วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 44, 45, 46, 47, 48, 49, 50 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ฤๅษีผู้นี้ยินดีแล้วในความสงบและความ
สำรวม ท่านถูกภัยคือความหนาวเบียดเบียน จึง
มายืนอยู่ เชิญฤๅษีผู้นี้จงเข้ามายังบรรณศาลานี้
เถิด จะได้บรรเทาความหนาวและความกระวน
กระวายให้หมดสิ้นไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปสมญฺญเม รโต คือ ยินดีใน
ความสงบจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และในความสำรวมด้วยศีล. บทว่า
ส ติฏฺฐติ คือเขายืนอยู่. บทว่า สิสิรภเยน ได้แก่ เพราะกลัวความ
หนาวที่เกิดแต่ลมและฝน. บทว่า อทฺธิโต ความว่า เบียดเบียน
แล้ว. บทว่า ปวิสตุมํ ตัดบทเป็น ปวิสตุ อิมํ คือ เชิญเข้ามายัง
บรรณศาลานี้. บทว่า เกวลํ ได้แก่ ทั้งสิ้น คือ ไม่มีเหลือ.

พระโพธิสัตว์ฟังคำของบุตรจึงลุกขึ้นมองดู รู้ว่าเป็นลิง
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
นี่ไม่ใช่ฤๅษีผู้ยินดีในความสงบและความ
สำรวม เป็นลิงที่เที่ยวโคจรอยู่ตามกิ่งมะเดื่อ มัน
เป็นสัตว์ประทุษร้าย ฉุนเฉียว และมีสันดาน
ลามก ถ้าเข้ามาอยู่ยังบรรณศาลาหลังนี้ ก็จะพึง
ประทุษร้ายบรรณศาลา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุมฺพรสาขโคจโร ได้แก่ เที่ยวอยู่
ตามกิ่งมะเดื่อ. บทว่า โส ทูสโก โรสโก จาปิ ชมฺโม ความว่า
ลิงเป็นสัตว์ชื่อว่า ประทุษร้ายเพราะประทุษร้ายที่ที่มันไปแล้ว ๆ
ชื่อว่า เป็นสัตว์ฉุนเฉียว เพราะกระทบกระทั่ง ชื่อว่า เป็นสัตว์

เลวทรามเพราะความเป็นผู้ลามก. บทว่า สเจ วเช ความว่า
หากลิงนั้นเข้ามาอยู่ยังบรรณศาลานี้ ก็จะพึงประทุษร้ายบรรณ-
ศาลาทั้งหมด ด้วยการถ่ายอุจจาระปัสสาวะรดและด้วยการเผา.

พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคว้าดุ้นฟืนติดไฟ
ออกมาขู่ให้ลิงตกใจกลัวแล้วให้หนีไป. ลิงกระโดดหนีเข้าป่าไป
ไม่ได้มาที่นั้นอีก. พระโพธิสัตว์ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด
สอนการบริกรรมกสิณแก่ดาบสกุมาร. ดาบสกุมารทำอภิญญาและ
สมาบัติให้เกิดขึ้นแล้ว. ดาบสทั้งสองนั้นมีฌานมิได้เสื่อม ได้มี
พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น ตั้งแต่ครั้งก่อนภิกษุนี้ก็เป็นผู้
หลอกลวงเหมือนกัน แล้วทรงประกาศสัจจธรรม ทรงประชุม
ชาดก. ครั้นจบสัจจธรรม บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บาง
พวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี. ลิงใน
ครั้งนั้นได้เป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้ บุตรได้เป็นราหุล ส่วน
บิดา คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากปิชาดกที่ ๑๐

:b8: :b8: :b8:
จบอรรถกถาเล่ม ๕๖ ต่อ เล่ม ๕๗ กันเลยครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ทุกนิบาต
อรรถกถาทัฬหวรรค
อรรถกถาราโชวาทชาดกที่ ๑


พระศาสดาเมื่อทรงประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรง
ปรารภโอวาทของพระราชา ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้น
ว่า ทฬฺหํ ทฬฺหสฺส ขิปติ ดังนี้.

โอวาทของพระราชานั้นจักมีแจ้งในเตสกุณชาดก. ในวัน
หนึ่งพระเจ้าโกศลทรงวินิจฉัยคดีเรื่องหนึ่ง ซึ่งวินิจฉัยไว้ไม่ดี
มีอคติ เสร็จแล้วเสวยพระกระยาหารเช้า ทั้ง ๆ ที่มีพระหัตถ์
เปียก เสด็จขึ้นทรงราชรถที่จัดไว้เรียบร้อยแล้ว เสด็จไปเฝ้า
พระศาสดา ทรงหมอบลงแทบพระบาทอันมีสิริดุจดอกปทุมบาน
ถวายบังคมพระศาสดา ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสปฏิสันถารกะพระเจ้าโกศลว่า ขอ
ต้อนรับมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน. พระเจ้า
โกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ข้าพระองค์วินิจฉัย
คดีเรื่องหนึ่งซึ่งวินิจฉัยไว้ไม่ดี จึงไม่มีโอกาส บัดนี้พิจารณาคดี
นั้นเสร็จแล้ว จึงบริโภคอาหารทั้ง ๆ ที่มือยังเปียก มาเฝ้าพระองค์

นี่แหละพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ขอถวายพระพรชื่อว่า
การวินิจฉัยคดีโดยทำนองคลองธรรมเป็นความดี เป็นทางสวรรค์
แท้. ก็ข้อที่มหาบพิตรได้โอวาทจากสำนักของผู้เป็นสัพพัญญู
เช่นตถาคต ทรงวินิจฉัยคดีโดยทำนองคลองธรรมนี้ไม่อัศจรรย์
เลย การที่พระราชาทั้งหลายในกาลก่อน ทรงสดับโอวาทของ

เหล่าบัณฑิต ทั้งที่ไม่ใช่สัพพัญญู แล้วทรงวินิจฉัยคดีโดยทำนอง
คลองธรรม เว้นอคติสี่อย่าง บำเพ็ญทศพิธราชธรรม ไม่ให้เสื่อม
เสีย เสวยราชสมบัติโดยธรรม บำเพ็ญทางสวรรค์ เสด็จไปแล้ว
นี่แหละน่าอัศจรรย์. พระเจ้าโกศลกราบทูลอาราธนา พระองค์จึง
ทรงนำเรื่องในอดีตมาเล่าถวาย.

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ
พระอัครมเหสีของพระราชานั้น ได้รับการบริหารพระครรภ์
เป็นอย่างดี ทรงประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา โดย
สวัสดิภาพ. ในวันขนานพระนาม พระชนกชนนีได้ทรงตั้งพระนาม
ของพระโพธิสัตว์ว่า พรหมทัตกุมาร.

พรหมทัตกุมารนั้น ได้เจริญวัยขึ้นโดยลำดับ เมื่อพระชนม์
ได้ ๑๖ พรรษา เสด็จไปเมืองตักกสิลา ทรงสำเร็จศิลปศาสตร์
ทุกแขนง เมื่อพระชนกสวรรคตทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ ครอบ
ครองราชสมบัติโดยทำนองคลองธรรม ทรงวินิจฉัยคดีไม่ล่วง
อคติ มีฉันทาคติเป็นต้น. เมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติโดยธรรม

อย่างนี้ แม้พวกอำมาตย์ต่างก็วินิจฉัยคดีโดยธรรมเหมือนกัน.
เมื่อคดีทั้งหลายได้รับการวินิจฉัยโดยธรรม จึงไม่มีคดีโกงเกิดขึ้น
เพราะไม่มีคดีโกงเหล่านั้น การร้องทุกข์ ณ พระลานหลวง เพื่อ
ให้เกิดคดีก็หมดไป. พวกอำมาตย์นั่งบนบัลลังก์วินิจฉัยตลอดวัน
ไม่เห็นใคร ๆ มาเพื่อให้วินิจฉัยคดี ต่างก็ลุกกลับไป. สถานที่
วินิจฉัยคดีก็ถูกทอดทิ้ง.

พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เมื่อเราครองราชสมบัติโดยธรรม
ไม่มีผู้คนมาให้วินิจฉัยคดี ไม่มีผู้มาร้องทุกข์ สถานที่วินิจฉัยคดี
ก็ถูกทอดทิ้ง. บัดนี้เราควรตรวจสอบโทษของตน ครั้นเรารู้ว่า
นี่เป็นโทษของเรา จักละโทษนั้นเสียประพฤติในสิ่งที่เป็นคุณ
เท่านั้น. จำเดิมแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์ก็ทรงสำรวจดูว่า จะมี

ใคร ๆ พูดถึงโทษของเราบ้างหนอ ครั้นไม่ทรงเห็นใคร ๆ กล่าว
ถึงโทษ ในระหว่างข้าราชบริพารภายใน ทรงสดับแต่คำสรรเสริญ
คุณของพระองค์ถ่ายเดียว ทรงดำริว่า ชะรอยชนเหล่านี้ เพราะ
กลัวเราจึงไม่กล่าวถึงโทษ กล่าวแต่คุณเท่านั้น จึงทรงสอบข้า-

ราชบริพารภายนอก แม้ในหมู่ข้าราชบริพารเหล่านั้น ก็ไม่ทรง
เห็น จึงทรงสอบชาวเมืองภายในพระนคร ทรงสอบชาวบ้านที่
ทวารทั้งสี่นอกพระนคร แม้ในที่นั้นก็มิได้ทรงเห็นใคร ๆ กล่าวถึง
โทษ ทรงสดับแต่คำสรรเสริญของพระองค์ถ่ายเดียว จึงทรงดำริ
ว่า เราจักตรวจสอบชาวชนบทดู ทรงมอบราชสมบัติให้เหล่า

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อำมาตย์ เสด็จขึ้นรถไปกับสารถีเท่านั้น ทรงปลอมพระองค์ไม่
ให้ใครรู้จัก เสด็จออกจากพระนคร พยายามสอบสวนชาวชนบท
จนเสด็จถึงภูมิประเทศชายแดน ก็มิได้ทรงเห็นใคร ๆ กล่าวถึง
โทษ ทรงสดับแต่คำสรรเสริญพระคุณ จึงทรงบ่ายพระพักตร์
สู่พระนคร เสด็จกลับตามทางหลวงจากเขตชายแดน.

ในเวลานั้น แม้พระเจ้าโกศลพระนามว่า พัลลิกะ ก็ทรง
ครอบครองราชสมบัติโดยธรรม ทรงตรวจสอบหาโทษในบรรดา
ข้าราชบริพารภายในเป็นต้น มิได้ทรงเห็นใคร ๆ กล่าวถึงโทษ
เลย ทรงสดับแต่คำสรรเสริญพระคุณของพระองค์เหมือนกัน
จึงทรงตรวจสอบชาวชนบท ได้เสด็จถึงประเทศนั้น.

กษัตริย์ทั้งสอง ได้ประจันหน้ากันที่ทางเกวียนอันราบลุ่ม
แห่งหนึ่ง ไม่มีทางที่รถจะหลีกกันได้. สารถีของพระเจ้าพัลลิกะ
จึงพูดกะสารถีของพระเจ้าพาราณสีว่า "จงหลีกรถของท่าน"
สารถีของพระเจ้าพาราณสีก็ตอบว่า "พ่อมหาจำเริญ ขอให้ท่าน
หลีกรถของท่านเถิด บนรถนี้มีพระเจ้าพรหมทัตมหาราช ผู้

ครอบครองราชสมบัติในกรุงพาราณสีประทับนั่งอยู่" สารถี
อีกฝ่ายหนึ่งก็พูดว่า "พ่อมหาจำเริญ บนรถนี้พระเจ้าพัลลิกะ
มหาราชผู้ครอบครองราชสมบัติในแคว้นโกศลก็ประทับนั่งอยู่
ขอท่านได้โปรดหลีกรถของท่าน แล้วให้โอกาสแก่รถของพระ-
ราชาของเราเถิด"

สารถีของพระเจ้าพาราณสีดำริว่า "แม้ผู้ที่นั่งอยู่ในรถนี้
ก็เป็นพระราชาเหมือนกัน เราจะควรทำอย่างไรดีหนอ" นึกขึ้น
ได้ว่า มีอุบายอย่างหนึ่ง เราจักถามถึงวัยให้รถของพระราชาหนุ่ม
หลีกไป แล้วให้พระราชทานโอกาสแก่พระราชาแก่ ครั้นตกลงใจ
แล้ว จึงถามถึงวัยของพระเจ้าโกศลกะสารถี แล้วกำหนดไว้
ครั้นทราบว่าพระราชาทั้งสองมีวัยเท่ากัน จึงถามถึงปริมาณ

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ี่ราชสมบัติ กำลัง ทรัพย์ ยศ ชาติ โคตร ตระกูล ประเทศ
ครั้นทราบว่า ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ครอบครองรัชสีมาประมาณ
ฝ่ายละสามร้อยโยชน์ มีกำลัง ทรัพย์ ยศ ชาติ โคตร ตระกูล
และประเทศเท่ากัน แล้วคิดต่อไปว่า เราจักให้โอกาสแก่ผู้มีศีล
จึงถามว่า "พ่อมหาจำเริญ ศีลและมารยาทแห่งพระราชาของ
ท่านเป็นอย่างไร" เมื่อเขาประกาศสิ่งที่เป็นโทษแห่งพระราชา
ของตน โดยนึกว่าเป็นคุณ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

พระเจ้าพัลลิกราชทรงชนะคนกระด้าง
ด้วยความกระด้าง ทรงชนะคนอ่อนโดยด้วยความ
อ่อนโยน ทรงชนะคนดีด้วยความดี ทรงชนะ
คนไม่ดีด้วยความไม่ดี พระราชาพระองค์นี้เป็น
เช่นนั้น ดูก่อนสารถีท่านจงหลีกทางถวายพระ-
ราชาของเราเถิด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ทฬฺหํ ทฬฺหสฺส ขิปติ ความว่า สารถี
ของพระเจ้าพัลลิกะชี้แจงว่า ผู้ใดเป็นคนกระด้าง มีกำลังควร
ชนะด้วยการประหารหรือด้วยวาจาอันกระด้าง ก็ใช้การประหาร
หรือวาจาอันกระด้างต่อผู้นั้น พระเจ้าพัลลิกะทรงใช้ความกระด้าง

ชนะผู้นั้นอย่างนี้. บทว่า พลฺลิโก เป็นชื่อของพระราชาพระองค์
นั้น. บทว่า มุทุนา มุทุํ ความว่า พระเจ้าพัลลิกะทรงใช้ความ
อ่อนโยนชนะบุคคลอ่อนโยน ด้วยอุบายอันอ่อนโยน. บทว่า
สาธุมฺปิ สาธุนา เชติ อสาธุมฺปิ อสาธุนา ความว่า สารถีของ

พระเจ้าพัลลิกะชี้แจงต่อไปว่า ชนเหล่าใดเป็นคนดี คือเป็น
สัตบุรุษ พระองค์ทรงใช้ความดีชนะชนเหล่านั้น ด้วยอุบายอันดี.
ส่วนชนเหล่าใดเป็นคนไม่ดี พระองค์ก็ทรงใช้ความไม่ดีชนะชน
เหล่านั้น ด้วยอุบายที่ไม่ดีเหมือนกัน.

บทว่า เอตาทิโส อยํ ราชา ความว่า พระเจ้าโกศลของ
พวกเรา ทรงประกอบด้วยศีล และมารยาทเห็นปานนี้. บทว่า
มคฺคา อุยฺยาหิ สารถิ ความว่า สารถีของพระเจ้าพัลลิกะพูดว่า
ขอท่านจงหลีกรถของตนจากทางไปเสีย คือจงไปนอกทาง ให้
ทางแก่พระราชาของพวกเรา.

ลำดับนั้นสารถีของพระเจ้าพาราณสี กล่าวกะสารถีของ
พระเจ้าพัลลิกะว่า ท่านกล่าวถึงพระคุณของพระราชาของท่าน
หรือ เมื่อเขาตอบว่า ใช่แล้ว สารถีของพระเจ้าพาราณสีจึงกล่าว
ต่อไปว่า ผิว่าเหล่านี้เป็นพระคุณ สิ่งที่เป็นโทษจะมีเพียงไหน
สารถีของพระเจ้าพัลลิกะกล่าวว่า เหล่านี้เป็นโทษก็ตามเถิด

แต่พระราชาของท่านมีพระคุณเช่นไรเล่า สารถีของพระเจ้า
พาราณสีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง แล้วกล่าวคาถาที่สองว่า :-

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระเจ้าพาราณสีทรงชนะคนโกรธด้วย
ความไม่โกรธ ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี ทรง
ชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ ทรงชนะคนพูดเหลาะ
แหละด้วยคำสัตย์ พระราชาพระองค์นี้เป็นเช่น
นั้น ดูก่อนสารถีท่านจงหลีกทางถวายพระราชา
ของเราเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิโส ความว่า พระราชาทรง
ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ ที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า พึงชนะคน
โกรธด้วยความไม่โกรธ ดังนี้ อธิบายว่า พระราชาพระองค์นี้
พระองค์เองไม่โกรธ ทรงชนะบุคคลผู้โกรธด้วยความไม่โกรธ
พระองค์เองเป็นคนดี ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี พระองค์เอง

เป็นผู้ทรงบริจาค ทรงชนะคนตระหนี่เหนียวแน่นด้วยการบริจาค
พระองค์เองตรัสความจริง ทรงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำจริง.

บทว่า มคฺคา อุยฺยาหิ ความว่า สารถีของพระเจ้าพาราณสี
กล่าวว่า ท่านสารถีผู้เป็นสหาย ขอได้โปรดหลีกจากทาง จง
ให้ทางแก่พระราชาของพวกเราผู้ประกอบด้วยคุณ คือศีลและ
มารยาทมีอย่างนี้ พระราชาของพวกเราสมควรแก่ทางดำเนิน.

เมื่อสารถีของพระเจ้าพาราณสีกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้า
พัลลิกะ และสารถีทั้งสองก็เสด็จและลงจากรถปลดม้าถอยรถ
ถวายทางแด่พระเจ้าพาราณสี. พระเจ้าพาราณสี ถวายโอวาท
แด่พระเจ้าพัลลิกะว่า ธรรมดาพระราชาควรทรงกระทำอย่างนี้ ๆ

แล้วเสด็จไปกรุงพาราณสี ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้น ทรง
เพิ่มพูนทางสวรรค์ในเวลาสุดสิ้นพระชนม์.

แม้พระเจ้าพัลลิกะก็ทรงรับพระโอวาท ของพระเจ้า-
พาราณสี ทรงสอบสวนชาวชนบท เสด็จไปทั่วพระนคร ไม่เห็น
มีผู้กล่าวโทษของพระองค์ จึงกระทำบุญมีทานเป็นต้น ทรงเพิ่ม
พูนทางสวรรค์ ในเวลาสุดสิ้นพระชนม์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาเพื่อทรงถวาย
โอวาทแด่พระเจ้าโกศล แล้วทรงประชุมชาดก
นายสารถีของพระเจ้าพัลลิกะ ครั้งนั้นได้เป็นพระโมค-
คัลลานะ พระเจ้าพัลลิกะ ได้เป็นพระอานนท์ สารถีของพระเจ้า
พาราณสี ได้เป็นพระสาริบุตร ส่วนพระราชาคือ ตถาคตเอง.
จบ อรรถกถาราโชวาทชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ทรงปรารถนา
บุตรช่างกัลบกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่เมืองเวสาลี แล้วตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ดังนี้

ได้ยินว่า บิดาของเราเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสถึงไตร-
สรณาคมน์ สมาทานศีล ๕ กระทำกิจทุกอย่าง เป็นต้นว่า ปลง
พระมัสสุ แต่งพระเกศา ตั้งกระดานสะกาแด่พระราชา พระมเหสี
พระราชกุมาร และพระราชกุมารี ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วย
การฟังธรรมของพระศาสดาเนือง ๆ. วันหนึ่งบิดาไปทำงาน

ในราชนิเวศน์ พาบุตรของตนไปด้วย. บุตรนั้น เห็นนางกุมาริกา
แห่งเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่ง ในราชนิเวศน์นั้น ประดับประดาด้วย
เครื่องอลังการ เปรียบด้วยนางเทพอัปสร มีจิตปฏิพัทธ์ ครั้น
ออกจากราชนิเวศน์กับบิดาแล้วคิดว่า เมื่อเราได้นางกุมาริกานี้
จึงจักมีชีวิตอยู่ เมื่อไม่ได้เราจักตายเสียในที่นี่แหละ จึงอดอาหาร
นอนซมเซาอยู่บนเตียง.

ลำดับนั้น บิดาเข้าไปหาบุตรปลอบโยนว่า ลูกเอ๋ย ลูก
อย่าทำความพอใจยินดีในสิ่งที่ไม่สมควรเลย ลูกเป็นคนมีกำเนิด
ต่ำต้อย เป็นลูกช่างกัลบก ส่วนกุมาริกาของเจ้าลิจฉวี เป็นธิดา
กษัตริย์ สมบูรณ์ด้วยชาติ นางไม่สมควรแก่เจ้าดอก พ่อจักนำ

กุมาริกาอื่นที่เหมาะสมด้วยชาติแลโคตรมาให้ลูก. บุตรมิได้เชื่อ
ถ้อยคำของบิดา. ต่อมาญาติและมิตรสหาย คือ มารดา พี่ชาย
น้องสาว น้า อา ทั้งหมด ประชุมกันชี้แจงก็ไม่อาจให้ยินยอมได้.
เขาผอมซูบซีด นอนตายอยู่บนเตียงนั่นเอง บิดาของเขาครั้นทำ

ฌาปนกิจเสร็จแล้ว เมื่อความโศกสร่างลง คิดว่า เราจักถวาย
บังคมพระศาสดา จึงถือของหอม ดอกไม้เป็นต้น และเครื่องลูบไล้
เป็นอันมาก ไปป่ามหาวัน บูชาพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง
ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า อุบาสก เพราะอะไร

ท่านจึงไม่ปรากฏตลอดวัน เขาได้กราบทูลความนั้นให้ทรงทราบ
พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก บุตรของท่านเกิดพอใจยินดีในสิ่ง
อันไม่สมควร แล้วถึงความพินาศ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน
บุตรของท่านก็ได้ถึงความพินาศมาแล้ว เมื่อเขาทูลอาราธนา จึง
ทรงนำเรื่องในอดีตมา

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดราชสีห์ ณ ป่าหิมพานต์.
ราชสีห์นั้นมีน้องชายหก มีน้องหญิงหนึ่ง. ทั้งหมดอาศัยอยู่ ณ
ถ้ำทอง. อนึ่ง ที่รชฏบรรพตไม่ไกลจากถ้ำนั้นมีถ้ำผลึกอยู่ถ้ำหนึ่ง.
ที่ถ้ำผลึกนั้นมีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งอาศัยอยู่. ครั้นต่อมาพ่อแม่ของ

ราชสีห์ทั้งหลายได้ตายลง. ราชสีห์ผู้พี่เหล่านั้น จึงให้นางราชสีห์
ผู้น้องอยู่ในถ้ำทอง แล้วออกหาอาหาร นำเนื้อมาให้น้อง. สุนัข
จิ้งจอกเห็นนางราชสีห์นั้น ได้มีจิตปฏิพัทธ์. แต่เมื่อพ่อแม่ของ
นางราชสีห์ยังไม่ตาย สุนัขจิ้งจอกจึงไม่ได้โอกาส. ในเวลาที่

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ราชสีห์พี่น้องทั้ง ๗ ออกไปหาอาหาร สุนัขจิ้งจอกจึงลงจากถ้ำ
แก้วผลึก ไปยังประตูถ้ำทอง กล่าววาจามีเลศนัย อันประกอบด้วย
โลกามิส เฉพาะหน้านางราชสีห์ว่า นี่แน่ะแม่ราชสีห์น้อย เรา
มีสี่เท้า แม้เจ้าก็มีสี่เท้า เจ้าจงเป็นภรรยาของเราเถิด เราจักเป็น
สามีของเจ้า เราทั้งสองจักสมสู่อยู่ร่วมกันอย่างบันเทิงใจ ตั้งแต่
นี้ไปเจ้าจงร่วมกับเราด้วยอำนาจกิเลส.

นางราชสีห์ฟังคำของสุนัขจิ้งจอกแล้วคิดว่า เจ้าสุนัขจิ้งจอก
นี้ เป็นสัตว์เลวทรามน่าขยะแขยง คล้ายตัวจัณฑาลในระหว่าง
สัตว์สี่เท้าทั้งหลาย พวกเราเท่ากับราชตระกูลชั้นสูง สุนัขจิ้งจอก
นี้พูดจาไม่งดงาม ไม่เหมาะสมกับเรา เราฟังถ้อยคำชนิดนี้แล้ว
จะมีชีวิตอยู่ไปทำไม เราจักกลั้นใจตายเสีย ครั้นแล้วนางราชสีห์
ฉุกคิดขึ้นว่า เราตายอย่างนี้ไม่สมควร รอให้พวกพี่ของเรากลับ
มาเสียก่อน เราเล่าเรื่องให้พี่ ๆ ฟังแล้วจึงจะตาย.

ฝ่ายสุนัขจิ้งจอก ครั้นไม่ได้คำตอบจากนางราชสีห์ คิดว่า
นางไม่เยื่อใยในเราเสียแล้ว เสียใจกลับเข้าไปนอนในถ้ำแก้วผลึก.
ราชสีห์ตัวหนึ่งฆ่ากระบือและช้างเป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่งกัดกินเนื้อ
และนำส่วนหนึ่งมาให้นางราชสีห์ผู้น้อง กล่าวว่า น้องเคี้ยวกิน
เนื้อเสียเถิด. นางราชสีห์ตอบว่า พี่ ฉันไม่กินดอก ฉันจะตายละ.

ราชสีห์ถามว่า ทำไมเล่าน้อง. นางได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ราชสีห์
ผู้พี่ฟัง. ราชสีห์ถามว่า เดี๋ยวนี้สุนัขจิ้งจอกมันอยู่ที่ไหนเล่า นาง-
ราชสีห์สำคัญสุนัขจิ้งจอกซึ่งนอนอยู่ในถ้ำแก้วผลึกว่า นอนอยู่
ในกลางแจ้ง จึงตอบว่า พี่ไม่เห็นหรือ สุนัขจิ้งจอกนี้นอนอยู่

กลางแจ้งใกล้เขารชฏบรรพต. ลูกราชสีห์ไม่รู้ว่ามันนอนในถ้ำ
แก้วผลึก สำคัญว่ามันนอนในกลางแจ้ง คิดว่า จักฆ่ามันเสีย
จึงวิ่งไปโดยกำลังเร็วของราชสีห์ ชนเอาถ้ำแก้วผลึกหัวใจวาย.
ลูกราชสีห์นั้น หัวใจวายถึงแก่ความตาย ล้มลงที่เชิงเขานั้นเอง.
ต่อมาราชสีห์อีกตัวหนึ่งมา. นางราชสีห์ก็บอกเรื่องราวแก่

ราชสีห์เหมือนอย่างเดิม. แม้ราชสีห์นั้นก็ทำอย่างเดียวกันนั้น
ถึงแก่ความตายล้มลงที่เชิงเขา. เมื่อพี่ทั้งหกตายหมด ราชสีห์-

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
โพธิสัตว์กลับมาภายหลัง. นางราชสีห์ก็เล่าเรื่องให้ราชสีห์-
โพธิสัตว์ฟัง เมื่อราชสีห์โพธิสัตว์ถามว่า เดี๋ยวนี้สุนัขจิ้งจอกนั้น
มันอยู่ที่ไหน นางก็บอกว่า มันนอนที่กลางแจ้งใกล้ยอดเขา
รชฏบรรพต. ราชสีห์โพธิสัตว์คิดว่า ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย
ไม่มีที่อาศัยในกลางแจ้ง มันต้องนอนอยู่ในถ้ำแก้วผลึกเป็นแน่.

ราชสีห์โพธิสัตว์จึงเดินไปยังเชิงภูเขา เห็นพวกน้อง ๆ ตายหมด
หกตัว จึงกล่าวว่า ราชสีห์เหล่านี้คงจะไม่รู้ว่าสุนัขจิ้งจอกนอน
ในถ้ำแก้วผลึก เพราะไม่มีปัญญาตรวจสอบ เพราะความที่ตัวโง่
จึงชนถ้ำตาย. ขึ้นชื่อว่าการงานของผู้ไม่พิจารณาแล้ว รีบทำย่อม
เป็นอย่างนี้แหละ แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

การงานเหล่านั้น ย่อมเผาบุคคลผู้มีการ
งานอันมิได้พิจารณาแล้ว รีบร้อนจะทำให้สำเร็จ
เหมือนกับของร้อนที่บุคคลไม่พิจารณาก่อนแล้ว
ใส่เข้าไปในปาก ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ตุริตาภินิปาตินํ
ความว่า บุคคลใดประสงค์จะทำการงานใด มิได้พิจารณาคือ
มิได้สอบสวนโทษในการงานนั้น รีบร้อนตกลง ผลุนผลันปฏิบัติ
เพื่อรีบทำการงานนั้น การงานทั้งหลายเช่นนั้นย่อมเผาผลาญ
บุคคลผู้นั้น ผู้มิได้พิจารณาการงานรีบร้อนทำให้สำเร็จ คือ
ทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก. ถามว่าเหมือนอะไร. ตอบว่า

เหมือนของร้อนที่ใส่เข้าไปในปากฉะนั้น อธิบายว่า เหมือน
ผู้จะบริโภคไม่ได้พิจารณาว่า ของนี้เย็นของนี้ร้อนใส่ คือวาง
ของที่กลืนอันร้อนลงไปในปาก ย่อมลวกปากบ้าง คอบ้าง ท้อง
บ้างทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก ฉันใด การงานทั้งหลายเหล่านั้น
ก็ฉันนั้น ย่อมเผาบุคคลเช่นนั้น.

ราชสีห์โพธิสัตว์นั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว จึงพูดว่า
น้อง ๆ ของเราไม่ฉลาดในอุบาย คิดว่าจักฆ่าสุนัขจิ้งจอก รีบร้อน
ผลุนผลันไปตัวเองจึงตาย ส่วนเราจักไม่ทำอย่างนั้น จักฉีกอก
สุนัขจิ้งจอก ซึ่งนอนสะดุ้งอยู่ในถ้ำแก้วผลึกให้จงได้. ราชสีห์-

โพธิสัตว์สังเกตทางขึ้นลงของสุนัขจิ้งจอกเสร็จแล้ว จึงมุ่งหน้าไป
ทางนั้น บันลือสีหนาทสามครั้ง. อากาศกับผืนแผ่นดินได้มีเสียง
กึกก้องเป็นอันเดียวกัน. หัวใจสุนัขจิ้งจอกซึ่งนอนหวาดสะดุ้ง
อยู่ในถ้ำแก้วผลึก ก็แตกทำลาย. สุนัขจิ้งจอกถึงแก่ความตาย
ในที่นั้นเอง.

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาตรัสว่า สุนัขจิ้งจอกตัวนั้นได้ยินราชสีห์แผด
เสียงอย่างนี้แล้วถึงแก่ความตาย เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว จึงตรัส
คาถาที่สองว่า :-

อนึ่ง ราชสีห์ได้แผดสีหนาทที่ภูเขาเงิน
สุนัขจิ้งจอกอยู่ในภูเขาเงินได้ฟังราชสีห์แผดเสียง
ก็กลัวตาย หวาดกลัว หัวใจแตกตาย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีโห ได้แก่ราชสีห์ ๔ จำพวก คือ
ติณราชสีห์ ปัณฑุราชสีห์ กาฬราชสีห์ ไกรสรราชสีห์ (มีมือ
และเท้าแดง). ในราชสีห์เหล่านั้น ในที่นี้ประสงค์เอาไกรสร-
ราชสีห์.

บทว่า ททฺทรํ อภินาทยิ ความว่า ไกรสรราชสีห์นั้น
บันลือสีหนาทน่ากลัวดุจสำเนียงอสนิบาตฟาดลงสักร้อยครั้ง
คือ ได้กระทำรชฏบรรพตให้มีเสียงกึกก้องเป็นอันเดียวกัน.
บทว่า ททฺทเร วสํ ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกซึ่งอาศัยอยู่ในรชฏบรรพต

ติดกับถ้ำแก้วผลึก. บทว่า ภีโต สนฺตาสมาปาทิ ความว่า สุนัข
จิ้งจอกกลัวตาย ถึงความหวาดสะดุ้ง. บทว่า หทยญฺจสฺส อปฺผลิ
ความว่า หัวใจของสุนัขจิ้งจอกนั้นแตกเพราะความกลัว.

ราชสีห์โพธิสัตว์ ครั้นให้สุนัขจิ้งจอกถึงแก่ความตายแล้ว
จึงปกคลุมพวกน้อง ๆ ไว้ในที่แห่งหนึ่ง แล้วแจ้งการตายของ
ราชสีห์เหล่านั้นให้นางราชสีห์ผู้น้องรู้ ปลอบน้องอยู่อาศัยใน
ถ้ำทองจนสิ้นชีพแล้วก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึง
ทรงประกาศสัจธรรมประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจธรรม
อุบาสกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็น
บุตรช่างกัลบกในบัดนี้. นางราชสีห์ได้เป็นกุมาริกาแห่งเจ้า
ลิจฉวี น้อง ๆ ทั้งหกได้เป็นพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ส่วนราชสีห์
พี่ใหญ่ได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พระเถระแก่รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
จตุปฺปโห อหํ สมฺม ดังนี้

ในวันหนึ่งเมื่อการฟังธรรมยังเป็นไปอยู่ในตอนกลางคืน
เมื่อพระศาสดาประทับยืน ณ แผ่นหินแก้วมณี ใกล้ประตูพระ-
คันธกุฏี ประทานสุคโตวาทแก่หมู่ภิกษุแล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฏี
พระธรรมเสนาบดีสาริบุตรถวายบังคมพระศาสดา แล้วได้ไปยัง
บริเวณของตน. พระมหาโมคคัลลานะก็ไปยังบริเวณของตน

เหมือนกัน พักอยู่ครู่หนึ่งจึงมาหาพระเถระ แล้วถามปัญหา.
พระธรรมเสนาบดีได้แก้ปัญหาที่พระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว ๆ
ได้ทำให้ชัดเจนดุจทำพระจันทร์ให้ปรากฏบนท้องฟ้า. แม้บริษัท
สี่ก็นั่งฟังธรรมอยู่. ณ ที่นั้นพระเถระแก่รูปหนึ่งคิดว่า หากเรา

จะเย้าพระสาริบุตร ถามปัญหาในท่ามกลางบริษัทนี้. บริษัทนี้
รู้ว่า ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ก็จักกระทำสักการะและยกย่อง จึง
ลุกขึ้นจากระหว่างบริษัทเข้าไปหาพระเถระยืนอยู่ ณ ส่วน
ข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสสาริบุตร ข้าพเจ้าจักถาม

ปัญหาข้อหนึ่งกะท่าน ขอจงให้โอกาสแก่เราบ้าง ขอท่านจงให้
การวินิจฉัยแก่ข้าพเจ้า โดยอ้อมก็ตาม โดยตรงก็ตาม ในการ
ติเตียนก็ตาม ในการยกย่องก็ตาม ในการวิเศษก็ตาม ในการไม่
วิเศษก็ตาม. พระเถระแลดูพระแก่นั้นแล้วคิดว่า หลวงตานี่
ตั้งอยู่ในความริษยา โง่ ไม่รู้อะไรเลย จึงไม่พูดกับพระแก่นั้น

ละอายใจวางพัดวีชนี ลงจากอาสนะเข้าไปยังบริเวณ. แม้พระ-
มหาโมคคัลลานเถระก็ได้เข้าไปยังบริเวณของตนเหมือนกัน.
พวกมนุษย์พากันลุกขึ้นประกาศว่า พวกท่านจงจับพระแก่
ใจร้ายนี้ ไม่ให้พวกเราได้ฟังธรรมอันไพเราะ แล้วก็พากัน
ติดตามไป พระเถระนั้นหนีไปตกในวัจจกุฏีเต็มด้วยคูถซึ่งมี

ไม้เลียงหักพังท้ายวิหาร ลุกขึ้นมาทั้งที่เปื้อนคูถ. พวกมนุษย์
เห็นดังนั้นพากันรังเกียจได้ไปเฝ้าพระศาสดา.

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นมนุษย์เหล่านั้น จึงตรัส
ถามว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านมาทำไมนอกเวลา.
พวกมนุษย์พากันกราบทูลเนื้อความให้ทรงทราบ. พระศาสดา
ตรัสว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ภิกษุแก่นี้ผยอง ไม่รู้กำลัง

ของตน ทำทัดเทียมกับผู้มีกำลังมาก แล้วก็เปื้อนคูถ มิใช่ใน
บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนภิกษุแก่นี้ก็เคยผยองไม่รู้กำลังของตน
ทำทัดเทียมกับผู้มีกำลังมากแล้วก็เปื้อนคูถ เมื่ออุบาสกอุบาสิกา
ทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ครั้งอดีต เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง-
พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นราชสีห์อาศัยอยู่ในถ้ำ
ภูเขาใกล้หิมวันตประเทศ. ในที่ไม่ไกลภูเขานั้นมีสุกรเป็นอันมาก
อาศัยสระแห่งหนึ่งอยู่. พระดาบสทั้งหลายก็อาศัยสระนั้นอยู่

บนบรรณศาลา อยู่มาวันหนึ่งราชสีห์ฆ่าสัตว์มีกระบือและช้าง
เป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่ง เคี้ยวกินเนื้อจนเพียงพอแล้ว ลงไปยังสระนั้น
ดื่มน้ำขึ้นมา. ขณะนั้นสุกรอ้วนตัวหนึ่งเที่ยวหาอาหารอยู่แถว
สระนั้น. ราชสีห์เห็นสุกรอ้วนตัวนั้น จึงคิดว่า สักวันหนึ่งเราจัก
กินเจ้าสุกรตัวนี้ แต่มันเห็นเราเข้าจะไม่มาอีก เพราะกลัวมัน

จะไม่กลับมา จึงขึ้นจากสระหลบไปเสียข้างหนึ่ง. สุกรมองดู
ราชสีห์คิดว่า ราชสีห์นี้พอเห็นเราเข้าก็ไม่อาจจะเข้าใกล้เพราะ
กลัวเรา จึงหนีไปเพราะความกลัว. วันนี้เราควรจะต้องต่อสู้กับ
ี่ราชสีห์นี้ แล้วชูหัวร้องเรียกราชสีห์ให้มาต่อสู้กัน กล่าวคาถา
แรกว่า :-

ดูก่อนสหาย เราก็มี ๔ เท้า แม้ท่านก็มี
๔ เท้าจงกลับมาสู้กันก่อนเถิดสหาย ท่านกลัว
หรือจึงหนีไป.

ราชสีห์ได้ฟังคำท้าของสุกรนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย
สุกร วันนี้เราไม่สู้กับท่าน แต่จากนี้ไป ๗ วัน จงมาสู้กันในที่นี้
แหละ แล้วก็หลีกไป. สุกรรื่นเริงเบิกบานใจว่า เราจักได้สู้กับ
ราชสีห์. จึงเล่าเรื่องนั้นให้พวกญาติฟัง. พวกญาติสุกรฟังแล้ว
พากันตกใจกลัวพูดขึ้นว่า เจ้าจะพาพวกเราทั้งหมดให้ถึงความ
ฉิบหายกันคราวนี้แหละ เจ้าไม่รู้จักกำลังของตัวจะหวังสู้กับ

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ราชสีห์ ราชสีห์จักมาทำให้เราทั้งหมดถึงแก่ความตาย เจ้าอย่า
ทำกรรมอุกอาจนักเลย. สุกรสะดุ้งตกใจกลัวถามว่า คราวนี้เรา
จะทำอย่างไรดีเล่า. พวกสุกรต่างพากันพูดว่า นี่แน่ะสหาย เจ้า
จงไปในที่ถ่ายอุจจาระของพวกดาบสเหล่านี้ แล้วเกลือกตัวเข้า
ที่คูถเหม็น รอให้ตัวแห้งสัก ๗ วัน ถึงวันที่ ๗ จงเกลือกตัวให้

ชุ่มด้วยน้ำค้าง แล้วมาก่อนราชสีห์มา จงสังเกตทางลม แล้วยืน
อยู่เหนือลม ราชสีห์เป็นสัตว์สะอาดได้กลิ่นตัวเพื่อนแล้ว จักให้
เพื่อนชนะแล้วกลับไป. สุกรอ้วนได้ทำตามนั้น ในที่วันที่ ๗ ได้ไป
ยืนอยู่ ณ ที่นั้น. ราชสีห์ได้กลิ่นตัวมันเข้าก็รู้ว่าตัวเปื้อนคูถ

จึงกล่าวว่า ดูก่อนเพื่อนสุกร ท่านคิดชั้นเชิงดีมาก หากท่านไม่
เปื้อนคูถ เราจักฆ่าท่านเสียตรงนี้แหละ แต่บัดนี้เราไม่อาจกัด
ตัวท่านด้วยปาก เหยียบตัวท่านด้วยเท้าได้ เราให้ท่านชนะแล้ว
จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

ดูก่อนสุกร เจ้าเป็นสัตว์สกปรก มีขน
เหม็นเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ดูก่อนสหายหาก
ท่านประสงค์จะสู้กับเรา เราก็จะให้ชัยชนะแก่
ท่าน.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปูติโลโมสิ ได้แก่ ขนมีกลิ่นเหม็นเน่า
เพราะเปื้อนขี้. บทว่า ทุคฺคนฺโธ วายสิ ได้แก่ มีกลิ่นปฏิกูล
น่าเกลียดยิ่งนัก ฟุ้งไป. บทว่า ชยํ สมฺม ททามิ เต ได้แก่ เรา
ให้ท่านชนะ.

ราชสีห์ครั้นกล่าวว่าเราแพ้แล้ว เจ้าไปเสียเถิดดังนี้ แล้ว
ก็กลับจากที่นั้นเที่ยวแสวงหาอาหาร ดื่มน้ำในสระ เสร็จแล้วก็
กลับเข้าถ้ำภูเขาตามเดิม. แม้สุกรก็บอกแก่พวกญาติว่า เราชนะ
ราชสีห์แล้ว. พวกสุกรเหล่านั้น พากันตกใจกลัวว่าราชสีห์จะ
กลับมาสักวันหนึ่งอีก จักฆ่าพวกเราตายหมด จึงพากันหนีไปอยู่
ที่อื่น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงทรง
ประชุมชาดก. สุกรในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุแก่ในครั้งนี้ ส่วน
ราชสีห์ได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสูกรชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรง
ปรารภการผูกเวรของคนมีเวร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อิธูรคานํ ปวโร ปวิฏฺโฐ ดังนี้.

ได้ยินว่า มหาอำมาตย์สองคนเป็นหัวหน้าทหารเป็น
เสวกของพระเจ้าโกศล เห็นกันและกันเข้าก็ทะเลาะกัน. การ
จองเวรของเขาทั้งสองเป็นที่รู้กันทั่วนคร. พระราชา ญาติและ
มิตรไม่สามารถจะทำให้เขาทั้งสองสามัคคีกันได้.

อยู่มาวันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงตรวจดูเผ่า
พันธุ์สัตว์ที่ควรแนะนำให้ตรัสรู้ ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติ-
มรรคของเขาทั้งสอง วันรุ่งขึ้น เสด็จสู่กรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต
พระองค์เดียวเท่านั้น ประทับยืนที่ประตูเรือนของคนหนึ่ง. เขา
ออกมารับบาตแล้วนิมนต์พระศาสดาให้เสด็จเข้าไปภายในเรือน

ปูอาสนะให้ประทับนั่ง. พระศาสดาประทับนั่งแล้ว ตรัสอานิสงส์
แห่งการเจริญเมตตาแก่เขา ทรงทราบว่ามีจิตอ่อนแล้ว จึงทรง
ประกาศอริยสัจ. เมื่อจบอริยสัจ เขาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.
พระศาสดาทรงทราบว่าเขาบรรลุโสดาแล้ว ให้เขาถือบาตรทรง
พาไปประตูเรือนของอีกคนหนึ่ง. อำมาตย์นั้นก็ออกมาถวาย

บังคมพระศาสดากราบทูลว่า ขอเชิญเสด็จเข้าไปเถิดพระเจ้าข้า
แล้วทูลเสด็จเข้าไปยังเรือนอัญเชิญให้ประทับนั่ง. อำมาตย์ที่
ตามเสด็จก็ถือบาตรตามเสด็จพระศาสดาเข้าไปพร้อมกับพระ-
ศาสดา. พระศาสดาตรัสพรรณนาอานิสงส์เมตตา ๑๑ ประการ

ทรงทราบว่าเขามีจิตสมควรแล้ว จึงทรงประกาศสัจธรรม.
เมื่อจบแล้ว อำมาตย์นั้นก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. อำมาตย์ทั้งสอง
บรรลุโสดาบันแล้ว ก็แสดงโทษขอขมากันและกัน มีความ
สมัครสมานบันเทิงใจ มีอัธยาศัยร่วมกันด้วยประการฉะนี้.
วันนั้นเองเขาทั้งสองบริโภคร่วมกัน เฉพาะพระพักตร์ของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า.

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเสวยภัตตาหารเสร็จแล้วได้เสด็จกลับพระ-
วิหาร. อำมาตย์สองคนนั้นก็ถือดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้และ
เนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น ออกไปพร้อมกับพระศาสดา.
เมื่อหมู่ภิกษุแสดงวัตรแล้ว พระศาสดาทรงประทานสุคโตวาท
แล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฏี.

ในเวลาเย็นภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันถึงกถาแสดง
คุณของพระศาสดาในธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
พระศาสดาทรงฝึกคนที่ฝึกไม่ได้ พระตถาคตทรงฝึกมหาอำมาตย์
ทั้งสองซึ่งวิวาทกันมาช้านาน พระราชาและญาติมิตรเป็นต้น
ก็ไม่สามารถจะทำให้สามัคคีกันได้ เพียงวันเดียวเท่านั้น. พระ-

ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้
ทำให้ชนทั้งสองเหล่านี้สามัคคีกันมิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน
เราก็ทำชนเหล่านี้ให้สามัคคีกัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมา
ตรัสว่า

ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ
ในกรุงพาราณสี เมื่อเขาประกาศมีมหรสพในกรุงพาราณสี
ได้มีการประชุมใหญ่. พวกมนุษย์เป็นอันมากและเทวดา นาค
ครุฑ เป็นต้น ต่างประชุมกันเพื่อชมมหรสพ. ในสถานที่แห่ง
หนึ่งที่เมืองพาราณสีนั้น พญานาคจำพญาครุฑไม่ได้ จึงพาดมือ

ลงไว้ เหนือจะงอยบ่าพญาครุฑ. พญาครุฑนึกในใจว่า ใครเอามือ
วางบนจะงอยบ่าของเรา เหลียวไปดูรู้ว่าเป็นพญานาค. พญานาค
มองดูก็จำได้ว่าเป็นพญาครุฑ จึงหวาดหวั่นต่อมรณภัย ออกจาก
พระนครหนีไปทางท่าน้ำ. พญาครุฑก็ติดตามไปด้วยคิดว่า จัก
จับพญานาคนั้นให้ได้.

ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์เป็นดาบสอาศัยอยู่ ณ บรรณศาลา
ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั้น เพื่อระงับความกระวนกระวายในตอนกลางวัน
จึงนุ่งผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) วางผ้าเปลือกไม้ไว้ที่นอกฝั่ง
แล้วลงอาบน้ำ. พญานาคคิดว่า เราจักได้ชีวิตเพราะอาศัยบรรพชิต

นี้ จึงแปลงเพศเดิม เนรมิตเพศเป็นก้อนมณีเข้าไปอาศัยอยู่ใน
ผ้าเปลือกไม้. พญาครุฑติดตามไปเห็นพญานาคนั้นเข้าไปอาศัย
อยู่ในผ้าเปลือกไม้นั้น ก็ไม่จับต้องผ้าเปลือกไม้เพราะความ
เคารพ จึงปราศรัยกะพระโพธิสัตว์ว่า ท่านขอรับข้าพเจ้าหิวท่าน
จงเอาผ้าเปลือกไม้ของท่านไป ข้าพเจ้าจักกินพญานาคนี้ เพื่อ
ประกาศความนี้ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

* อ่านหนังสือเล่มหนาจบนั้นยาก
อ่านให้เข้าใจนั้นยากกว่า
อ่านให้รู้แนวทางปฏิบัติยากที่สุด
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 44, 45, 46, 47, 48, 49, 50 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร