วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 18:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูป เป็นตน เห็นเวทนา เป็นตน เป็นต้น ติดสมมติเหนียวแน่น ซึ่งทำให้เห็นแก่ตัวอย่างหยาบ และเกิดความกระทบกระทั่ง มีทุกข์ได้แรงๆ

วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่แน่ใจต่างๆ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขา เป็นต้น ซึ่งทำให้จิตใจไม่น้อมดิ่งไปในทางที่จะระดมความเพียรมุ่งหน้าปฏิบัติให้เร่งรุดไปในมรรคา

สีลัพพตปรามาส ความถือเขวเกี่ยวกับศีลพรต คือการถือปฏิบัติศีล กฎเกณฑ์ ระเบียบ วินัย ข้อปฏิบัติขนบธรรมเนียมต่างๆ ไม่บริสุทธิ์ตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย ที่มุ่งเพื่อความดีงาม เช่น ความสงบเรียบร้อย และความเป็นบาทฐานของสมาธิ เป็นต้น แต่ประพฤติด้วยตัณหาและทิฏฐิ เช่น หวังผลประโยชน์ตอบแทน หวังจะได้เป็นนั่นเป็นนี่ เป็นต้น ตลอดจนประพฤติด้วยความงมงายสักว่าทำตามๆกันมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สีลัพพตปรามาส เป็นสังโยชน์ที่มักเข้าใจกันพร่ามากที่สุดข้อหนึ่ง จึงเห็นควรนำหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม เพื่อเสริมความเข้าใจ

ในสุตตนิบาต มีพุทธพจน์มากแห่งตรัสถึงสมณพราหมณ์ และบุคคลบางพวก มีความเห็นผิด ถือว่าความบริสุทธิ์จะมีได้ด้วยศีลและพรต เป็นต้น (เช่น ขุ.สุ.25/411/489 ฯลฯ) ส่วนอริยสาวก หรือท่านผู้หลุดพ้น หรือมุนีที่แท้ ไม่ยึดติดทิฏฐิทั้งหลาย ละได้ซึ่งศีลและพรตทั้งหมด (เช่น ขุ.สุ.25/411/489 416/498; 431/450 ฯลฯ)

คำว่า บริสุทธิ์ หรือ “สุทธิ” นี้ หมายถึงจุดสูงสุดของลัทธิศาสนา ตรงกับความหลุดพ้น หรือวิมุตตินั่นเอง (เช่น ขุ.ม.29/120/105 ฯลฯ) ความเห็นผิดนั้น อาจแสดงออกในรูปของการบำเพ็ญศีลพรตเพื่อจะได้เป็นเทพเจ้า ดังปรากฏบ่อยๆในพระสูตรต่างๆ โดยข้อความว่า (มีปณิธาน (หรือมีทิฏฐิ) ว่า ด้วยศีล หรือพรต หรือตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง” (ม.มู.12/132/209 ฯลฯ)

คัมภีร์มหานิทเทส และจูฬนิทเทส ได้อธิบายเรื่องการยึดถือความบริสุทธิ์ด้วยศีลพรต เช่นนี้ไว้หลายแห่ง เช่นแห่งหนึ่งว่า “มีสมณพรหมณ์พวกหนึ่งถือความบริสุทธิ์ด้วยศีล พวกเขาเชื่อถือสุทธิ วิสุทธิ ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น วิมุตติ บริมุตติ เพียงด้วยศีล เพียงด้วยการบังคับควบคุมตน (สัญญมะ) เพียงด้วยความสำรวมระวัง (สังวร) เพียงด้วยการไม่ล่วงละเมิด ... ฯลฯ” มีสมณพรหมณ์พวกหนึ่งถือความบริสุทธิ์ด้วยพรต พวกเขาถือหัตถิพรต (ประพฤติอย่างช้าง) บ้าง ถืออัสสพรต (ประพฤติอย่างม้า) บ้าง ถือโคพรต (ประพฤติอย่างวัว) บ้าง ฯลฯ ถือพรมพรตบ้าง ถือเทวพรตบ้าง ถือทิศพรต (ไหว้ทิศ) บ้าง (ขุ.ม.29/120/105 ฯลฯ)


คำอธิบายเช่นนี้ ลงตัวเป็นแบบในคำจำกัดความคำว่า “สีลัพพตปรามาส” ของคัมภีร์อภิธรรมว่า “ทิฏฐิ การยึดถือ ของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ภายนอก (จากธรรมวินัย) นี้ ทำนองนี้ว่า ความบริสุทธิ์ด้วยศีล ความบริสุทธิ์ด้วยศีลพรต ความบริสุทธิ์ด้วยศีลและพรต นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส” (อภิ.สํ.34/673/263 ฯลฯ) คำว่า “ของสมณพราหมณ์ทั้งหลายภายนอก” นั้น บางทีทำให้บางท่านเข้าใจผิดว่า การประพฤติศีลพรตของพวกนักบวชนอกศาสนาเท่านั้น เป็น สีลัพพตปรามาส ความจริงคำที่ว่านี้ ควรถือเป็นคำเน้นเพื่อชี้ตัวอย่างรูปแบบ หรือแนวปฏิบัติเท่านั้น อาจเลี่ยงแปลเป็นว่า “การยึดถืออย่างพวกสมณพราหมณ์ภายนอก” ก็ชัดขึ้น หรือไม่ต้องเติมคำนั้นเข้ามาเลยก็ได้

(เหมือนอย่างพุทธพจน์ทั้งหลายในสุตตนิบาต และคำอธิบายใน ขุ.ม.29/336/227 หรือ ในอรรถกถา เช่น สงฺคณี อ. 201 เป็นต้น ก็ไม่มีคำว่า “ของสมณพราหมณ์ทั้งหลายภายนอก” เพราะเมื่อถือผิดอย่างนี้ ถึงอยู่ในพุทธศาสนา ก็เป็นการถืออย่างคนนอกพระศาสนา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปความหมายตอนนี้ว่า สีลัพพตปรามาส หมายถึง การประพฤติศีลพรต ด้วยโมหะ คือ ความหลงงมงายว่า จะบริสุทธิ์หลุดพ้น บรรลุจุดหมายของศาสนา เพียงด้วยการบำเพ็ญศีลพรตนั้น และในความหลงผิดนี้ ลักษณะหนึ่งที่แสดงออกมา คือ การกระทำด้วยตัณหาและทิฏฐิ เช่น ประพฤติอย่างนั้นเพราะอยากไปเกิดเป็นเทวดา และมีความเห็นผิดแฝงอยู่ด้วยพร้อมกันว่า การบำเพ็ญศีลพรตนั้นจะทำให้ไปเกิดเป็นเทวดาได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าโดยความหมายตามรูปศัพท์ สีลัพพตปรามาส ประกอบด้วย สีล (ศีล) + วต (พรต) + ปรามาส (การถือถือเลยเถิด)

คำว่าศีล และพรต มีอธิบายในมหานิทเทส ดังยกมาอ้างข้างต้นแล้ว (ขุ.ม.29/120/105) และยังมีอธิบายน่าสนใจเพิ่มอีก ใจความว่า ข้อที่เป็นทั้งศีลและพรต ก็มี เป็นแต่พรต ไม่เป็นศีล ก็มี เช่น วินัยของพระภิกษุ มีทั้งศีลและพรต กล่าวคือ ส่วนที่เป็นการบังคับควบคุมตนหรือการงดเว้น (สังยมะ หรือ สัญญมะ) ความสำรวมระวัง (สังวร) การไม่ล่วงละเมิด เป็นศีล

ส่วนการสมาทานหรือข้อที่ถือปฏิบัติ เป็นพรต ข้อที่เป็นแต่พรต ไม่เป็นศีล ได้แก่ ธุดงค์ทั้งหลาย เช่น ถืออยู่ป่า ถือบิณฑบาตเป็นประจำ ถือทรงผ้าบังสุกุล เป็นต้น (ขุ.ม.29/81/77 ฯลฯ)


ในการบำเพ็ญศีลพรต โดยหวังจะไปเกิดเป็นเทพ ถ้าเป็นนักบวชนอกศาสนา เช่น พวกถือกุกกุรพรต อรรถกถาก็อธิบายว่า ศีลก็หมายถึงประพฤติอย่างสุนัข พรตก็หมายถึงข้อปฏิบัติอย่างสุนัข (ม.อ.3/96)
ถ้าเป็นชาวพุทธ ศีลก็ได้แก่เบญจศีล เป็นต้น พรตก็ได้แก่ การถือธุดงค์ (นิทฺ.อ.2/132) บางทีอรรถกถาก็พูดจำเพาะภิกษุว่า ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ พรต หมายถึงธุดงค์ ๑๓ (ธ.อ.7/53 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรามาส” มักแปลกันว่า ลูบคลำ แต่ความจริง ความหมายในบาลีทั่วไปได้แก่ หยิบฉวย จับต้อง จับไว้แน่น (เช่น พระจับยึดตัวอุบาสกไว้ - วินย.2/70/56 ฯลฯ ทีฆาวุกุมารจับเศียรพระเจ้ากาสีเพื่อจะปลงพระชนม์ - วินย. 5/244/332 พระพุทธเจ้าไม่ทรงยึดมั่นความรู้ - ที.ปา. 11/13/29 ที.อ. 319 ไม่ควรหยิบฉวยเอาของที่เขามิได้ให้ – องฺ.ปญฺจก. 22/179/238 การจับฉวยท่อนไม้และศัสตราเพื่อทำร้ายกัน – ขุ.ม.24/384/258 – ที่แปลกันว่าลูบคลำ คงจะมาจากชาดกว่าด้วยกำเนิดของสุวรรณสาม กุสราช และมัณฑัพยกุมาร (ชา.อ.7/6 ฯลฯ) ว่า ฤๅษีปรามาสนาภี ของภรรยา เป็นต้น ซึ่งน่าจะเป็นการเอานิ้วแตะ จี้หรือจดลงที่สะดือมากกว่า (สงฺคณี. อ. 369 และ ม.อ. 2/418) หรือเทียบเคียงจาก วินย.1/378/254 ซึ่งอธิบาย “ปราสนา” โดยไขความว่า อิโต จิโต จ สญฺโจปนา แปลได้ว่า ลูบ หรือสีไปมา

อย่างไรก็ตาม ความหมายของ (ปรามาส) ในด้านหลักธรรม มีคำอธิบายเฉพาะชัดเจนอยู่แล้วว่า “สภาวํ อติกฺกมิตฺวา ปรโต อามสตีติ ปรามาโส” แปลว่า จับฉวยเอาเกินเลยสภาวะเป็นอย่างอื่นไป จึงแปลว่า ถือเลยเถิด คือเกินเลย หรือคลาดจากความเป็นจริง กลายเป็นอย่างอื่นไปเสีย (นิทฺ.อ.1/339; 2/47 ฯลฯ) เช่น ตามสภาวะที่จริงไม่เที่ยง จับฉวยหรือยึดถือพลาดไปเป็นว่าเที่ยง ศีล,พรตมีไว้ฝึกหัดขัดเกลา เป็นบาทฐานของภาวนา กลับถือเลยเถิดไปเป็นอย่างอื่น คือ เห็นไปว่าบำเพ็ญแต่ศีลพรต ก็จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สีลัพพตปรามาส นี้ ก็เป็นทิฏฐิ คือความเห็นหรือการยึดถืออย่างหนึ่ง (เช่น ขุ.สุ.25/412/490 ฯลฯ) จึงเป็นปัญหาว่า เหตุใดต้องแยกต่างหากจากสังโยชน์ข้อที่ ๑ คือ สักกายทิฏฐิ ซึ่งเป็นทิฏฐิเหมือนกัน
อรรถกถาอธิบายว่า สักกายทิสัฏฐิ ความเห็นยึดถือตัวตนนั้น เป็นทิฏฐิพื้นฐานอยู่กับตนเองตามปกติ โดยไม่ต้องอาศัยตรรกะและการอ้างอิงถือต่อจากผู้อื่น

ส่วนสีลัพพตปรามาส เป็นทิฏฐิชั้นนอก เกี่ยวกับปฏิปทา คือทางแห่งการปฏิบัติว่าถูกหรือผิด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก คนละขั้นตอนกันทีเดียว (นิทฺ.อ.1/339) จึงต้องแยกเป็นคนละข้อ และเพราะสีลัพพตปรามาสเป็นเรื่องของปฏิปทานี่แหละ ท่านจึงอธิบายเชื่อมโยงให้เห็นว่า สีลัพพตปรามาส เป็นอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นอย่างหนึ่งในที่สุดสองด้าน ซึ่งชาวพุทธพึงหลีกเว้นเสีย เพื่อดำเนินในมรรคที่ถูกต้อง คือมัชฌิมาปฏิปทา (อุ.อ.446)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรามาส ใช้มากอีกอย่างหนึ่งในรูปในรูปที่เป็นคุณนามว่า “ปรามฏฺฐ” แปลว่า “ซึ่งถูกจับต้องแล้ว หรือจับต้องบ่อยๆ” หมายความว่า แปดเปื้อน หรือเสียความบริสุทธิ์ไปแล้ว
ท่านอธิบายว่า ถูกตัณหาและทิฏฐิจับต้อง คือ เปรอะเปื้อน หรือไม่บริสุทธิ์ เพราะถูกตัณหาและทิฏฐิเข้ามาเกลือกกลั้วพัวพัน คือ รักษาศีลบำเพ็ญพรต เพราะอยากได้ผลตอบแทนเป็นลาภยศสรรเสริญสุขสวรรค์ หรือเพราะเข้าใจว่า จะได้เป็นนั่นเป็นนี่ ตามลัทธิหรือทฤษฎีที่ยึดถือเอาไว้

ศีลที่บริสุทธิ์ จึงเรียกว่าเป็น “อปรามฏฺฐ” ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิแตะต้องให้เปรอะเปื้อน ประพฤติด้วยปัญญา ถูกต้องตามหลักการและความมุ่งหมาย เป็นไท คือ ไม่เป็นทาสของตัณหาและทิฏฐินั้น เป็นศีลระดับพระโสดาบัน * (สํ.ม.19/1412/429 ฯลฯ) อรรถกถาอธิบายใน วินย.อ.3/486 ฯลฯ แปลอีกอย่างหนึ่งว่า ไม่ถูกปรามาส คือ ใครๆท้วง ตำหนิ ดูหมิ่น หรือหาเรื่องไม่ได้)

ลักษณะสุดท้ายของการถือศีลพรตที่พลาดหลัก ก็คือ การถือที่เป็นเหตุให้มาทะเลาะวิวาทเกี่ยงแย้งกันว่า ใครดี ใครเลว ท่านผิด ฉันถูก หรือเป็นเหตุให้ยกตนข่มผู้อื่นว่า เราทำได้เคร่งครัดถูกต้อง คนอื่นเลวกว่าเรา ทำไม่ได้อย่างเรา เป็นต้น (ดู ขุ.สุ.25/412/491;419/505)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่กล่าวมา พอจะสรุปลักษณะการถือศีลพรต ที่ เป็นสีลัพพตปรามาส ได้ว่า เป็นการถือด้วยโมหะ หรือด้วยตัณหาและทิฏฐิ ซึ่งแสดงออกในรูปของการถือโดยงมงาย ไม่เข้าใจความมุ่งหมาย สักว่าทำตามๆกันไปอย่างเถรส่องบาตร บ้าง

ถือโดยหลงผิดว่าศีลพรตเท่านั้นก็พอให้ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้น หรือถืออย่างเป็นพิธีรีตองศักดิ์สิทธิ์ ว่าทำไปตามนั้นแล้ว ก็จะบันดาลผลสำเร็จให้เกิดเอง บ้าง

ถือโดยรู้สึกว่าเป็นข้อบังคับลอยๆ เป็นเครื่องบีบคั้นขืนใจ ไม่รู้ว่าจะทำไปเพื่ออะไร เพราะไม่เห็นโทษของสิ่งที่พึงงดเว้น ไม่ซาบซึ้งในคุณของการละเว้นสิ่งที่ชั่วเลว และการที่จะทำตามข้อปฏิบัตินั้นๆ จำใจทำไป ไม่เห็นประโยชน์ บ้าง

ถือเพราะอยากได้เหยื่อล่อ เช่น โชคลาภ กามสุข เป็นต้น บ้าง

ถือเพราะมีความเห็นผิดในจุดหมายว่า ศีลพรตจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ บ้าง

ถือแล้วเกิดความหลงตัวเอง มีอาการยกตนข่มผู้อื่น บ้าง

ลักษณะการรักษาศีลบำเพ็ญพรตที่ถูกต้อง ไม่เป็นสีลัพพตปรามาส ก็คืออาการที่พ้นจากความผิดพลาดที่กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งแสดงออกด้วยการปฏิบัติที่เกิดจากความรู้ตระหนักว่า กระทำเพื่อฝึกหัดขัดเกลาตนเอง

เพื่อเป็นบาทของสมาธิ

เพื่อความสงบเรียบร้อย เพื่อความดีงามของชุมชน ปฏิบัติด้วยมองเห็นโทษของการเบียดเบียน ซาบซึ้งว่าความสงบเรียบร้อย ไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น เป็นสิ่งที่ดี

เห็นคุณเห็นโทษแล้วละอายบาป มีฉันทะที่จะเว้นชั่วทำความดี โดยพร้อมใจตน

ตลอดจนถึงขั้นสุดท้าย คือ ไม่กระทำชั่วและประพฤติดีอย่างเป็นไปเอง มีศีลและพรตเกิดขึ้นในตัวเป็นปกติธรรมดา ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องฝืน เพราะไม่มีกิเลสที่จะเป็นเหตุให้ทำความชั่ว เข้าลักษณะของฐานหนึ่งใน ๖ ที่พระอรหันต์น้อมใจไป คือ ข้อที่ว่า พระอรหันต์น้อมใจดิ่งไปในภาวะที่ไม่มีการเบียดเบียน มิใช่เพราะถือสีลัพพตปรามาส แต่เพราะหมดราคะ หมดโทสะ หมดโมหะ (วินย.5/3/9 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เบื้องแรก ศีลเป็นความประพฤติปกติ เพราะฝึกปฏิบัติให้เคยชินเป็นนิสัย และเพราะแรงใจที่มุ่งมั่น ฝึกตนให้ก้าวหน้าในคุณความดี

ส่วนเบื้องปลาย ศีลเป็นความประพฤติปกติ เพราะหมดสิ้นเหตุปัจจัยภายในที่จะให้หาทางทำสิ่งที่ไม่ดี

ผู้ปฏิบัติผิดก็อาจมีศีลพรต และเป็นสีลัพพตปรามาส

ผู้ปฏิบัติถูกก็มีศีลพรต ดังที่ท่านเรียกว่า “สีลวตูปปนฺน” แปลว่า ผู้เข้าถึงศีลพรต หรือประกอบด้วยศีลและพรต (ขุ.อิติ.25/263/392 ฯลฯ) บ้าง “สีลวตูปปนฺน” แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลพรต (องฺ.ติก.20/499/214) บ้าง

จะว่าบริสุทธิ์ด้วยศีลพรต ก็ไม่ถูก บริสุทธิ์ได้โดยไม่ต้องมีศีลพรต ก็ไม่ถูก (ขุ.สุ.25/416/498) แต่อยู่ที่ศีลพรตที่ไม่เป็นสีลัพพตปรามาส

พรตอาจไม่จำเป็น เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคฤหัสถ์

แต่ศีลที่เป็นอปรามัฏฐ์ คือบริสุทธิ์ ไม่คลาดหลักความจริง ไม่เปรอะด้วยตัณหาและทิฏฐิ เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับความบริสุทธิ์หลุดพ้นในทุกกรณี (เช่น สํ.ม.19/1412/428-1628/514)


สรุปลงให้สั้นที่สุด หลักการของศีลพรต ก็มีเพียงว่า เมื่อบุคคลถือปฏิบัติศีลพรตใดแล้ว อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ศีลพรตอย่างนั้นผิดพลาด ไร้ผล
เมื่อบุคคลถือปฏิบัติศีลพรตใดแล้ว กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อมถอย ศีลพรตอย่างนั้นถูกต้องมีผลดี (องฺ.ติก.20/418/289 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตราบใดยังเป็นปุถุชน การถือมั่นถือพลาดในศีลพรต ก็ยังมีอยู่ ไม่มากก็น้อย ตามสัดส่วนของตัณหา ทิฏฐิ หรือโมหะ ที่เบาบางลง อย่างน้อยก็มีอาการฝืนใจ หรือข่มไว้ จึงยังไม่พ้นขั้นที่รักษาศีลด้วยความยึดมั่นในศีล และถือเกินเลยคลาดสภาวะไปบ้าง

ต่อเมื่อใด เป็นพระโสดาบัน กิเลสหยาบแรงหมดไป จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้บำเพ็ญบริบูรณ์ในศีล (เช่น องฺ.ติก.20/526/298 เป็นต้น) การรักษาศีลจึงจะเป็นไปเอง เพราะเป็นศีลอยู่ในตัว เป็นปกติธรรมดา ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องฝืนอีกต่อไป และถือพอดีๆ ตรงตามหลัก ตามความมุ่งหมาย ไม่หย่อน ไม่เขว ไม่เลยเถิดไป

(พุทธธรรมหน้า ๔๒๑)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(คุณสมบัติฝ่ายหมด กับ ฝ่ายมีของอริยบุคคลขั้นต้น ย่อๆพอเห็นเค้าดังนี้)

คุณสมบัติฝ่ายหมด และฝ่ายมีนี้ ว่าโดยสาระสำคัญ ก็เป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ

จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็เพราะมีปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสมควร

เมื่อเกิดปัญญาเข้าใจชัดขึ้นอย่างนี้ วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยคลางแคลงใจก็หมดไป ศรัทธาที่อาศัยปัญญาก็แน่นแฟ้น

พร้อมนั้น ก็จะรักษาศีลได้ถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย กลายเป็นอริยกันตศีล คือ ศีลที่อริยชนชื่นชมยอมรับ สีลัพพตปรามาสก็พลอยสิ้นไป

เมื่อจาคะเจริญขึ้น มัจฉริยะก็หมดไป

เมื่อราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง ก็ไม่ตกไปในอำนาจของอคติ และ
ราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง ก็เพราะปัญญาที่มองเห็นความจริงของโลกและชีวิต ทำให้คลายความยึดติด

เมื่อสิ้นยึดติด ถือมั่นน้อยลง ความทุกข์ก็ผ่อนคลาย และรู้จักความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 129 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร