วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 13:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปวารณา มีหลายนัย เป็นวิธีทางสงฆ์ แต่ชาวบ้านพึงนำเอาสาระไปใช้ในการอยู่ร่วมกัน,ในการครองรักครองเรือนได้ ดูความหมาย

ปวารณา 1. ยอมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ขอ 2. ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน, ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า วันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือนได้ ...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ เป็นวันที่เรียกว่า มหาปวารณา. การปวารณานี้เป็นวินัยบัญญัติ ในทางพระพุทธศาสนา พระเรามาจำพรรษา สมัยก่อนนี้เมื่อออกพรรษาแล้ว พระท่านก็จะเดินทางท่องเที่ยวไป เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่มหาชนทั่วไป คือ ไปสอนธรรมะแก่ประชาชนนั่นเอง
แต่ว่าในการอยู่ร่วมกันนั้นอาจจะมีอะไรบ้าง สำหรับพระที่เป็นชั้นพระอรหันต์แล้วก็ไม่มีอะไร แต่ว่าพระผู้ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ไม่บรรลุมรรคผล ก็อาจจะมีอะไรกระทบกระทั่งกันบ้าง หรืออาจจะมีอะไรที่เป็นการผิดพลาด เสียหายเกิดขึ้น จากการพูด การกระทำบ้าง
เมื่อจะจากกันไป ควรจากกันไปด้วยจิตใจที่ไม่มีอารมณ์ค้าง อารมณ์ค้างที่เกิดขึ้นในระหว่างพรรษา คือ การกระทบกันนิดๆหน่อยๆ ในเรื่องอะไรก็ตาม เราออกไปแล้ว หรือว่าจากกันไปแล้ว มันค้างในใจ อารมณ์ค้างอย่างนี้ บางทีมันขังอยู่นานๆ หลายๆปี ซึ่งมันไม่มีประโยชน์อะไร คล้ายๆกับเอาตะเข็บไปใส่ไว้ในหัวใจ มันกัดอยู่เรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้น เพราะฉะนั้น จึงมีวิธีการที่เรียกว่าจะต้องปวารณากัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปวารณา ก็คือ การบอกให้ทราบว่า ท่านได้เห็น ท่านได้ยิน หรือว่าท่านรังเกียจ ด้วยเรื่องอันไม่เหมาะไม่ควรของข้าพเจ้าอันใด จงบอกเรื่องนั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะได้ทำการแก้ไขต่อไป อันนี้ เรื่องคำที่พูดออกไป สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ฯลฯ เป็นการแสดงน้ำใจกว้างขวางอยู่ ไม่ใช่เพียงสักแต่ว่าว่าไปตามธรรมเนียม ตามบาลี แต่ต้องรู้ความหมายของเรื่องที่เราว่า ว่าเราว่าอะไร แล้วก็ต้องมีน้ำใจให้มันตรงกับสิ่งที่เราว่านั้นด้วย เพื่อนฝูงมิตรสหายที่ได้ฟังคำเช่นนั้น ก็ควรจะถือเอาประโยชน์จากถ้อยคำนั้น ด้วยการแนะนำตักเตือนเพื่อนฝูงมิตรสหายที่อยู่ร่วมกัน เมื่อเห็นความบกพร่องกัน
คนเราอยู่ด้วยกันมันย่อมเห็นกันง่าย ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า “สังวาเสน สีลัง เวทิตัพพังระเบียบศีลนี้จะรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน” และอยู่ร่วมกันนานๆ ก็จะรู้ว่าความคิด การพูด การกระทำหรือนิสัยใจคอของคนนั้นว่าเป็นอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนเราตามปกตินั้นไม่มองตัวเอง ไม่เห็นโทษของตัวเอง ไม่ว่าใคร ไม่ว่าผู้ใหญ่ ผู้น้อย มันก็คล้ายๆกัน คือ ไม่เห็นโทษของตัวเอง มองตัวเองไม่ค่อยเห็น คล้ายกับตามองริมฝีปากบนไม่เห็น อะไรอย่างนั้น
ที่ไม่เห็นก็เพราะว่าเราหลงผิด เราเข้าข้างตัว นึกว่าเรื่องที่ตัวทำนั้นถูกหมด ถูกหมด อย่างนี้เป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้รู้ว่าไอ้สิ่งที่เราทำนั้นมันไม่ถูก เรามองไม่เห็น โทษของตัวมองไม่เห็น ต้องให้คนอื่นช่วยมองให้ แล้วช่วยบอกให้ด้วยว่าได้มีอะไรอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงได้ขอร้องกัน ในเวลาปวารณาว่าช่วยมองผมหน่อยเถอะ ผมมันมีอะไรบ้าง ท่านได้ยินความเสียหาย ท่านได้เห็นความเสียหาย หรือแม้ว่านึกรังเกียจในใจ ในเรื่องไม่เหมาะไม่ควรอยู่บ้าง จะได้แก้ไขกันต่อไป อันนี้ เป็นเรื่องที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาทางจิตใจ เพราะว่าเรายอมรับคำแนะนำของคนอื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันคนที่ ยอมรับคำแนะนำของคนอื่นนั้น มันเป็นการลดอัตตาลงไปแล้ว อัตตาตัวตนที่เรายึดมั่นถือมั่น ถ้าเรายอมรับคำแนะนำตักเตือนของคนอื่น ความยึดมั่นถือมั่นมันลดลงไป เปอร์เซ็นต์มันลดลงไป
แต่ถ้าเราไม่ยอมรับเช่นว่า “สู่รู้จะมาสอนข้า แกมันขนาดไหนเชียวละ” นี่แสดงว่าอัตตามันยิ่งใหญ่ ยิ่งมาก ปริมาณไม่ได้ลดลงเลย แล้วก็มีแต่วาจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อาการที่อัตตาตัวตนมันเพิ่มขึ้นอย่างนี้ เป็นการตัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรมของเรามันไม่ก้าวหน้า เพราะว่าเราเพิ่มอัตตามากขึ้น แต่ถ้าเรายอมรับคำแนะนำ คำตักเตือนของเพื่อนด้วยความเต็มใจแล้วก็ไปปรับปรุงแก้ไข มันได้ประโยชน์ตรงที่เราลดความเห็นแก่ตัวลง ลดความยึดมั่นในตัวลง

เรื่อง การลดความยึดมั่น มันเป็นเรื่องใหญ่ในการปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา เพราะมีข้อปฏิบัติไม่ว่าเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องการภาวนา ก็มีจุดหมายอยู่ที่การลดการยึดมั่นถือมั่น
การกระทำอันใดที่ทำให้ลดสิ่งนั้นลงไป การกระทำนั้นเป็นเรื่องที่ดีที่เหมาะ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจึงวางหลักนี้ไว้ สำหรับภิกษุผู้จะจากกันในวันออกพรรษา ทำปวารณา

ปกติก็ทำปวารณากันในวันเพ็ญเดือน ๑๑ แต่ถ้ายังไมอยากจะจากกัน ก็ไปทำปวารณากันในวันหลังก็ได้ มันมีข้อแม้อยู่เหมือนกัน แต่โดยมากก็ทำตามธรรมเนียม วันเพ็ญกลางเดือน ๑๑ แล้ววันแรมค่ำหนึ่งก็เป็นวันออกพรรษาไป ออกพรรษาแล้วต่างคนต่างไป แต่ถ้าไม่ไปก็อยู่วัด สำหรับที่จะทำกิจอย่างอื่นต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องปวารณามีจุดหมายอย่างนั้น เราควรจะรู้ความหมาย ควรจะนำเอาหลักการนี้ไปใช้ด้วยเหมือนกัน แม้เราไปอยู่บ้านก็เอาหลักการปวารณาไปใช้ได้ เช่นว่า อยู่กันในครอบครัวเราก็ปวารณากัน สามีภรรยาก็ปวารณากัน คือ ให้เตือนกัน คือสามีทำอะไรบกพร่องให้ภรรยาเตือนได้ ภรรยาบกพร่องให้สามีเตือนได้ ลูกบกพร่อง นี่เป็นหน้าที่แท้ๆ ที่พ่อแม่ต้องเตือนเพราะเป็นความบกพร่อง ถ้าพ่อแม่บกพร่องล่ะ ลูกก็ควรจะเตือนได้เหมือนกัน ในเมื่อมีความรู้ มีความคิดที่จะเตือนพ่อแม่ได้


เมื่อตะกี้ฟังคำบรรยายของคุณประภาส อวยชัย มีตอนหนึ่งว่า ในครอบครัวหนึ่งเขาประพฤติธรรม พ่อแม่กับลูกนี่ได้ปวารณากันไว้ คือ ถ้าหากว่าลูกเหลวไหลด้วยไม่เรียนหนังสือ ขี้เกียจประพฤติเกเร พ่อแม่จะอดข้าว คือจะไม่กินข้าว
ถ้าหากว่าพ่อแม่ทำผิดล่ะ ลูกควรจะทำอย่างไร ลูกก็บอกว่าถ้าพ่อแม่ทะเลาะกัน ทำอะไรเสียหายลูกไม่ไปเรียน หยุดไม่ไม่ไปโรงเรียน เรียกว่ามีข้อแม้กัน
ทีนี้ ถ้าลูกมีอะไรไม่ดี พ่อแม่ไม่ทานข้าว ลูกก็ไม่กล้าทำผิดกลัวพ่อแม่จะอดข้าว เลยเรียบร้อย
พ่อแม่ก็เหมือนกันถ้าเกิดพูดดังๆ ขึ้นมา ลูกก็เรียกคุณพ่อคุณแม่ เพียงแต่เรียกเท่านั้นแหละ พ่อแม่นึกได้ทันทีหยุดเลย หยุดเลยไม่ได้เถียงกันอีกต่อไป อันนี้ มันก็เป็นประโยชน์จากการที่ว่าปวารณากันไว้ ข้อให้บอกให้เตือนกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นเราทำงานอยู่ในสำนักงานร่วมกันหลายๆคนแล้ว เราก็พูดกันไว้ว่าในพวกเราที่อยู่ร่วมกันนี้ ถือว่าอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ทำงานด้วยกันก็เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน เราควรจะรักกันในทางที่ถูกที่ชอบ

รักกันในทางที่ถูกที่ชอบ ก็หมายความว่า คอยเตือนกันเป็นหูเป็นตา เป็นสติเป็นปัญญาให้แก่กัน
ถ้าเพื่อนคนใดคนหนึ่งไปทางผิด ทำอะไรจะเสียหายแก่ตัว แก่งาน แก่ส่วนรวม ก็ควรจะมีการเตือนกันได้ เมื่อเตือนแล้วก็จะได้หยุดยั้งชั่งใจต่อไป
แต่ว่าไปเตือนเอาเฉยๆก็ไม่ได้ เกรงใจกัน คือนึกว่าเขาไม่ได้ขอให้เตือนจะไปเตือนได้อย่างไร จึงควรบอกกันไว้ บอกว่าในหมู่เราทุกคน ขอให้เตือนกันได้ ให้แนะแนวกันได้ ถ้าเห็นว่าใครทำอะไรไม่เหมาะไม่ควรก็ช่วยบอกช่วยเตือนกัน ปวารณากันไว้อย่างนั้น
เมื่อเห็นเพื่อนทำอะไรชักเขวๆไป มีความคิดแผลงๆ การกระทำที่ไม่เหมาะไม่ควร จะออกไปนอกลู่นอกทางแล้ว เราก็ไปสะกิดบอกว่าไม่ดีนะ อย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะได้หยุดได้ยั้งกัน ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าทางจิตใจในหมู่ในคณะ มันเป็นการดี จึงควรจะได้นำไปใช้ในชีวิตของเราต่อไป ช่วยแนะช่วยเตือนกัน
เหมือนกับเราบวชในสำนักเดียวกัน เมื่อรู้ข่าวว่าเพื่อนมันชักจะเขวๆ ไป ออกไปนอกลู่นอกทางไปก็ควรจะได้เตือนกัน เตือนว่าอย่าลืมคำสอนของอาจารย์ อย่าลืมว่าเราเคยไปบวชไปเรียน ทำอย่างนั้นมันจะเสียหาย อะไรอย่างนี้ ก็เป็นการช่วยให้เพื่อนได้สำนึกรู้สึกตัว ได้เปลี่ยนแปลงจิตใจเข้าหาความงามความดี เป็นเรื่องที่ควรจะทำกันด้วยน้ำใจเมตตา เรียกว่า ทำด้วยเมตตา พูดด้วยเมตตา คิดด้วยเมตตาต่อกัน มันเป็นเหตุให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการงานของชีวิต จึงเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์อยู่มากเหมือนกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ เมื่อปวารณาออกพรรษาแล้ว ออกพรรษา หมายความว่า พรุ่งนี้คือเช้ามืดก็เรียกว่าหมดพรรษา คืนนี้ มันยังอยู่ในพรรษา ยังต้องอยู่ในวัด ออกนอกวัดไปไหนไม่ได้ก่อน พรุ่งนี้ ถึงจะไปได้ เรียกว่าออกพรรษาแล้ว

ทีนี้ เมื่อออกพรรษาแล้ว คำว่า “ออก” นี้เป็นไปได้ ๒ แง่ ออกดี ก็ได้ ออกเสีย ก็ได้ ออกดีก็มี ออกเสียก็มี “ออกดี” นั้นหมายความว่า “ไม่ออก”

(๑) ออกดีคือไม่ออก (ไม่ออกไปจากความดี) เช่นว่าเราเข้ามาในพรรษา หรือว่าเราเข้ามาบวชในพระศาสนา การเข้ามาบวชนั้นก็เพื่ออะไร ? เราทุกคนก็ทราบดีว่า บวชเพื่อศึกษา เพื่ออบรมบ่มนิสัย ให้มีฐานทางจิตใจมั่นคง ด้วยศีลธรรมคำสอนในทางพระศาสนา นี่คือจุดหมายที่เราเข้ามาในพระศาสนา และเราก็ได้ปฏิบัติตามสมควร
บางคนก็ปฏิบัติเคร่งครัดดีงาม สนใจในการศึกษา สนใจในการปฏิบัติขัดเกลาจิตใจอย่างแท้จริง
บางคนก็ไม่ค่อยจะเอาใจใส่เท่าใด อยู่ไปตามเรื่องตามราวทำสักแต่ว่าทำไปตามประเพณี แล้วก็ผ่านพ้นไป มันก็เป็นธรรมดา เพราะว่าจิตใจคนเรานี้ระดับมันไม่เท่ากัน
บางคนก็ระดับจิตใจมันดีสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
แต่บางคนก็ไม่ค่อยจะขึ้นเท่าใดยกไม่ค่อยขึ้นมันก็มีอยู่ ถึงกระนั้นก็ได้ชื่อว่าได้เข้ามาในพระศาสนา ได้พบพระพุทธเจ้าโดยโดยน้ำใจ ได้พบพระธรรมโดยน้ำใจ ได้พบพระสงฆ์โดยน้ำใจ เป็นผู้เข้าถึงพระ ทีนี้ เมื่อเราเป็นผู้เข้าถึงพระอย่างนี้แล้ว ออกพรรษาเราก็จะสึกไป


การสึกนั้น มันเป็นเรื่องเปลี่ยนเครื่องนุ่งห่มเท่านั้นเอง เป็นการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบ เราบวชอยู่นี้แต่งเครื่องแบบพระ
ทีนี้ เมื่อสึกออกไปก็แต่งเครื่องแบบชาวบ้าน นุ่งกางแกง ใส่เสื้ออะไรไปตามเรื่องที่เขานิยมกัน นั่นคือการเปลี่ยนเครื่องแบบของร่างกาย
แต่เราไม่ควรเปลี่ยนจิตใจ คือไม่ออก จิตใจนี่ไม่ออก ยังเข้าอยู่เหมือนกับเราอยู่ในวัดในพระศาสนา อยู่ในศีลในธรรม ที่เราได้รับการศึกษาอบรมบ่มนิสัย เราจะไม่ออกไปจากสิ่งนั้น เราอยู่ในวัดทำอะไรได้ อดอะไรได้ เช่น อดบุหรี่ได้ อดเหล้าได้ อดการไปดูหนังไปฟังเพลงได้ อดการสนุกได้สามเดือนกว่า
ที่เราเข้ามาอยู่นี่สามเดือนกว่า ก็ไม่เห็นมันเป็นอะไร ร่างกายก็ปกติกินข้าวได้สองมื้อทุกวัน ฉันได้เป็นปกติ นอนก็หลับได้เป็นปกติ มันขาดสิ่งที่เราเคยทำแต่ว่าก็อยู่ได้ ไม่เห็นจะเดือดร้อนอะไร
เมื่อเราจะออกไปอยู่บ้านก็ควรจะนึกว่า ในขณะที่เราบวชอยู่นั้นเรางดเว้นอะไรบ้าง สิ่งที่เรางดเว้นแล้ว นั่นมันเป็นประโยชน์แก่ชีวิตของเรา เมื่อเราบวชอยู่นั้น เราได้งดเว้นอะไรบ้าง และสิ่งที่เรางดเว้นนั้นมันให้ประโยชน์แก่ตัวเราอย่างไร มันเป็นเรื่องที่เราควรจะพิจารณา เช่นว่า คนที่เคยดื่มสุราจนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
ทีนี้ เมื่อมาบวชไม่ได้ดื่ม มันเป็นอย่างไรบ้าง มันก็ไม่มีอะไร ร่างกายก็ดีขึ้นเป็นน้ำเป็นนวลขึ้นหน่อย สุขภาพดีขึ้นทุกอย่าง
ครั้นเมื่อเราสึกออกไปแล้วก็ควรจะอยู่ในสภาพนั้นต่อไป คือไม่ออกจากการงดเว้นการดื่มสุรา เราอยู่เป็นพระเราไม่ได้ดื่ม ออกไปเราก็ไม่ดื่ม ก็เรียกว่าเราไม่ได้ออกจากศีลข้อนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในข้ออื่นก็เหมือนกัน เราถือไว้ตลอดไปเราไม่ออก เช่นว่า การไม่เที่ยวกลางคืน ความไม่สนุกสนานเฮฮาอะไรต่างๆ เราไม่ออกเรายังรักษาอยู่ เราไม่ได้สึกจากสิ่งเหล่านั้น เราไม่ได้ออกไปจากสิ่งเหล่านั้น ให้ออกแต่เพียงว่าตามพระวินัย วินัยน่ะมันอยู่ในพรรษาสามเดือนแล้วก็ออกพรรษา นี้ออกพรรษาตามพระวินัย

แต่ในแง่ธรรมนั้น เราจะไม่ออกเราจะอยู่ในกรอบศีลธรรมต่อไป แม้เราจะสึกออกไปเป็นชาวบ้าน แล้วเราก็ถือว่าเราอยู่ในกรอบ ในประเพณีอันดีอันงามของพระศาสนา เราได้สมัครเข้ามาเป็นลูกพระพุทธเจ้า เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรสแล้ว เราก็ควรอยู่ในสภาพนั้นต่อไปให้เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ไปที่สงขลา...พบครูคนหนึ่ง แกก็ไม่ใช่ครูธรรมดา เป็นด๊อกเตอร์ สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ ฯ ที่โน่น เมื่อเห็นผมแกสั้นอยู่อย่างนั้นแหละ ก็ถามว่าครูนี่ไปบวชมาหรือ แต่เห็นคิ้วมันไม่โกนโกนแต่ผม ถามว่าไปบวชมาหรือเปล่า
ใช่ครับผมไปบวชมาสามเดือน แล้วสึกตั้งแต่เมื่อไร
โน่นออกพรรษาก็สึก แต่ผมยังสั้นอยู่ ผมมันชอบผมแบบนี้ จะแบบนี้เสมอไปคือว่าจะสั้นแบบนี้เสมอไปตราบใดที่นักศึกษาเขาชอบไว้ผมยาวรุ่มร่ามกัน ผมก็จะไว้ผมสั้นอย่างนี้เสมอไป เพื่อเป็นการแสดงตัวอย่างว่า ไว้ผมสั้นนี่มันก็สบายไม่ได้เจ็บได้ป่วยอะไร ยังทำงานการสอนได้เป็นปกติ แล้วแกก็มาวัดอยู่เสมอ มาเยี่ยมท่าน..ที่หาดทรายแก้ว มาทุกอาทิตย์ มาคุยธรรมะกัน มาปรึกษาอะไรในเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่กัน ไม่ได้ออกพรรษา แล้วก็ไม่ได้ออกทางจิตใจ จิตใจยังคงถือระเบียบถือวินัยอยู่ตลอดเวลา อันนี้ มันจะได้ประโยชน์ช่วยคุ้มครองรักษาตัวเราได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเราออกพรรษาแล้วออกไปเลย คล้ายกับชาวบ้านที่ในพรรษาอดเหล้าสามเดือน อดได้เด็ดขาดสามเดือน พรุ่งนี้เช้ามืดเอากันเลย เตรียมตั้งแต่เย็นนี้เตรียมไปซื้อ ไปอะไรมาแล้ว ใจมันออกไปแล้วก่อนออกพรรษาด้วยซ้ำไป ไปซื้อมาไว้แล้วหลายขวด โซดาเอย อะไรต่ออะไร
บางทีก็สั่งเมียให้ต้มไก่อะไรต่ออะไรไว้ เพื่อนฝูงที่ได้เข้าพรรษา ก็ได้มาประชุมกัน ประชุมกันออกพรรษา อย่างนี้ก็เรียกว่ากลับลงไปสู่ฐานะเดิม ขึ้นมาแล้วถอยลงไปอีก
มันกล้ายๆกับว่าเราเลี้ยงสุนัขไว้ ทีนี้ เราก็จับมันไปอาบน้ำ อาบน้ำสะอาด ถูสบู่อะไรต่ออะไรเรียบร้อย พอปล่อยปั๊บไปคลุกขี้ฝุ่นอีกแล้ว คลุกอีกแล้ว ไอ้ที่ไปคลุกน่ะมันไม่ใช่เรื่องอะไรดอก มันรู้ว่าขยุกขยิกอย่างไรที่ผิวหนัง มันเลยไปคลุกตามวิสัยของมัน สัญชาติมันเป็นอย่างนั้นชอบไปคลุกในรูปอย่างนั้นแหละ

ทีนี้ คนเรานี่ถ้าว่าถอนออกมาแล้วจากสิ่งชั่วร้ายสิ่งไม่ดีไม่งาม ก็ไม่ควรจะถอยกลับไปสู่ในรูปอย่างนั้นอีก ชนะแล้วควรจะรักษาความชนะนั้นไว้ต่อไป ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา. เมื่อชนะแล้วพึงรักษาความชนะนั้นไว้ นี่เป็นพุทธภาษิตบทหนึ่ง ที่พระองค์กล่าวเตือนภิกษุทั้งหลาย ว่าเมื่อเธอชนะแล้วจงรักษาความชนะนั้นไว้ อย่าให้มันกลับแพ้ไปอีก เพราะถ้าแพ้อีกมันแพ้หนัก แพ้หนักทีเดียว
นี่เป็นเรื่องที่เรียกว่าไม่ควรออก ออกพรรษาแล้วก็ไม่ควรออกจากสิ่งดีสิ่งงามทั้งหลาย แต่ว่าเราจะเอาของดีของงามนี่ไปอวดใครๆ ด้วย เช่นว่า เรามาบวชอยู่นี่ก็เหมือนกับเรามาสร้างพระอยู่ในใจของเรา มาสร้างพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไว้ในจิตใจของเรา เวลาเราออกไป เราก็เอาไปด้วย เอาไปใช้เป็นเครื่องรางเครื่องศักดิ์สิทธิ์

เครื่องรางที่ขลังจริงๆนั้น มันไม่ใช่วัตถุที่ทำด้วยโลหะด้วยว่านหรือด้วยอะไรๆ แล้วก็ทำพิธีปลุกเสกกันด้วยอะไรต่างๆ นั่นมันไม่ขลังเท่าใด ไม่ขลังแท้จริง
เครื่องรางที่แท้จริงนั้นก็คือคุณธรรมนั่นเอง พระพุทธที่แท้ พระธรรมที่แท้ พระสงฆ์ที่แท้ ที่มาอยู่ในใจของเรา นั่นแหละคือ เครื่องรางที่แท้จริง ทำให้เราไม่ถูกยิง ไม่ถูกแทง ไม่ถูกทำร้าย อะไรๆ มาทำร้ายไม่ได้ เพราะเรามีเครื่องรางวิเศษ
เพราะฉะนั้น ในเวลาที่เรามาบวชนี้เท่ากับว่าเรามานั่งปลุกเสกกัน ปลุกเสกตัวเอง ไม่ใช่ใครมาปลุกเสกเรา ก็มีอาจารย์บ้าง อาจารย์ปลุกเสก คือแนะแนวแนะวิธีชีวิตให้เราเข้าใจ เรี่ยกว่ามาปลุกเสกเราเพื่อให้เรามีจิตใจเป็นพระ มีธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ
ตัวเราเองอยู่ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าท่านวางไว้ พยายามแก้ไขปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2018, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเราได้อะไรๆแล้ว ก็ออกไปสู่ความเป็นคฤหัสถ์ เมื่อออกไปสู่ความเป็นคฤหัสถ์แล้ว มีคนเขาคอยจ้องอยู่นะ คอยมองอยู่ว่า เออ มันไปบวชแล้วมันเป็นอย่างไร เขามองอย่างนั้น ไปบวชมาแล้วมันเป็นยังไง นิสัยใจคอเป็นยังไง นิสัยใจคอเป็นอย่างไร เขามองเรา อันนี้แหละจะเสื่อมหรือจะเจริญมันก็อยู่ตรงนี้ เราจะช่วยรักษาสถาบันศาสนา หรือเราจะช่วยกันทำลายสถาบันศาสนา ก็อยู่ตรงนี้ด้วยเหมือนกัน อยู่ตรงนี้ละ
คือถ้าเราออกไปแล้วเรารักษาระเบียบชีวิตจิตใจให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมอันดีงามแล้ว เหมือนกับเราช่วยกันรักษาสถาบันทางศาสนาให้อยู่ต่อไป เพราะคนเขาจะเลื่อมใสศรัทธา เขาจะมองเห็นว่า เออ ไปบวชแล้วมันดีขึ้น เรียบร้อยขึ้นกว่าเมื่อก่อน จิตใจสงบเยือกเย็นเอางานเอาการไม่ประพฤติเหลวไหล ไม่เหมือนก่อน นี่สบายใจ

คนที่สบายใจคือคุณพ่อคุณแม่ ถ้าท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะปลื้มใจที่สุดเลย ปลื้มใจว่าลูกชายของท่านบวชแล้วเรียบร้อยกว่าเมื่อก่อน ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน นี่ก็เท่ากับเรายกวิมานทั้งหลังไปวางไว้ในหัวใจของคุณพ่อคุณแม่ ให้ท่านได้นั่งสบายนอนสบายกินสบาย ทำอะไรสบาย โปรดพ่อโปรดแม่อยู่ในตัวแล้ว ท่านก็ชื่นใจ

คนที่อยู่ครองเรือนแม่บ้านจะชื่นใจ แม่บ้านจะอิ่มใจเหมือนได้ผัวคนใหม่ ไอ้คนเก่ามันไม่ได้เรื่อง มันไม่ได้ความ ไอ้คนเก่าเหมือนกับว่ามันตายแล้ว ตายไปตั้งแต่วันโน้นน่ะ
ทีนี้ผัวคนใหม่น่าเอ็นดู น่ารักขึ้นกว่าเป็นไหนๆ นี่ละสบายใจ แล้ก็จะได้ไปคุยกับใครๆ คุณของดิฉันน่ะตั้งแต่ไปบวชมาแล้วเรียบร้อย นี่สบายใจ แล้วมีลูกๆก็สบายใจ
อยู่กับใครอยู่กับคนงาน กับ ผู้บังคับบัญชาก็สบายใจ มันดีทั้งหมด ไม่มีเรื่องเสียเลยแม้แต่น้อย แปลว่าทุกคนชื่นใจทั้งนั้น ในการที่ เรามาเอาสิ่งที่ดีงามกลับไป เอาไปใช้ในชีวิตของเราต่อไป นี่มันเป็นเรื่องประเสริฐ แล้วก็ได้ชื่อว่าเป็นการบำรุงพระศาสนา นี่ล่ะคือการรักษาศาสนา พระศาสนาเราจะอยู่คู่ชาติได้ก็เพราะเราช่วยกันบำรุงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อเราออกไปแล้วขออย่าออกจากสิ่งดีสิ่งงามเป็นอันขาด นี่ออกไปแง่หนึ่ง เรียกว่า เหมือนกับไม่ออก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2018, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๒) ทีนี้ ออกอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ออกจากความชั่ว สิ่งใดที่ไม่ดีไม่งาม เราออกไป นี่ก็ออกเหมือนกัน

ออกพรรษานี่มันออกสองแง่ คือว่า ออกจากความชั่ว ก็ได้ ไม่ออกไปจากความดี ก็ได้ ยังคงอยู่กับความดีต่อไป
สิ่งใดที่มันไม่ดีเราก็ทิ้งมันเสีย ออกไปจากสิ่งนั้น ก็เรียกว่าได้ทำประโยชน์แก่ชีวิตจิตใจของเรา
พวกเราที่เรียกว่าบวชสามเดือนนี่ พอพรุ่งนี้เช้าก็คงจะมีสึกบ้างแล้ว ได้ไปเกริ่นๆไว้บ้างแล้ว ก็เรื่อยๆละ ออกไปเรื่อยๆ ทยอยกันไปเรื่อยๆ
จะสึกวันไหนเวลาไหนก็ได้ ไม่ว่าอะไรดอก ไม่มีอะไร ที่นี่ไม่ได้ถือดังกล่าวแล้ว คือไม่มีการถือฤกษ์ถือยาม ถือวันดีคืนดี
ถือว่าเราทำดีเราก็ได้ดี ทำชั่วเราก็ได้ชั่ว มันไม่ได้อยู่กับกาลเวลาดอก สึกออกไปเวลาไหนก็ได้ ออกไปแล้วยังอยู่ในความงามความดี รับรองว่าปลอดภัย

แต่ถ้าสึกเวลาดี ออกไปแล้วทำไม่ดีก็ไม่ปลอดภัย เพราะฉะนั้น ผลที่จะเกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้น มันอยู่ที่การกระทำของเราเอง ไม่ได้อยู่ที่เวลา หรือฤกษ์ยามอะไรทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องสึกเวลานั้นเวลานี้ ฤกษ์นั้น ฤกษ์นี้ ไม่เป็นอะไรใช้ได้ทั้งนั้น สึกได้ทั้งนั้น ไม่มีอะไรเสียหาย สึกแล้วก็ให้เอาของดีกลับไปด้วย เอาไปอวดเขาดังกล่าวแล้ว เรามีของดีอวด

ใครเขาอาจจะถามว่า บวชแล้วคุณได้อะไรมาบ้าง เราก็ไม่ต้องอวด บอกว่าคุณดูเอาเองก็แล้วกัน เราว่าอย่างนั้น บอกดูเอาเองก็แล้วกัน ว่าได้อะไรมาบ้าง แล้วเราก็ทำให้เขาดูทุกอิริยาบถ
การพูดแสดงออกมาทางวาจา การทำอะไรให้เขาเห็นว่าเรานี้เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคล ไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ส่งเสริมความสงบ ไม่ส่งเสริมความวุ่นวาย
ส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มชน ไม่ส่งเสริมความแตกแยก ไม่ว่าเราไปอยู่ในที่ใดเราถือหลักอันนี้ แล้วเราจะช่วยกันส่งเสริมสิ่งดีและสิ่งงามเหล่านี้ต่อไป ก็จะเป็นการช่วยกันให้เกิดความก้าวหน้าในชีวิตในการงาน
ขอให้พวกเราทุกคนได้คิดไว้อย่างนั้น อย่าให้เสียทีที่เราได้มาบวชในพระศาสนา ได้พบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเป็นของมีค่า ควรจะเกิดเอาไปใช้ในชีวิตของเรา อย่าเป็นไก่แจ้ที่ไปพบพลอยเป็นอันขาด จึงจะได้ประโยชน์จากการบวชอย่างแท้จริง อันนี้เป็นเรื่องหนึ่ง.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2018, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปวารณา จบ จากหนังสือนี้ http://g-picture2.wunjun.com/6/full/953 ... s=614x1024 หน้า ๖๓๑

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร