วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b42: วินัยสงฆ์

วินัยสงฆ์ หรือพระวินัย เป็นกฎหมายของพระภิกษุ เป็นเครื่องควบคุมความประพฤติการปฏิบัติตนของภิกษุให้เป็นนักบวชที่น่าเคารพเลื่อมใส ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความศรัทธาชื่นชม และมีใจโน้มเข้าหาเพื่อฟังธรรมต่อไป

พระวินัยนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติตามเหตุที่บังเกิดขึ้น เมื่อมีภิกษุทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมหรือทำความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ทรงประชุมสงฆ์ ตรัสถามเรื่องราวจากภิกษุผู้กระทำผิดให้ได้ความกระจ่าง แล้วทรงชี้ให้เห็นโทษของความประพฤติผิดนั้นๆ พร้อมกับทรงชี้ทางที่ควรประพฤติให้สงฆ์ได้ทราบ

ข้อห้ามนั้นจึงบัญญัติขึ้นเป็นพระวินัย ห้ามมิให้ภิกษุทำอีกต่อไป การทำผิดพระวินัยเรียกว่า อาบัติ พระภิกษุที่อาบัติต้องรับโทษหนักเบาตามความรุนแรงของอาบัติที่กระทำ


พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติชั้นความผิดที่รุนแรงมากน้อยตามลำดับ ดังนี้ คือ ความผิดขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก ชั้นรองลงมาตามลำดับคือ สังฆาทิเสส อนิยต นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ แต่ละขั้นมีจำนวนและรายละเอียดต่างกันไป แต่รวมแล้วเป็นข้อห้ามทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การไม่ทำสิ่งที่ทรงห้ามทั้ง ๒๒๗ ข้อ ก็คือการรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ที่พระภิกษุทุกรูปต้องถือปฏิบัติให้เคร่งครัดนั่นเอง

:b42: อาบัติ

คำว่า อาบัติ มาจากภาษาบาลีว่า อาปตติ หมายถึง “การทำผิดทางวินัยของพระสงฆ์” พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติวินัยแก่พระภิกษุสงฆ์ไว้เป็นสิกขาบท ๑๕๐ ข้อ ให้พระภิกษุปฏิบัติเพื่อควบคุมความประพฤติของภิกษุทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อการปฏิบัติธรรม ขจัดอาสวะกิเลสตามที่พระพุทธเจ้าเทศนาไว้ หากภิกษุละเมิดวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ก็เรียกว่า อาบัติ หรือต้องอาบัติ เมื่อวินัยมีจำนวนมากดังนี้ ในบางครั้งพระภิกษุจึงอาจเผอเรอ กระทำผิดไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง จึงได้ทรงบัญญัติวิธีแก้ความผิดนั้น คนทำผิดต้องรับโทษตามความผิดเพื่อจะได้รู้สำนึกและไม่กระทำผิดอีกต่อไป เมื่อความผิดมีความหนักเบาต่างกัน โทษก็ต้องหนักเบาต่างกันไปด้วย การทำผิดทางวินัยหรืออาบัติของพระภิกษุสงฆ์ จำแนกตามหมวดหมู่ได้ดังนี้

อาบัติขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก เป็นความผิดที่ละเมิดข้อห้ามใดข้อห้ามหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อ คือ เสพเมถุน ถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้หรือลักขโมยนั่นเอง ฆ่ามนุษย์ให้ตาย หรืออวดอุตริมนุสสธรรม ภิกษุผู้กระทำผิด เรียกว่า ต้องอาบัติปาราชิก โทษที่ได้รับเป็นโทษหนัก คือ การขาดจากความเป็นภิกษุ

อาบัติขั้นรองลงมา คือ สังฆาทิเสส หมายถึง ความผิดในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในจำนวน ๑๓ ข้อ เช่น มีความกำหนัดอยู่แล้วจับต้องกายหญิง มีความกำหนดอยู่แล้วพูดเกี้ยวหญิง เป็นสื่อชักให้ชายหญิงเป็นสามีภรรยากัน ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นต้น ภิกษุผู้กระทำผิดเรียกว่า ต้องสังฆาทิเสส เป็นโทษระดับกลาง ต้องรับโทษ “อยู่กรรมทรมานตน” จึงจะพ้นอาบัติ การอยู่กรรมทรมานตน คือ การอยู่ในที่สงบในช่วงเวลาหนึ่ง สำรวมกายใจ ใคร่ครวญพิจารณาโทษของตนแล้วตั้งใจไม่กระทำความผิดเช่นนั้นอีก

อาบัติขั้นรองลงไป คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มีจำนวน ๓๐ ข้อ ปาจิตตีย์ มีจำนวน ๙๒ ข้อ เป็นโทษเบา เรียกชื่อเช่นเดียวกับความผิดนั้นเช่นเดียวกัน คือ ผิดขั้นนิสัคคิยปาจิตตีย์ ก็เรียกว่าต้องอาบัตินิสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติขั้นต่ำลงไปเป็นโทษเบา คือ ปาฏิเทสนียะ มีจำนวน ๔ ข้อ การปฏิบัติผิดเสขิยวัตรข้อใดข้อหนึ่งใน ๗๕ ข้อ จัดเป็นโทษเบา ผู้ที่ทำผิดโทษเบาจะต้องแสดงความผิดของตนต่อคณะสงฆ์

อนิยต มีจำนวน ๒ ข้อ เป็นความผิดที่ไม่กระจ่างชัด ว่าควรจัดเป็นโทษระดับใด จึงต้องมีการไต่สวนและพิจารณากำหนดขั้นโทษตามพยานหลักฐาน

อธิกรณสมถะ มีจำนวน ๗ ข้อ เป็นวิธีการพิจารณาว่าจะตัดสินความผิดนั้นหรือไม่อย่างไร เช่น ตัดสินตามเสียงข้างมาก การประนอมยอมความ เป็นต้น

ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์

เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอาบัติ ก็ถือกันว่าภิกษุรูปนั้นไม่บริสุทธิ์ จะไม่สามารถลงโบสถ์ร่วมทำสังฆกรรมกับภิกษุอื่นๆ ได้ จะต้องแก้อาบัติให้ตนกลับมีความบริสุทธิ์เสียก่อน การไม่กระทำความผิดข้อใดๆ ก็คือการรักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างเคร่งครัดนั่นเอง


การปฏิบัติตนเพื่อแก้อาบัตินั้นมีต่างๆ กันไป สุดแท้แต่ความหนักเบาของศีลที่อาบัติ มีตั้งแต่การประกาศความผิดของตนต่อภิกษุอื่น การอยู่ในบริเวณจำกัด เฉพาะเพื่อสำนึกผิด ยกจนถึงการขาดจากความเป็นภิกษุ เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกจะต้องสึกออกไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ไม่สามารถดำรงเพศเป็นภิกษุต่อไปอีกได้

ปาราชิก

คำว่า “ปาราชิก” สันนิษฐานว่าแปลว่า “ผู้แพ้” อาจหมายถึง “ผู้แพ้แก่วิถีชีวิตการเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา” ปาราชิกเป็นอาบัติขั้นที่ร้ายแรงที่สุด ภิกษุไม่ว่ารูปใด ถ้าหากอาบัติถึงขั้นปาราชิกแล้วจะสิ้นสภาพการเป็นภิกษุทันที แม้ว่าจะยังครองผ้าเหลืองหรือปฏิบัติตนอย่างภิกษุอื่นๆ อยู่ก็ตาม ภิกษุที่รู้ตนเองว่าอาบัติปาราชิกแล้วสามารถลาสิกขาไปใช้ชีวิตอยู่อย่างฆราวาสทั่วไปได้ แต่หากยังคงดื้อครองผ้าเหลืองหลอกให้ผู้คนกราบไหว้อยู่อีก ก็จะยิ่งเป็นบาปหนาที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ

อาบัติปาราชิกมี ๔ ประการ ได้แก่ การเสพเมถุน การลักทรัพย์ การฆ่ามนุษย์ และการอวดอุตริมนุสธรรม

๑. การเสพเมถุน คือ การร่วมประกอบกิจกรรมทางเพศ ไม่ว่าจะกระทำกับผู้หญิงหรือผู้ชาย หรือกระทำกับสัตว์ก็ตาม ปาราชิกข้อการเสพเมถุน บางทีก็เรียกกันว่า ปฐมปาราชิก แปลว่า “ปาราชิกข้อแรก”

๒. การลักทรัพย์ คือ การนำทรัพย์ของผู้อื่นไปเป็นของตนโดยเจตนา ในเมืองไทยกำหนดว่า การลักทรัพย์มีมูลค่าตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป เป็นการผิดหรือเป็นอาบัติขั้นปาราชิก การเจตนาแอบอ้างความคิดหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือการเบียดบังเอาเงินในกองทุนที่มีผู้ศรัทธาถวายเป็นทานเพื่อใช้ในกิจของสงฆ์ หรือกิจของศาสนามาใช้ส่วนตัว ก็ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิกเช่นกัน

๓. การฆ่ามนุษย์ คือ การเจตนาทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ไม่ว่าจะลงมือฆ่าเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่าให้ก็ตาม ถือเป็นความผิดปาราชิกข้อที่ ๓ ทั้งสิ้น

๔. การอวดอุตริมนุสธรรม คือ การพูดอวดผู้อื่นว่าตนได้บรรลุธรรมะระดับสูง เช่น บรรลุโสดาบัน บรรลุอรหันต์ เป็นต้น ไม่ว่าตนจะได้บรรลุธรรมตามที่ตนได้อวดอ้างไปจริงหรือไม่ก็ตาม

อาบัติปาราชิก หากผิดแม้แต่เพียงข้อเดียวก็ถือว่าภิกษุผู้อาบัติสิ้นสภาพการเป็นภิกษุแล้ว แม้จะไม่มีใครล่วงรู้หรือจับได้ก็ตาม การกราบไหว้บูชาภิกษุที่อาบัติปาราชิก นอกจากจะไม่เป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ยังผิดมงคลที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ที่ว่า บูชาบุคคลที่ควรบูชาอีกด้วย


สังฆาทิเสส ๑๓

๑. ภิกษุแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส.

๒. ภิกษุมีความกำหนดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส.

๓. ภิกษุมีความกำหนดอยู่ พูดเกี้ยวหญิง ต้องสังฆาทิเสส.

๔. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม ต้องสังฆาทิเสส.

๕. ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องสังฆาทิเสส.

๖. ภิกษุสร้างกุฎีที่ต้องก่อและโบกด้วยปูนหรือดิน ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ จำเพาะเป็นที่อยู่ของตน ต้องทำให้ได้ประมาณ โดยยาวเพียง ๑๒ คืบพระสุคต โดยกว้างเพียง ๗ คืบ วัดในร่วมใน และต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี ต้องสังฆาทิเสส.

๗. ถ้าที่อยู่ซึ่งจะสร้างขึ้นนั้น มีทายกเป็นเจ้าของ ทำให้เกินประมาณนั้นได้ แต่ต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ต้องสังฆาทิเสส.

๘. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องสังฆาทิเสส.

๙. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส.

๑๐. ภิกษุพากเพียรเพื่อจะทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส

๑๑. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.

๑๒. ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.

๑๓. ภิกษุประทุษร้ายตระกูล คือประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจากวัด กลับว่าติเตียนสงฆ์ ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.


***************************************************

:b8: ข้อสังเกตุเกี่ยวกับ...การต้องอาบัติ “สังฆาทิเสส”
ขอให้ทุกท่านศึกษาแนวทางจากกระทู้ข้างล่างนี้นะคะ
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน แจ่มแจ้ง ในเรื่องสังฆาทิเสส


:b44: >>> ผิดหรือไม่ผิด ในสังฆาทิเสส ข้อแรก ??
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=20801

กล่าวโดยสรุปได้ว่า...การต้องอาบัติ “สังฆาทิเสส” ถ้าลาสิกขา (สึก) ไปเป็นคฤหัสถ์แล้วก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะอาบัติมีได้เฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้วหามีอาบัติติดตัวไม่ อีกทั้งไม่มีผลปิดกั้นสวรรค์หรือมรรคผลนิพพานแต่อย่างใด สามารถสร้างบุญกุศลตามฐานะของตนก็บรรลุคุณธรรมชั้นสูงได้ แต่หากกลับมาบวชใหม่ หวนคืนสู่เพศบรรพชิตอีกครั้ง ก็จำเป็นที่จะต้องกระทำคืนหรือแก้ไขให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ กล่าวคือ ต้องแก้ด้วยการขอมานัตอยู่ประพฤติวัตร หรือการอยู่กรรม (อยู่ปริวาสกรรม) อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ กรณี (ตามพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มานัตหนึ่งร้อย สึกอุปสมบทใหม่ ข้อ ๕๐๘-๕๑๑) เท่านั้น จึงจะพ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสได้

***************************************************

:b8: :b8: :b8: แหล่งข้อมูล :: ๑. หนังสือ...นวโกวาท (ฉบับประชาชน)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=19459
๒. http://www.sakulthai.com/DSakulcolumnde ... uthorid=19


:b47: การอยู่ปริวาสกรรม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=43529

:b47: วินัยของพระภิกษุสงฆ์ที่ประชาชนควรทราบ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=28703

:b47: ความเข้าใจพระวินัย (มมร.)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=36150

:b47: ผู้ละเมิด “ปาราชิก” คนแรก (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=57871

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 03:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณสาวิกาน้อย :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2009, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


โพทส์ได้สวยงามราวกับเป็นเทพธิดาลงมาโพสท์เลยนะครับ หรือไม่ก็เหมือนชื่อที่ตั้งไว้ของจขกท. :b40: :b44: ผมจะจำเทคนิคศิลปะอันนี้ไปไว้ใช้ตอนโพสท์ในบทความธรรมะแล้วกัน :b40:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2009, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อินทรีย์5 เขียน:
โพทส์ได้สวยงามราวกับเป็นเทพธิดาลงมาโพสท์เลยนะครับ หรือไม่ก็เหมือนชื่อที่ตั้งไว้ของจขกท. :b40: :b44: ผมจะจำเทคนิคศิลปะอันนี้ไปไว้ใช้ตอนโพสท์ในบทความธรรมะแล้วกัน :b40:

รูปภาพ

:b8: :b8: :b8: ขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ

รูปภาพ

:b4: :b20: ชมแบบนี้ ก็ยิ้มแก้มปริเลยสิค่ะ !!! :b12: :b13:


รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สาวิกาน้อย เขียน:
ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์

เพื่อความกระจ่างของปัญญาของผู้อ่าน และเป็นการสนทนาธรรมตามกาลสมัย

คำว่า "พระปาติโมกข์" นั้น ยังมีความหมายที่คลุมเครือนักสำหรับผู้สนใจ บางท่านอ่านผ่านๆ ไปก็มี เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสมัยนี้พระท่านสวดปาติโมกข์ในวันพระใหญ่ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) บางวัดก็ทุกครึ่งเดือน มีการบรรจุอาบัติเหล่านี้ไว้ในการสวดพระปาติโมกข์ด้วย และในหลักสูตรนักธรรมชั้นตรีเอง หนังสือนวโกวาทระบุไว้ชัดว่า สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นั้นมี........(รวมไปถึงอาบัติที่เล็กน้อยเหล่านี้ด้วย)

จึงเป็นเหตุให้บางท่านก็เข้าใจว่า สิกขาบทจริงๆ มี ๑๕๐ ข้อ หรือจริงๆ มี ๒๒๗ ข้อ
ข้อนี้เคยมีถกเถียงมาแล้วในบางบอร์ดธรรม

ผมเองสงสัยเหมือนกันและเคยลังเลที่จะตัดสินใจ จึงได้ไปสืบสาวเรื่องในพระไตรปิฏกและอรรถกถาจารย์ต่างๆ พบที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรื่องสิกขาบทที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ๑๕๐ ข้อ หรือสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนมี ๑๕๐ ข้อ แต่กระนั้นเอง ได้อ่านในพระวินัยปิฎก ที่มาที่ไปของอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้ พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้เอง หาไช่การบัญญัติชั้นหลัง หรือการบัญญัติโดยคณะสงฆ์บางพวก

เหตุต่างๆ นี้บางท่านถึงกับกล่าวว่า ศีลพระจริงๆ นั้นมี ๑๕๐ ข้อ ความเข้าใจของผมเอง เข้าใจดังนี้

คำว่าปาติโมกข์ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงอนุญาตให้ทำทุกกึ่งเดือน คำว่า ทำ ได้แก่ การสวนซ้อมและทำความเข้าใจ เรียกว่าสวดเพื่อทบทวนข้อบัญญัติ ทรงอนุญาตสวดอาบัติที่แก้ด้วยการปลงและการแก้ไขด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การสละผ้าที่เป็นนิคสัคคีย์ ส่วนอาบัติเล็กน้อยนั้น ไม่ถึงกับต้องมีการสวดหรือซ้อม ทบทวนมาก คงเนื่องจากสาเหตุที่อาบัติเล็กน้อยเหล่านี้ ไม่แก้ด้วยวิธีอื่นเลย นอกจากการปลงอาบัติ และอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้สอบถามกันได้ง่ายถึงความถูกต้อง เช่น ทำแบบนี้ต้องอาบัติหรือไม่ ทำแบบนี้พ้นอาบัติหรือยัง รายละเอียดไม่มาก ไม่ซับซ้อน ก็เลยไม่ยกอาบัติเล็กน้อยเข้าสู่อุเทศ (หัวข้อที่สวด) ในพระปาติโมกข์ แต่ก็หาไช่ว่าอาบัติเหล่านี้จะไม่ไช่ข้อที่พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้

อนึ่ง ในสมัยนี้พระท่านสวดปาติโมกข์กันนั้น ท่านรวมอาบัติเล็กน้อยไว้ด้วย และจัดเป็นอาบัติที่มาในพระปาติโมกข์ ทำให้ชวนสงสัย (ชวน ไม่เกี่ยวกับการเมืองนะ :b12: ) ว่า คำว่าปาติโมกข์ในครั้งพุทธกาล กับสมัยนี้ต่างกันหรือเปล่า

ความเข้าใจของผม คำว่า ปาติโมกข์ ในสองสมัยนั้นเป็นอันดียวกัน และมีวิธีสวด วิธีซักซ้อมทำความเข้าใจกันเหมือนๆ กัน ต่างแต่ที่จัดเข้าไม่เท่ากัน เนื่องมาจากสาเหตุหลังทำสังคายนาครังแรก อาบัติเล็กน้อยนั้น ถ้าสังเกตจะเห็นว่า แปรปวนไม่มั่นคงด้วยเหตุหลายประการ คือ กาลสมัย ท้องถิ่น บุคคล กาลสมัยนั้น เช่น ในพระวินัยปิฎกมีอาบัติข้อหนึ่งว่า อันภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พึงแสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เจ็บไข้สวมเขียงเท้า

ข้อนี้มีอธิบายว่า ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่บุคคลไม่เป็นไข้ ผู้สวมเขียงเท้า ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ ผู้เหยีบเขียงเท้าก็ดี ผู้สวมเขียงเท้าก็ดี ผู้สวมเขียงเท้าหุ้มส้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

เห็นได้ว่า กาลสมัยเช่นนั้นไม่ควรแม้กระทั้งการแสดงธรรมแก่บุคคลใส่รองเท้า แม้โดยที่สุดกระทั้งเหยียบบนรองเท้า กาลสมัยเปลี่ยนไป สมัยนั้นมีคนเพ่งโทษโจทย์จันกันมาก สมัยนี้ไม่มีเลย กลับเป็นเรื่องธรรมดาไป

ท้องถิ่น เช่น ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ คลุมศีษระนั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

ในสมัยนี้ พระภิกษุที่ไปเผยแผ่พระศาสนาที่ต่างประเทศ สวมที่คลุมหัวหมด หิมะตกในฤดูหนาว หากไม่ทำดังนั้นก็แย่ และก็เป็นเรื่องปกติไป ท้องถิ่นเขาเห็นว่าดีด้วย เพราะป้องกันตัวเอง แม้บางนิกายในต่างประเทศ ก็ยกเว้นเรื่องการสวมที่คลุมเลย แถมยูนิฟอร์มท่านออกแบบมามีที่คลุมอีก

บุคคล เช่นเดียวกับข้อแรก พระมหากษัตริย์ ไม่ถอดรองเท้า ก็เว้นไป บุคคลชั้นสูง ไม่ถอดรองเท้า ก็ไม่เป็นไร แสดงธรรมได้ ถ้าไม่ได้ ก็เป็นการยุ่งยาก อีกทั้งทำให้พลาดโอกาสที่จะแสดงธรรม เนื่องจากการแสดงธรรมเป็นการอนุเคราะห์อย่างหนึ่ง

ด้วยเหตุเหล่านี้ ผมเลยเข้าใจว่า สมัยนั้นเลยไม่ยกสู่อุเทศ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงและข้อปฏิบัติเหล่านี้ยังต้องอาศัยท้องถิ่น ประเพณี บุคคล เป็นเรื่องกำหนดนั่นเอง เมื่อคราวสังคายนา มีการปารภถึงพุทธานุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้บ้าง ท่านอธิบายว่า เล็ก ได้แก่ ทุกกฏ น้อย ได้แก่ อนิยต แต่ท่านผู้สังคายนาตกลงที่จะไม่แก้ เนื่องจากว่าไม่เห็นว่าจะขัดประการใดในขณะนี้ และถ้าแก้ไปแล้ว ก็อาจเป็นเหตุอ้างของผู้ที่ไม่ละอายบาป เช่น อ้างว่าสงฆ์สมัยสังคายนายังแก้ได้เลย สงฆ์ยุคเราก็ลงมติแก้ได้ เห็นเหตุนี้เอง หลังจากนั้นมา พระสงฆ์จึงได้บรรจุสิกขาบทเล็น้อยเหล่านี้ไว้ในปาติโมกข์ (ยกสู่อุเทศ, สวด)

เพราะได้ตกลงใจแล้วว่า ถึงเหตุอะไรก็ตาม ไม่มีเปลี่ยนแปลง ตามนี้ทั้งหมด แล้วก็ยกสิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้เข้าสวดในวันปาติโมกข์ตลอดมาจนถึงสมัยนี้ (นิกายที่ตรงตามนี้คือ เถรวาท) เมื่อเป็นดังนี้เอง ในหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะสงฆ์จึงมี (ในนวโกวาท) ว่า สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นั้นคือ......รวมเล็กน้อยด้วย

สรุปก็คือ ปาติโมกข์โดยความหมายด้านการกระทำทั้งสมัยพุทธกาลและสมัยหลังนั้นมา เหมือนกันที่เป็นการสวดต่างกันตรงหัวข้อที่สวด

ถ้ามีคำถามว่า เป็นการเพิ่มสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญัติไว้หรือเปล่า นัยว่าเป็นเหตุหนึ่งแห่งการเสื่อมของศาสนา ตรงนี้ผมคิดว่าไม่ไช่ คำว่าไม่บัญญัติเพิ่มนั้น หมายถึงการไม่เพิ่มข้ออาบัติอื่นเข้าไป แต่การจัดสิกขาบทเล็กน้อยเข้าไปนั้น จัดว่าไม่เพิ่ม เพราะความต่างที่สิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้มีอยู่แล้ว ทรงบัญญัติไว้แล้ว เพียงแต่ไม่มีการนำเข้าไปสู่อุเทศ และทรงพุทธานุญาตสู่อุเทศ ๑๕๐ ข้อแม้ก็จริง แต่กระนั้น ก็ไม่ไ้ทรงห้ามที่จะนำมาสู่อุเทศโดยทั้งหมด ถ้าทรงห้ามไว้ ก็คงมีบัญญัติเพิ่มเติมในประเด็นนี้แล้ว เพราะเนื่องด้วยการบัญญัติ

ยังมีข้อปลีกย่อยอีกมากครับ จะแสดงความคิดเห็นหมดก็ไช่ว่าจะดี ท่านอื่นอาจมีความคิดที่ดีกว่านี้ก็ได้ โปรดแสดงครับ ผมจักได้ศึกษาแลกเปลี่ยนทรรศนคติกันบ้าง ความเห็นนี้ไม่ไช่ค้านเรื่องสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นะครับ เพียงแต่แสดงอีกแง่มุมถึงที่มาที่ไปของสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ในสมัยนี้เท่านั้น

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 16:38
โพสต์: 81

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.samyaek.com/fileload/samyaek/seen227.pdf

ดูตามลิงค์ข้างบนละกันชัดเจนดี ใครจะบวชก็คิดดูดี ๆ นะ สำหรับผู้ที่เรียนรู้แล้ว ..แต่ผู้ที่ไม่ได้เรียนรู้แต่อยากบวชก็คงต้องปล่อยเขาไป...มันไม่ง่ายอย่างที่คิดกันว่าบวชตามประเพณีเท่านั้น และพระมียังมีผ้าเหลืองห่อหุ้มอยู่ก็พิจารณาดี ๆ ว่าควรจะอยู่ต่อไปหรือสึกดี โดยเฉพาะอาบัติประเภทนิสสัคคียปาจิตตีย์ พระที่เรียนทางโลก และพระที่เดินบิณฑบาตแถวตลาดชอบรับ อาหารประเภทนี้ รวมทั้งพระที่เป็นนักเทศน์ไปเทศน์ที่ไหนจะมีค่าตัว กัณฑ์ละ 4,000 บาท :b34: :b34: :b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 02:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 21:32
โพสต์: 82

ที่อยู่: นครศรีธรรมราช

 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: เห็นด้วยค่ะ คุณ ไม่สายเกินไป :b35:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 02:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. การอวดอุตริมนุสธรรม คือ การพูดอวดผู้อื่นว่าตนได้บรรลุธรรมะระดับสูง เช่น บรรลุโสดาบัน บรรลุอรหันต์ เป็นต้น ไม่ว่าตนจะได้บรรลุธรรมตามที่ตนได้อวดอ้างไปจริงหรือไม่ก็ตาม


ถ้าจริงไม่ผิดนะงับ แล้วยิ่งพระอรหันต์เมื่อทำผิดต้องอาบัติ แต่เคยได้ยินกฎว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีสติบริบูรณ์ทุกเมื่อ จึงไม่ถึง


แล้วปาราชิกก็มีบทลงโทษนะงับ ก็คือไปอเวจีมหานรก
ถ้าสังฆาทิเสท ก็ไปนรก แล้วกั้นไม่ให้บรรลุธรรมนะงับ ต้องแก้ก่อนจึงจะบรรลุธรรมได้

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 04:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วินัยสงฆ์ เป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นวินัยพุทธบัญญัติที่พระคุณเจ้าต้องยึดถือ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วย สาธุ........... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2018, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร