วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 39, 40, 41, 42, 43, 44, 45 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ที่ได้เราก็ให้ท่านมิใช่หรือ. แต่บัดนี้พระราชามิได้พระราชทาน
อะไรให้เรา. การพระราชทานอย่างอื่นจงยกไว้เถิด พระองค์
เมื่อกำลังเสด็จเพื่อจะรับราชสมบัติ ได้ข้าวห่อหนึ่งในระหว่าง
ทาง ยังมิได้ประทานแม้แต่อาหารแก่เรา พระองค์เสวยเสียเอง
หมด. พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระองค์จักกล้า

ทูลอย่างนี้ในสำนักพระราชาหรือ ตรัสว่า กล้าซิ พ่อคุณ จึงทูลว่า
ถ้าเช่นนั้น ในเวลาที่ข้าพระองค์เฝ้าอยู่ในราชสำนักวันนี้แหละ
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามขึ้น ขอพระนางจงตรัสอย่างนี้ วันนี้แหละ
ข้าพระองค์จักให้พระราชารู้สึกคุณของพระองค์. ครั้นทูลอย่างนี้
แล้วพระโพธิสัตว์จึงล่วงหน้าไปก่อน ยืนเฝ้าพระราชา. ฝ่าย
พระเทวีก็ไปยืนเฝ้าพระราชา.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์กราบทูลพระเทวีว่า ข้าแต่พระแม่
อยู่หัว พระแม่เจ้าทรงมีพระทัยจืดเหลือเกิน การที่พระแม่เจ้า
จะให้ท่อนผ้าหรือเพียงก้อนข้าวแก่มารดาบิดาไม่สมควรหรือ.
พระเทวีตรัสว่า เราเองยังไม่ได้อะไรจากพระราชา จักเอาอะไร

ให้ท่านเล่า. พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า พระองค์ได้ตำแหน่งอัคร-
มเหสีมิใช่หรือ. พระเทวีตรัสว่า แน่ะพ่อ เมื่อไม่มีการยกย่อง
ตำแหน่งอัครมเหสีจักทำอะไรได้ พระราชาของท่านจักพระ-
ราชทานอะไรแก่เราในบัดนี้เล่า พระองค์ได้ข้าวห่อระหว่างทาง

ยังไม่พระราชทานให้สักหน่อย เสวยเสียเอง. พระโพธิสัตว์ทูล
ถามว่า ข้าแต่พระมหาราชได้ยินว่าอย่างนั้นหรือ. พระราชา
ทรงรับ พระโพธิสัตว์ทราบว่า พระราชาทรงรับแล้วจึงทูลว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าเช่นนั้นพระองค์จะมีประโยชน์อะไร ด้วย

การประทับอยู่ที่นี้ ตั้งแต่กาลไม่เป็นที่รักของพระราชา เพราะ
การร่วมกับผู้ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ในโลก เมื่อพระองค์ประทับ
อยู่ที่นี้ การร่วมกับความไม่เป็นที่รักของพระราชาจักเป็นทุกข์.
ธรรมดาว่าสัตว์เหล่านี้ย่อมคบผู้ที่คบด้วย รู้ผู้ที่ไม่คบว่าเขาไม่
อยากคบ ก็พึงไปเสียที่อื่น ด้วยว่าที่อาศัยคือ โลกกว้างใหญ่
แล้วได้กล่าวคาถาว่า :-

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

หายไป ๓ วัน โทษทีนะครับ เจอปัญหาครอบครัว
ที่หนักหน่อย ผมว่าจะไปบวชเณรสักพัก แต่ตัดสินใจ
แบบด่วน เลยไม่ทันขอหนังสือ เลยมิได้บวช มิเช่นนั้น
คงจะได้เข้ามาอีกครั้งก็คงราวๆ วันศุกโน้นเลยครับ หรือ
อาจจะนานกว่านั้น หรืออาจจะไม่ได้เข้าอีกเลยเพราะ

ความตายแขวนคอ ทุกย่างก้าว เมื่อเช้าเห็นหน้า สายบ่าย
ตายก็มากมี ดั่งนั้นมิควรรอเวลาหรือชักช้าในการทำความดี
กันนะครับ เดี๋ยวตายไปมิมีทุนคือบุญกุศล อาจจะไปตกบาย
กัน อย่างน่าเสียดายมากเลย

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บุคคลควรนอบน้อมต่อผู้ที่นอบน้อมตน
ควรคบกับผู้ที่คบตน ควรทำกิจตอบแทนแก่ผู้ที่
ช่วยทำกิจของตน ไม่ควรทำประโยชน์แก่ผู้
ปรารถนาความฉิบหายให้และไม่ควรคบกับผู้
ที่ไม่คบตน.

บุคคลควรละทิ้งผู้ที่ละทิ้งตน ไม่ควรทำ
ความอาลัยรักใคร่ในบุคคลเช่นนั้น ไม่ควร
สมาคมกับคนที่เขาไม่ใฝ่ใจกับตน นกรู้ว่าต้นไม้
หมดผลแล้ว ก็ละทิ้งไปหาต้นไม้อื่น เพราะโลก
เป็นของกว้างใหญ่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นเม นมนฺตสฺส ภเช ภชนฺตํ ความว่า
บุคคลควรนอบน้อมตอบผู้ที่นอบน้อมตน คือควรคบผู้ที่คบตน
เท่านั้น. บทว่า กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ ความว่า บุคคล
ควรช่วยทำกิจที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ช่วยทำกิจอันเกิดแก่ตน. บทว่า

จเช จชนฺตํ วนถํ น กยิรา. ได้แก่ ควรละทิ้งผู้ที่ละทิ้งตน ไม่ควร
ทำความอาลัย กล่าวคือความเยื่อใยในผู้นั้นแม้แต่น้อย. บทว่า
อเปตจิตฺเตน ได้แก่ ผู้มีจิตเลื่อนลอย. บทว่า น สมฺภเชยฺย คือ
ไม่ควรสมาคมกับคนเช่นนั้น. บทว่า ทิโช ทุมํ ได้แก่ เหมือนนก

เมื่อก่อนต้นไม้ผลิผล เมื่อสิ้นผลแล้วก็รู้ว่าต้นไม้นี้ไม่มีผลแล้ว
ก็ทิ้งต้นไม้นั้นไปหาต้นไม้อื่น ฉันใดพึงแสวงต้นไม้อื่นฉันนั้น.
เพราะโลกนี้กว้างใหญ่ พระองค์จักได้บุรุษคนหนึ่งผู้มีความ
เสน่หาในพระองค์แน่แท้.

พระเจ้าพาราณสีทรงสดับดังนั้นแล้ว ได้พระราชทาน
อิสสริยยศทั้งปวงแก่พระเทวี. ตั้งแต่นั้นมาก็อยู่กันอย่างพร้อม
เพรียงชื่นชม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม สามีภรรยา
ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. สามีภรรยาในครั้งนั้นได้เป็นสองสามีภรรยา
ในครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์บัณฑิต คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาปุฏภัตตชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา ดังนี้.

พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
ผู้ใดมีคุณธรรมอันเป็นเครื่องให้ความ
เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ๑ ธรรม ๑
ธิติ ๑ จาคะ ๑ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.
ส่วนผู้ใดไม่มีคุณธรรมอันเป็นเครื่องให้
เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ๑ ธรรม ๑
ธิติ ๑ จาคะ ๑ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูไม่ได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า คุณา ปรมภทฺทกา ความว่า ผู้ใด
ไม่มีคุณธรรมอันเจริญ ๔ ประการเหล่านี้ โดยเป็นหมู่เป็นหมวด
ผู้นั้นย่อมไม่อาจล่วงพ้นศัตรูไปได้. ข้อความทั้งหมดที่เหลือใน
ชาดกนี้พร้อมทั้งประชุมชาดก มีนัยดังกล่าวแล้วในกุมภีลชาดก
ในหนหลังแล.
จบ อรรถกถากุมภีลชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อตฺถิ เม ปุริโส เทว ดังนี้.

ได้ยินว่า อำมาตย์ของพระเจ้าโกศลผู้หนึ่ง ผู้มีอุปการะ
มาก ได้ลอบเป็นชู้กับนางสนม. พระราชาแม้ทรงทราบก็ทรง
อดกลั้นนิ่งไว้ด้วยคิดว่า เป็นผู้มีอุปการะแก่เรา ได้กราบทูล
พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร แม้พระราชาใน
กาลก่อนก็ทรงอดกลั้นอย่างนี้เหมือนกัน พระเจ้าโกศลทูลอาราธนา
จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี อำมาตย์ผู้หนึ่งได้ลอบเป็นชู้กับนางสนมของ
พระองค์. แม้คนใช้ของอำมาตย์ก็ลอบเป็นชู้ในครอบครัวของเขา.
เขาไม่อาจอดกลั้นความผิดของคนใช้ได้ จึงพาตัวไปเฝ้าพระราชา

เพื่อจะถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ คนใช้ของข้าพระองค์คนหนึ่ง
เป็นผู้ทำกิจการทั้งปวง เขาได้เป็นชู้กับครอบครัวของข้าพระองค์
ข้าพระองค์ควรจะทำอะไรแก่เขา จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาท
มีบุรุษผู้ขวนขวายในกิจการทุกอย่างอยู่คนหนึ่ง
แต่เขามีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง พระองค์จะทรงโปรด
ดำริในความผิดของเขานั้นเป็นประการใด พระ-
เจ้าข้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส เจโกปราธตฺถิ ความว่า บุรุษ
นั้นมีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง. บทว่า ตตฺถ ตฺวํ กินฺติ มญฺญสิ ความว่า
พระองค์จะทรงดำริในความผิดของบุรุษนั้นในข้อนั้นว่าควรทำ
อย่างไร ขอพระองค์จงทรงปรับสินไหมบุรุษนั้นตามสมควร
แก่ความผิดของเขาเถิด พระเจ้าข้า.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
บุรุษเช่นนี้ของเราก็มีอยู่ในที่นี้ แต่บุรุษ
ผู้ประกอบด้วยองค์คุณหาได้ยาก เราจึงสู้อดใจ
เสีย.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า บุรุษผู้ประทุษร้าย เช่นนี้
คือมีอุปการะมาก มีอยู่ในเรือนของเราผู้เป็นพระราชา เป็น
สัตบุรุษ. ก็บุรุษนั้นมีอยู่ในที่นี้ เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ในที่นี้แหละ แม้
เราผู้เป็นราชาก็ยังอดกลั้น เพราะบุรุษนั้นเป็นผู้มีอุปการะมาก.

บทว่า องฺคสมฺปนฺโน ความว่า ชื่อว่าบุรุษผู้ประกอบด้วยส่วน
แห่งคุณธรรมทั้งปวงหาได้ยาก ด้วยเหตุนั้น เราจึงสู้อดกลั้นเสีย
ในฐานะเห็นปานนี้.

อำมาตย์รู้ว่าพระราชาตรัสหมายถึงตน ตั้งแต่นั้นมาก็
ไม่กล้าเป็นชู้กับนางสนมอีก. แม้คนใช้ของอำมาตย์นั้น ก็รู้ว่า
พระราชาทรงว่ากล่าวตน ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่กล้าทำกรรมนั้นอีก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระราชาพาราณสีในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้เอง อำมาตย์
นั้นรู้ว่าพระราชากราบทูลแด่พระศาสดา ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่อาจ
ทำกรรมนั้น.
จบ อรรถกถาขันติวรรณนชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กาเล นิกฺขมนา สาธุ ดังนี้.

พระเจ้าโกศลเสด็จออกในเวลาไม่สมควร เพื่อปราบปราม
ชายแดน. เรื่องนี้มีนัยดังที่กล่าวแล้วในหนหลังทั้งนั้น. ส่วน
พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพาราณสีเสด็จกรีฑาทัพออกใน
เวลาไม่สมควร ทรงยับยั้งกองทัพอยู่ที่อุทยาน. ในกาลนั้นมี
นกเค้าตัวหนึ่งเข้าไปซ่อนอยู่ในพุ่มไม้ไผ่. ฝูงกาต่างมาล้อมไว้
ด้วยคิดว่า จักจับนกเค้าตอนออก. นกเค้าไม่คอยรอจนถึงพระ-
อาทิตย์ตก จึงออกในกาลไม่สมควร พอขยับจะบินหนี. ทีนั้น

กาทั้งหลายจึงรุมกันจิกตีจนล่วงลง. พระราชาตรัสเรียกพระ-
โพธิสัตว์แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนท่านบัณฑิต พวกกาเหล่านี้จิกตี
นกเค้าตกลงด้วยเหตุใดหนอ. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า นกเค้าออกจากที่อยู่ของตนในกาลไม่สมควร จึง

ได้รับความทุกข์เห็นปานนี้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรออกจากที่อยู่
ของตนในกาลไม่สมควร. เมื่อจะประกาศข้อความนี้ จึงกล่าว
คาถาทั้งสองนี้ว่า :-

การออกไปในเวลาอันสมควรเป็นความ
ดี การออกไปในเวลาอันไม่สมควรไม่ดี เพราะ
ว่าผู้ออกไปในเวลาไม่สมควร ย่อมไม่ยังประ-
โยชน์อะไรให้เกิดได้ คนที่เป็นศัตรูเป็นอันมาก
ย่อมทำอันตรายคนผู้ออกไปแต่ผู้เดียว ในเวลา
อันไม่สมควรได้เหมือนฝูงการุมจิกนกเค้าฉะนั้น.

นักปราชญ์รู้จักวิธีการต่าง ๆ เข้าใจช่อง
ทางของคนเหล่าอื่น ทำพวกศัตรูทั้งมวลให้อยู่ใน
อำนาจได้แล้ว พึงอยู่เป็นสุขเหมือนนกเค้าผู้ฉลาด
ฉะนั้น.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า กาเล นิกฺขมนา สาธุ ความว่า การ
ออกไปก็ดี การก้าวไปก็ดี ชื่อว่าการออกไป การออกไปในกาล
อันสมควรเป็นการดี การออกไปในกาลอันไม่สมควร ไม่ดี
เพราะฉะนั้น การออกไปก็ดี การก้าวไปก็ดี เพื่อจะไปในที่อื่น

จากที่อยู่ของตน ไม่ดี. ในบทสี่บทมีอาทิว่า อกาเลหิ พึงประกอบ
บทที่สามด้วยบทที่หนึ่ง บทที่สี่ด้วยบทที่สอง แล้วพึงทราบความ
อย่างนี้. ที่นั้นแลชนเป็นอันมาก คือคนที่เป็นศัตรูเป็นอันมาก
ล้อมคน ๆ เดียวผู้ออกไปหรือก้าวไปในเวลาอันไม่สมควร ยัง
คน ๆ เดียวให้ถึงความพินาศ. เปรียบเหมือนฝูงกาจิกนกเค้า

ผู้ออกไปหรือก้าวไปในเวลาอันไม่สมควรให้ถึงมหาพินาศ ฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น ให้ดูสัตว์เดียรฉานเป็นต้น ใคร ๆ ไม่ควรออกไป
ไม่ควรก้าวไปจากที่อยู่ของตนในเวลาอันไม่สมควร. บทว่า
ธีโร ในคาถาที่สองได้แก่ บัณฑิต. บทว่า วิธิ ได้แก่ประเพณีที่
บัณฑิตแต่ก่อนได้วางไว้. บทว่า วิธานํ ได้แก่ ส่วนหรือการจัด.

บทว่า วิวรานุคู ได้แก่ เดินตาม คือรู้. บทว่า สพฺพามิตฺเต ได้แก่
ศัตรูทั้งหมด. บทว่า วสีกตฺวา ได้แก่ ทำไว้ในอำนาจของตน.
บทว่า โกสิโยว คือ เหมือนนกเค้าผู้ฉลาดอื่นจากนกเค้าโง่นี้.
ท่านอธิบายไว้ว่า ก็ผู้ใดแลเป็นบัณฑิตย่อมรู้วิธีการอันเป็นส่วน
ของวิธี กล่าวคือประเพณีที่โบราณกบัณฑิตวางไว้ว่า ในกาลนี้

ควรออกไป ควรก้าวไป ในกาลนี้ ไม่ควรออกไป ไม่ควรก้าวไป
หรือ การจัดแจงวิธีนั้น. ผู้นั้นชื่อว่า รู้จักวิธีการต่าง ๆ รู้ช่อง
ทางของคนอื่น คือ ศัตรูของตน เหมือนนกเค้าผู้ฉลาด ออกและ
ก้าวไปโดยกาลอันสมควรของตน คือตอนกลางคืน จิกหัวกาซึ่ง

นอนอยู่ ณ ที่นั้น ๆ ทำกาเหล่านั้นทั้งหมดให้อยู่ในอำนาจของตน
พึงอยู่เป็นสุข ฉันใด แม้บัณฑิตออกไป ก้าวไป ในกาลอันสมควร
ก็ฉันนั้น กระทำศัตรูของตนให้อยู่ในอำนาจ พึงมีความสุข ไม่มี
ทุกข์ ฉะนั้น.

พระราชาทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้วเสด็จกลับ
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก.
พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์บัณฑิต
คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาโกสิยชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สูโร สูเรน สงฺคมฺม ดังนี้.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้นมีบ้านในนิคมแห่งหนึ่ง จากเชตวัน-
มหาวิหารประมาณโยชน์กับหนึ่งคาวุต. ที่บ้านนั้นมีสลากภัตร
และปักขิกภัตรเป็นอันมาก. มีบุรุษด้วนผู้หนึ่ง ชอบซักถาม
ปัญหาอยู่ที่บ้านนั้น. บุรุษนั้นถามปัญหาภิกษุหนุ่มและสามเณร

ที่ไปรับสลากภัตรและปักขิกภัตรว่า พวกไหนดื่ม พวกไหน
เคี้ยวกิน พวกไหนบริโภค ทำให้ภิกษุและสามเณรเหล่านั้นไม่
สามารถตอบปัญหาได้ ให้ได้อาย. ภิกษุและสามเณรทั้งหลาย
จึงไม่ไปบ้านนั้นเพื่อรับสลากภัตรและปักขิกภัตร เพราะเกรง
บุรุษด้วนนั้น. อยู่มาวันหนึ่งภิกษุรูปหนึ่งไปโรงสลากถามว่า

ท่านผู้เจริญ สลากภัตรหรือปักขิกภัตรที่บ้านโน้นยังมีอยู่หรือ
เมื่อภิกษุผู้เป็นภัตถุทเทสก์กล่าวว่า ยังมีอยู่ ท่าน แต่ที่บ้านนั้น
มีบุรุษด้วนคนหนึ่ง คอยถามปัญหา ด่าว่าภิกษุสามเณรที่ไม่
สามารถแก้ปัญหาได้ จึงไม่มีใครอยากไปเพราะเกรงบุรุษด้วนนั้น

จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอจงให้ภัตรที่บ้านนั้นถึงผมเถิด ผม
จักทรมานบุรุษนั้น ทำให้หมดพยศ จะทำให้หนีไปเพราะเห็นผม
ตั้งแต่นั้นเลย. ภิกษุทั้งหลายรับว่า ดีละ จะให้ภัตรที่บ้านนั้น
ถึงแก่ท่าน ภิกษุนั้นจึงไปที่บ้านนั้นห่มจีวรที่ประตูบ้าน. บุรุษ
ด้วนเห็นภิกษุนั้น ก็ปรี่เข้าไปหาดังแพะดุ กล่าวว่า สมณะจงแก้

ปัญหาของข้าพเจ้าเถิด. ภิกษุนั้นกล่าวว่า อุบาสก ขอให้อาตมา
เที่ยวบิณฑบาตในบ้านรับข้าวยาคูมาศาลานั่งพักเสียก่อนเถิด.
บุรุษด้วนเมื่อภิกษุนั้นรับข้าวยาคู แล้วมาสู่ศาลานั่งพัก ก็ได้
กล่าวเหมือนอย่างนั้น. ภิกษุนั้นก็ผัดว่า ขอดื่มข้าวยาคูก่อน

ขอกวาดศาลานั่งพักก่อน ขอรับสลากภัตรมาก่อน ครั้นรับสลาก
ภัตรแล้ว จึงให้บุรุษนั้นถือบาตร กล่าวว่า ตามมาเถิด เราจัก
แก้ปัญหาท่าน พาไปนอกบ้าน จีบจีวรพาดบ่า รับบาตรจากมือ
ของบุรุษนั้น ยืนอยู่. บุรุษนั้นกล่าวเตือนว่า สมณะจงแก้ปัญหา
ของข้าพเจ้า. ภิกษุกล่าวว่า เราจะแก้ปัญหาของท่าน แล้วผลัก

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
โครมเดียวล้มลง โบยตีดังจะบดกระดูกให้ละเอียด เอาคูถยัดปาก
ขู่สำทับว่า คราวนี้ตั้งแต่นี้ไป เราจะคอยสืบรู้ในเวลาที่ถาม
ปัญหาไร ๆ กะภิกษุที่มาบ้านนี้. ตั้งแต่นั้นบุรุษด้วนเห็นภิกษุ
แล้วก็หนี. ครั้นต่อมา การกระทำของภิกษุนั้นได้ปรากฏขึ้นใน
หมู่สงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย จึงประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า

ดูก่อนอาวุโส ได้ยินว่า ภิกษุรูปโน้น เอาคูถใส่ปากบุรุษด้วน
แล้วก็ไป. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

นั้นจะรุกรานบุรุษด้วนด้วยคูถในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้เมื่อก่อน
ก็ได้รุกรานแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลชาวอังคะและมคธทั้งหลาย ต่างก็ไปมาหาสู่
ยังแว่นแคว้นของกันและกัน. วันหนึ่งต่างเข้าไปอาศัยบ้านหลัง
หนึ่งที่พรมแดนของรัฐทั้งสอง ดื่มสุรา กินปลาเนื้อกันแล้ว ก็
เทียมยานออกเดินทางแต่เช้าตรู่. ในเวลาที่ชนเหล่านั้นไปกันแล้ว.
หนอนกินคูถตัวหนึ่งได้กลิ่นคูถจึงมา เห็นสุราที่เขาทิ้งไว้ตรงที่

นั่งกัน จึงดื่มด้วยความกระหาย ก็เมาไต่ขึ้นบนกองคูถ. คูถสด ๆ
ก็ยุบลงหน่อยหนึ่ง เมื่อหนอนไต่ขึ้นไป. หนอนนั้นก็ร้องว่า
แผ่นดินทานตัวเราไปไม่ได้. ขณะนั้นเองช้างตกมันตัวหนึ่งมาถึง
ที่นั้นได้กลิ่นคูถแล้วรังเกียจก็หลีกไป. หนอนเห็นช้างนั้นแล้ว

เข้าใจว่า ช้างนี้กลัวเราจึงหนีไป เราควรจะทำสงครามกับช้าง
นี้จึงร้องเรียกช้างนั้น กล่าวคาถาแรกว่า :-

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญ มาพบกับเราผู้กล้า
หาญ อาจประหารได้ไม่ย่นย่อ มาซิช้าง ท่านจง
กลับมาก่อน ท่านกลัวหรือจึงได้หนีไป ขอให้
พวกชาวอังคะและมคธะได้เห็นความกล้าหาญ
ของเราและของท่านเถิด.

เนื้อความแห่งคาถานี้ว่า ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญมาพบกับ
เราผู้กล้าหาญ ผู้ไม่ย่อท้อทางความเพียร บากบั่น เป็นนักต่อสู้
เพราะสามารถในทางสู้รบ เหตุใดจึงไปเสียไม่ประสงค์การ
สงครามเล่า. การประหารกันสักทีเดียว ก็ควรกระทำมิใช่หรือ.

เพราะฉะนั้น ดูก่อนช้าง จงมาเถิด จงกลับก่อน ท่านกลัวตาย
ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น จะกลัวหนีไปเทียวหรือ ชาวอังคะและมคธ
ทั้งหลายผู้อยู่พรมแดนนี้ จงคอยดูความเก่งกาจ ความทรหด
อดทนของเราและของท่าน. ช้างนั้นแผดเสียงร้องได้ฟังคำของ

หนอนนั้นแล้ว จึงกลับไปหาหนอน เมื่อจะรุกรบหนอนนั้น ได้
กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
เราจักไม่ต้องฆ่าเจ้าด้วยเท้า งา หรือด้วย
งวงเลย เราจักฆ่าเจ้าด้วยคูถ หนอนตัวเน่า ควร
ฆ่าด้วยของเน่าเช่นกัน.

เนื้อความแห่งความคาถานั้นว่า เราจักไม่ฆ่าเจ้าด้วยเท้า
เป็นต้น แต่เราจักฆ่าเจ้าด้วยคูถจึงสมควรแก่เจ้า ก็และครั้นช้าง
กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า สัตว์กินคูถเน่า ควรตายด้วย
ของเน่า.

ช้างจึงถ่ายคูถก้อนใหญ่ลงบนหัวหนอนนั้นแล้วถ่ายปัสสาวะ
รดยังหนอนให้ถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง แผดเสียงเข้าป่าไป.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ตัวหนอนในครั้งนั้นได้เป็นบุรุษด้วนในครั้งนี้ ช้างได้เป็น
ภิกษุรูปนั้น ส่วนเทวดาผู้เกิดในไพรสณฑ์นั้น เห็นเหตุนั้นโดย
ประจักษ์ คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาคูถปาณกชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพราหมณ์ชื่อ กามนีตะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ตโย คิรึ ดังนี้.
เรื่องราวทั้งปัจจุบันและอดีตจักมีแจ้งในกามชาดก ใน
ทวาทสนิบาต.

พระราชบุตรทั้งสองพระองค์นั้น พระองค์พี่ได้กลับมา
เป็นพระราชาในกรุงพาราณสี. พระองค์น้องได้เป็นอุปราช.
ทั้งสองพระองค์นั้น องค์พี่ผู้เป็นพระราชาเป็นผู้ไม่อิ่มในวัตถุกาม
และกิเลสกาม มีพระทัยโลภในทรัพย์สมบัติ. ในคราวนั้นพระ-

โพธิสัตว์เป็นท้าวสักกเทวราช ตรวจดูชมพูทวีป ทรงทราบว่า
พระราชานั้นมิได้ทรงอิ่มในกามทั้งสอง ทรงดำริว่า จักไปข่มขี่
พระราชานี้ให้ละอายพระทัย จึงทรงแปลงเป็นพราหมณ์มาณพ
เข้าเฝ้าพระราชา. เมื่อพระราชาตรัสถามว่า แน่ะมาณพ ท่าน
มาด้วยประสงค์อะไร. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์

พบนครสามนครน่ารื่นรมย์มีภิกษาหารสมบูรณ์ พรั่งพร้อมด้วย
ช้าง ม้า รถ พลนิกรและเงินทองเครื่องอลังการ แต่พระองค์
สามารถยึดนครทั้ง ๓ นั้นด้วยกำลังเล็กน้อยเท่านั้น ข้าพระองค์
จึงมาเพื่อรับอาสาไปตีเมืองทั้งสามถวายพระองค์. เมื่อตรัสถาม

ว่า เราจะไปกันเมื่อไรเล่ามาณพ. กราบทูลว่า ไปพรุ่งนี้พระ-
เจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราไปด้วยกัน ท่านมาแต่เช้า ๆ หน่อย.
ท้าวสักกะตรัสว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า พระองค์จงเตรียมพลไว้
โดยเร็วแล้วเสด็จกลับวิมานของพระองค์.

รุ่งขึ้นพระราชารับสั่งให้เที่ยวตีกลองเรียกชุมนุมพล รับ
สั่งให้อำมาตย์ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า เมื่อวานนี้มีพราหมณ์
มาณพผู้หนึ่ง รับอาสาจะตีนครทั้งสามเอาราชสมบัติถวาย คือ
นครอุตตรปัญจาละ นครอินทปัตร นครเกกกะ เราจะพามาณพ

นั้นไปตีเอาราชสมบัติในนครทั้งสามนั้น. พวกท่านจงไปตามตัว
มาณพนั้นมาโดยเร็ว. พวกอำมาตย์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์
พระองค์พระราชทานที่พักให้มาณพนั้น ณ ที่ไหน. ตรัสว่า

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เราไม่ได้ให้ที่พักแก่เขา. กราบทูลถามว่า สะเบียงอาหารพระองค์
พระราชทานหรือเปล่า ตรัสว่า สะเบียงอาหารก็ไม่ได้ประทาน
ทูลถามว่า ข้าพระองค์จะไปตามตัวได้ที่ไหน. ตรัสว่า พวกท่าน
จงเที่ยวตามหาดูตามถนนในนครเถิด. พวกอำมาตย์เที่ยวตรวจ

ตราดูแล้วไม่พบ จึงกราบทูลว่า ไม่พบตัว พระเจ้าข้า เมื่อพระ-
ราชาไม่ได้ตัวมาณพมาก็เกิดความโศกเสียพระทัยว่า เราเสื่อม
จากอิสสริยสมบัติอันใหญ่หลวงอย่างนี้เสียแล้ว ดวงพระทัยก็
เร่าร้อน โลหิตที่ฉีดเลี้ยงหทัยก็กำเริบ จนเกิดสำรอกโลหิตออก

มา. บรรดาแพทย์ทั้งหลายก็ไม่สามารถจะรักษาได้. ถัดจากนั้น
มา ๓-๔ วัน ท้าวสักกเทวราชทรงตรวจดู ทรงทราบการประชวร
ของพระราชา ทรงดำริว่า จักช่วยรักษา จึงแปลงเป็นพราหมณ์
มาเยือนประตูพระราชวัง ให้กราบทูลว่ามีหมอพราหมณ์จะมา

รักษาพระองค์. พระราชาทรงสดับดังนั้นตรัสว่า หมอหลวง
ล้วนแต่ใหญ่โต ยังรักษาเราไม่ได้ ท่านจงจ่ายค่าป่วยการให้เขา
กลับไปเถิด. ท้าวสักกเทวราชได้สดับคำอำมาตย์มาบอกแล้ว
ตรัสว่า เราไม่ต้องการที่พักและค่าป่วยการแม้ค่าขวัญข้าวเรา

ก็ไม่ขอรับ เราขออาสารักษาพระองค์. ขอพระราชาจงให้เรา
เฝ้าเถิด. พระราชาทรงสดับดังนั้น แล้วรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นจง
มาเถิด. ท้าวสักกเทวราชเสด็จเข้าไปแล้ว ถวายบังคมยืน ณ
ส่วนข้างหนึ่ง. พระราชาตรัสถามว่า ท่านจะรักษาเราหรือ.

ทูลว่าอย่างนั้นพระเจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นจงรักษาเถิด.
กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอประทานโอกาส ขอพระองค์จง
บอกลักษณะของโรคแก่ข้าพระองค์ว่าเกิดเพราะเหตุอะไร เกิด
เพราะเสวยอะไร หรือได้ทอดพระเนตร หรือทรงสดับอะไร.

พระราชาตรัสว่า แน่ะพ่อ โรคของเราเกิดเพราะได้ฟังข่าว.
ทูลถามว่า พระองค์สดับข่าวอะไร. ตรัสว่าแน่ะพ่อ มีมาณพคน
หนึ่งมาบอกว่า จักรับอาสาตีเอาราชสมบัติในนครทั้งสามถวาย
เรา เราก็ไม่ได้ให้ที่พักหรือค่ากินอยู่แก่เขา เขาคงโกรธเราจึง

ไปเฝ้าพระราชาองค์อื่น. เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็เฝ้าแต่คิดอยู่ว่า
เราเสื่อมจากอิสสริยสมบัติอันใหญ่หลวงดังนี้ จึงได้เกิดโรคขึ้น.
ถ้าท่านสามารถก็จงรักษาโรคอันเกิดเพราะจิตปรารถนาของ
เรา. เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เราปรารถนาระหว่างเมืองทั้งสาม คือ
เมืองปัญจาละ ๑ เมืองกุรุยะ ๑ เมืองเกกกะ ๑
ดูก่อนท่านพราหมณ์ เราปรารถนาราชสมบัติ
ทั้งสามเมืองนั้นมากกว่าราชสมบัติที่เราได้แล้ว
นี้ ดูก่อนพราหมณ์ ขอท่านรักษาเราผู้ถูกความ
ใคร่ครอบงำด้วยเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตโย คิรึ คือ นครทั้งสาม. เหมือน
สุทัสสนเทพนคร ท่านเรียกว่า สุทัสสคีรี เพราะจะรบยึดเอาได้
ยาก หวั่นไหวได้ยากในประโยคนี้ว่า สุทสฺสนคิริโน ทฺวารํ เหตํ
ปกาสติ. เพราะฉะนั้น ในคาถานี้จึงมีเนื้อความดังนี้ เราต้องการ

นครสามนคร และแคว้นทั้งสามแคว้นในระหว่างนครเหล่านั้น.
เราต้องการหมดทั้งสามแว่นแคว้น อันมีนามว่า อุตตรปัญจาละ
ซึ่งมีนครชื่อว่า กปิละ แว่นแคว้นหนึ่ง มีนามว่า กุรุยะ ซึ่งมี
นครชื่อว่า อินทปัตร แว่นแคว้นหนึ่ง มีนามว่า เกกกะ ซึ่งมีนคร
ชื่อว่า เกกกะราชธานี แว่นแคว้นหนึ่ง. เราปรารถนาราชสมบัติ

ทั้งสามแว่นแคว้นนั้นยิ่งไปเสียกว่าราชสมบัติกรุงพาราณสี ซึ่ง
เราครองอยู่นี้. บทว่า ติกิจฺฉ มํ พฺราหฺมณ กามนีตํ ความว่า
ท่านพราหมณ์ เราถูกวัตถุกามและกิเลสกามเหล่านั้นชักนำไป
แล้ว ถูกรบกวนประหัตประหารแล้ว ถ้าท่านอาจก็จงรักษาเรา
เถิด.

ลำดับนั้นท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกะพระราชาว่า ข้าแต่
มหาราช พระองค์จะรักษาด้วยโอสถรากไม้เป็นต้นไม่หาย ต้อง
รักษาด้วยโอสถ คือญาณอย่างเดียว ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
อันที่จริงเมื่อบุคคลถูกงูเห่ากัด หมอบาง

คนก็รักษาได้ อนึ่ง บุคคลถูกผีสิง หมอผู้ฉลาด
ก็ไล่ออกได้ แต่บุคคลผู้ถูกความใคร่ครอบงำแล้ว
ใคร ๆ ก็รักษาไม่หาย เพราะว่าเมื่อบุคคลล่วง
เลยธรรมขาวเสียแล้ว จะรักษาได้อย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กณฺหาหิ ทุฏฺฐสฺส กโรนฺติ เหเก
ความว่า อันที่จริงเมื่อบุคคลถูกงูเห่ามีพิษร้ายกัด หมอบางคน
ก็รักษาด้วยมนต์และด้วยโอสถให้หายได้. บทว่า อมนุสฺสวิฏฺฐสฺส
กโรนฺติ ปณฺฑิตา ความว่า หมอผีผู้ฉลาดจำพวกหนึ่ง เมื่อคนถูก
อมนุษย์มีผีและยักษ์เป็นต้น เข้าสิงแล้วย่อมทำการรักษาได้

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ด้วยวิธีต่าง ๆ มีการเส้นสรวง สวดพระปริตรและวางยาเป็นต้น
ให้หายได้. บทว่า น กามนีตสฺส กโรติ โกจิ ความว่า แต่คนที่
ถูกกามชักนำไปแล้ว คืออยู่ในอำนาจของกามเว้นบัณฑิตเสีย
ใคร ๆ อื่นก็ทำการรักษาไม่ได้ แม้จะรักษาก็ไม่สามารถจะ
รักษาให้หายได้. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะบุคคลที่
ก้าวล่วงเขตแดนสุกกธรรม คือ กุศลธรรม ตั้งอยู่ในอกุศลธรรม
เสียแล้ว จะรักษาด้วยมนต์และโอสถ เป็นต้นอย่างไรไหว คือ
ไม่อาจรักษาได้ด้วยมนต์และโอสถเป็นต้นนั้น.
พระมหาสัตว์แสดงเหตุนี้แด่พระราชาฉะนี้แล้ว ได้ตรัส
ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าพระองค์จักได้
ราชสมบัติทั้งสามแคว้นนั้น เมื่อพระองค์เสวยราชทั้ง ๔ นคร
จะฉลองพระองค์ด้วยผ้าสาฎกทั้ง ๔ คู่ คราวเดียวกันได้อย่างไร
เล่าหนอ. จะเสวยทั้ง ๔ ถาดทอง จะบรรทมทั้ง ๔ พระแท่น
สิริไสยาสน์คราวเดียวกันได้อย่างไร. ข้าแต่มหาราช พระองค์
ไม่พึงเป็นไปในอำนาจตัณหา. ชื่อว่าตัณหานี้เป็นมูลรากของ
ความวิบัติ. เมื่อเจริญขึ้นผู้ใดทำให้งอกงาม ย่อมซัดบุคคลนั้น
ลงนรกทั้ง ๘ ขุม อุสสทนรก ๑๖ ขุม และอบายภูมิที่เหลือมี
ประเภทนานาประการ. พระมหาสัตว์แสดงธรรมขู่พระราชา
ด้วยภัยในนรกเป็นต้นอย่างนี้. ฝ่ายพระราชาฟังธรรมของพระ-
มหาสัตว์แล้วก็สร่างโศก หายพระโรคทันใดนั้นเอง. แม้ท้าว-
สักกะประทานโอวาทแด่พระราชาให้ดำรงอยู่ในศีลแล้วเสด็จ
กลับเทวโลก. ฝ่ายพระราชาตั้งแต่นั้นทรงบำเพ็ญบุญมีทาน
เป็นต้น เสด็จไปตามยถากรรม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพราหมณ์ชื่อ กามนีตะ ใน
ครั้งนี้ ส่วนท้าวสักกเทวราช คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากามนีตชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 39, 40, 41, 42, 43, 44, 45 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร