วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 13:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2018, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จักรธรรม ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมุ่งหมาย มี ๔ อย่าง ดู จักร

จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย มี ๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ - อยู่ในถิ่นที่เหมาะ

๒. สัปปุริสสูปัสสยะ - สมาคมกับคนดี

๓. อัตตสัมมาปณิธิ - ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปุญญตา - ได้ทำความดีไว้ก่อน

(อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ คือ ดำรงตนอยู่ในศีลธรรม และดำเนินแน่วแน่ในวิถีทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ดีงาม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2018, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ ว่าด้วย “จักร ๔”

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ - อยู่ในประเทศอันสมควร

๒. สัปปุริสสูปัสสยะ - คบสัตบุรุษ

๓. อัตตสัมมาปณิธิ - ตั้งตนไว้ชอบ

๔. ปุพเพกตปุญญตา - ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน

ชีวิตที่จะไปสู่ความเจริญต้องใช้ธรรมะ จักร ๔ เหมือนกับเป็นล้อ ๔ ล้อ

รถต้องมี ๔ ล้อ รถแบบนี้มันมี ๔ ล้อ จึงจะหมุนไปสู่ความเจริญได้ ถ้าขาดไปมันก็ไปไม่รอด จะต้องประกอบด้วยสิ่ง ๔ ประการ ชีวิตจะก้าวหน้าไปในความเจริญได้ เขาเรียกว่า “จักร” ซึ่งแปลว่า “ล้อ” ล้อ ๔ ล้อนี้ ประกอบด้วย อยู่ในประเทศอันสมควร, คบสัตบุรุษ, ตั้งตนไว้ชอบ, ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน รวมเป็น ๔ อย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2018, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่า อยู่ในประเทศอันสมควร นั้น หมายความว่า ประเทศนั้นเหมาะแก่ความเป็นอยู่ของเรา จะยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ว่า คนจะค้าขายก็ต้องไปตั้งร้านในที่เหมาะ เป็นปฏิรูปเทส คือ คนผ่านไปผ่านมา เป็นย่านชุมนมใหญ่ของของก็คล่อง ถ้าไปตั้งร้านขายอยู่ในที่ไม่มีคน ร้านนั้นก็มีหวังจะล้มไปได้ เพราะว่า “ประเทศ” นั้นมันไม่เหมาะ เพราะฉะนั้น คนบางคนที่ทำการค้าขาย บางทีเปิดร้านแล้วขายไม่ออก เพราะเป็นสถานที่ไม่เหมาะแก่การค้าขาย ขาดทุน ล่มจมไปก็มักจะพูดว่า ดวงมันไม่ดีเราจึงค้าขายไม่ขึ้น ความจริงมันบกพร่องเรื่องภูมิประเทศ คือไปหาประเทศที่มันไม่เหมาะไม่ควร เช่นกรุงเทพ ฯ ที่ที่ไม่ควรแก่การค้าขายมีเยอะแยะ บางแห่งคนเขาไม่หยุด เดินผ่านไปเฉยๆ ไม่แวะไม่เวียนมา ขายไม่ออก ถ้าเป็นย่านประตูน้ำเป็นปฏิรูปเทส เพชรบุรีตัดใหม่ก็เป็นปฏิรูปเทส อย่างนี้เป็นตัวอย่าง บางรัก บางลำพู ก็เป็นปฏิรูปเทส เปิดร้านขายอะไรก็ขายคล่องพอไปได้ เราจะขายอาหาร ขายกาแฟ ขายเสื้อผ้า ขายหยูกขายยา มันต้องหาที่เหมาะทั้งนั้น ถ้าไม่เหมาะแล้ว ขายก็ไม่ได้ นี่การค้าขาย

ทีนี้ คนที่ไปทำการเกษตร จะต้องดูภูมิประเทศว่า ที่ตรงนั้นนะเราจะทำการเกษตร ดินดีหรือเปล่า น้ำดีหรือเปล่า ถ้าดีแต่ดินไม่มีน้ำปลูกอะไรก็ไม่ได้ มันตายเกลี้ยง เพราะฉะนั้น ภูมิประเทศที่เหมาะแก่การเกษตร มันต้องมีดินมีน้ำ แล้วก็ต้องใกล้เส้นทางคมนาคม การไปมาสะดวก ผลิตผลที่เกิดขึ้นแล้วจะนำไปจำหน่ายจ่ายแจกที่ไหนก็ไปได้ อย่างนี้ ก็เป็นภูมิประเทศเหมาะแก่การที่จะเพาะปลูก
คนเราจะไปอยู่ที่ใด ก็ต้องดูว่ามันเหมาะแก่การเป็นอยู่หรือไม่ เช่นว่า เราไปอยู่ในดงอันธพาล มันอยู่ไม่ได้ อยู่ไม่ไหว เพราะจะถูกเพื่อนรังแก การเป็นอยู่มันก็ไม่สะดวก เพราะมีคนคอยเบียดเบียนเราด้วยประการต่างๆ ที่อย่างนั้น ไม่เป็นปฏิรูปเทสสำหรับที่จะอยู่
ที่ใดที่มีคนสงบเรียบร้อย เป็นบัณฑิตอย่างนั้น มันก็เหมาะแก่การที่จะอยู่ได้
เราจะศึกษาเล่าเรียน ต้องดูประเทศที่เหมาะแก่การศึกษา อยู่ในที่ๆไปสะดวก มีโรงเรียน มีวิทยาลัยให้การศึกษา ประเทศนั้นก็เป็นปฏิรูปเทส ปฏิรูปเทสสำหรับการทำมาหากินของชาวบ้านสำคัญที่สุด เพราะฉะนั้น ต้องเลือกชัยภูมิที่เหมาะ จึงจะเจริญก้าวหน้าเป็นประการแรก เป็นฐานสำคัญก่อน


ทีนี้ เราจะเจริญภาวนา ก็ต้องหาภูมิประเทศที่เหมาะเหมือนกัน ภูมิประเทศที่เหมาะแก่การเจริญภาวนา ก็ต้องเป็นที่สงบจากเสียงจอแจพลุกล่าน ไม่มีคนเข้าออกไปมา เงียบเชียบ อย่างนั้นแหละเหมาะแก่การเจริญภาวนา เราจะไปอยู่ที่นั้น ใจมันสงบ เพียงแต่พอเข้าไปในบริเวณนั้นใจมันสงบแล้ว เพราะไม่มีอารมณ์อะไรรบกวน
ถ้าจะไม่สงบบ้างก็เรียกว่ารื้อของเก่ามานั่งดูเล่น พอเข้าไปนั่งที่สงบก็คือไปถึงเรื่องเก่าๆ แฟนคนเก่า ไอ้นั่นเก่าๆ มันไม่สงบดอก เราไปคิดของเก่า แต่ของใหม่ไม่มี
สถานที่เช่นนั้น เป็นปฏิรูปเทส คือหาวัดที่เหมาะแก่การที่จะบวช หาครูอาจารย์ที่เหมาะที่เราจะไปอยู่อาศัย เพื่อรับการอบรมบ่มนิสัย มันจำเป็น ดังนั้น ปฏิรูปเทส คือ ประเทศอันสมควร เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทำงานทำการทุกอย่างทุประเภท ถ้ามันเหมาะแล้วมันเจริญ ถ้าไม่เหมาะแล้วก็ต้องยุบกันบ่อยๆ ย้ายกันบ่อยๆ เพราะไปได้ที่ไม่เหมาะไม่สมควร อันนี้ เป็นเรื่องสำคัญ
คนโบราณเขาถือว่าไปอยู่ที่ไหนต้องมีแม่น้ำ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการสัญจรทางน้ำ สมัยนี้สัญจรทางถนนก็ต้องอยู่ใกล้ถนน แล้วที่สำคัญก็ต้องมีความสงบในถานที่นั้น ที่ใดไม่สงบจึงไปอยู่ไม่ได้ มันวุ่นวาย ไม่มีความสุข
แต่ว่าถ้าที่ใดสงบแล้ว เหมาะที่สุดสำหรับการจะเป็นอยู่นั้น เขาเลือกเอาอย่างนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญประการต้น
เมื่อเราได้อยู่ในประเทศอันสมควรแล้ว ได้ล้อข้างหนึ่งแล้ว ยังวิ่งไปได้ ล้อข้างเดียววิ่งไม่ได้ ต้องเอาล้ออันที่สองเข้ามาใช้อีกล้อหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2018, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คบสัตบุรุษ ในวุฒิธรรมเป็นเครื่องเจริญ ๔ นั้น ก็เริ่มต้นด้วยการคบสัตบุรุษ อันนี้ก็ว่าคบสัตบุรุษเหมือนกัน
สัตบุรุษนี่เป็นคนสำคัญที่เราจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง พระผู้มีพระภาคจ้าตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนี้เกิดขึ้นมาในโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่มหาชน. คนประเภทนี้ ก็ต้องเข้าไปหา ต้องเข้าไปคบหาสมาคมกับสัตบุรุษ เพื่อจะได้ฟังคำสอน จะได้เอามาคิดมาตรอง จะได้เอาไปปฏิบัติเป็นล้ออันที่ ๒
อันนี้ พูดแล้วในข้อแรกของ หมวดว่า วุฒิธรรม ๔ (วุฒิธรรม ๔ ที่ viewtopic.php?f=1&t=55385 ) ไม่ต้องอธิบายยืดยาวก็เข้าใจอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2018, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ ล้ออันที่สาม

อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ. เรามีล้อคืออยู่ในประเทศอันสมควร, คบสัตบุรุษ, สองล้อ ล้อที่สามนั้น ต้องตั้งตนไว้ชอบ อันสำคัญที่สุด ตั้งตนไว้ชอบ
ที่ว่า ต้องตั้งตนไว้ชอบนั้น ตั้งตนอย่างไร ? เรามีหลักศาสนาประจำจิตใจ มีธรรมะประจำจิตใจ ถ้าเราเป็นคนไทยนับถือพระพุทธศาสนา ก็มีความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน มีศีลเป็นหลักสำหรับจิตใจ มีธรรมสำหรับคุ้มครองจิตใจ
ถ้าเรามีธรรมคุ้มครองจิตใจ มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เป็นฐานที่จะให้ตั้งตนไว้ชอบ ถ้าไม่มีศาสนาเป็นหลักใจ จะตั้งตนชอบได้อย่างไร คือ ไม่มีฐานจะตั้ง มันตั้งไม่ได้ มันต้องมีฐาน เราจะวางอะไรมันต้องมีฐาน มีที่รองรับ ไม่มีที่รองรับจะไปวางลงตรงไหน
สร้างบ้านสร้างเรือน มันต้องมีที่ดิน ไม่มีดินจะไปสร้างอย่างไร มีดินแล้วต้องมีฐาน จึงตอกเข็มลงรากให้มั่นคง เรือนนั้นจึงจะอยู่ได้ด้วยความเรียบร้อย
ในชีวิตคนเรานี่ก็เหมือนกัน จะต้องมีฐานคือศีลธรรมในศาสนาหลักครองใจ มีหลักยึดถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นหลักยึดไว้ที่ใจ ทำอะไรต้องอาศัยหลักเกณฑ์ ไม่ทำตามอารมณ์ ไม่ทำตามสิ่งยั่วยุ
แต่ว่าเรามีระเบียบ เรามีหลักของเรา ระเบียบ หลักนั่นก็คือศีลธรรม ศาสนาที่เรานับถือ อันนี้ จะเป็นเครื่องประกอบให้ตั้งตนไว้ชอบ


ทีนี้ การตั้งตนไว้ชอบนั้น ต้องตั้งตนให้เหมาะแก่ เพศ แก่วัย ตำแหน่ง หน้าที่การงานที่เราประพฤติปฏิบัติอยู่ เราเป็นหญิง ต้องทำตนให้สมแก่ความเป็นหญิง เป็นชายก็ต้องทำตนให้สมแก่ความเป็นชาย เป็นบัณฑิตสอบได้ปริญญาก็ประพฤติตนให้สมกับเป็นบัณฑิต บัณฑิตคือผู้จักรักษาตัวรอด
รอดจากอะไร รอดจากความตำต่ำทางจิตใจ ถ้าจิตใจเรายังตกไปอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำ เราไม่เป็นบัณฑิตพอ เพราะฉะนั้น ถ้าได้เป็นบัณฑิตแล้ว ต้องตั้งตนไว้ชอบ ให้สมกับความเป็นบัณฑิตของเรา เรียกว่ามี ความรู้ประพฤติตนให้สมควรแก่ความรู้ ไม่ลดตนลงไปคลุกคลี กับ ความชั่วฝ่ายต่ำ
ถ้าเรามีตำแหน่งหน้าที่อะไร ประพฤติตนให้เหมาะแก่ตำแหน่ง เช่น เราเป็นปลัดอำเภอ ก็ทำตนให้สมกับความเป็นท่านปลัด ชาวบ้านเขาให้เกียรติ เรียกว่า ท่านปลัด
“ท่าน” ขึ้นหน้า มันพอไปได้ทั้งนั้นแหละ ท่านนั่น ท่านนี่ มันพอไปได้ ถ้า “ไอ้” ขึ้นหน้าแล้ว แย่ไปตามๆกัน นี่เขาเรียกว่า ท่านปลัด เราก็ต้องทำตนให้สมกับกับความเป็นปลัด
เป็นท่านนายอำเภอ เป็นเจ้าเมือง เป็นสรรพสามิต เป็นสรรพากร เป็นอะไรก็ตาม เราต้องทำตนให้เหมาะสม
โดยส่วนรวม เราเป็นข้าราชการ ต้องทำตนให้เหมาะสมแก่ความเป็นข้าราชการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2018, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ข้าราชการ คือ คนทำงานให้ชาวบ้านชื่นใจสบายใจ แปลตามตัวอักษรเขาว่า ข้าของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ทำงานให้แก่พระเจ้าแผ่นดิน แต่ว่า พระเจ้าแผ่นดิน เขาเรียก พระราชา หมายความว่า ผู้ทำงานให้ผู้อื่นสบายใจ

คำว่า ราชา เกิดขึ้นมาอย่างไร ? จะเล่าให้ฟังนิดหน่อย คือ สมัยก่อนโน้น บ้านเมืองมันยังไม่เจริญ อยู่กันอย่างธรรมดา ธรรมชาติ แต่ว่ามันมีเรื่องยุ่งวุ่นวาย เขาก็เลยคิดค้นว่าต้องเลือกหัวหน้าขึ้นไว้สักคนหนึ่ง เลยตกลงประชุมกันเลือกหัวหน้า หัวหน้าที่เขาเลือก เลือกอย่างบริสุทธิ์ ไม่มีการโฆษณาชวนเชื่อ ไม่มีการแจกของเพื่อล่อใจให้ไปเลือก สมัยนั้นเจ้าบุญทุ่มมันยังไม่เกิด เขาเลือกกันอย่างบริสุทธิ์ เลือกเอาคนคนหนึ่งขึ้นเป็นหัวหน้า คนนั้นเป็นหัวหน้าแล้วก็จัดการปกครองเรียบร้อย คนอยู่กันด้วยความสุขความสบายใจ เขาเหล่านั้น จึงเปล่งวาจาออกมาว่า ราชา ราชา เป็นภาษาบาลีว่า ราชา ราชา แปลว่า ผู้ทำกิจให้เรายิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงได้มาเป็นชื่อของผู้ปกครองว่า พระราชา หรือราธิราช แปลว่า ผู้ดำริให้ชาวบ้านชื่นใจ


คนที่ทำงานข้าราชการ แปลว่า เป็นผู้ทำงานต่างหูตาพระราชา เขาเรียกกันว่า ต่างพระเนตร พระกรรณ ไปทำงานอยู่ในที่ต่างๆ เราต้องมีความภูมิใจไว้หน่อยว่า เราเป็นตัวแทนองค์ราชา ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ เพราะฉะนั้น ต้องทำตนให้สมแก่ตำแหน่องหน้าที่ อย่าประพฤติเป็นคนเหลวไหล ต้องอยู่ในศีล ต้องกินในธรรม ไม่ประพฤติอะไรตามใจตัว ตามใจอยาก ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ได้ ไม่เป็นทาสของใครๆ มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า “อตฺตานญฺเจ น ทเทยฺยํ” แปลว่า “ไม่พึงขายตัวให้แก่ใคร” ไม่ให้ใครมาซื้อเราไปได้เป็นอันขาด


คนกินสินบนนั่นเขาเรียกว่าคนขายตัว ขายตัวให้แก่ใครๆ ใครจะซื้อก็ได้ ราคาไม่แพง เหล้าขวดเดียวก็ยังได้ หรือว่าเงินนิดหน่อยก็ยังได้ อย่างนี้ เรียกว่าลดตนลงไปต่ำเหลือเกิน
ให้เขาลูบหัวลูบหางได้ตามสบายๆ ไม่สมกับความเป็นข้าราชการผู้ทำงานแทนองค์ราชา การตั้งตนอย่างนี้ เขาเรียกว่าไม่ชอบในฐานะเป็นข้าราชการ จึงต้องระมัดระวังตนมากที่สุดที่จะมากได้ เขาเรียกว่า ตั้งตนไว้ชอบ งดเว้นจากสิ่งชั่วร้าย เช่น อบายมุข งดเว้นจากการทำอะไรที่มันไม่เหมาะไม่ควร เป็นผู้ดีทุกกระเบียดนิ้ว ผู้ดีไม่ใช่พวกที่เข้าใครไม่ได้ แต่เข้ากับคนได้เพราะเป็นผู้ประพฤติธรรม จึงเรียกว่า ตั้งตนไว้เหมาะสมแก่การเป็นข้าราชการ

เราเป็นคนไทย เราเป็นมนุษย์ เราเป็นพุทธบริษัท ก็ตั้งตนให้เหมาะสม คนที่ตั้งตนไม่ถูก เอาตัวไม่รอด เสียผู้เสียคนกันมานักหน้าแล้ว เรื่องมันตั้งตนไม่เหมาะ ไม่เหมาะแก่การเป็น เขาให้เป็นอะไร มันเป็นไม่เป็น เป็นไม่เป็นแล้วชีวิตมันไปไม่รอด เพราะฉะนั้น เราต้องเป็นให้ถูกให้เหมาะ
การที่จะเป็นให้เหมาะนั้น ก็ต้องคอยเตือนตนเอง คอยสะกิดบอกตัวเองว่า เขาให้ฉันเป็นนั่น เขาให้ฉันเป็นนี่ ฉันจะต้องทำอย่างนั้น ฉันจะต้องทำอย่างนี้ อย่าทำอะไรเลอะเทอะ มันไม่สมเกียรติภูมิที่เขาให้เป็น เตือนไว้อย่างนี้ก็จะเกิดอัตตสัมมาปณิธิ คือ ตั้งตนไว้ชอบขึ้นมาทันที นี่เป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่ง เป็นล้ออันที่ ๓

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2018, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้ มันยังขาดอีกล้อหนึ่ง ยังวิ่งไม่ได้ เพราะ ๓ ล้อ วิ่งไม่ได้ ต้องมี ๔ ล้อ คือ ต้องมี ปุพเพกตปุญญตา การทำบุญไว้ในปางก่อนในกาลก่อน

คำว่า “ปางก่อน” ในที่นี้ มันก็ตีความได้ ๒ แง่ ถ้าเรามีความเชื่อว่า ตายแล้วเกิด เกิดแล้วหลายภพหลายชาติตามแบบที่เขาเชื่อกัน หมายความว่า ว่าบุญเก่ามาส่งเสริมมาสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้า

แต่ถ้าเราไม่เชื่ออย่างนั้น เราก็ถือว่า ไอ้ความดีที่ก่อนๆ มันมาสนับสนุน ความดีที่เราทำไว้เมื่อเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม คือปีก่อนโน้น กี่ปีกี่เดือนก็ไม่รู้แหละ เราทำมาเรื่อยๆ
ความดีที่เราทำไว้แหละมันเป็นความดีเมื่อก่อน เป็นบุพเพกตปุญญตา
“ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำไว้ก่อนแล้ว” แปลตามตัวตรงๆ แปลอย่างนั้น

เราเอาบุญนั้นมาช่วยก่อน ความดีนั้นมาช่วยก่อน ไอ้ล้ออันนี้ก็หมายความว่าให้มันดีทุกเวลานาที ไอ้ความดีเดี๋ยวนี้มันก็เป็นความดีเมื่อก่อน ความดีชั่วโมงนี้มันก็เป็นความดีชั่วโมงก่อน ความดีวันนี้มันก็เป็นความดีของวันก่อน ทำดีนี้มันก็เป็นความดีปีก่อน สำหรับปีต่อไป ทยอยกันไปเรื่อยๆ มันคอยสนับสนุน ความดีมันคอยสนับสนุน เหมือนกับน้ำที่ไหลมาจากภูเขา
ถ้าว่าภูเขาไม่เตียนโล่ง มันไม่ร้อนเกินไป น้ำมันก็ไหลเรื่อยๆ มาไม่ขาดสาย ความดีของเราก็อย่างนั้น ความดีในปางก่อนจะเกิดขึ้นได้ เพราะเราทำดีตลอดเวลา มีสติคอยเตือนตัวเอง จงทำดี จงทำดีไว้ๆ แล้วมันก็ปลอดภัย มันมีความดีสนับสนุนไม่รู้จักหมดไม่รู้จักสิ้น
แต่ถ้าเราไม่ทำความดีไว้ มันไม่มีความดีสนับสนุน เราก็พังกันเท่านั้นเอง

คนที่ได้ทำความดีไว้ แม้จะมีความผิดไปบ้างยังได้รับอภัย เขาให้อภัยว่าคนยังไม่เคยทำความผิด งดเว้นไม่ลงโทษ ไม่ทำอะไรให้เสียหาย
เคยมีพระองค์หนึ่ง แกเป็นพระชั้นดีทีเดียว ดีมาก ทำดีเรียบร้อย สร้างวัดสร้างวา สร้างโรงร่ำโรงเรียน คนก็เลื่อมใสศรัทธา
แต่มาวันหนึ่ง มีนักเลงอันธพาลมาที่กุฏิ มันมาด่าแก ด่ารุนแรง แกทนไม่ไหว เรียกว่าขันติมันกำลังแตก เป็นขันแตกขึ้นมา แกก็จับขวานที่อยู่ข้างๆ ตัว ลุกขึ้นก็เต้นท่าพม่ารำขวานเข้าไป ไอ้เจ้านั้นก็ม่อยกระรอกอยู่ตรงนั้นเอง สาเหตุเท่านั้นเอง
ทีนี้ ก็เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ดี นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ช่วยเหลือท่าน เพราะว่าท่านมีความดีมาก แม้ฆ่าคนตายก็ไม่ติดคุก แต่ว่าเรื่องพระวินัยมันก็ออกตามธรรมดา งดเว้นไม่ได้ เพราะว่าฆ่าคนมันก็เป็นปาราชิก ท่านก็ต่อสู้คดี สึกออกไปสู้คดีกัน ศาลตัดสินปล่อย เพราะเขาทำเรื่องให้มันมีการปล่อยได้ สุดแล้วแต่เจ้าหน้าที่ ไอ้เขาทำอย่างนั้นก็เพราะว่าท่านมีความดี เป็นผู้มีความดีที่ได้ทำไว้ก่อน เลยเอาตัวรอดไปได้ ไม่ติดคุกติดตะราง เมื่อมันเป็นอย่างนี้ นี่เขาอาศัยความดีคุ้มครอง
คนเรา ถ้าทำความดีไว้แล้ว เรียกว่ามันมาคุ้มมารักษาเรา แม้จะเผลอไปบ้าง พลาดไปบ้าง เราก็ไม่เป็นไร เพราะความดีที่เราทำไว้ มันมาคุ้มครองเราไว้
แต่ถ้าเราเป็นคนไม่มีความดีอะไรเลย พอพลาดท่าลงไปก็ผีซ้ำด้ามพลอย ผลที่สุดก็ย่อยยับไปเท่านั้นเอง หลักมันเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงต้องสะสมความดีไว้ตลอดเวลา ไปอยู่ที่ไหน ก็ทำความดีไว้ในสถานที่นั้นกับบุคคลนั้นๆ กับอะไรที่มาเกี่ยวข้องกับเรา เราต้องนึกว่าเราต้องทำดีกับบุคคลนั้นไว้ มันก็ปลอดภัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2018, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จักร ๔ ประการนี้ มันสำคัญ อยู่ในประเทศอันสมควร ประเทศอันสมควรมีสัตบุรุษที่เราพอจะเข้าไปพบหาได้ แล้วเราก็ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ได้รู้ว่าอันดี อันนี้ชั่ว อันนี้ถูก อันนี้ผิด อันนี้เสื่อม อันนี้เจริญ เราก็จะได้เอามาตั้งตนไว้ชอบ
การตั้งตนไว้ชอบนั้นก็คือการสร้างบุญทุกวันๆๆ ทำความดีทุกวันๆ ความดีนั้นก็เป็น ปุพเพกตปุญญตา มาสนับสนุนเราให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป หลักการมันเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ให้เอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน อันนี้ เอาใช้ได้เลย
ต่อไปต้องพิจารณาจะไปอยู่อย่างไร ควรจะคบกับใคร ควรตั้งตนไว้อย่างไร เป็นหลักที่จะเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ธรรมะข้อนี้ ถ้าใครเอาไปใช้แล้วก้าวหน้า ชีวิตไม่ตกต่ำ ถึงจุดหมายปลายทางคือความเจริญในชีวิตประจำวัน.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2018, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบจักร ๔ จากหนังสือนี้ หน้า ๓๘๑

http://g-picture2.wunjun.com/6/full/40e ... s=614x1024

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2018, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำบุญ ทำความดี, ทำสิ่งที่ดีงาม, ประกอบกรรมดี ดังที่ท่านแสดงไว้ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐
แต่ที่พูดกันทั่วไป มักเพ่งที่การเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ บริจาคบำรุงวัดและการก่อสร้างในวัดเป็นสำคัญ

บำเพ็ญ ทำ, ทำด้วยความตั้งใจ, ปฏิบัติ, ทำให้เต็ม, ทำให้มีขึ้น, ทำให้สำเร็จผล (ใช้แก่สิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2018, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายทั่วไปโดยสรุป

ต่อนี้พึงทราบคำอธิบายละเอียดขึ้น เริ่มแต่ความหมายตามรูปศัพท์ว่า "กรรมที่ชำระสันดานของผู้กระทำให้สะอาด"

"สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา"

"การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ" ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ,

กุศล (มักหมายถึงโลกิยกุศลหรือความดีที่ยังกอปรด้วยอุปธิ คือ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ปรารถนากันในหมู่ชาวโลก เช่น โภคสมบัติ,)
บางทีหมายถึงผลของการประกอบกุศล หรือผลบุญนั่นเอง เช่น ในพุทธพจน์ (ที.ปา.11/33/62) ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญนี้ ย่อมเจริญเพิ่มพูนอย่างนี้" และมีพุทธพจน์ (ขุ.อิติ.25/200/240) ตรัสไว้ด้วยว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" (บุญ ในพุทธพจน์ ทรงเน้นที่การเจริญเมตตาจิต)

พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ศึกษาบุญ “ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย" (ขุ.อิติ.25/200/241; 238/270) คือ ฝึกปฏิบัติหัดทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นในความดีและสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติที่ดี

ในการทำบุญ ไม่พึงละเลยพื้นฐานที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต ให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเจริญงอกงามหนุนกันขึ้นไปสู่ความดีงามที่สมบูรณ์ เช่น พึงระลึกถึงพุทธพจน์ (สํ.ส.15/146/46) ที่ว่า
"ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน (รวมทั้งจัดเรือข้ามฟาก) จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา, ชนเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์"

คัมภีร์ทั้งหลายกล่าวถึงบุญกรรมที่ชาวบ้านควรร่วมกันทำไว้เป็นอ้นมาก เช่น (ชา.อ.1/299) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทาง สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ สร้างศาลาที่พักและที่ประชุม ปลูกสวนปลูกป่า ให้ทาน รักษาศีล

พระพุทธเจ้าตรัสประมวลหลักการทำบุญที่พึงศึกษาไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ขุ.อิติ.25/238/270) ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้แจกแจงให้เห็นตัวอย่างในการขยายความออกไปเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เช่น สงฺคณี.อ. 208) ตรงข้ามกับ บาป

บาป ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก, อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2018, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

คำว่า ราชา เกิดขึ้นมาอย่างไร ? จะเล่าให้ฟังนิดหน่อย คือ สมัยก่อนโน้น บ้านเมืองมันยังไม่เจริญ อยู่กันอย่างธรรมดา ธรรมชาติ แต่ว่ามันมีเรื่องยุ่งวุ่นวาย เขาก็เลยคิดค้นว่าต้องเลือกหัวหน้าขึ้นไว้สักคนหนึ่ง เลยตกลงประชุมกันเลือกหัวหน้า หัวหน้าที่เขาเลือก เลือกอย่างบริสุทธิ์ ไม่มีการโฆษณาชวนเชื่อ ไม่มีการแจกของเพื่อล่อใจให้ไปเลือก สมัยนั้นเจ้าบุญทุ่มมันยังไม่เกิด เขาเลือกกันอย่างบริสุทธิ์ เลือกเอาคนคนหนึ่งขึ้นเป็นหัวหน้า คนนั้นเป็นหัวหน้าแล้วก็จัดการปกครองเรียบร้อย คนอยู่กันด้วยความสุขความสบายใจ เขาเหล่านั้น จึงเปล่งวาจาออกมาว่าราชา ราชา เป็นภาษาบาลีว่า ราชา ราชา แปลว่า ผู้ทำกิจให้เรายิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงได้มาเป็นชื่อของผู้ปกครองว่า พระราชา หรือราธิราช แปลว่า ผู้ดำริให้ชาวบ้านชื่นใจ


ความสัมพันธ์แบบอิทัปปัจจยตา (สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น) ตามที่ท่านเล่านั่น มีความเป็นมาดังว่า การปกครองก็วิวัฒนาการเรื่อยมา


อัคคัญญสูตร แสดงแนวความคิดวิวัฒนาการตามหลักปัจจยาการ เช่น

- คนเกียจคร้านนำข้าวมาเก็บสั่งสม และเกิดความนิยมทำตามกัน

=> เกิดการปักปันกั้นเขตแบ่งส่วนข้าว

=> คนโลภลักส่วนของคนอื่นมาเพิ่มแก่ตน (เกิดอทินนาทาน)

=> เกิดการตำหนิ ติเตียน การกล่าวเท็จ การทำร้ายลงโทษ การต่อสู้

=> > ผู้มีปัญญาเห็นความจำเป็นต้องมีการปกครอง เกิดการเลือกตั้ง เกิดมีคำว่า "กษัตริย์"

> มีคนเบื่อหน่ายความชั่วร้ายในสังคม คิดลอยล้างบาป ไปอยู่ป่าบำเพ็ญฌาน บางพวกอยู่ใกล้ชุมชน เล่าเรียนเขียนตำรา เกิดมีคำว่า "พราหมณ์" เป็นต้น

> คนมีครอบครัว ประกอบการอาชีพประเภทต่างๆ เกิดมีคำว่า "แพศย์"

> คนนอกจากนี้ ซึ่งประพฤติเหลวไหลทำการต่ำทราม ถูกเรียกว่า "ศูทร"

=> คนทั้งสี่พวกนั้น บางส่วนละเลิกขนบธรรมเนียมของตน สละเหย้าเรือนออกบวช เกิดมี "สมณะ"

จุดหมายของการตรัสพระสูตรนี้ มุ่งให้เห็นว่า การเกิดมีชนชั้นวรรณะต่างๆ เป็นเรื่องของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย โดยกฎธรรมดาแห่งความสัมพันธ์


จักกวัตติสูตร แสดงการเกิดขึ้นแห่งอาชญากรรม และความชั่วร้ายเดือดร้อนต่างๆในสังคม ดังนี้

- (รัฐบาล) ผู้ปกครอง ไม่จัดสรรปันทรัพย์ให้แก่เหล่าชนผู้ไร้ทรัพย์

=> ความยากจนระบาด

=> อทินนาทานแพร่ระบาด

=> การใช้ศัสตราอาวุธแพร่ระบาด

=> ปาณาติบาต (การฆ่าฟันกันในหมู่มนุษย์) แพร่ระบาด

=> มุสาวาทระบาด + การส่อเสียด + กาเมสุมิจฉาจาร + ผรุสวาท และสัมผัปปลาป + อภิชฌา และพยาบาท + มิจฉาทิฐิ + อธรรมราคะ ความละโมบ มิจฉาธรรม + ความไม่นับถือพ่อแม่สมณพราหมณ์ และการไม่เคารพนับถือกันตามฐานะแพร่ระบาด

=> อายุวรรณะเสื่อม

เรื่องปัจจยาการแห่งทุกข์ของสังคม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร