วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 09:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 120 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางกลุ่มไม่ชอบสมถะ บางกลุ่มไม่ชอบฌาน แต่ชอบสมาธิ ชอบวิปัสสนา ถกเถียงกันเรื่องชื่อของมัน
แต่หารู้ไม่ว่า คำว่าสมถะก็ดี คำว่าฌานก็ดี มันก็คือสมาธินั่นเอง แล้วก็วิปัสสนา มันก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 19:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
บางกลุ่มไม่ชอบสมถะ บางกลุ่มไม่ชอบฌาน แต่ชอบสมาธิ ชอบวิปัสสนา ถกเถียงกันเรื่องชื่อของมัน
แต่หารู้ไม่ว่า คำว่าสมถะก็ดี คำว่าฌานก็ดี มันก็คือสมาธินั่นเอง แล้วก็วิปัสสนา มันก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นฐาน


ก็ยังโง่อยู่ดีครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
บางกลุ่มไม่ชอบสมถะ บางกลุ่มไม่ชอบฌาน แต่ชอบสมาธิ ชอบวิปัสสนา ถกเถียงกันเรื่องชื่อของมัน
แต่หารู้ไม่ว่า คำว่าสมถะก็ดี คำว่าฌานก็ดี มันก็คือสมาธินั่นเอง แล้วก็วิปัสสนา มันก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นฐาน


ก็ยังโง่อยู่ดีครับ



ยังงั้นว่าโง่ ทำยังไงฉลาดก็ว่ามา :b1: เชิญ เพราะเท่าที่ดูยูเซอร์นี่้ ยังไม่เคยเห็นพูดอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเป็นสาระเลยนะ คิกๆๆ เห็นพอฟังได้ก็หัวร้อนด่านั่นแหละ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เนื้อแท้ของฌาน ก็ได้แก่ ภาวะของจิตที่มีสมาธินั่นเอง หรือตัวสมาธินี่แหละ

แม้แต่คำว่า สมถะ หรือเนื้อแท้สมถะ ก็คือสมาธินั่นเอง

สมถะ แปลว่า ความสงบ แต่ที่ใช้ทั่วไป หมายถึงวิธีทำใจให้สงบ ขยายความว่า ได้แก่ ข้อปฏิบัติต่างๆในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ จุดมุ่งหมายของสมถะ คือ สมาธิ ซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูงที่ทำให้เกิดฌาน

หลักการของสมถะ คือ กำหนดจิตไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เรียกว่า อารมณ์) ให้แน่วแน่จนจิตน้อมดิ่งอยู่ในสิ่งนั้น ความแน่วแน่หรือตั้งมั่นของจิตนี้ เรียกว่า “สมาธิ” เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่า “ฌาน”


เมื่อใช้อย่างหลวมๆ หรือพูดอย่างกว้างๆ สมถะ ก็คือ การทำใจให้สงบ หรือ การทำจิตให้เป็นสมาธิ และบางคราวก็หมายถึงตัวสมาธินั่นเอง


ว่าตามความจริง ความหมายของสมถะที่ว่า คือ ตัวสมาธินี้แหละ เป็นความหมายที่ตรงตามหลักวิชาทั้งฝ่ายอภิธรรมและฝ่ายพระสูตร * เพราะไม่ว่าจะเจริญสมถะ เป็นผลสำเร็จสูงสุดพิเศษเพียงใดก็ตาม เนื้อแท้ของสมถะ หรือตัวสมถะ หรือแก่นของสมถะที่ให้ผลเช่นนั้น ก็คือสมาธินั่นเอง

........

ที่อ้างอิง *

-ทางฝ่ายอภิธรรม เช่น อภิ.สํ. 34/253/96; 332/90; 206/85 ฯลฯ ทางฝ่ายพระสูตร เช่น องฺ.ทุก. 20/275/77 อธิบายใน องฺ.อ.2/33 และใน องฺ.ฉกฺก. 22/325/418 เมื่อกล่าวถึงอินทรีย์ ๕ ท่านใช่คำว่า สมถะ แทน สมาธิ และ วิปัสสนา แทน ปัญญา โดยตรงทีเดียว เป็น สัทธา สติ วิริยะ สมถะ วิปัสสนา แทนที่จะเป็น สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อย่างความในร้อยแก้วตามปกติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา แปลว่า การเห็นแจ้ง หรือวิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง หมายถึง ข้อปฏิบัติต่างๆในการฝึกฝนอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ขัดสิ่งทั้งหลาย ตรงต่อสภาวะของมัน คือ ให้เข้าใจตามความเป็นจริง หรือตามที่สิ่งเหล่านั้นมันเป็นของมันเอง (ไม่ใช่เห็นไปตามที่เราวาดภาพให้มันเป็น ด้วยความชอบ ความชัง ความอยากได้ หรือความขัดใจของเรา) รู้แจ้งชัดเข้าใจจริง จนถอนความหลงผิด รู้ผิด และยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ ถึงขั้นเปลี่ยนท่าทีต่อโลกและชีวิตใหม่ ทั้งท่าทีแห่งการมอง การรับรู้ การวางจิตใจ และความรู้สึกทั้งหลาย


ความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในระหว่างการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ญาณ มีหลายระดับ ญาณสำคัญในขั้นสุดท้าย เรียกว่า วิชชา เป็นภาวะตรงข้ามที่กำจัดอวิชชา คือ ความหลงผิดไม่รู้แจ้งไม่รู้จริงให้หมดไป


ผู้ปฏิบัติสมถะ (สำนวนแบบเรียกว่า บำเพ็ญ หรือเจริญสมถะ) อาจทำแต่สมถะอย่างเดียว ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาเลยก็ได้ เรียกว่า หยุดอยู่เพียงขั้นสมาธิ ไม่ก้าวไปถึงขั้นปัญญา


แต่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ต้องอาศัยสมถะไม่มากก็น้อย คือ อาจเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้ว จึงก้าวต่อไปสู่วิปัสสนา คือเอาฌานเป็นบาทของวิปัสสนา ก็ได้ อาจเริ่มเจริญวิปัสสนาไปก่อนแล้ว จึงเจริญสมถะตามหลัง ก็ได้ หรืออาจเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป ก็ได้


แม้แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่า เจริญแต่วิปัสสนาอย่างเดียวล้วน ไม่อาศัยสมถะเลย ก็หมายถึง ไม่อาศัยสมถะในความหมายโดยนิปริยาย หรือความหมายจำเพาะที่เคร่งครัด คือ ไม่ได้ทำสมถะจนได้ฌานก่อนเจริญวิปัสสนา แต่ตามความเป็นจริงก็อาศัยสมถะในความหมายอย่างกว้างๆ คือ อาศัยสมาธิ นั่นเอง ก็ได้ แต่เมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้น จะแน่วแน่สนิท ถึงระดับปฐมฌาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะ และในวิปัสสนา หากพูดเปรียบเทียบ ระหว่างบทบาทของสติในสมถะ กับ ในวิปัสสนา อาจช่วยให้เข้าใจชัดเจนขึ้น

ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น นิ่งสงบไม่ส่าย ไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น เป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ ก็เรียกว่าเป็นสมาธิ และเพียงเท่านี้ สมถะก็สำเร็จ

ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ให้แก่จิต หรือดึงจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์ เพื่อเสนออารมณ์นั้นให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือ จับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู และวิเคราะห์วิจัย โดยใช้จิตที่ตั้งมั่น เป็นที่ทำงาน (ใช้จิตที่เป็นสมาธิเป็นที่ทำงาน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาอีกหน่อย เช่น ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบจำเพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด
ส่วนในวิปัสสนา สติตามกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้ ไม่จำกัดขอบเขต

ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย
ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณา และอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมด ใน ร่างกาย เวทนา จิต ธรรม หรือ ในนามและรูป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่ากันว่า จิตที่เป็นสมาธิจะควบคุมกลไกต่างๆในร่างกาย ร่างกายของผู้ที่อยู่ในสมาธิจะใช้พลังงานน้อยมาก ซึ่งเรื่องนี้ได้มีหลักฐานยืนยันจากงานวิจัยของ ดร.เฮอร์เบิร์ต เบนสัน ศาสตราจารย์ทางอายุรศาสตร์แห่งโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาด ผู้ซึ่งได้เคยไปศึกษาพุทธศาสนาในอินเดีย และทิเบต
จากการได้ศึกษาด้วยตนเอง เขาได้พบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการที่จิตเริ่มนิ่ง จึงได้ตั้งสมมติฐานว่า สมาธิมีผลในเชิงบวกต่อร่างกาย
เมื่อกลับไปอเมริกา จึงเริ่มทำการวิจัยเรื่องผลของสมาธิที่มีต่อร่างกายอย่างเป็นเวลากว่าสามสิบปี ผลจากการวิจัยพบว่า เมื่ออาสาสมัครผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยได้ทำสมาธิ อัตราการเต้นของหัวใจจะช้าลง ความดันโลหิตลดลง คลื่นสมองช้าลง และมีความเป็นระเบียบขึ้น
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายผ่อนคลายลง และการเผาผลาญอาหารในร่างกายก็ลดลงด้วย นี่คือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ตอบว่า เพราะเหตุใดผู้ทำสมาธิจึงมีความต้องการอาหารน้อย หรือไม่ต้องการอาหารเลย
การค้นพบในครั้งนั้น นำไปสู่การค้นคว้าเรื่องสมาธิกับร่างกายมนุษย์ในทางการแพทย์อีกมากมาย

แพทย์แผนปัจจุบันยอมรับว่า จิตใจและร่างกายมีความสัมพันธ์กันจริง และสมาธิมีผลต่อการรักษาโรค คือช่วยรักษาโรคได้ เพราะสมาธิทำให้จิตใจ และร่างกายผ่อนคลายจนระบบต่างๆในร่างกายจะทำงานช้าลง
เมื่อร่างกายผ่อนคลายไม่เครียด อัตราการป่วยก็จะต่ำ หรือในกรณีที่ป่วยแล้ว และโรคนั้นเกิดจากความเครียดของร่างกายและจิตใจ สมาธิที่ทำให้เกิดความผ่อนคลาย จะมีผลเทียบเท่ากับยาที่ทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น หรือบางรายช่วยให้หายป่วยได้
การปฏิบัติสมาธิทำให้ร่างกายหลั่งสารที่ชื่อว่า เบต้า เอนดอร์ฟิน (Beta Endorphins) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฝิ่นออกมา สารตัวนี้จะช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยปรับสภาพร่างกายให้ไม่เหมาะสมกับการเจริญของเซลมะเร็ง ช่วยลดความเจ็บปวด ลดความเครียด และช่วยยืดอายุ
นอกจากนี้ การปฏิบัติสมาธิ มีผลทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกสดชื่น อิ่มเอิบ สบาย และมีความสุขเพราะคลื่นสมอง (Brainwaves) จะถูกปรับให้เข้าสู่สภาวะสมดุลและผ่อนคลาย

https://www.diri.ac.nz/news/meditation- ... -in-caves/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูหลายๆมุมเพื่อให้ธรรมมาได้แนวทางโต้เถียงบ้าง ไม่ยังงั้นแล้วไม่รู้จะไปอิท่าไหน :b12:


อ้างคำพูด:
แฟนเป็นคนที่เสเพลมาก กินเหล้า แบบว่าไม่ได้เรื่องน่ะค่ะ
แต่มีหมอดูหลายท่านทักว่าถ้าแฟนได้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังจะบวชไม่สึกตลอดชีวิต
ตอนแรกดิฉันคบกับแฟนก็ไม่ทราบหรอกนะคะว่ามีหมอดูเคยทักไว้กับพ่อแม่แฟน

ดิฉันเป็นคนชอบทำบุญทำทาน นั่งสมาธิและสวดมนต์ แฟน ก็ทำตามดิฉันเพราะดิฉันบังคับแรกๆเมื่อไม่กี่วันนี้พาแฟนไปนั่งสมาธิมา (แบบยุบหนอพองหนอ) แค่ไม่กี่ชั่วโมง แฟนดิฉันก็ผิดปกติไปค่ะ

เค้าตื่นมาจากสมาธิ เค้าถามดิฉันว่า รู้สึกถึงลมหายใจที่ชัดเห็นเค้ารู้สึกว่าส่วนท้องเค้ามันยุบลงไปแค่ไหนอย่างไรเวลาหายใจเข้าออก เวลาเดินจงกรม เค้ารู้สึกถึงเท้าที่ย่ำลงพื้นว่าส่วนไหนที่กระทบพื้นชัดเจน

เค้าถามดิฉันว่ามันคืออะไร ดิฉันได้แต่นั่ง ไม่เคยเป็นแบบนี้เลยค่ะ

กลับมาจากวัดเค้าพูดว่า เค้าสดชื่น จับพวงมาลัยรถรู้ว่า มือเค้าจับพวงมาลัย รู้สึกชัดเจนมากๆ มีสติ
เค้าบอกเค้าเข้าใจถึงคำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานว่ามันมีจริงๆ เหมือนคนใส่เเว่นมัวๆมาแล้วเช็ดจนมันใสชัดเจน

เค้าพูดแต่เรื่องนั่งสมาธิ กลับมาเค้าไม่ดื่มเหล้า สวดมนต์ นั่งสมาธิ ยิ้ม ใจเย็นและดูจะอิ่มบุญมากมาหลายวันแล้วค่ะ

ดิฉันดีใจค่ะที่เค้าเป็นแบบนี้ เค้าบอกเค้ากลัวที่ไปสูบบุหรี่ หรือ กินเหล้าอีกความรู้สึกแบบนี้จะหายไป
เค้ากำลังเข้าถึงสมาธิใช่ไหมคะ ดิฉันจะพาเค้าไปนั่งบ่อยๆเค้าจะได้เป็นคนดี

ดิฉันอยากนั่งได้แบบเค้าจังเลยค่ะ ทำมาตั้งนานก็ยังไม่เป็นเหมือนเค้า เค้านั่งแป๊บเดียวเองไม่เคยสนใจเรื่องนี้ด้วย
มันน่าน้อยใจนัก!!

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาอีกมุมหนึ่ง

อ้างคำพูด:
หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ

หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว
แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า ฯลฯ จากนั้นก็เบื้องหลัง พอครบทุกทิศแล้ว จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว เวลานี้รู้สึกว่าเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ
แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่ จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วคิดไปเรื่อยว่า

"นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2018, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ธรรมมา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
บางกลุ่มไม่ชอบสมถะ บางกลุ่มไม่ชอบฌาน แต่ชอบสมาธิ ชอบวิปัสสนา ถกเถียงกันเรื่องชื่อของมัน
แต่หารู้ไม่ว่า คำว่าสมถะก็ดี คำว่าฌานก็ดี มันก็คือสมาธินั่นเอง แล้วก็วิปัสสนา มันก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นฐาน


ก็ยังโง่อยู่ดีครับ



ยังงั้นว่าโง่ ทำยังไงฉลาดก็ว่ามา :b1: เชิญ เพราะเท่าที่ดูยูเซอร์นี่้ ยังไม่เคยเห็นพูดอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเป็นสาระเลยนะ คิกๆๆ เห็นพอฟังได้ก็หัวร้อนด่านั่นแหละ :b32:



เป่าสากไปเบย บอกแว้ว (แล้ว) ไม่เชื่อ :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2018, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติที่เรียกว่า "จิต" "มโน" "วิญญาณ" นี่พูดกันคล่องปร๋อ โดยเฉพาะคำว่า "จิต" เช่นว่า จิตมันเป็นยังงั้นเป็นยังงี้ อย่าไปบังคับมัน ต้องปล่อยมันไป แต่ให้รู้ว่ามันคิด จิตมันคลายตัว จิตมันรวมตัว จิตมันเกิดดับ มันอะไรต่ออะไรสารพัดพูดกันไปว่ากันไป

ยังไม่เอาประโยชน์ของสมาธิ, ฌาน, สมถะ มาว่า แต่จะนำคาถาธรรมบทที่ท่านพูดถึงจิตมาลงนำทางไว้หน่อยก่อน เพื่อไม่ต้องคิดมากจนเกินไป มีคำแปลให้ด้วย

ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน - ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส สมโถ สาธุ - จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.


คำแปล: การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ความใคร่ เป็นการดี
จิตที่ฝึกดีแล้ว เป็นเหตุนำความสุขมาให้.


อิทํ ปุเร จิตฺตมจาริ จาริกํ
เยนิจฺฉกํ ยตฺถกามํ ยถาสุขํ
ตทชฺชหํ นิคฺคหิสฺสมิ โยนิโส
หตฺถึ ปภินฺนํ วิย องฺกุสคฺคาโห.


คำแปล: เมื่อก่อน จิตนี้ ได้ท่องเที่ยวจรไป ตามอาการที่ปรารถนา ตามอารมณ์ที่ใคร่ ตามความสบาย
วันนี้ เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ ประหนึ่ง นายควาญช้างข่มช้างตัวตกมัน ฉะนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2018, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีไปเห็นมาจากพันทิพ

อ้างคำพูด:
หลังออกจากสมาธิเเล้วบังเกิดความรู้สึกอิ่มเอมนิ่งและสุขุมขึ้น ความรู้สึกนี้คืออะไรครับ และความรู้สึกนี้พบเจอแค่ในสมาธิครั้งนั้นครั้งเดียว ไม่เคยเจออีกเลยในการนั้งสมาธิครั้งต่อๆไปเป็นเพราะอะไรครับ


ให้สังเกตหลายๆมุม มุมหนึ่ง คนพูดจะรู้ไปทุกเรื่อง แต่คนทำคนปฏิบัติ จะถามไปไงต่อครับ/คะ แนะนำผมที/ดิฉันที ผม/หนูไม่รู้

มุมหนึ่ง เขาเห็นประโยชน์ของสมาธิแล้วแม้เพียงแว้บๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2018, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา - เวรึ วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ - ปาปิโย นํ ตโต กเร.

คำแปล: จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด พึงทำเขาให้เลวทรามยิ่งกว่าความฉิบหายที่โจรเห็นโจร หรือคนมีเวรเห็นคนมีเวรทำให้แก่กัน.

น ตํ มาตา ปิตา กยิรา - อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ - เสยฺยโส นํ ตโต กเร.

คำแปล: มารดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น พึงทำเหตุนั้นให้ไม่ได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2018, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทูรงฺคมํ เอกจรํ - อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ - โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.

ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายนี้เป็นที่อาศัย
ชนเหล่านั้น จะพ้นจากบ่วงแห่งมาร.


อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส - สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปฺลวปสาทสฺส - ปญฺญา น ปริปูรติ.

ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 120 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 78 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร