วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2018, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20180820_124129.jpg
20180820_124129.jpg [ 130.73 KiB | เปิดดู 1789 ครั้ง ]
บุรุษหนุ่มผู้เข็ญใจ

กาลครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าได้ถือกำเนิดเป็นบุรุษหนุ่มผู้เข็ญใจ มีความยากจนอย่างหนัก เมื่อถึงกาลเจริญวัยเป็นมานพหนุ่มแล้วบิดมารดาก็คิดจะปลูกฝังให้ออกเรือน แต่ด้วยความยากจนแร้นแค้นทำให้บุรุษหนุ่มต้องเรียนให้บิดามารดาทราบว่า ทรัพย์ในเรือนตนก็หสิ่งมีค่าอันใดไม่ การจะออกเรือนจึงเป็นสิ่งยากลำบาก สู้ขออุตส่าห์อยู่เลี้ยงดูบิดามารดาจนกว่าชีวิตจะหาไม่ยังจะเป็นประโยชน์กว่า จนเมื่อบิดาท่านถึงแก่กาลกิริยาตายไป นับแต่นั้นมาบุรุษหนุ่มก็คอยอุปัฏฐากบำรุงเลี้ยงมารดาเป็นกิจวัตรตลอดมา

ในวันหนึ่ง บุรุษหนุ่มผู้ยากไร้ได้ไปเที่ยวเสาะแสวงหาฟืนหาผักในป่า นำกลับมาระหว่างทางให้เกิดอาการเหนื่อยอ่อนจึงแวะเข้านั่งพักยังริมฝั่งน้ำใกล้ท่าเรือสำเภา พอเห็นเรือสำเภาก็ให้นึกในใจว่า ตนนั้นยังหนุ่มแน่นมีกำลังแข็งแรง หากตนจะสมัครเป็นคนงานเดินทางไปกับเรือสำเภาเหล่านี้ก็น่าจะดีคงจะทำให้มีรายได้มาเลี้ยงดูมารดาได้ไม่ลำบาก ครั้นคิดได้ดังนั้นแล้วก็ได้เข้าไปหานายเรือสำเภาใหญ่ แล้วกล่าวขึ้นว่า

“ข้าแต่นายท่าน กาลบัดนี้ ข้าพเจ้าถึงซึ่งความยากจนเข็ญใจนัก จึงเซซังมาสู่ สำนักท่านด้วยหวังใจว่า ถ้าท่านอนุเคราะห์ข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าก็จักขอทำงาน อยู่กับท่านด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อไป”

นายสำเภาเรือครั้นได้ฟังวาจาดังนั้นก็พลันเกิดความสงสาร จึงตกลงใจอนุเคราะห์รับไว้โดยไม่รังเกียจ ส่วนบุรุษหนุ่มเข็ญใจครั้นได้ฟังดังนั้นก็ให้เกิดความยินดีหนักหนา จึงขอลานายสำเภาเรือกลับไปบ้านเพื่อไปบอกเรื่องน่ายินดีนี้แก่มารดา พร้อมทั้งจะได้เตรียมตัวเพื่อออกเดินทางไปกับเรือสำเภา

ครั้นมารดาได้ทราบความดังนั้น จึงกล่าววาจาแก่ปิยบุตรว่า “ดูกรพ่อปิยบุตร ! ทุกวันนี้ชีวิตของแม่ย่อมเนื่องอยู่ด้วยเจ้าผู้เป็นลูกรัก เพราะฉะนั้นเจ้าจะไปไหนก็ตามใจเถิด แต่ว่าขอให้แม่นี้ได้ไปกับเจ้า ได้อยู่ใกล้ ๆ เจ้าเสมอไปก็แล้วกัน”

บุรุษหนุ่มเข็ญใจเมื่อได้ฟังคำมารดาดังนั้นก็ให้วิตกกังวลเป็นยิ่งนัก ไม่รู้จะทำเช่นไรดี สุดท้ายเมื่อคิดไม่ตกก็ได้ไปพบนายสำเภาเรือผู้ใจดีแล้วได้เล่าถึงปัญหาที่ตนกำลังมีอยู่ และได้อ้อนวอนขอนำมารดาแห่งตนตามไปกับเรือสำเภานั้นด้วย ซึ่งนายสำเภาเรือเมื่อได้รู้ถึงปัญหาของมานพหนุ่มก็ออกปากอนุญาตให้นำมารดาติดตามไปด้วย

เมื่อเรือสำเภาแล่นไปในมหาสมุทรทะเลใหญ่ได้ประมาณ ๗ วัน สำเภานั้นต้องลมพายุใหญ่เหลือกำลังก็ถึงซึ่งกาลอับปางลง บรรดาลูกเรือและนายสำเภาเรือต่างก็สิ้นชีวิตลง ฝ่ายมานพหนุ่มก็ตั้งสติมั่นกระโจนลงจากเรือสำเภาแล้วพยายามว่ายน้ำหนีเพื่อรักษาชีวิตตน ครั้นหันกลับไปเห็นมารดายังไม่ตายก็ว่ายน้ำกลับมารับมารดาให้นั่งบนบ่าของตนแล้วก็พาว่ายน้ำไปในมหาสมุทร ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยหนักหนาก็สู้อุตส่าห์อดทนกระเสือกกระสนต้านทานคลื่นใหญ่และน้ำทะเลเชี่ยวเค็มนั้น ด้วยน้ำใจอันเด็ดเดี่ยวเพื่อจะนำมารดาไปให้รอดชีวิต

กล่าวฝ่ายท้าวสุทธาวาสมหาพรหมอนาคามี ซึ่งสถิตอยู่ ณ ชั้นอกนิษฐพรหมโลก ที่คอยเพ่งแลดูหมู่มวลมนุษย์ผู้มีใจองอาจเต็มไปด้วยอุตสาหะใหญ่ใจกล้าหาญสามารถที่จะกระทำ “พุทธการกธรรม”ได้ ครั้นทัศนาลงมาเห็นมานพหนุ่มเข็ญใจ ผู้อุตส่าห์พยายามจะนำมารดาให้รอดชีวิตจากคลื่นลมโดยไม่คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อยนั้น จึงควรนับว่าเป็นผู้สามารถเพื่อที่จะบำเพ็ญพุทธการกธรรมให้สำเร็จลุล่วงได้ เมื่อท้าวมหาพรหมคำนึงดังนี้แล้ว ก็เข้าดลจิตให้มานพหนุ่มเข็ญใจนั้นนึกปณิธานปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิ

ฝ่ายมานพหนุ่มเข็ญใจผู้แบกมารดาไว้บนบ่า ก็ฝ่าคลื่นลมจนเหน็ดเหนื่อยหมดแรง จนร่างกายจมลงกลางทะเลใหญ่แล้วก็พยายามโผล่ขึ้นมาอีก จวนเจียนใกล้เวลานาทีอันเลวร้ายใกล้จะมรณะ ด้วยเดชะอำนาจแห่งน้ำพระหฤทัยที่ท้าวมหาพรหมผู้วิเศษให้นึกนั้น ก็บังเกิดความคิดขึ้นมาว่า

“ถ้าตัวเราถึงแก่ชีวิตพินาศขาดสูญลงไปในท้องมหาสมุทรทะเลใหญ่พร้อมกับ มารดา ณ กาลบัดนี้ ขอกุศลที่เราแบกมารดาว่ายน้ำในมหาสมุทรมา ด้วยความเหน็ดเหนื่อยนักหนานี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระโพธิญาณ ขอเราพึงอาจนำสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายในวัฏสงสารให้ข้ามพ้นลุถึงฝั่งโน้น คือ อมตมหานิพพาน”

ครั้นตั้งจิตคิดเป็นมหากุศลดังนี้แล้ว บุรุษหนุ่มผู้เข็ญใจนั้นก็ตั้งปณิธานซ้ำลงไปอีกว่า

“เมื่อเราเปลื้องตนออกพ้นจากวัฏสงสารแล้ว ขอเราพึงนำสัตว์ทั้งหลาย ให้เปลื้องตนพ้นจากวัฏสงสารด้วยเถิด อนึ่ง..เมื่อเราข้ามจากวัฏสงสาร ได้แล้ว ขอให้เราพึงนำสัตว์ทั้งหลาย ข้ามพ้นจากวัฏสงสารได้ด้วยเถิด”เมื่อนึกปณิธานดังนี้แล้ว ก็ให้เกิดอัศจรรย์ พละกำลังที่จวนจะหมดไปนั้น ก็พลันเกิดมีขึ้นมาอีกด้วยกำลังแห่งพรหมอนุเคราะห์ ภายในสองสามวันก็บรรลุถึงฝั่ง จึงไปอาศัยยังบ้านแห่งหนึ่งแล้วก็ทำมาหากินด้วยความเหนื่อยยากต่อไป จนถึงแก่กาลกิริยาสิ้นชีวิตแล้วกุศลก็ส่งให้ไปบังเกิดในสุคติภูมิโลกสวรรค์

ชีวประวัติของบุรุษหนุ่มเข็ญใจนี้ แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดั้งเดิมเริ่มแรก เพื่อต้องการพระพุทธภูมิขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระมิ่งมงกุฎศรีศากยมุนีโคดม พระองค์ทรงเริ่มเป็นพระโพธิสัตว์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2018, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




jin__bts__render_by_hikarikida-d9662fb.png
jin__bts__render_by_hikarikida-d9662fb.png [ 843.46 KiB | เปิดดู 1695 ครั้ง ]
บุรุษหนุ่มนายช่างทอง
หลังจากที่ได้อุบัติเกิดเป็นเทพบุตรในสรวงสวรรค์แล้ว ก็มาบังเกิดเป็นมนุษย์ด้วยอำนาจแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร พระโพธิสัตว์เจ้าได้ถือกำเนิดเป็นมานพหนุ่มที่ทรงรูปลักษณะงามล้ำเลิศในตระกูลช่างทอง ในวันหนึ่งได้มีคหบดีเศรษฐีได้มาว่าจ้างให้ไปทำเครื่องประดับให้แก่ธิดาสาวสวยซึ่งกำลังจะทำการวิวาห์ครั้นไปถึงคฤหาสน์ท่านเศรษฐีก็ได้ถามว่า “ดูกรนายช่างทองผู้เจริญ ถ้าท่านได้เห็นเพียงมือและเท้าเท่านั้น ท่านยังจะสามารถทำเครื่องประดับได้หรือไม่?

เมื่อช่างทองรับว่าทำได้ เศรษฐีจึงให้ธิดาของตนยื่นแต่มือและเท้ามาแสดงให้ปรากฏ ช่างทองหนุ่มก็กำหนดทำด้วยความชำนาญ

ฝ่ายธิดาเศรษฐีให้นึกสงสัยว่า “เหตุไฉนหนอ บิดาจึงมิให้เราปรากฏกายต่อหน้าช่างทอง ให้แสดงแต่เพียงมือและเท้าเท่านั้น” ครั้นคิดดังนั้นก็ลอบแอบดูตามช่องไม้ พอได้เห็นสิริรูปสมบัติของบุรุษหนุ่มช่างทองก็ให้เกิดปฏิพัทธ์รักใคร่เป็นกำลัง คลุ้มคลั่งในดวงใจด้วยอำนาจราคะดำกฤษณา ธิดาสาวจึงมีจารึกอักษรเป็นใจความว่า “ดูกรพ่อช่างทองผู้เป็นที่รัก! หากท่านมีจิตใจรักใคร่เราแล้ว ณ ด้านหลังเรือนใหญ่นี้มีต้นบุพชาติสูงใหญ่ต้นหนึ่ง ในค่ำคืนนี้ท่านจงมานั่งซุ่มคอยท่าเราอยู่บนพุ่มคบไม้นั้นเถิด ถึงราตรีกาลเราจะไปพบกับท่าน” บุรุษหนุ่มช่างทองครั้นได้รับจารึกนั้นก็กลับบ้านเตรียมตัวเพื่อจะพบกับนาง ในราตรีนั้นบุรุษช่างทองก็ไปนั่งคอยจนกระทั่งเผลอไผลหลับไป ฝ่ายธิดาเศรษฐีนั้นก็เฝ้าคอยจนบิดามารดาหลับเสียก่อนจึงจะแอบลงจากเรือนได้ แต่ก็เป็นเวลาดึกดื่นยิ่งนัก พอมาพบชายหนุ่มตามนัดหมายก็ได้เห็นชายหนุ่มหลับใหลมิยอมตื่น และลัทธิสมัยนั้นให้ถือกันว่า “ถ้าบุคคลหลับสนิทอยู่ ผู้ใดปลุกให้ลุกตื่นขึ้นแล้ว ผู้ปลุกนั้นย่อมมีบาป ตายไปต้องตกนรกหมกไหม้ตลอดกาลกัปหนึ่ง” เมื่อนางไม่สามารถปลุกช่างทองให้ตื่นขึ้นมาได้ นางจึงกลับไป

ในวันที่สองและสามนี้ก็เช่นกัน เมื่อบุรุษหนุ่มช่างทองได้ไปทำงานยังบ้านเศรษฐี ก็ได้รับอักษรจารึกนัดหมายนั้นอีกเช่นเคย ชายหนุ่มก็ได้ไปรอดังคืนที่ผ่านมารวมเป็นเวลา ๓ คืนด้วยกัน และชายหนุ่มก็หลับใหลไม่รู้ตื่น

ในวันรุ่งขึ้นถึงวันวิวาห์มงคล ฝ่ายบิดาเจ้าบ่าวก็ได้นำสมบัติมหาศาลหลายร้อยเล่มเกวียนและได้ฉลองกันอยู่สิ้นเป็นเวลาหนึ่งเดือนจึงเสร็จ บิดาเจ้าบ่าวก็พาบริวารกลับ

ฝ่ายบุรุษหนุ่มช่างทอง ก็ให้ครุ่นคิดมิตกด้วยเห็นว่าธิดานั้นควรจะเป็นของตนเพราะนางได้ผูกสมัครรักใคร่ที่ตน ตนจึงควรจะได้ครอบครองนาง คิดดังนั้นก็คิดหาอุบายโดยได้ทำเครื่องประดับประกอบไปด้วยแก้วมุกดาวิจิตรบรรจง แล้วนำไปถวายพระมหาอุปราชเจ้า

เมื่อพระมหาอุปราชได้รับของกำนัลอันเป็นที่ถูกใจ ก็ได้ตรัสถามนายช่างทอง ซึ่งก็ได้ขอร้องให้พระมหาอุปราชช่วยในอุบายของตนโดยให้ตนปลอมตัวเป็นกนิษฐาภคินีน้องหญิง แล้วก็ดำเนินอุบายไปยังบ้านท่านเศรษฐี เมื่อพระมหาอุปราชไปถึงก็ได้ตรัสถามท่านเศรษฐีว่า

“ปราสาทหลังใหม่นั่นเป็นของใครอีกเล่า” “เป็นปราสาทแห่งธิดาของข้าพระพุทธเจ้า” “ดีละ..บัดนี้พระบรมชนกดำรัสให้เราไปปราบโจรร้ายในชนบทประเทศ เราจะขอฝากน้องหญิงแห่งเราไว้ให้อยู่กับธิดาท่านเป็นการชั่วคราว” ท่านเศรษฐีจึงว่า “แต่ว่าธิดาเกล้ากระหม่อมนั้น นางได้สามีแล้ว” พระมหาอุปราชจึงตรัสว่า “จะเป็นไรไปเล่า ..ท่านจงให้ธิดาของท่านงดการอยู่ร่วมกับสามีชั่วคราวก่อน” “…ถ้ากระนั้นก็พอจะผ่อนผันรับพระธุระสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าข้า”นับแต่นั้นมานพหนุ่มช่างทองก็ได้อยู่ร่วมอภิรมย์กับธิดาเศรษฐีเป็นเวลานานสิ้นกำหนดสามเดือน

ด้วยพระโพธิสัตว์เจ้าพระบารมียังอ่อน จึงทำให้พระองค์ไม่สามารถต้านทานอำนาจแห่งกิเลสนั้นได้ ประกอบโทษล่วงเกินภรรยาผู้อื่น เป็นกายทุจริตเช่นนี้ ครั้นดับขันธ์สิ้นชีวิตในครั้งนั้นแล้ว ก็ต้องสืบปฏิสนธิไปบังเกิดในนรกหมกไหม้ ต้องได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัสหลายครั้งหลายหน เวียนวนอยู่ในภูมิอันต่ำช้านานนับเป็นเวลาได้ ๑๔ มหากัป

ด้วยอำนาจเศษกรรมยังตามให้ผลอยู่ไม่เสื่อมคลายไปง่าย ๆ ครั้นจุติจากนรกแล้ว จึงต้องไปสืบปฏิสนธิถือกำเนิดเป็น ลา เป็นเวลา ๕๐๐ ชาติ แล้วจึงไปเกิดเป็น โค อีก ๕๐๐ ชาติ แล้วจึงถือกำเนิดเป็น คนพิการ ตาบอด หูหนวก อีกอย่างละ ๕๐๐ ชาติ แล้วก็ถือกำเนิดเป็น กะเทย อีก ๕๐๐ ชาติ แล้วจึงถือกำเนิดเป็น สตรี อีก ๕๐๐ ชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2018, 05:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




rishi-clipart-12.png
rishi-clipart-12.png [ 359.79 KiB | เปิดดู 1542 ครั้ง ]
ขอเราพึงอาจนำสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายในวัฏสงสารให้ข้ามพ้นลุถึงฝั่งโน้น คือ อมตมหานิพพาน”

ครั้นตั้งจิตคิดเป็นมหากุศลดังนี้แล้ว บุรุษหนุ่มผู้เข็ญใจนั้นก็ตั้งปณิธานซ้ำลงไปอีกว่า

“เมื่อเราเปลื้องตนออกพ้นจากวัฏสงสารแล้ว ขอเราพึงนำสัตว์ทั้งหลาย ให้เปลื้องตนพ้นจากวัฏสงสารด้วยเถิด อนึ่ง..เมื่อเราข้ามจากวัฏสงสาร ได้แล้ว ขอให้เราพึงนำสัตว์ทั้งหลาย ข้ามพ้นจากวัฏสงสารได้ด้วยเถิด”


ลุงหมานครับ ทำไมต้องอธิฐาน ซ้ำ ๆ ด้วยครับ :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2018, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Scan0571.png
Scan0571.png [ 112.9 KiB | เปิดดู 1542 ครั้ง ]
Love J. เขียน:
ขอเราพึงอาจนำสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายในวัฏสงสารให้ข้ามพ้นลุถึงฝั่งโน้น คือ อมตมหานิพพาน”

ครั้นตั้งจิตคิดเป็นมหากุศลดังนี้แล้ว บุรุษหนุ่มผู้เข็ญใจนั้นก็ตั้งปณิธานซ้ำลงไปอีกว่า

“เมื่อเราเปลื้องตนออกพ้นจากวัฏสงสารแล้ว ขอเราพึงนำสัตว์ทั้งหลาย ให้เปลื้องตนพ้นจากวัฏสงสารด้วยเถิด อนึ่ง..เมื่อเราข้ามจากวัฏสงสาร ได้แล้ว ขอให้เราพึงนำสัตว์ทั้งหลาย ข้ามพ้นจากวัฏสงสารได้ด้วยเถิด”


ลุงหมานครับ ทำไมต้องอธิฐาน ซ้ำ ๆ ด้วยครับ :b8:


คงจะเป็นการย้ำเตือนให้เจตนากล้าแกร่งขึ้น
ดูแต่ฌานของบุคคลที่ได้มาแล้วยังต้องมาทำให้ชำนาญในการเข้าออกฌาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2021, 21:07 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร