วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 00:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2018, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อปัณณกปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ทางดำเนินที่ไม่ผิด มี ๓ คือ

๑. อินทรียสังวร - การสำรวมอินทรีย์

๒. โภชเนมัตตัญญุตา - ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค

๓. ชาคริยานุโยค - การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2018, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อปัณณกปฏิปทา ( สิ่งที่ปฏิบัติไม่ผิด) ๓

วันนี้ จะได้พูดถึงสิ่งที่ปฏิบัติแล้วไม่ผิด คำบาลีว่า อปัณณกปฏิปทา รับรองว่าทำไม่ผิด

บางอย่างทำแล้วผิด บางอย่างทำแล้วถูก ไม่แน่นอน แต่ว่า เรื่องที่จะกล่าว ๓ ประการนี้ เรียกว่าทำแล้วไม่ผิด ไม่มีใครคัดค้าน ไม่มีใครมาโต้แย้งว่าอย่างนั้นไม่ถูก แต่เป็นไปเพื่อความถูกต้องฝ่ายเดียว เรียกว่า อปัณณกปฏิปทา คือข้อปฏิบัติที่ไม่มีทางพลาดเสียหาย เมื่อปฏิบัติตามแล้วจะเป็นเหตุให้ประสพความสุข ความสงบในชีวิตประจำวัน มี ๓ ประการ

๑. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ

๒. โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอสมควร ไม่มากไม่น้อย

๓. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อจะชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก

สามอย่างนี้ เรียกว่า ปฏิบัติไม่ผิด ถ้าปฏิบัติตาม ๓ อย่างนี้แล้ว ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ถอยหลัง เป็นความถูกต้องที่จะให้เกิดความสงบในจิตใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2018, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อแรก เรียกว่า อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ อินทรีย์หมายถึงอะไร ?

อินทรีย์ หมายความว่า เป็นใหญ่ นกอินทรีย์ หมายความว่า นกใหญ่ ทีนี้ อินทรีย์ ในที่นี้ หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ เรียกว่า อินทรีย์ เขาเรียกตามภาษาบาลีว่า จักขุนทรีย์ อินทรีย์คือตา

โสตินทรีย์ อินทรีย์คือหู

ฆานินทรีย์ อินทรีย์คือจมูก

ชิวหินทรีย์ อินทรีย์คือลิ้น

กายินทรีย์ อินทรีย์คือกาย

มนินทรีย์ อินทรีย์คือใจ รวม ๖ อย่าง

อินทรีย์ ๖ เพราะว่ามันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของมันโดยเฉพาะ เช่น

ตาก็เป็นใหญ่ในเรื่องดู

หูก็เป็นใหญ่ในเรื่องฟัง

จมูกก็เป็นใหญ่ทำหน้าที่ในเรื่องสูดกลิ่น

ลิ้นก็เป็นใหญ่ในเรื่องชิมรส

ร่างกายก็เป็นใหญ่ในเรื่องโผฏฐัพพะ คือ สิ่งที่กระทบทางกายประสาท

ใจก็เป็นใหญ่ในเรื่องการคิดรู้สึก จึงเรียกว่า อินทรีย์ อินทรีย์ ๖ มีอยู่ในตัวเรา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2018, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์ ๖ ที่เขาเรียก อินทรีย์ เพราะว่ามันเป็นใหญ่ในเรื่องนั้น

เรียกว่า อายตนะ เพราะเป็นเครื่องต่อ

เรียกว่า ทวาร เพราะเป็นประตูทางเข้าของอารมณ์ เรียกได้หลายชื่อ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า อินทรีย์ก็ได้ เรียกว่า ทวารก็ได้ เพราะเป็นประตูเข้าของอารมณ์ เรียกว่า อายตนะ เพราะเป็นเครื่องต่อของอารมณ์ก็ได้ มันหลายชื่อ

ศัพท์เหล่านี้ เราจะต้องจำไว้ เวลาไปอ่านหนังสือธรรมะ เขาก็เอาศัพท์นี้ไปพูด เพราะมันเป็นศัพท์เทคนิคเฉพาะเรื่องเฉพาะราว เช่น เขาพูดว่า สำรวมอินทรีย์ เราต้องรู้ว่า อินทรีย์ คืออะไร หมายถึงอะไร

อายตนะ เป็นบ่อเกิดของความทุกข์ ก็รู้ว่าอายตนะคืออะไร

ทวารคือประตูแห่งอารมณ์ ก็รู้ว่าประตูคืออะไรบ้าง เป็นศัพท์เฉพาะในวิชาการทางด้านธรรมะ เราจะต้องรู้ไว้ด้วย เพื่อจะได้สะดวกในการศึกษาธรรมะยิ่งๆขึ้นไป หรือสะดวกในการอ่านหนังสือ ตำรับตำราทางธรรมะ ก็ต้องใช้ศัพท์ มันย่อดี เช่น พูดว่า อินทรีย์ ๖ หมายถึงอะไร ไม่ต้องพูดว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยาว
พูดว่า อินทรีย์ ๖ เข้าใจความหมายกัน อายตนะ ๖ เข้าใจ ทวาร ๖ เข้าใจความหมายในเรื่องนั้น

ทีนี้ ที่เรียกว่าเป็นอินทรีย์ เพราะเป็นใหญ่ ตาก็เป็นใหญ่ในเรื่องดู เอาอื่นมาแทนไม่ได้ เอาตาไปใช้แทนอื่นก็ไม่ได้ เช่น เอาตาไปใช้แทนหูนี้ก็ไม่ได้ เรื่องหูเอาไปใช้แทนตาก็ไม่ได้ มันใช้เรื่องฟังเท่านั้น เรื่องดูเท่านั้น เรื่องดมเท่านั้น เรื่องกินเท่านั้น เรื่องลิ้มรส เรื่องถูกต้อง เรื่องคิด รู้สึกเฉพาะเรื่อง แทนกันไม่ได้ จึงเรียกเป็นอินทรีย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2018, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ สำรวมอินทรีย์ สำรวมอย่างไร ? เราต้องรู้ว่า ทางเกิดของอารมณ์มันมีอะไรบ้าง ตา คู่กับ รูป รูปกระทบตา เมื่อกระทบตาก็เกิดความรู้สึกขึ้นในเรื่องนั้น รู้สึกเฉยๆ รู้สึกว่าเป็นรูปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ อันนี้ เรียกว่า ความรู้สึกทางตา เรียกว่า วิญญาณ จักขุวิญญาณ ความรู้สึกทางตา
เมื่อเกิดจักขุวิญญาณขึ้นมาแล้ว การกระทบของ ๓ เรื่อง แต่ไม่ใช่มันช้านะ มันรวดเร็วเหลือเกิน
การมีตา มีรูป มีความรู้ทางตา ๓ เรื่องรวมกันเข้าเป็น ผัสสะ
พอเกิดผัสสะ มันก็เกิด เวทนา ลำดับวิถีมันเป็นอย่างนั้น เกิดเวทนา พอเกิดเวทนา ก็เกิด ตัณหา เกิด อุปาทาน เรียงแถวไปตามลำดับ กิเลสต่างๆ มันเกิดขึ้นในทางนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2018, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ การสำรวมนั้นจะสำรวมที่ตรงไหน ? สำรวมตาคือเดินปิดตามันก็ไม่ได้ เดินก้มหน้าเสียมันก็ไม่ได้ เพราะว่าบ้านเมืองเดี๋ยวนี้มันอาจจะถูกรถชนเมื่อไรก็ได้
ถ้าไปเดินก้มหน้า อยู่ในทุ่งนาก็ไม่เป็นไร ไม่ชนกับใคร เดินบนถนนเดินก้มหน้าไม่ดูอะไร มันก็ไม่ได้ ตาจะดูก็ต้องดูมันไป มันไม่เป็นเรื่องไม่เป็นอะไรดอก ตาสำหรับดู ก็ต้องดูไปตามเรื่อง แต่ว่าเราควบคุมไว้ที่ผัสสะ ควบคุมที่ผัสสะ มีสติกำหนดรู้ ที่ตรงนั้น ให้คอยกำหนดรู้ว่า อย่าให้เกิดเวทนา คืออย่าให้ยินดียินร้าย

ไอ้ตัวเวทนา คือความยินดียินร้าย ถ้าเป็นสุขเวทนาก็คือความยินดี ทุกขเวทนาก็คือความยินร้าย นี่เราระวังตรงนั้น อย่าให้ยินดียินร้าย หมายความว่าระวังตรงจุดผัสสะ ไม่ให้มันสืบต่อไปเป็นเวทนา ไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย

เอาอะไรมาระวัง ? เอาสติมาคอยระวังไว้ คือให้รู้ตัวอยู่ในขณะที่เราดู ขณะที่เราฟัง ขณะที่ได้กลิ่น ได้รส ได้จับต้อง หรือว่าได้คิดอะไร ให้รู้

ถ้ามีการกำหนดรู้อยู่ มันหยุดเพียงนั้น มันหยุดที่รู้นั่นแหละ ไอ้ตัวรู้มันมาสกัดไว้ไม่ให้เกิดอะไรต่อไป อย่างนี้ เรียกว่า สำรวมอินทรีย์ของเราไว้

ถ้าหากว่าเราไม่คอยกำหนดรู้มันก็เตลิดเปิดเปิงไปเลย เกิดเป็นอะไรต่ออะไรไป กว่าจะกำหนดได้ก็เสียหายเยอะแยะแล้ว อันนี้ เรื่องมันเป็นอยู่อย่างนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2018, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คคห.บน มี "สติ" ทำให้นึกถึงนู๋เมโลกสวย ซึ่งถกเถียงกันไว้ที่ กท.สติ สัมปชัญญะ นี่

viewtopic.php?f=1&t=55043

ความเห็นต่างกัน การถกเถียงกันนี่ดีนะ ได้ข้อคิดได้ไปศึกษาค้นคว้าทดสอบทดลอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2018, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

เพราะฉะนั้น การสำรวมอินทรีย์ ก็สำรวมที่ผัสสะ ไม่ให้เกิดเวทนา คอยกำหนดไว้ที่ตรงนั้น วิธีการก็คือคอยกำหนดดู ในขณะฟัง ในขณะได้กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง หรือใจเราคิดอะไร

ไอ้ที่สำคัญไปสกัดไว้ที่ใจก็ได้ แต่ว่ามันต้องทำทุกเรื่อง สะดวกๆทำมันทุกเรื่องทุกขณะที่เกิดอะไรมากระทบ ก็ระมัดระวังไว้ อันนี้เรื่องไม่ผิดทีเดียว คือมันไม่ก่อให้เกิดความชั่วขึ้นในใจ ไม่ให้เกิดโลภ เกิดหลง เกิดพยาบาท ไม่ให้เกิดกิเลสประเภทต่างๆ ก็เรียกว่าปลอดภัย เป็นทางปลอดภัย

การสำรวมอินทรีย์ เป็นทางปลอดภัย สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ เรียกว่ายังไม่คุ้นกับการระวัง เราก็ต้องคอยสำรวมจักษุไว้ก่อน คืออย่าไปดูสิ่งที่ไม่ควรดู เช่น ไปไหนสำรวมไว้หน่อย ดูต่ำๆ ไว้หน่อย พอให้เห็นว่าอะไรผ่านมา อย่าดูให้มันสูง ถ้ามองสูงๆ แล้วมันเห็นของที่ยั่วตายั่วใจ
มนุษย์นี่ที่ยั่วมันอยู่ข้างบน ข้างล่างไม่ค่อยเป็นไร ดูตีนคนนี้ไม่ค่อยเสียหาย ดูหน้าแข้ง ดูใต้เข่าลงไปไม่เป็นไร เหนือเข่าขึ้นมาอันนี้ไม่ค่อยได้ มันเกิดอะไรขึ้นมาแล้ว ยิ่งดวงหน้าก็ยิ่งไม่ได้ใหญ่ เห็นหน้านี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มนุษย์ชอบแต่งหน้า เพราะว่าเป็นเรื่องยั่ว ดูตา ดูหน้าผาก ดูแก้ม ดูคาง ดูบริเวณนั้นแล้วมันยั่วให้เกิดอารมณ์ได้ เพราะฉะนั้น เราก้มๆเสีย ไม่ดูสิ่งนั้น หรือถ้าพอเห็นปั๊บ เราก้มไม่ดูต่อ เห็นทีเดียวแล้วก็หยุดไม่มองซ้ำ คือไม่เพ่งเล็ง ถ้าเพ่งเล็งเกิดกิเลส เพียงแต่พอผ่านว่าเป็นรูปคน เอาเท่านั้นพอ ไม่ต้องดูว่าหญิงหรือชาย สวยหรือไม่สวย เป็นอย่างไร ไม่ต้องดูต่อว่าเป็นอย่างนั้น ตัดตรงนั้นเสียได้ ตัดว่าเป็นรูปคนก็แล้วกัน ไม่ต้องดูต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2018, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เขาเล่าว่าพระเถระรูปหนึ่ง ท่านยืนอยู่ที่ปากถ้ำ แล้วก็มีผู้หญิงเดินผ่านมา ผ่านมาแล้วผู้หญิงเห็นพระยืนซึมๆ อยู่ก็เลยหัวเราะ กิ๊กๆ พอหัวเราะ พระท่านก็เห็นฟัน เห็นฟันนี่ ท่านเห็นว่า เป็นกระดูก
มีผู้ชายเดินตามมาถาม พระคุณเจ้าอยู่ตรงนี้เห็นผู้หญิงเดินไปหรือเปล่า ท่านบอกว่า ฉันไม่เห็นผู้หญิง แต่ฉันเห็นกระดูกเดินไป คือท่านคิดเป็นกระดูกไป ฟันนั้นเห็นคิดเป็นกระดูก พอตาประสบกับฟันปั๊บ ท่านคิดเป็นกระดูก ไม่นึกว่าเป็นฟัน
ถ้านึกว่าเป็นฟันมันก็เกิดรักขึ้นมาได้ เกสา โลมา นขา ทันตา ฟันมันก็ยั่วกิเลสเหมือนกัน ฟันงามๆ ยั่วกิเลส ฟันเรียบร้อย เป็นแวววาวเหมือนไข่มุก เรียงไว้ในปากของหล่อน มันเกิดกิเลส ถ้าดูอย่างนั้นแล้วมันเกิดกิเลส ทีนี้ ให้ดูเพียงฟันเฉยๆ เป็นกระดูกเดินไป ฉันไม่เห็นอะไรมากไปจากนั้น อย่างนี้ เรียกว่า สำรวมเหมือนกัน

เวลาที่เราออกไปนอกวัดนี่สำคัญ อย่าไปเก็บอะไรๆเอามา ออกไปนอกวัดนั่งรถไปบ้าง เดินไปบ้าง ชมอะไรมักจะนำติดตัวไป คือ อารมณ์นั่นเอง ไปเห็นรูปร่างอะไรต่ออะไรเข้า เอามาคิดมานึก จิตใจฟุ้งซ่าน เพราะไม่สำรวม เช่น ไปบิณฑบาต เห็นคนนุ่งผ้าหลุดๆหลวมๆ เราก็เอามาคิดมาฝัน ทำให้เกิดอารมณ์ขึ้นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2018, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมัยก่อนเคยมี ครั้งพระพุทธเจ้า เคยมีผู้หญิงชื่อ สิริมา คือเป็นหญิงโสเภณี แต่ว่าโสเภณีชั้นสูง อยู่ปราสาท มีคนรับใช้
พวกที่จะไปนอนด้วยต้องเป็นเศรษฐี เจ้าชาย คหบดีร่ำรวย คืนหนึ่ง ก็ต้อง ๕,๐๐๐ กหาปณะ นอนคืนเดียว ๕,๐๐๐ กหาปณะ เพราะฉะนั้น ฐานะดี ต่อมาก็ได้มาฟังธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้า เลิกอาชีพนั้นเป็นอุบาสิกา เลิกอาชีพอย่างนั้น ก็นิมนต์พระไปฉันที่บ้าน ไปรับบิณฑบาตทุกวัน วันหนึ่ง ก็ ๑๕ รูป ผลัดเปลี่ยนกันไป
พระหนุ่มองค์หนึ่งก็นั่งคิดอยู่ เมื่อไรถึงเวรเราสักที เขาว่าแม่สิริมานี่รูปสวยนักหนา อยากจะไปดูสักหน่อย ก็พอดีวันหนึ่งมาถึงวาระตัวเข้า ก็เลยเข้าไปบิณฑบาต
วันนั้น นางสิริมาแกไม่ค่อยสบายไม่ได้เมคอัพ ธรรมดาๆ พระนั่นก็เห็นว่า นี่ไม่แต่งหน้ายังงามถึงขนาดนี้ ถ้าแต่งจะงามขนาดไหน เลยเอารูปที่ตนเห็นมาด้วย ใส่บาตรมาด้วย มานอนคิดนอนนึกอยู่ จนข้าวบูดไม่ฉัน ไม่ได้ฉันข้าววันนั้น คิดถึงนาง นี่เรียกว่า ไม่สำรวม ไปเอารูปอะไรมา

ก็พอดีกับวันนั้น นางสิริมาเป็นลม ถึงแก่กรรม คือไม่สบายแล้วก็ตายไป คนก็มากราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่านางสิริมา ถึงแก่กรรมแล้ว
พระองค์ก็ตรัสสั่งไปยังพระเจ้าแผ่นดิน บอกว่า อย่าเอาไปเผ่าก่อน ให้แต่งตัวนางด้วยเสื้อผ้าแพรพรรณอย่างดี แต่หน้าแต่งตาให้เรียบร้อย ยกขึ้นวางบนเกวียนน้อย แล้วก็ขับตีไปในเมือง ประกาศว่านางสิริมาตายแล้ว เวลานี้ศพนางสิริมาราคา ๕,๐๐๐ กหาปณะ ใครเอาบ้าง ถ้าเอาก็มารับเอาไปเลย ไม่มีใครเอา
ลดลงมา ๒,๕๐๐ ไม่มีใครเอา ลดลงมาอีก ไม่มีใครเอา ลดจนกระทั่งว่า ๑ กหาปณะไม่มีใครเอา ลดลงมาจนกระทั่งว่า เอาไปเปล่าๆ เลย ไม่มีใครเอาสักคนเดียว
ผลที่สุดก็ต้องเอาไปเผา แต่ว่าก่อนจะเผานี่พระพุทธเจ้าท่านรู้ว่า พระองค์นั้น กำลังกระสันคิดถึงนางสิริมา ก็เลยบอกว่า เขาจะเผาศพพาพระองค์นั้นไปดูเสียหน่อย ให้ไปยืนดูศพนางสิริมา เมื่อยังไม่ได้ขึ้นเชิงตะกอน แล้วก็ให้ดูเรื่อยไปจนเขาต้องเผา ไฟแลบผิวหนัง เห็นเนื้อ จนกระทั่งกลายเป็นตอตะโกดำ ดูจนกระทั่งเป็นขี้เถ้า ผลที่สุดก็เกิดความเบื่อหน่ายในสังขารร่างกาย มองเห็นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เลยบรรลุมรรคผลไป นี่เป็นเรื่องตัวอย่าง ไอ้ที่ได้ไปเอารูปนางมาฝันก็เพราะว่าไปเห็น ไม่สำรวมในเวลาบิณฑบาต นั่งชำเลียงดู นางไปใส่คนอื่นก็ไปดู แล้วก็ติดอกติดใจ อย่างนี้ เขาเรียกว่าติดในรูป รูปมัดใจดิ้นไม่หลุด เลยก็เสียหาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2018, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น เวลาเราไปไหน ถ้าไปในฐานะแม้จะเป็นชาวบ้านก็ต้องสำรวมเอาไว้บ้าง อย่าไปดูให้มันมาก คือถ้าดูจนเกิดราคะแล้วไม่ได้ ดูเฉยๆได้ ดูพอเห็นว่ามันจะเกิดอะไร รีบสลัดหน้าไปเสีย รีบรู้สึกตัว อย่าเพลิน อย่าหลง ในสิ่งนั้น
ถ้าดูจนเพลิน จนหลงแล้วจะตาย ตายจากคุณงามความดี ถูกกิเลสโจมตีพังไปเลย เสียหาย เพราะฉะนั้น อย่าดูให้นาน พอเห็นว่าเป็นอะไรละก็รีบดูซะ อย่าไปดูนานๆ แล้วเวลาไปก็อย่าไปคิดถึง ผ่านไปเฉยๆ
ถ้าใจมันคิดถึงว่าไม่ใช่ของเรา บอกตัวเองว่าคิดไปทำไม มันไม่ใช่ของเรา ของเรามีแล้ว คิดถึงของเราดีกว่า อย่างนั้นก็ดี ว่าอย่างนั้นแหละ สอนตัวเอง
ถ้ายังไม่มีก็อย่าไปดูเลย ดูก็ไม่ได้ ค่อยดูดีกว่า อะไรอย่างนั้นล่ะ พูดเตือนตัวเองอย่างนี้ ในเมื่อเกิดอะไรขึ้นในใจ ถ้าเราหมั่นสะกิดตัวเอง หมั่นเตือนตัวเองละก็ไม่เสียหาย เรื่องยุ่งยากมันจะไม่เกิด ผลของการสำรวมระวังก็จะเกิดขึ้น

ไอ้ที่ได้เตือนนั้น หมายความว่า ให้ระวังใจเรา พอใจคิดเขว คอยกำหนดรู้ ไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานะใด ถ้าเราคอยสะกิดเตือนใจเราไว้ ไม่เสียคน ไม่เสียคน ไม่ทำชั่ว คนที่ทำชั่วจนเสียคน เพราะไม่เตือนตัวเอง ไม่สะกิดบอกตัวเองว่ามันจะเลอะแล้วนะ ไม่บอกอย่างนั้น ไหลไปตามอารมณ์เพลิน ไปเพลินนักในอารมณ์นั้น เพลินจนตกเหวไม่รู้ตัว นี่คือความเสื่อมของชีวิต เพราะฉะนั้น การระมัดระวังตัวเอง การคอยตักเตือนตัวเองไว้ นี่มันดี


ทีนี่ การที่เราจะเตือนตัวเองได้นั้น ก็ต้องรับรู้ว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นโทษแก่ชีวิตของเรา เราต้องรับรู้เรื่องนี้ไว้ แล้วก็เอาไปใช้เป็นหลักวินิจฉัยว่า อันใดถูก อันใดผิด อันใดควร อันใดไม่ควร
ถ้าจะทำสิ่งใดลงไปก็ต้องวินิจฉัยว่า มันถูกหรือผิด มันดีหรือชั่ว เสื่อมหรือเจริญ เราก็รีบแก้ได้

แม้การเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน เราต้องพิจารณาว่าเราอยู่อย่างไร อยู่อย่างคนก้าวหน้า หรือว่าอยู่อย่างคนล้าหลัง เตือนตัวเองอย่าง่นี้ก็อยู่ในประเภทสำรวมเหมือนกัน หมายความว่า ระมัดระวังไว้ ระวังความคิดไว้ ระวังสิ่งที่มากระทบทุกแง่ทุกมุม ไม่ให้เกิดยินดียินร้าย เราก็ปลดอภัย อันนี้เป็นประการหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2018, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อต่อไป ข้อที่ ๒ ก็เรียกว่า โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอสมควรไม่มากไม่น้อย
อาหารนี่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ไม่กินอาหารมันอยู่ไม่ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า “สัพเพ สัตตา อาหารัฏฐิติกา - สัตว์ทั้งหลายพึงอยู่ได้ด้วยอาหาร” อาหารเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้เจริญเติบโต ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ มันเป็นสิ่งจำเป็นอันหนึ่ง ที่เราจะต้องกิน ต้องดื่ม กินอาหาร ดื่มน้ำ นี่เป็นสิ่งจำเป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2018, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ว่า การกินนั้นมันก็ต้องมีการจำกัด ดื่มก็ต้องมีการจำกัด ถ้าไม่มีการจำกัดจำเขี่ยแล้วก็เกินพอดี เกินความต้องการของร่างกาย กินเกินความต้องการของร่างกาย มันก็ไม่ได้ประโยชน์แก่ร่างกาย ดื่มเกินความต้องการของร่างกายมันก็ไม่ได้ประโยชน์แก่ร่างกาย แต่ว่าเป็นส่วนที่จะต้องทิ้งไป ไม่เกิดประโยชน์อะไร โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติทางจิต ต้องกินอาหารน้อยๆ กินเท่าที่พอจะอยู่ได้
สำหรับผู้ที่ทำงานทางออกกำลังกาย เช่น กรรมกรแบกหาม เขาก็กินตามสมควรที่ร่างกายต้องการ เกินไปก็ไม่ได้เหมือนกัน
คิดดู มนุษย์เรานี่มีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น เพราะเรื่องกินไม่ใช่น้อย กินไม่เป็น กินของไม่ดี กินสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ กินผิดเวลาอะไรอย่างนี้ มันเกิดโทษทั้งนั้น ทำให้สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปในทางร่างกาย เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้กินแบบผู้มีธรรมะ กินแบบที่เรียกว่า รู้จักประมาณในการกินให้พอดีๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2018, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้จักประมาณในการกินนั้น ก็หมายความว่ากินตามที่ร่างกายต้องการ อย่ากินตามที่กิเลสมันต้องการ กินตามกิเลสตัณหานั้น มันเป็นความต้องการของจิตฝ่ายต่ำ ไม่ใช่จิตฝ่ายสูง

และที่ได้กินอย่างนั้น เพราะอะไร ? เพราะไม่สำรวมอินทรีย์ ปล่อยให้ยินดียินร้ายครอบงำในขณะสิ่งอะไรเข้ามากระทบนั้น เลยเป็นทาสของมัน ติดในรสอาหาร กินมากเกินไป เกินความต้องการของร่างกาย เลยอึดอัดแน่นท้อง นั่งก็ไม่สบาย นอนก็ไม่สบาย อันนี้ เรียกว่าเกินความต้องการของร่างกาย เกินความพอดี จึงเกินความเสียหาย
แต่ถ้าเรากินพอดีพอดีมันก็ไม่มีอะไร พอดีๆ เกิดความสบาย ปัญหามันมีอยู่ว่า พอดีนั้นมันขนาดไหน คนนี้ว่าชามหนึ่งพอดี อีกคนหนึ่งว่า ๒ ชามจึงจะพอดี มันสุดแล้วแต่ว่าบุคคล ในเรื่องนี้ ถ้าเรามีมาตรฐานว่า เมื่อรู้สึกว่าอิ่มละก็พอดีละ รู้สึกว่าอิ่มแล้วมันก็พอดี ไอ้ที่ว่าอิ่มแล้วก็ต้องมีเนื้อที่เผื่อด้วย เผื่อน้ำสักแก้ว
ขอแนะนำว่า กินข้าว สมมติว่า กินข้าวสัก ๙ คำ ๑๐ คำ แล้วก็เหลือเนื้อที่ไว้สำหรับกินน้ำอีกหน่อย พอกินน้ำเข้าไปก็พอสบาย
ที่ว่าพอสบายนั่นคือไม่อึดอัด ไม่แน่นท้อง นี่เรียกว่าพอดี
ถ้ากินน้ำเข้าไปอีกแก้วก็ต้องอืดท้อง ต้องนั่งยืดตัวละมันแน่น นั่นเรียกว่า เกินพอดีแล้ว เกินความต้องการของร่างกาย

เพราะฉะนั้น ผู้ฉัน/กินอาหารจึงต้องคอยระมัดระวังให้มันพอดีๆ สมัยนี้ ที่เขาเรียกว่า รักษาทรงไว้ได้ ไม่อ้วน แล้วก็ไม่ผอมเกินไป
คนบางคนเขารักทรง เช่น สุภาพสตรี เขารักษาทรวดทรงกัน พวกนี้กินน้อยไม่มาก แล้วก็อยู่ได้ ร่างกายพอดีๆ ไม่อ้วนเกินไป ไม่ผอมเกินไป เขาก็อยู่ได้สบาย
เราที่ไม่ใช่คนทำงานหนัก งานฝ่ายกาย เช่นว่า เป็นเสมียน เป็นพนักงานอะไร นี่ก็กินแต่พอดีๆ แล้วก็รู้สึกว่าสบาย อยู่ได้อย่างปกติสุข ไม่มีโรคเกิดจากการกิน อันนี้ เป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะฉะนั้น ในเรื่องการรับประทานอาหารนี่ต้องมีขีดจำกัดไว้
แล้วก็ลองหัดกินว่า ลองเท่านี้พอไหม สมมติว่า ๒ ทัพพีพอไหม มื้อเช้าเท่านี้ แล้วก็มื้อเพล/กลางวันสักเท่านี้ อยู่ได้ไหม อ่อนเพลียไหม หัวโหยไหม สังเกตดู
ถ้ารู้สึกว่ามันปกติ ไม่มีอะไร ก็แสดงว่า พอใช้ได้ วันต่อไปเราก็กินเท่านั้น กินเท่าที่กินแล้วมันก็สบาย ไม่เกิดอะไรขึ้นมา กับดี ปลาดี ก็กินเท่านั้นแหละ ไม่มีกับข้าว ไม่มีอะไรก็กินเท่านั้นแหละ ดังนี้ มันก็สบายไม่มีปัญหา
ทีนี้ บางทีไม่อย่างนั้น วันนี้ ไม่ค่อยมีกับฉัน/กินน้อยๆ แล้วมันก็อ่อนเพลีย วันนี้ กับมากต้องว่าอีกหน่อย มันก็แน่นท้อง เป็นอย่างนั้น ไม่เกิดความพอดี เรื่องนี้ มันต้องวัดตัวเองให้เกิดความพอดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2018, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากเรื่องจำกัดปริมาณอาหารให้พอดีแล้ว โภชเน มัตตัญญุตา นี่กินความไปถึงอีกอันหนึ่ง คือ สุภรตา แปลว่า ความเป็นคนเลี้ยงง่าย สุภโร นี่ สุภรตา แปลว่า เป็นผู้เลี้ยงง่าย

ผู้เลี้ยงง่ายนั้น คือ เป็นคนติดในรสอาหาร ไม่ติดในรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม อะไรต่ออะไรให้วุ่นวาย กินแต่เพียงอาหาร ไม่คำนึงถึงรสชาติของมัน อะไรก็ได้ ถ้าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ก็กินเข้าไป จะเปรี้ยว จะหวาน จะมัน จะเค็ม ก็ไม่ต้องคำนึง เอาแต่เพียงว่าเขาปรุงมาอย่างไร เราก็ฉัน/กินอย่างนั้น พระเราก็ต้องอย่างนั้น คือว่าฉันตามที่ได้ ฉันตามที่เขาให้ เขาให้มาอย่างไรก็ต้องพอใจอย่างนั้น ไม่อึดอัด ไม่จู้จี้ในเรื่องรสชาติของอาหาร

ถ้าเราอึดอัดขึ้นมาในใจ แหม ไม่อร่อย เปรี้ยวไป หวานไป เค็มไป ไม่พอใจ ใจหงุดหงิด อย่างนี้ ก็เรียกว่า เลี้ยงยาก เป็นคนเลี้ยงยาก เพราะฉะนั้น เราต้องคิดว่าอะไรก็ได้ เมื่อเป็นอาหารมาฉันแล้วไม่เกิดโทษแก่ร่างกาย เราก็ฉันเข้าไปพอดีๆ ตามความต้องการของร่างกาย อย่างนี้ สบาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร