วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนผู้เริ่มศึกษาพุทธธรรม

รูปภาพ


ปรโตโฆสะที่ดี = กัลยาณมิตร

สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าใจศัพท์ทางธรรมพร้อมความหมายสักเล็กน้อย

ทิฏฐานุคติ การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็น, การทำตามอย่าง, การเอาอย่าง ในทางดี หรือร้าย ก็ได้, มักใช้ในข้อความว่า “จะถึงทิฏฐานุคติของผู้นั้น” แต่ในภาษาไทย นิยมนำมาใช้ด้านดี หมายถึง ทางดำเนินตามที่ได้มองเห็น, แบบอย่าง, ตัวอย่าง เช่น พระผู้ใหญ่ปฏิบัติตนชอบ พระผู้น้อยจะได้ถือเอาเป็นทิฏฐานุคติ


สัมมา โดยชอบ, ดี, ถูกต้อง, ถูกถ้วน, สมบูรณ์, จริง, แท้


ทิฏฐิ ความเห็น, ความเข้าใจ, ความเชื่อถือ, ทั้งนี้ มักมีคำขยายนำหน้า เช่น สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) แต่ถ้า ทิฏฐิ มาคำเดียวโดด มักมีนัยไม่ดี หมายถึง ความยึดถือตามความเห็น, ความถือมั่นที่จะให้เป็นไปตามความเชื่อถือหรือความเห็นของตน, การถือยุติเอาความเห็นเป็นความจริง, ความเห็นผิด, ความยึดติดทฤษฎี, ในภาษาไทยมักหมายถึงความดึงดื้อถือรั้นในความเห็น (พจนานุกรมเขียน ทิฐิ)


สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจจ์ ๔, เห็นชอบตามคลองธรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่า มารดาบิดา) ฯลฯ, เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นต้น

มิจฉา ผิด


มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์


โยนิโส โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด

มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา

โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย, การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี เทียบ อโยนิโสมนสิการ


อโยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำนำความคิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุตะ “สิ่งสดับ” สิ่งที่ได้ฟังมา, สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง, ความรู้จากการเล่าเรียนหรือรับถ่ายทอดจากผู้อื่น, ข้อมูลความรู้จากการอ่านการฟังบอกเล่าถ่ายทอด, สำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติ “สุตะ” หมายถึงความรู้ที่ได้เล่าเรียนสดับฟังธรรม ความรู้ในพระธรรมวินัย ความรู้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่านวังคสัตถุศาสน์ หรือปริยัติ, สุตะเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของผู้ที่จะเจริญงอกงาม ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต โดยเป็นเหตุปัจจัยให้ได้ปัญญา ที่เป็นเบื้องต้นหรือเป็นฐานของพรหมจริยะ และเป็นเครื่องเจริญปัญญาให้พัฒนาจนไพบูลย์บริบูรณ์ (ที.ปา.11/444/316) พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เป็นผู้มีสุตะมาก (เป็นพหูสูตหรือมีพาหุสัจจะ) และเป็นผู้เข้าถึงสุตะ (องฺ.จตุกฺก 21/6/9)


พหุสูต, พหูสูต ผู้ได้ยินได้ฟังมามาก คือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก, ผู้เล่าเรียนมาก, ผู้ศึกษามาก, ผู้คงแก่เรียน


พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ

๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก

๒.ธตา ทรงจำไว้ได้

๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก

๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ

๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี


สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ (คำพระว่า สิกขา หรือศึกษา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัทธา ความเชื่อ, ความเชื่อถือ, ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม, ความเลื่อมใสซาบซึ้งชื่นใจสนิทใจเชื่อมั่นมีใจโน้มน้อมมุ่งแล่นไปตามไปรับ คุณความดีในบุคคลหรือสิ่งนั้นๆ, ความมั่นใจในความจริง ความดี สิ่งดีงาม และในการทำความดี ไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก

คำว่า “สบาย” ภาษาไทยแปลเพี้ยนไปจากภาษาบาลี "สบาย" ในภาษาบาลี แปลว่า สภาพเอื้อ ที่ทำให้เราทำอะไรได้ผลดี แต่คนไทยพอฟังคำว่า สบาย ก็แปลไปในความหมายว่า เราจะได้นอน ไม่ต้องทำอะไร คือ มองในความหมายที่จะหยุด


สุขก็เหมือนกัน "สุข" แปลว่า คล่อง ง่าย สะดวก คือสภาพคล่องนั่นเอง หมายความว่า ในเวลาที่สุขนั้นจะทำอะไร ก็ทำได้ง่าย คล่อง สะดวก ตรงข้ามกับตอนที่ทุกข์ ซึ่งทำได้ยากและมักจะติดขัดไปหมด แต่เรากลับไปดิ้นทำแต่ในตอนทุกข์ พอสุขที่จะทำได้ง่าย ทำได้คล่อง จะทำอะไรก็ทำได้เต็มที่ เรากลับจะหยุดจะเฉยจะสงบนอน การทำอย่างนี้ ท่านเรียกว่า ประมาท ก็คือใช้โอกาสไม่เป็น หรือไม่รู้จักใช้โอกาส พอมีโอกาสที่จะทำได้ดีก็กลับมานอนเสีย


สุขของคฤหัสถ์ สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี และควรขวนขวายให้มีอยู่เสมอ มี ๔ อย่าง คือ

๑. อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ (ที่ได้มาโดยเรี่ยวแรงของตน โดยทางชอบธรรม)

๒. โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (เลี้ยงตน เลี้ยงคนควรเลี้ยง และทำประโยชน์)

๓. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้

๔. อนวัชชสุข สุขเกิดจากประกอบการอันไม่มีโทษ (มีสุจริต ทั้งกาย วาจา และใจ) เฉพาะข้อ ๔ ตามแบบเรียนว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มนะ ใจ

มนัส ใจ

มโน ใจ

มนุษย์ “ผู้มีใจสูง” ได้แก่ คนผู้มีมนุษยธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น, สัตว์ที่รู้จักคิดเหตุผล, สัตว์ที่มีใจสูง, คน

มนุษยธรรม ธรรมที่ทำคนให้เป็นมนุษย์ ได้แก่ ศีล ๕ และคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มคธภาษา ภาษาของชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

บาลี “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์” ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ ฯลฯ



รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏิฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ” * (องฺ.ทุก. 20/371/110 ฯลฯ )

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ

๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others)


ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคมอาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา


๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดอย่างมีระเบียบ หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตรงตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และโดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆออกให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical reflection; reasoned or systematic attention)

ข้อสองนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ปัจจัยในตัวบุคคล อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งปัญญา

.......

ที่อ้างอิง *

* ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะ ที่ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ (องฺ.ทสก. 24/93/201)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธพจน์แสดงปัจจัยทั้งสองนี้ ในภาคปฏิบัติของการฝึกอบรม เน้นถึงความสำคัญอย่างควบคู่กัน ดังนี้

๑) "สำหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายนอกอื่นใด มีประโยชน์มากเท่าความมีกัลยาณมิตร เลย"

๒) "สำหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายในอื่นใด มีประโยชน์มากเท่าโยนิโสมนสิการ เลย" * ( ขุ.อิติ.25/194-5/236-7 ฯลฯ)

ปัจจัยทั้ง ๒ อย่างนี้ ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

สำหรับคนทั่วไป ซึ่งมีปัญญาไม่แก่กล้า ย่อมต้องอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น และคล้อยไปตามคำแนะนำชักจูงที่ฉลาดได้ง่าย แต่ก็จะต้องฝึกหัดให้สามารถใช้ความคิดอย่างถูกวิธีด้วยตนเองได้ด้วย จึงจะก้าวหน้าไปถึงที่สุดได้

ส่วนคนที่มีปัญญาแก่กล้า ย่อมรู้จักใช้โยนิโสมนสิการได้ดีกว่า แต่กระนั้น ก็อาจต้องอาศัยคำแนะนำที่ถูกต้องเป็นเครื่องนำทางในเบื้องต้น และเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้ก้าวหน้าไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในระหว่างการฝึก อบรม

การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิด้วยปัจจัยอย่างที่ ๑ (ปรโตโฆสะ) ก็คือ วิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธา และอาศัยศรัทธาเป็นสำคัญ เมื่อนำมาใช้ปฏิบัติในระบบการศึกษาอบรม จึงต้องพิจารณาที่จะให้ได้รับการแนะนำชักจูงสั่งสอนอบรมได้ผลดีที่สุด คือ ต้องมีผู้สั่งสอนอบรมที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีความสามารถ และใช้วิธีการอบรมสั่งสอนที่ได้ผล


ดังนั้น ในการศึกษาอบรม จึงจำกัดให้ได้ปรโตโฆสะที่มุ่งหมาย ด้วยหลักที่เรียกว่า กัลยาณมิตตตา หรือการมีกัลยาณมิตร

ส่วนปัจจัยอย่างที่ ๒ (โยนิโสมนสิการ) เป็นตัวหลักการใช้ปัญญา ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าควรใช้ความคิดให้ถูกต้องอย่างไร

เมื่อนำปัจจัยทั้งสองมาประกอบกัน นับว่ากัลยาณมิตตตา เป็นองค์ประกอบภายนอก และโยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบภายใน

ถ้าตรงข้ามจากนี้ คือ ได้ผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร ทำให้ประสบปรโตโฆสะผิดพลาด และใช้ความคิดผิดวิธี เป็นอโยนิโสมนสิการ ก็จะได้ผลตรงข้าม คือเป็นมิจฉาทิฏฐิไปได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสพอเข้าใจไหมขอรับ :b10: :b14: :b16: :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:
กรัชกาย เขียน:
คุณโรสพอเข้าใจไหมขอรับ :b10: :b14: :b16: :b13:

จิตมีหน้าที่เป็นประธานรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏจิตชาติวิบากคือจิตไปรู้รูป
จิตชาติกิริยาคือจิตไปรู้นามคือรู้ธาตุขันธ์อายตนะตรงสติปัฏฐานทุกขณะ
จิตชาติกุศลคือการปรุงแต่งโสภณเจตสิกไม่มีอกุศลเกิดร่วม
จิตชาติอกุศลคือการปรุงแต่งอกุศลเจตสิกไม่มีกุศลเกิดปนเลย
ดังนั้นการอ่านคือจิตคิดนึกหลังเห็นดับเป็นสัญญาจำตัวอักษร
มันเลยจิตเห็นตรงขณะกลายเป็นมิจฉามรรคเกิดแทนนะจ๊ะ
จึงต้องฟังพระพุทธพจน์เพื่อให้มนสิการะเจตสิกปรุงแต่งตามทีละคำ
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2018, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b32:
กรัชกาย เขียน:
คุณโรสพอเข้าใจไหมขอรับ :b10: :b14: :b16: :b13:

จิตมีหน้าที่เป็นประธานรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏจิตชาติวิบากคือจิตไปรู้รูป
จิตชาติกิริยาคือจิตไปรู้นามคือรู้ธาตุขันธ์อายตนะตรงสติปัฏฐานทุกขณะ
จิตชาติกุศลคือการปรุงแต่งโสภณเจตสิกไม่มีอกุศลเกิดร่วม
จิตชาติอกุศลคือการปรุงแต่งอกุศลเจตสิกไม่มีกุศลเกิดปนเลย
ดังนั้นการอ่านคือจิตคิดนึกหลังเห็นดับเป็นสัญญาจำตัวอักษร
มันเลยจิตเห็นตรงขณะกลายเป็นมิจฉามรรคเกิดแทนนะจ๊ะ
จึงต้องฟังพระพุทธพจน์เพื่อให้มนสิการะเจตสิกปรุงแต่งตามทีละคำ


หึหึหึ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2018, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้จะเป็นสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการดังว่า คือ ปัจจัยภายนอก (ปรโตโฆสะดี) เช่น
อ้างคำพูด:
เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง


จะเห็นว่า สิ่งดังกล่าว ผู้คนต้องประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

เมื่ออ่านฟังแล้วเราต้องรู้จักแยกแยะ รู้จักคิด คิดเป็น ที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการ ถ้าฟังแล้วเชื่อดายไปไม่ใช่สติปัญญาที่พอมีคิดบ้าง ก็จะเข้าอโยนิโสมนสิการไป กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลไป

ปรโตโฆสะที่ดี คู่ กับ ปรโตโฆสะที่ไม่ดี

โยนิโสมนสิการ คู่กับ อโยนิโสมนสิการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2018, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หลักธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนผู้เริ่มศึกษาพุทธธรรม

รูปภาพ


ปรโตโฆสะที่ดี = กัลยาณมิตร

สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

:b12:
มรรคแรกคือสัมมาทิฏฐิคือความรู้ถูกเข้าใจถูกคิดเห็นถูกตามคำสอนมีเมื่อกำลังคิดถูกตอนกำลังฟังคิดถูกอยู่
เดี๋ยวนี้กำลังเห็นเป็นเราเห็นคนสัตว์วัตถุเป็นมิจฉามรรคคือความคิดเห็นผิดคลาดเคลื่อนไปไม่ตรงตามคำสอน
เพราะไม่ได้กำลังเห็นแค่สีเพียง1สีแต่มีทั้งเห็นได้ยินเสียงครบ6ทางอายตนะปนเปกันไปหมดคือกำลังมีกิเลส
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2018, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
หลักธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนผู้เริ่มศึกษาพุทธธรรม

https://f.ptcdn.info/589/040/000/o3f2lg ... 5DjN-o.jpg

ปรโตโฆสะที่ดี = กัลยาณมิตร

สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

:b12:
มรรคแรกคือสัมมาทิฏฐิคือความรู้ถูกเข้าใจถูกคิดเห็นถูกตามคำสอนมีเมื่อกำลังคิดถูกตอนกำลังฟังคิดถูกอยู่
เดี๋ยวนี้กำลังเห็นเป็นเราเห็นคนสัตว์วัตถุเป็นมิจฉามรรคคือความคิดเห็นผิดคลาดเคลื่อนไปไม่ตรงตามคำสอน
เพราะไม่ได้กำลังเห็นแค่สีเพียง1สีแต่มีทั้งเห็นได้ยินเสียงครบ6ทางอายตนะปนเปกันไปหมดคือกำลังมีกิเลส


ยำสะเละเทะ คุณโรสไปไกล สุดกู่จริงๆ ไม่ทำมะดา ไชยา มิตรชัย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2018, 20:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กัลยาณมิตร..สำคัญ

การจะสำเร็จทางโลก...ก็ยังสำคัญ

ในทางธรรม..ยิ่งสำคัญมาก...มากจนเกินกว่าจะใช้ความคิดตรึกได้ว่าเพราะอะไร...ก็ฉันอ่านหนังสือได้เองนี้นา..แต่..เปล่าเลย...

ดังนั้น..แค่รู้ว่าคุณฟังใคร..เชื่อใคร..ก็จะรู้ว่าคุณอยู่ตรงไหน..ในกระบวนการของการออกจากทุกข์..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร