วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 91, 92, 93, 94, 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๖) ผู้ปฏิบัติที่ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิมาดีแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีสติสัมปชัญญะและสมาธิในการรับรู้กายใจ จนสามารถตรวจจับผัสสะเวทนา จนถึงตัณหาและทุกข์ที่เกิดขึ้นตามมาในวงจรปฏิจจสมุปบาทได้อย่างเข้มแข็ง คมชัด รวดเร็ว ว่องไว เพียงใดก็ตาม อย่างมากที่สุดก็เพียงแค่ทำให้กิเลสตัณหา และทุกข์ที่เกิดตามหลังขึ้นมานั้น สั้น หรือเบาบางลงไปได้เพียงอย่างเดียว :b42: :b43: :b48:

นั่นคือ ถึงแม้ว่าผู้ปฏิบัติจะมีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็งว่องไวขนาดไหน ก็ยังคงมีกิเลสและทุกข์เกิดขึ้นได้อยู่ดี ไม่ว่าจะมีสติสัมปชัญญะและสมาธิจนเป็นกึ่งอัตโนมัติแล้วก็ตามในระดับสกทาคามี หรือเป็นไปโดยอัตโนมัติแล้วก็ตามในระดับอนาคามี แต่ก็ยังคงมีกิเลสและทุกข์เกิดขึ้นมาได้ เพราะเชื้อเกิดของกองทุกข์ ซึ่งก็คืออวิชชานั้น ยังไม่ได้ถูกกำจัดลงไปให้หมดด้วยโลกุตรปัญญา
:b46: :b47: :b48:

โดยในระดับสกทาคามีนั้น ด้วยความที่มีสติสัมปชัญญะและสมาธิจนเป็นกึ่งอัตโนมัติแล้ว ทำให้ผัสสะเวทนา รวมทั้งกิเลสตัณหาและทุกข์ที่เกิดขึ้นตามหลังมานั้น สามารถถูกตรวจจับได้อย่างว่องไวคมชัดด้วยอำนาจของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ฝึกมาดีแล้ว ทำให้กิเลสตัณหา และทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้น ดับลงไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้กิเลสตัณหา และทุกข์ในระดับสกทาคามีนั้น เบาบางลงไปได้อย่างมากมาย :b53: :b51: :b55:

แต่นั่น ก็ทำได้เพียงแค่ให้กิเลสตัณหา และทุกข์ที่เกิดขึ้นตามมานั้น เบาบางลง แต่ก็ยังคงเกิดขึ้นใหม่ได้อยู่ดี ยังไม่ได้หมดไปอย่างสิ้นเชิง เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ (โอรัมภาคิยสังโยชน์) ๒ ตัวที่สำคัญคือ กามราคะ (ความใคร่ ความปราถนาในกามคุณ ๕ อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) และปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งแห่งจิต, ความขัดใจ, ความแค้นเคือง, ความขึ้งเคียด ได้แก่ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ) รวมถึงสังโยชน์เบื้องสูงอีก ๕ ตัว (อุทธัมภาคิยสังโยชน์ อันได้แก่ รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจะ, และโดยเฉพาะ อวิชชา) ยังไม่ได้ถูกกำจัดออกไป :b51: :b44: :b45:

ทำให้อริยบุคคลในระดับสกทาคามี ยังมีเหตุให้เกิดสภาพทุกข์ ซึ่งก็คือตัวทุกข์ หรือความเป็นทุกข์เพราะทุกข์ อันได้แก่ ทุกขเวทนาทางกาย (กายิกทุกข์ - physical suffering) และโดยเฉพาะ ทุกขเวทนาทางใจ (เจตสิกทุกข์ - โทมนัสเวทนา - mental suffering) ซึ่งเป็นทุกข์อย่างที่เข้าใจตามภาษาสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ (painfulness as suffering หรือทุกขทุกขตา ในทุกขตา ๓) ยังปรากฏเกิดขึ้นได้อยู่ เพียงแต่เกิดขึ้นได้ในความถี่ที่ลดลง ในระยะเวลาที่สั้นลง และความรุนแรงที่เบาบางลงไป ด้วยอำนาจของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ฝึกมาดีแล้วในระดับสกทาคามี :b48: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนในระดับอนาคามีนั้น ด้วยความที่มีสติสัมปชัญญะและสมาธิจนเป็นอัตโนมัติแล้ว ทำให้ผัสสะเวทนา รวมทั้งกิเลสตัณหาและทุกข์ที่เกิดขึ้นตามหลังมานั้น สามารถถูกตรวจจับได้อย่างว่องไวคมชัดด้วยอำนาจของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็ง ทำให้กิเลสตัณหา และทุกข์ที่เกิดขึ้นตามมานั้น ดับลงไปได้อย่างรวดเร็ว :b46: :b47: :b46:

ดังนั้น กิเลสตัณหาและทุกข์ในระดับอนาคาคามี จึงเหลือแค่กิเลสตัณหาและทุกข์อย่างละเอียด
เช่น :b49: :b48: :b47:

เมื่อเกิดภวตัณหาคือความอยาก ความติดใจ ความติดเพลินในความสุข ในอารมณ์อันปราณีตแห่งรูปฌาน/อรูปฌาน หรือในรูปธรรม/อรูปธรรมอันปราณีตขึ้นมาในจิต (รูปราคะ, อรูปราคะสังโยชน์) :b44: :b40: :b39:

หรือเมื่อเกิดภวตัณหาคือความสําคัญตน ความถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ความถือตัวว่าเสมอเขา ต่ำกว่าเขา หรือดีกว่าเขา ขึ้นมาในจิต (มานะสังโยชน์) :b43: :b39: :b38:

หรือเมื่อเกิดโมหะคือความหลง อันทำให้เกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมาในจิต (อุทธัจจะสังโยชน์) :b44: :b45: :b40:

สติสัมปชัญญะและสมาธิที่ฝึกมาจนเป็นอัตโนมัติแล้ว ก็จะทำให้จิต รู้ทันรู้ชัดในผัสสะเวทนา และกิเลสที่เหลืออยู่ในระดับอนาคามีดังกล่าวได้โดยฉับพลันทันทีที่เกิด :b50: :b49:

คือผัสสะเวทนาและกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้น ก็รู้ได้ทันทีในทุกครั้งที่เกิด เพียงแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้นตามหลังมานั้น จะไม่เป็นทุกขเวทนาทางใจ (เจตสิกทุกข์ - โทมนัสเวทนา - mental suffering ในทุกขทุกขตา อันมีเหตุเกิดมาจากปฏิฆะสังโยชน์ที่ละได้แล้วในระดับอนาคามี) อีกต่อไป จะคงเหลือแต่เพียงแค่ :b46: :b47: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑) สภาพทุกข์ หรือสภาวะทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะความแปรปรวนไปแห่งสุข (suffering in change - วิปริณามทุกขตา ในทุกขตา ๓) เช่นความแปรปรวนในความสุขหรืออุเบกขาอันปราณีตในรูปฌานหรือในอรูปฌาน ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์พระสารีบุตรท่านใช้คำว่า อาพาธ และพระบรมครูท่านตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ในนิพพานสูตร :b46: :b47: :b46:

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=8870&Z=8945&pagebreak=0

ตัดข้อความในพระสูตรที่ว่า มาให้ดูเป็นตัวอย่างสักท่อนนะครับ :b1: :b46: :b39:

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วย (ที่ประกอบด้วย) ปีติย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

และ

๒) สภาพทุกข์ หรือสภาวะทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะความถูกบีบคั้นให้แปรปรวนไปของตัวสภาวะของสังขาร คือสิ่งทั้งปวงซึ่งเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ทำให้คงสภาพอยู่ไม่ได้ พร่องอยู่เสมอ (suffering due to formations - สังขารทุกขตา ในทุกขตา 3) นั่นคือ ปฏิจจสมุปบาทในระดับอนาคามี ยังมี ชาติปิ ทุกขา, ชราปิ ทุกขา, มรณัมปิ ทุกขัง, แต่ไม่มี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา ซึ่งเป็นทุกขทุกข์ในทุกขตา ๓ เกิดขึ้นในระดับอนาคามีอีก :b46: :b47: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งจากตัวอย่างที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ผู้ปฏิบัติ จะฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิให้เข้มแข็ง จนถึงกระทั่งเป็นอัตโนมัติในระดับอนาคามีแล้วก็ตาม ทุกข์ก็ยังไม่ได้หมดไป เพราะสังโยชน์ตัวสำคัญคือ อวิชชาสังโยชน์ อันได้แก่ ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจต่อโลก ต่อสรรพสิ่ง ต่อธรรมชาติ ต่อธรรมทั้งหลาย ตามความเป็นจริง รวมถึงความไม่รู้ ความไม่เข้าใจของการเกิดขึ้น และการดับไปของทุกข์ตามความเป็นจริงนั้น ยังไม่ได้ถูกกำจัดออกไป ทำให้อริยบุคคลแม้ในระดับสกทาคามีหรืออนาคามี ยังมีเหตุให้เกิดสภาพทุกข์อยู่ได้อีก :b46: :b47: :b48:

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ผู้ปฏิบัติ จะฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิมาจนเป็นอัตโนมัติแล้วก็ตาม ก็ยังไม่เพียงพอต่อการกำจัดทุกข์ลงได้อย่างสิ้นเชิง :b51: :b53: :b51:

คือสติสัมปชัญญะและสมาธินั้น เป็นสิ่งจำเป็น แต่ยังไม่เพียงพอ (necessary, but not sufficient) ต่อการบรรลุธรรมในแต่ละขั้น โดยเฉพาะในขั้นสุดท้าย :b47: :b48: :b49:

แต่ที่ว่า สติสัมปชัญญะและสมาธินั้น เป็นสิ่งจำเป็น ก็เพราะว่า การมีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็งนั้น จะเป็นเครื่องมือ หรือปัจจัยที่สำคัญ ที่ใช้ในการสังเกต (โยนิโสมนสิการ) โลกและสรรพสิ่ง คือธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับกายใจ ทั้งภายนอกและภายใน ได้ตรงต่อความเป็นจริง ทั้งตามลักษณะพิเศษ (วิเสสลักษณะ) และลักษณะที่เป็นสามัญร่วมกัน (สามัญลักษณะ) ของธรรมทั้งหลาย :b55: :b54: :b48:

ซึ่งการใช้สติสัมปชัญญะและสมาธิ มาสังเกตโลกและสรรพสิ่ง ให้ตรงต่อความเป็นจริงนั้น ก็จะเป็นปัจจัยนำพาให้เกิดจิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย ที่เป็นเหตุตรง ที่จำเป็นและเพียงพอ (necessary and sufficient) ต่อการกำจัดกิเลสและทุกข์ให้หมดลงไปได้อย่างถาวร นั่นก็คือตัวปัญญาสัมมาทิฏฐิในระดับโลกุตระนั่นเอง :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถ้าจะว่ากันอย่างละเอียดแล้ว ตัวปัญญา หรือองค์สัมมาทิฏฐิในระดับเริ่มต้นนั้น จะเป็นประธานในการที่จะทำให้มรรคองค์อื่นๆที่เหลืออีก ๗ องค์ พอเหมาะพอสมขึ้นมาได้ :b46: :b47: :b42:

และมรรคองค์อื่นๆที่เหลืออีก ๗ องค์ โดยเฉพาะสติสัมปชัญญะและสมาธินั้นเอง ก็จะกลับมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน ให้ตัวปัญญา หรือองค์สัมมาทิฏฐิ เกิดการพัฒนาการขึ้นมาจนกลายเป็นสัมมาญาณะ หรือสัมมาญาณ (right knowledge, right insight) อันได้แก่ญาณหยั่งรู้ความเป็นจริงของธรรมทั้งหลาย ซึ่งก็คือ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณทั้ง ๑๙ วาระใน ๔ ระดับขั้นของการบรรลุธรรม :b50: :b49: :b42:

จนท้ายที่สุดเข้าสู่สัมมาวิมุตติ ซึ่งก็คือการหลุดพ้นที่เป็นอรหัตตผลวิมุตติ (right deliverance) ในระดับพระอรหันต์ได้ ตามคำของพระบรมครูในมหาจัตตารีสกสูตร ที่สอดคล้องกับ คำของพระบรมครูในตัณหาสูตร และอวิชชาสูตร นั่นเอง
:b46: :b47: :b46:

ตัดข้อความในพระสูตรที่ว่า มาให้ดูเป็นตัวอย่างในส่วนที่เกี่ยวข้องนะครับ :b1: :b46: :b39:

มหาจัตตารีสกสูตร http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3724&Z=3923&pagebreak=0

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ

[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...
ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย



ตัณหาสูตร http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=2782&Z=2853&pagebreak=0

อวิชชาสูตร http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=2712&Z=2781&pagebreak=0

การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ (สุตมยปัญญา สัมมาทิฏฐิระดับพื้นฐาน)
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ (สัมมาศรัทธา สัมมาทิฏฐิระดับพื้นฐาน จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในความเห็นและความเข้าใจตามหลักความเป็นจริงในหลักสัจธรรม ถ้าจุดเริ่มต้นนี้มีความเห็นที่ถูกต้องแล้ว อันดับต่อไปก็จะมีความเห็นที่ถูกต้องต่อเนื่องกัน ; หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ)
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ (สัมมาสังกัปปะ สัมมาสติ)
การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ (สัมมาสติ+สัมมาทิฏฐิระดับพื้นฐาน)
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ (สัมมาสติ)
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ (สัมมาสติ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสมาธิ)
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ (สัมมาญาณะ, สัมมาวิมุตติ)
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ


หัวข้อนี้ยังไม่จบนะครับ แต่ขอหยุดไว้ตรงนี้ก่อนเพื่อให้บทความในแต่ละครั้งไม่ยาวจนเกินไป :b47: :b46: :b42:

แล้วมาต่อกันในคราวหน้า :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 16:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ ?

ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว

เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:



ขออนุญาตตอบกระทู้ ท่านเซลฟ ครับ ๑๐ ปีแล้ว ป่านนี้ท่านคงบรรบุธรรมแล้ว หรือมีมรรคที่สูงขึ้นแล้ว

ผมขออนุญาตุตอบไว้เผื่อภายหน้ามีคนมาดูนะครับ ที่ปมตอบเป็นการปฏิบัติไม่ใช่การท่องจำปริยัตินะครับ

1. หากรู้แค่วงจรปฏิจจะในตัวหนังสือ คิดตามเอาอยู่ยังไม่เห็นของจริง
- สะสมเหตุ.. ก็ให้เจริญทาน เจริญศีล ฝึกกรรมฐาน กองใดกองหนึ่งใน ๔๐ กอง ทุกกองเพื่อสติที่ตั้งมั่นทำให้จิตตั้งมั่นตาม(อนุสสติ๖ นี้ง่ายสุด) เป็นเหตุให้เรามีจิตแจ่มใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ทำให้สติตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนี่งได้นาน จิตก็จะตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้นานตาม
- ทำปัจจุบันให้แจ้ง.. ฝึกทำสัมปะชัญญะรู้ปัจจุบันบ่อยๆเนืองๆ รู้กิจการงานที่ตนทำอยู่ในปัจจุบัน รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ตัวทั่วพร้อมว่าอยู่ในอิริยาบถใดในปัจจุบัน ..และฝึก..เดินจงกรม ยืนสงบนิ่งนั่งสมาธิ นอนตระแครงขวาสมาธิ
- ฝึกตัวรู้ให้แยกจากความคิด.. โดยเมื่อทำสมาธิ ให้เอาสติตั้งไว้ในภายในตัวรู้ เอาสัมปะชัญญะเข้าไปรู้ตัวจิต(ที่เป็นตัวรู้) แล้วแยกจิตตัวรู้ออกจากความคิด ให้ตัวรู้ทำแค่รู้ ไม่ใช่ตัวรู้กลายเป็นสิ่งที่คิด
- เมื่อจิตตั้งมั่นได้ให้เจริญ "สัญญา ๑๐"

2. หากกรรมฐานแล้วเห็นไม่ใช่คิดเอา ปฏิจจะฯ สำหรับปุถุชนอย่างเราๆนี้ มีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสุด
- ขั้นต้น เป็นอวิชชาในปัจจุบันกายใจเราตอนนี้แหละ เป็นสมุทัย เกิดกรรมสังขารสืบต่อไปยังผลแห่งทุกข์
- ขั้นกลาง เห็นในธรรมแท้การทำงานของขันธ์ในปัจจุบัน เพื่อทำให้มรรคยิ่งๆขึ้นไปสู่ผล
- ขั้นสุด เห็นชัดแจ้งแทงตลอด อวิชชาที่ทับถมจิตมาหลายอสงไขยจนเป็นอันเดียวกับจิต ทำให้จิตต้องจรไปตามสังขารกรรม มีกรรมเป็นแดนเกิด ติดตาม อาศัย เป็นทายาทกรรม หยั่งลงมาสู่ครรภ์จุติสู่ธาตุที่พ่อแม่ให้มา จิตเข้ายึดครองธาตุ กลายเป็นธาตุที่มีใจครอง เป็นสังขารธรรม ความสืบต่อวัฏฏะเวียนว่ายไปเป็นนิทานะ

ไม่ว่าจะขั้นไหนหากจะเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน ต้องปฏิบัติโดย
ซึ่ง ทั้ง 3 ระดับ ไม่ว่าจะขั้นไหนหากจะเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน ต้องปฏิบัติโดย
ก. ตัดที่วิญญาณ(ตัวรู้) ตัดวิญญาณด้วยละผัสสะ ผัสสายตนะ ๖ ซึ่งเป็นการตัดเวทนา และสมมติกิเลสอย่างกลางและอย่างหยาบ
ข. ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ด้วยความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจต่ออารมณ์ที่มากระทบ เพราะล้วนเป็นสมมติทั้งหมด เมื่อจิตรู้อย่างนั้น จิตก็ไม่สัดส่ายตามอารมณ์ที่มากระทบ เมื่อไม่สัดส่ายจิตก็มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองประกบด้วยสติและสัมปะชัญญะ จิตจะเริ่มคลายอุปาทานขันธ์ ความต่อเนื่องขาดลง เห็นการทำงานของขันธ์ เห็นกิเลสที่ปกคลุมจิต ถึงในพระอริยะสัจ ๔ แท้ๆ

ฝากไว้เฉยๆครับ แค่อยากคุยด้วยครับ เห็นคุยธรรมสูงกันเกือบ ๑๐๐ หน้า..ผมเลยอยากมีส่วนร่วมใน ๑๐๐ หน้าของกระทู้นี้ครับ อิอิ เผื่อได้เป็นอีกแนวทางปฏิบัติให้ท่าน ผมแค่ปุถุชนมีทั้งจริงทั้งไม่จริง แต่โดยมากจะปลอมครับ 555 ต้องแยกแยะพิจารณาเอาครับว่าควรเสพย์ หรือไม่ควรเสพย์

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ ?

ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว

เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:



ขออนุญาตตอบกระทู้ ท่านเซลฟ ครับ ๑๐ ปีแล้ว ป่านนี้ท่านคงบรรบุธรรมแล้ว หรือมีมรรคที่สูงขึ้นแล้ว

ผมขออนุญาตุตอบไว้เผื่อภายหน้ามีคนมาดูนะครับ ที่ปมตอบเป็นการปฏิบัติไม่ใช่การท่องจำปริยัตินะครับ

1. หากรู้แค่วงจรปฏิจจะในตัวหนังสือ คิดตามเอาอยู่ยังไม่เห็นของจริง
- สะสมเหตุ.. ก็ให้เจริญทาน เจริญศีล ฝึกกรรมฐาน กองใดกองหนึ่งใน ๔๐ กอง ทุกกองเพื่อสติที่ตั้งมั่นทำให้จิตตั้งมั่นตาม(อนุสสติ๖ นี้ง่ายสุด) เป็นเหตุให้เรามีจิตแจ่มใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ทำให้สติตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนี่งได้นาน จิตก็จะตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้นานตาม
- ทำปัจจุบันให้แจ้ง.. ฝึกทำสัมปะชัญญะรู้ปัจจุบันบ่อยๆเนืองๆ รู้กิจการงานที่ตนทำอยู่ในปัจจุบัน รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ตัวทั่วพร้อมว่าอยู่ในอิริยาบถใดในปัจจุบัน ..และฝึก..เดินจงกรม ยืนสงบนิ่งนั่งสมาธิ นอนตระแครงขวาสมาธิ
- ฝึกตัวรู้ให้แยกจากความคิด.. โดยเมื่อทำสมาธิ ให้เอาสติตั้งไว้ในภายในตัวรู้ เอาสัมปะชัญญะเข้าไปรู้ตัวจิต(ที่เป็นตัวรู้) แล้วแยกจิตตัวรู้ออกจากความคิด ให้ตัวรู้ทำแค่รู้ ไม่ใช่ตัวรู้กลายเป็นสิ่งที่คิด
- เมื่อจิตตั้งมั่นได้ให้เจริญ "สัญญา ๑๐"

2. หากกรรมฐานแล้วเห็นไม่ใช่คิดเอา ปฏิจจะฯ สำหรับปุถุชนอย่างเราๆนี้ มีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสุด
- ขั้นต้น เป็นอวิชชาในปัจจุบันกายใจเราตอนนี้แหละ เป็นสมุทัย เกิดกรรมสังขารสืบต่อไปยังผลแห่งทุกข์
- ขั้นกลาง เห็นในธรรมแท้การทำงานของขันธ์ในปัจจุบัน เพื่อทำให้มรรคยิ่งๆขึ้นไปสู่ผล
- ขั้นสุด เห็นชัดแจ้งแทงตลอด อวิชชาที่ทับถมจิตมาหลายอสงไขยจนเป็นอันเดียวกับจิต ทำให้จิตต้องจรไปตามสังขารกรรม มีกรรมเป็นแดนเกิด ติดตาม อาศัย เป็นทายาทกรรม หยั่งลงมาสู่ครรภ์จุติสู่ธาตุที่พ่อแม่ให้มา จิตเข้ายึดครองธาตุ กลายเป็นธาตุที่มีใจครอง เป็นสังขารธรรม ความสืบต่อวัฏฏะเวียนว่ายไปเป็นนิทานะ

ไม่ว่าจะขั้นไหนหากจะเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน ต้องปฏิบัติโดย
ซึ่ง ทั้ง 3 ระดับ ไม่ว่าจะขั้นไหนหากจะเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน ต้องปฏิบัติโดย
ก. ตัดที่วิญญาณ(ตัวรู้) ตัดวิญญาณด้วยละผัสสะ ผัสสายตนะ ๖ ซึ่งเป็นการตัดเวทนา และสมมติกิเลสอย่างกลางและอย่างหยาบ
ข. ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ด้วยความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจต่ออารมณ์ที่มากระทบ เพราะล้วนเป็นสมมติทั้งหมด เมื่อจิตรู้อย่างนั้น จิตก็ไม่สัดส่ายตามอารมณ์ที่มากระทบ เมื่อไม่สัดส่ายจิตก็มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองประกบด้วยสติและสัมปะชัญญะ จิตจะเริ่มคลายอุปาทานขันธ์ ความต่อเนื่องขาดลง เห็นการทำงานของขันธ์ เห็นกิเลสที่ปกคลุมจิต ถึงในพระอริยะสัจ ๔ แท้ๆ

ฝากไว้เฉยๆครับ แค่อยากคุยด้วยครับ เห็นคุยธรรมสูงกันเกือบ ๑๐๐ หน้า..ผมเลยอยากมีส่วนร่วมใน ๑๐๐ หน้าของกระทู้นี้ครับ อิอิ เผื่อได้เป็นอีกแนวทางปฏิบัติให้ท่าน ผมแค่ปุถุชนมีทั้งจริงทั้งไม่จริง แต่โดยมากจะปลอมครับ 555 ต้องแยกแยะพิจารณาเอาครับว่าควรเสพย์ หรือไม่ควรเสพย์


คริคริ

ตลกดี. ตัดวิญญาณ

มีคนสอนมาผิดๆ จำมาผิดๆ ท่องมาผิดๆ
เรยปฎิบัติผิดๆๆ

สอบลงพระปริยัติไม่ลง

พระพุทธเจ้าพระองค์ไหนๆก้อไม่ได้สอนให้ตัดวิญญาณ

เพราะคุณแค่อากาศ ไม่ได้เรียนปริยัติ ไม่ได้เรียนพระอภิธรรม
เรยเชลาเบาปัญญา ไม่ตรงตามพระปริยัติ


เป็นมิจฉาปฎิบัติค่ะ ปลอมแบบ กะปอมก่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2019, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




มาฆปุรณมี .jpg
มาฆปุรณมี .jpg [ 183.88 KiB | เปิดดู 7430 ครั้ง ]
.

ว่าจะมาเรียบเรียงต่อจากคราวที่แล้วนะครับ ในหัวข้อของสภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา ในภาคส่วนของปัญญา ด้วยการใช้สติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็ง ในการเฝ้าสังเกต (โยนิโสมนสิการ) โลกและสรรพสิ่ง คือธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับกายใจ ทั้งภายนอกและภายใน ให้ตรงต่อความเป็นจริง ทั้งตามลักษณะพิเศษ (วิเสสลักษณะ) และลักษณะที่เป็นสามัญร่วมกัน (สามัญลักษณะ) ของธรรมทั้งหลาย :b46: :b47: :b46:

โดยเฉพาะในส่วนของการเฝ้าสังเกตในความเป็นอนัตตา ในความเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัย ของปรากฎการณ์ทั้งหลายของโลกและสรรพสิ่ง จนกระทั้งเข้าใจ ลึกซึ้งถึงใจ และรู้เห็นได้อย่างแจ่มแจ้งถึงอาการสลายไปในความเป็น "เรา" ตามคำของพระบรมครูในอนัตตลักขณสูตร :b8:

ตัสมาติหะ ภิกขะเว,
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย,

ยังกิญจิ รูปัง, เวทะนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณัง
รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง,

อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง,
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี,

อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา,
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี,

โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา,
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี,

หีนัง วา ปะณีตัง วา,
เลวก็ดี ประณีตก็ดี,

ยันทูเร สันติเก วา,
อันใดมีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี,

สัพพัง รูปัง, เวทะนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณัง
รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณ ทั้งหมดก็เป็นสักว่ารูป, สักว่าเวทนา, สักว่าสัญญา, สักว่าสังขารา, สักว่าวิญญาณ

เนตัง มะมะ,
นั่นไม่ใช่ของเรา,

เนโสหะมัสมี,
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่,

นะ เมโส อัตตาติ,
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้,

เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง,
ข้อนี้ท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา

สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,
อันชอบ ตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้,


:b8: :b8: :b8:

ซึ่งจุดสำคัญที่ต้องการจะขยายความต่อก็คือว่า เมื่อจิตรู้เห็นปรากฎการณ์ต่างๆของโลกและสรรพสิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริงแล้วว่า ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัยที่ไหลเลื่อนเคลื่อนไป จนกระทั่งไม่มี "ของๆเรา" ไม่มี "เรา" ได้ดังนี้แล้ว :b46: :b47: :b46:

จิต หรือธาตุรู้ก็จะแผ่กระจายออกไปจนเต็มโลกธาตุ และจะเกิดการปฏิวัติมุมมองต่อโลกใหม่ (Paradigm shift) โดยมองโลกด้วยความเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัย การทำงานทำการก็จะกระทำไปด้วยกระแสของเหตุและปัจจัย :b46: :b47: :b46:

คือมีเป้าหมาย แต่ไม่มี "ความหวัง" หรือความ "อยาก" ที่จะบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้อย่างเรียบง่ายว่า ขวนขวายในเหตุ แต่สันโดษในผล :b46: :b46: :b47: :b46:

จิตจะมีพลังอย่างเต็มเปี่ยมที่จะขับเคลื่อนงานด้วยความเป็นผู้ใคร่ที่จะกระทำ (กัตตุกัมมยตาฉันทะ) คือมีพลังที่จะขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามกระแสของเหตุปัจจัยโดยแรงไม่ตก ด้วยใจที่เป็นอิสระ เบิกบาน ไร้กังวล (care free) ... ไร้แม้กระทั่งซึ่งตัวตนของผู้กระทำ
:b46: :b46: :b47: :b46: :b46:

แต่ช่วงนี้มีภารกิจบางอย่างที่ต้องใช้อิทธิบาททั้ง ๔ ที่ขับเคลื่อนด้วยกัตตุกัมมยตาฉันทะ ในการกระทำภารกิจนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปตามกระแสของเหตุปัจจัยอยู่นะครับ ทำให้ไม่เหลือเวลายาวนานเพียงพอที่จะใช้สมาธิมานั่งเรียบเรียงความรู้และประสบการณ์ทางธรรมกันได้ตามปรกติ และยังคงจะเป็นอย่างนี้ไปอีกสักพักนะครับ จนกว่าภารกิจนั้นจะสำเร็จเสร็จสิ้น หรือเบาบางลงไปจนกระทั่งมีเวลาพอที่จะใช้สมาธิ มานั่งเรียบเรียงความรู้และประสบการณ์ทางธรรมกันได้ต่อ :b46: :b47: :b46:

ดังนั้น จึงต้องขอเวลาสักพักใหญ่ๆนะครับ กว่าจะกลับมานั่งเรียบเรียงประสบการณ์ทางธรรมกันได้ใหม่ :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2019, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
.

ว่าจะมาเรียบเรียงต่อจากคราวที่แล้วนะครับ ในหัวข้อของสภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา ในภาคส่วนของปัญญา ด้วยการใช้สติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็ง ในการเฝ้าสังเกต (โยนิโสมนสิการ) โลกและสรรพสิ่ง คือธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับกายใจ ทั้งภายนอกและภายใน ให้ตรงต่อความเป็นจริง ทั้งตามลักษณะพิเศษ (วิเสสลักษณะ) และลักษณะที่เป็นสามัญร่วมกัน (สามัญลักษณะ) ของธรรมทั้งหลาย :b46: :b47: :b46:

โดยเฉพาะในส่วนของการเฝ้าสังเกตในความเป็นอนัตตา ในความเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัย ของปรากฎการณ์ทั้งหลายของโลกและสรรพสิ่ง จนกระทั้งเข้าใจ ลึกซึ้งถึงใจ และรู้เห็นได้อย่างแจ่มแจ้งถึงอาการสลายไปในความเป็น "เรา" ตามคำของพระบรมครูในอนัตตลักขณสูตร :b8:

ตัสมาติหะ ภิกขะเว,
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย,

ยังกิญจิ รูปัง, เวทะนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณัง
รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง,

อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง,
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี,

อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา,
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี,

โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา,
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี,

หีนัง วา ปะณีตัง วา,
เลวก็ดี ประณีตก็ดี,

ยันทูเร สันติเก วา,
อันใดมีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี,

สัพพัง รูปัง, เวทะนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณัง
รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณ ทั้งหมดก็เป็นสักว่ารูป, สักว่าเวทนา, สักว่าสัญญา, สักว่าสังขารา, สักว่าวิญญาณ

เนตัง มะมะ,
นั่นไม่ใช่ของเรา,

เนโสหะมัสมี,
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่,

นะ เมโส อัตตาติ,
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้,

เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง,
ข้อนี้ท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา

สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,
อันชอบ ตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้,


:b8: :b8: :b8:

ซึ่งจุดสำคัญที่ต้องการจะขยายความต่อก็คือว่า เมื่อจิตรู้เห็นปรากฎการณ์ต่างๆของโลกและสรรพสิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริงแล้วว่า ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัยที่ไหลเลื่อนเคลื่อนไป จนกระทั่งไม่มี "ของๆเรา" ไม่มี "เรา" ได้ดังนี้แล้ว :b46: :b47: :b46:

จิต หรือธาตุรู้ก็จะแผ่กระจายออกไปจนเต็มโลกธาตุ และจะเกิดการปฏิวัติมุมมองต่อโลกใหม่ (Paradigm shift) โดยมองโลกด้วยความเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัย การทำงานทำการก็จะกระทำไปด้วยกระแสของเหตุและปัจจัย :b46: :b47: :b46:

คือมีเป้าหมาย แต่ไม่มี "ความหวัง" หรือความ "อยาก" ที่จะบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้อย่างเรียบง่ายว่า ขวนขวายในเหตุ แต่สันโดษในผล :b46: :b46: :b47: :b46:

จิตจะมีพลังอย่างเต็มเปี่ยมที่จะขับเคลื่อนงานด้วยความเป็นผู้ใคร่ที่จะกระทำ (กัตตุกัมมยตาฉันทะ) คือมีพลังที่จะขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามกระแสของเหตุปัจจัยโดยแรงไม่ตก ด้วยใจที่เป็นอิสระ เบิกบาน ไร้กังวล (care free) ... ไร้แม้กระทั่งซึ่งตัวตนของผู้กระทำ
:b46: :b46: :b47: :b46: :b46:

แต่ช่วงนี้มีภารกิจบางอย่างที่ต้องใช้อิทธิบาททั้ง ๔ ที่ขับเคลื่อนด้วยกัตตุกัมมยตาฉันทะ ในการกระทำภารกิจนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปตามกระแสของเหตุปัจจัยอยู่นะครับ ทำให้ไม่เหลือเวลายาวนานเพียงพอที่จะใช้สมาธิมานั่งเรียบเรียงความรู้และประสบการณ์ทางธรรมกันได้ตามปรกติ และยังคงจะเป็นอย่างนี้ไปอีกสักพักนะครับ จนกว่าภารกิจนั้นจะสำเร็จเสร็จสิ้น หรือเบาบางลงไปจนกระทั่งมีเวลาพอที่จะใช้สมาธิ มานั่งเรียบเรียงความรู้และประสบการณ์ทางธรรมกันได้ต่อ :b46: :b47: :b46:

ดังนั้น จึงต้องขอเวลาสักพักใหญ่ๆนะครับ กว่าจะกลับมานั่งเรียบเรียงประสบการณ์ทางธรรมกันได้ใหม่ :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


อนุโมทนา สาธุ กับจิตที่เป็นกุศลด้วยครับ

เจริญในธรรมครับ เช่นกันครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 16:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
.

ว่าจะมาเรียบเรียงต่อจากคราวที่แล้วนะครับ ในหัวข้อของสภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา ในภาคส่วนของปัญญา ด้วยการใช้สติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็ง ในการเฝ้าสังเกต (โยนิโสมนสิการ) โลกและสรรพสิ่ง คือธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับกายใจ ทั้งภายนอกและภายใน ให้ตรงต่อความเป็นจริง ทั้งตามลักษณะพิเศษ (วิเสสลักษณะ) และลักษณะที่เป็นสามัญร่วมกัน (สามัญลักษณะ) ของธรรมทั้งหลาย :b46: :b47: :b46:

โดยเฉพาะในส่วนของการเฝ้าสังเกตในความเป็นอนัตตา ในความเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัย ของปรากฎการณ์ทั้งหลายของโลกและสรรพสิ่ง จนกระทั้งเข้าใจ ลึกซึ้งถึงใจ และรู้เห็นได้อย่างแจ่มแจ้งถึงอาการสลายไปในความเป็น "เรา" ตามคำของพระบรมครูในอนัตตลักขณสูตร :b8:

ตัสมาติหะ ภิกขะเว,
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย,

ยังกิญจิ รูปัง, เวทะนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณัง
รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง,

อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง,
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี,

อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา,
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี,

โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา,
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี,

หีนัง วา ปะณีตัง วา,
เลวก็ดี ประณีตก็ดี,

ยันทูเร สันติเก วา,
อันใดมีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี,

สัพพัง รูปัง, เวทะนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณัง
รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณ ทั้งหมดก็เป็นสักว่ารูป, สักว่าเวทนา, สักว่าสัญญา, สักว่าสังขารา, สักว่าวิญญาณ

เนตัง มะมะ,
นั่นไม่ใช่ของเรา,

เนโสหะมัสมี,
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่,

นะ เมโส อัตตาติ,
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้,

เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง,
ข้อนี้ท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา

สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,
อันชอบ ตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้,


:b8: :b8: :b8:

ซึ่งจุดสำคัญที่ต้องการจะขยายความต่อก็คือว่า เมื่อจิตรู้เห็นปรากฎการณ์ต่างๆของโลกและสรรพสิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริงแล้วว่า ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัยที่ไหลเลื่อนเคลื่อนไป จนกระทั่งไม่มี "ของๆเรา" ไม่มี "เรา" ได้ดังนี้แล้ว :b46: :b47: :b46:

จิต หรือธาตุรู้ก็จะแผ่กระจายออกไปจนเต็มโลกธาตุ และจะเกิดการปฏิวัติมุมมองต่อโลกใหม่ (Paradigm shift) โดยมองโลกด้วยความเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัย การทำงานทำการก็จะกระทำไปด้วยกระแสของเหตุและปัจจัย :b46: :b47: :b46:

คือมีเป้าหมาย แต่ไม่มี "ความหวัง" หรือความ "อยาก" ที่จะบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้อย่างเรียบง่ายว่า ขวนขวายในเหตุ แต่สันโดษในผล :b46: :b46: :b47: :b46:

จิตจะมีพลังอย่างเต็มเปี่ยมที่จะขับเคลื่อนงานด้วยความเป็นผู้ใคร่ที่จะกระทำ (กัตตุกัมมยตาฉันทะ) คือมีพลังที่จะขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามกระแสของเหตุปัจจัยโดยแรงไม่ตก ด้วยใจที่เป็นอิสระ เบิกบาน ไร้กังวล (care free) ... ไร้แม้กระทั่งซึ่งตัวตนของผู้กระทำ
:b46: :b46: :b47: :b46: :b46:

แต่ช่วงนี้มีภารกิจบางอย่างที่ต้องใช้อิทธิบาททั้ง ๔ ที่ขับเคลื่อนด้วยกัตตุกัมมยตาฉันทะ ในการกระทำภารกิจนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปตามกระแสของเหตุปัจจัยอยู่นะครับ ทำให้ไม่เหลือเวลายาวนานเพียงพอที่จะใช้สมาธิมานั่งเรียบเรียงความรู้และประสบการณ์ทางธรรมกันได้ตามปรกติ และยังคงจะเป็นอย่างนี้ไปอีกสักพักนะครับ จนกว่าภารกิจนั้นจะสำเร็จเสร็จสิ้น หรือเบาบางลงไปจนกระทั่งมีเวลาพอที่จะใช้สมาธิ มานั่งเรียบเรียงความรู้และประสบการณ์ทางธรรมกันได้ต่อ :b46: :b47: :b46:

ดังนั้น จึงต้องขอเวลาสักพักใหญ่ๆนะครับ กว่าจะกลับมานั่งเรียบเรียงประสบการณ์ทางธรรมกันได้ใหม่ :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


สาธุ สาธุ สาธุ ครับท่าน ยินดียิ่งครับ อย่างไรผมจะรอศึกษาจากท่านด้วยนะครับ Kiss Kiss Kiss

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2019, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
.

ว่าจะมาเรียบเรียงต่อจากคราวที่แล้วนะครับ ในหัวข้อของสภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา ในภาคส่วนของปัญญา ด้วยการใช้สติสัมปชัญญะและสมาธิที่เข้มแข็ง ในการเฝ้าสังเกต (โยนิโสมนสิการ) โลกและสรรพสิ่ง คือธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับกายใจ ทั้งภายนอกและภายใน ให้ตรงต่อความเป็นจริง ทั้งตามลักษณะพิเศษ (วิเสสลักษณะ) และลักษณะที่เป็นสามัญร่วมกัน (สามัญลักษณะ) ของธรรมทั้งหลาย :b46: :b47: :b46:

โดยเฉพาะในส่วนของการเฝ้าสังเกตในความเป็นอนัตตา ในความเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัย ของปรากฎการณ์ทั้งหลายของโลกและสรรพสิ่ง จนกระทั้งเข้าใจ ลึกซึ้งถึงใจ และรู้เห็นได้อย่างแจ่มแจ้งถึงอาการสลายไปในความเป็น "เรา" ตามคำของพระบรมครูในอนัตตลักขณสูตร :b8:

ตัสมาติหะ ภิกขะเว,
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย,

ยังกิญจิ รูปัง, เวทะนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณัง
รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง,

อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง,
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี,

อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา,
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี,

โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา,
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี,

หีนัง วา ปะณีตัง วา,
เลวก็ดี ประณีตก็ดี,

ยันทูเร สันติเก วา,
อันใดมีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี,

สัพพัง รูปัง, เวทะนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณัง
รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารา, วิญญาณ ทั้งหมดก็เป็นสักว่ารูป, สักว่าเวทนา, สักว่าสัญญา, สักว่าสังขารา, สักว่าวิญญาณ

เนตัง มะมะ,
นั่นไม่ใช่ของเรา,

เนโสหะมัสมี,
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่,

นะ เมโส อัตตาติ,
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้,

เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง,
ข้อนี้ท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา

สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,
อันชอบ ตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้,


:b8: :b8: :b8:

ซึ่งจุดสำคัญที่ต้องการจะขยายความต่อก็คือว่า เมื่อจิตรู้เห็นปรากฎการณ์ต่างๆของโลกและสรรพสิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริงแล้วว่า ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัยที่ไหลเลื่อนเคลื่อนไป จนกระทั่งไม่มี "ของๆเรา" ไม่มี "เรา" ได้ดังนี้แล้ว :b46: :b47: :b46:

จิต หรือธาตุรู้ก็จะแผ่กระจายออกไปจนเต็มโลกธาตุ และจะเกิดการปฏิวัติมุมมองต่อโลกใหม่ (Paradigm shift) โดยมองโลกด้วยความเป็นเพียงกระแสของเหตุและปัจจัย การทำงานทำการก็จะกระทำไปด้วยกระแสของเหตุและปัจจัย :b46: :b47: :b46:

คือมีเป้าหมาย แต่ไม่มี "ความหวัง" หรือความ "อยาก" ที่จะบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้อย่างเรียบง่ายว่า ขวนขวายในเหตุ แต่สันโดษในผล :b46: :b46: :b47: :b46:

จิตจะมีพลังอย่างเต็มเปี่ยมที่จะขับเคลื่อนงานด้วยความเป็นผู้ใคร่ที่จะกระทำ (กัตตุกัมมยตาฉันทะ) คือมีพลังที่จะขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามกระแสของเหตุปัจจัยโดยแรงไม่ตก ด้วยใจที่เป็นอิสระ เบิกบาน ไร้กังวล (care free) ... ไร้แม้กระทั่งซึ่งตัวตนของผู้กระทำ
:b46: :b46: :b47: :b46: :b46:

แต่ช่วงนี้มีภารกิจบางอย่างที่ต้องใช้อิทธิบาททั้ง ๔ ที่ขับเคลื่อนด้วยกัตตุกัมมยตาฉันทะ ในการกระทำภารกิจนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปตามกระแสของเหตุปัจจัยอยู่นะครับ ทำให้ไม่เหลือเวลายาวนานเพียงพอที่จะใช้สมาธิมานั่งเรียบเรียงความรู้และประสบการณ์ทางธรรมกันได้ตามปรกติ และยังคงจะเป็นอย่างนี้ไปอีกสักพักนะครับ จนกว่าภารกิจนั้นจะสำเร็จเสร็จสิ้น หรือเบาบางลงไปจนกระทั่งมีเวลาพอที่จะใช้สมาธิ มานั่งเรียบเรียงความรู้และประสบการณ์ทางธรรมกันได้ต่อ :b46: :b47: :b46:

ดังนั้น จึงต้องขอเวลาสักพักใหญ่ๆนะครับ กว่าจะกลับมานั่งเรียบเรียงประสบการณ์ทางธรรมกันได้ใหม่ :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:



หัวข้อกระทู้ว่า ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร




ที่ยกมายืดยาวทั้งหมดไม่เข้าใจ และเข้าใจผิดหมดเรยน๊ะค๊ะ
เป็นกระบวนการของขันธ์ห้า ในความไม่ยึดถือเป็นเรา แต่ไม่ใช่การดับปัจจัย

ไม่ใช่ปฎิจจสมุปบาทที่พระพุทธองค์ทรงทบทวนในวันก่อนที่จะตรัสรู้ เรยค่ะ

ปฎิจจสมุปบาท เริ่ม

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ทรงแสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2019, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร



ก็ไปเสวยวิมุติสุข ปฎิบัติตามๆ นี้ค่ะ

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า " แรกตรัสรู้ "

ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม
และปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:..............................................


tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2020, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนบไฟล์:
มาฆปุรณมี .jpg
มาฆปุรณมี .jpg [ 183.88 KiB | เปิดดู 6831 ครั้ง ]
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง

นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม

น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต

สมโณ โหติ ปรํ วิเหธยนฺโต
ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ


สพฺพปาปสฺส อกรณํ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง

กุสลสฺสุปสมฺปทา
การทำความดีให้ถึงพร้อม

สจิตฺต ปริโยทปนํ
การทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์

เอตํ พุทฺธานสาสนํ
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


อนูปวาโท อนูปฆาโต
การไม่พูดกล่าวร้าย การไม่ทำร้าย


ปาติโมกฺเข จ สํวโร
ความสำรวมในปาติโมกข์

มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค

ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด

อธิ จิตฺเต จ อาโยโค
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง

เอตํ พุทฺธานสาสนนฺติ
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


:b8: :b8: :b8:


มาฆปุรณมีเวียนมาครบอีกรอบ แต่ภารกิจที่ต้องจัดการให้สำเร็จเสร็จสิ้น ก็ยังไม่เบาบางลงไปเลยนะครับ :b1:

ดังนั้น จึงต้องขอเวลาต่ออีกสักพักใหญ่ๆนะครับ กว่าจะกลับมานั่งเรียบเรียงประสบการณ์ทางธรรมกันได้ใหม่ :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2020, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิติหนึ่ง ..
ไม่ประกอบด้วยเหตุปัจจัย ..
สรรพสิ่งล้วนตั้งอยู่ไม่ได้ ..
ขันธ์ที่ดับเย็นแล้ว ไม่เกิดปรากฏขึ้นอีก ..
ปราศจากความบีบคั้น พ้นจากความแปรปรวน ..
นิ่งอย่างยิ่ง ..
ว่างอย่างยิ่ง ..
สงบอย่างยิ่ง ..
สันติอย่างยิ่ง ..

.. อุทานธรรม ..

ปรมะคุรุสักการะ วิสาขะปุรณมี


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2021, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




DSC_0663 crop5.jpg
DSC_0663 crop5.jpg [ 93.69 KiB | เปิดดู 5551 ครั้ง ]
.
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 91, 92, 93, 94, 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร