วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก

viewtopic.php?f=1&t=56459


ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.


ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
บัณฑิตรู้เนื้อความนั่นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.


อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฏฺฐิปรมํ ธนํ
วิสฺสาสปรมา ญาตี นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.



ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิง ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง
ญาติมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ส.ค. 2018, 16:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพระพุทธเจ้า ตรัสรู้ใหม่ๆ ก่อนที่จะทรงประกาศธรรม ได้ทรงมีพุทธดำริว่า

“ธรรมที่เราเข้าถึงแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นยาก หยั่งรู้ตามยาก สงบ ประณีต ตรรกะหยั่งไม่ถึง (ไม่อยู่ในวิสัยของตรรกะ) ละเอียดอ่อน เป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงทราบ” (วินย.4/7/8, ม.มู.12/321/323)


และมีข้อความเป็นคาถาต่อไปว่า

“ธรรม เราลุถึงโดยยาก เวลานี้ ไม่ควรประกาศ ธรรมนี้ มิใช่สิ่งที่สัตว์ผู้ถูกราคะ โทสะ ครอบงำ จะรู้เข้าใจง่าย สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองความมืดคืออวิชชาห่อหุ้ม จักไม่เห็นภาวะที่ทวนกระแส ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง เห็นยาก ละเอียดยิ่งนัก” (วินย.4/7/8, ม.มู.12/321/323)


คำว่า "ธรรม" ในที่นี้ หมายถึงปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน (จะว่าอริยสัจจ์ 4 ก็ได้ใจความเท่ากัน)
แต่ถึงแม้จะยากอย่างนี้ ก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงพยายามสั่งสอนชี้แจงอธิบายอย่างมากมาย ดังนั้น คำว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ จึงควรมุ่งให้เป็นคำเตือนเสียมากว่า คือ เตือนว่า ไม่ควรเอาแต่คิดสร้างภาพ และถกเถียงชักเหตุผลมาแสดงกันอยู่ จะเป็นเหตุให้สร้างสัญญาผิดๆ ขึ้นเสียเปล่า

ทางที่ดีหรือทางที่ถูก ควรจะลงมือปฏิบัติให้เข้าถึงเพื่อรู้เห็นประจักษ์ชัดกับตนเอง เพราะถึงแม้ว่านิพพานนั้น เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็น ก็นึกไม่เห็นคิดไม่เข้าใจ แต่ก็เป็นสิ่งที่รู้ได้เข้าถึงได้ เพียงแต่ว่ายากเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเมื่อนิพพานเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก หยั่งรู้ตามได้ยาก เมื่อยังไม่เห็น ก็นึกไม่เห็น เมื่อยังไม่เข้าถึง ก็คิดไม่เข้าใจ ถ้อยคำที่ใช้บอกตรงๆและสัญญาที่จะใช้กำหนดก็ไม่มี ดังกล่าวมาฉะนี้ จึงน่าสังเกตว่า ในการกล่าวถึงนิพพาน ท่านจะพูดอย่างไร หรือใช้ถ้อยคำอย่างไร

ตามที่ได้ประมวลดู พอจะสรุปวิธีพูดถึง หรืออธิบายนิพพาน ได้ ๔ อย่าง คือ



1. แบบปฏิเสธ คือ ให้ความหมายแสดงถึงการละการกำจัดการเพิกถอนภาวะไม่ดี ไม่งาม ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์ต่างๆที่มีอยู่ในวิสัยของฝ่ายวัฏฏะ เช่น ว่า “นิพพาน คือ ความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ” “นิพพาน คือ ความดับแห่งภพ” “นิพพาน คือ ความสิ้นตัณหา” “จุดจบของทุกข์” ดังนี้ เป็นต้น หรือใช้คำเรียกอันแสดงภาวะที่ตรงข้ามกับภาวะฝ่ายวัฏฏะโดยตรง เช่น “เป็นอสังขตะ” (ไม่ถูกปรุงแต่ง) “อชระ” (ไม่แก่) “อมตะ” (ไม่ตาย) เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2. แบบไวพจน์ หรือ เรียกตามคุณภาพ คือ นำเอาคำพูดบางคำที่ใช้พูดเข้าใจกันอยู่แล้ว อันมีความหมายเกี่ยวกับภาวะที่สมบูรณ์หรือดีงามสูงสุด มาใช้เป็นคำเรียกนิพพาน เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะของนิพพานนั้น ในบางแง่บางด้าน เช่น "สันตะ" (สงบ) "ปณีตะ" (ประณีต) "สุทธิ" (ความบริสุทธิ์) "เขมะ" (ความเกษม) เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3. แบบอุปมา ถ้อยคำอุปมา มักใช้บรรยายภาวะและลักษณะของผู้บรรลุนิพพาน มากกว่าจะใช้บรรยายภาวะของนิพพานโดยตรง เช่น เปรียบพระอรหันต์เหมือนโคนำฝูงที่ว่ายตัดกระแสน้ำข้ามถึงฝั่งแล้ว เหมือนคนข้ามมหาสมุทร หรือห้วงน้ำใหญ่ที่มีอันตรายมากถึงฟากขึ้นยืนบนฝั่งแล้ว จะว่าไปเกิดที่ไหน หรือจะว่าไม่เกิดเป็นต้นก็ไม่ถูกทั้งสิ้น เหมือนไฟดับไปเมื่อสิ้นเชื้อ

อย่างไรก็ตาม คำเปรียบเทียบภาวะของนิพพานโดยตรงก็มีอยู่บ้าง เช่น ว่า นิพพานเป็นเหมือนภูมิภาคอันราบเรียบน่ารื่นรมย์ เหมือนฝั่งโน้นที่เกษมไม่มีภัย และเหมือนข่าวสารที่เป็นจริง เป็นต้น ที่ใช้เป็นคำเรียกเชิงเปรียบเทียบอยู่ในตัว ก็หลายคำ เช่น "อาโรคยะ" (ความไม่มีโรค, สุขภาพสมบูรณ์) "ทีปะ" (เกาะ, ที่พ้นภัย) "เลณะ" (ถ้ำ, ที่กำบังภัย) เป็นต้น

ในสมัยคัมภีร์รุ่นต่อๆมา ที่เป็นสาวกภาษิตถึงกับเรียกเปรียบเทียบนิพพานเป็นเมืองไปก็มี ดังคำว่า "อุดมบุรี" และ "นิพพานนคร" ซึ่งได้กลายมาเป็นคำเทศนาโวหาร และวรรณคดีโวหารในภาษาไทยว่า อมตมหานครนฤพาน บ้าง เมืองแก้วกล่าวแล้วคือพระนิพพาน บ้าง แต่คำเหลานี้ ไม่จัดเข้าในบรรดาถ้อยคำที่ยอมรับว่าใช้แสดงภาวะของนิพพานได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


4. แบบบรรยายภาวะโดยตรง แบบนี้มีน้อยแห่ง แต่เป็นที่สนใจของนักศึกษา นักค้นคว้ามาก โดยเฉพาะผู้ถือพุทธธรรมอย่างเป็นปรัชญา และมีการตีความกันไปต่างๆ ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันได้มาก จะได้คัดมาให้ดูต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้ง 4 แบบนี้ ถ้าเป็นคำเรียก หรือคำแสดงคุณลักษณะ บางทีท่านก็ใช้เสริมกัน มาด้วยกัน ในข้อความเดียวกัน หรือมาเป็นกลุ่ม ในที่นี้จะเอามาแสดงรวมๆ กันไว้เท่าที่เห็นสมควร พอให้ผู้ศึกษาเห็นแนว และขอให้แยกแบบเอาเอง
(แสดงตามลำดับอักษรบาลีจากที่มาหลายแห่ง ที่สำคัญคือ สํ.สฬ.18/674-751/441-454 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อกัณหอสุกกะ - ไม่ดำไม่ขาว (ไม่จำกัดชั้นวรรณะ, ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป)

อกตะ - ไม่มีใครสร้าง

อกิญจนะ - ไม่มีอะไรค้างใจ, ไร้กังวล

อกุโตภัย - ไม่มีภัยแต่ที่ไหน

อัจจุตะ - ไม่เคลื่อน, ไม่ต้องจากไป

อัจฉริยะ - อัศจรรย์

อชระ, อชัชชระ - ไม่แก่, ไม่คร่ำคร่า

อชาตะ - ไม่เกิด

อนตะ - ไม่โอนเอนไป, ไม่มีตัณหา

อนันต์ - ไมมีที่สุด

อนาทาน - ไม่มีการถือมั่น

อนาลัย - ไม่มีอาลัย ไม่มีความติด

อนาสวะ - ไม่มีอาสวะ

อนิทัสสนะ - ไม่เห็นด้วยตา

อนีติกะ – ไม่มีสิ่งเป็นอันตราย

อนุตตระ - ไม่มีอะไรยิ่งกว่า ยอดเยี่ยม

อภยะ - ไม่มีภัย

อมตะ - ไม่ตาย

อโมสธรรม - ไม่เสื่อมสูญ

อัพภูตะ - ไม่เคยมีไม่เคยเป็น, น่าอัศจรรย์

อัพยาธิ - ไม่มีโรคเบียดเบียน

อัพยาปัชฌะ - ไม่มีความเบียดเบียน,ไร้ทุกข์

อภูตะ - ไม่กลายไป

อสังกิลิฏฐะ - ไม่เศร้าหมอง

อสังกุปปะ - ไม่หวั่นไหว, ไม่โยกคลอน

อสังขตะ - ไม่ถูกปรุงแต่ง

อโสกะ - ไม่มีความโศก

อาโรคยะ - ไม่มีโรค, สุขภาพสมบูรณ์

อิสสริยะ - อิสรภาพ, ความเป็นใหญ่ในตัว

เขมะ - เกษม, ปลอดภัย

ตัณหักขยะ - ภาวะสิ้นตัณหา

ตาณะ - เครื่องต้านทาน, ที่คุ้มภัย

ทีปะ - เกาะ, ที่พึ่ง

ทุกขักขยะ - ภาวะสิ้นทุกข์

ทุททสะ - เห็นได้ยาก

ธุวะ - ยั่งยืน

นิปปปัญจะ – ไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้า, ไม่มีปปัญจะ

นิพพาน - ความดับกิเลสและกองทุกข์

นิพพุติ - ความดับเข็ญเย็นใจ

นิโรธ - ความดับทุกข์

บรมสัจจ์ – ความจริงอย่างยิ่ง, สัจจะสูงสุด

ปณีตะ - ประณีต

ปรมัตถ์ - ประโยชน์สูงสุด

ปรมสุข – บรมสุข, สุขอย่างยิ่ง

ปรายนะ - ที่ไปข้างหน้า, ที่หมาย

ปัสสัทธิ - ความสงบระงับ, สงบเยือกเย็น

ปาระ - ฝั่ง, ที่หมายอันปลอดภัย

มุตติ - ความพ้น, หลุดรอด

โมกขะ – ความพ้นไปได้

โยคักเขมะ - ธรรมอันเกษมจากโยคะ, ปลอดเครื่องผูกรัด

วิมุตติ - ความหลุดพ้น เป็นอิสระ

วิโมกข์ - ความหลุดพ้น

วิรชะ - ไม่มีธุลี

วิราคะ - ความจากคลายหายติด

วิสุทธิ - ความบริสุทธิ์, หมดจด

สัจจะ - ความจริง

สันตะ - สงบ ระงับ

สันติ - ความสงบ

สรณะ - ที่พึ่ง, ที่ระลึก

สิวะ - แสนเกษมสำราญ

สุทธิ - ความบริสุทธิ์, สะอาด

สุทุททสะ - เห็นได้ยากยิ่งนัก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาอธิบาย และคัมภีร์ที่เป็นสาวกภาษิต (เช่น นิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค เถรคาถา เถรีคาถา อปทาน) ตลอด มาจนถึงคัมภีร์รุ่นหลังๆ เช่น อภิธานัปปทีปิกา ยังกล่าวถึงหรือจัดคำเข้ามาแสดงความหมายของนิพพานอีกเป็นมาก เช่น

อักขระ - ไม่รู้จักสิ้น, ไม่พินาศ

อจละ - ไม่หวั่นไหว

อนารัมมณะ - ไม่ต้องอาศัยสิ่งยึดหมาย

อนุปปาทะ - ความไม่เกิด

อปวัคคะ - ปราศจากสังขาร, พ้นสิ้นเชิง

อมรณะ - ไม่ตาย

อรูปะ - ไม่มีรูป, ไม่มีทรวดทรงสัณฐาน

อสัมพาธะ - ไม่คับแคบ, ไม่ข้องขัด

นิจจะ - เที่ยง, แน่นอน

ปฏิปัสสัทธิ - ความสงบรำงับ, เยือกเย็น

ปทะ - ที่พึงถึง, จุดหมาย

ประ - ภาวะตรงข้าม, ภาวะยอดยิ่ง

ปริโยสาน - จุดสุดท้าย, จุดหมาย

ปหานะ - การละกิเลส

วูปสมะ - ความเข้าไปสงบ

วิวัฏฏ์ - ภาวะพ้นวัฏฏะ, ปราศจากวัฏฏะ

เกวละ * ไม่กลั้วระคน, สมบูรณ์ในตัว, ไกวัลย์

..............

* เกวละ (สันสกฤตเป็น ไกวัลย์) เป็นคำแสดงจุดหมายสูงสุด ที่ใช้ในศาสนาเชน (ไชนะ ของนิครนถ์) ส่วนทางฝ่ายพุทธศาสนา ในชั้นบาลียังไม่พบใช้คำนี้หมายถึงนิพพานโดยตรง เป็นแต่เรียกผู้บรรลุนิพพานว่า “เกวลี” บ้าง “เกพลี” บ้าง หลายแห่ง เช่น สํ.ส. 15/656/245 ฯลฯ


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดาคำทั้งหมดเหล่านี้ บางคำก็ถือได้ว่ามีความสำคัญมาก เพราะใช้เป็นคำแทนหรือคำแสดงอรรถของนิพพานอยู่เสมอ เช่น อสังขตะ นิโรธ วิมุตติ วิราคะ สันตะหรือสันติ เป็นต้น
แต่อีกหลายคำมีที่ใช้น้อยเหลือเกิน บางคำมีที่ใช้แห่งเดียว บางคำใช้บ้างสองสามแห่ง จึงไม่ควรถือ เป็นสำคัญนัก นำมาลงไว้เพียงเพื่อประกอบความรู้ เพราะอาจช่วยเป็นแนวความเข้าเพิ่มขึ้นบ้าง
แม้คำแปลที่ให้ไว้ก็พอให้จับความหมายได้บ้างเท่านั้น ไม่อาจให้อรรถรสลึกซึ้ง สมบูรณ์ เพราะขาดข้อความแวดล้อมที่จะช่วยเสริมความเข้าใจ

ข้อที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือ หลายศัพท์เป็นคำพูดที่คุ้นหูคุ้นปากของคน เฉพาะยุคสมัย และถิ่นฐานหรือชุมชนนั้นๆ เกี่ยวด้วยสิ่งที่เขานิยม หรือลัทธิศาสนาที่เขาเชื่อถือ ซึ่งเมื่อกล่าวขึ้นมา ชนพวกนั้น ย่อมซาบซึ้ง เป็นอย่างดี
บางทีพระพุทธเจ้า ทรงนำเอาคำนั้นๆมาใช้เรียกนิพพาน เพียงเพื่อเป็นสื่อเชื่อมโยงความคิดกับคนเหล่านั้น แล้วนำเอาความหมายใหม่ตามแนวพุทธธรรมใส่เข้าไปแทน
คำเช่นนี้ คนที่นอกยุคสมัยนอกถิ่นฐานชุมชนนั้น ย่อมไม่อาจซึมทราบในความหมายเดิมได้โดยสมบูรณ์ คำแปล ตามรูปศัพท์อย่างที่ให้ไว้ดังกล่าว คงจะช่วยความเข้าใจได้เพียงเล็กน้อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนข้อความแบบบรรยายภาวะโดยตรง ซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่ง จะยกมาประกอบการพิจารณา

1. เรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมีกถาเกี่ยวกับนิพพาน แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ได้ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี ตอนหนึ่งพระองค์ได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า

“มีอยู่นะภิกษุทั้งหลาย อายตนะที่ไม่มีปฐวี ไม่มีอาโป ไม่มีเตโช ไม่มีวาโย ไม่มีอากาสานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีอากิญจัญญายตนะ ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มีปรโลก ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสองอย่าง เราไม่กล่าวอายตนะนั้นว่า เป็นการมา การไป การหยุดอยู่ การจุติ การอุบัติ อายตนะนั้น ไม่มีที่ตั้งอยู่ แต่ก็ไม่เคลื่อนไป ทั้งไม่ต้องมีเครื่องยึดหน่วง นั้นแหละคือที่จบสิ้นของทุกข์” (ขุ.อุ.25/158/206)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2. อีกคราวหนึ่ง ทรงแสดงธรรมีกถาเกี่ยวกับนิพพาน แก่ภิกษุทั้งหลาย และได้ทรงเปล่งพระอุทานเป็นคาถาว่า

“ธรรมดาว่า อนตะ (ภาวะที่ไม่โน้มไปหาภพคือไม่มีตัณหา ได้แก่ นิพพาน) เป็นของเห็นได้ยาก สัจจะมิใช่สิ่งที่เห็นได้ง่ายเลย ชำแรกตัณหาได้แล้ว เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ (ซึ่งสัจจะ) ย่อมไม่มีอะไรค้างใจเลย (ไม่มีอะไรที่จะติดใจกังวล)” (ขุ.อุ.25/159/207)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3. อีกคราวหนึ่ง ทรงแสดงธรรมีกถา แก่ภิกษุทั้งหลายเช่นเดียวกัน และได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า

“มีอยู่นะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่เกิด (อชาตะ) ไม่เป็น (อภูตะ) ไม่ถูกสร้าง (อกตะ) ไม่ถูกปรุงแต่ง (อสังขตะ) หากว่า ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่ถูกสร้าง ไม่ถูกปรุงแต่ง จักมิได้มีแล้วไซร้ การรอดพ้นจากภาวะเกิดแล้ว เป็นแล้ว ถูกสร้าง ถูกปรุงแต่ง ก็จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้ได้เลย แต่เพราะเหตุที่ มีไม่เกิด ไม่เป็น ไม่ถูกสร้าง ไม่ถูกปรุงแต่ง ฉะนั้น การรอดพ้นภาวะเกิดแล้ว เป็นแล้ว ถูกสร้าง ถูกปรุงแต่ง จึงปรากฏได้” (ขุ.อุ.25/160/207)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


4. อีกคราวหนึ่ง ทรงแสดงธรรมีกถาเกี่ยวกับนิพพาน แก่ภิกษุทั้งหลายเช่นเดียวกัน และได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า

“ยังอิงอยู่ จึงมีการไหว ไม่อิงแล้ว ก็ไม่มีการไหว เมื่อการไหวไม่มี ก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการโอนเอน ก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ไม่มีการจุติและอุบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุบัติ ก็ไม่มีที่ภพนี้ ก็ไม่มีที่ภพโน้น ไม่มีในระหว่างภพทั้งสอง นั้นแหละคือที่จบสิ้นของทุกข์” (ขุ.อุ. 25/161/208)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร