ้นไป

บนอากาศชั่วระยะหนึ่ง. บทว่า ผรณาปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลังยิ่ง.
จริงอยู่ เมื่อปีตินั้นเกิด สรีระทั้งสิ้นสั่นสะเทือนดุจปัสสาวะเต็มกระเพาะ
และหลืบภูเขาที่ยื่นออกไปทางห้วงน้ำใหญ่. ปีติ ๕ อย่างนั้น ถือเอา
ซึ่ง คพฺภํ - ท้องถึงการแก่รอบแล้ว ย่อมยังปัสสัทธิ ๒ อย่าง คือ กาย
ปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิให้บริบูรณ์. ปีตินั้นถือ เอาซึ่งท้องแห่งปัสสัทธิ

ถึงการแก่รอบแล้ว ย่อมยังสุขแม้ ๒ อย่าง คือ กายิกสุขและเจตสิกสุข
ให้บริบูรณ์. สุขนั้นถือเอาท้องคือครรภ์ ถึงการแก่รอบแล้ว ย่อม
ยังสมาธิ ๓ อย่าง คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ
ให้บริบูรณ์. ให้ปีติเหล่านั้น ปีติที่ท่านประสงค์เอาในอรรถนี้ ได้แก่
ผรณาปีติซึ่งเป็นเหตุของอัปปนาสมาธิเจริญงอกงามอยู่ ถึงความประกอบ
พร้อมแห่งสมาธิ.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2019, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
พระนามว่า ตถาคโต เพราะตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้ เป็น
อย่างไร? ลักษณะที่จริงแท้ คือ ความเป็นของแข็ง เป็นลักษณะแห่ง
ปฐวีธาตุ, การไหลไป เป็นลักษณะแห่ง อาโปธาตุ, ความเป็น
ของร้อน เป็นลักษณะแห่งเตโชธาตุ, การขยายตัวไปมา เป็น
ลักษณะแห่ง วาโยธาตุ การสัมผัสไม่ได้เป็นลักษณะแห่ง อากาศธาตุ,
การรู้แจ้งเป็นลักษณะแห่ง วิญญาณธาตุ.

การสลายไป เป็นลักษณะแห่ง รูป, การเสวยอารมณ์ เป็น
ลักษณะแห่ง เวทนา, การรู้พร้อม เป็นลักษณะแห่ง สัญญา, การ
ปรุงแต่ง เป็นลักษณะแห่ง สังขาร, การรู้แจ้ง เป็นลักษณะแห่ง
วิญญาณ.

การยกขึ้น เป็นลักษณะแห่ง วิตก, การเคล้าคลึง เป็น
ลักษณะแห่ง วิจาร, การซ่านไป เป็นลักษณะแห่ง ปีติ, การยินดี
เป็นลักษณะแห่ง ความสุข, การไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง ความ
ที่จิตมีอารมณ์เดียว, ความถูกต้อง เป็นลักษณะแห่ง ผัสสะ.

การน้อมใจเชื่อ เป็นลักษณะแห่ง สัทธินทรีย์, การ
ประคองไว้ เป็นลักษณะแห่ง วีริยินทรีย์, การตั้งมั่น เป็นลักษณะ
แห่ง สตินทรีย์, การไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง สมาธินทรีย์,
การรู้ทั่ว เป็นลักษณะแห่ง ปัญญินทรีย์.

ความไม่หวั่นไหวในความไม่เชื่อ เป็นลักษณะแห่ง สัทธา
พละ, ความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน เป็นลักษณะแห่ง
วีริยพละ, ความไม่หวั่นไหวในความลุ่มหลง เป็นลักษณะแห่ง
สติพละ, ความไม่หวั่นไหวในความฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง สมาธิ
พละ, ความไม่หวั่นไหวในอวิชชา เป็นลักษณะแห่ง ปัญญาพละ.

ความตั้งมั่น เป็นลักษณะแห่ง สติสัมโพชฌงค์, ความ
ค้นคว้า เป็นลักษณะแห่ง ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์, ความประคองไว้
เป็นลักษณะแห่ง วีริยสัมโพชฌงค์, ความซ่านไป เป็นลักษณะ
แห่ง ปีติสัมโพชฌงค์, ความสงบ เป็นลักษณะแห่ง ปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์, ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง สมาธิสัมโพช-
ฌงค์, ความพิจารณา เป็นลักษณะแห่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

ความเห็น เป็นลักษณะ สัมมาทิฏฐิ, ความยกขึ้น เป็น
ลักษณะของ สัมมาสังกัปปะ, การกำหนด เป็นลักษณะของ สัมมา-
วาจา, การตั้งขึ้น เป็นลักษณะของ สัมมากัมมันตะ, ความบริสุทธิ์
เป็นลักษณะของ สัมมาอาชีวะ, การประคองไว้ เป็นลักษณะของ
สัมมาวายามะ, การเข้าไปตั้งไว้ เป็นลักษณะของ สัมมาสติ, ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะของ สัมมาสมาธิ.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2019, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ความไม่รู้ เป็นลักษณะของ อวิชชา, ความคิด-เจตนา
เป็นลักษณะของ สังขาร, ความรู้แจ้ง เป็นลักษณะของ วิญญาณ,
ความน้อมไป เป็นลักษณะของ นาม, ความสลายไป เป็นลักษณะ
ของ รูป, ความติดต่อกัน เป็นลักษณะแห่ง สฬายตนะ, ความ
ถูกต้อง เป็นลักษณะแห่ง ผัสสะ, ความเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะ

แห่ง เวทนา, เหตุ เป็นลักษณะแห่ง ตัณหา, ความยึดถือ เป็น
ลักษณะแห่ง อุปาทาน, การประมวล-อายูหนะ เป็นลักษณะแห่ง
ภพ, ความเกิด เป็นลักษณะแห่ง ชาติ, ความทรุดโทรม เป็น
ลักษณะแห่ง ชรา, จุติ-การเคลื่อนไป เป็นลักษณะแห่ง ความ
ตาย.

ความเป็นของสูญ เป็นลักษณะแห่ง ธาตุ, ความติดต่อกัน
เป็นลักษณะแห่ง อายตนะ, การเข้าไปตั้งไว้ เป็นลักษณะแห่ง
สติปัฏฐาน, ความเริ่มตั้ง-การทำความเพียร เป็นลักษณะแห่ง
สัมมัปธาน, ความสำเร็จ เป็นลักษณะแห่ง อิทธิบาท, ความ

เป็นใหญ่ เป็นลักษณะแห่ง อินทรีย์, ความไม่หวั่นไหว เป็น
ลักษณะแห่ง พละ, ความนำออก เป็นลักษณะแห่ง โพชฌงค์,
เหตุ เป็นลักษณะแห่ง มรรค.

ความจริงแท้ เป็นลักษณะแห่ง สัจจะ, ความไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นลักษณะแห่ง สมถะ, ความพิจารณาเห็นตาม เป็นลักษณะแห่ง
วิปัสสนา, เอกรส - ธรรมรสอันเลิศ เป็นลักษณะแห่ง สมถะและ
วิปัสสนา, ความไม่เปลี่ยนแปลง เป็นลักษณะแห่ง ธรรมคู่กัน.
สังวรเป็นลักษณะแห่ง สีลวิสุทธิ.
ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง จิตตวิสุทธิ.
ความเห็น เป็นลักษณะแห่ง ทิฏฐิวิสุทธิ.
ความตัดขาด เป็นลักษณะแห่ง ญาณในความสิ้นไป,
ความสงบ เป็นลักษณะแห่ง ญาณในความไม่เกิด.

มูละ เป็นลักษณะแห่ง ฉันทะ, สมุฏฐานะ เป็นลักษณะ
แห่ง มนสิการะ, สโมธานะ เป็นลักษณะแห่ง ผัสสะ, สโมสรณะ
เป็นลักษณะแห่ง เวทนา, ปมุขะ เป็นลักษณะแห่ง สมาธิ, อาธิป-
เตยยะ เป็นลักษณะแห่ง สติ, ตทุตตริ-ความรู้ยิ่งกว่านั้น เป็น

ลักษณะแห่ง ปัญญา, สาระ เป็นลักษณะแห่ง วิมุตติ, ปริโยสานะ
เป็นลักษณะแห่ง นิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ, นี้ คือ ความจริงแท้
พระนามว่า ตถาคโต เพราะตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้นั้นด้วย ญาณคติ
คือทรงบรรลุ บรรลุถึงไม่ผิดพลาด, ตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้ด้วย
ประการฉะนี้ จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
บทว่า จตฺตาโร อริยวํสา - อริยวงศ์ ๔ ความว่า พระพุทธ-
เจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า ท่านกล่าวว่า
เป็นพระอริยะ. วงศ์เชื้อสาย ประเพณีของพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า
วงศ์ของพระอริยะ. วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นเป็นอย่างไร? ธรรม ๔
เหล่านี้ คือ สันโดษด้วยจีวร ๑. สันโดษด้วยบิณฑบาต ๑. สันโดษ
ด้วยเสนาสนะ ๑. ความยินดีในภาวนา ๑. เมื่อกล่าวถึงสันโดษด้วย
บิณฑบาต ท่านกล่าวถึงสันโดษด้วยคิลานปัจจัย เพราะภิกษุใดสันโดษ
ในบิณฑบาต. ภิกษุนั้นจักไม่สันโดษในคิลานปัจจัยได้อย่างไร.

บทว่า จตฺตาริ สงฺคหวตฺถูนิ - สังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ สังคห-
วัตถุ ๔ เหล่านี้ คือ ทาน ๑. เปยยวัชชะ ๑. อัตถจริยะ ๑. สมา-
นัตตตา ๑. เป็นเหตุสงเคราะห์ชน ๔ เหล่านี้.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
กุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายสุจริต ๓ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑
เว้นจากลักทรัพย์ ๑ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑. วจีสุจริต ๔ คือ
เว้นจากพูดปด ๑ เว้นจากพูดส่อเสียด ๑ เว้นจากพูดคำหยาบ ๑ เว้น
จากพูดเพ้อเจ้อ ๑, มโนสุจริต ๓ คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ ๑ ไม่พยาบาท ๑
เห็นชอบ ๑.

อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายทุจริต ๓ คือ ฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑. วจีทุจริต ๔ คือ พูดปด ๑ พูด
ส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑. มโนทุจริต ๓ คือ เพ่ง
เล็งอยากได้ ๑ พยาบาท ๑ เห็นผิด ๑.

อนึ่ง แม้ทั้งกุศลและอกุศลท่านก็กล่าวว่ากรรมบถ เพราะให้
เกิดปฏิสนธิ. เหลือจากที่กล่าวแล้วท่านไม่กล่าวว่ากรรมบถ เพราะไม่
มีส่วนในการให้เกิดปฏิสนธิ. พึงทราบว่า แม้กุศลและอกุศลที่เหลือ
ท่านก็ถือเอาด้วยความมุ่งหมายถึงกุศลและอกุศลอย่างหยาบ.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2019, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
๓๗. อรรถกถาสัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
๒๓๓–๒๓๖] พึงทราบวินิจฉัยในสัลเลขัฏฐญาณนิทเทสดังต่อ
ไปนี้. บทว่า ราโค ปุถุ ราคะหนา คือ ราคะต่างหาก ไม่ปนด้วย
โลกุตระ. ในบทที่เหลือมีนัยนี้.

ชื่อว่า ราคะ เพราะอรรถว่ากำหนัด.
ชื่อว่า โทสะ เพราะอรรถว่าประทุษร้าย.
ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่าลุ่มหลง.

พระสารีบุตรกล่าวกิเลสอันเป็นประธาน ๓ เหล่านี้ คือ ราคะ
มีลักษณะกำหนัด. โทสะมีลักษณะประทุษร้าย. โมหะมีลักษณะลุ่มหลง
แล้วบัดนี้ เมื่อจะแสดงโดยประเภท จึงกล่าวบทมีอาทิว่า โกโธ.

ในบทเหล่านั้น ในบทว่า โกโธ มีลักษณะโกรธนี้ ท่าน
ประสงค์เอาวัตถุ ๗ อย่าง.
อุปนาหะ มีลักษณะผูกโกรธ คือความโกรธนั่นเอง ที่ถึงความ
มั่นคง.
มักขะ มีลักษณะลบหลู่คุณผู้อื่น คือลบล้างคุณของผู้อื่น.
ปลาสะ มีลักษณะตีเสมอ คือ เห็นคุณผู้อื่นด้วยการตีเสมอ.
อิสสา มีลักษณะทำสมบัติของผู้อื่นให้สิ้นไป คือริษยา.
มัจฉริยะ มีลักษณะซ่อนสมบัติของตน คือ สมบัติของเรา
จงอย่าเป็นของผู้อื่น.

มายา มีลักษณะปกปิดความชั่วที่ตนทำ คือ ทำเป็นมายาด้วย
ความปกปิด.
สาเถยยะ มีลักษณะประกาศคุณที่ไม่มีในตน คือ ความเป็น
ผู้โอ้อวด.
ถัมภะ มีลักษณะพองจิต คือ ความเป็นผู้กระด้าง.
สารัมภะ มีลักษณะให้ยิ่งด้วยการทำ.
มานะ มีลักษณะถือตัว.
อติมานะ มีลักษณะดูหมิ่น.
มทะ มีลักษณะความเป็นผู้มัวเมา. ปมาทะ มีลักษณะปล่อย
จิตไปในกามคุณ ๕.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ในชนเหล่านั้น เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมระลึกได้ ๔๐ กัป.
ไม่ยิ่งไปกว่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะเดียรถีย์มีปัญญาอ่อน. จริงอยู่
ปัญญาของเดียรถีย์เหล่านั้น อ่อนเพราะไม่มีการกำหนดนามรูป.

สาวกธรรมดา ย่อมระลึกได้ ๑๐๐ กัปบ้าง ๑,๐๐๐ กัปบ้าง
เพราะมีปัญญาแก่กล้า. มหาสาวก ๘๐ รูป ระลึกได้ แสนกัป.
อัครสาวก ทั้งสองระลึกได้ อสงไขยหนึ่ง กับแสนกัป. พระปัจเจก-
พุทธเจ้า ระลึกได้ สองอสงไขย กับแสนกัป. เพราะอภินิหารของ
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีประมาณเพียงนี้. แต่ พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ระลึกได้ ไม่มีกำหนด.

อนึ่ง เดียรถีย์ทั้งหลาย ระลึกได้ลำดับขันธ์เท่านั้น พ้นลำดับ
ไปแล้วไม่สามารถระลึกถึงจุติและปฏิสนธิได้. เดียรถีย์เหล่านั้นระลึกได้
ไม่พ้นลำดับขันธ์ เหมือนคนตาบอดไม่ปล่อยไม้เท้าเดินไปฉะนั้น.

สาวกธรรมดา ระลึกได้แม้ตามลำดับขันธ์ ย่อมก้าวไปถึงจุติ
ปฏิสนธิ. มหาสาวก ๘๐ รูป ก็อย่างนั้น. ส่วน อัครสาวกทั้งสอง
ไม่มีกิจต้องระลึกตามลำดับขันธ์ คือ เห็นจุติของอัตภาพหนึ่งแล้ว
แล้วย่อมเห็นปฏิสนธิด้วย ย่อมก้าวเลยไปถึงจุติและปฏิสนธิอย่างนี้ คือ

ครั้นเห็นจุติของคนอื่นอีก ก็ย่อมเห็นปฏิสนธิด้วย. พระปัจเจกพุทธ-
เจ้า ก็เหมือนกัน. ส่วน พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีกิจต้องระลึก
ตามลำดับขันธ์ ไม่มีกิจต้องระลึกก้าวไปถึงจุติปฏิสนธิ เพราะว่า พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายทรงปรารถนาฐานะใด ๆ ข้างล่าง คือ ล่วงแล้วก็ดี

ข้างบน คือ อนาคตก็ดี ในโกฏิกัปไม่น้อยฐานะนั้น ๆ ย่อมปรากฏ
ได้ทีเดียว. เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงย่อโกฏิกัปแม้ไม่
น้อย แล้วปรารถนาฐานะใด ๆ ทรงก้าวเข้าไปในฐานะนั้น ๆ ด้วย
สามารถแห่งการก้าวไปของพระพุทธเจ้าผู้สีหะ. ญาณของพระพุทธเจ้า
เหล่านั้นไปอยู่อย่างนี้ ไม่ติดขัดในชาติในระหว่าง ๆ ย่อมถือเอาฐานะ
ที่ปรารถนาแล้วๆ .

ก็บรรดาชนทั้ง ๖ เหล่านี้ระลึกถึงชาติก่อนอยู่ การเห็นชาติ
ก่อนของพวกเดียรถีย์ ย่อมปรากฏเช่นกับแสงหิ่งห้อย. ของสาวก
ธรรมดาเช่นกับแสงประทีป. ของมหาสาวกเช่นกับแสงคบเพลิง. ของ
พระอัครสาวกเช่นกับรัศมีดาวประกายพรึก. ของพระปัจเจกพุทธเจ้า
เช่นกับรัศมีพระจันทร์. ของพระพุทธเจ้า ย่อมปรากฏเช่นกับมณฑล
พระอาทิตย์ในสรทกาล*(ฤดูใบไม้ร่วง หรือฤดูสารท คือเทศกาล
ทำบุญเดือนสิบ.)ประดับด้วยรัศมีพันดวง.

การระลึกถึงชาติก่อนของเดียรถีย์ ดุจคนตาบอดเดินไปด้วย
ปลายไม้เท้า. ของสาวกธรรมดา ดุจเดินไปตามสะพานด้วยไม้เท้า. ของ
พระมหาสาวก ดุจเดินไปตามสะพานด้วยลำแข้ง. ของพระอัครสาวก
ดุจเดินไปตามสะพานเกวียน. ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ดุจเดินไปตาม
ทางด้วยกำลังแข้ง. ของพระพุทธเจ้า ดุจเดินไปตามทางเกวียนใหญ่.
ก็ในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาการระลึกถึงชาติก่อนของพระสาวก
ทั้งหลาย.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างมี ๔ อย่าง
คือ แสงสว่างของดวงจันทร์ ๑ แสงสว่างของดวง
อาทิตย์ ๑ แสงสว่างของไฟ ๑ แสงสว่างของ
ปัญญา ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ อย่าง
เหล่านี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔
เหล่านี้ แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศกว่าแสงสว่าง
เหล่าอื่น.*(องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๔๔, ๑๔๕)


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2019, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
บทว่า ทสหิ กิเลสวตฺถูหิ - โลกสันนิวาสเศร้าหมอง เพราะ
กิเลสวัตถุ ๑๐ ประการ กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน? กิเลสวัตถุ ๑๐
เหล่านี้ คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑ ทิฏฐิ ๑ วิจิ-
กิจฉา ๑ ถีนะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อหิริกะ ๑ อโนตัปปะ ๑*(อภิ. วิ. ๓๕
/๑๐๒๖.)

พึงทราบในบทเหล่านั้นดังต่อไปนี้ กิเลสวัตถุ คือ กิเลสนั่น
เอง ที่ชื่อว่า วัตถุ เพราะกิเลสเป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้ไม่ใช่ขีณาสพ
เพราะตั้งอยู่ในโลภะเป็นต้น. ชื่อว่า กิเลสวัตถุ เพราะกิเลสเหล่านั้น
เป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย. อนึ่ง เพราะกิเลสทั้งหลาย แม้เกิดโดย
ความเป็นอนันตรปัจจัยเป็นต้น ก็ชื่อว่า ย่อมอยู่เหมือนกัน. ฉะนั้น
จึงชื่อว่า กิเลสวัตถุ เพราะเป็นที่อยู่ของกิเลสทั้งหลาย.

ชื่อว่า โลภะ เพราะเป็นเหตุได้. หรือ ย่อมได้ด้วยตนเอง.
หรือเพียงได้เท่านั้น. ชื่อว่า โทสะ เพราะเป็นเหตุประทุษร้าย. หรือ
ประทุษร้ายด้วยตนเอง. หรือเพียงประทุษร้ายเท่านั้น. ชื่อว่า โมหะ
เพราะเป็นเหตุหลง. หรือหลงด้วยตนเอง. หรือเพียงความหลงเท่านั้น.
ชื่อว่า มานะ เพราะสำคัญ. บทมี ทิฏฐิ เป็นต้น มีอรรถดังกล่าว
แล้ว. ชื่อว่า อหิริกะ เพราะไม่ละอาย. ความเป็นผู้ไม่ละอายนั้น.

ชื่อว่า อหิริกะ. ชื่อว่า อโนตตัปปะ เพราะไม่เกรงกลัว. ความเป็น
ผู้ไม่เกรงกลัวนั้น ชื่อว่า อโนตตัปปะ. ในสองบทนั้น อหิริกะมี
ลักษณะไม่รังเกียจด้วยกายทุจริตเป็นต้น. อโนตตัปปะมีลักษณะไม่ยินดี
ด้วยกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า กิลิสฺสติ ย่อมเศร้าหมอง คือ เผาผลาญ
เบียดเบียน.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2019, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
บทว่า ทสหิ อกุสลกมฺมปเถหิ - โลกสันนิวาสประกอบด้วย
อกุศลกรรมบถ ๑๐ อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นไฉน? อกุศลกรรมบถ ๑๐*
(ที. ปา. ๑๑/๔๗๐.) เหล่านี้ คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑
กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ ปิสุณาวาจา ๑ ผรุสวาจา ๑
สัมผัปปลาปะ ๑ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑.

ในบทนั้นมีความดังนี้ ชื่อว่า อกุสลกัมมบถ เพราะอกุศล
กรรมเหล่านั้นเป็นทางแห่งทุคติ.
บทว่า สมนฺนาคโต คือ มีความพรั่งพร้อม.

บทว่า ทสหิ สฺโชเนหิ - โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๑๐
คล้องไว้. สังโยชน์ ๑๐ เป็นไฉน? สังโยชน์ ๑๐*(อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๒๙.)
เหล่านี้ คือ กามราคะ ๑ ปฏิฆะ ๑ มานะ ๑ ทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑
สีลัพพตปรามาส ๑ ภวราคะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ อวิชชา ๑.

บทว่า มิจฺฉตฺตา - โลกสันนิวาสดิ่งลง เพราะมิจฉัตตะได้กล่าว
ไว้แล้ว.
บทว่า ทสวตฺถุกาย มิจฺฉาทิฏฺ€ิยา - โลกสันนิวาสประกอบ
ด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน?
มิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐*(อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๓๑.) คือ ทานที่ให้แล้วไม่มี
ผล ๑ การบวงสรวงไม่มีผล ๑ การบูชาไม่มีผล ๑ วิบากอันเป็นผล
ของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี ๑ โลกนี้ไม่มี ๑ โลกหน้าไม่มี ๑ มารดา
ไม่มี ๑ บิดาไม่มี ๑ โอปปาติกสัตว์ไม่มี ๑ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี
ปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้ง โลกนี้ โลกหน้า ด้วยอภิญญา แล้วรู้ด้วยตนเอง
ไม่มีในโลก ๑.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
บทว่า อญญมญญํ
นาติวตตนติ ไม่ล่วงเกินกันและกัน คือ หากสมถะล่วงเกินวิปัสสนา จิตพึง
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เพราะสมถะเป็นไปในฝ่ายหดหู่. หากว่า วิปัสสนา
ล่วงเกินสมถะ จิตพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่านเพราะวิปัสสนาเป็นไปในฝ่ายแห่ง
ความฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น สมถะเมื่อไม่ล่วงเกินวิปัสสนาย่อมไม่ตกไปใน
ความเกียจคร้าน วิปัสสนาไม่ล่วงเกินสมถะ ย่อมไม่ตกไปในความฟุ้งซ่าน

สมถะเป็นไปเสมอย่อมรักษาวิปัสสนาจากการตกไปสู่ความฟุ้งซ่าน วิปัสสนา
เป็นไปเสมอย่อมรักษาสมถะจากการตกไปสู่ความเกียจคร้าน. สมถะและวิปัสสนา
ทั้ง ๒ มีกิจอย่างเดียวกันด้วยกิจคือ การไม่ล่วงเกินกันและกันด้วยประการฉะนี้.
สมถะและวิปัสสนาเป็นไปเสมอไม่ล่วงเกินกันและกัน ย่อมทำประโยชน์ให้
สำเร็จ. ความที่สมถะและวิปัสสนานั้นเป็นธรรมคู่กันในขระแห่งมรรคย่อมมีได้
เพราะเป็นธรรมคู่กันในขณะแห่งวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี.

เพื่อความเข้าใจกิจของมรรคทั้งสิ้น เพราะท่านกล่าวการทำการละ
การสละ การออก และการหลีกไปด้วยอำนาจแห่งกิจของมรรค ท่านจึงชี้แจง
กิเลสสหรคตด้วยอุทธัจจะและขันธ์ และกิเลสสหรคตด้วยอวิชชาและขันธ์
เพราะท่านกล่าวขันธ์ที่เหลืออย่างนั้นแล้ว จึงไม่ชี้แจงถึงอุทธัจจะและอวิชชา

ด้วยอำนาจแห่งการเข้าใจเพียงธรรมอันเป็นปฏิปักษ์. บทว่า วิวฏฏโต คือ
หลีกไป. บทว่า สมาธิ กามาสวา วิมุตโต โหติ สมาธิพ้นจากกามาสวะ
ท่านกล่าวเพราะสมาธิเป็นปฏิปักษ์ของกามฉันทะ. บทว่า ราควิราคา เพราะ
คลายราคะ ชื่อว่า ราควิราโค เพราะมีการคลาย การก้าวล่วงราคะหรือเป็น

ปัญจมีวภัตติว่า ราควิราคโต จากการคลายราคะ. อนึ่ง เพราะคลายอวิชชา.
บทว่า เจโตวิมุตติ คือสมาธิปฃสัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า ปญญาวิมุตติ ปัญญา
สัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า ตรโต คือ ผู้ข้าม. บทว่า สพพปณิธีหิ ด้วยที่ตั้ง
ทั้งปวง คือด้วยที่ตั้งคือราคะ โทสะ โมหะ หรือด้วยความปรารถนาทั้งปวง.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
สีสธรรม ในคำว่า สีสํ มี ๑๓ คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประ-
ธาณ ๑ มานะมีความพัวพันเป็นประธาน ๑ ทิฏฐิมีความถือผิดเป็นประธาน ๑
อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน ๑ ศรัทธา
มีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน ๑ วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน ๑ สติ
มีความตั้งมั่นเป็นประธาน ๑ สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ ปัญญามี
ความเห็นเป็นประธาน ๑ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน ๑ วิโมกข์
โคจรเป็นประธาน ๑ นิโรธมีสังขารเป็นประธาน ๑.
จบสมสีสกถา


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

โทษของที่จงกรมมี ๕ อย่าง

Quote Tipitaka:
บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ ความว่า ชื่อว่า โทษของที่จงกรมมี ๕
อย่าง เหล่านี้ คือ แข็งและขรุขระ ๑ มีต้นไม้ภายใน ๑ ปกคลุมด้วย
รกชัฏ ๑ แคบเกินไป ๑ กว้างเกินไป ๑.

จริงอยู่ เมื่อพระโยคีจงกรมบนที่จงกรม มีพื้นดินแข็งและขรุขระ
เท้าทั้งสองจะเจ็บปวดเกิดการพองขึ้น จิตไม่ได้ความแน่วแน่ กัมมัฏฐาน
จะวิบัติ แต่กัมมัฏฐานจะถึงพร้อม ก็เพราะได้อาศัยการอยู่ผาสุกในพื้นที่
อ่อนนุ่มและเรียบ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พื้นที่แข็งและขรุขระเป็น
โทษประการที่ ๑

เมื่อมีต้นไม้อยู่ภายใน หรือท่ามกลาง หรือที่สุดของที่จงกรม เมื่อ
อาศัยความประมาทเดินจงกรม หน้าผากหรือศีรษะย่อมกระทบ เพราะ-
ฉะนั้น ที่จงกรมมีต้นไม้อยู่ภายใน จึงเป็นโทษประการที่ ๒

พระโยคีเมื่อจงกรมอยู่ในที่จงกรมอันปกคลุมด้วยชัฏหญ้าและเถาวัลย์
เป็นต้น ในเวลามืดค่ำก็จะเหยียบงูเป็นต้นตาย หรือถูกงูเป็นต้นนั้นกัดได้
รับทุกขเวทนา เพราะฉะนั้น ที่จงกรมอันปกคลุมด้วยชัฏ (รกรุงรัง) จึง
เป็นโทษประการที่ ๓

เมื่อพระโยคีจงกรมอยู่ในที่จงกรมแคบเกินไป โดยความกว้าง
ประมาณศอกหนึ่งหรือครึ่งศอก เล็บบ้าง นิ้วบ้าง จะสะดุดขอบจงกรม
เข้าแล้วจะแตก เพราะฉะนั้น ที่จงกรมแคบเกินไป จึงเป็นโทษประการ
ที่ ๔

เมื่อพระโยคีจงกรมอยู่ในที่จงกรมกว้างเกินไป จิตย่อมพล่าน ไม่
ได้ความแน่วแน่ เพราะฉะนั้น ความที่จงกรมกว้างเกินไป จึงเป็นโทษ
ประการที่ ๕.
ก็ที่อนุจงกรม ส่วนกว้างประมาณศอกหนึ่งในด้านทั้งสอง ประมาณ
ด้านละหนึ่งศอก. ที่จงกรมส่วนยาว ประมาณ ๖๐ ศอก พื้นอ่อนนุ่ม
เกลี่ยทรายไว้เรียบ ย่อมควร เหมือนที่จงกรมของพระมหามหินทเถระผู้
ทำชาวเกาะให้เลื่อมใสในเจติยคีรีวิหารที่จงกรมของท่านได้เป็นเช่นนั้น.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราได้สร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ ๕
ประการ ไว้ใกล้อาศรมนั้น.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อาศรมประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ


Quote Tipitaka:
บทว่า อฏฺ€คุณสมุเปตํ ได้แก่ ประกอบด้วยสมณสุข ๘ ประการ
ชื่อว่าสมณสุข ๘ ประการ เหล่านี้ คือ ไม่มีการหวงแหนทรัพย์และข้าว-
เปลือก ๑ แสวงหาบิณฑบาตที่ไม่มีโทษ ๑ บริโภคบิณฑบาตที่เย็น ๑
ไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุบีบคั้นชาวรัฐ ในเมื่อราชสกุลบีบคั้นชาวรัฐถือเอา

ทรัพย์ที่มีค่า หรือดีบุกและกหาปณะเป็นต้น ๑ ปราศจากความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ๑ ไม่กลัวโจรปล้น ๑
ไม่ต้องคลุกคลีกับพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชา ๑ ไม่ถูกขัด
ขวางในทิศทั้งสี่ ๑. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ผู้อยู่ในอาศรมนั้นสามารถ
ได้รับความสุขทั้ง ๘ ประการนี้ เราจึงสร้างอาศรมนั้นอันประกอบด้วย
คุณ ๘ ประการนี้.

บทว่า อภิญฺาพลมาหรึ ความว่า ภายหลังเมื่อเราอยู่ในอาศรม
นั้นกระทำกสิณบริกรรม แล้วเริ่มวิปัสสนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
และโดยความเป็นทุกข์ เพื่อต้องการให้อภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้น แล้ว
จึงได้วิปัสสนาพละอันทรงเรี่ยวแรง อธิบายว่า เราอยู่ในอาศรมนั้น
สามารถนำเอาพละนั้นมาได้ ด้วยประการใด เราได้สร้างอาศรมนั้นให้
สมควรแก่วิปัสสนาพละ เพื่อต้องการอภิญญา ด้วยประการนั้น.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร