วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 88 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2018, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2018, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมเด็จพระสังฆราช ทรงย้ำ พระ-เณร เพียรศึกษาพระบาลี เพื่อรักษาพระสัทธรรม

สมเด็จพระสังฆราช เสด็จไปทรงประกอบพิธีตั้งเปรียญธรรมแก่พระภิกษุสามเณร เขตปกครองคณะสงฆ์ กรุงเทพฯ และประทานพระโอวาทให้เพียรศึกษาพระบาลี อย่าเกียจคร้าน เพื่อช่วยกันรักษาพระสัทธรรม

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 60 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปทรงประกอบพิธีตั้งเปรียญธรรม (ป.ธ.) 3 ประโยค แก่พระภิกษุสามเณรในเขตปกครองคณะสงฆ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 369 รูป และมอบประกาศนียบัตรประโยค 1-2 จำนวน 456 รูป

ในการนี้ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาท ความตอนหนึ่งว่า

พระภิกษุสามเณรที่สอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค จนได้รับพระราชทานเกียรติยศอันน่าภาคภูมิใจ และที่สอบผ่านประโยค 1-2 ทุกรูป คงตระหนักดีแล้วว่า การศึกษาพระบาลี เพื่อรักษาพระปริยัติศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ดำรงอยู่คู่โลกนั้น มีคุณค่าและความหมายเพียงไร แน่นอนว่าการเล่าเรียนในทุกระดับ ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะพากเพียร

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาทต่อไปว่า ความเพียรนั้นเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของมนุษย์ บุคคลใดปราศจากความเพียร บุคคลนั้นย่อมอยู่ในฐานะที่ไม่ปลอดภัย ตกเป็นผู้ประมาท ดังที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงย้ำเตือนไว้ว่า "โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต อารทฺวิริยา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี" แปลว่า ท่านทั้งหลาย จงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรว่าเป็นความปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิดนี้เป็นพุทธานุศาสนี พระมหาเปรียญ และสามเณรเปรียญใหม่ทุกรูป เป็นผู้ปรารภความเพียรมาระดับหนึ่ง ขอให้ท่านอย่าพึงพอใจแต่เพียงเท่านั้น

อย่าปล่อยให้ความเกียจคร้านเป็นภัยคืบคลานเข้าหาตัวโดยเด็ดขาด ขอจงมีฉันทะ และวิริยะ พากเพียรศึกษาพระบาลียิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงขั้นสูงสุด เพื่อช่วยกันรักษาพระสัทธรรมให้ถูกแท้ถูกความหมาย ไม่ให้ถูกบิดเบือนเฉไฉไปจากความจริงที่ถูกต้อง และขอจงประกาศธรรมเหล่านั้น เป็นแสงสว่างทางปัญญาแก่โลกนี้ต่อไป อันเป็นการเฉลิมพระราชศรัทธาของสมเด็จพระบรมนาถบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ผู้เป็นพระบรมราชูปถัมภก แห่งการศึกษาพระบาลีที่ท่านทั้งหลายได้ร่ำเรียนอยู่นี้อีกด้วย

จากอะลิ้ตบุ๊ดด่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2018, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2018, 08:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2018, 09:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2018, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บาลี 1. "ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์" ภาษาที่ใช้ทรงจำ และจารึกรักษาพุทธพจน์ แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่า ได้แก่ ภาษามคธ 2. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก, ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า "บาลี" ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลี ในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลี หรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม ๓ คือ

๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์

๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงปฏิบัติ ได้แก่ ไตรสิกขา

๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรม คือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2018, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเอาหลักสัทธรรมสามมาแบให้เห็นแล้วก็เห็นว่า พวกเราถกเถียงกันอยู่ระดับไหน 1,2,3 โน่น มรรค ผล นิพพาน ระดับ 3 โน่น คิกๆๆ สมมุติว่า บันไดบ้านมีอยู่ 3 ขั้น เราก้าวไปขั้นที่ 3 เลย หมดเลยขอรับ อะไรหมด เป้ากางเกงขาด ขาดยันไปถึงเข็มขัด :b32: ไตรสิกขาก็ไม่รู้ว่าอะไร มาจากไหน นำไปใช้ยังไง แล้วจะไปขั้นที่ 3 ได้อย่างไร นั่นดิ

เช่นนั้น กบนอกกะลาว่าจริงไหมขอรับผม :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2018, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ ปาปํ จิตฺตํ นิวารเย
ทนฺธํ หิ กรโต ปุญฺญํ ปาปสฺมึ รมตี มโน.


ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.


ปุญญฺญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.


น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน
อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2018, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


viewtopic.php?f=1&t=55262

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสตี วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ.



มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสตี วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี.


อสาเร สารมติโน สาเร จาสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา

สารญฺจ สารโต ญตฺวา อสารญฺจ อสารโต
เต สารํ อธิคจฺฉนฺติ สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะให้เช่นนั้น กับ กบนอกกะลาคิดเอาเองว่านั่นหมายถึงอะไร คิดไป คิดตีความไปเอ้า :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

อตฺตนา หิ กตํ ปาปํ อตฺรชํ อตฺตสมฺภวํ
อภิมตฺถติ ทุมฺเมธํ วชิรํ วมฺหยํ มณึ.

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย.

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดถึงเรื่องตีความ แค่พูดอาจนึกไม่ออก อะไรตีความ ดังนั้น มีตัวอย่างให้ดู

อ่านพระสูตรเพียวๆ เจอะศัพท์แสงทางธรรมเข้าตี (เหมือนตีนั่นนี่เป็นตัวเลขแล้วไปแทงหวย) เลย เขาตี หิริ กับ โอตตัปปะ


อ้างคำพูด:
เปิดธรรมที่ถูกปิด หิริ ความละอายต่อการแสวงหากาม โอตตัปปะ ความเห็นภัยของสงสารวัฎฎะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม
อยู่เป็นสุข ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ
ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ...
วามไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ...
ความไม่ริษยา ๑ความไม่ตระหนี่ ๑ ...
ความไม่มายา ๑ ความไม่โอ้อวด ๑ ...
หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑

https://pantip.com/topic/37817060

แสดงว่าไม่เรียนแม้แต่นักธรรมชั้นตรี ซึ่งมีอยู่ในแบบนวโกวาทเลย :b32:

เมื่อได้ตัวอย่างแล้ว ก็มาดูของเรา คือ เช่นนั้น กับ กบนอกกะลา ก็ทำนองเดียวกัน ได้ศัพท์ทางธรรมที่ตนเคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง ไม่รู้หรอกเขาหมายถึงอะไร ตีเลย คือ ตีความเอาเองเลย เป็นอะไรก็ซวดๆไปตามอัธยาศัยไมตรี

ไม่จริงก็เถียงมา :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2018, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุกรํ สาธุนา สาธุ สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ
ปาปํ ปาเปน สุกรํ ปาปมริเยหิ ทุกฺกรํ


สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.


ยสฺมึ มโน นิวีสติ จิตฺตญฺจาปิ ปสีทติ
อทิฏฺฐปุพฺพเก โปเส กามํ ตสฺมึปิ วิสฺสเส
ปุพฺเพ ว สนฺนิวาเสน ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา
เอวนฺตํ ชายเต เปมํ อุปฺปลํว ยโถทเก.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2018, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาส (สะหฺมาด) การนำเอาศัพท์ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อรวมกันโดยมีความหมายเชื่อมโยงเป็นคำเดียว ตามหลักไวยากรณ์แบบบาลีหรือสันสกฤต เช่น ธรรม+ราชา เป็นธรรมราชา, อาณา+จักร เป็นอาณาจักร, กุศล+เจตนา เป็นกุศลเจตนา, สมาสต่างกับสนธิ กล่าวคือ สนธิ เอาคำมาต่อกัน โดยเชื่อมตัวอักษรให้อ่านหรือเขียนกลมกลืนเข้ากันเป็นคำเดียว เช่น ปญฺจ+อิเม เป็น ปญฺจิเม, แต่สมาส เอาคำมาต่อกัน โดยเชื่อมความหมายให้เนื่องเป็นคำเดียวกัน เช่น ปญฺจ+นที เป็นปญฺจนที

สนธิ การต่ออักษรที่อยู่ในต่างคำ ให้เนื่องหรือกลืนเข้าเป็นอันเดียวกัน ตามหลักไวยากรณ์แบบบาลีหรือสันสกฤต เช่น โย + อยํ = ยฺวายํ, ตตฺร + อยํ + อตฺโถ = ตตฺรายมตฺโถ, อยํ + เอว +เอส + อิติ = อยเมเวสาติ แม้แต่คำที่เอามารวมกันด้วยสมาสแล้ว ก็อาจจะใช้วิธีสนธินี้เชื่อมอักษรเข้าด้วยกันอีกชั้นหนึ่ง เช่น คุณอากร เป็น คุณากร, รูปอารมณ์ เป็น รูปารมณ์, ศาสนอุปถัมภ์ เป็น ศาสนูปถัมภ์, วรโอกาส เป็น วโรกาส, พุทธโอวาท เป็น พุทโธวาท, อรุณอุทัย เป็น อรุโณทัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 88 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร