วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความตั้งใจมั่นแน่วที่จะทำให้สำเร็จลุจุดหมาย, ความตั้งใจหนักแน่นเด็ดเดี่ยวว่าจะทำการนั้นๆให้สำเร็จ และมั่นคงแน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน เป็นบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า อธิษฐานบารมี หรือ อธิฏฐานบารมี

อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ, ธรรมเป็นที่มั่น, หลักธรรมที่ใช้ตั้งตัวให้มั่นหรือเป็นที่ตั้งตัวให้มั่น เพื่อจะสามารถยึดเอาหรือลุถึงผลสำเร็จที่เป็นจุดหมาย เฉพาะอย่างยิ่งพระภิกษุใช้ตั้งตัวเพื่อจะบรรลุอรหัสผล มี ๔ อย่าง

๑. ปัญญา

๒. สัจจะ

๓. จาคะ

๔. อุปสมะ หรือสันติ

นิยมเรียกชื่อเต็มของแต่ละข้อว่า

๑. ปัญญาธิฏฐาน

๒. สัจจาธิฏฐาน

๓. จาคาธิฏฐาน

๔. อุปสมาธิฏฐาน และเรียกรวมว่า อธิฏฐาน ๔ หรือจตุราธิฏฐาน
ทั้งนี้ มีหลักการปฏิบัติตามพุทธพจน์ว่า

๑ พึงไม่ประมาท หมั่นใช้หมั่นพัฒนาปัญญา
๒. พึงรักษา (อนุรักษ์) สัจจะ
๓. พึงเพิ่มพูนจาคะ
๔. พึงศึกษาสันติ (เรียงคำอย่างบาลี เป็นสันติศึกษา)


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิษฐานธรรม คือ ธรรมที่ตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง

อธิษฐาน แปลว่า ตั้งใจให้มั่น คำว่า “อธิษฐาน” น่ะ เขาแปลว่า ตั้งใจมั่น ตั้งใจมั่น ตั้งใจในเรื่องใด ? ในเรื่องดีเรื่องมีประโยชน์ นี่ก็เรียกว่าอธิษฐาน ถ้าว่าไปตั้งใจในเรื่องชั่วเรื่องร้าย ไม่เรียกว่า อธิษฐาน เรียกเป็นความพยาบาท ความผูกโกรธ ความจองเวรจองภัยกัน เขาไม่เรียกว่าอธิษฐาน

อธิษฐานนี่ เป็นบารมีอันหนึ่งในบารมี ๑๐ ของพระพุทธเจ้า ของพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าต้อง บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้สมบูรณ์ บารมี ๑๐ ประการให้สมบูรณ์แล้ว ก็เรียกว่า เดินทางไปสู่ความเป็นพุทธะได้สะดวกขึ้น ถ้าบารมี ๑๐ ไม่สมบูรณ์ ก็ยังไปไม่ได้

การอธิษฐานคือการทำใจให้มั่นอยู่ในเรื่องนั้น ในเรื่องที่เราจะทำ ตัวอย่างเช่นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในวันที่จะตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน ๖ พระองค์เสด็จไปสรงน้ำที่แม่น้ำเนรัญชรา สรงน้ำเสร็จแล้วขึ้นไปนั่งอยู่ใต้ต้นไทร นางสุชาดาแกเอาขนมมธุปายาสมาถวาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มธุปายาส นี่ไม่ใช่อะไรดอก ข้าวกวนด้วยน้ำนม เปียกยังกับข้าวต้ม ต้มด้วยน้ำนมใส่น้ำตาลด้วย เคยไปฉันในอินเดีย ฉันบ้านของแขก หวาน ถามว่า อะไรนี่ มธุปายาส

ไม่ใช่เหมือนที่เขากวนกันที่กรุงเทพฯ ใส่อะไรร้อยแปด แล้วก็สีดำเหมือนกับขนมกาละแม รสชาติก็ฝาดๆ ยังไงชอบกล แสบๆ ร้อนๆ กินเข้าไปแล้วมันหลายอย่าง มันมธุปายาสเมืองไทย กวนกับน้ำกับข้าว ข้าวนี่ก็ไม่ใช่เอาข้าวนะ เอาข้าวซ้อมมือตำตำ แล้วเอาขยำใส่น้ำ แล้วมีแป้งมีถั่วมีงามีอะไร อุ๊ย มากมายก่ายกอง ใครเอามาใส่ลงไปเยอะแยะ กินเผ็ดๆ ร้อนๆ เลยกลายเป็นมธุปายาสเมืองไทยไป

เมืองอินเดียเขานิมนต์ไปฉันที่บ้านนายหัตถารย์ พอฉันข้าวเสร็จแล้วแกก็เอามาถวาย ฉันเข้าไปหวานเลยถามท่านหัตถารย์ว่านี่อะไร มธุปายาส อ้อ นี้แหละของแท้ของดั้งเดิม มธุปายาสของแขกนี่มันแน่ บ้านเรามันของผสมไม่แท้ พิจารณาดูแล้วก็คือข้าวที่กวนกับน้ำนม แล้วก็เอาไปต้ม ข้าวต้มกับนมสด แล้วก็ใส่น้ำตาล กินแล้วน่าจะตรัสรู้อยู่เหมือนกัน เพราะว่ามันอร่อย ทั้งนม ทั้งน้ำตาล ทั้งแป้ง มันอร่อยดีพอใช้ได้
นางสุชาดาก็เอาไปถวาย ใส่ถาดไปถวาย พระองค์ฉันหมด เสร็จแล้วตอนเย็นก็เดินขึ้นไปที่ต้นโพธิ์
ตอนฉันไปฉันอยู่ริมแม่น้ำเนรัญชรา แม่น้ำเนรัญชราเดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ไม่ไปไหน กว้างขวางมาก กว้างเกือบครึ่งกิโลเมตร จากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้นน่ะ แต่ว่าน้ำมีนิดเดียวไม่ค่อยมากเท่าไร พอลุยข้ามไปได้ เนื้อที่มันกว้างแต่ว่าแม่น้ำตื้น แต่ว่าหน้าน้ำก็เอาการ น้ำไม่ใช่น้อย ท่วมไปทั้งบริเวณ บนดินนี่ก็ท่วม

เมื่อพระองค์ขึ้นไปถึงต้นโพธิ์ ก่อนหน้าจะถึงต้นโพธิ์ พรานป่าชื่อ โสตถิยะ กำเอาหญ้าคาถวาย ๘ กำมือ ความจริงไม่ใช่หญ้าคาบ้านเรา มันเป็นต้นตะไคร้หอม ใบมันหอมนะ เอามาให้ ๘ กำมือ มัดเล็กๆ ๘ กำ ทำไมนายคนนั้นแกจึงเอาหญ้าตะไคร้หอมไปถวายพระพุทธเจ้า เพราะพวกฤๅษีชีไพรทั้งหลายชอบใช้หญ้าประเภทนี้รองนั่ง รองนั่งแล้วมันสบาย มันอุ่นดีว่ายังงั้นเถอะ ก็เลยเห็นว่าท่านเป็นนักบวชเลยเอามาถวาย ไปถึงทรงปูลงใต้ต้นโพธิ์ด้านตะวันออกของต้นโพธิ์ แล้วก็ประทับนั่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนจะนั่งพระองค์อธิษฐานใจว่า เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนังหุ้มกระดูกก็ช่างหัวมันเถอะ สิ่งใดที่จะสำเร็จด้วยความเพียร ความบากบั่นของคน ถ้าเราไม่สำเร็จสิ่งนั้นเราจะไม่ลุกขึ้นจากที่นั่งนี้เป็นอันขาด นี่เรียกว่า อธิษฐานใจ อธิษฐานใจอย่างแรงกล้า ยอมตายให้กระดูกเปื่อยอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ถ้าไม่สำเร็จไม่ลุกขึ้น เอาจริงเอาจังว่าอย่างนั้นเถอะ แล้วก็ตรัสรู้ได้ในที่นั้น

อธิษฐานใจ ตรัสรู้แล้วพระองค์ก็อธิษฐานใจอีกว่า เราจะมีชีวิตอยู่เพื่อประกาศธรรมะ จนกระทั่งธรรมะตั้งมั่น พุทธบริษัทตั้งมั่นแล้วเราจึงจะนิพพาน นี่เป็นการอธิษฐานใจเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จประโยชน์ เราที่เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ควรจะนำคติอันนี้มาใช้ ทำอะไรต้องอธิษฐานใจ ทำใจให้มั่นเสียก่อนแล้วจึงทำสิ่งนั้น

อ่านหนังสือ ก็อธิษฐานใจ หัดทำให้บ่อยๆ อธิษฐานใจจะอ่านให้จบสัก ๔ หน้า หรือว่าสักบทหนึ่ง ถ้าไม่จบแล้วไม่ยอม เพื่อนจะมาเคาะฝาจะมาเรียก ฉันไม่ไป ถ้าไม่จบเรื่องไม่ไป คนอย่างนี้จะมีความมั่นคงในจิตใจ ทำอะไรต้องทำจริงๆ อธิษฐานว่าจะอ่านก็อ่านให้จบ ไม่จบก็อย่าไปคิดคดทรยศต่อตัวเอง ต้องเป็นคนซื่อสัตย์ต่อตัวเอง อธิษฐานไว้อย่างใดต้องทำอย่างนั้นตามคำพูด สัญญากับตัวเอง เราก็ทำให้ได้

เขียนหนังสืออธิษฐาน ว่าจะเขียนหนังสือเท่านั้นเท่านี้ จะสวดมนต์ จะนั่งภาวนาสักครึ่งชั่วโมง สักหนึ่งชั่วโมง ถ้าไม่หมดครึ่งชั่วโมงจะไม่ลุกขึ้น ไม่ครบหนึ่งชั่วโมงก็ไม่ลุกขึ้น มันจะปวดจะเมื่อย กระดูกมันจะหลุดจากเนื้อก็ช่างมัน ให้มันครบก่อน ไม่ครบก็ไม่ลุกขึ้น ต่อไปมันก็เก่ง อดทนได้ นั่งได้นานๆ นี่เรียกว่า ต้องอดทน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2018, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จงกรม เดินไปเดินมาโดยมีสติกำกับ (มีสติกำกับการก้าวเดินไปทุกๆก้าว ไม่หลง)

รูปภาพ


เมื่อตั้งใจจะเดินจงกรมสัก 30 นาที ก็เดินให้ครบ 30 นาที มันจะเมื่อยแข้งปวดขาเจ็บเอวสักปานใดถ้าไม่ครบกำหนดเวลาที่ตั้งใจไว้จะไม่เลิกก่อน

แม้ในอิริยาบถนั่งภาวนาก็เช่นเดียวกัน

รูปภาพ


เมื่อตั้งจิตอธิษฐานใจแล้วว่าจะนั่งกี่นาที ต้องให้ครบเท่านั้นนาที จะไม่เลิกก่อน ต่อให้สภาวะใดๆปรากฎในขณะนั้น ก็จะกำหนดรู้ตามที่มันเป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2018, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

เขาเล่าเรื่องว่า หลวงจีนองค์หนึ่ง ท่านไปสำนักอาจารย์ อยากจะอยู่ด้วย อาจารย์ก็บอกว่า นั่งทำกัมมัฏฐาน ๑ วันได้ไหม เจ้านั่นบอกว่าไม่ได้ นั่งตั้งวันนี่ไม่ไหว ทำไม่ได้
อาจารย์บอกว่าฉันไม่รับ ไอ้นั่นเจ็บใจว่า แหม ให้ทำตั้งวันเราทำไม่ได้ กูต้องไปหัดนั่ง นั่งให้ได้สัก ๓ วัน เลยไปหัดนั่ง ๓ วันเลย ไม่ลุกขึ้นจากที่นั่ง ๓ วัน ๓ คืน กลับมาอีก
อาจารย์ถามว่า นั่งทำกัมมัฏฐาน ๑ วันได้ไหม
เขาบอกว่า อย่าว่าแต่ ๑ วันเลย ให้สัก ๓ วัน ๓ คืน ก็ยังได้
อาจารย์บอก เอ้านั่งไป
นั่งไม่ลุกขึ้นจากที่ ไม่กินข้าว ไม่กินน้ำ ไม่ทำอะไรทั้งนั้นเหมือนกับตุ๊กตาหินอยู่หน้าที่บูชา นั่งไปได้ ๒ วัน ๒ คืน
อาจารย์มาตบไหล่บอกว่าพอแล้ว ใช้ได้
เขาบอกว่ายังไม่ได้ ยังไม่เต็มอัตราที่ตั้งใจไว้ ต้องนั่งต่อไปให้ครบก่อนจึงจะลุกขึ้นได้ แล้วก็นั่งต่อจนครบตามเวลาที่จะลุกขึ้น
อันนี้เขาเรียกว่า เอาจริงเอาจัง ทำอะไรก็ทำจริง เรียกว่า มีอธิษฐานใจอย่างมั่นคง งานก็สำเร็จ
แม้เราจะทำงานทางโลก ทางอะไรก็ตาม ให้มีอธิษฐานใจว่าจะทำอะไร แล้วก็ทำให้สำเร็จตามตั้งใจ เรียกว่า อธิษฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2018, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ เอามาใส่ไว้ในใจ เอามาประพฤติเอามาปฏิบัติในชีวิตประจำวันนี่ มีอะไรบ้าง ? มี ๔ ประการ เริ่มต้นด้วย

๑. ปัญญา ในที่อื่นๆ ปัญญามักจะอยู่ข้างหลังสุดท้ายเพื่อน แต่ในข้อนี้เอามาไว้หน้าเลย รอบรู้สิ่งที่ควรรู้ เอาปัญญามาไว้ในใจ อธิษฐานใจในเรื่องปัญญา ก็หมายความว่า อธิษฐานใจในการที่จะศึกษาค้นคว้า จะหาความรู้หาความเข้าใจ ในเรื่องอะไรต่างๆ อันจะช่วยให้เราพ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน นี่เป็นเรื่องสำคัญ เรียกว่า ตั้งใจว่าเราจะศึกษาค้นคว้า เพื่อให้เกิดปัญญาในเรื่องต่างๆ อันจะเป็นเครื่องประกอบให้เราพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2018, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ เรื่องที่จะช่วยให้เราพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน ควรจะรู้ในเรื่องอะไร ? ก็ควรจะรู้ในเรื่องเกี่ยวกับตัวเรานี่ ในชีวิตของเรา เรียกว่าเรื่องสังขาร สังขารก็คือตัวเรา แยกตัวเราให้ออก ให้รู้ว่า ตัวเราคือ ขันธ์ ๕ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วขันธ์ ๕ นี่ มันเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยง พระท่านบอกไว้อย่างนี้ บอกว่าไม่เที่ยง บอกว่าเป็นทุกข์ บอกว่าเป็นอนัตตา เรายังไม่เห็น เรายังไม่รู้แจ้ง เพียงแต่รับรู้ไว้ตามตัวหนังสือว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เราก็ต้องเอาไปนั่งตรองพิจารณา ว่ามันไม่เที่ยงอย่างไร มันเป็นทุกข์อย่างไร มันเป็นอนัตตาในรูปใด นั่งคิดนั่งค้น ต้องคิดเอาเอง ต้องค้นเอาเอง
รู้จากคนอื่นแล้ว ถ้าไม่คิดไม่ค้นแล้ว รู้แบบนั้นรู้ตามสัญญา ไม่รู้ด้วยปัญญา
รู้ตามสัญญา คือ รู้ตามเขาว่า เขาบอกว่าเกลือเค็ม เอ้า เค็ม เค็ม ตามเขาว่า แต่ไม่ได้เคยชิมว่ามันเค็มอย่างไร
น้ำตาลหวาน แกก็ว่าตามเขา ไม่รู้ด้วยปัญญา ยังไม่รู้จริง ไม่ใช่ความรู้ชั้นหนึ่ง มันเป็นความรู้ชั้นสอง ไม่ได้เรื่องอะไร
ทีนี้ ในเรื่องอื่นก็เหมือนกัน เขาว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เรายอมรับว่า เออ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เราก็ไปนั่งคิดนั่งค้นอยู่คนเดียว ค้นเรื่องอย่างนี้ จนเห็นประจักษ์ชัดแก่ใจ


เมื่อใดมองเห็นชัดด้วยปัญญาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจริง เมื่อนั้น มันก็พ้นจากทุกข์ เหมือนที่เราสวดมนต์ สัพเพ สังขารา อะนิจจา ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา

เห็นด้วยปัญญา ไม่ใช่รู้ด้วยหู ด้วยการฟัง เราต้องไปคิดไปค้นให้เกิดปัญญาในเรื่องนั้นๆ เห็นชัดแจ่มแจ้งด้วยปัญญา แล้วเราก็จะพ้นจากความทุกข์ไปได้ อธิษฐานธรรมข้อปัญญานี้ หมายความว่าอย่างนั้น ให้ตั้งปัญญาไว้ในใจ ปัญญาเป็นจุดหมาย เป็นจุดหมายที่เราจะเข้าถึงไม่ว่าในเรื่องอะไร แต่ว่าเรื่องที่สำคัญก็คือ เรื่องที่จะช่วยเราให้ใจสงบ ให้ใจสะอาด ให้ใจสว่าง ให้เราพ้นไปจากความทุกข์ความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน นั่นแหละเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรจะตั้งไว้ในใจ เราควรจะคิดควรจะทำอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า มีปัญญาเป็นอธิษฐานธรรมประจำใจประการหนึ่ง หลักมันเป็นอย่างนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2018, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. สัจจะ ความจริงใจ ประพฤติสิ่งใดให้มันได้จริง

ในข้อ ๑ ให้ค้นเรื่องปัญญา ค้นไปๆก็นอนไปเลย หยุดเสียแล้ว ฮึ ค้นไปทำไม ค้นไปก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เราเกิดมาชาตินี้อยู่อย่างนี้ได้แล้ว หยุดเสียแล้ว นี่เพราะมันขาดตัวที่ ๒ ขาดตัวสัจจะความจริงใจ.

ประพฤติสิ่งใดจะให้ได้จริง มันต้องมีตัวที่ ๒ นี้ เข้ามาตั้งอยู่ในใจว่า ต้องเอาจริงต้องทำจริงๆ ทำเหลาะแหละโลเลไม่ได้ จับปลาต้องต้องจับให้มั่น คติไทยว่า จับให้มั่นคั้นให้ตาย จับมั่นแล้วที่จริงมันก็ตาย จับไม่มั่นไม่ตาย จับหลวมๆ มันไม่ได้อะไร.
เหมือนเราไปถอนหญ้าคมบาง หญ้าคมบาง พวกหญ้าคาจับเบาๆกระชากมา หญ้าคาก็ไม่ขาดเลือดไหลด้วย เจ็บมือเปล่าๆ เรียนจริงๆ ปฏิบัติจริงๆ
อยู่บ้านก็เหมือนกัน ทำงานอะไรต้องทำให้จริง อย่าเหลาะแหละโลเลเหลวไหล ทำให้ไว้ลาย ไว้ชื่อ ไว้เกียรติ ไว้ชื่อเสียง ไปทำอะไรกับใครที่ไหน ต้องฝากลายไว้ชื่อ ให้เขาเห็นว่าเรานี่มันจริง อย่าให้เขาเห็นว่าไม่ได้ความ เหลาะแหละ ไม่เอางานเอาการ เกียจคร้านเหลวไหล ชีวิตมันเสียหาย

เพราะฉะนั้น ต้องเอาจริงเอาจัง ทำให้สำเร็จประโยชน์ตามสมควรแก่ฐานะของเรื่องนั้น ถือหลักง่ายๆ ว่า ทำอะไรทำจริง ทำสัจจาธิษฐาน มีความสัจจ์ในใจ อันนี้ มันต้องหัด หัดควบคุมตัวเอง หัดบังคับตัวเองให้ถึงจุดหมายที่เราต้องการ อย่าทำอะไรสักแต่ว่าพอผ่านไป ทำให้ดี ทำให้ก้าวหน้า ทำให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลก เรื่องธรรม ต้องถือหลักอย่างนี้ เรียกว่ามีสัจจะประจำจิตใจ เอาตัวรอด

คนที่มีสัจจะนี้เอาตัวรอด ไอ้คนเหลวไหลเอาตัวไม่รอด ทำไม่จริง เข้าทำงานที่ไหนก็เหลาะแหละๆ ผลที่สุดเขาก็ไล่ออกจากงานไป ชีวิตมันตกต่ำ นี่งานชาวบ้าน
งานทางจิตใจยิ่งต้องการความจริงใจใหญ่เลย เพราะเรื่องของจิตนั้นไม่ใช่เรื่องทำเล่น ต้องเป็นเรื่องเอาจริง มันจึงจะได้ผลจริงๆ นี่เรียกว่า มีสัจจาธิษฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2018, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ ความเกียจคร้าน ความอ่อนแอ การเห็นความสุข ด้วยการกินการนอน ด้วยการพักผ่อน ด้วยการเที่ยว ด้วยการเล่น เป็นข้าศึกทั้งนั้น เป็นข้าศึกแก่สัจจะ แก่ความจริงใจ ทำให้ใจเราอ่อนไป ไหลไปตามสิ่งที่มันต้องการ ความสำเร็จจึงไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ต้องสลัด สิ่งใดเกิดขึ้นทำลายจิตใจต้องเอาออก เอาออกด้วยความดีด้วยปัญญา พิจารณาว่าไอ้นี่มาทีไรกูเสียหายทุกที ทำให้เดือดร้อน ทำให้วุ่นวาย ต้องไม่ให้อยู่ด้วย ต้องเอาออกไป กำจัดมันออกไป เช่น ความเกียจคร้าน เป็นต้น พออ่านหนังสือแล้ว เฮ้อ นอนเสียเลยดีกว่า นั่งเจริญภาวนานิดๆหน่อยๆแล้วก็ “ยืดภาวนายาว” นอนภาวนาก็หลับปุ๋ยไปเลย ไม่ได้เรื่องแล้ว อย่างนั้นเรียกว่า มันมีข้าศึกมากั้นไม่ให้ก้าวหน้า ความจริงใจมันก็ถอย

เพราะฉะนั้น ต้องแข็งใจต่อสู้ พอเกิดความอ่อนแอขึ้นต้องแข็งใจ หายใจยาวๆ กูเข้มแข็งเว้ย กูอดทน กูไม่ท้อถอย กูจะเอาจริง เอาต่อไป มุกันต่อไป ทำจริงต่อไป หายใจแรงๆ การหายใจแรงๆ เรียกว่า “รวมกำลังของโลกเข้ามาในตัวเรา” เขาเรียกว่า “ปราณ” ปราณคือกำลังคิด Energy ทั้งหลายในโลก สูดเข้ามาใส่ตัวเรา แล้วเวลาสูดเราต้องพูดกับตัวเองว่า หายใจเข้ายาวๆ หลายๆ ครั้ง แล้วมันก็จะเกิดเข้มแข็งขึ้น ทำบ่อยๆ พอรู้สึกอ่อนแอก็ลุกขึ้นยืน หายใจยาวๆ แล้วก็บ่น เข้มแข็ง อดทน หนักแน่น เข้มแข็ง อดทน หนักแน่น อดทน เข้มแข็ง ว่าท่องคาถา “คาถาๆ” นั้นมันไม่มีอะไรดอก ปลุกใจเท่านั้นเอง ปลุกใจ แต่ว่าคาถามันแปลไม่ออก ขึ้นโอมๆ อะไรก็ไม่รู้ มันไม่เข้าใจ มันไม่เกิดผล แปลไม่ออกนี่
ทีนี้ เราแปลออกด้วย อดทน เข้มแข็ง หนักแน่น เข้มแข็ง อดทน นี่แปลออกอย่างนี้ เราท่อง หายใจยาวๆ แล้วก็ท่อง ถ้าเรารู้สึกอ่อนแอ ตื่นแต่เช้าขึ้นต้องท่องคาถา วันนี้ ข้าพเจ้าจะอยู่ด้วยความ เข้มแข็ง อดทน หนักแน่น หายใจเข้า ยืดอกให้มันสง่า ให้มันตรง ไม่ใช่อดทนเข้มแข็งแล้วก็คออ่อนคอพับไป ไปไม่รอด ต้องเข้มแข็งอดทน หนักแน่น ให้มันร่าเริง
คนที่เข้มแข็งนั้นเป็นคนร่าเริงเป็นคนเบิกบานในการปฏิบัติหน้าที่ คนอ่อนแอนั้นไม่ค่อยร่าเริง จิตใจหดหู่เหี่ยวแห้งอยู่ตลอดเวลา มองโลกในแง่ร้าย แล้วมันจะไปรอดได้อย่างไร ไปไม่รอด เพราะฉะนั้น จะต้องคอยดู อะไรไม่ดีจะต้องคอยเขี่ยออกๆจากจิตใจ สังเกตดูจิตใจของเรา อะไรมันเข้าไปแล้ว ทำให้เกียจคร้าน อ่อนแอ ท้อถอย ไม่ก้าวหน้า ต้องรีบจัดการเอาออกทันที ไม่ให้มันมาสิงอยู่ในใจของเราเป็นอันขาด ก็เรียกว่า จาคะ สละความเป็นข้าศึกของความจริงใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2018, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ ให้สงบใจจากสิ่งนั้นสลัดมันออกไป สงบใจไว้ก็หมายความว่า ควบคุมให้อยู่ในความสงบ ไม่ให้สิ่งที่เป็นข้าศึกเข้ามารังแก กั้นไว้ด้วยสติด้วยปัญญา เอาสติเป็นรั้ว เอาปัญญาเป็นรั้วกั้นไว้ ให้มันอยู่วงนั้น ในวงสติปัญญา
ถ้าอยู่ในวงสติปัญญามันก็สวย ข้าศึกไม่รบกวน เพราะเรามีความรู้สึกตัวอยู่ กำหนดมันอยู่ ข้าศึกเข้ามาแทรกไม่ได้ เราก็อยู่ในสภาพสงบจากสิ่งที่เป็นข้าศึกทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2018, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้ง ๔ ประการนี้ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เป็นสิ่งสำคัญ เป็นบันไดไต่เต้าไปสู่พระอริยบุคคล หรือว่าเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จของชีวิตของการงานทุกส่วนทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลกียะหรือเรื่องโลกุตตระ

ถ้ามี ๔ ตัวนี้ เข้ามากำกับไว้แล้ว ก็รับรองว่าต้องสำเร็จลุล่วง ไม่พลาดเป้าหมาย เราจะอยู่กันด้วยความเรียบร้อย เป็นไปด้วยดี จึงเป็นธรรมะที่จะเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกโอกาส ให้อธิษฐานใจ ทำอะไรต้องมีปัญญา ต้องมีสัจจะ ต้องสละข้าศึกที่มีต่อความจริงใจ ต้องสงบจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแห่งความสงบใจ คือไม่คิดให้มันยุ่ง
ไม่ให้มีราคะ ไม่ให้มีโทสะ ไม่ให้มีโมหะเข้ามาครอบงำจิตใจ ไม่ให้มัวเมาหลงใหลในอารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เรียกว่าเป็นผู้สงบ เพราะมีสติคอยกั้นไว้ เป็นตาข่ายทองกั้นไม่ให้ข้าศึกโจมตี จิตก็อยู่ในสภาพสงบ ทำให้เกิดความสำเร็จในชีวิตในการทำงาน.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2018, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิษฐานธรรม ๔ จบ จากหนังสือนี้ http://g-picture2.wunjun.com/6/full/141 ... s=614x1024 หน้า ๔๐๑

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร