วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 20:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ กท. นี้

viewtopic.php?f=1&t=56022&p=420233#p420233

เราว่ายังงี้

กริยา 1. การกระทำ หมายถึงการกระทำใดๆ ที่กล่าวถึงอย่างกว้างๆ หรืออย่างกลางๆ ถ้าเป็น “กิริยาพิเศษ” คือ เป็นการกระทำซึ่งเป็นไปด้วยเจตนาที่ก่อให้เกิดวิบาก ก็เรียกว่า กรรม, การกระทำซึ่งเป็นไปด้วยเจตนาที่ไม่ก่อวิบาก เช่น การกระทำของพระอรหันต์ ไม่เรียกว่า กรรม แต่เป็นเพียงกิริยา (พูดให้สั้นว่า เจตนาที่ก่อวิบาก เป็นกรรม เจตนาที่ไม่ก่อวิบาก ถ้าไม่ใช่เป็นวิบาก ก็เป็นกิริยา) 2. ในภาษาไทย มักหมายถึงอาการแสดงออกทางกายในเชิงมารยาท บางทีใช้ควบคู่กันว่า กิริยามารยาท 3. ในทางไวยากรณ์ ได้แก่ คำแสดงอาการหรือบอกการกระทำของนามหรือสรรพนาม, ในไวยากรณ์ไทย บางทีกำหนดให้ใช้รูปสันสกฤตว่า กริยา แต่ในบาลีไวยากรณ์โดยทั่วไป ใช้รูปบาลี คือ กิริยา

กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม
แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม) ว่าโดยสาระ กรรมก็คือเจตนา หรือ เจตนานั่นเองเป็นกรรม, การกระทำที่ดี เรียกว่า กรรมดี การกระทำที่ชั่ว กรรมชั่ว

กรรม 2. กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒ คือ

๑. อกุศลกรรม - กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล
๒. กุศลกรรม - กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล

กรรม 3 กรรมจำแนกตามทวาร คือทางที่ทำกรรม มี ๓ คือ

๑. กายกรรม - การกระทำทางกาย
๒. วจีกรรม - การกระทำทางวาจา
๓. มโนกรรม - การกระทำทางใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอเราว่ายังงั้น

โลกสวยก็ว่ายังงี้

อ้างคำพูด:
กรรมไม่ได้มีแค่สาม แต่พระพุทธองค์ท่านจัดไปถึงสี่ค่ะ

1 กรรมดำมีวิบากดำ
2 กรรมขาวมีวิบากขาว
3 กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว
4 กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเป็นดังนั้น ก็มาดูกรรมที่ ๔ ต่อไป

กรรมที่ทำให้สิ้นกรรม


ในหัวข้อ ว่าด้วยประเภทของกรรมข้างต้น เฉพาะหมวดสุดท้าย ได้จำแนกกรรมเป็น ๔ อย่าง ตามสภาพที่สัมพันธ์กับวิบากหรือการให้ผล คือ

๑. กรรมดำ - มีวิบากดำ
๒. กรรมขาว - มีวิบากขาว
๓. กรรมทั้งดำทั้งขาว - มีวิบากทั้งดำทั้งขาว
๔. กรรมไม่ดำไม่ขาว - มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

เรื่องการให้ผลของกรรมเท่าที่บรรยายมานี้ จำกัดอยู่ในวงของกรรม ๓ ข้อต้น ที่มีชื่อว่า กรรมดำ กรรมขาว และกรรมทั้งดำทั้งขาว หรืออาจเรียกง่ายๆว่า กรรมดี และกรรมชั่ว จึงยังเหลือกรรมอย่างที่ ๔ ค้างอยู่

กรรมอย่างที่ ๔ นี้ มีลักษณะการให้ผลต่างออกไปจากกรรม ๓ ข้อต้นอย่างสิ้นเชิง จึงแยกออกมาพูดไว้ต่างหาก

คนทั่วไป และแม้แต่ชาวพุทธส่วนมาก มักสนใจกันแต่เรื่องกรรม ๓ อย่างแรก และมองข้ามกรรม ข้อที่ ๔ นี้ไปเสีย ทั้งๆที่กรรมข้อสุดท้ายนี้ เป็นหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา และเป็นข้อปฏิบัติที่นำไปสู่จุดหมายที่แท้จริงของพุทธธรรม

กรรมดำ และกรรมขาว หรือกรรมดี กรรมชั่ว โดยทั่วไปนั้น แสดงออกเป็นการกระทำในรูปแบบต่างๆมากมาย ซึ่งประมวลลงได้ในขอบเขตของหลัก ที่เรียกว่าอกุศลกรรมบถ ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐ เช่น การทำลายชีวิต การละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ความประพฤติผิดทางเพศ การพูดชั่วหรือทำร้ายกันด้วยวาจา เป็นต้น และการทำความดีในทางตรงกันข้าม กรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ผู้กระทำประสบผลดี และผลร้ายต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว เป็นเครื่องปรุงแต่งชีวิต พร้อมทั้งวิถีทางดำเนินของชีวิตนั้น ทำให้เขาทำกรรมดีและกรรมชั่วอื่นๆ ต่อไปอีก หมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ


ส่วนกรรมประเภทที่ ๔ นี้ มีลักษณะการให้ผลในทางตรงข้าม คือ เป็นกรรมที่ไม่ทำให้เกิดกรรมสั่งสมต่อๆไป แต่เป็นกรรมที่ทำแล้ว กลับทำให้สิ้นกรรม ทำให้หมดกรรม นำไปสู่การดับกรรม หรือนำมาซึ่งความดับกรรม พูดง่ายๆว่า เป็นกรรมที่ทำแล้ว ไม่ทำให้เกิดมีกรรม


กรรมที่ทำให้สิ้นกรรม หรือกรรมที่สร้างภาวะปลอดกรรมนี้ ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักการที่นำไปสู่จุดหมายสูงสุดของพุทธธรรม
ถ้ามองที่หลักอริยสัจ ๔ ก็ได้แก่ ข้อที่ ๔ ของอริยสัจนั้น คือ มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งอาจจะจัดรูปใหม่ เป็นข้อปฏิบัติที่เรียกชื่ออย่างอื่น เช่น โพชฌงค์ ๗ หรือไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น ก็ได้

บางทีท่านกล่าวถึงกรรมอย่างที่ ๔ นี้ โดยสัมพันธ์กับกรรม ๓ ข้อแรกว่า ได้แก่ เจตนา เพื่อละกรรม ๓ อย่างนั้น ซึ่งก็คือการกระทำหรือการปฏิบัติ ที่ประกอบด้วยเจตจำนง หรือความคิดในทางที่เป็นการทำให้กรรม ๓ อย่างแรก ไม่เกิดขึ้นนั่นเอง หรือถ้ากำหนดด้วยมูลเหตุ ก็เรียกว่า กรรมที่เกิดจากอโลภะ อโทสะ และอโมหะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

การพูดถึงกรรมนั้น ตามปกติจะมีความหมายโยงไปถึงเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ความสุขและความทุกข์ เพราะความสุขและความทุกข์ เป็นผลสืบเนื่องไปจากกรรม โดยที่กรรมเป็นเหตุ และสุขทุกข์เป็นผล เมื่อยังมีกรรม ก็ยังต้องวนเวียนอยู่ในวังวนแห่งสุขและทุกข์

ถ้าเล็งถึงภาวะที่ดีงามสูงสุดเป็นที่หมาย โดยไม่ให้มีข้อบกพร่องเหลืออยู่เลย ภาวะที่ยังระคนด้วยสุขและทุกข์ ก็คือยังไม่พ้นจากทุกข์ ดังนั้น กรรมจึงยังเกี่ยวเนื่องอยู่กับทุกข์ และยังเป็นเหตุของทุกข์

อย่างไรก็ตาม ที่เป็นอย่างนี้ ก็เฉพาะแต่กรรมสามอย่างแรกเท่านั้น

กรรมประเภทที่สี่นี้ เป็นข้อยกเว้น เนื่องจากเป็นกรรมที่ทำให้สิ้นกรรม จึงเป็นกรรมที่นำไปสู่ความสิ้นทุกข์ หรือความไม่มีทุกข์เหลืออยู่เลยอีกด้วย

ในขณะที่กรรมดีนำมาซึ่งผลคือความสุข แต่ความสุขนั้นระคนอยู่ด้วยทุกข์ และอาจเป็นปัจจัยแก่ทุกข์ได้ต่อไป
กรรมประเภทที่สี่นี้ มีแต่ทำให้เกิดภาวะปลอดทุกข์อย่างเดียวและโดยสิ้นเชิง ยิ่งกว่านั้น ในขณะที่กำลังทำกรรมนี้อยู่ ก็กระทำโดยไม่มีความทุกข์อีกด้วย จึงเป็นกรรมที่ไร้ทุกข์ เป็นภาวะสุขล้วนโดยสมบูรณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แยกให้ชัดระหว่างพุทธกับนิครนถ์

ต่อ

ความสิ้นกรรม หรือดับกรรมนี้ มีสอนในลัทธิศาสนาอื่นที่ร่วมสมัยกับพระพุทธศาสนาด้วย โดยเฉพาะลัทธินิครนถ์


ลัทธินิครนถ์สอนหลักการเรื่องกรรมเก่า (ปุพเพกตวาท) เรื่องความสิ้นกรรม (กรรมกษัย) และการทรมานตนด้วยการบำเพ็ญตบะ (ตบะ, ตโปกรรม) เพื่อทำให้สิ้นกรรม

หลักการทั้งสามอย่างนี้ ถ้าไม่ทำความเข้าใจโดยแยกออกจากคำสอนในพระพุทธศาสนาให้ชัดเจน ก็จะเกิดความสับสนกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา และเกิดความหลงผิดขึ้น

แต่ถ้าสามารถแยกออกจากหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ ก็กลับจะทำให้เข้าใจพุทธธรรมชัดเจนขึ้นด้วย

ลัทธินิครนถ์สอนดังนี้

"สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่บุคคลได้เสวย ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ตนทำไว้ในปางก่อน โดยนัยดังนี้ เพราะทำให้กรรมเก่าหมดสิ้นไปด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ ก็จะไม่มีผลบังคับต่อไป เพราะไม่มีผลบังคับต่อไป ก็สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็จะโทรมซาหมดไปเอง พวกนิครนถ์มีวาทะ มีทิฏฐิอย่างนี้" (ม.อุ.14/3/2 ฯลฯ)

พวกนิครนถ์ถือว่า อะไรๆก็เป็นเพราะกรรมเก่า จะหมดทุกข์ได้ ก็ต้องทำให้กรรมหมดสิ้นไป ด้วยการบำเพ็ญตบะเผากิเลส ซึ่งเป็นการทำกรรมเก่าให้เหือดหาย และไม่ทำกรรมใหม่เพิ่มขึ้นอีก


แต่พระพุทธศาสนาสอนว่า กรรมเก่าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย จะต้องรู้เท่าทันตามเป็นจริง เพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตนได้ถูกต้อง คนจะหมดทุกข์ได้ ด้วยการทำกรรม แต่เป็นการกระทำอย่างถูกต้อง ซึ่งทำให้ไม่มีกรรมเกิดขึ้น และจึงทำให้กรรมหมดไป

ดังนั้น เพื่อให้กรรมกลายเป็นสูญ แทนที่จะหยุดนิ่งหรืออยู่เฉย ผู้ปฏิบัติตามหลักการของพุทธธรรม จึงยิ่งต้องเพียรพยายามทำการอย่างเอาจริงเอาจัง แต่เป็นการกระทำหรือปฏิบัติด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งทำให้ปลอดโปร่งเป็นอิสระ พ้นจากกระทำตามอำนาจบงการของตัณหา ที่เข้ามาช่วยสนองอวิชชาชักพาคนให้ร่านรนทะยานไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูทางแยกระหว่างความอยากที่เรียกว่า ตัณหา กับ ความอยากที่เรียกว่า ฉันทะ

ต่อ

เพื่อให้รู้จักกรรมประเภทที่ ๔ ชัดเจนขึ้น ด้วยการบรรยายสั้นๆ จึงขอสรุปลักษณะทั่วไปของกรรมที่ว่าให้สิ้นกรรมไว้ ดังนี้


ก. เป็นทางดับกรรม หรือข้อปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับกรรม (กรรมนิโรธคามินีปฏิปทา) และพร้อมกันนั้น ก็เป็นกรรมอย่างหนึ่งเองด้วยในตัว

ข. มีชื่อเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

ค. เป็นกรรมที่เกิดจากอโลภะ อโทสะ อโมหะ จึงทำให้ไม่มีการทำความชั่วใดๆ เลย อย่างเป็นไปเองตามธรรมดาของมัน เพราะไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้ทำความชั่ว

ง. เป็นการกระทำกระที่ประกอบด้วยปัญญา ทำด้วยความรู้เข้าใจ มองเห็นคุณโทษ เป็นต้น ตามสภาพ จึงเป็นการกระทำที่ดีงาม ส่งเสริมคุณภาพชีวิต เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข สมตามเหตุผล

จ. เป็นการกระทำในทางที่ดีงามเกื้อกูลอย่างเข้มแข็งจริงจังหรือเต็มที่ เพราะความเพียร สติ และปัญญาออกมาทำหน้าที่หนุน และนำการกระทำได้โดยตรง เนื่องจากไม่ถูกตัณหาชักพาไปในทางเบียดเบียนผู้อื่นด้วยความเห็นแก่ตน หรือหน่วงเหนี่ยวขัดถ่วงไม่ให้กระทำ เพราะความห่วงหาติดพันในความสุขสำราญของตน

ฉ. เป็นกุศลกรรม คือกรรมที่เป็นกุศล ในระดับที่เรียกว่าเป็นโลกุตรกุศล (อรรถกถาว่าเป็นมรรคเจตนาหรือมรรคญาณ) จึงเรียกว่าเป็นกรรมที่ทำให้สิ้นกรรม เพราะไม่เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรม คือไม่ทำให้มีการก่อกรรม หรือการก่อตัวของกรรม

ช. ว่าโดยหลักธรรม และองค์ธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติ ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นทางนำไปสู่ความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) คือ อริยสัจข้อที่ ๔ นั่นเอง แต่อาจมาในชื่ออื่นๆ เช่น เป็นโพชฌงค์ ๗ ไตรสิกขา เป็นต้น แล้วแต่กรณีของการปฏิบัติ หรืออาจเรียกเป็นกลางๆว่า เจตนาเพื่อละกรรม ๓ อย่างแรก

สำหรับ ข้อ จ. ขอตั้งข้อสังเกตว่า คนจำนวนมากมีความเข้าใจผิดว่าตัณหา คือความอยาก เป็นแรงจูงใจให้คนกระทำการต่างๆ ยิ่งมีตัณหามาก ก็จะยิ่งกระทำด้วยความกระตือรือร้นแข็งขันมาก ถ้าไม่มีตัณหา ก็ไม่มีแรงจูงใจให้กระทำ ก็จะหยุดนิ่งอยู่เฉย อาจกลายเป็นคนเกียจคร้าน


ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นการมองธรรมชาติของมนุษย์ไม่ทั่วตลอด เมื่อนำมาใช้ในทางปฏิบัติ อาจทำให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง ทั้งต่อชีวิตของบุคคล ต่อสังคม และต่อธรรมชาติแวดล้อม

ความจริง ตัณหาเป็นทั้งแรงจูงใจให้กระทำ และแรงจูงใจให้ไม่กระทำ

ตัณหาจะเป็นแรงจูงใจให้กระทำ ในกรณีที่จะแสวงหาสิ่งเสพปรนเปรอตน เอามาสนองความเห็นแก่ตัว การกระทำในกรณีนี้ มักเป็นไปในทางเบียดเบียนหรือขัดแย้งแย่งชิงกันระหว่างมนุษย์ หรือเป็นการได้มาเพื่อตน แต่เป็นผลเสียหายเดือดร้อนแก่สังคมหรือชีวิตอื่น

แต่ในกรณีที่ควรจะทำการบางอย่างเพื่อความดีงาม หรือเพื่อประโยชน์สุขของชีวิตและสังคม โดยไม่มีสิ่งเสพปรนเปรอตน ตัณหาจะเป็นแรงจูงใจให้ไม่กระทำ เพราะตัณหาทำให้ติดพันเป็นห่วงต่อการเสพสุข หรือความสำราญปรนเปรอที่มีอยู่ในเวลานั้น อย่างน้อยแม้แต่ความสุขในการนอน และความเพลิดเพลินในการปล่อยตัวอยู่เรื่อยๆ จึงเป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยว หรือขัดถ่วงให้ไม่สามารถก้าวออกไปทำการต่างๆที่ควรกระทำ
ตัณหาในกรณีนี้ จึงเป็นตัวเหตุของความเกียจคร้าน ยิ่งถ้ามีอวิชชาแรงมาก คือไม่รู้ไม่เข้าใจคุณค่าของการกระทำนั้นๆ ว่าจะก่อให้คุณประโยชน์ที่แท้จริงอย่างไร ตัณหาก็จะหนุนให้มีความเป็นอยู่อย่างนิ่งเฉยเฉื่อยชา

โดยนัยนี้ ตัณหาจึงเป็นแรงจูงใจชักพาให้กระทำในทางเบียดเบียน หรือไม่ก็ให้ไม่กระทำโดยซึมเซา อยู่ในความเกียจคร้านเฉื่อยชา สุดแต่ว่าการเสพหรือความติดในความเพลิดเพลินปรนเปรอจะได้รับการสนองด้วยวิธีใด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้างบนเรื่องของตัณหา แต่นี้่ สังเกตความอยากที่เป็นฉันทะบ้าง ต่างกันแบบไหนยังไง

ต่อ

การกระทำที่เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และประโยชน์สุขที่แท้จริง เป็นเรื่องต่างหากจากการได้เสพหรือติดในความเพลิดเพลินปรนเปรอ และในหลายกรณี ทำให้ต้องสละการเสพสำราญหรือการติดเพลินด้วยซ้ำ การกระทำเช่นนี้จะไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยตัณหา (นอกจากในกรณีของการสร้างเงื่อนไข) แต่จะเกิดขึ้นได้ด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจมองเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ที่แท้จริงของการกระทำนั้น แล้วเกิดความพอใจที่จะกระทำขึ้น

ความพอใจหรือความอยากจะทำ ที่เกิดขึ้นตามวิถีทางนี้ เรียกว่า ฉันทะ (เรียกเต็มว่ากุศลฉันทะ หรือ ธรรมฉันทะ) ฉันทะนี้เป็นแรงจูงใจตัวแท้ตัวจริง ในการกระทำที่ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตและประโยชน์สุขที่แท้จริง

แต่การกระทำด้วยฉันทะนั้น อาจถูกต่อต้าน หน่วงเหนี่ยว หรือขัดขวาง โดยตัณหาที่ติดเพลินในความเกียจคร้านเฉื่อยชา หรือห่วงสิ่งเสพปรนเปรอตนในรูปแบบต่างๆ ในกรณีเช่นนี้ ตัณหาก็จะทำให้เกิดความทุกข์ เพราะต้องทำการด้วยความบีบคั้นฝืนใจ

แต่ถ้ามีปัญญาที่รู้เข้าใจมองเห็นคุณค่านั้นแจ่มชัดมาก และฉันทะมีกำลังมากพอ จนพ้นจากแรงหน่วงเหนี่ยวขัดถ่วงของตัณหา
ฉันทะนอกจากเป็นแรงจูงใจในการกระทำแล้ว ก็จะกลายเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขด้วย แต่เป็นความสุขอย่างใหม่ ที่ปลอดโปร่งกว้างขวาง ไม่คับแคบขุ่นมัวอย่างความสุขจากตัณหา ทำให้บุคคลกระทำงานแล้วสร้างสรรค์ด้วยจิตใจที่เป็นสุข หรือเป็นอิสระไร้ทุกข์

ในกรณีนี้ ก็จะเกิดสมาธิในการะทำ โดยมีความเพียร สติ และปัญญาออกมาทำหน้าที่คอยหนุนและนำการกระทำนั้นโดยตรงและเต็มที่ การกระทำอย่างนี้นี่แหละ เป็นกรรมในแนวทางที่เรียกว่า กรรมที่ทำให้สิ้นกรรม


กระบวนการแห่งกรรมที่ทำให้สิ้นกรรมนั้น มีสาระสำคัญที่อาจพูดให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ว่า เมื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแนวปฏิบัติของมรรคมีองค์ ๘ หรือโพชฌงค์ ๗ (หรือธรรมในชื่ออื่นๆ แล้วแต่กรณี) ซึ่งมีปัญญาที่รู้เข้าใจคุณค่าและสภาวะที่แท้จริง เป็นเครื่องชี้นำ ตัณหา ก็จะถูกลบหายไป เพราะไม่มีช่องที่จะเข้ามาแสดงบทบาททำหน้าที่ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ไม่ปรากฏขึ้น

เมื่อไม่มีตัณหา เมื่อปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ก็ไม่เกิดกรรมที่จะก่อผลต่อเนื่องผูกมัดชีวิตจิตใจ เมื่อไม่มีกรรมก่อผลผูกมัด ก็เป็นภาวะอิสระโปร่งใจไร้ทุกข์ ชีวิตที่เคยเป็นอยู่อย่างทาสรับใช้ ที่คอยทำการตามคำบงการของตัณหา ก็เปลี่ยนมาสู่ความมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ที่ทำให้เป็นนายของการกระทำอย่างเป็นไทแก่ตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูบทบาทฉันทะ ในอิทธิบาท ๔ ที่

viewtopic.php?f=1&t=56034


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ



ต่อไปนี้ จะขอนำเอาพุทธพจน์บางแห่ง เกี่ยวกับกรรมที่ทำให้สิ้นกรรม มาแสดงไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา


"ภิกษุทั้งหลาย พึงทราบกรรม พึงทราบเหตุเกิดแห่งกรรม พึงทราบแตกต่างแห่งกรรม พึงทราบวิบากแห่งกรรม พึงทราบความดับแห่งกรรม พึงทราบข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ...


"ภิกษุทั้งหลาย เจตนา เราเรียกว่า กรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

"เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน ? ผัสสะ เป็นเหตุเกิดแห่งกรรมทั้งหลาย.

"ความแตกต่างแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นไฉน ? คือ กรรมที่เสวยผลในนรก ก็มี กรรมที่เสวยผลในกำเนิดดิรัจฉาน ก็มี กรรมที่เสวยผลในแดนเปรต ก็มี กรรมที่เสวยผลในโลกมนุษย์ ก็มี กรรมที่เสวยผลในเทวโลก ก็มี นี้เรียกว่า ความแตกต่างแห่งกรรมทั้งหลาย

"วิบากแห่งกรรม เป็นไฉน ? เรากล่าวถึงวิบากแห่งกรรมก็มี ๓ อย่าง คือ วิบากในปัจจุบัน หรือในที่อุบัติ หรือในเบื้องต่อๆไป นี้เรียกว่า วิบากแห่งกรรม.

"ความดับแห่งกรรม เป็นไฉน ? เพราะผัสสะดับ กรรมก็ดับ มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐนี้แหละ เป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับกรรม กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับกรรมอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอย่อมรู้ชัด ซึ่งชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) อันทรงปัญญาเฉียบคม ซึ่งเป็นที่ดับแห่งกรรมนี้" (องฺ.ฉกฺก.22/334/464)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2018, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมใหม่ กรรมเก่า ความดับกรรม และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับกรรม...


"กรรมเก่าเป็นไฉน ? ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ซึ่งถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เกิดจากเจตจำนง เป็นที่เสวยเวทนา นี้เรียกว่า กรรมเก่า


"ภิกษุทั้งหลาย กรรมใหม่เป็นไฉน ? กรรมที่บุคคลกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในบัดนี้ เรียกว่า กรรมใหม่


"ภิกษุทั้งหลาย ความดับกรรมเป็นไฉน ? ภาวะที่สัมผัสวิมุตติ เพราะความดับไปแห่งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เรียกว่า ความดับกรรม


"ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับกรรม เป็นไฉน ? ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐนี้เอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับกรรม" (สํ.สฬ. 18/227-230/166)

"ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิใช่ของพวกเธอ และก็มิใช่ของใครอื่น พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ซึ่งถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เกิดจากเจตจำนง เป็นที่เสวยเวทนา" (สํ.นิ. 16/143/77)


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2018, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ โลภะ...โทสะ...โมหะ เป็นต้นเหตุให้เกิดกรรม. กรรมที่ทำเพราะโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นต้นเหตุ มีโลภะเป็นที่ก่อตัวขึ้น ย่อมให้ผลในที่ที่อัตภาพของบุคคลนั้นเกิดขึ้น กรรมนั้นให้ผลในที่ใด เขาย่อมเสวยผลของกรรมนั้นในที่นั้น จะเป็นในปัจจุบัน หรือในที่อุบัติ หรือในเบื้องต่อๆไปก็ตาม ฯลฯ กรรมที่ทำเพราะโทสะ...กรรมที่ทำเพราะโมหะ... (ก็เช่นเดียวกัน) ฯลฯ”


"ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ อโลภะ...อโทสะ...อโมหะ เป็นต้นเหตุให้เกิดกรรม. กรรมใดที่ทำเพราะอโลภะ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นต้นเหตุ มีอโลภะเป็นที่ก่อตัวขึ้น เมื่อปราศจากโลภะแล้ว กรรมนั้นก็เป็นอันถูกละหมดไป มีมูลขาดแล้ว ถูกทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ถูกทำให้ไม่มีเหลือ ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกต่อไป ฯลฯ กรรมที่ทำเพราะอโทสะ...กรรมที่ทำเพราะอโมหะ...(ก็เช่นเดียวกัน) ฯลฯ" (องฺ. ติก. 20/473/111)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2018, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ เหล่านี้ คือ โลภะ...โทสะ...โมหะ เป็นต้นเหตุให้เกิดกรรม. กรรมที่ทำเพราะโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นต้นเหตุ มีโลภะเป็นที่ก่อตัวขึ้น กรรมนั้นเป็นอกุศล...มีโทษ...มีทุกข์เป็นวิบาก กรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรม ไม่เป็นไปเพื่อความดับแห่งกรรม. กรรมใดที่ทำเพราะโทสะ... กรรมใดที่ทำเพราะโมหะ (ก็เช่นเดียวกัน) ฯลฯ


"ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ อโลภะ...อโทสะ...อโมหะ เป็นต้นเหตุให้เกิดกรรม. กรรมใดที่ทำเพราะอโลภะ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นต้นเหตุ มีอโลภะเป็นที่ก่อตัวขึ้น กรรมนั้นเป็นกุศล...ไม่มีโทษ...มีสุขเป็นวิบาก กรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความดับกรรม ไม่เป็นเพื่อความเกิดกรรม. กรรมใด ที่ทำเพราะอโทสะ...กรรมใดที่ทำเพราะอโมหะ...(ก็เช่นเดียวกัน)" (องฺ.ติก.20/551/338)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2018, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต เรากล่าวว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุ ก็มี มีโทสะเป็นเหตุ ก็มี มี โมหะเป็นเหตุ ก็มี
แม้อทินนาทาน...กาเมสุมิจฉาจาร...มุสาวาท...ปิสุณาวาจา...ผรุสวาจา...สัมผัปปลาปะ...อภิชฌา...พยาบาท...มิจฉาทิฏฐิ เราก็กล่าวว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุ ก็มี มีโทสะเป็นเหตุ ก็มี มีโมหะเป็นเหตุ ก็มี.


"โดยนัยดังนี้แล โลภะจึงเป็นเหตุให้เกิดกรรม โทสะจึงเป็นเหตุให้เกิดกรรม เพราะสิ้นโลภะ ก็สิ้นเหตุให้เกิดกรรม เพราะสิ้นโทสะ ก็สิ้นเหตุให้เกิดกรรม เพราะสิ้นโมหะ ก็สิ้นเหตุให้เกิดกรรม" (องฺ.ทสก. 24/163/282)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2018, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




35475652_860306484180304_7471781341575512064_o.jpg
35475652_860306484180304_7471781341575512064_o.jpg [ 89.16 KiB | เปิดดู 2491 ครั้ง ]
อ่านซะยาว

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2018, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อ่านซะยาว


โลกสวยพูดเรื่องกรรมที่ ๔ ก็จึงเกิดกระทู้นี้ขึ้น เช่นนั้น มาพูดเรื่องแก้กรรมอีก นี่เราคงต้องลง ปฏิกรรม อีกแล้ว หยุดไม่ลงจริงๆเรา คิกๆๆ

แต่ตรงนี้ไหนๆก็ไหนๆแล้ว เอาสะหน่อย เช่นนั้น พูดนะมันพูดง่าย แต่ทำนะมันทำยาก คิกๆๆ ยืมคำพูดลุงหมานหน่อย ตามจิตให้ทัน คือ ตามความคิดให้ทัน นี่ก็พูดน่ะง่ายนะ แต่ทำน่ะมันยาก :b13: มันไม่ใช่กล้วยหอมสุก (กล้วยสุกปอกง่ายกลิ่นหอมรสหวาน) ไม่ใช่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร