วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 01:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสคิดว่าทำอะไรคิดอยากอะไรทำอะไรเป็นกิเลสเป็นตัณหาเป็นโลภะไปหมดเลยไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวเป็นกิเลส :b1:

อ้างคำพูด:
เพราะความจริงมีมืดมิดมากกว่าสว่าง
มืดมากไหมที่ไม่รู้ว่ามืดบอด
บอดสนิทเลยเพราะไม่รู้

จึงไปทำเพื่อแสวงหาธัมมะ

แสวงนี่เป็นกิเลสชื่อโลภะ

ที่ไปด้วยอยากคือตัณหา

กิเลสเป็นเพื่อน 1 ตัณหาเป็นเพื่อน 2

ตัณหาอันเดียวกับแสวงคือโลภะ

เป็นสิ่งที่ต้องการรู้ใช่ไหมถึงไปเพื่อทำ

viewtopic.php?f=1&t=56086



อย่างที่บอกแยกแยะไม่ออกว่าคุณโรสพูดเรื่องอะไร แต่ก็พอจับเค้าความได้ คือ แสวงหาเป็นกิเลส เป็นโลภะ เป็นตัณหา

นี่แสดงว่า ไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว อยากนั่นๆนี่ๆก็กลัว กลัวเป็นตัณหาไปไปหมด อยากปฏิบัติธรรม ก็เป็นตัณหา อยากทำให้มันดี ก็เป็นตัณหา ดังนั้น คุณโรสจึงได้แต่นั่งกระพริบตา :b32:

ดังนั้น กระทู้นี้จะว่าด้วยเรื่องของความอยาก อยากชนิดไหน เป็นตัณหา เป็นอกุศล อยากชนิดไหนเป็นฉันทะ เป็นกุศล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ส.ค. 2018, 10:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอารูปเค้าไว้ก่อน

ตัณหา (ชื่อเต็ม ตัณหาฉันทะ) ฉันทะ (ชื่อเต็ม ธรรมฉันทะ) ดูความแตกต่างระหว่างความคิดที่เรียกว่า ตัณหา กับ ความคิดที่เรียกว่า ฉันทะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความเข้าใจง่าย เล่าเป็นนิทานระหว่าง ด.ช.สองคน คือ ด.ช.ตัณหา กับ ด.ช.ฉันทะ

ถึงจะพ้นตัณหา ได้ฉันทะมา ก็ยังต้องเดินหน้าไปกับปัญญา จนกว่าจะพ้นปัญหาแท้จริง


มีข้อความสำคัญ ที่ขอนำมาย้ำไว้ เป็นขอควรสังเกต และช่วยทบทวน ๓ ประการ คือ

๑. เด็กชายสองคน คือ ด.ช. ตัณหา กับ ด.ช. ฉันทะ ไปเห็นเครื่องรับวิทยุเครื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน และได้ฟังเสียงจากวิทยุนั้นด้วยกัน

ด.ช. ตัณหา ได้ฟังเสียงจากวิทยุแล้ว ชอบใจเสียงไพเราะและเสียงแปลกๆ เขาคิดว่า ถ้าเขามีวิทยุไว้สักเครื่อง คงจะสนุกสนานเพลิดเพลินมาก เขาจะเปิดฟังทั้งวันทั้งคืนทีเดียว และเขาทราบมาว่า คนที่มีวิทยุมีไม่มาก ใครมีก็โก้เก๋ เขาคิดว่า ถ้าเขามีวิทยุแล้ว เขาจะเด่นมาก เพื่อนๆจะพากันมารุมดูเขา
เขาจะถือวิทยุเดินอย่างภาคภูมิใจ ไปไหนก็จะเอาไปด้วย จะเอาไปอวดคนโน้นคนนี้ คิดอย่างนี้แล้ว ด.ช. ตัณหา ก็อยากได้วิทยุเป็นกำลัง กลับถึงบ้าน ก็ไปรบเร้าคุณพ่อคุณแม่ ให้ไปซื้อมาให้เขาเครื่องหนึ่งให้จงได้ เขาถึงกับคิดว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ซื้อ ให้ เขาจะไปด้อมๆมองๆที่ร้าน ถ้าได้ช่อง ก็จะขโมยมาสักเครื่อง

ส่วน ด.ช. ฉันทะ ได้ฟังเสียงจากวิทยุแล้ว ก็แปลกประหลาดใจ เขาเริ่มคิดสงสัยว่า เสียงนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เครื่องที่ให้เกิดเสียงนั้นคืออะไร มันทำให้เกิดเสียงได้อย่างไร เขาทำมันอย่างไร มันมีประโยชน์อย่างไร จะเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง เขาคิดดังนั้นแล้ว ก็เกิดความอยากรู้เป็นอันมาก จึงคอยสังเกต หรือไปเที่ยวสอบถามว่าใครจะบอกเรื่องนี้แก่เขาได้ ครั้นรู้จากช่างแล้ว ก็หาโอกาสเข้าไปซักถาม ได้ความรู้หลายอย่าง ตลอดจนรู้ว่า มันมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ด.ช. ฉันทะ ครั้นเห็นว่ามันเป็นประโยชน์ ใจเขาซาบซึ้งในคุณค่าของมัน บอกตัวเองว่า ดีแน่ แล้วก็เกิดความอยากจะทำวิทยุขึ้นมาบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตทางแยกระหว่างตัณหา กับ ฉันทะ

ต่อ

ขอให้ลองพิจารณาว่า กระแสความคิดของเด็กสองคนนี้ จะมีผลต่อพฤติกรรมและวิถีชีวิตของเขาอย่างไร และผลที่กว้างไกลออกไปถึงคนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสังคมและประเทศชาติ จะเป็นอย่างไร

ในกระบวนธรรมแห่งความคิดและพฤติกรรมของเด็กทั้งสองนี้ องค์ธรรมในตอนเริ่มต้นเหมือนกัน คือ

หู (อายตนะภายใน) + เสียง (อารมณ์) => ได้ยิน (โสตวิญญาณ) = ผัสสะ (รับรู้เสียง) => เวทนา (= สุขเวทนาคือสบายหู)
แต่ต่อจากเวทนาแล้ว กระบวนธรรมแยกไปคนละอย่าง

ด.ช.ตัณหา เมื่อได้เวทนาเป็นสุข สบายหูแล้ว ก็ชอบใจติดใจอยากฟังต่อๆไป คือเกิดตัณหาขึ้น เขาคิดเพ้อไปตามความอยากนั้น ซึ่งล้วนเป็นอโยนิโสมนสิการ เพราะไม่ได้คิดตามสภาวะและตามเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องวิทยุและเสียงวิทยุนั้นเลย มีแต่คิดสืบทอดจากตัณหา คิดเกี่ยวกับการเสพเวทนา และการเสริมขยายตัวตน
เมื่อคิดอย่างนั้น ก็เป็นการหล่อเลี้ยงอวิชชาเอาไว้ ทำให้ตัณหาเพิ่มพลังแข็งแรงและขยายตัวขึ้นอีก พฤติกรรมของเขาก็จึงเป็นไปตามความบงการของตัณหา

ส่วน ด.ช. ฉันทะ เมื่อกระบวนธรรมสืบต่อมาถึงเวทนาแล้ว เขาไม่ไหลเรื่อยต่อไปยังตัณหา แต่เกิดมีความคิดที่เป็นโยนิโสมนสิการขึ้นมาตัดหน้าตัณหาเสีย ทำให้ตัณหาชะงักดับไป
โยนิโสมนสิการนั้น คือ การคิดตามสภาวะและเหตุผลว่า อารมณ์หรือสิ่งที่ประสบนั้น คือ อะไร เป็นอย่างไร เป็นมาอย่างไร เป็นเพราะอะไร มีคุณโทษอย่างไร เป็นต้น ความคิดนี้ นำไปสู่การรู้เข้าใจคุณค่าของสิ่งที่ดีงาม เกิดความซาบซึ้ง มีจิตใจโน้มน้อมไปในทางที่จะรู้ความจริง ที่จะทำให้ดีให้งามให้สมบูรณ์ จึงเกิดเป็นฉันทะขึ้น และนำ ด.ช.ฉันทะไปสู่การเรียนรู้ และการกระทำสร้างสรรค์ต่อไป * (ข้อนี้มุ่งเน้นในระดับทิฏฐธัมมิกัตถะ คือประโยชน์ปัจจุบัน หรือระดับศีลธรรมสำหรับชีวิตประจำวัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ฉันทะ เป็นองค์ธรรมฝ่ายกุศล ดีงาม ไร้โทษ เป็นคุณประโยชน์ เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ แต่ฉันทะจะเป็นคุณประโยชน์ ก่อให้เกิดผลดีเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกับความจริงและคุณค่าของสิ่งที่มันเกี่ยวข้อง เพราะฉันทะอาศัยโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นบุพภาคของปัญญา

ถ้าความรู้ความเข้าใจไม่ลึกซึ้งชัดเจนแน่แท้ ฉันทะก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้เหมือนกัน ดังนั้น เพื่อให้ฉันทะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยชักนำชีวิตไปสู่จุดหมายที่ถูกต้องได้อย่างมั่นใจ การฝึกอบรมเจริญปัญญา หรือการให้การศึกษาระดับปัญญา จึงถือเป็นหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา

จุดเริ่มต้นที่สำคัญ คือจะต้องฝึกโยนิโสมนสิการ รู้จักคิดตามสภาวะ และสืบค้นเหตุปัจจัย ให้ก้าวหน้าไปในความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ความจริงแท้เป็นอย่างไร อะไรมีคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต อะไรเป็นอัตถะ คือตัวประโยชน์แท้ที่ควรเป็นจุดหมาย และก้าวหน้าไปในกุศลธรรม โดยเกิดความใฝ่รู้ ใฝ่ธรรม รักความจริง รักความดีงาม รักที่จะดำรงส่งเสริมคุณภาพชีวิต พร้อมกับทำกุศลธรรมเหล่านั้นให้เกิดให้มีเพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นมีปัญญาที่ทำชีวิตจิตใจให้หลุดพ้นเป็นอิสระได้ * (ข้อนี้เกี่ยวกับประโยชน์ ๓ ขั้น คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถ์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ในกรณีที่ฉันทะเป็นปัจจัยแก่ตัณหา มันย่อมให้เกิดโทษได้แม้แก่คนดี แม้ว่าคนดีอาจจะไม่เอาตัวตนเข้าไปยึดถือครอบครองความดีที่สร้างขึ้นด้วยฉันทะ จนถึงกับเกิดความเย่อหยิ่งลำพอง ยกตนข่มผู้อื่น หรือลุ่มหลง มัวเมา ประมาท
แต่บางทีความยึดถืออย่างอ่อนๆ เช่นว่า ทำไมบ้านเรา วัดเรา โรงเรียนเรา ตำบล บ้านเมืองของเรา จึงไม่สะอาดเรียบร้อยเหมือนของเขา หรือว่าเด็กนี้ นักเรียนนี้ ลูกศิษย์นี้ เราพยายามช่วยให้พัฒนาตัวเองทุกอย่างทุกประการ ทำไมเขาไม่กระตือรือร้น ไม่ดีขึ้นมาทันอกทันใจเอาบ้างเลย ดังนี้ เป็นต้น ก็ทำให้คนดีเป็นทุกข์เดือดร้อนได้ไม่น้อย และบางครั้งเมื่อเหตุปัจจัยของเรื่องนั้นๆ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับบัญชาของคนดี ก็ยิ่งเป็นเรื่องบีบคั้นใจให้คนดีเป็นทุกข์ขึ้น

ทุกข์ชนิดนี้ ดูเหมือนจะเป็นความทุกข์พิเศษของคนดี ที่คนชั่วจะไม่รู้สึกเป็นทุกข์เดือดร้อนด้วยเลย จะเรียกว่า คนดีก็มีทุกข์แบบของคนดีก็ได้ * และเมื่อทุกข์แล้ว ก็เป็นโอกาสให้วงจรกิเลสเริ่มหมุนได้อีก โดยอาจเกิดความขุ่นมัว หม่นหมอง น้อยใจ ขัดเคือง ฟุ้งซ่าน หุนหัน เป็นต้น อาจให้ทำการบางอย่างผิดพลาด หรือขาดความสุขุมรอบคอบ เกิดผลเสียได้

โดยนัยนี้ ความเป็นคนดีจึงยังไม่เพียงพอ คนดียังต้องการสิ่งที่จะช่วยให้ทำความดีโดยไม่มีทุกข์ และเป็นคนดีผู้ไม่เป็นที่แอบแฝงของความชั่ว หรือไม่อาจกลับกลายเปลี่ยนไปเป็นคนไม่ดีได้อีก
พูดง่ายๆว่าต้องการเครื่องป้องกันไม่ให้ตัณหากลับเข้ามา ได้แก่ ต้องการปัญญาที่จะทำจิตใจให้หลุดพ้นเป็นอิสระ นี่คือจุดที่คนต้องการโลกุตรธรรม และควรให้ฉันทะทำหน้าที่นำชีวิตไปถึงจุดหมายขั้นนี้ด้วย * (ข้อนี้มุ่งเน้นจุดผ่าน จากสัมปรายิกัตถะ หรือประโยชน์เบื้องหน้าสำหรับชีวิตด้านใน มาสู่ปรมัตถ์ หรือประโยชน์ที่เป็นจุดหมายสูงสุด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิงคคห.บน *


* คนที่มีฉันทะมากนั้น ถ้าตัณหา (รวมทั้งมานะ และทิฏฐิ) เข้ามาแทรกซ้อนรับช่วงจากฉันทะ เข้าครอบงำจิตใจได้ ก็อาจทำให้เกิดทุกข์ หรือผลเสียหายที่ร้ายแรงได้มากเหมือนกั้น ขอเสนอไว้พิจารณาบ้างบางอย่าง เช่น

@ เพราะความรักในความดีงามความบริสุทธิ์แห่งชีวิต ตัณหาอาจเอามาผูกเข้าเป็นความรักความยึดมั่นในความดีของตน จนในแง่หนึ่งเป็นเหตุให้คนดีมีความวิตกกังวลมากมาย เกี่ยวกับการรักษาความดีงามและความบริสุทธิ์แห่งชีวิตของตน หวั่นกลัวต่อเหตุมัวหมองต่างๆ กลัวถูกคนเข้าใจผิด เป็นทุกข์ในเรื่องเช่นนี้มากมายกว่าคนทั่วไป ข้อนี้น่าจะนำมาพิจารณาด้วย ในการศึกษาสาเหตุของสิ่งที่จิตวิทยาตะวันตกเรียกว่า guilt-feeling

@ บางคนมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะสร้างสรรค์สังคมให้ดีงาม หรือสถาปนาความดีงามขึ้นในสังคม แต่ทำไม่ได้อย่างใจปรารถนาหรือประสบเหตุขัดขวางมาก ก็เกิดความขัดใจ ยึดมั่นในความเห็นของตนมากขึ้น ดึงดันในทิฏฐิ หรือเกิดความปรารถนาให้ตนได้ชื่อว่า เป็นผู้สร้างผู้สถาปนาสังคมใหม่ให้ดีงามนั้น จึงมุ่งที่จะทำให้ได้อย่างเดียว อาจหันไปใช้วิธีรุนแรง กำจัดกวาดล้างผู้ที่ตนเห็นว่า ขัดขวางด้วยโทสะ โดยไม่มีความรักหรือปรารถนาความดีงามแก่ชีวิตของคนเหล่านั้นเลย ฉันทะที่ครอบด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ จึงอาจนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Violence ได้เหมือนกัน

@ ระบบงาน ระบบสังคม หรือระบบการดำเนินชีวิตที่มีการแข่งขันกันมาก ย่อมทำให้คนเกิดความรู้สึกนึกถึงตัวตนเด่นชัดมากขึ้น จึงเป็นระบบที่ส่งเสริมความยึดถือตัวตน และเป็นเหตุให้คนต้องพยายามทำการในทางที่จะสนองภวตัณหามากยิ่งขึ้น
ระบบเช่นนี้ ถ้าใช้ในสังคมที่คนมีพื้นในทางฉันทะมาก ก็จะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว แต่พร้อมกันนั้นก็จะทำให้เกิดปัญหาจิตใจ มีความกดดัน คนมีความทุกข์ เครียด มี stress มี anxiety เป็นโรคจิตกันมาก
แต่ถ้านำระบบเช่นนี้มาใช้ในสังคมที่คนหย่อนฉันทะ ก็น่าจะทำให้มีความทุจริต ความสับสน ฟอนเฟะยิ่งขึ้น (ที่ว่า น่าจะ ก็เพราะจะต้องพิจารณาปัจจัยด้านอื่นๆประกอบด้วย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมาย คำว่า ธรรม,ธัมม์

ธรรม สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง, เหตุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด, คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ, หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่, ความชอบ, ความยุติธรรม, พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น


ดูความหมายคำว่า ธรรม กว้างๆ ที่อีกที

ธรรม,พระธรรม คืออะไร ?

viewtopic.php?f=1&t=55033

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสพอแยกความอยากที่่เป็นตัณหา กับ ความอยากที่เป็นฉันทะ ออกจากกันได้ไหมขอรับ เอ้า ถามจริงๆนะ :b1: ถ้าพอเข้าใจแล้วก็ไปโน่นเลย

viewtopic.php?f=1&t=56107


อ้างคำพูด:
ตัณหาอันเดียวกับแสวงคือโลภะ

เป็นสิ่งที่ต้องการรู้ใช่ไหมถึงไปเพื่อทำ


นึกออกแระ ที่คุณโรสพูดอยู่คำหนึ่ง "ปฏิบัติ" ว่าบ้านเราแปลปฏิบัติว่า "ทำ" แปลผิดว่างั้น นี่อยู่ตรงนี้เอง ไม่รู้ใครผิด :b32:

ดู

ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ , บำรุง, เลี้ยงดู

นึกออกไหม "ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ" เบื้องต้น ต้องศึกษาเล่าเรียน (เรียนก็ต้องเรียนให้ถูกให้ตรงด้วย ถ้าเรียนไม่ถูกไม่ตรงก็ปฏิบัติผิด) ท่ามกลาง ต้องลงมือทำลงมือปฏิบัติ ปฏิเวธเกิดสุดทาย (แต่ถ้าปฏิบัติผิดปฏิเวธก็ไม่เกิดนะ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริยัติ พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน , การเล่าเรียนพระธรรมวินัย

ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ, บำรุง, เลี้ยงดู

ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ


ปฏิปทา ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ


ปฏิปทา กับ ปฏิบัติ ความหมายเดียวกัน คือ ต้องลงมือทำ ลงมือปฏิบัติฝึกหัดพัฒนา ไม่ใช่พูด เช่น ในอริยสัจจ์ข้อสุดท้าย ซึ่งเรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ปริยัติ พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน , การเล่าเรียนพระธรรมวินัย

ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ, บำรุง, เลี้ยงดู

ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ


ปฏิปทา ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ


ปฏิปทา กับ ปฏิบัติ ความหมายเดียวกัน คือ ต้องลงมือทำ ลงมือปฏิบัติฝึกหัดพัฒนา ไม่ใช่พูด เช่น ในอริยสัจจ์ข้อสุดท้าย ซึ่งเรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

Kiss
ตามลำดับปัญญาที่เกิดเป็นความจริงที่ถึงอริยสัจจ์แล้ว
สุตมยปัญญา คือ สัจจญาณ คือปริยัติ
จินตามยปัญญา คือ กิจญาณ คือปฏิบัติ
ภาวนามยปัญญา คือ กตญาณ คือปฏิเวธ
ทุกลำดับคือปัญญาที่เกิดตรงปัจจุบันขณะตามเป็นจริง
ไม่ใช่อ่านแล้วท่องจำยาวเกิน1คำแต่เป็นความจริงตรง1สัจจะที่ตนมี
เป็นชื่อของปัญญาที่เกิดตามปกติตามเป็นจริงนะคะไม่ใช่เลียนตำรา
แต่เป็นการฟังสะสมปัญญาจนประจักษ์ความจริงตรงตามที่กำลังฟัง
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2018, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ปริยัติ พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน , การเล่าเรียนพระธรรมวินัย

ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ, บำรุง, เลี้ยงดู

ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ


ปฏิปทา ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ


ปฏิปทา กับ ปฏิบัติ ความหมายเดียวกัน คือ ต้องลงมือทำ ลงมือปฏิบัติฝึกหัดพัฒนา ไม่ใช่พูด เช่น ในอริยสัจจ์ข้อสุดท้าย ซึ่งเรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

Kiss
ตามลำดับปัญญาที่เกิดเป็นความจริงที่ถึงอริยสัจจ์แล้ว
สุตมยปัญญา คือ สัจจญาณ คือปริยัติ
จินตามยปัญญา คือ กิจญาณ คือปฏิบัติ
ภาวนามยปัญญา คือ กตญาณ คือปฏิเวธ
ทุกลำดับคือปัญญาที่เกิดตรงปัจจุบันขณะตามเป็นจริง
ไม่ใช่อ่านแล้วท่องจำยาวเกิน1คำแต่เป็นความจริงตรง1สัจจะที่ตนมี
เป็นชื่อของปัญญาที่เกิดตามปกติตามเป็นจริงนะคะไม่ใช่เลียนตำรา
แต่เป็นการฟังสะสมปัญญาจนประจักษ์ความจริงตรงตามที่กำลังฟัง
:b32: :b32:


เอาเข้าไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2018, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ปริยัติ พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน , การเล่าเรียนพระธรรมวินัย

ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ, บำรุง, เลี้ยงดู

ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ


ปฏิปทา ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ


ปฏิปทา กับ ปฏิบัติ ความหมายเดียวกัน คือ ต้องลงมือทำ ลงมือปฏิบัติฝึกหัดพัฒนา ไม่ใช่พูด เช่น ในอริยสัจจ์ข้อสุดท้าย ซึ่งเรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

Kiss
ตามลำดับปัญญาที่เกิดเป็นความจริงที่ถึงอริยสัจจ์แล้ว
สุตมยปัญญา คือ สัจจญาณ คือปริยัติ
จินตามยปัญญา คือ กิจญาณ คือปฏิบัติ
ภาวนามยปัญญา คือ กตญาณ คือปฏิเวธ
ทุกลำดับคือปัญญาที่เกิดตรงปัจจุบันขณะตามเป็นจริง
ไม่ใช่อ่านแล้วท่องจำยาวเกิน1คำแต่เป็นความจริงตรง1สัจจะที่ตนมี
เป็นชื่อของปัญญาที่เกิดตามปกติตามเป็นจริงนะคะไม่ใช่เลียนตำรา
แต่เป็นการฟังสะสมปัญญาจนประจักษ์ความจริงตรงตามที่กำลังฟัง
:b32: :b32:



เขาเป็นอะไรนี่


อ้างคำพูด:
เหมือนท้องจะแตกไส้จะหลุด

ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2018, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ปริยัติ พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน , การเล่าเรียนพระธรรมวินัย

ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ, บำรุง, เลี้ยงดู

ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ


ปฏิปทา ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ


ปฏิปทา กับ ปฏิบัติ ความหมายเดียวกัน คือ ต้องลงมือทำ ลงมือปฏิบัติฝึกหัดพัฒนา ไม่ใช่พูด เช่น ในอริยสัจจ์ข้อสุดท้าย ซึ่งเรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

Kiss
ตามลำดับปัญญาที่เกิดเป็นความจริงที่ถึงอริยสัจจ์แล้ว
สุตมยปัญญา คือ สัจจญาณ คือปริยัติ
จินตามยปัญญา คือ กิจญาณ คือปฏิบัติ
ภาวนามยปัญญา คือ กตญาณ คือปฏิเวธ
ทุกลำดับคือปัญญาที่เกิดตรงปัจจุบันขณะตามเป็นจริง
ไม่ใช่อ่านแล้วท่องจำยาวเกิน1คำแต่เป็นความจริงตรง1สัจจะที่ตนมี
เป็นชื่อของปัญญาที่เกิดตามปกติตามเป็นจริงนะคะไม่ใช่เลียนตำรา
แต่เป็นการฟังสะสมปัญญาจนประจักษ์ความจริงตรงตามที่กำลังฟัง
:b32: :b32:



เขาเป็นอะไรนี่


อ้างคำพูด:
เหมือนท้องจะแตกไส้จะหลุด

ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ

tongue
แรงจูงใจใหญ่สุดคืออุปาทานฟังหน่อยไหมคะ
:b12:
https://youtu.be/Tlj4Q5bDITs


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 76 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร