วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 12:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2018, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้แตกมาจาก กท. กรรม ที่ทำให้สิ้นกรรม

viewtopic.php?f=1&t=56033

ซึ่งก็เนื่องจาก คคห. เช่นนั้น ที่

รูปภาพ


่ว่า "อ่านซะยาว" :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2018, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากพุทธธรรม หน้า ๒๙๐ แล้วต่อหัวข้อ "กรรม ที่ทำให้สิ้นกรรม" หน้า ๒๙๒

แก้กรรม ด้วยปฏิกรรม


ปฏิกรรม เป็นคำสอนสำคัญส่วนหนึ่งของหลักกรรม คำว่า "ปฏิกรรม" นิยมแปลกันมาในภาษาพระว่า "การทำคืน" ถ้าแปลให้เห็นศัพท์เดิม หรือล้อคำเดิม ก็คือ "การแก้กรรม" หมายถึงการแก้ไข การทำให้กลับคืนดี การทำใหม่ให้เปลี่ยนเป็นดี การเลิกละกรรมชั่วหันมาทำกรรมดี หรือการกลับตัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2018, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิกรรม หรือแก้กรรมนี้ แต่เดิมเป็นคำพื้นๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีความหมายว่า ถ้าอะไรเสียหายเสื่อมโทรมไป ก็แก้ไขให้กลับคืนดี หรืออะไรที่ทำไปขาดตกบกพร่อง ก็ปรับก็แก้ใหม่ ให้เต็ม ให้บริบูรณ์ การจัดการแก้ไขความผิดพลาดต่างๆ เพื่อพลิกกลับให้เป็นไปในทางที่ดี รวมทั้งการเยียวยาแก้ไขบำบัดโรค ก็เรียกว่าเป็นปฏิกรรมทั้งนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2018, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อใช้เป็นศัพท์ในทางธรรม ปฏิกรรมมีสาระสำคัญ คือ ยอมรับความผิดพลาดที่ได้ทำไปแล้ว ละเลิกบาปอกุศล หรือการกระทำผิดพลาดเสียหายที่เคยทำนั้น เปลี่ยนไปทำกรรมที่ดีแทน หรือหันกลับจากความชั่วร้าย มาทำความดีงามถูกต้อง ทำบุญกุศล แก้ไขปรับปรุงตน เปลี่ยนแปรกรรมจากการทำความชั่วมาทำความดี ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อก้าวขึ้นไปสู่ความถูกต้องสมบูรณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2018, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในธรรมวินัยนี้ สำหรับพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าทรงนำหลักปฏิกรรมมาวางเป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งกำหนดเป็นวินัยที่มีผลบังคับให้ต้องปฏิบัติ จัดเป็นวินัยบัญญัติ ๒ เรื่อง คือ อาปัตติปฏิกรรม และปวารณากรรม พร้อมกันนั้น
ในวงกว้างออกไป สำหรับทุกคน ไม่ว่าบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ทรงเน้นย้ำให้บำเพ็ญปฏิกรรม ที่มากับความสำนึกและสารภาพความผิด (เรียกว่า อัจจยเทศนา) ถือว่าเป็นหลักปฏิบัติในแบบแผนของอารยชน (อริยวินัย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2018, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่ก็พูดเรื่องแก้กรรม ปฏิกรรม เขาถาม

อ้างคำพูด:
เราบำเพ็ญ"ปฏิกรรม"ทุกวัน จะทำให้บรรลุธรรมเร็วขึ้นไหมครับ

ถ้าเราทำกรรมไว้เยอะแล้วหันมาปฏิกรรมทุกวันเช้า-คืนสามารถหลุดพ้นความทุกข์ได้ไหม
https://pantip.com/topic/37780666




คำพูดเหล่านี้ คือ "กรรม" ก็ดี "ปฏิกรรม" ก็ดี "ความทุกข" ก็ดี ล้วนเป็นถ้อยคำที่ต้องถามความเข้าใจของผู้พูดทั้งสิ้นว่า เขาเข้าใจความหมายนั้นยังไง

ที่ว่า "บรรลุธรรม" ธรรมหมายถึงอะไร อะไรธรรมซึ่งต้องการบรรลุ ธรรมๆๆๆๆ :b1:

บางทีเราก็นำสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมาพูดๆโดยที่ไม่เข้าใจความหมายเดิมของเขา

ดู คคห.ที่ตอบๆกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2018, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

รวมเป็นหลักปฏิกรรม ที่เป็นระบบปฏิบัติทางสังคมขั้นพื้นฐานในพระธรรมวินัยนี้ ๓ ประการ คือ

๑. อาปัตติปฏิกรรม ซึ่งแปลว่า การทำคืนอาบัติ หรือปลงอาบัติ เป็นวินัยบัญญัติ (สำหรับพระสงฆ์) มีสาระสำคัญว่า ทำความผิดแล้ว ก็รู้ตัว เปิดเผยความผิดนั้น และบอกว่าเลิกละ จะไม่ทำอีก คือการที่ภิกษุหรือภิกษุณีบอกแจ้งความผิดของตน เพื่อจะสังวรต่อไป

ทั้งนี้ แม้แต่แค่สงสัย ท่านก็วางวิธีปฏิบัติไว้ให้ ดังเช่น เมื่อถึงวันอุโบสถ ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความสงสัยว่า ตนอาจจะได้ต้องอาบัติ ก็บอกแจ้งแก่ภิกษุอื่น รูปหนึ่งว่า (เช่น วินย. ๔/๑๘๖/๒๔๖) "อหํ อาวุโส อิตฺถนฺนามาย อาปตฺติยา เวมติโก ยทา นิพฺเพมติโก ภวิสฺสามิ ตทา ตํ อาปตฺตึ ปฏิกริสฺสมิ" (ท่านครับ ผมมีความสังสัยในอาบัติชื่อนี้ หายสงสัยเมื่อใด จักปฏิกรรมอาบัตินั้น เมื่อนั้น... รูปกริยาของปฏิกรรม คือ "ปฏิกร" นิยมแปลกันว่า "ทำคืน" ในที่นี้ แปลทับศัพท์ว่า "ปฏิกรรม" เพื่อให้เห็นชัด)

๒. ปวารณากรรม คือ การบอกเปิดโอกาสเชื้อเชิญให้ว่ากล่าวตักเตือน เป็นวินัยบัญญัติ (สำหรับ พระสงฆ์) เป้นสังฆกรรมประจำปี ตอนจบการจำพรรษา เรียกสั้นๆว่า "ปวารณา" มีหลักการว่า หลังจากอยู่ร่วมกันมาตลอดพรรษา ภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายประชุมกัน และแต่ละรูปกล่าวคำเปิดโอกาสหรือเชิญชวนแก่ที่ประชุม โดยมีสาระว่า ตามที่ได้อยู่ร่วมกันมาถึงบัดนี้ ถ้าได้เห็น ได้ยิน หรือมีเหตุให้น่าระแวงสงสัยว่าตนได้ผิดพลาด บกพร่องทำอะไรเสียหาย ก็ขอให้บอก ขอให้ว่ากล่าว เมื่อมองเห็นแล้ว ก็จะได้ ปฏิกรรม ทำการแก้ไข

เริ่มด้วยรูปที่เป็นผู้ใหญ่ที่สุดว่า "สงฺฆํ อาวุโส ปวาเรมิ ทิฏฺเฐน ว่า สุเตน วา ปริสงฺกาย วา วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺต อนุกมฺปํ อุปาทาย ปสฺสนฺโต ปฏิกริสฺสมิ" (เธอทั้งหลาย ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลาย จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักปฏิกรรม)

๓. อัจจยเทศนา เป็นหลักปฏิบัติอย่างหนึ่งในอริยวินัย (สำหรับทั้งพระสงฆ์ และคฤหัสถ์) มีสาระสำคัญว่า เมื่อใดก็ตาม ถ้ามีใครทำการละเมิด ล่วงเกิน เข้าใจผิด หรือทำอะไรไม่ดีต่อผู้อื่น ต่อมา รู้ตัวว่า หรือสำนึกได้ จะปฏิกรรมแก้ไขกลับตัว ก็ไปขอขมาอภัยเขา การแสดงความยอมหรือสำนึกผิดในการที่ตนได้ทำความผิดละเมิดหรือล่วงเกินผู้ อื่น และมาบอกขอให้เขายอมรับความสำนึกของตน เพื่อที่ตนจะได้ปฏิกรรม และสำรวมระวังต่อไปนั้น เป็นความเจริญงอกงามในอริยวินัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2018, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎก มีเรื่องราวหลายกรณี ที่ชาวบ้านบางคน และพระบางรูปก็มี ทำผิดล่วงเกินแม้กระทั่งต่อพระพุทธเจ้า เมื่อสำนึกได้ ก็ไปสารภาพผิด กราบทูลขอขมาต่อพระองค์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เมื่อได้ทำผิดพลาดล่วงเกินไปเพราะความหลงความเขลา มองเห็นโทษแล้ว แก้ไขเสีย ก็ทรงรับขมา การที่ใครก็ตามทำผิดพลาดแล้ว มองเห็นโทษ มาปฏิกรรม กลับตัวแก้ไข ทำความสังวรต่อไปนั้น เป็นความเจริญงอกงามในวินัยของอารยชน

ดังเช่นในกรณีนายขมังธนูที่รับจ้างมาเพื่อสังหารพระพุทธเจ้า แล้วสำนึกผิด และเข้ามากราบทูลความสำนึกผิดของตน พระพุทธเจ้าได้ตรัสข้อความที่เป็นหลักในเรื่องนี้ว่า (วินย. ๗/๓๖๙/๑๘๐) "ยโต จ โข ตฺวํ อาวุโส อจฺจยํ อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ ตนฺเต มยํ ปฏิคฺคณฺหาม วุทฺธิ เหสา อาวุโส อริยสฺส วินเย โย อจฺจยํ อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ ปฏิกโรติ อายตึ สํวรํ อาปชฺชติ" (เพราะการที่เธอมองเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงยอมรับโทษนั้นของเธอ การที่ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วปฏิกรรมตามธรรม ถึงความสังวรต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2018, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิกรรม นี้ เป็นการนำหลักกรรมมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคน ด้วยการให้เขาพัฒนากรรมของเขาเอง โดยอย่างน้อยให้ปฏิกรรม คือแก้ไข เพื่อให้การกระทำครั้งต่อไปดียิ่งขึ้น หรือกลับร้ายกลายดี มิใช่ว่ากลัวจะมีกรรม ก็เลยไม่ทำอะไร เหมือนอย่างลัทธินิครนถ์ และที่สำคัญคือ ไม่ใช่ว่า ทำผิดพลาดไปแล้ว ก็มัวครุ่นคิดหม่นหมอง ขุ่นข้อง คร่ำครวญ หวนละห้อย จมอยู่กับอดีต ซึ่งทางธรรมถือว่าเป็นการเสริมซ้ำบาปอกุศล และกีดกั้นกุศลให้เสียโอกาส เป็นการเพิ่มทุกข์ให้แก่ตนเอง

การที่ว่าเมื่อทำอะไรผิดพลาดไปแล้ว ตนมาตระหนักรู้ความผิดพลาดนั้น ก็ไม่มัวอยู่กับความรู้สึก ทั้งไม่มัวทุกข์ และทั้งไม่มัวนิ่งนอนใจ แต่หันไปหาความรู้ คือไปอยู่กับปัญญา ค้นหาพบข้อบกพร่องแล้ว คิดที่จะแก้ไขปรับปรุง หรือคิดกลับตัวใหม่ ก็จะได้ปฏิกรรม กลับจากร้ายกลายเป็นดี เข้าหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญนี้ อีกทั้งเข้าหลักเป็นความไม่ประมาทด้วย เท่ากับว่าปฏิกรรมมาหนุนย้ำความไม่ประมาท ที่เป็นหลักธรรมใหญ่ ทำให้บุคคลนั้นงอกงาม มีแต่ความก้าวหน้า พัฒนาสู่ความสมบูรณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2018, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำพุทธภาษิต ในพระธรรมบท ซึ่งพระองคุลิมาล เมื่อกลับตัวกลับใจมาเกิดใหม่ในอริยวินัยแล้ว ครั้นบรรลุอรหัตผล เสวยวิมุตติสุขอยู่ ก็ได้นำมากล่าว เท่ากับเป็นการเสริมย้ำความในเรื่องปฏิกรรม ดังนี้


"ผู้ใด ประมาทพลาดไปแล้วในกาลก่อน ครั้นภายหลัง (กลับตัวได้) ไม่ประมาท ผู้นั้น ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างสดใส ดุจดังดวงจันทร์อันพ้นไปแล้วจากเมฆหมอกฉะนั้น

"ผู้ใด ได้ทำบาปกรรมไว้ มาปิดเลิกเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้น ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างสดใส ดุจดังดวงจันทร์อันพ้นไปแล้วจากเมฆหมอก" (ขุ.ธ.25/23/38 ฯลฯ )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2018, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2018, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิกรรม “การทำคืน” “การแก้กรรม” การแก้ไข, การกลับทำใหม่ให้เป็นดี, เป็นคำสอนสำคัญส่วนหนึ่งในการทำกรรม มีสาระสำคัญ คือ ยอมรับความผิดพลาดที่ได้ทำไปแล้ว ละเลิกบาปอกุศลหรือการกระทำผิดพลาดเสียหายที่เคยทำนั้นและหันมาทำความดีงามถูกต้องหรือบุญกุศล แก้ไขปรับปรุงตนเปลี่ยนแปรกรรมให้ดี,
ในทางปฏิบัติ พระพุทธเจ้า ได้ทรงนำหลักปฏิกรรมมาวางเป็นระบบวิธีปฏิบัติทางสังคม คือ ในด้านวินัย ขั้นพื้นฐาน ๓ ประการ ได้แก่

1. วินัยบัญญัติ (สำหรับสงฆ์) เรื่อง อาปัตติปฏิกรรม ซึ่งแปลกันว่าการทำคืนอาบัติ คือการที่ภิกษุหรือภิกษุณีบอกแจ้งความผิดของตน เพื่อจะสังวรต่อไป แม้แต่แค่สงสัย ดังเช่น เมื่อถึงวันอุโบสถ ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความสงสัยว่าตนอาจจะได้ต้องอาบัติ ก็บอกแจ้งแก่ภิกษุอื่นรูปหนึ่งว่า (เช่น วินย. 4/186/246) อหํ อาวุโส อิตฺถนฺนามาย อาปตฺติยา เวมติโก ยทา นิพฺเพมติโก ภวิสฺสามิ ตทา ตํ อาปตฺตึ ปฏิกริสฺสามิ” (ท่านครับ ผมมีความสงสัยในอาบัติชื่อนี้ หายสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น “ปฏิกริสฺสามิ” เป็นรูปกริยาของปฏิกรรม)

2. วินัยบัญญัติ (สำหรับพระสงฆ์) เรื่องปวารณากรรม คือหลังจากอยู่ร่วมกันมาตลอดพรรษา ภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายประชุมกัน และแต่ละรูปกล่าวคำเปิดโอกาสหรือเชิญชวนแก่ที่ประชุม เริ่มด้วยรูปที่เป็นผู้ใหญ่ที่สุดว่า (วินย.4/226/314)สงฺฆํ อาวุโส ปวาเรมิ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺต อนุกมฺปํ อุปาทาย ปสฺสนฺโต ปฏิกริสฺสามิ(เธอทั้งหลาย ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักทำคืน “ปฏิกริสฺสามิ” เป็นรูปกริยาของปฏิกรรม)

3. อริยวินัย (สำหรับทั้งพระสงฆ์ และคฤหัสถ์) เรื่องอัจจยเทศนา คือการแสดงความยอมรับหรือสำนึกผิดในการที่ตนได้ทำความผิดละเมิดหรือล่วงเกินผู้อื่น และมาบอกขอให้ผู้อื่นนั้น ยอมรับความสำนึกของตน เพื่อที่ตนจะได้สำรวมระวังต่อไป ดังเช่นในกรณีนายขมังธนูที่รับจ้างมาเพื่อสังหารพระพุทธเจ้า แล้วสำนึกผิด และเข้ามากราบทูลความสำนึกผิดของตน พระพุทธเจ้าได้ตรัสข้อความที่เป็นหลักในเรื่องนี้ว่า (วินย.7/369/180)ยโต จ โข ตฺวํ อาวุโส อจฺจยํ อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ ตนฺเต มยํ ปฏิคฺคณฺหาม วุทฺธิ เหสา อาวุโส อริยสฺส วินเย โย อจฺจยํ อจฺจโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ ปฏิกโรติ อายตึ สํวรํ อาปชฺชติ” (เพราะการที่เธอมองเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงยอมรับโทษนั้นของเธอ การที่ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสังวรต่อไป ข้อนั้น เป็นเจริญในอริยวินัย “ปฏิกโรสิ” และ “ปฏิกโรติ” เป็นรูปกริยาของปฏิกรรม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2020, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พนักงานปั๊มน้ำมัน ได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สภ.หัวหิน ว่า ถูกชายคนหนึ่งขับรถเข้ามาเติมน้ำมัน ตบบ้องหูซ้ายจนบาดเจ็บ

หลังเกิดเรื่อง นักแสดงได้โทรศัพท์พูดคุยกับเจ้าของปั๊มน้ำมันแล้ว รู้สึกผิด ตำหนิตัวเอง โกรธตัวเองเหมือนกัน ปกติใส่บาตรทุกวันพระ ทำไมถึงยอมให้อารมณ์มานำสติเช่นนี้ จากนี้ไปจะเข้าไปหาน้องเขา ขอโทษ ยอมรับว่าหลุด ด้วยความที่น้องไม่น่ารัก บวกกับรถเรา เราก็รัก ทั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำเช่นนั้น จะรับผิดชอบและดูแลค่ารักษา และถ้าย้อนกลับไปได้ คงไม่ทำ


กรรมมี ๓ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม


กายกรรม. การกระทำทางกาย เช่น เตะถีบถองกระทืบ เป็นต้น เป็นกรรมทางกาย ทำแล้ว เรียกกลับคืนไม่ได้ วจีกรรมก็เช่นกัน พูดไปแล้วเรียกคืนไม่ได้ ผลภายนอกของมันก็นั่นแหละ ทั้งนี้ทั้งนั้นโรงงานผลิตขอมันคือมโน = มโนกรรม
การแก้กรรมแบบพุทธก็คือตั้งจิตตั้งใจใหม่ว่าจะไม่ทำเช่นนั้นพูดเช่นนั้นอีก

เรื่องของจิตใจซึ่งเป็นนามธรรมยากสุดๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร