วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 17:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


:b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะพัฒนาความสุข ต้องพัฒนาความต้องการต่อเพื่อนมนุษย์ด้วย

เรื่องความต้องการเท่าที่พูดมา เน้นที่ความต้องการต่องานการ หรือ สิ่งที่ทำ แล้วได้พูดถึงฉันทะด้านอื่นๆ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม แต่ที่ขาดไม่ได้ จะต้องขยายไปถึงความต้องการต่อคน หรือต่อเพื่อมนุษย์ด้วยกัน จึงจะครบ

นี่ก็คือเรื่องฉันทะต่อคน บอกแล้วว่า ฉันทะ คือ ความต้องการให้มันดี ให้มันงาม ให้มันสมบูรณ์ เป็นความปรารถนาดีที่มีต่อสิ่งทั้งหลายทั่วไปได้หมด ต่อสรรพสิ่งแล้ว ก็ต่อสรรพสัตว์ด้วย

ที่นี้ พอมีฉันทะต่อสรรพสัตว์ เริ่มตั้งแต่เพื่อนมนุษย์เป็นต้นไป พูดเป็นภาษาไทยก็คือ ความปรารถนาดี อยากให้เขาดี อยากให้เขาเจริญงอกงาม อยากให้เขาแข็งแรงสมบูรณ์ และอยากให้เขาสดชื่นเบิกบานมีความสุข

มนุษย์ด้วยกันนี้ เป็นส่วนสำคัญที่มนุษย์จะต้องเกี่ยวข้องกับชีวิต เป็นเรื่องใหญ่สำหรับมนุษย์ทุกคน เพราะตัวคนแต่ละคนก็เป็นมนุษย์อยู่แล้ว เมื่ออยู่กับเพื่อนมนุษย์ แล้วขยายกว้างออกไป ก็อยู่กับสัตว์ทั้งหลายอื่น ฉันทะที่มีต่อมนุษย์และต่อสัตว์ทั้งหลาย นับว่ามีความหมายที่สำคัญเป็นพิเศษ

จะเห็นว่า ความปรารถนาดี หรือความต้องการให้ดี ต่อเพื่อนมนุษย์และเหล่าสัตว์นั้น มีลักษณะแง่ด้านที่พิเศษกว่าความปรารถนาดี หรือความต้องการให้ดี ที่มีต่อสิ่งทั้งหลายทั่วไป

ดังนั้น ฉันทะในกรณีนี้ จึงมีศัพท์พิเศษให้ แถมมีหลายคำที่จะใช้แยกไปตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เขาประสบอีกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมแล้ว แทนที่จะใช้ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วย “ฉันทะ” คำเดียว ก็แยกออกไปเป็น ๔ คำ

๑. เริ่มด้วยว่า ถ้ามีฉันทะ คือความปรารถนาดี หรือความต้องการให้ดีนั้น ต่อเพื่อน มนุษย์ในยามปกติ เห็นใคร ก็อยากให้เขามีร่างกายสมบูรณ์งดงาม มีหน้าตาอิ่มเอิบผ่องใส อยากให้เขามีความสุข ซึ่งก็เป็นความอยากเพื่อคนนั้น หรือเพื่อสัตว์นั้นเอง ไม่ใช่เรื่องตัวตนของเรา ความอยากอย่างนี้เป็น ความปรารถนาดีพื้นฐานเป็นอย่างที่หนึ่ง เป็นข้อแรก เรียกว่า เมตตา

๒. ทีนี้ต่อไป ถ้ามนุษย์ หรือสัตว์อื่นก็ตาม ไม่อยู่ในสภาพที่เป็นปกติ ไม่สมบูรณ์ ไม่งดงาม มีความบกพร่อง ประสบทุกข์ ยากลำบาก หรือตกต่ำลงไป เราก็อยากให้เขาพ้นจากความทุกข์ จากความยากไร้ขาดแคลน จากความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้นนั้น อย่างที่ว่าแล้ว สำหรับมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนี้ ท่านให้ความสำคัญพิเศษ มีศัพท์เรียกแยกไปเลย ท่านเรียกความอยากให้เขาพ้นจากความเดือดร้อนเป็นทุกข์นี้ ว่า กรุณา

๓. ต่อไปอีก ถ้าคนนั้นเกิดไปเจริญงอกงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือเด็กคนนี้เจริญเติบโตขึ้น มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ หน้าตาสวยงามผ่องใส หรือใครทำความดีงามก้าวหน้าประสบความสำเร็จ นี่คือเขาขึ้นสูงกว่าเดิม หรือเหนือกว่าปกติ เราก็พลอยชื่นชมยินดีด้วย เรียกว่า มุทิตา

๔. ในสถานการณ์ที่อาจจะเรียกว่าพิเศษ ถ้าคนนั้นเขารับผิดชอบตัวเขาเองได้ หรือเขาควรรับผิดชอบต่อตนเอง เป็นความสมควรที่จะเป็นอย่างนั้น ที่ควรจะให้เขาอยู่หรือดำเนินไปในภาวะอย่างนั้น เราไม่ควรเข้าไปแทรกแซง เช่น พ่อแม่ดูแลลูกเล็กอยู่ เขากำลังหัดเดินเตาะแตะ เราปรารถนาดี ต้องการให้เขาเจริญงอกงาม ก็วางทีเฉยดูให้เขาหัดเดินไป ไม่ใช่มัวสงสารกลัวว่าเดี๋ยวเขาจะล้ม จะเจ็บ แล้วคอยอุ้มอยู่เรื่อย

ความปรารถนาดี ต้องการความไม่ผิดพลาดแก่เขา ต้องการความไม่ผิดธรรมแก่เขา อยากให้เขาดำเนินไปในความถูกต้อง ในความสมควรจะเป็นอย่างนั้น ในความไม่เสียหาย ให้เขาเป็นไปโดยธรรม ถูกธรรม ชอบธรรม ไม่เข้าไปก้าวก่ายวุ่นวายแทรกแซง ที่โบราณแปลกันมาว่าวางเฉยนี้ เรียกว่า อุเบกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวม ๔ อย่าง มี “ฉันทะ” เป็นจุดเริ่มต้นทั้งนั้น หมายความว่า ฉันทะแสดงตัวออกมา

๑) เป็นความปรารถนาดี ต้องการให้เขาอยู่ดีมีความสุขในยามเขาเป็นปกติ เรียกว่า เมตตา

๒) เป็นความปรารถนาดี ในยามที่เขาตกต่ำลงไป ต้องการให้เขาพ้น ถอนตนขึ้นมาได้หายทุกข์ สู่สภาวะที่ดี เรียกว่า กรุณา

๓) เป็นความปรารถนาดี ในยามที่เขาก้าวไปได้ดีแล้ว สูงขึ้นไป ต้องการให้เขาดีงามเจริญยิ่งขึ้นไปอีก เรียกว่า มุทิตา

๔) เป็นความปรารถนาดี ในยามถึงวาระที่เขาจะอยู่กับความรับผิดชอบของตัวเขาเอง ต้องการให้เขามีความถูกต้อง ไม่ผิดพลาด ไม่เสียหาย เป็นไปตามธรรม เรียกว่า อุเบกขา

คนโดยมากนึกถึงความปรารถนาดีได้แค่ ๓ สถานการณ์ คือนึกไปได้แค่ข้อที่ ๓ ซึ่งไม่พอ ใน ๓ ข้อแรกนั้น ยังเป็นข้อที่อยู่แค่ความรู้สึก แม้จะเป็นความรู้สึกที่ดีงามสูงส่ง พัฒนามาได้ไกลแล้ว แต่ก็ยังไม่เต็ม ไม่สมบูรณ์ ก็ต้องถามว่า แล้วข้อที่ ๔ สมบูรณ์อย่างไร

ตอบให้สั้นสักหน่อยว่า คนเราจะมีแต่ ด้านรู้สึก อย่างเดียว ถึงจะดีเลิศประเสริฐยิ่งอย่างไร ก็ไม่พอ ก็อยู่แค่คน ไม่ถูกธรรม ไม่บรรจบกับธรรม คนนั้นก็จะไปได้แค่ดี แต่อาจจะไม่ถูก

จะต้องมี ด้านรู้ ให้เต็มด้วย จึงจะถึงธรรมได้ จึงจะถูกต้องจริงได้ และจึงจะหมดทุกข์ มีสุขที่สมบูรณ์ได้

พูดตรงตามศัพท์พระก็คือ พัฒนาด้านจิตใจไปจนเต็มที่อย่างไร ก็ไม่พอ ไม่สมบูรณ์ จิตใจเองนั่นแหละ ไม่สามารถหลุดพ้นเป็นอิสระ ต้องพัฒนาปัญญาให้สมบูรณ์ แล้วปัญญานั่นแหละจะทำให้จิตใจเป็นอิสระ เป็นจิตใจที่สมบูรณ์ได้

๓ ข้อแรก ยังอยู่ในขั้นของลำพังจิต ส่วนข้อ ๔ คือ มีปัญญาทำให้จิตลงตัว เป็นอิสระได้แล้ว

เป็นอันว่า สามข้อแรก ยังเป็นขั้นความรู้สึก ใช้คำฝรั่งบางท่านเข้าใจง่ายขึ้น คือ ยังอยู่ในขั้นของ emotion แม้จะเป็น positive emotion อย่างเยี่ยมยอด มนุษย์ก็ยังต้องขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ให้ถึงปัญญา ต้องมีปัญญามาปรับ มาชำระมายก emotion ขึ้นอีกทีหนึ่ง * ขั้นบรรจบกับปัญญานี้ เป็นข้อที่ ๔

....

ที่อ้างอิง *
* เคยบอกข้างต้นว่า ความอยาก – ปรารถนา - ต้องการ แปลว่า desire แต่ในด้านธรรมนี้ จะใช้ love แทนก็ได้ ฉันทะ เป็น love of truth และ love of good เมื่อออกมาทาง เมตตา กรุณา ก็เป็น love of fellow beings แล้ว love of Dhamma, love of truth, love of justice, love of righteousness ก็โยงถึงธรรม เรียกร้องปัญญา ไปถึงอุเบกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มนุษย์ต้องไปให้ถึงปัญญา จะสมบูรณ์ต่อเมื่ออยู่ด้วยปัญญา ที่ทำให้จิตเป็นอิสระได้ ถ้ามนุษย์ไม่มีปัญญา ก็แก้ปัญหาไม่จบ แม้แต่ในระดับต้นๆง่ายๆ ถึงแม้จิตใจดี มีความรู้สึกที่ดี ก็ใช้ผิด ทำผิดได้

ยกตัวอย่าง ว่า นายคนหนึ่งไปขโมยเงินเขามาได้ ๕,๐๐๐ บาท เออ นี่เขาประสบความสำเร็จ มีเงินใช้สบายละ เข้าหลักว่าเขาได้ดีมีสุข เราจะว่าอย่างไร ก็บอกว่าเข้าข้อ ๓ แล้วนี่ เราก็มุทิตา พลอยยินดีด้วยสิ อย่างนี้ไม่ถูกแล้ว ขืนปฏิบัติธรรมกันอย่างนี้ อยู่กันแค่ความรู้สึก แม้จะเป็นความรู้สึก ที่ดี เดี๋ยวคงยุ่งแน่ จะลักขโมยกันใหญ่ สังคมก็จะเดือดร้อน ไม่ดีแน่ ไปส่งเสริมไม่ได้

นี่แหละ ตรงนี้ ปัญญาที่รู้ธรรม รู้ความถูกต้อง ก็มาปรับจิตใจให้ประสานกันลงตัว เป็นความปรารถนาดี ต้องการให้เขามีความถูกต้อง จิตใจก็ลงตัวพอดีได้ที่ นี่คือเป็น อุเบกขา

ถ้าวิเคราะห์ออกไป ก็เห็นได้ว่า ในอุเบกขานี้ ก็มีฉันทะ เป็นความปรารถนาดี อยากจะให้เขาดี ให้งาม ให้สมบูรณ์ จะสมบูรณ์ก็ต้อง ถูกต้อง ตรงตามธรรม ก็จึงวางใจเป็นกลาง เรียกว่าอุเบกขา เพื่อให้กระบวนการแห่งความถูกต้องเป็นธรรมจะได้ดำเนินการต่อไปตามกฎกติกา เป็นต้น คือให้เป็นไปตามธรรมนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็สรุปได้ว่า สามข้อแรก คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อยู่แค่จิตใจ ได้แค่รักษาคน พอถึงอุเบกขา ก็ไปถึงปัญญา รักษาธรรมได้ด้วย ถ้าคนไปละเมิดธรรม ก็ต้องเอาธรรมไว้ ก็เลยต้องรักษาธรรม ความยุติธรรม ความเป็นธรรม รักษาความถูกต้อง

ก็มาจบ มาเต็มที่อุเบกขา ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เกิดจากมีปัญญาเข้ามาร่วม แล้วก็อุเบกขาเพื่อรักษาธรรม เป็นตัวสร้างสมดุล ให้ ๔ ข้อ ครบบริบูรณ์เต็มที่นั่นเอง จึงเป็นพระพรหมผู้อภิบาลโลกได้จริง ตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2018, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอนนี้ พุทธธรรมหน้า ๑๐๙๕

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2018, 21:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ

ผมเคยคิดนะว่าทำไมเริ่มต้นพระพุทธเจ้าจึงสอนเจโตวิมุตติด้วยความเสมอด้วยตน เสมอทั่วกัน ท่านกรัชกายคิดมั้ยครับว่าเพราะเหตุใดครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 22 พ.ย. 2018, 11:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2018, 07:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
สาธุครับ

ผมเคยคิดนะว่าทำไมเริ่มต้นพระพุทธเจ้สจึงสอนเจโตวิมุตติด้วยความเสมอด้วยตน เสมอทั่วกัน ท่านกรัชกายคิดมั้ยครับว่าเพราะเหตุใดครับ

:b12: :b12: :b12:
:b3: :b3: :b3:

แบบว่า เอกอนยังไม่ค่อยเข้าใจท่อนที่ว่า "สอนเจโตวิมุตติด้วยความเสมอด้วยตน เสมอทั่วกัน" น่ะ

เป็นยังไงนะ แบบว่า ขยายความให้เอกอนเข้าใจอีกสักหน่อยได้ป่าว :b3:

ว่าการเสมอที่ว่า เสมอยังไง :b32: คงไม่ใช่ 2-2 นะ

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2018, 15:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
สาธุครับ

ผมเคยคิดนะว่าทำไมเริ่มต้นพระพุทธเจ้สจึงสอนเจโตวิมุตติด้วยความเสมอด้วยตน เสมอทั่วกัน ท่านกรัชกายคิดมั้ยครับว่าเพราะเหตุใดครับ

:b12: :b12: :b12:
:b3: :b3: :b3:

แบบว่า เอกอนยังไม่ค่อยเข้าใจท่อนที่ว่า "สอนเจโตวิมุตติด้วยความเสมอด้วยตน เสมอทั่วกัน" น่ะ

เป็นยังไงนะ แบบว่า ขยายความให้เอกอนเข้าใจอีกสักหน่อยได้ป่าว :b3:

ว่าการเสมอที่ว่า เสมอยังไง :b32: คงไม่ใช่ 2-2 นะ

:b12: :b12: :b12:



สาธุ สาธุ สาธุ ครับท่านเอกกอน คือให้ตอบตรงๆเลยคือ ผมไม่รู้ครับ ผมไม่ถึง 555 จะตอบก็คงแค่อนุมานเอาครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 03:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
สาธุครับ

ผมเคยคิดนะว่าทำไมเริ่มต้นพระพุทธเจ้สจึงสอนเจโตวิมุตติด้วยความเสมอด้วยตน เสมอทั่วกัน ท่านกรัชกายคิดมั้ยครับว่าเพราะเหตุใดครับ

:b12: :b12: :b12:
:b3: :b3: :b3:

แบบว่า เอกอนยังไม่ค่อยเข้าใจท่อนที่ว่า "สอนเจโตวิมุตติด้วยความเสมอด้วยตน เสมอทั่วกัน" น่ะ

เป็นยังไงนะ แบบว่า ขยายความให้เอกอนเข้าใจอีกสักหน่อยได้ป่าว :b3:

ว่าการเสมอที่ว่า เสมอยังไง :b32: คงไม่ใช่ 2-2 นะ

:b12: :b12: :b12:


ก็เอาสังขารอันใหม่ ไปต่อสังขารเดิมขึ้นมา ให้เป็นความเข้าใจสิคะ
แล้วก็หลุดออกไปจากวิมุติ

คริคริ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 03:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
จบตอนนี้ พุทธธรรมหน้า ๑๐๙๕


คริคริ
เขียนมายืดยาวเรย
ลุงกรัชกาย ก็ทำลูกสักคน

จะได้เป็นพรหมของบุตร ไงคะ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
สาธุครับ

ผมเคยคิดนะว่าทำไมเริ่มต้นพระพุทธเจ้าจึงสอนเจโตวิมุตติด้วยความเสมอด้วยตน เสมอทั่วกัน ท่านกรัชกายคิดมั้ยครับว่าเพราะเหตุใดครับ


ตัดตอนเอาแค่เจโตวิมุตติ (เจโต,เจต = จิต เอา อิ เป็น เอ ก็เป็น เจต, เอาอะเป็นโอ ก็เป็น เจโต รากศัพท์เดียวกัน )

เมื่อถามเจโตวิมุตติ ก็ ต้องมีปัญญาวิมุตติ คู่ไปด้วย นำมาสั้นๆพอเห็นเค้าดังนี้


เจโตวิมุตติ คือ ความหลุดทางด้านจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยกำลังจิต คือ ด้วยสมาธิ หมายถึง ภาวะจิตที่ประกอบด้วยสมาธิ ซึ่งกำราบราคะลงได้ ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งหลาย (ราคะ ในที่นี้ และในบาลีทั่วไป ไม่มีความหมายแคบอย่างที่เข้าใจกันในภาษาไทย คือ ไม่ใช่เรื่องกามเท่านั้น แต่หมายถึง ความติดใจ ความใคร่ ในอารมณ์ต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เป็นไวพจน์ของตัณหา และกินความถึงโทสะด้วย เพราะโทสะก็คือแรงผลักที่เป็นปฏิกิริยาของราคะนั่นเอง)


ปัญญาวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้านปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งปัญญา หมายถึงปัญญาบริสุทธิ์ หรือความรู้ถูกต้องสมบูรณ์ ไม่มีกิเลสบดบังหรือบิดเบือน ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้บรรลุอรหัตผล ในเมื่อปัญญานั้นกำจัดอวิชชาได้แล้ว ทำให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งปวง ดังบาลีว่า “เพราะสำรอกราคะได้ จึงมีเจโตวิมุตติ, เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงมีปัญญาวิมุตติ(องฺ.ทุก.20/276/78 ขุ.ปฏิ.31/540/443)

ผู้บรรลุอรหัตผล จะต้องได้เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตตินี้ ครบทั้งสองทุกบุคคล คำทั้งสองนี้ จึงมาคู่กันเสมอ ในข้อความที่กล่าวถึงการบรรลุอรหัตผล ดังบาลีว่า “เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จึงทำให้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่ไม่มีอาสวะ ในปัจจุบันนี้ทีเดียว(ที.สี.9/253/200; 267/212 ฯลฯ)


เทียบกับพรหมวิหาร ๔ ดังกล่าวก็ ๓ ข้อแรก = เจโตวิมุตติ (สมาธิ,สมถะ) ข้อ ๔ = ปัญญาวิมุตติ (ปัญญา,วิปัสสนา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียบให้เห็นภาพกว้างอีก

จากฉันทะแยกเป็น อัปปมัญญา ๔ ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติทางจิต ซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในบรรดากรรมฐาน ๔๐ อย่าง

อัปปมัญญา ๔ คือ ธรรมที่พึงแผ่ออกไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกันว่า พรหมวิหาร ๔ (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจที่ประเสริฐบริสุทธิ์ หรือคุณธรรมประจำใจของท่านผู้มีจิตกว้างขวางยิ่งใหญ่) คือ *

๑. เมตตา ความรัก คือ ปรารถนาดี มีไม่ตรี อยากให้มนุษย์สัตว์มีสุขทั่วหน้า

๒. กรุณา ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์

๓. มุทิตา ความพลอยยินดี คือ พลอยมีใจแช่มชื่อเบิกบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุขและเจริญงอกงามประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป

๔. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตาชั่ง มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ได้รับผลดีร้ายตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง

ที่อ้างอิง *

* อัปปมัญญา มาในบาลีเดิมมากมาย จนแทบไม่ต้องอ้าง เช่น ที.สี. 9/383-4/310 ที.ปา. 11/234/235 ส่วนที่เรียกว่า พรหมวิหาร เช่น ที.ม.10/184/225 ม.ม.13/462/426


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2018, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
พินาศเลยถ้าได้ไปเกิดในอรูปพรหมหมดโอกาสรู้ความจริงตามคำสอนน๊า
https://youtu.be/2_QDEwhzeNE
:b12:
:b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร