วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2016, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


เคยนึกกันหรือไม่ว่า ชาติหน้าในอนาคตนั้น เราจะต้องเกิดต่อไปอีกกี่ภพกี่ชาติ ตราบใดที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล เราต้องวนเวียนเกิดตายกันต่อไปนานแค่ไหน พูดแล้วก็ขนลุก ระดับหมื่นแสนล้านชาติขึ้นไปนั่นแหละ และจะมากกว่านั้นไม่จบไม่สิ้น ถ้ายังไม่เดินเข้าสู่เส้นทางการหนีออกจากวัฏฏสงสาร

ตราบใดที่ยังไม่ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล ไม่สามารพยากรณ์ได้เลยว่าเราจะต้องเกิดกันอีกสักกี่ชาติ เพราะว่าการดำเนินต่อไปที่เวียนเกิดเวียนตายนั้นไม่มีจุดสิ้นสุด แต่ถ้าเป็นพระโสดาบันบุคคลนั่นแหละ ถึงจะรู้ได้ว่าต้องเกิดได้ต่อไปอีกกี่ชาติ

น่ากลัวเหลือเกินในอนาคตชาติข้างหน้า มากมายเหลือเกินที่เราต้องเวียนเกิดเวียนตาย อย่างไร้จุดหมาย และพบแต่ความไม่แน่นอน แล้วเราควรเดินเข้าสู่เส้นทางการหนีออกจากวัฏฏะนี้กันได้หรือยัง ประโยชน์อะไรที่เราจะเกิดกันอีกต่อไปอย่างซ้ำซาก ประสบแต่ความทุกข์ และเสี่ยงอันตรายในการเกิดชาติต่อชาติ เพราะถ้าไปสุคติ ก็คงไม่ทุกข์ระดับแสนสาหัส แต่ถ้าพลัดหลงลงไปในนรกซึ่งเป็นทุคติภูมิเมื่อไหร่ก็ทุกข์ทรมานแสนสาหัส แบบที่เรียกว่าลืมไปได้เลยว่าสุคติภูมิเป็นอย่างไร เพราะมันจะเวียนอยู่ในนรกภูมิที่เป็นทุคตินานจนลืมไปได้เลยว่าจะหลุดออกมาได้เมื่อไร และวิถีทางที่กุศลจะเข้าไปส่งผลในนรกเพื่อเปิดทางให้หลุดออกมาสู่สุคติได้นั้นยากแสนยาก

การมีชีวิตอยู่ในทุกๆ วันนี้ ก็ขอให้เสพกรรมดีให้มาก นึกคิด พูดทำแต่สิ่งที่ดี มีสติเป็นหลักชัยที่ปักแน่นไว้ในจิตใจ อย่าให้ขาด บุญคุณต้องทดแทน เกิดมาในแผ่นดินนี้ต้องทดแทน ต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรสังคม มีจิตสำนึกรักผืนแผ่นดินเกิด เกิดมาแล้วอย่าให้เป็นแค่ขยะสังคม ต้องทดแทนบุญคุณประเทศ ทดแทนบุญคุณผู้มีพระคุณ ศีลต้องรักษาไว้ให้ดี การอบรมเจริญปัญญาทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ต้องมี นั่นแหละเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเองได้ในระดับหนึ่งว่า เราได้ทำแต่สิ่งที่ดี ความดีจะรักษาเราในอนาคต และเพื่อปัจจัยให้เรามีโอกาสเร่งสร้างความดีเพื่อความหลุดพ้นต่อไปค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2016, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๐. กุกกุฏชาดก
ว่าด้วยพ้นศัตรูเพราะรู้เท่าทัน
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 788&Z=5815

[๑๔๒๒]บุคคลไม่พึงคุ้นเคยในคนทำบาป คนมักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญาคิด
แต่ประโยชน์ตน และคนทำเป็นสงบแต่ภายนอก.

[๑๔๒๓] มีบุรุษพวกหนึ่ง มีปกติเหมือนโคกระหายน้ำ ทำทีเหมือนจะกล้ำกลืน
มิตรด้วยวาจา แต่ไม่ใช้ด้วยการงาน ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น.

[๑๔๒๔] บุรุษพวกหนึ่ง เป็นคนชูมือเปล่า พัวพันอยู่ แต่ด้วยวาจาเป็นมนุษย์
กระพี้ ไม่มีความกตัญญู ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น.

[๑๔๒๕] บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อหญิง หรือบุรุษ ผู้มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความ
ข้องเกี่ยวให้แจ้งชัด.

[๑๔๒๖] ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคลผู้หยั่งลงสู่กรรม อันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่
นอน กำจัดคนไม่เลือก เหมือนดาบที่เขาลับแล้วปกปิดไว้ ฉะนั้น.


[๑๔๒๗] คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษ เข้าไปหาด้วยอุบายต่างๆ ด้วยคำ
พูดอันคมคายซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งมิตรเทียม แม้คนเช่น
นี้ ก็ไม่ควรคุ้นเคย.

[๑๔๒๘] คนมีปัญญาทรามเช่นนั้น พบเห็นอามิส หรือทรัพย์เข้า ณ ที่ใด ย่อม
คิดประทุษร้าย และย่อมละทิ้งเพื่อนนั้นไป แม้คนเช่นนั้น ก็ไม่ควร
คุ้นเคย.

[๑๔๒๙] มีคนเป็นจำนวนมาก ที่ปลอมเป็นมิตรคบหา บุคคลพึงละบุรุษชั่วเหล่า
นั้นเสีย เหมือนไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น.

[๑๔๓๐] อนึ่ง บุคคลใดไม่รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้ฉับพลัน หลงไปตามอำนาจ
ศัตรู บุคคลนั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.


[๑๔๓๑] ส่วนบุคคลใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้ ฉับพลัน บุคคลนั้นย่อมพ้นจาก
ความเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น.

[๑๔๓๒] นรชนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรละเว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มัก
ทำการกำจัดอยู่เป็นนิตย์ ดังแร้วที่เขาดักไว้ในป่าเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล
เหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้นเหยี่ยว ฉะนั้น.

จบ กุกกุฏชาดกที่ ๑๐.


-----------------------------------------------------
อรรถกถา กุกกุฏชาดก
ว่าด้วย พ้นศัตรูเพราะรู้เท่าทัน

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภความพยายามปลงพระชนม์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาสฺมเส กตปาปมฺหิ ดังนี้.

ความย่อว่า ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาถึงความไม่ดีของพระเทวทัตว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตทำอุบายเพื่อจะปลงพระชนม์พระทศพล ด้วยการวางนายขมังธนูเป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่พระเทวทัตพยายามฆ่าเรา แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตก็พยายามฆ่าเราเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่าโกสัมพิกะ ครองราชสมบัติอยู่ในพระนครโกสัมพี.
ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นไก่ ณ ป่าไผ่แห่งหนึ่งมีไก่หลายร้อยเป็นบริวารอยู่ในป่า. เหยี่ยวตัวหนึ่งอยู่ ณ ที่ใกล้ๆ กันนั้น มันใช้อุบายจับไก่กินทีละตัวๆ กินจนหมด นอกจากพระโพธิสัตว์อยู่ตัวเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท เที่ยวหาอาหารตามเวลาแล้วก็เข้าไปอยู่ ณ เชิงไผ่.

เหยี่ยวนั้นไม่อาจจับไก่พระโพธิสัตว์นั้นได้ จึงคิดว่า เราจักใช้อุบายอย่างหนึ่งล่อลวงจับไก่นั้นกินให้ได้. แล้วเข้าไปแอบอยู่ที่กิ่งไม้ใกล้ๆ กันนั้น กล่าวว่า แน่ะพญาไก่ผู้เพื่อน ท่านกลัวเราเพราะเหตุไร? เราต้องการทำความคุ้นเคยกับท่าน ประเทศชื่อโน้นสมบูรณ์ด้วยอาหาร เราทั้งสองไปหาอาหารกันที่นั้น แล้วจักอยู่อย่างมีความรักใคร่กันและกัน.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะเหยี่ยวว่า แน่ะเพื่อน เราจะมีความคุ้นเคยกะเจ้าไม่ได้ เจ้าไปเถิด. เหยี่ยวถามว่า แน่ะเพื่อน ท่านไม่เชื่อเราเพราะเราเคยทำความชั่วมาแล้ว ตั้งแต่นี้ไปเราจักไม่ทำเช่นนั้นอีก. พระโพธิสัตว์ตอบว่า เราไม่ต้องการสหายเช่นเจ้า เจ้าจงไปเสียเถิด.

พระโพธิสัตว์ห้ามเหยี่ยวทำนองนี้ถึง ๓ ครั้ง แล้วส่งเสียงขันก้องป่าว่า ใครๆ ไม่ควรทำความคุ้นเคยกับผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะเช่นนี้ ดังนี้

เมื่อเทวดาทั้งหลายพากันแซ่ซ้องสาธุการ เมื่อจะเริ่มธรรมกถา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-


บุคคลไม่พึงคุ้นเคยในคนทำบาป คนมักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญาคิดแต่ประโยชน์ตน คนแสร้งทำสงบเสงี่ยมแต่ภายนอก.

มีคนพวกหนึ่ง มีปกติเหมือนโคกระหายน้ำ ทำทีเหมือนจะกล้ำกลืนมิตรด้วยวาจา แต่ไม่ใช่ด้วยการงาน ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น.

คนพวกหนึ่ง เป็นคนชูมือเปล่า พัวพันอยู่แต่ด้วยวาจา เป็นมนุษย์กระพี้ ไม่มีความกตัญญู ไม่ควรนั่งใกล้คนเช่นนั้น.

บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อสตรีหรือบุรุษผู้มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความเกี่ยวข้องให้แจ้งชัดด้วยเหตุต่างๆ.

ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคลผู้หยั่งลงสู่กรรมอันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่นอน กำจัดคนไม่เลือกหน้า เหมือนดาบที่เขาลับแล้วปกปิดไว้ ฉะนั้น.


คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษเข้าไปหาด้วยอุบายต่างๆ ด้วยคำพูดอันคมคาย ซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งคนเทียมมิตร แม้คนเช่นนี้ก็ไม่ควรคุ้นเคย.

คนมีความคิดชั่วเช่นนั้น พบเห็นอามิส หรือทรัพย์เข้า ณ ที่ใด ย่อมคิดประทุษร้าย และครั้นได้แล้วก็ละสหายนั้นไป.


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสฺมเส แปลว่า ไม่พึงคุ้นเคย อีกอย่างหนึ่ง พระบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน มีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลไม่ควรคุ้นเคย.

บทว่า กตปาปมฺหิ คือ ในคนทำบาปไว้ครั้งแรก.

บทว่า อลิกวาทิเน คือ ไม่พึงคุ้นเคยแม้ในคนที่มักพูดเท็จ เพราะว่า ขึ้นชื่อว่าบาปที่บุคคลผู้มักพูดเท็จนั้นไม่พึงทำ ย่อมไม่มี.

บทว่า นาสฺมเส อตฺตตฺถปฺมฺหิ ความว่า บุคคลใดมีปัญญาคิดแต่ประโยชน์ตนเท่านั้น คือไม่ได้คบด้วยสามารถแห่งเสน่หา แต่มีความต้องการทรัพย์เหล่านั้นจึงคบ แม้ในบุคคลผู้มีปัญญาคิดแต่ประโยชน์ตนนั้น ก็ไม่ควรคุ้นเคย.

บทว่า อติสนฺเต ได้แก่ ในบุคคลผู้แสร้งทำสงบเสงี่ยมด้วยการแสดงความสงบในภายนอก ทั้งๆ ที่ความสงบในภายในไม่มีอยู่เลย คือในบุคคลผู้หลอกลวง ผู้ปกปิดการงาน ผู้เช่นกับอสรพิษที่ปกปิดรู.

บทว่า โคปิปาสกชาติกา คือ ราวกะมีชาติกระหายน้ำแห่งโคทั้งหลาย
อธิบายว่า เป็นเช่นกับด้วยโคที่กระหายน้ำ
พระโพธิสัตว์แสดงความนี้ไว้ว่า เปรียบเหมือนโคตัวที่กระหายน้ำลงสู่ท่า แล้วดื่มน้ำจนเต็มปาก แต่ไม่กระทำสิ่งที่ควรกระทำแก่น้ำอีกฉันใด บุคคลบางพวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำทีจะกล้ำกลืนมิตรด้วยคำอันอ่อนหวานว่า จะทำสิ่งโน้นสิ่งนี้ให้ แต่แล้วก็ไม่กระทำสิ่งที่ควรแก่คำอันไพเราะ ความคุ้นเคยในบุคคลเช่นนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายอันใหญ่หลวง.

บทว่า สุกฺขญฺชลิปคฺคหีตา คือ เป็นคนชูมืออันเปล่า. บทว่า วาจาย ปลิคุณฺ€ิตา คือ ปกปิดด้วยคำว่า จักให้จักทำสิ่งนั้น.

บทว่า มนุสฺสเผคฺคู ความว่า มนุษย์ผู้หาแก่นสารมิได้เห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นมนุษย์กระพี้.

บทว่า นาสิเท ได้แก่ ไม่ควรนั่งใกล้ คือไม่ควรเข้าไปใกล้ในบุคคลนั้นเห็นปานนี้.

บทว่า ยสฺมึ นตฺถิ ความว่า อนึ่ง ความกตัญญูไม่มีในบุคคลใด แม้ในบุคคลนั้นก็ไม่ควรนั่งใกล้.

บทว่า อญฺญญฺญจิตฺตานํ ได้แก่ผู้ประกอบด้วยจิตอันไม่แน่นอน อธิบายว่าผู้มีจิตกลับกลอก.
พระโพธิสัตว์แสดงความนี้ไว้ว่า บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อสตรีหรือบุรุษผู้เห็นปานนี้.

บทว่า นานา วิกตฺวา สํสคฺคํ พระโพธิสัตว์แสดงว่า แม้บุคคลใดกระทำความเกี่ยวข้องให้แจ้งชัด คือกระทำให้มั่นด้วยเหตุต่างๆ เพื่อจะทำอันตรายด้วยโวหารว่า ใครๆ ไม่อาจเพื่อไม่เข้าไปทำสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายแก่เขาได้. ดังนี้แล้วทำอันตรายในภายหลัง บุคคลแม้เช่นนั้นก็ไม่ควรคุ้นเคย คือไม่ควรสนิทสนม.

บทว่า อนริยกมฺมํ โอกฺกนฺตํ ได้แก่ ผู้หยั่งลงสู่กรรมของผู้ไม่ประเสริฐ คือผู้ทุศีลทั้งหลายดำรงอยู่. บทว่า อฐิตํ ได้แก่ ผู้ไม่มั่นคง คือผู้มีคำพูดอันไม่แน่นอน.

บทว่า สพฺพฆาตินํ คือ ผู้ได้โอกาสแล้วทำการกำจัดบุคคลไม่เลือกหน้า.

บทว่า นิสิตํว ปฏิจฺฉนฺนํ คือ เหมือนดาบที่ลับแล้ว ปกปิดไว้ด้วยฝักหรือเศษผ้าฉะนั้น.

บทว่า ตาทิสํปิ ความว่า บุคคลไม่ควรคุ้นเคยคนผู้มิใช่มิตรผู้เป็นคนเทียมมิตรแม้เห็นปานนี้.

บทว่า สาขลฺเยน คือ ด้วยคำพูดอันคมคาย.

บทว่า อเจตสา แปลว่า อันไม่ตรงกับน้ำใจ จริงอยู่ คำพูดของบุคคลเหล่านั้นเท่านั้นกลมกล่อม ส่วนจิตกระด้างหยาบคาย คนบางพวกในโลกนี้คอยเพ่งโทษเข้าไปหาด้วยอุบายต่างๆ.

บทว่า ตาทิสํปิ ความว่า คนใดเป็นเช่นกับด้วยคนผู้มิใช่มิตรผู้เป็นคนเทียมมิตรเหล่านั้น คนแม้เช่นนั้นก็ไม่ควรคุ้นเคย.

บทว่า อามิสํ ได้แก่ ของควรเคี้ยวและของควรบริโภค. บทว่า ธนํ ได้แก่ สิ่งของที่เหลือตั้งต้นแต่ขาเตียง. บทว่า ยตฺถ ปสฺสติ คือ เห็น ณ ที่ใดในเรือนของสหาย. บทว่า ทุพฺภึ กโรติ ได้แก่ให้จิตคิดประทุษร้ายเกิดขึ้น คือนำทรัพย์นั้นไป. บทว่า ตญฺจ หิตฺวาน คือครั้นได้ก็ละสหายแม้นั้นไป.


พญาไก่ได้กล่าวคาถา ๗ คาถาด้วยประการดังนี้ :-


พระศาสดาผู้เป็นธรรมราชาได้ทรงภาษิตอภิสัมพุทธคาถา ๔ คาถาดังนี้ว่า :-
มีคนเป็นจำนวนมาก ที่ปลอมเป็นมิตรมาคบหา บุคคลพึงละบุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย เหมือนไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น.
อนึ่ง บุคคลใดไม่รู้เท่าเหตุที่เกิดขึ้นได้ฉับพลันหลงไปตามอำนาจศัตรู บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
ส่วนบุคคลใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้ฉับพลัน บุคคลนั้นย่อมพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น.
คนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณาควรเว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มักทำการกำจัดอยู่เป็นนิตย์ เหมือนแร้วที่เขาดักไว้ในป่า เช่นนั้นเสียให้ห่างไกล เหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้นเหยี่ยว ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชเห กาปุริเส เหเต ความว่า ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตพึงละบุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย ก็ หิ อักษรในพระคาถานี้เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า ปจฺฉา จ มนุตปฺปติ คือ ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง. บทว่า กูฏมิโวฑฺฑิตํ คือ เหมือนแร้วที่เขาดักไว้ในป่าเพื่อต้องการจะให้เนื้อในป่ามาติดฉะนั้น. บทว่า นิจฺจวิธํสการินํ แปลว่า ผู้มักทำการกำจัดอยู่เป็นนิจ. บทว่า วํสกานเน แปลว่า ในป่าไผ่ นรชนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรเว้นบาปมิตร ผู้มักทำการกำจัดเสียเหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้นเหยี่ยว ฉะนั้น.


พระยาไก่นั้นครั้นกล่าวคาถาแล้ว เรียกเหยี่ยวมาขู่ว่า ถ้าเราจักอยู่ในที่นี้ เราจักตอบแทนการกระทำของเจ้า แม้เหยี่ยวก็ได้หนีจากที่นั้นไปในที่อื่น.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตก็พยายามฆ่าเราอย่างนี้ ดังนี้แล้วทรงประชุมชาดกว่า
เหยี่ยวในครั้งนั้น ได้เป็น พระเทวทัต ในบัดนี้
ส่วนพญาไก่ในครั้งนั้น ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุกกุฏชาดกที่ ๑๐

.. อรรถกถา กุกกุฏชาดก ว่าด้วย พ้นศัตรูเพราะรู้เท่าทัน จบ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... =27&i=1422

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2016, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลผู้จะอยู่เฝ้าในสังสารวัฏฏ์ไปเรื่อยๆ

ลองมองไปรอบๆ ตัวสิ จะเจอแต่ผู้ที่ต้องการเป็นบุคคลที่ต้องการเฝ้าสังสารวัฏฏ์อยู่ต่อไป ไม่ยอมที่จะทำอะไรให้เลือนระดับตนเองให้ค่อยๆ ออกจากสังสารวัฏฏ์ พูดแบบจุดเดียวแบบง่ายๆ คือจะอยู่เฝ้าโลก ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเอง ด้วยความเชื่อของตนเองเท่านั้นว่า ไม่ต้องไปทำอะไรให้มาก ใส่บาตรตอนเช้าพอ บริจาคเงินบ้างเล็กน้อยทำทานแล้วอธิษฐานให้รวยให้กิจการค้าเจริญหรือหน้าที่การงานก้าวหน้าร่ำรวย เป็นต้น ส่วนเรื่องการรักษาศีลก็ทำบ้างไม่จริงจัง และการศึกษาพระธรรม ปฏิบัติกรรมฐานนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ต้องไปทำถึงขนาดนั้น ถ้าใครบางคนบอกว่าไม่ต้องการเกิดอีกต่อไปแล้วปรารถนาจะบรรลุมรรคผลนิพพาน คนจำพวกดังกล่าวนั้นก็บอกว่าไม่ต้องไปทำตัวให้โอเว่อร์ขนาดนั้น คือเขาไม่เดือดร้อนกับการเกิดในภพชาติใดในสังสารวัฏฏ์ เพราะเข้าใจผิดว่าตายจากคนแล้วเขาจะได้เกิดเป็นคนอีกต่อไป คิดว่าอะไรๆจะแน่นอนจะเที่ยงตามที่ตนคิดเอาไว้


จึงเป็นการคิดว่าการเกิดเป็นคนอยู่ในขณะปัจจุบันชาตินี้ ชาติหน้าเขาจะได้เกิดเป็นคนอีก คิดว่าอะไรๆ มันเที่ยง ในความคิดความเชื่อของเขา จึงไม่ต่างอะไรกับการที่ต้องการจะอยู่เป็นผู้เฝ้าโลกต่อไป เป็นผู้ที่คิดจะอยู่เป็นผู้อยู่เฝ้าโลกต่อไปไม่สิ้นสุด ถ้าอยู่เฝ้าโลกมนุษย์ได้แน่นอน ก็คงไม่ลำบากเท่าไหร่ แต่ถ้าไปเฝ้านรกล่ะ จะทรมานและลำบากสักเท่าไหร่


ทำให้นึกขึ้นได้ว่า พระสงฆ์ที่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแผ่นดินสยามนี้ครั้งแรก ท่านได้แสดงพระสูตรแรกคือ พรหมชาลสูตร เพื่อให้ผู้ฟังได้มีมิจฉาทิฏฐิที่เบาบางลงนั่นเอง

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2016, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

ขอนำข้อความบางตอนจาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส มาแสดงค่ะเป็นบรรยากาศในนรก อ่านแล้วก็น่าสะพรึงกลัวดี
ไม่น่าไปเลยสักนิด ก็พยายามทำตัวเองกันให้ห่างจากความเดือดร้อนในภพชาติต่อไปกันนะคะ


พวกนายนิรยบาลเหวี่ยงสัตว์นั้นลงในนรก.ก็แหละนรกนั้นเป็นมหานรก

สี่เหลี่ยม มีสี่ประตู อันบาปกรรมจัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ
มีกำแพงเหล็กกั้นไว้เป็นที่สุด ปิดครอบด้วยแผ่นเหล็ก มี
พื้นล้วนเป็นเหล็กไฟลุกโคลงอยู่ แผ่ไปร้อยโยชน์โดยรอบ
ตั้งอยู่ทุกสมัย. นรกใหญ่ ร้อนจัด มีเปลวไฟรุ่งโรจน์ ยากที่จะ
เข้าใกล้ น่าขนลุก น่ากลัว มีภัยเฉพาะหน้า มีแต่ทุกข์.
กองเปลวไปตั้งขึ้นแต่ฝาด้านหน้า เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรม
ลามก ผ่านไปจนจดฝาด้านหลัง. กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝา
ด้านหลัง เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไปจดฝาด้านหน้า.
กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านใต้ เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก
ผ่านไปจนจดฝาด้านเหนือ. กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านเหนือ
เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไปจนจดฝาด้านใต้. กอง
เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านล่าง น่ากลัว เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรม
ลามก ผ่านไปจนจดฝาปิด. กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาปิด
น่ากลัว เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไปจนจดด้านพื้น
ล่าง. แผ่นเหล็กที่ไฟติดทั่ว แดงโชน ไฟโพลง ฉันใด
อเวจีนรกข้างล่าง ก็ปรากฏแก่สัตว์ที่เห็นอยู่ในข้างบน
ฉันนั้น. เหล่าสัตว์ในอเวจีนรกนั้นชั่วช้ามาก ทำกรรมชั่วมาก
มีแต่กรรมลามกอย่างเดียว ถูกไฟไหม้อยู่แต่ไม่ตาย. กาย
ของเหล่าสัตว์ที่อยู่ในนรกนั้นเสมอด้วยไฟ. เชิญดูความ
มั่นคงของกรรมทั้งหลายเถิด. ไม่มีเถ้า แม้แต่เขม่าก็ไม่มี.
เหล่าสัตว์วิ่งไปทางประตูด้านหน้า (ที่เปิดอยู่) กลับจากประตู
ด้านหน้าวิ่งมาประตูด้านหลัง วิ่งไปทางประตูด้านเหนือ
กลับจากประตูด้านเหนือวิ่งมาทางประตูด้านใต้. แม้จะวิ่งไป
ทิศใดๆ ประตูทิศนั้นๆ ก็ปิดเอง. สัตว์เหล่านั้นหวังจะ
ออกไป แสวงหาทางที่จะพ้นไป แต่ก็ออกจากนรกนั้นไป
ไม่ได้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย. ด้วยว่ากรรมอันลามก สัตว์
เหล่านั้นทำไว้มาก ยังมิได้ให้ผลหมด ดังนี้.

ทุกข์โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร? เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะเหตุแห่งความยินดี
เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดีของสัตว์นั้น.

ทุกข์อันมีในนรกก็ดี ทุกข์อันมีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ทุกข์อันมีในเปรตวิสัยก็ดี
ทุกข์อันมีในมนุษย์ก็ดี เกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว
เพราะเหตุอะไร? ทุกข์เหล่านั้น ย่อมมี ย่อมเป็น ย่อมเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ
ย่อมปรากฏ เพราะเหตุแห่งความรัก เพราะเหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด
และเพราะเหตุแห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดีของสัตว์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์
นี้เป็นไปตามความรักย่อมปรากฏ.

ฯลฯ

อ่านต่อที่นี่ค่ะ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r ... 1%C3%D1%A1

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2016, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหาชื่อวิสัตติกา ในคำว่า วิสตฺติกา นี้ เพราะอรรถว่ากระไร? เพราะอรรถว่าแผ่ไปว่ากว้างขวาง ว่าซึมซาบไป ว่าครอบงำ ว่านำพิษไป ว่าให้กล่าวผิด ว่ามีรากเป็นพิษ ว่ามีผลเป็นพิษ ว่ามีการบริโภคเป็นพิษ.

เอาข้อความนี้มาจากพระสูตรเดียวกันกับโพสที่แล้วนั้นแหละค่ะ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r ... 1%C3%D1%A1

ความรักเกิดขึ้นกับใครไม่ว่าวัยใด ย่อมหลงงมงาย ไม่สามารถเข้าสู่เส้นทางที่รับรู้ในความเป็นจริงของชีวิตได้ ปิดบังสภาวะของความจริงที่ปรากฏ บางคนก็วนเข้าสู่อดีตว่า เคยทำกรรมร่วมกันมา ชาตินี้ถึงได้มาเจอกันถึงต้องมาหวานอมขมกลืนกับคนๆ นี้ ...แต่ได้โปรดลืมตาดูค่ะ นี่มันเป็นเวลาปัจจุบันที่สำคัญ พระพุทธองค์ให้ความสำคัญกับขณะปัจจุบันนี้เป็นที่สุด อย่าเอาอดีตมาผูกโยงกับตนเองเพื่อเป็นข้ออ้างคบกับคนไม่ดี เป็นการเปิดโอกาสปล่อยให้อกุศลวิปากทำงาน เมื่อเราเปิดรับความทุกข์มีหรือที่เราจะไม่ทุกข์ แค่เพียงเราไม่เดินเข้าไปเกี่ยวข้อง เราก็ไม่ต้องเจอกับความทุกข์ เมื่อเจอคนไม่ดีให้หนีให้ไกล มงคล ๓๘ คือไม่คบคนพาล พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญเรื่องคบคนเป็นอันดับแรก คือไม่คบคนพาล คนพาลมีลักษณะอย่างไร ง่ายๆ เลย เขาพูดจาอย่างไรกับเราบ้าง เช่น พูดไม่ให้เกียรติเรา พูดให้เราทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ ขอแต่ทรัพย์สินเงินทองจากเรามั้ย เป็นต้น ดังนั้นเราควรมีสติ คิดไตร่ตรองในเวลาพูดคุยกันกับเค้า ว่า คนๆ นี้ใช่คนดีหรือไม่ มีสติให้มาก อย่าหลงไปกับคำพูดของคนไม่ดี ถ้าใจบอกว่าคนๆ นี้ไม่ดี ให้หนีให้ห่างค่ะ อย่าเอาคำสวยหรูทีใช้กันผิดๆ ว่าเป็นบุพเพสันนิวาส หรือเคยเป็นคู่กันมาในอดีตจึงได้มารักกัน อย่าเอาเหตุการณ์ในปัจจุบันไปไว้กับคำที่ฮิตที่ติดปากผิดๆ อย่าเอาเหตุการณ์ปัจจุบันไปล่ามโซ่ไว้กับอดีตชาติที่คิดคาดเดาเอา เอาเหตุการณ์ปัจจุบันเป็นหลัก ถ้าได้รักกับคนไม่ดี คนเลว จะดีหรือไม่สำหรับชีวิตของเราที่จะได้รับความทุกข์ บางคนถึงขนาดหมดตัว เสียชีวิต และจะดีหรือไม่ สำหรับความทุกข์ที่เราหยิบยื่นให้กับคนที่รักเราอย่างแท้จริงเช่น พ่อแม่ ญาติๆที่รักเรา ต้องมาทุกข์ไปกับเราด้วย

มีสิ่งใด ก็ต้องทุกข์เพราะสิ่งนั้น
ยิ่งมีคู่เป็นผู้ชายเฮงซวยแบบคนๆ นี้ รับประกันได้เลยว่า เราก็ต้องเป็นทุกข์เพราะผู้ชายคนนี้แน่นอน

เมื่อรู้ว่ากองไฟนั้นลุกโชนอยู่ตรงหน้า แล้วใยเล่า เราถึงจะโง่เดินเข้าไปให้ไฟมันเผา
ว่างนักหรือถึงเดินเข้ากองไฟ ไปให้ไฟมันเผาเล่น

มองความจริงให้เห็น มองด้วยความยุติธรรม อย่าเข้าข้างตนเองแล้วจะปลอดภัยค่ะ
เป็นห่วงเพื่อนผู้หญิงโสดทุกท่าน ทุกวันนี้พวกคนชั่วมักจะมาในสารพัดรูปแบบเพื่อหลอกลวง ต้มตุ๋น ระวังๆ กันไว้ด้วยค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ใกล้เกลือกินด่าง

ในอาหารมื้อกลางวัน เคยหรือไม่คะ ที่ไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วเราสั่งราดหน้า แต่เพื่อนสั่งข้าวผัด
พออาหารมาเสริฟ แล้วเราก็ชะเง้อมองข้าวผัดของเพื่อน ในใจก็คิดว่าน่ากินกว่าราดหน้าของเรา ส่วนเพื่อนก็ชะเง้อมองราดหน้าของเรา ในใจก็คิดว่าน่ากินกว่าข้าวผัด อย่าเป็นคนอย่างนั้น จงพอใจและมีความสุขกับอาหารที่อยู่ตรงหน้า แล้วชีวิตของเราจะไม่ขาดทุน วันหน้าเราสั่งอาหารอย่างอื่นมากินบ้างก็ได้ค่ะ

ยกตัวอย่างมานี้ เพราะมีบางท่านเสพกุศลที่อยู่ตรงหน้า แต่ไปยกย่องกุศลที่คนอื่นทำแตกต่างออกไป
แล้วมีมานะเกิดว่า "กุศลที่เราทำอยู่นี้ไม่ดีเท่าของเขาทำ" กุศลดีหมดแต่ว่าที่ทำตรงหน้านี้ทำให้ได้ดีแล้วหรือยังเท่านั้นแหละ ให้ทำกุศลที่กำลังกระทำอยู่ตรงหน้านี้ให้ดีที่สุด แล้วถ้าจะไปทำกุศลแบบที่คนอื่นเขาทำอยู่นั้น ก็ดีค่ะเดินหน้าไปทำเลยค่ะเมื่อมีโอกาสมาถึงแล้วทำได้ ถ้ารู้ว่าเราไม่สามารถทำได้หรือแม้แต่เราคิดว่าเราก็น่าจะทำได้ก็ตาม ณ ขณะเวลานั้นก็ให้ตั้งใจอนุโมทนาบุญกับกุศลที่คนอื่นเขาทำนั้นด้วยจิตที่โสมนัส แต่อย่าเอามาเปรียบเทียบกับกุศลที่ตนกำลังกระทำอยู่ แล้วน้อยอกน้อยใจว่าเราทำได้ไม่ดีเท่าเขาทำ ควรตั้งใจทำกุศลของเราขณะนั้นให้ดีให้สำเร็จ และก็อย่าลืมอนุโมทนาบุญกับกุศลที่่คนอื่นทำด้วยค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2017, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


"ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา"
นิราศภูเขาทอง.... สุนทรภู่


หลายวันมานี้ รู้สึกซึ้งถึงบทกลอนนี้ได้อย่างชัดเจน เพราะเห็นการพูดของคนอื่นที่มาจากจิตที่เป็นอกุศล
ก็ย้อนมาคิดว่า เราควรระวังคำพูดให้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะว่าเราฟังเขาพูดออกมานี่ เรายังไม่ชอบคำพูดของเขา คำพูดของคนนี้สำคัญมาก พูดแล้วพูดเลย แก้ไขอะไรไม่ได้ ไม่ใช่สิ่งของที่ขว้างทิ้งแล้ววิ่งไปเก็บกลับมาใหม่ได้ ไม่ใช่ตัวหนังสือที่เขียนด้วยดินสอ เขียนผิดเอายางลบลบออกได้ แต่สิ่งที่เราพูดนั้นเปรียบแล้วจะยิ่งกว่าน้ำที่ราดลงดินเสียอีก น้ำที่ราดลงดินซึมลงดินแล้วยังเหลือร่องลอยที่ดินเปียกแฉะ แต่คำพูดที่ไม่ดีที่เปล่งออกไปนั้นไม่มีร่องลอยปรากฏให้เห็น คงมีแต่ความแค้นล้วนๆที่ไปตราตรึงใจคนฟัง ด้วยคำพูดที่ไม่จริงบ้าง ด้วยคำพูดเสียดสีบ้าง ด้วยคำพูดเล่นหยอกล้อบ้าง แม้แต่สิ่งที่พูดนั้นจะเป็นความจริงบางทีก็ไม่ควรพูดออกไปในบางครั้ง เพราะพูดแล้วนั้นมันก็อาจจะย้อนกลับมาทำลายผู้พูดในภายหลังก็ได้

ยิ่งเรื่องไม่จริงยิ่งต้องไม่พูดเลยดีที่สุด เพราะพูดโกหกตายตกนรกต้องจำให้ขึ้นใจ พูดไปตัวเรานี่แหละจะต้องตกนรกไม่ใช่ใครที่ต้องลงนรก พูดทิ่มแทงใจคน คำพูดที่เสียดสีด้วยความริษยา จะพูดทำไม? เพราะพูดแล้วคนเกลียดเรา นึกถึงคำพูดที่ญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งท่านเคยสอนเราตอนเด็กๆ ว่า พูดให้คนรักดีกว่าพูดแล้วให้คนเกลียด พอมาเรียนพระอภิธรรมก็คิดต่อว่า พูดแบบให้คนทั้งไม่เกลียดและไม่รักดีที่สุด

ในศีล ๕ ข้อ ศีลข้อ ๔ นี้ทำยากมากในสังคม เพราะอุปกรณ์การทำครบและพร้อมอยู่ในรูปนามขันธ์๕ของเราเสมอ ถ้าจะผิดศีลข้อ๑ ยังต้องมีสัตว์ที่อยู่ตรงหน้าถึงจะฆ่าได้สำเร็จ ผิดศีลข้อ๒ ก็ยังต้องมีสิ่งของของคนอื่นให้ขโมย ผิดศีลข้อ๓ ก็ยังต้องมีคนอื่นมาเกี่ยวข้องถึงจะล่วงละเมิดทำผิดได้ ผิดศีลข้อ๕ ก็ต้องเดินไปหยิบสุราไปหาซื้อสุรา หรือมีคนเอาสุรามาตั้งให้ดื่ม คือศีลทั้ง ๔ ข้อยกเว้นข้อมุสาฯ ศีลข้อนี้ต้องมีสิ่งต่างๆเข้ามาเป็นอุปกรณ์เป็นเครื่องมือให้ทำผิดศีล

แต่ศีลข้อ ๔ คือข้อมุสาฯนั้นมีอุปกรณ์ติดอยู่ในตัวเราพร้อมกันส่วนมากทุกคนให้ทำผิดได้ในทุกวินาที มีขันธ์๕ ที่ดำรงอยู่นั้นพร้อมเสมอที่จะผิดศีล จึงเป็นข้อที่อันตรายมาก เพราะอุปกรณ์พร้อมทำผิดเสมอในขันธ์๕ของแต่ละคน ส่วนใครจะทำผิดน้อยหรือมาก ก็ขึ้นอยู่กับสติที่เกิดทันมั้ย ถ้าไม่ทันก็ทำไป หรือสติมีกำลังน้อยก็พ่ายแพ้กิเลสไป ส่วนใครที่ถูกอบรมมาดีก็มีสติเกิดยับยั้งทันก็เพราะฟังคำสั่งสอนมาดี ใครฝึกสติมาดีก็ยับยั้งทันเวลา ใครที่คิดใคร่ครวญถึงสิ่งใดเกิดประโยชน์ไม่เกิดประโยชน์ได้ก็หยุดการพูดไม่ดีไปได้ ก็รอดไป ซึ่งล้วนแต่มีสติเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น แต่จะรู้หรือไม่รู้ว่ามีสติเกิดขึ้นมาหรือไม่เท่านั้นแหละ เพราะคนปกติเมื่อจะพูดอะไรไม่ดีออกมาก็หยุดคิดแล้วก็บอกตัวเองว่า อย่าพูดออกไปดีกว่า คือสติทำให้หยุด แล้วคิดไตร่ตรองก่อนจะพูด ก็จะหยุดพูดสิ่งไม่ดีออกไป

จึงมีคำพูดเตือนสติคนมากมายออกมา เช่น ไม่ต้องพูดทุกอย่างที่คิดก็ได้
การพูดน้อย การประหยัดคำพูดก็ดี เช่น พูดน้อยก็ผิดน้อย พูดมากก็ผิดมาก
การสำรวมตนในทุกสถานที่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สำรวมไว้สม่ำเสมอทำได้มากที่สุด ก็ขาดทุนน้อยที่สุด

สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ประโยชน์ของพระพุทธศาสนา การพูดเพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอน การพูดเพื่อรักษาพระศาสนา การพูดเพื่อปกป้องพระศาสนา คำพูดเหล่านี้เกิดประโยชน์ก็จำเป็นต้องพูดและพูดให้ถูกกาลเวลาด้วยว่า เวลาไหนสมควรพูดและเวลาไหนไม่สมควรพูดค่ะ ไม่ใช่นิ่งเป็นเบื้อดูคนทำลายพระศาสนา เพราะกลัวตัวเองมีอกุศลเกิด คำพูดที่รักษาปกป้องพระศาสนาเป็นกุศลค่ะ เพราะเห็นคนเฉยกันเยอะเรื่องปกป้องพระศาสนา เพราะคิดกันผิดที่ผิดทางผิดเวลา ก็นิ่งเฉยปล่อยให้ศาสนาถูกย่ำยีไปด้วยน้ำมือของมารศาสนา มารศาสนาที่เปรียบไปก็คือลัทธิใหม่ที่เลียนแบบคำสอนพระพุทธเจ้า คนที่ดูออกเท่าทันก็ต้องช่วยกันเตือนคนที่เข้าใจผิดหลงผิดไปด้วย ไม่ใช่ทำธุระไม่ใช่ ชั้นต้องทำกุศลของชั้นต่อไป อะไรอื่นไปยุ่งเดี๋ยวอกุศลเกิด คนแบบนี้คือคนเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวนี้ไม่ได้นำพาคนพวกนี้สู่ความสำเร็จอย่างที่หวังไว้อย่างแน่นอนค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2017, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.


สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๓๒
กลับมาประทับโคนต้นไทร ท้อพระทัยในอันโปรดสัตว์ สหัสบดีพรหมต้องทูลวิงวอน

ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะหรือไม้เกดครบ ๗ วันแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่
ประทับ กลับไปประทับอยู่ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธหรือต้นไทร ซึ่งเคยเสด็จไปประทับหนหนึ่งมาแล้ว ครั้ง
นี้นับเป็นสัปดาห์ที่ ๕

ระหว่างที่ประทับอยู่ ณ ที่นี่ พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา ทรง
เห็นว่า เป็นธรรมที่มีความหมายสุขุมละเอียด ก็ทรงบังเกิดความท้อพระทัยว่า จะมีใครสักกี่คนที่จะฟัง
ธรรมของพระองค์รู้เรื่อง พระทัยหนึ่งจึงเกิดความมักน้อยว่าจะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย
ท่านผู้รจนาคัมภีร์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ได้แต่งเรื่องสาธกให้เห็นเป็นปุคคลธิษฐานประกอบเข้า
ในตอนนี้ว่า พระดำริของพระพุทธเจ้าเรื่องนี้ได้ทราบไปถึงท้าวสหัมบดีพรหมในเทวโลก ท้าวสหัมบดีพรหม
จึงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงเปล่งศัพท์สำเนียงอันดังถึงสามครั้งว่า "โลกจะฉิบหายในครั้งนี้"

ปฐมสมโพธิว่า "เสียงนั้นก็ดังแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ ท้าวสหัมบดีพรหมจึงพร้อมด้วยเทวา
คณานิกรลงมากราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรม"

ตอนท้าวสหัมบดีพรหมลงมาทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลกนี้ กวี
ท่านแต่งเป็นอินทรวงศ์ฉันท์ภาษาบาลีไว้ว่า

"พรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ"
แปลว่า "ท้าวสหัสบดีพรหม ประณมกรกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐว่า
สัตว์ในโลกนี้ ที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือชาว
โลกเทฮญ"

ต่อมาภาษาบาลีที่เป็นฉันท์บทนี้ ได้กลายเป็นคำสำหรับอาราธนาพระสงฆ์ในเมืองไทยให้
แสดงธรรมมาจนทุกวันนี้
_________________________________________

:b8: :b8: :b8:
http://www.84000.org/tipitaka/picture/f32.html


ทำได้ กับ ได้ทำ

การที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องสั่งสมกันยาวนานในสังสารวัฏฏ์

คนที่ว่าทำง่ายๆ ก็เพราะแค่ได้ทำเท่านั้น แล้วก็ยังคงล่องลอยอยู่ในสังสารวัฏฏ์นี้ต่อไปไม่จบไม่สิ้น เพราะอยู่กับคำว่าของง่ายๆ ก็เลยทำแค่ง่ายๆ ไม่คิดจะดั้นด้นไปทำของยาก ส่วนอะไรที่ยากๆก็ว่าอย่าไปทำเพราะว่าไม่จำเป็น ก็วนกันต่อไปค่ะ

แต่ท่านที่ทำได้นั้น ก็บอกว่า เส้นทางที่ผ่านมานี้แลกด้วยชีวิต จะกี่ภพกี่ชาติที่ผ่านมา ต้องทำอะไรที่ยากเย็นแสนเข็ญนานับประการ ฟันฝ่าเพื่อไปสู่เส้นทางที่สำเร็จ ทั้งสั่งสมปัญญาในฝ่ายปริยัติและปฏิบัติ
การทำงานหนักเพื่อให้เข้าถึงให้รู้จริง แก้ไขทั้งทิฏฐิสัญญาและปฏิบัติให้เข้าถึงเส้นทางโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ไม่ใช่ของง่ายๆ ต้องแลกด้วยชีวิตก็ต้องยอม เส้นทางสายการปฏิบัตินี้เดินไปไกลแล้วแต่ก็ยังไปไม่่ถึง ซ้ำยังตีกลับมาเริ่มนับ ๑ ใหม่อีกซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ยังคงสู้ต่อไปให้สำเร็จให้ได้วันใดก็วันหนึ่ง ชาติใดก็ชาติหนึ่ง ต้องถึงความสำเร็จให้ได้

แต่จะยากสักเท่าใด มนุษย์ก็สามารถดำเนินตามเส้นทางนั้นได้ด้วยการยกเอา อิทธิบาท ๔ ขึ้นมาเป็นประธาน แล้วดำเนินไปตามเส้นทางนั้นอย่างทุ่มเท อะไรที่ยากต้องเข้าไปฟันฝ่าต้องเข้าไปทำให้สำเร็จ ไม่มีอะไรที่ไม่สำคัญ สำคัญและต้องทำให้ได้ ทั้งฝ่ายปริยัติและปฏิบัติต้องแลกมาด้วยชีวิตจริงๆ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2017, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้อ่านพระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘๕
ปรมัตถทีปนี อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน หน้า ๔๗๕ดังนี้ค่ะ

เล่ากันมาว่า หญิงคนหนึ่งต้องการจะผูกคอตาย จึงห้อยเชือก
ไว้ที่ต้นไม้ จัดแจงของที่ควรจัดอยู่ ทีนั้นโจรคนหนึ่ง คิดว่าตอน
กลางคืนเราเข้าไปยังเรือนนั้น แล้วจักเอาเชือกเส้นนี้มัดสิ่งของบาง
อย่างแล้วลักไป จึงเอามีดเข้าไปตัด ลำดับนั้นเชือกนั้นได้กลายเป็น
งูพิษขู่แล้ว โจรกลัวไม่กล้าเข้าไป หญิงนั้นออกจากเรือน สอดคอเข้า
ไปในบ่วงเชือกผูกคอตายแล้ว พลวเจตนาห้ามเสีย ซึ่งอันตรายแล้ว
เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบากของตนด้วยประการฉะนี้.

:b8: :b8: :b8:

พลวเจตนาห้ามเสีย คำๆ นี้คือเจตนาในการผูกคอตายของหญิงคนนี้มีกำลังมากเสียจนห้ามอุปสรรคได้
ถ้าโจรมาตัดเชือกไปได้ ก็เป็นอุปสรรคต่อการตายของนาง พลวเจตนาของนางจึงห้ามอุปสรรคต่างๆเสีย
ทำให้โจรเห็นเชือกกลายเป็นงูพิษ โจรจึงไม่สามารถตัดเอาเชือกไปได้ เพราะถ้าโจรตัดเชือกเอาไปได้
หญิงคนนี้ก็ผูกคอตายไม่สำเร็จ คือยับยั้งการตายของหญิงคนนี้ไปได้ในขณะนั้น

จึงจะเห็นได้ว่าคนที่ฆ่าตัวตายกันได้สำเร็จนั้น เจตนาของคนๆนั้นต้องมีกำลังมากจนอะไรก็ฉุดไม่อยู่จริงๆ
ดังนั้นคนที่ทราบเหตุการณ์จะบอกว่า ทำไมคนตายไม่คิดอย่างโน้นไม่คิดอย่างนี้ จะได้ไม่ฆ่าตัวตาย
เมื่อก่อนนี้เราเองก็คิดแบบนี้คือ ทำไมไม่รักชีวิต ชีวิตมีค่า บลาๆๆๆ ก็ว่ากันไป
เป็นเราๆ ก็พูดได้เพราะเราไม่ได้อยู่ในจุดที่พลวเจตนาห้ามเสีย คือพลวเจตนาที่จะตายนี้ห้ามทุกอย่างที่สามารถช่วยชีวิตได้ ไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคต่อการตายในครั้งนี้ แต่ถ้าวันหนึ่งเราถึงจุดๆ นี้ เราเองก็ตายได้เช่นเดียวกัน

อ่านแล้วก็น่ากลัวมากว่า พอถึงจุดที่สูงสุดแล้ว เป็นพลวเจตนา อะไรๆ ก็ฉุดไม่อยู่
ดังนั้น เราอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคซึมเศร้า คนที่กลัดกลุ้มเพราะอะไรก็แล้วแต่ เราต้องพยายามเหนี่ยวรั้งเขาไว้อย่างแยบยล ให้เขาไม่คิดถึงเรื่องตาย เพื่อไม่ให้ไปถึงจุดนั้น จุดที่อะไรๆ ก็เอาไม่อยู่แล้ว
หาวิธีเบนความสนใจ ไม่ให้เขาคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย ในจุดที่เขายังพอห้ามได้เรารู้เราต้องรีบแก้ไข
ถ้าปล่อยให้เลยไปจนถึงจุดที่แก้ไขไม่ได้ รับรองได้ว่า ตายแน่นอน เพราะเขาต้องพยายามกระทำตามแรงเจตนาที่มีกำลังมากของเขาให้สำเร็จจนได้ในวันใดวันหนึ่ง ถึงวันนี้ห้ามการตายของเขาได้สำเร็จ แต่วันหน้าถ้าเราเผลอเมื่อใด เมื่อนั้นเขาต้องพยายามฆ่าตัวตายอีก คืออย่างไรเสียพลวเจตนาต้องทำหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงภารกิจให้จงได้คือ การตาย

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

พลว อ่านว่า พะ ละ วะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2018, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2019, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร