วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 17:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 19:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:

.. แต่ถ้าขณะนั้นมีญาณรู้ล่ะครับว่าต้องสละอย่างนี้เพื่อตัดตรงนี้ แล้วจะได้สิ่งนี้ๆกลับมา จึงสละอย่างนี้เป็นไปได้มั้ยครับ


ความเห็นนะ..ไม่น่าจะมีญาณ...อย่างนั้นหรอกครับ...

ที่ว่า ต้องสละอย่างนี้..เพื่อตัดตรงนี้....นี้.เป็นความคิดครับ...

ตอน..สละ..จริงๆ...จะไม่ได้ต้องการอะไร...

ก็มีปัญหาว่า...อ้าวแล้ว...ทานลูกทานเมีย..เพื่อโพธิญาณ..ละ?..มิใช่เพราะมีญาณรู้ว่า..ทำอย่างนี้เพื่อให้ได้อย่างนั้น..ไม่ใช่หรือ?

(เลยเป็นที่มาให้คนนอกโจมตีทำนองว่า...โพธิสัตว์พุทธเราเห็นแก่ตัว)

อันนี้...ไม่ทราบจริงๆว่าตอนนั้นพระโพธิสัตว์รู้สึกอย่างไร...ก็เป็นแต่เพียงการคาดเดา..ก็ไมรู้จริงไม่จริงอย่างไร...

แต่ในที่นี้..พูดถึงสาวกภูมิ...ความคิดว่า..สละอันนี้เพื่อจะตัดอะไรได้..นั้น...ยังไม่ใช่ญาณ...เป็นระดับความคิด...การสละนั้น...ก็กลายเป็นการฝึกตน..เฉยๆ

ถามว่า...การจะเอาพรหมวิหาร๔ มาเป็นวิปัสสนาได้มั้ย?

แต่ผมกลับเห็นว่าวิปัสสนาญาณ..ต่างหาก..ทำให้เกิดพรหมวิหาร๔ ได้สมบูรณ์..

คือ เราสัมผัสอยู่กับธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา
ก็แค่สัมผัส ก็จะเหมือนกับเราฟังเด็กพูดน่ะ เขาจะเดินเข้ามาสะกิดเราบอก
ขอน้ำส้มด้วยครับ :b12:

เมื่อปฏิบัติไปถึงระดับหนึ่งแล้ว ผู้ปฏิบัติจะได้รับแรงสะท้อนจากธรรมชาติ
และเมื่อปฏิบัติ ทวนกระแส นั่นคือ วิถีมันจะเป็นการค่อย ๆ คืนสู่สามัญ
กระแสของเราไปแตะกับธรรมด้วยวิถีสลัดคืน
ธรรมก็สะท้อนกลับมาหาเราด้วยพลังนั้น
เหมือนเอกอนยิ้มให้อ๊บซ์ อ๊บซ์ก็ยิ้มกลับ
เมื่อเรากำลังสลัด ธรรมก็สะท้อนพลังกันกลับไปกลับมา
และธรรมจะสะท้อนสิ่งที่เป็นแรงที่เรายังยึดเหนี่ยวออกมาให้เราเห็น
ที่เห็น เพราะ เมื่อเราเดินจิตทวนกระแส ถ้าหากว่าสิ่งใดที่เกาะติดอยู่และเดินตามกระแสอยู่
จิตจะเห็น แล้วเขาจะรู้สึกคัน ๆ เอง :b1:


:b32: :b32:

มันเหมือนเส้นเชือก...เส้นใย...ที่ตอนแรกมันไม่ปรากฏ...แต่พอขยับจะจากไป...เส้นเชือกที่โยงกับสิ่งนั้น..มันก็ตึงขึ้นมา..ก็รู้เองว่า..อ้อ..มันโยงกับสิ่งนั้น..มันโยงกับสิ่งนี้...มันก็รู้แต่ว่าต้องจัดการกับเชือก..เท่านั้น

มีใยเส้นหนึ่ง...เหนียวหนืด...ยึดได้...พุ่งไปสุดขอบนอกโลกก็ยึดกับโลกยึดสุดขีดก็ไม่ยอมขาด...จะเอากรรไกรมาตัดแล้วเชียว..ความคิดหนึ่งก็แว๊บขึ้นมา แห่ม..มันจะบรรลุง่ายเกินไป เด้วจะไร้รสชาติ...ขอมาวาดลวดลายซะหน่อย.. :b32: :b32:

ที่จริงแล้ว...มันไม่มีอะไรมากเลย...มันอาลัยอาวรณ์โลก..แค่นั้นเอง :b32:

ที่ต้องชี้ให้จิตเห็น..ว่า..นี้ทุกข์..นี้เหตุของทุกข์..นี้ทุกข์..นี้เหตุของทุกข์..ซ้ำ ๆ ๆ ๆ...ก็เพื่อแค่ตัดอาลัยในโลก

ทำไมมันถึงอาลัยในโลก?....ก็แค่เพราะมันเห็นว่า..จะดีมีความสุข..แม้แต่จะสำเร็จ..มันก็คิดว่า..สำเร็จแบบนั้นดี..แบบนี้ดี..เล้ย..
สัณชาติญาณก็ทำแต่งานมุ่งสู่โลกอย่างเดียว...เอกอนใช้คำอะไรนะ...อุปนิสัยใช่มั้ย?

ทำไมมันจึงคิดว่า...โลกจะดีมีความสุขละ?...ก็แค่มันโง่... :b9: :b9: :b9:


:b32: :b32: :b32:

แหมมมม...ธรรมกระทู้นี้
มีหนังกะติ๊กด้วย

:b32: :b32: :b32:


ตั๊บ กะ A-Gard เคยเห็น หนังกะติ๊ก มั๊ย เล่าให้ Gon ฟังบ้าง :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 20:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
ตั้งคำถามใหม่ต่อนะครับสมองกำลังเปิดกว้างครับ อิอิ

แล้วเอาพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นวิปัสสนายังไงครับ

ส่วนใหญ่เอกอนไม่คุ้นกับการเอา พรหมวิหาร เป็นวิปัสนานะ

เอาเป็นว่าเล่าเรื่องตรงที่เอกอนพอจะเข้าใจได้เลยดีก่า :b1:

จริง ๆ เอกอนก็จะคิดว่า พรหมวิหารเรามีแล้ว เพราะเราเรียนมาตั้งแต่ ประถม นั่นล่ะ

แต่ในการเดินสมาธิ (การปฏิบัติสมาธิ)

โดยธรรมชาติ สมาธิจะเดินเรียบตั้งมั่น และปรับระดับไปได้
กายต้องสงบระงับ วาจา(ความคิดฟุ้ง)ต้องสงบระงับ ใจต้องสงบระงับ

ซึ่ง ศีล ทำให้ กาย วาจา ใจ มันเป็นปกติสุข
เมื่อใจยังกระสับกระสาย ด้วยกิเลส ก็พิจารณากามคุณไป เพื่อให้จิตคลายจากการหมกมุ่น

เมื่อทุกอย่างค่อย ๆ เข้ารูปเข้ารอย กายสงบ วาจาสงบ จิตสงบ
ตั้งมั่นได้เป็นลำดับ ซึ่งจริง ๆ เอกอนก็ไม่รู้หรอกว่าเอกอนทำสมาธิได้ระดับไหน
:b32: แต่จริง ๆ น่าจะรู้นั่นล่ะ :b32: แต่ไม่พูดถึงจะดีก่า :b1:
เพราะ เอกอน จับอาการบางอย่างของจิตเวลาที่จะเปลี่ยนระดับความละเอียดได้
มันจะเหมือนนั่งชิงช้าสวรรค์ขาลง มันลงจนสุด และก็ไต่ระดับขึ้นไหม่
มันเหมือนตกภวังค์และขึ้นรับอารมณ์ใหม่ แรก ๆ ที่จับความรู้สึกได้ก็ ตื่นเต้นดี
เพราะมันเหมือนกับนั่งรถไฟเหาะที่มันมีจังหวะที่มันวูบลงมาแล้วมันก็ขึ้นรับอารมณ์ใหม่
แต่มันก็จะเป็นอย่างนั้นทุกครั้ง จนเราก็ชินกับสิ่งที่ดำเนินไป
มันก็เป็นการรู้ พออาการปรากฏเราก็พร้อมที่จะม้วนตัวแล้วขึ้นรับอารมณ์ใหม่
ทำ ๆ ไป มันก็เหมือนกับว่าเราเป็นนักกีฬาว่ายน้ำที่เมื่อใกล้ถึงขอบสระเราก็รู้
และเราก็เตรียมม้วนตัวกลับมาอีกครั้ง

สมาธิก็เดินไปได้เรื่อย ๆ นะ
จนถึงระดับหนึ่ง เอกอนตกภวังค์และจะขึ้นสู่อารมณ์ใหม่
ปรากฏว่าก็เห็นชัด ๆ ว่า มันพยายามจะขึ้นรับอารมณ์ แต่มันเกี่ยวไม่ติด
มันก็ร่วงลงมา
มันก็เป็นคำถามที่ว่า ทำไมเราถึงเกี่ยวอารมณ์นั้นไม่ได้

คือจริง ๆ เมื่อพิจารณาทบทวนวนซ้ำอยู่หลายรอบ
มันชัดเจนว่า อารมณ์ที่ละก่อนหน้ามันหยาบกว่า อารมณ์ใหม่ที่เข้าไปเกี่ยว
ซึ่งเอกอนสามารถละอารมณ์หยาบได้ และเดินจิตที่ละเอียดขึ้นได้
แต่ไม่สามารถที่จะทรงตัวอยู่ในอารมณ์นั้นได้
แต่ตอนนั้นก็รู้แล้วว่า ถ้าจะทรงตัวอยู่ในอารมณ์นั้นได้ ต้องเจริญพรหมวิหาร

คือ ไม่มีใครต้องบอกนะ แต่ปฏิบัติไปแล้วมันเห็นซ้ำ ๆ ว่าอารมณ์บนระนาบนั้นคืออะไร
จิตก็บอกกับเราเองว่า ต้องเจริญพรหมวิหาร 4

ทำไมจิตถึงตอบกับเราได้
ก็ ตั้งแต่ได้เรียนเรื่องพรหมวิหาร 4 ตั้งแต่ประถมจนโต
แม้เราจะฟังแล้วเข้าใจไปตามความคิด แต่มันต้องมีสักครั้งหรือหลายครั้ง
ที่เราบังเอิญเกิดการกระทำอันเป็นเมตตา-กรุณา ไปแบบเรื่อย ๆ
ซึ่งการกระทำซึ่งกุศลจิตอันเป็น เมตตา กรุณา ในแต่ละครั้ง อารมณ์ที่ปรากฏตามมา
จะถูกบันทึกไว้เป็นสัญญา เมื่อมันเจออารมณ์ มันก็มีสัญญาที่จำอารมณ์นั้น ๆ ได้ มันก็เอามาบอกเรา

ซึ่งเมื่อเราเข้าสมาธิ และไปเจอระนาบที่เป็นอารมณ์นั้น แต่เรายังไม่อาจจะทรงตัวอยู่ได้
แต่จิตเขารู้ เขาก็ตอบเรากลับมา ว่าระนาบข้างหน้าน่ะ ที่เราเกี่ยวไม่ติดน่ะ คืออารมณ์ประมาณพรหมวิหาร
เพราะระนาบนั้นเป็นอารมณ์ที่ละเอียด ซึ่งเราเข้าถึงได้
แต่เราไม่สามารถทรงตัวอยู่ตรงนั้นได้ ก็หล่นลงมาตามระเบียบ
ซึ่งถ้าจะทรงตัวอยู่ให้ได้ ต้องทำอารมณ์ของระนาบนั้นให้มาก
เพื่อให้จิตคุ้นชินที่จะตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น

ซึ่ง การเจริญพรหมวิหาร ในตอนนั้น ชัด ๆ บังเอิญตอนนั้นมีเรื่องของ ศัตรูในที่ทำงาน
ก็เลยได้หยิบเรื่องนั้นขึ้นมาพิจารณา เรื่องอาฆาต พยาบาท เจ็บ แค้น เคือง โกรธ :b32:
คือมันจะมีเรื่องราวแนว ๆ นี้มาให้เราต้องเผชิญหน้า และเรียนรู้ไปกับมันน่ะ
ไม่รู้จิตน้อมนำการแผ่เมตตาเข้ามาชะโลมใจ กล่อมใจ ไม่รู้วันละกี่รอบต่อกี่รอบ
ตั้งแต่ตื่นเช้า จนกระทั่งจะนอน ก็ตรึกแต่เรื่องเกี่ยวกับการแผ่เมตตา อภัย ไม่ถือสา อโหสิ ฯลฯ

และเมื่อจิตพร้อม คือเราทำไปแบบไม่ต้องคาดหวัง
คือมันก็คาดหวังไม่ได้น่ะ เพราะทำมาหลายรอบแล้ว ขึ้นเกาะวิถีไม่ติดก็คือไม่ติด
แต่บทเขาพร้อม เมื่อเข้าจะเกี่ยววิถีและโนม้ตัวขึ้นไปตั้งอยู่ได้ ถ้าตั้งอยู่ได้ เขาจะทำได้เอง
การเจริญพรหมวิหารตรงนี้ ก็คือ ออกมาแก้ปัญหาในชีวิตจริง
เรียนรู้ทำใจไปพร้อม ๆ กับชีวิตจริง ไม่ได้เข้าไปพยายามแก้พยายามทำอะไรในสมาธินะ
เพราะเอกอนทำอย่างนั้นไม่ได้ :b32:
ทำสมาธิช่วงนั้น จะรู้ว่าเราจะไปแต่งองค์ทรงเครื่องอะไรข้างในสมาธิไม่ได้
จะต้องปรับกระบวน ฝึกฝนกันข้างนอก ตอนใช้ชีวิตประจำวันนี่ล่ะ
พอทำสมาธิก็ไปตามปกตินั่นล่ะ มันจำได้นิ่ ซึ่งพอจะขึ้นสู่วิถี
ก็ลุ้นกันตอนม้วนตัวขึ้นวิถี่นี่แหละ ถ้าไม่ได้ก็คือยังไม่ได้ :b32:
ก็กลับออกมาแต่งองค์ทรงเครื่อง ฝึกฝนกระบวนท่าม้วนกลางอากาศใหม่ :b32:
แล้วก็เข้าไปใหม่ ซึ่งขอเพียงเขาเกี่ยวติดได้ครั้งเดียว
จิตเขาจะจำได้ ขึ้นท่านั้นเมื่อไรเขาก็จะไปตามร่องที่เขาได้ทำเอาไว้แล้ว

ซึ่ง ความคุ้นชิน การเสพคุ้นจนเป็นอุปนิสัยของจิต
บางครั้งถ้าสิ่งนั้นเป็นทางที่เป็นไปอันเป็นกุศล จิตก็จะเจริญไปในทางอันเป็นกุศล
คือเมื่อมันได้ทำร่องรอยไว้แล้ว ร่องรอยก็จะค่อย ๆ ทอดยาวออกไปในแนวทางที่ทำร่องไว้
แต่ถ้าหากว่ารองนั้นไม่ใช่ การจะทำให้จิตสร้างร่องใหม่เพื่อเบียงตัวเองออกมาจากร่องเดิม
เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง ไม่ง่าย

ร่องรอยของอุปนิสัยของจิต
นั่นคือ ร่องรอยของ กรรม
กรรมทิ้งร่องรอยเอาไว้
ให้เป็นไป

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 21:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

การสละ..เป็น....ต้องเข้าใจธรรม..
เมื่อเข้าใจธรรม..ลึกขึ้นไป..ลึกขึ้นไป..ก็จะสละได้เป็น...ละเอียดขึ้นไป..ละเอียดขึ้นไป..ตามกำลังความรู้


ก็ผมบอกว่าสมมติไงครับท่านอ๊บ 555
ว่าหากตอนนั้นท่านอ๊บไม่รู้ธรรม ไม่รู้พระพุทธศาสนาไงครับ แต่อาศัยบารมีเก่าอะครับ เป็นการเปรียบเปรยครับ

สาธุครับท่านอ๊บ..ผมเห็นจริงตามนั้นด้วยนะที่ท่านอ๊บกล่าวว่าวิปัสนาต่างหากที่ทำพรหมวิหาร ๔ ให้บริบูรณ์ ไม่ใช่พรหมวิหาร ๔ ทำวิปัสสนาให้บริบูรณ์

... แต่ถ้าในมุมกลับกันที่เป็นการเกื้อหนุนกันล่ะครับ

..ไว้ผมจะมาโม้เรื่องนี้ต่อครับ การเกื้อหนุนกันให้จ่างฝ่ายต่างบริบูรณ์

ตอนี้กระทู้เราเยอะจัดไหลไวมาก ผมตาลาย 5555 ใช้มือถือครับ 555

:b9: :b9: :b9:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 05 ธ.ค. 2018, 21:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 21:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
ตั้งคำถามใหม่ต่อนะครับสมองกำลังเปิดกว้างครับ อิอิ

แล้วเอาพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นวิปัสสนายังไงครับ

ส่วนใหญ่เอกอนไม่คุ้นกับการเอา พรหมวิหาร เป็นวิปัสนานะ

เอาเป็นว่าเล่าเรื่องตรงที่เอกอนพอจะเข้าใจได้เลยดีก่า :b1:

จริง ๆ เอกอนก็จะคิดว่า พรหมวิหารเรามีแล้ว เพราะเราเรียนมาตั้งแต่ ประถม นั่นล่ะ

แต่ในการเดินสมาธิ (การปฏิบัติสมาธิ)

โดยธรรมชาติ สมาธิจะเดินเรียบตั้งมั่น และปรับระดับไปได้
กายต้องสงบระงับ วาจา(ความคิดฟุ้ง)ต้องสงบระงับ ใจต้องสงบระงับ

ซึ่ง ศีล ทำให้ กาย วาจา ใจ มันเป็นปกติสุข
เมื่อใจยังกระสับกระสาย ด้วยกิเลส ก็พิจารณากามคุณไป เพื่อให้จิตคลายจากการหมกมุ่น

เมื่อทุกอย่างค่อย ๆ เข้ารูปเข้ารอย กายสงบ วาจาสงบ จิตสงบ
ตั้งมั่นได้เป็นลำดับ ซึ่งจริง ๆ เอกอนก็ไม่รู้หรอกว่าเอกอนทำสมาธิได้ระดับไหน
:b32: แต่จริง ๆ น่าจะรู้นั่นล่ะ :b32: แต่ไม่พูดถึงจะดีก่า :b1:
เพราะ เอกอน จับอาการบางอย่างของจิตเวลาที่จะเปลี่ยนระดับความละเอียดได้
มันจะเหมือนนั่งชิงช้าสวรรค์ขาลง มันลงจนสุด และก็ไต่ระดับขึ้นไหม่
มันเหมือนตกภวังค์และขึ้นรับอารมณ์ใหม่ แรก ๆ ที่จับความรู้สึกได้ก็ ตื่นเต้นดี
เพราะมันเหมือนกับนั่งรถไฟเหาะที่มันมีจังหวะที่มันวูบลงมาแล้วมันก็ขึ้นรับอารมณ์ใหม่
แต่มันก็จะเป็นอย่างนั้นทุกครั้ง จนเราก็ชินกับสิ่งที่ดำเนินไป
มันก็เป็นการรู้ พออาการปรากฏเราก็พร้อมที่จะม้วนตัวแล้วขึ้นรับอารมณ์ใหม่
ทำ ๆ ไป มันก็เหมือนกับว่าเราเป็นนักกีฬาว่ายน้ำที่เมื่อใกล้ถึงขอบสระเราก็รู้
และเราก็เตรียมม้วนตัวกลับมาอีกครั้ง

สมาธิก็เดินไปได้เรื่อย ๆ นะ
จนถึงระดับหนึ่ง เอกอนตกภวังค์และจะขึ้นสู่อารมณ์ใหม่
ปรากฏว่าก็เห็นชัด ๆ ว่า มันพยายามจะขึ้นรับอารมณ์ แต่มันเกี่ยวไม่ติด
มันก็ร่วงลงมา
มันก็เป็นคำถามที่ว่า ทำไมเราถึงเกี่ยวอารมณ์นั้นไม่ได้

คือจริง ๆ เมื่อพิจารณาทบทวนวนซ้ำอยู่หลายรอบ
มันชัดเจนว่า อารมณ์ที่ละก่อนหน้ามันหยาบกว่า อารมณ์ใหม่ที่เข้าไปเกี่ยว
ซึ่งเอกอนสามารถละอารมณ์หยาบได้ และเดินจิตที่ละเอียดขึ้นได้
แต่ไม่สามารถที่จะทรงตัวอยู่ในอารมณ์นั้นได้
แต่ตอนนั้นก็รู้แล้วว่า ถ้าจะทรงตัวอยู่ในอารมณ์นั้นได้ ต้องเจริญพรหมวิหาร

คือ ไม่มีใครต้องบอกนะ แต่ปฏิบัติไปแล้วมันเห็นซ้ำ ๆ ว่าอารมณ์บนระนาบนั้นคืออะไร
จิตก็บอกกับเราเองว่า ต้องเจริญพรหมวิหาร 4

ทำไมจิตถึงตอบกับเราได้
ก็ ตั้งแต่ได้เรียนเรื่องพรหมวิหาร 4 ตั้งแต่ประถมจนโต
แม้เราจะฟังแล้วเข้าใจไปตามความคิด แต่มันต้องมีสักครั้งหรือหลายครั้ง
ที่เราบังเอิญเกิดการกระทำอันเป็นเมตตา-กรุณา ไปแบบเรื่อย ๆ
ซึ่งการกระทำซึ่งกุศลจิตอันเป็น เมตตา กรุณา ในแต่ละครั้ง อารมณ์ที่ปรากฏตามมา
จะถูกบันทึกไว้เป็นสัญญา เมื่อมันเจออารมณ์ มันก็มีสัญญาที่จำอารมณ์นั้น ๆ ได้ มันก็เอามาบอกเรา

ซึ่งเมื่อเราเข้าสมาธิ และไปเจอระนาบที่เป็นอารมณ์นั้น แต่เรายังไม่อาจจะทรงตัวอยู่ได้
แต่จิตเขารู้ เขาก็ตอบเรากลับมา ว่าระนาบข้างหน้าน่ะ ที่เราเกี่ยวไม่ติดน่ะ คืออารมณ์ประมาณพรหมวิหาร
เพราะระนาบนั้นเป็นอารมณ์ที่ละเอียด ซึ่งเราเข้าถึงได้
แต่เราไม่สามารถทรงตัวอยู่ตรงนั้นได้ ก็หล่นลงมาตามระเบียบ
ซึ่งถ้าจะทรงตัวอยู่ให้ได้ ต้องทำอารมณ์ของระนาบนั้นให้มาก
เพื่อให้จิตคุ้นชินที่จะตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น

ซึ่ง การเจริญพรหมวิหาร ในตอนนั้น ชัด ๆ บังเอิญตอนนั้นมีเรื่องของ ศัตรูในที่ทำงาน
ก็เลยได้หยิบเรื่องนั้นขึ้นมาพิจารณา เรื่องอาฆาต พยาบาท เจ็บ แค้น เคือง โกรธ :b32:
คือมันจะมีเรื่องราวแนว ๆ นี้มาให้เราต้องเผชิญหน้า และเรียนรู้ไปกับมันน่ะ
ไม่รู้จิตน้อมนำการแผ่เมตตาเข้ามาชะโลมใจ กล่อมใจ ไม่รู้วันละกี่รอบต่อกี่รอบ
ตั้งแต่ตื่นเช้า จนกระทั่งจะนอน ก็ตรึกแต่เรื่องเกี่ยวกับการแผ่เมตตา อภัย ไม่ถือสา อโหสิ ฯลฯ

และเมื่อจิตพร้อม คือเราทำไปแบบไม่ต้องคาดหวัง
คือมันก็คาดหวังไม่ได้น่ะ เพราะทำมาหลายรอบแล้ว ขึ้นเกาะวิถีไม่ติดก็คือไม่ติด
แต่บทเขาพร้อม เมื่อเข้าจะเกี่ยววิถีและโนม้ตัวขึ้นไปตั้งอยู่ได้ ถ้าตั้งอยู่ได้ เขาจะทำได้เอง
การเจริญพรหมวิหารตรงนี้ ก็คือ ออกมาแก้ปัญหาในชีวิตจริง
เรียนรู้ทำใจไปพร้อม ๆ กับชีวิตจริง ไม่ได้เข้าไปพยายามแก้พยายามทำอะไรในสมาธินะ
เพราะเอกอนทำอย่างนั้นไม่ได้ :b32:
ทำสมาธิช่วงนั้น จะรู้ว่าเราจะไปแต่งองค์ทรงเครื่องอะไรข้างในสมาธิไม่ได้
จะต้องปรับกระบวน ฝึกฝนกันข้างนอก ตอนใช้ชีวิตประจำวันนี่ล่ะ
พอทำสมาธิก็ไปตามปกตินั่นล่ะ มันจำได้นิ่ ซึ่งพอจะขึ้นสู่วิถี
ก็ลุ้นกันตอนม้วนตัวขึ้นวิถี่นี่แหละ ถ้าไม่ได้ก็คือยังไม่ได้ :b32:
ก็กลับออกมาแต่งองค์ทรงเครื่อง ฝึกฝนกระบวนท่าม้วนกลางอากาศใหม่ :b32:
แล้วก็เข้าไปใหม่ ซึ่งขอเพียงเขาเกี่ยวติดได้ครั้งเดียว
จิตเขาจะจำได้ ขึ้นท่านั้นเมื่อไรเขาก็จะไปตามร่องที่เขาได้ทำเอาไว้แล้ว

ซึ่ง ความคุ้นชิน การเสพคุ้นจนเป็นอุปนิสัยของจิต
บางครั้งถ้าสิ่งนั้นเป็นทางที่เป็นไปอันเป็นกุศล จิตก็จะเจริญไปในทางอันเป็นกุศล
คือเมื่อมันได้ทำร่องรอยไว้แล้ว ร่องรอยก็จะค่อย ๆ ทอดยาวออกไปในแนวทางที่ทำร่องไว้
แต่ถ้าหากว่ารองนั้นไม่ใช่ การจะทำให้จิตสร้างร่องใหม่เพื่อเบียงตัวเองออกมาจากร่องเดิม
เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง ไม่ง่าย

ร่องรอยของอุปนิสัยของจิต
นั่นคือ ร่องรอยของ กรรม
กรรมทิ้งร่องรอยเอาไว้
ให้เป็นไป

:b1:



สาธุครับ ท่านเอกอน..ใช่เลยเรื่องเข้าสมาธิ

เด๋วผมมาต่อพรหมวิหาร ๔ นะครับ ตาอักเสบจ้องมือถือนานไม่ได้ครัล 5555

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 12:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถูกแล้วดีแล้วท่านอ๊บ ที่ว่า.. วิปัสสนาต่างหากที่ทำให้พรหมวิหาร ๔ บริบูรณ์

.. สาธุ สาธุ สาธุ เจริญใจดีแท้ ผมก็เห็นเช่นนั้น

ถ้ามองในมุมกลับกันล่ะครับ

เมตตาเจโตวิมุตติของพระพุทธเจ้ากับมหาสติปัฏฐาน ว่าด้วยความเกื้อหนุนกัน

กล่าวถึงผู้มีสมถะนำ วิปัสสนาตาม

- พรหมวิหาร ๔ ใช้ปรับจิตพื้นฐานแก่ ศีล และสมาธิจิต ในสมถะ คือ จินตะมยปัญญา
- สมาธิจิตมีปัญญาในสมถะ ทำให้เข้าไปเห็นจริงใน พรหมวิหาร ๔ เป็นจินตะมยปัญญา
- จินตะมยปัญญาจากพรหมวิหาร ๔ ทำให้จิตเห็น และจิตน้อมไปในมหาสติโดยตรง
- ปัญญาญาณจากภาวนาแห่งมหาสติ ทำให้พรหมวิหาร ๔ บริบูรณ์
- ผลอันเกิดจากพรหมวิหาร ๔ ที่บริบูรณ์ด้วยมหาสติ ทำให้เข้าถึงสภาวะธรรมอันเป็นผลแห่งวิปัสสนาที่เสวยอารมณ์อันเป็นสุขปลดเปลื่องอาสวะนั้นแล้วด้วยดี

**(ข้อนี้มีเฉพาะในศาสนาพุทธตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาดนานี้เท่านั้น ศาสนาอื่นไม่มี เพราะนี่คือ เจโตวิมุตติ ของพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดา)​**

**(ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือ
- พรหมวิหาร๔ เจโตวิมุตติ ของพระพุทธเจ้า เป็นเวทนา(ผล)​ และมนสิการ(เหตุ)​ ของมหาสติปัฏฐาน ๔
- มหาสติปัฏฐาน ๔ คือวิปัสสนาเครื่องหลุดพ้นให้เสวยเวทนานั้นบริบูรณ์ และมนสิการได้ถูกตรงทางพ้นทุกข์ มุ่งไปสู่โพชฌงค์ และวิชชา(พระอริยะสัจ๔)​ วิมุตติ(สละคืน)​ได้นั่นเอง

- นี่คือสายเจโตวิมุตติว่าด้วยความเกื้อกูลกันระหว่าง พรหมวิหาร ๔ กับ มหาสติปัฏฐาน ที่มีเฉพาะพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น)​**



อันนี้แค่ความเห็นจากการปฏิบัติเท่านั้นนะครับ ผสมกับความคิดอนุมานจำเพาะเมตตาเจโตวิมุตติ ซึ่งยังกายอยู่ ซึ่งจำเพาะแต่คนที่ได้รูปฌาณให้เดินจิตไปในมหาสติเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ไม่ได้บอกว่าจริง แต่จะจริงแท้ได้กับท่านที่ใช้เจโตวิมุตติ แบบสมาธินำ วิปัสสนาตาม เพราะภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญ สมถะและวิปัสสนา ๓ ประเภท
๑. วิ. นำ - ส.ตาม
๒. ส.นำ - วิ. ตาม
๓. วิ. และ ส. ควบคู่กันไป

ที่สุดคือไปจุดเดียวกัน ดังนี้ครับ

ท่านอ๊บว่ากระไรครับในมุมมมองนี้

ผมขออนุญาตลบหลายส่วนออกนะครับมันจะเป็นสัญญาแก่ผู้ฝึกมหม่ที่เข้ามาอ่าน

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 06 ธ.ค. 2018, 20:36, แก้ไขแล้ว 11 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 12:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


s002 s002 s002

ผมไม่ถึงธรรมนะครับแต่ก็เจริญอยู่ โม้ไปเรื่อยครับ อิอิ

s005 s005 s007 s007

แต่สิ่งที่ผมโพสท์ไม่มีที่ไหน มีที่ผมคนเดียว อิอิ แต่ธรรมทั้งปวงของผมไม่ขัดกับมี่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแน่นอน และเป็นสิ่งที่ไปตรงตามพระธรรมของพระศาสดา เพราะเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนครับ

ขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตา แค่อากาศ คนหล่อสุดใน ๓ โลก คนนี้ครับ อิอิ

tongue tongue tongue smiley smiley smiley

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 06 ธ.ค. 2018, 12:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 12:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้ตอบนี้ เด๋วมาคุยกับท่านเอกอนต่อครับ ผมพิมพ์ในมือถือก๊อปปี้ลงๆๆๆ อาจมีเขียนวนคำซ้ำนะครับ ไม่ได้เปิด labtop

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 16:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
กระทู้ตอบนี้ เด๋วมาคุยกับท่านเอกอนต่อครับ ผมพิมพ์ในมือถือก๊อปปี้ลงๆๆๆ อาจมีเขียนวนคำซ้ำนะครับ ไม่ได้เปิด labtop


555 รอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 17:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะถามแล้วครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 06 ธ.ค. 2018, 21:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 20:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
กระทู้ตอบนี้ เด๋วมาคุยกับท่านเอกอนต่อครับ ผมพิมพ์ในมือถือก๊อปปี้ลงๆๆๆ อาจมีเขียนวนคำซ้ำนะครับ ไม่ได้เปิด labtop


555 รอ


ท่านเอกอนแนะนำไว้ดีมากครับ เรื่อวการทำสะสมเหตุ ทำบ่อยก็กลายเป็นนิสัย เป็นจริต มี่สุดก็เป็นบารมีในตนติดตามไปทุกภพชาติ

ทีนี้กล่าวถึงพรหมวิหาร ๔ ท่านเอกอนมีวิธีทำไว้ในใจอย่างไรให้เข้าถึงครับ

ตรงนี้ต่อให้เป็นอุปนิสัยเราก็รู้ว่าขณะนั้นทำไว้ในใจยังไงใช่ไหมครับ คำถามต่อไปนี้จะสัมพันธ์กันกับกระทู้ท่านเอกอนที่ตอบผมล่าสุดครับ..

คำถามที่ ๓ หรือ ๔ หรือ ๕ ไม่แน่ใจ อิอิ เอา ๓ ละกันครับ

๑. เมตตา ท่านเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่งที่ชัง
๒. กรุณา ท่านเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่วที่ชัง
๓. มุทิตา ท่ารเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่งที่ชัง
๔. อุเบกขา ท่านเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่งที่ชัง

๕. แล้วถ้าเจอสิ่งที่ชังท่านเอกอนเปลี่ยนมนสิการไปในศีลแทนได้ไหมครับ เพราะเหตุใด

๖. ศีลในพระพุทธศาสนา คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด
๗. ถ้า ศีล..ของพระพุทธเจ้า คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ..ก็ด้วยเหตุว่า อินทรีย์สังวร เป็นอาหาร(คือเหตุปัจจัยสืบ)ของความสุจริต ความสุจริตเป็นเหตุปัจจัยของมหาสติปัฏฐาน แล้วอย่างนั้น พรหมวิหาร ๔ คือ ตัวเหตุปัจจัยที่ทำให้มหาสติบริบูรณ์ด้วยหรือไม่ครับ เพระเหตุใด

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 21:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
s002 s002 s002

ขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตา แค่อากาศ คนหล่อสุดใน ๓ โลก คนนี้ครับ อิอิ

tongue tongue tongue smiley smiley smiley


:b32: :b32: :b32:

กล่าวถึง 3 โลกใน ทัศนะของ A-Gard ในตอนนี้ให้ฟังหน่อยสิ่

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 21:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
s002 s002 s002

ขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตา แค่อากาศ คนหล่อสุดใน ๓ โลก คนนี้ครับ อิอิ

tongue tongue tongue smiley smiley smiley


:b32: :b32: :b32:

กล่าวถึง 3 โลกใน ทัศนะของ A-Gard ในตอนนี้ให้ฟังหน่อยสิ่

:b12:


โลกความฝัน
โลกสมมติ
โลกส่วนตัว

ครับ 555 s007 s007 s007

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 23:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
กระทู้ตอบนี้ เด๋วมาคุยกับท่านเอกอนต่อครับ ผมพิมพ์ในมือถือก๊อปปี้ลงๆๆๆ อาจมีเขียนวนคำซ้ำนะครับ ไม่ได้เปิด labtop


555 รอ


ท่านเอกอนแนะนำไว้ดีมากครับ เรื่อวการทำสะสมเหตุ ทำบ่อยก็กลายเป็นนิสัย เป็นจริต มี่สุดก็เป็นบารมีในตนติดตามไปทุกภพชาติ

ทีนี้กล่าวถึงพรหมวิหาร ๔ ท่านเอกอนมีวิธีทำไว้ในใจอย่างไรให้เข้าถึงครับ

ตรงนี้ต่อให้เป็นอุปนิสัยเราก็รู้ว่าขณะนั้นทำไว้ในใจยังไงใช่ไหมครับ คำถามต่อไปนี้จะสัมพันธ์กันกับกระทู้ท่านเอกอนที่ตอบผมล่าสุดครับ..

คำถามที่ ๓ หรือ ๔ หรือ ๕ ไม่แน่ใจ อิอิ เอา ๓ ละกันครับ

๑. เมตตา ท่านเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่งที่ชัง
๒. กรุณา ท่านเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่วที่ชัง
๓. มุทิตา ท่ารเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่งที่ชัง
๔. อุเบกขา ท่านเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่งที่ชัง

๕. แล้วถ้าเจอสิ่งที่ชังท่านเอกอนเปลี่ยนมนสิการไปในศีลแทนได้ไหมครับ เพราะเหตุใด

๖. ศีลในพระพุทธศาสนา คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด
๗. ถ้า ศีล..ของพระพุทธเจ้า คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ..ก็ด้วยเหตุว่า อินทรีย์สังวร เป็นอาหาร(คือเหตุปัจจัยสืบ)ของความสุจริต ความสุจริตเป็นเหตุปัจจัยของมหาสติปัฏฐาน แล้วอย่างนั้น พรหมวิหาร ๔ คือ ตัวเหตุปัจจัยที่ทำให้มหาสติบริบูรณ์ด้วยหรือไม่ครับ เพระเหตุใด


:b32: :b32: :b32:

ตอบแล้วววว แต่ ... อิอิ หายไปในอากาศเยียบย้อยแย๊ว

:b6: บิวท์อารมณ์ตอบนี่ ไม่ง่ายเลยน่ะ :b32: :b32: :b32:

สงสัยความเห็นของเอกอน จะอด

รอความเห็นท่านตั๊บ ท่านอ๊บซ์ งาม ๆ เถอะ

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 23:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

:b32: :b32: :b32:

ตอบแล้วววว แต่ ... อิอิ หายไปในอากาศเยียบย้อยแย๊ว

:b6: บิวท์อารมณ์ตอบนี่ ไม่ง่ายเลยน่ะ :b32: :b32: :b32:

สงสัยความเห็นของเอกอน จะอด

รอความเห็นท่านตั๊บ ท่านอ๊บซ์ งาม ๆ เถอะ

:b9: :b9: :b9:



เดจาวู เหมือนเหตุการณ์นี้ๆเคยเกิดขึ้นแล้วเลย s002 s002 s002

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2018, 01:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องปรับจากความเห็นตรง ๆ เป็นความเห็นธรรมดา ๆ ซื่อ ๆ
เอาเป็นส่วน ๆ ไปเน๊อะ

คือการจะทำอะไรโดยเบื้องต้น สุจริต คำนี้เป็นคำที่มีความหมายสำหรับเอกอนก็คือ
นอกเป็นเช่นไร ในก็ให้เป็นเช่นนั้น
ไม่ใช่ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ทำนองนั้น
คือ ใจคิดอย่าง กาย-วาจาทำอีกอย่าง
ตัวนี้ก็จะไปสัมพันธ์กับศีล ที่จะต้องเจริญทั้งศีลภายใน และศีลภายนอก(ศีลที่แสดง) ไปด้วยกันได้
ไม่ปีน ไม่เขย่งหน้า เขย่งหลัง
คือเอกอนสังเกตเวลาที่ทำสมาธิ แล้วนั่งมองจิตที่มันฟุ้งไปต่าง ๆ นานากว่ามันจะสงบลงได้
เอกอนขี้เกียจนั่งดูความฟุ้งน่ะ ก็เลยต้องจัดระเบียบกันตั้งแต่ภายนอก
กิจกรรมภายนอกอะไรที่ฟุ้ง ๆ ก็ทยอยละซะ มันจะได้ไม่ไปออกฤทธิ์ภายใน

เรื่องแบบนี้ก็คล้าย ๆ กับ พวกที่ชอบกินเผ็ด แล้วก็ไปลำบากท้องน่ะ (ลำบากทวาร :b32: )
ถ้าไม่อยากลำบากท้อง ก็เลือกกินที่มันถูกสุขลักษณะหน่อย

เป็นเรื่องที่ต้องฝึกอย่างง่าย ๆ
เอกอนแทบจะไม่เคยนินทาใครนะ จริงๆเป็นนิสัยที่ผู้หญิงชอบนะ :b32: จับกลุ่มนินทา
การจับกลุ่มนินทา มันเจริญงอกงามขึ้นได้ เพราะคิดไปในทางจะกล่าวถึงผู้อื่นในทางร้าย
เมื่อคิดแล้วก็คันปาก แล้วก็ไปหาคนจับกลุ่มนินทา เป็นกิจกรรมที่เอร็ดอร่อยมาก :b32:

ก็ฝึกที่จะไม่ไปจับกลุ่ม ฝึกที่จะสำรวมวาจา แรก ๆ ใจมันคอยคิด ก็สำรวม
ถ้าไม่นินทาจนชิน ผลพฤติกรรมมันก็โยงไปแตะศีล แตะสติ แตะสมาธิ โดยปริยาย
มันได้สติที่คอยสอดส่องสำรวมกาย-วาจา-ใจ อุปนิสัยตรึกไปในทางสำรวมก็ค่อย ๆ มีขึ้น
และค่อย ๆ แนบไปกับชีวิต เมื่อสติดูแลกำกับดีอยู่ ความฟุ้งไปในอกุศลจิตก็ค่อย ๆ ลดลง
สมาธิที่เป็นไปในชีวิตแต่ละวันมันก็มีขึ้น ทุกอย่างมันเป็นไปโดยแนบเนียน

ถ้าหากว่าเอกอนเล่า เอกอนจะเล่าเป็นจุด ๆ ไม่ถูก
เพราะเอกอนไม่ได้จับธรรมอะไรเพียง 1 ไว้แน่น
แต่จะนำธรรมมาใช่ร่วมกัน ประกอบกัน
และบริหารนอก บริหารในให้สัมพันธ์กัน

แค่อากาศ เขียน:
eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
กระทู้ตอบนี้ เด๋วมาคุยกับท่านเอกอนต่อครับ ผมพิมพ์ในมือถือก๊อปปี้ลงๆๆๆ อาจมีเขียนวนคำซ้ำนะครับ ไม่ได้เปิด labtop


555 รอ


ท่านเอกอนแนะนำไว้ดีมากครับ เรื่อวการทำสะสมเหตุ ทำบ่อยก็กลายเป็นนิสัย เป็นจริต มี่สุดก็เป็นบารมีในตนติดตามไปทุกภพชาติ

ทีนี้กล่าวถึงพรหมวิหาร ๔ ท่านเอกอนมีวิธีทำไว้ในใจอย่างไรให้เข้าถึงครับ


:b32: การงดเว้นซึ่งการนินทาก็เป็นการเจริญพรหมวิหาร 4 นะ จริงมั๊ย

อ้างคำพูด:
ตรงนี้ต่อให้เป็นอุปนิสัยเราก็รู้ว่าขณะนั้นทำไว้ในใจยังไงใช่ไหมครับ คำถามต่อไปนี้จะสัมพันธ์กันกับกระทู้ท่านเอกอนที่ตอบผมล่าสุดครับ..


พรหมวิหารแทรกซึมเข้าไปในทุกอย่าง ความกตัญญูก็เป็น Moment หนึ่งของพรหมวิหาร
แม้เงินเดือนเราจะมีน้อย แต่บางคนก็รู้จักที่จะใช้จ่ายอย่างประหยัด
เพื่อที่จะมีเงินเดือนส่วนหนึ่งไว้เลี้ยงดูบิดามารดา

ผู้ปฏิบัติย่อมรู้นั่นล่ะ พรหมวิหารแทรกซึมไปกับชีวิตทั่วไปนี่ล่ะ

อ้างคำพูด:
คำถามที่ ๓ หรือ ๔ หรือ ๕ ไม่แน่ใจ อิอิ เอา ๓ ละกันครับ

๑. เมตตา ท่านเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่งที่ชัง


ที่ราวตากผ้าบ้านเอกอนมีแตนมาทำรัง เขาก็ทำรังกันอย่างสุขสบายนะ
อยู่ในร่ม มีหลังคาบัง ลมไม่กวน ฝนไม่สาด รังก็นับว่าใหญ่ เพราะทำเลเหมาะ
เวลาเอกอนซักผ้าแล้วเอาผ้าไปตาก เอกอนต้องคอยระวัง
ด้วยความที่เอกอนคิดว่าเขาคงจะชินกับเอกอนแล้ว
แต่วันหนึ่งเอกอนซักผ้าห่ม :b32: เขาไม่ชินกับผ้าห่ม
เขาเห็นมันใหญ่ เขาก็เลยบินมาต่อยเอกอน :b32:

เจ็บจี๊ดเลย :b32: ก็ตกใจนิด ๆ เพราะไม่เคยโดนแมลงต่อยเลย ไม่รู้ว่าจะแพ้รึเปล่า
แต่เอกอนไม่รู้สึกเจ็บมากนัก ก็เริ่มเป็นห่วงว่า เขาจะตายมั๊ย ก็ไปเปิด google ดู
ok แตนต่อยได้หลายที เขาไม่ทิ้งเหล็กใน ดังนั้นเขาไม่ตาย :b32:

และเขาก็อยู่ตรงนั้นต่อไป ไม่ได้คิดจะไล่เขาเลย
จริง ๆ ก็ถือว่าเอกอนอาจจะเลือกทำไม่ถูก เพราะนับได้ว่าเขาเป็นสัตว์มีพิษ
แต่เอกอนมองว่าตรงนั้นเป็นอันตรายกับเอกอนโดยหลัก ๆ เพียงผู้เดียว
เพราะคงไม่มีใครเข้าไปยุ่งกับราวตากผ้าบ้านเอกอนให้โดนแตนต่อยหรอกเน๊อะ
มีแต่เอกอนเท่านั่นล่ะ ซึ่งเอกอนรับมือกับอันตรายนั้นได้

เอกอนเคยเจองูหลุดเลื้อยเข้ามาในสำนักงาน คือคนอื่นเห็นเขาก็จะไล่ตีให้ตาย
แต่วันนั้นเอกอนอยู่ด้วย เอกอนไม่ให้ฆ่า เอกอนให้คนช่วย ๆ กันจับมันไปปล่อย
แต่ไม่มีใครกล้าจับ เอกอนก็เลยต้องจับไปปล่อยเอย :b32:
แต่จริง ๆ มีลุง รปภ.ช่วย เขาบอกว่าเขาก็กลัว เป็นเขาเขาตีตายอย่างเดียว
แต่เขาเห็นเอกอนมีเมตตาจะเอาไปปล่อย
เขาก็เลยช่วยหาไม้มากดหัวงูให้นิ่ง และให้เอกอนจับไปปล่อย

เวลาคิดไปในเรื่องพรหมวิหาร มันง่าย
แต่เวลาเผชิญหน้ากับทางเลือกที่ภัยมาถึงตัว ความกลัวที่ต้องการกำจัดสิ่งนั้นไปให้พ้น
กับความเมตตา มันจะลงมาสู้กันให้เห็นในอารมณ์ตรงนั้นเลย ว่าอะไรจะชนะ

อ้างคำพูด:
๒. กรุณา ท่านเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่วที่ชัง
๓. มุทิตา ท่ารเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่งที่ชัง
๔. อุเบกขา ท่านเอกอนมนสิการไปยังไงเมื่อเจอสิ่งที่ชัง


3 ข้อนี้ เอกอนยังนึกไม่ออกว่า step จริง ๆ ของมันจะต้องเป็นไง
แต่ เอกอนเคยชังพี่ชายนะ แต่เมื่อวันหนึ่งเพื่อชีวิตความอยู่รอดของครอบครัว
เอกอนก็ต้องละทิฐิในความชังในตัวเขาออก
และหันมาเผชิญหน้าที่จะดูแลเขาด้วยหน้าที่ของเราต่อครอบครัว
ก็ต้องพยายามละทิฐิที่ชังเขา ก็ต้องมองให้เห็นโทษของความชัง
เช่นครอบครัวอาจแตกแยก ทุกอย่างก้าวไปสู่ความทุกข์
การชังก็ทุกข์นะ การพยายามละซึ่งความชังก็ทุกข์น่ะ
เพราะ หนึ่งคือฆ่าเขา กับอีกหนึ่งคือฆ่าเราเอง
การเผชิญหน้ากับคนที่เราชัง และเขาก็ชังเรา
มันก็ต้อง อุเบกขา อยู่พอสมควรล่ะ
เพราะมันไม่ใช่คิดปุ๊ป ทำได้ปั๊บ บางทีกว่าเขาจะเห็นคุณค่า
กว่าเราจะฆ่าตนเองจน เขาเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ
มันก็เหมือนกับ เราฆ่าตัวเองทุกวัน และก็ลุกขึ้นมายิ้มสู้กับคู่กรณี
เหมือนดอกไม้ประหลาด ที่ต้องตายทุกคืน และก็ต้องตื่นมาบานในตอนกลางวันทุกวัน

อ้างคำพูด:
๕. แล้วถ้าเจอสิ่งที่ชังท่านเอกอนเปลี่ยนมนสิการไปในศีลแทนได้ไหมครับ เพราะเหตุใด

โดยมากเอกอนไม่ค่อยเจอสิ่งที่ชังนะ
ส่วนใหญ่จะสำรวมจิตไว้ได้อยู่
ถ้าเห็นความชังจะเกิด ก็ลดการเสวนา

อ้างคำพูด:
๖. ศีลในพระพุทธศาสนา คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด
๗. ถ้า ศีล..ของพระพุทธเจ้า คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ..ก็ด้วยเหตุว่า อินทรีย์สังวร เป็นอาหาร(คือเหตุปัจจัยสืบ)ของความสุจริต ความสุจริตเป็นเหตุปัจจัยของมหาสติปัฏฐาน แล้วอย่างนั้น พรหมวิหาร ๔ คือ ตัวเหตุปัจจัยที่ทำให้มหาสติบริบูรณ์ด้วยหรือไม่ครับ เพระเหตุใด


ก็ถ้าหากว่ามีพรหมวิหาร ก็แทบจะไม่ต้องกังวลเรื่องผิดศีลเลย

พรหมวิหาร ทำให้มหาสติปัฏฐานมีกำลังขึ้น ซึ่งจะทำให้บริบูรณ์หรือไม่

เอกอนไม่รู้นะ เผื่อใครจะเห็นว่าได้ เขาย่อมมีเหตุผลที่จะเห็นเช่นนั้น

แต่ในมุมที่เอกอนเข้าใจ เอกอนมองว่าพรหมวิหารเพียงทำให้อัตตาน้อยลงทุกที

แต่ไม่ได้ทำให้แจ้งในอนัตตา

:b10:

สิ่งที่ทำให้แจ้งอนัตา คือ ทุกข์ ต้องเห็นทุกข์ในอารมณ์นั้น
เมื่อ เห็นทุกข์ ก็เข้าสู่ สมุทัย นิโรธ มรรค
แจ้ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

คิดว่านะ ... :b5: :b6: :b14:

ทำไมตั้งคำถามยากแถะ ๆ

:b32: :b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร