วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสชอบพูดชอบอ้างอิงคำว่าปรมัตถ์บ่อยๆ เลยจัดหาถ้อยคำพร้อมความหมาย ปรมัตถ์มาลงให้ศึกษา ปรมัตถ์ ปรมัตถ์ (ปรมัตถ์- ปรม+อัตถ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถ์, ปรมัตถะ 1. ประโยชน์อย่างยิ่ง, จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน
2. ก) ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถสัจจะ ข) สภาวะตามความหมายสูงสุด, สภาวะที่มีในความหมายที่แท้จริง, สภาวธรรม บางทีใช้ว่า ปรมัตถธรรม


ปรมัตถ์ที่พบในพระไตรปิฎก ตามปกติ ในใช้ในความหมายนัยที่ 1 คือ จุดหมาย หรือประโยชน์สูงสุด เฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่ นิพพาน
แต่ในคัมภีร์สมัยต่อมา มีการใช้ในนัยที่ 2. บ่อยขึ้น คือในความหมายว่าเป็นจริงหรือไม่
แต่ไม่ว่า จะใช้ในแง่ความหมายอย่างไหน ก็บรรจบที่นิพพาน เพราะนิพพานนั้น ทั้งเป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นสภาวะที่จริงแท้ (นิพพานเป็นปรมัตถ์ในทั้งสองนัย) ดู อัตถะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตความหมายสัจจะทั้งสองให้ชัด แล้วแยกให้ได้ ถ้าแยกไม่ออกก็พูดปนเปอันแสดงถึงคนพูดสับสน

ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นางสาว ข. เป็นต้น


ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน เป็นคำเรียกกันมาติดปาก ความจริง คือ ปรมัตถะ แปลว่า "ประโยชน์อย่างยิ่ง" เหมือนทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่า "ประโยชน์ปัจจุบัน" และ สัมปรายิกัตถะ แปลว่า "ประโยชน์เบื้องหน้า" ก็เรียกกันว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และ สัมปรายิกัตถประโยชน์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถธรรม ธรรมที่เป็นปรมัตถ์, ธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด, สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์, สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด, สภาวธรรม,

นิยมพูดกันมาเป็นหลักทางพระอภิธรรมว่ามี ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

พึงสังเกตเค้าความที่เป็นมาว่า คำว่า "ปรมัตถธรรม" (บาลี: ปรมตฺถธมฺม) นี้ ไม่พบที่ใช้ในพระไตรปิฎกมาแต่เดิม (ในพระไตรปิฎก ใช้เพียงว่า "ปรมตฺถ" หรือรวมกับคำอื่น มีคำว่าปรมัตถธรรม ซึ่งท่านผู้แปลใส่หรือเติมเข้ามาตามคำอธิบายของอรรถกถาบ้าง ตามที่เห็นเหมาะบ้าง)

ต่อมาในชั้นอรรถกา "ปรมัตถธรรม" จึงปรากฏบ้าง ๒-๓ แห่ง แต่หมายถึงเฉพาะนิพพาน หรือไม่ก็ใช้อย่างกว้างๆ ทำนองว่าเป็นธรรมอันให้ลุถึงนิพพาน ดังเช่น สติปัฏฐาน ก็เป็นตัวอย่างของปรมัตถธรรม ทั้งนี้ เห็นได้ว่าท่านมุ่งความหมายในแง่ว่าประโยชน์สูงสุด

ต่อมา ในคัมภีร์ชั้นฎีกาลงมา มีการใช้คำว่าปรมัตถธรรมบ่อยครั้งขึ้นบ้าง (ไม่บ่อยมาก) และใช้ในความหมายว่า เป็นธรรมตามความหมายอย่างสูงสุด คือ ในความหมายที่แท้จริง มีจริง เป็นจริง ซึ่งตรงกับคำว่าสภาวธรรม ยิ่งเมื่อคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะเกิดขึ้นแล้ว และมีการศึกษาพระอภิธรรมตามแนวของอภิธัมมัตถสังคหะนั้น ก็มีการพูดกันทั่วไป ถึงหลักปรมัตถธรรม ๔ จนกล่าวได้ว่าอภิธัมมัตถสังคหะเป็นแหล่งเริ่มต้นหรือเป็นที่มาของเรื่อง ปรมัตถธรรม ๔

อย่างไรก็ดี ถ้าพูดอย่างเคร่งครัด ตามตัวอักษร ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนั้นเอง ท่านไม่ใช้คำว่า "ปรมัตถธรรม" เลย แม้แต่ในคาถาสำคัญเริ่มปกรณ์หรือต้นคัมภีร์ ซึ่งเป็นบทตั้งหลักที่ถือว่าจัดประมวลปรมัตถธรรม ๔ ขึ้นมาให้ศึกษานั้น แท้จริงก็ไม่มีคำว่า "ปรมตฺถธรรม" แต่อย่างใด ดังคำของท่านเองว่า

ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมีติ สพฺพุถา

แปล: "อรรถแห่งอภิธรรม ที่ตรัสไว้ในพระอภิธรรมนั้น ทั้งหมดทั้งสิ้น โดยปรมัตถ์ มี ๔ อย่าง คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑"

(นี้เป็นการแปลกันตามคำอธิบายของอภิธัมมัตถวิภาวินี แต่มีอีกฎีกาหนึ่งในยุคหลังค้านว่าอภิธัมมัตถวิภาวินี บอกผิด ที่ถูก ต้องแปลว่า "อภิธัมมัตถะ ที่ข้าพเจ้าคือพระอนุรุทธาจารย์กล่าว ในคำว่าอภิธัมมัตถสังคหะนั้น....")

ท้ายปริเฉทที่ ๖ คือรูปสังคหวิภาค ซึ่งเป็นบทที่แสดงปรมัตถ์มาครบ ๔ ถึงนิพพาน ก็มีคาถาคล้ายกัน ดังนี้


อิติ จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิจฺจปิ

ปรมตฺถํ ปกาเสนฺติ จตุธาว ตถาคตา

แปล: "พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงประกาศปรมัตถ์ไว้เพียง ๔ อย่าง คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑ ด้วยประการฉะนี้"

เมื่อพินิจดูก็จะเห็นได้ที่นี่ว่า คำว่า "ปรมัตถธรรม" เกิดขึ้นจาก ประการแรก ผู้จัดรูปคัมภีร์ (อย่างที่ปัจจุบันเรียกว่า บรรณกร) จับใจความตอนนั้นๆ ตั้งขึ้นเป็นหัวข้อ เหมือนอย่างในกรณีนี้ ในคัมภีร์บางฉบับ ตั้งเป็นหัวข้อขึ้นเหนือคาถานั้นว่า "จตุปรมตฺถธมฺโม" (มีในฉบับอักษรพม่า, ฉบับไทยไม่มี) และประการที่สอง ผู้แปลเติมหรือใส่เพิ่มเข้ามา เช่น คำบาลีว่า "ปรมตฺถ" ก็แปลเป็นไทยว่า ปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่เป็นกันทั่วไป

ในคัมภีร์รุ่นต่อมาที่อธิบายอภิธัมมัตถสังคหะ เช่น อภิธัมมัตถวิภาวินี มีการใช้คำบาลีเป็น "ปรมตฺถธมฺม" บ้าง แม้จะไม่มาก แต่ก็ไม่มีที่ใดระบุจำนวนว่าปรมัตถธรรมสี่

จนกระทั่งในสมัยหลังมาก มีคัมภีร์บาลีแต่งในพม่าบอกจำนวน ก็บอกเพียงว่า "ปรมัตถ์ ๔" (จตฺตาโร ปรมตฺเถ, ปรมตฺถทีปนี สงฺคหมหาฎีกาปาฐ, 331) แล้ว

ก็มีอีกคัมภีร์หนึ่ง แต่งในพม่ายุคไม่นานนี้ ใช้คำว่าปรมัตถธรรมโดยระบุว่า สังขารและนิพพาน เป็นปรมัตถธรรม (นมกฺการฎีกา 45) ยิ่งกว่านั้น ย้อนกลับไปยุคเก่า อาจจะก่อนพระอนุรุทธาจารย์ แต่งอภิธัมมัตถสังคหะเสียอีก

คัมภีร์ฎีกาแห่งอรรถกถาของสังยุตตนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก ซึ่งถือว่ารจนาโดยพระธรรมปาละ ผู้เป็นอรรถกถาจารย์ใหญ่ท่านหนึ่ง ใช้คำปรมัตถธรรม ในข้อความที่ระบุว่า "ปรมัตถธรรมอันแยกประเภทเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และปฏิจจสมุปบาท" (สํ.ฎี.2/3303/651) นี่ก็คือบอกว่า ปรมัตถธรรม ได้แก่ ประดาธรรม ชุดที่เรียกกันว่า ปัญญาภูมิ หรือวิปัสสนาภูมิ นั่นเอง

ตามข้อสังเกตและความที่กล่าวมา พึงทราบว่า


๑. การแปลขยายศัพท์อย่างที่แปลปรมัตถะว่า ปรมัตถธรรมนี้ มิใช่เป็นความผิดพลาดเสียหาย แต่เป็นเรื่องทั่วไปที่ควรรู้เท่าทันไว้ อันจะเป็นประโยชน์ในบางแง่บางโอกาส

(เหมือนในการอ่านพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาไทย ผู้อ่านก็ควรทราบเป็นพื้นไว้ว่า คำแปลอาจจะไม่ตรงตามพระบาลีเดิมก็ได้ เช่น ในพระไตรปิฎกบาลีเดิมว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร (คือที่ประทับ) แต่ในฉบับแปล บางทีท่านแปลผ่านคำอธิบายของอรรถกถาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฎี)

๒. การประมวลอรรถแห่งอภิธรรม (โดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นการประมวลธรรมทั้งหมดทั้งปวงนั่นเอง) จัดเป็นปรมัตถ์ ๔ (ที่เรียกกันมาว่า ปรมัตถธรรม ๔) ตามนัยของอภิธัมมัตถสังคหะนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นระบบอันเยี่ยม ซึ่งเกื้อกูลต่อการศึกษาธรรมอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าเป็นแนวอภิธรรม แต่ถ้าพบการจัดอย่างอื่น ดังที่ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่าง (เป็นสังขาร และนิพพาน บ้าง เป็นอย่างที่เรียกว่า ปัญญาภูมิ บ้าง) ก็ไม่ควรแปลกใจ พึงทราบว่าต่างกันโดยวิธีจัดเท่านั้น
ส่วนสาระก็ลงเป็นอันเดียวกัน เหมือนจะว่า เบญขันธ์ หรือว่านามรูป กายมโน ก็อันเดียวกัน ก็ดูแต่ว่าวิธีจัดแบบไหนจะง่ายต่อการศึกษาหรือเอื้อประโยชน์ที่มุ่งหมายมากกว่ากัน

๓. ในคาถาเริ่มปกรณ์ (ในฉบับอักษรไทย ผู้ชำระ คือผู้จัดรูปคัมภีร์ ตั้งชื่อให้ว่า "ปกรณารมฺภคาถา" แต่ฉบับอักษรพม่าตั้งชื่อว่า "คนฺถารมฺภกถา" ) มีข้อความที่เป็นบทตั้ง ซึ่งบอกใจความทั้งหมดของคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ คาถานี้จึงสำคัญมาก ควรตั้งอยู่ในความเข้าใจที่ชัดเจนประจำใจของผู้ศึกษาเลยทีเดียว

ในกรณีนี้ การแปลโดยรักษารูปศัพท์ อาจช่วยให้ชัดขึ้น เช่นอาจแปลว่า "อภิธัมมัตถะ ที่กล่าวในคำว่า "อภิธัมมัตถสังคหะ" นั้น ทั้งหมดทั้งสิ้นโดยปรมัตถ์ มี ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน"

(พึงสังเกตว่า ถ้าถือเคร่งตามตัวอักษร ในคาถาเริ่มปกรณนี้ ท่านว่ามีอภิธัมมัตถะ ๔ ส่วนในคาถาท้ายปริจเฉทที่หก ท่านกล่าวถึงปรมัตถะ ๔ แต่โดยอรรถ ทั้งสองนั้น ก็อย่างเดียวกัน)

โดยเฉพาะคำว่า อภิธัมมัตถะ จะช่วยโยงพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมดเข้ามาสู่เรื่องที่ศึกษา เพราะท่านมุ่งว่าสาระในอภิธรรมปิฎกทั้งหมดนั่นเอง ประมวลเข้ามาเป็น ๔ อย่างนี้ ดังจะเห็นชัดตั้งแต่พระอภิธรรมปิฎกคัมภีร์แรก คือธัมมสังคณีตลอดหมดทั้ง ๒๕๘ หน้า ที่แจงกุสลัตติกะ อันเป็นปฐมอภิธัมมมาติกา ก็ปรากฏออกมาชัดเจนว่าเป็นการแจงเรื่อง จิต เจตสิก รูป และนิพพาน นี่เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งใจทำ และนั่งตรวจสอบ (พิมพ์ผิดหลายตัว) เพื่อคุณโรสนะขอรับ จริงๆนะไม่ใช่พูดเล่น :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อภิธรรม ธรรมอันยิ่ง, ทั้งยิ่งเกิน (อภิอติเรก) คือมากกว่าธรรมอย่างปกติ และยิ่งพิเศษ (อภิวิเสส) คือ เหนือกว่าธรรมอย่างปกติ,
หลักและคำอธิบายธรรมที่เป็นเนื้อหาสาระแท้ๆ ล้วนๆ ซึ่งจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบและเป็นลำดับ จนจบความอย่างบริบูรณ์ โดยไม่กล่าวถึง ไม่อ้างอิง และไม่ขึ้นต่อบุคคล ชุมชน หรือเหตุการณ์ อันแสดงโดยเว้นบัญญัติโวหาร มุ่งตรงต่อสภาวธรรม
ที่ต่อมานิยมจัดเรียกเป็นปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน, เมื่อพูดว่า "อภิธรรม" บางทีหมายถึงพระอภิธรรมปิฎก


บางทีหมายถึงคำสอนในพระอภิธรรมปิฎกนั้น ตามที่ได้นำมาอธิบายและเล่าเรียนกันสืบมา เฉพาะอย่างยิ่ง ตามแนวที่ประมวลแสดงไว้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ, บางที เพื่อให้ชัดว่าหมายถึงอภิธรรมปิฎก ก็พูดว่า "อภิธรรมเจ็ดคัมภีร์"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อัตถะ 1. ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย, จุดหมาย, อัตถะ ๓ คือ

๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในภพนี้

๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า

๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง, ประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน

อัตถะ ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ

๑. อัตตัตถะ ประโยชน์ตน

๒. ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น

๓. อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย 2. ความหมาย, ความหมายแห่งพุทธพจน์, พระสูตร พระธรรมเทศนา หรือพุทธพจน์ ว่าโดยการแปลความหมาย แยกเป็น อัตถะ ๒

คือ

๑. เนยยัตถะ (พระสูตร) ซึ่งมีความหมายที่จะต้องไขความ, พุทธพจน์ที่ตรัสตามสมมติ อันจะต้องเข้าใจความจริงแท้ที่ซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง เช่น ที่ตรัส เรื่องบุคคล ตัวตน เรา เขา ว่า บุคคล ๔ ประเภท, ตนเป็นที่พึ่งของตน เป็นต้น

๒. นีตัตถะ (พระสูตร) ซึ่งมีความหมายที่แสดงชัดโดยตรงแล้ว, พุทธพจน์ที่ตรัสโดยปรมัตถ์ ซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมาตามสภาวะ เช่น ที่ตรัสว่า รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น อรรถ ก็เขียน


อรรถ เนื้อความ, ใจความ, ความหมาย, ความมุ่งหมาย, ผล, ประโยชน์

อรรถรส "รสแห่งเนื้อความ" "รสแห่งความหมาย" สาระที่ต้องการของเนื้อความ, เนื้อแท้ของความหมาย, ความหมายแท้ที่ต้องการ, ความมุ่งหมายที่แทรกซึมอยู่ในเนื้อความ คล้ายกับที่มักพูดกันในบัดนี้ว่า เจตนารมณ์ (พจนานุกรมว่า ถ้อยคำ ที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียบกับที่คุณโรสคิด

อ้างคำพูด:
Rosarin

บอกแล้วบอกอีกไม่รู้จักจำ คำสอนของพระพุทธเจ้า คือทุกคำในพระไตรปิฎก ส่องถึงเดี๋ยวนี้ที่มีแล้วตรง

ตามที่ทุกดวงจิตกำลังเป็นไป ใครกำลังทำฌานก็ได้มีฌาน

ใครกำลังทำปัญญาก็ได้ปัญญา

ใครได้นิพพานแล้วก็คือนิพพานจริง ตรงจริงที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เลย คือ จิ เจ รุ นิ

ไม่เข้าใจหรือคะมีแล้ว จิต เจตสิก รูป นิพพาน ต้องรู้ 1 ที่ ตน มี

ครบวิสยรูป 7 ตรงธาตุ 4 ขันธ์ 5 รู้ผ่านครบอายตนะทั้ง 6 เดี๋ยวนี้

จิต คือ วิญญาณขันธ์ เป็นประธานรู้ทุกอย่างที่มี จิต มี 89-121 ประเภท

เจตสิก คือ เจตนา เกิดพร้อมจิต เป็นคู่หู ปรุงกุศล หรือ อกุศล 52 ประเภท

ประกอบด้วยประเภทของ 3 ขันธ์ เวทนาขันธ์ 1 สัญญาขันธ์ 1 สังขารขันธ์ 50

รูปคือรูปขันธ์ คือ มหาภูตรูป 4+อุปาทายรูป 24 รวม 28 รูป 27 รูป มืด มีสว่างแค่ 1 รูป

อ่านสิครบทั้งหมดแล้ว แยะแยะละเอียดที่กายใจตน มีให้ตรง 1 สัจจะ คือ จริงของตน

viewtopic.php?f=1&t=56203&p=422644#p422644


เละไปหมด

คุณโรสแยกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วประกอบเข้าที่เดิมไม่ได้ ชีวิตเลยกลายฝุ่นไป คนคิดแบบนี้ ไม่มีทางเข้าใจชีวิตความอยู่ ณ ปัจจุบันเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ คือ จะมองพลาดไปหมด

แล้วก็ไม่มีวันจะปฏิบัติอะไรได้ ไม่ว่าจะสติปัฏฐาน, ไม่ว่าจะเป็นสมถะ,สมาธิ, วิปัสสนา ทำไม่ได้ไม่เป็น ไม่เข้าใจ เพราะเขาคิดเละไปหมดแล้ว :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เทียบกับที่คุณโรสคิด

อ้างคำพูด:
Rosarin

บอกแล้วบอกอีกไม่รู้จักจำ คำสอนของพระพุทธเจ้า คือทุกคำในพระไตรปิฎก ส่องถึงเดี๋ยวนี้ที่มีแล้วตรง

ตามที่ทุกดวงจิตกำลังเป็นไป ใครกำลังทำฌานก็ได้มีฌาน

ใครกำลังทำปัญญาก็ได้ปัญญา

ใครได้นิพพานแล้วก็คือนิพพานจริง ตรงจริงที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เลย คือ จิ เจ รุ นิ

ไม่เข้าใจหรือคะมีแล้ว จิต เจตสิก รูป นิพพาน ต้องรู้ 1 ที่ ตน มี

ครบวิสยรูป 7 ตรงธาตุ 4 ขันธ์ 5 รู้ผ่านครบอายตนะทั้ง 6 เดี๋ยวนี้

จิต คือ วิญญาณขันธ์ เป็นประธานรู้ทุกอย่างที่มี จิต มี 89-121 ประเภท

เจตสิก คือ เจตนา เกิดพร้อมจิต เป็นคู่หู ปรุงกุศล หรือ อกุศล 52 ประเภท

ประกอบด้วยประเภทของ 3 ขันธ์ เวทนาขันธ์ 1 สัญญาขันธ์ 1 สังขารขันธ์ 50

รูปคือรูปขันธ์ คือ มหาภูตรูป 4+อุปาทายรูป 24 รวม 28 รูป 27 รูป มืด มีสว่างแค่ 1 รูป

อ่านสิครบทั้งหมดแล้ว แยะแยะละเอียดที่กายใจตน มีให้ตรง 1 สัจจะ คือ จริงของตน

viewtopic.php?f=1&t=56203&p=422644#p422644


เละไปหมด

คุณโรสแยกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วประกอบเข้าที่เดิมไม่ได้ ชีวิตเลยกลายฝุ่นไป คนคิดแบบนี้ ไม่มีทางเข้าใจชีวิตความอยู่ ณ ปัจจุบันเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ คือ จะมองพลาดไปหมด

แล้วก็ไม่มีวันจะปฏิบัติอะไรได้ ไม่ว่าจะสติปัฏฐาน, ไม่ว่าจะเป็นสมถะ,สมาธิ, วิปัสสนา ทำไม่ได้ไม่เป็น ไม่เข้าใจ เพราะเขาคิดเละไปหมดแล้ว :b32:

:b12:
บอกยังไงก็ไม่ฟังคนที่รู้จริงไม่ติดนั่งสมาธิเพราะกายหายหมดไม่ส่งออกไปเห็นอะไรเลย
ดิ่งแน่วลงรวมสงบเลยเป็นผลของกรรมที่สะสมปัญญาจากการฟังแต่อดีตชาติมาให้ผลนะคะ
ส่วนที่กำลังทำอยู่เดี๋ยวนี้ทำด้วยความไม่รู้ตรงสัจจะคือไม่รู้การสะสมความตรงตัวธัมมะตามเป็นจริง
ความจริงต้องรู้สิ่งที่เกิดมีแล้วที่กายใจไม่ได้ไปวอกแวกส่งไปรู้นอกกายใจที่มีแล้วดิ่งลงเป็น1ไม่ส่งไปไหน
กายไม่มีกายหายหมดแปลว่าตัวตนเป็นสมมุติบัญญัติที่แยกชิ้นส่วนได้ไม่ใช่สัจจะที่เป็นปรมัตถ์เป็นเอกคือ1
เอกเป็น1สิ้นสุดแยกย่อยต่อไปอีกไม่ได้เลยรวมเป็นหนึ่งหนึ่งหนึ่งมันแยกแต่ละ1อยู่แล้วแต่กิเลสตนปกปิดค่ะ
ต้องอาศัยคำสอนที่ค่อยเปิดเผยความจริงให้ปรากฏตอนกำลังมีสิ่งที่มีจริงๆที่กำลังปรากฏไม่ไปทำสิ่งที่ยังมิรู้
:b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2018, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ปรมัตถธรรม ธรรมที่เป็นปรมัตถ์, ธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด, สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์, สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด, สภาวธรรม,

นิยมพูดกันมาเป็นหลักทางพระอภิธรรมว่ามี ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

พึงสังเกตเค้าความที่เป็นมาว่า คำว่า "ปรมัตถธรรม" (บาลี: ปรมตฺถธมฺม) นี้ ไม่พบที่ใช้ในพระไตรปิฎกมาแต่เดิม (ในพระไตรปิฎก ใช้เพียงว่า "ปรมตฺถ" หรือรวมกับคำอื่น มีคำว่าปรมัตถธรรม ซึ่งท่านผู้แปลใส่หรือเติมเข้ามาตามคำอธิบายของอรรถกถาบ้าง ตามที่เห็นเหมาะบ้าง)

ต่อมาในชั้นอรรถกา "ปรมัตถธรรม" จึงปรากฏบ้าง ๒-๓ แห่ง แต่หมายถึงเฉพาะนิพพาน หรือไม่ก็ใช้อย่างกว้างๆ ทำนองว่าเป็นธรรมอันให้ลุถึงนิพพาน ดังเช่น สติปัฏฐาน ก็เป็นตัวอย่างของปรมัตถธรรม ทั้งนี้ เห็นได้ว่าท่านมุ่งความหมายในแง่ว่าประโยชน์สูงสุด

ต่อมา ในคัมภีร์ชั้นฎีกาลงมา มีการใช้คำว่าปรมัตถธรรมบ่อยครั้งขึ้นบ้าง (ไม่บ่อยมาก) และใช้ในความหมายว่า เป็นธรรมตามความหมายอย่างสูงสุด คือ ในความหมายที่แท้จริง มีจริง เป็นจริง ซึ่งตรงกับคำว่าสภาวธรรม ยิ่งเมื่อคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะเกิดขึ้นแล้ว และมีการศึกษาพระอภิธรรมตามแนวของอภิธัมมัตถสังคหะนั้น ก็มีการพูดกันทั่วไป ถึงหลักปรมัตถธรรม ๔ จนกล่าวได้ว่าอภิธัมมัตถสังคหะเป็นแหล่งเริ่มต้นหรือเป็นที่มาของเรื่อง ปรมัตถธรรม ๔

อย่างไรก็ดี ถ้าพูดอย่างเคร่งครัด ตามตัวอักษร ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนั้นเอง ท่านไม่ใช้คำว่า "ปรมัตถธรรม" เลย แม้แต่ในคาถาสำคัญเริ่มปกรณ์หรือต้นคัมภีร์ ซึ่งเป็นบทตั้งหลักที่ถือว่าจัดประมวลปรมัตถธรรม ๔ ขึ้นมาให้ศึกษานั้น แท้จริงก็ไม่มีคำว่า "ปรมตฺถธรรม" แต่อย่างใด ดังคำของท่านเองว่า

ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมีติ สพฺพุถา

แปล: "อรรถแห่งอภิธรรม ที่ตรัสไว้ในพระอภิธรรมนั้น ทั้งหมดทั้งสิ้น โดยปรมัตถ์ มี ๔ อย่าง คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑"

(นี้เป็นการแปลกันตามคำอธิบายของอภิธัมมัตถวิภาวินี แต่มีอีกฎีกาหนึ่งในยุคหลังค้านว่าอภิธัมมัตถวิภาวินี บอกผิด ที่ถูก ต้องแปลว่า "อภิธัมมัตถะ ที่ข้าพเจ้าคือพระอนุรุทธาจารย์กล่าว ในคำว่าอภิธัมมัตถสังคหะนั้น....")

ท้ายปริเฉทที่ ๖ คือรูปสังคหวิภาค ซึ่งเป็นบทที่แสดงปรมัตถ์มาครบ ๔ ถึงนิพพาน ก็มีคาถาคล้ายกัน ดังนี้


อิติ จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิจฺจปิ

ปรมตฺถํ ปกาเสนฺติ จตุธาว ตถาคตา

แปล: "พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงประกาศปรมัตถ์ไว้เพียง ๔ อย่าง คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑ ด้วยประการฉะนี้"

เมื่อพินิจดูก็จะเห็นได้ที่นี่ว่า คำว่า "ปรมัตถธรรม" เกิดขึ้นจาก ประการแรก ผู้จัดรูปคัมภีร์ (อย่างที่ปัจจุบันเรียกว่า บรรณกร) จับใจความตอนนั้นๆ ตั้งขึ้นเป็นหัวข้อ เหมือนอย่างในกรณีนี้ ในคัมภีร์บางฉบับ ตั้งเป็นหัวข้อขึ้นเหนือคาถานั้นว่า "จตุปรมตฺถธมฺโม" (มีในฉบับอักษรพม่า, ฉบับไทยไม่มี) และประการที่สอง ผู้แปลเติมหรือใส่เพิ่มเข้ามา เช่น คำบาลีว่า "ปรมตฺถ" ก็แปลเป็นไทยว่า ปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่เป็นกันทั่วไป

ในคัมภีร์รุ่นต่อมาที่อธิบายอภิธัมมัตถสังคหะ เช่น อภิธัมมัตถวิภาวินี มีการใช้คำบาลีเป็น "ปรมตฺถธมฺม" บ้าง แม้จะไม่มาก แต่ก็ไม่มีที่ใดระบุจำนวนว่าปรมัตถธรรมสี่

จนกระทั่งในสมัยหลังมาก มีคัมภีร์บาลีแต่งในพม่าบอกจำนวน ก็บอกเพียงว่า "ปรมัตถ์ ๔" (จตฺตาโร ปรมตฺเถ, ปรมตฺถทีปนี สงฺคหมหาฎีกาปาฐ, 331) แล้ว

ก็มีอีกคัมภีร์หนึ่ง แต่งในพม่ายุคไม่นานนี้ ใช้คำว่าปรมัตถธรรมโดยระบุว่า สังขารและนิพพาน เป็นปรมัตถธรรม (นมกฺการฎีกา 45) ยิ่งกว่านั้น ย้อนกลับไปยุคเก่า อาจจะก่อนพระอนุรุทธาจารย์ แต่งอภิธัมมัตถสังคหะเสียอีก

คัมภีร์ฎีกาแห่งอรรถกถาของสังยุตตนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก ซึ่งถือว่ารจนาโดยพระธรรมปาละ ผู้เป็นอรรถกถาจารย์ใหญ่ท่านหนึ่ง ใช้คำปรมัตถธรรม ในข้อความที่ระบุว่า "ปรมัตถธรรมอันแยกประเภทเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และปฏิจจสมุปบาท" (สํ.ฎี.2/3303/651) นี่ก็คือบอกว่า ปรมัตถธรรม ได้แก่ ประดาธรรม ชุดที่เรียกกันว่า ปัญญาภูมิ หรือวิปัสสนาภูมิ นั่นเอง

ตามข้อสังเกตและความที่กล่าวมา พึงทราบว่า


๑. การแปลขยายศัพท์อย่างที่แปลปรมัตถะว่า ปรมัตถธรรมนี้ มิใช่เป็นความผิดพลาดเสียหาย แต่เป็นเรื่องทั่วไปที่ควรรู้เท่าทันไว้ อันจะเป็นประโยชน์ในบางแง่บางโอกาส

(เหมือนในการอ่านพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาไทย ผู้อ่านก็ควรทราบเป็นพื้นไว้ว่า คำแปลอาจจะไม่ตรงตามพระบาลีเดิมก็ได้ เช่น ในพระไตรปิฎกบาลีเดิมว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร (คือที่ประทับ) แต่ในฉบับแปล บางทีท่านแปลผ่านคำอธิบายของอรรถกถาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฎี)

๒. การประมวลอรรถแห่งอภิธรรม (โดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นการประมวลธรรมทั้งหมดทั้งปวงนั่นเอง) จัดเป็นปรมัตถ์ ๔ (ที่เรียกกันมาว่า ปรมัตถธรรม ๔) ตามนัยของอภิธัมมัตถสังคหะนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นระบบอันเยี่ยม ซึ่งเกื้อกูลต่อการศึกษาธรรมอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าเป็นแนวอภิธรรม แต่ถ้าพบการจัดอย่างอื่น ดังที่ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่าง (เป็นสังขาร และนิพพาน บ้าง เป็นอย่างที่เรียกว่า ปัญญาภูมิ บ้าง) ก็ไม่ควรแปลกใจ พึงทราบว่าต่างกันโดยวิธีจัดเท่านั้น
ส่วนสาระก็ลงเป็นอันเดียวกัน เหมือนจะว่า เบญขันธ์ หรือว่านามรูป กายมโน ก็อันเดียวกัน ก็ดูแต่ว่าวิธีจัดแบบไหนจะง่ายต่อการศึกษาหรือเอื้อประโยชน์ที่มุ่งหมายมากกว่ากัน

๓. ในคาถาเริ่มปกรณ์ (ในฉบับอักษรไทย ผู้ชำระ คือผู้จัดรูปคัมภีร์ ตั้งชื่อให้ว่า "ปกรณารมฺภคาถา" แต่ฉบับอักษรพม่าตั้งชื่อว่า "คนฺถารมฺภกถา" ) มีข้อความที่เป็นบทตั้ง ซึ่งบอกใจความทั้งหมดของคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ คาถานี้จึงสำคัญมาก ควรตั้งอยู่ในความเข้าใจที่ชัดเจนประจำใจของผู้ศึกษาเลยทีเดียว

ในกรณีนี้ การแปลโดยรักษารูปศัพท์ อาจช่วยให้ชัดขึ้น เช่นอาจแปลว่า "อภิธัมมัตถะ ที่กล่าวในคำว่า "อภิธัมมัตถสังคหะ" นั้น ทั้งหมดทั้งสิ้นโดยปรมัตถ์ มี ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน"

(พึงสังเกตว่า ถ้าถือเคร่งตามตัวอักษร ในคาถาเริ่มปกรณนี้ ท่านว่ามีอภิธัมมัตถะ ๔ ส่วนในคาถาท้ายปริจเฉทที่หก ท่านกล่าวถึงปรมัตถะ ๔ แต่โดยอรรถ ทั้งสองนั้น ก็อย่างเดียวกัน)

โดยเฉพาะคำว่า อภิธัมมัตถะ จะช่วยโยงพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมดเข้ามาสู่เรื่องที่ศึกษา เพราะท่านมุ่งว่าสาระในอภิธรรมปิฎกทั้งหมดนั่นเอง ประมวลเข้ามาเป็น ๔ อย่างนี้ ดังจะเห็นชัดตั้งแต่พระอภิธรรมปิฎกคัมภีร์แรก คือธัมมสังคณีตลอดหมดทั้ง ๒๕๘ หน้า ที่แจงกุสลัตติกะ อันเป็นปฐมอภิธัมมมาติกา ก็ปรากฏออกมาชัดเจนว่าเป็นการแจงเรื่อง จิต เจตสิก รูป และนิพพาน นี่เอง

cool
:b12:
ทุก คำ ที่ เขียน นะ ตั้ง ใจ เขียน เพื่อ ให้ อ่าน คือ คิด ตรง ที ละ คำ เป็น
และ รู้ ตรง คำ ตรง ขณะ ก่อน ดับ คำ ที่ เป็น ปะ ระ มัต ถะ สัจ จะ ธัม มะ
คือ ต้อง ฝึก คิด ตรง ๆ ถึง เห็น เสียง สี แสง มืด หวาน เย็น แข็ง อ่อน ร้อน
ทีละคำจนไม่มีการแทรกความคิดเห็นส่วนตัวลงไปให้รู้ว่าแต่ละ1เป็น จิ เจ รุ นิ
ธัมมะจำเป็นจำ เพราะจำแล้ว ดับแล้ว จำเป็นเจตสิกะ ธัมมะเห็นเป็นเห็น เห็นเป็นจิต
รู้ทุกขณะจิตตามปกติว่าทันขณะไหนบ้างเป็นตัวธัมมะอะไรไม่ใช่จำบัญญัติคำยาวๆ
ต้องรู้ตรงคำวาจาสัจจะที่เป็นสภาวะนั้นจริงๆตรงนามรูปปะระมัตถะสัจจะธัมมะถึงใจไหมคะ
ตนระลึกไม่ได้เลยสัก1ตัวธัมมะนั่นแหละกิเลสตนไหลไปไม่ขาดสายเพราะไม่รู้ตรงความจริง
ซึ่งความจริงไม่มีชื่อเวลาที่สภาพธรรมปรากฏต้องแยกรายละเอียดได้ทันก่อนดับจึงตรงปัจจุบัน
ไม่ตรงเลยสักคำให้ทราบว่าตนไม่รู้แปลว่ามีกิเลสไม่รู้ว่ามีกิเลสคือเข้าไม่ถึงความจริงที่กำลังรู้สึกชัด
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2018, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
แค่คิดตรงคำที่รู้สึกแข็งยังไม่ถึงสติเลยที่เป็นตัวธัมมะของสติ
การอ่านคำยาวๆเช่นปรมัตถธรรมก็แค่จำคำได้ไม่ใช่ตัวจริงค่ะ
ตัวจริงของธัมมะศึกษาเข้าใจแล้วละบัญญัติคำยาวๆเพื่อรู้ตรงคำ
ละไม่รู้เพื่อรู้ตามคำจริงตรงจริงคือคำวาจาสัจจะแข็งมีทุกภาษาค่ะ
ทุกชาติรู้แข็งตรงขณะที่รู้สึกกระทบที่ตัวได้ทีละ1จุดแตะแล้วดับทันที
ไม่ได้มีแข็งตลอดเวลามีเห็นได้ยินเหม็นหอมชอบอยากได้ตลอดเวลา555
แค่จืดไปขอเพิ่มรสนิดนึงบวชแล้วทำไม่ได้ค่ะทุกคำในพระไตรปิฎกคือรู้ตรงจริง
ได้ทีละ1คำปะระมัตถะสัจจะนี่ไม่เขียนผิดรู้จักกิเลสไหมเติมเกลือน่ะกิเลสแล้วปรุงแต่งรสตามใจอยากค่ะ
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2018, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
แค่คิดตรงคำที่รู้สึกแข็งยังไม่ถึงสติเลยที่เป็นตัวธัมมะของสติ
การอ่านคำยาวๆเช่นปรมัตถธรรมก็แค่จำคำได้ไม่ใช่ตัวจริงค่ะ
ตัวจริงของธัมมะศึกษาเข้าใจแล้วละบัญญัติคำยาวๆเพื่อรู้ตรงคำ
ละไม่รู้เพื่อรู้ตามคำจริงตรงจริงคือคำวาจาสัจจะแข็งมีทุกภาษาค่ะ
ทุกชาติรู้แข็งตรงขณะที่รู้สึกกระทบที่ตัวได้ทีละ1จุดแตะแล้วดับทันที
ไม่ได้มีแข็งตลอดเวลามีเห็นได้ยินเหม็นหอมชอบอยากได้ตลอดเวลา555
แค่จืดไปขอเพิ่มรสนิดนึงบวชแล้วทำไม่ได้ค่ะทุกคำในพระไตรปิฎกคือรู้ตรงจริง
ได้ทีละ1คำปะระมัตถะสัจจะนี่ไม่เขียนผิดรู้จักกิเลสไหมเติมเกลือน่ะกิเลสแล้วปรุงแต่งรสตามใจอยากค่ะ
:b12:
:b4: :b4:


เวรกำ เล่นตามตามตัวหนังสือเบย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ปิดหนังสือปิดตำราซะก่อน

แล้วลองคุยกันนะคะ

ใช้ปัญญาคุยกัน


เดี่ยวจะพอเห็นเอง ว่า อะไรคือปรมัตถ์ค่ะ

อะไรคือจิต อะไรคือเจตสิก อะไรคือรูป และอะไรที่แสดงความหมายของนิพพานค่ะ





โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
แค่คิดตรงคำที่รู้สึกแข็งยังไม่ถึงสติเลยที่เป็นตัวธัมมะของสติ
การอ่านคำยาวๆเช่นปรมัตถธรรมก็แค่จำคำได้ไม่ใช่ตัวจริงค่ะ
ตัวจริงของธัมมะศึกษาเข้าใจแล้วละบัญญัติคำยาวๆเพื่อรู้ตรงคำ
ละไม่รู้เพื่อรู้ตามคำจริงตรงจริงคือคำวาจาสัจจะแข็งมีทุกภาษาค่ะ
ทุกชาติรู้แข็งตรงขณะที่รู้สึกกระทบที่ตัวได้ทีละ1จุดแตะแล้วดับทันที
ไม่ได้มีแข็งตลอดเวลามีเห็นได้ยินเหม็นหอมชอบอยากได้ตลอดเวลา555
แค่จืดไปขอเพิ่มรสนิดนึงบวชแล้วทำไม่ได้ค่ะทุกคำในพระไตรปิฎกคือรู้ตรงจริง
ได้ทีละ1คำปะระมัตถะสัจจะนี่ไม่เขียนผิดรู้จักกิเลสไหมเติมเกลือน่ะกิเลสแล้วปรุงแต่งรสตามใจอยากค่ะ
:b12:
:b4: :b4:


เวรกำ เล่นตามตามตัวหนังสือเบย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง

:b12:
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงละเอียดเป็นแต่ละ1ตัวธัมมะที่บัญญัติไว้เพื่อให้เข้าใจถูกค่ะ
ทุกคำในพระไตรปิฎกเลยต้องรู้สึกที่ตัวตนของตนเดี๋ยวนี้ว่าตรงกับปรมัตถ์ไหนไงคะ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
แค่คิดตรงคำที่รู้สึกแข็งยังไม่ถึงสติเลยที่เป็นตัวธัมมะของสติ
การอ่านคำยาวๆเช่นปรมัตถธรรมก็แค่จำคำได้ไม่ใช่ตัวจริงค่ะ
ตัวจริงของธัมมะศึกษาเข้าใจแล้วละบัญญัติคำยาวๆเพื่อรู้ตรงคำ
ละไม่รู้เพื่อรู้ตามคำจริงตรงจริงคือคำวาจาสัจจะแข็งมีทุกภาษาค่ะ
ทุกชาติรู้แข็งตรงขณะที่รู้สึกกระทบที่ตัวได้ทีละ1จุดแตะแล้วดับทันที
ไม่ได้มีแข็งตลอดเวลามีเห็นได้ยินเหม็นหอมชอบอยากได้ตลอดเวลา555
แค่จืดไปขอเพิ่มรสนิดนึงบวชแล้วทำไม่ได้ค่ะทุกคำในพระไตรปิฎกคือรู้ตรงจริง
ได้ทีละ1คำปะระมัตถะสัจจะนี่ไม่เขียนผิดรู้จักกิเลสไหมเติมเกลือน่ะกิเลสแล้วปรุงแต่งรสตามใจอยากค่ะ
:b12:
:b4: :b4:


เวรกำ เล่นตามตามตัวหนังสือเบย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง

:b12:
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงละเอียดเป็นแต่ละ1ตัวธัมมะที่บัญญัติไว้เพื่อให้เข้าใจถูกค่ะ
ทุกคำในพระไตรปิฎกเลยต้องรู้สึกที่ตัวตนของตนเดี๋ยวนี้ว่าตรงกับปรมัตถ์ไหนไงคะ
:b32: :b32:


จับน้ำแข็งก็รู้สึกเย็นๆ จับก้อนหินก็รู้สึกแข็งๆ จับไฟรู้สึกร้อนๆ จับแมงกะพรุน รู้สึกนิ่มๆ เท่านี้รู้ตรงปรมัตถ์แล้วใช่ไหม หรือยังไง

1. ใช่เบย รู้ปรมัตถ์แล้ว
2. ยังไม่ใช่ (อธิบายไป)

ข้อไหน 1 หรือ 2

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร