วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2017, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือนี้ หน้า ๙๙

รูปภาพ

ในเรื่องพระธรรม : คำว่า “ธรรม” เป็นคำมีความหมายกว้าง ลึก เราเอามาใช้ในภาษาไทยเหมือนกับเป็นภาษาไทย เวลาพูดว่า “ธรรม” ก็เข้าใจ แต่ความจริงเป็นคำบาลี เราเอามาเขียนเป็นรูปสันสกฤตว่า “ธรรม” โดยมากภาษาไทยมักเป็นอย่างนั้น ถ้าแผลงมาจากบาลี มักเขียนแบบสันสฤต

ถ้าเขียนแบบบาลีก็ว่า “ธมฺม” เขียนแบบสันสกฤตนั้นต้องอ่านว่า “ธะร์มะ” ฉะนั้น ธรรมมะจึงเป็นคำที่ใช้ทั่วไป และมีความหมายกว้าง กินความคลุมหมดทั้งสิ่งที่เป็นรูปและไม่ใช่รูป

สิ่งที่ไม่ใช่รูป เรียกว่า นาม เราควรรู้ว่า เขาเรียกว่า รูปธรรม นามธรรม

รูป นั้นเป็นสิ่งที่เป็นรูปร่าง สัมผัสได้ด้วยประสาททั้งห้า

สิ่งที่สัมผัสด้วยใจ เรียกว่า นาม

เช่น ตาเห็นรูป ตานั้นเป็นรูป สิ่งที่เห็นนั้นก็เป็นรูป ความรู้สึกทางตานั้น เป็นนาม

หูได้ยินเสีย หูก็เป็นรูป เสียงก็เป็นรูป ความรู้สึกได้ยินนั้นเป็นนาม ฯลฯ

สิ่งที่เป็นรูป ก็เป็น รูปธรรม

สิ่งเป็นนามก็เป็น นามธรรม

สิ่งที่เป็นความดีก็เป็น ธรรม สิ่งที่เป็นความชั่วก็เป็น ธรรม

สิ่งที่เป็นความดีเรียก ธรรม กุศลธรรม ถ้าเป็นความชั่วก็เรียก อกุศลธรรม กุศลธรรมคือ ธรรมฝ่ายดี อกุศลธรรมก็เป็นธรรมฝ่ายชั่ว

ธรรมคำเดียวเอาไปเติมแต่งเข้ามามากมายก่ายกอง หมายถึงอะไรๆ หมดทุกอย่าง

ความดี ความชั่ว ความสุขก็เป็นธรรม ความทุกข์ ก็เรียกว่าเป็นธรรมเช่นกัน ฉะนั้น เมื่อเราไปฟังพระสวด ในเวลามีงานศพจะได้ยินว่าอะไรๆ ก็ลงท้ายว่าธรรมทั้งนั้น “กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา สุขายะ เวททะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา ทุกขายะ เวททะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา อะทุกขะมะสุขายะ เวทะทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา วิปากา ธัมมา วิปากะธัมมะ ธัมมา ฯลฯ” เป็นธรรมทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรม ของทั้งหลายในสากลโลกเป็นธรรมทั้งนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2017, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรม, พระธรรม คืออะไร ?

เมื่อวานนี้ ตอนเย็น ได้พูดถึงเรื่อง สรณะอันเป็นที่ตั้งทางใจของผู้นับถือศาสนา โดยเฉพาะพวกเรานับถือพระพุทธศาสนา ก็ยึดเอา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ซึ่งเรียกว่า รัตนตรัย ตรัย แปลว่า สาม รัตน แปลว่า แก้ว

ทำไม จึงได้เรียก พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ซึ่งภาษาไทย แปลว่า แก้ว ? คำว่า “รัตนะ” แปลว่า สิ่งที่ทำให้ชื่นใจ

การที่เรามีเพชรประกับนิ้ว ก็ชื่นใจ มีสายสร้อยห้อยคอ ก็ชื่นใจ มีเงินมากๆ ก็ชื่นใจ มีทองเป็นแท่ง ก็สบายใจ มีอะไรดีๆ สบายใจทั้งนั้น

เขาว่าพระเจ้าจักรพรรดมีแก้ว ๗ ประการ มี ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ฯลฯ แล้วก็ นางแก้ว ด้วย มีอะไรดีๆ หลายอย่าง ซึ่งในสมัยนั้น คนอินเดียเขานิยมว่าเป็นของประเสริฐ

แต่ว่าแก้วทั้งหลายเป็นวัตถุ แม้ว่าจะประเสริฐเลิศสักเท่าใด ยินดีสักเท่าใด มันก็ยังเป็นไปเพื่อความทุกข์ความเดือดร้อน เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลง มีการสูญหาย เมื่อมีการสูญหายก็เป็นทุกข์ มีอะไรมันก็อย่างน่ะแหละ ยังเป็นไปด้วยความทุกข์ แต่ว่ารัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์นี้ ถ้าเรามีไว้ในใจ ไม่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน แต่เป็นเหตุให้เกิดความสุขความสงบทางใจ จึงถือว่าเป็นรัตนะอันประเสริฐ ท่านจึงกล่าวว่า รัตนใดๆ ในโลกนี้ ที่มีกันอยู่นั้น ไม่ประเสริฐเท่า พุทธรัตนะ ธัมมรัตนะ สังฆรัตนะ เพราะ ๓ รัตนะนี้ ทำให้จิตใจสบาย มีความสุขอย่างแท้จริง เขาจึงเรียกว่า รัตนะ

ทีนี้ รัตนะนี้มีสาม เขาจึงเรียกว่า รัตนะตรัย ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน แยกออกจากกันไม่ได้ คือ พุทธรัตนะ หมายถึง พระพุทธเจ้าผู้รู้ธรรม ธรรมรัตนะ คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้ สังฆรัตนะ คือ พระสาวกผู้รู้ธรรมตามพระพุทธเจ้า เกี่ยวเนื่องกัน แยกจากกันไม่ได้ คล้ายกับไม้ ๓ อันอยู่ด้วยกัน ปลดอันดอันหนึ่งออก อีก ๒ อันก็ต้องล้ม เช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีก็ต้องมีด้วยกัน ขาดก็ต้องขาดด้วยกัน มีอันใดอันหนึ่งก็ต้องมีครบทั้ง ๓ อย่าง แยกออกจากกันไม่ได้ เช่นว่า เรามีพระพุทธเจ้า ก็ต้องมีธรรมะ สังฆะ อยู่ในตัวเรา เรามีธรรมะ ก็มีพุทธะ มีสังฆะอยู่ในตัวเรา

ถ้ามีสังฆะ ก็มีธรรมะ พุทธะ อยู่ในตัวเรา ไม่มีทางจะแยกออกจากกัน ถ้าขาดก็ขาดไปหมดเลย ถ้ามีก็มีครบทั้ง ๓ อย่าง ผู้ใดที่จะเป็นพุทธบริษัทก็ต้องกล่าวคำปฏิญาณตน เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยวาจา คือ เปล่งวาจาว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้า ถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่นับถือ การกล่าววาจาเช่นนี้เป็นการประกาศตนว่าเป็นพุทธมามกะ หมายความว่า รับเอา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ เป็นของแห่งตน สามอย่างนี้ จึงเนื่องถึงกันแยกออกจากกันไม่ได้

พระพุทธเจ้า เป็นผู้รู้ธรรมะแล้ว สอนให้ชาวโลกรู้ตามท่านด้วย นี่เป็นบุญคุณอันยิ่งใหญ่ต่อพวกเราทั้งหลาย

พระธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นเครื่องช่วยไม่ให้ชาวโลกตกไปในที่ต่ำ คือไม่ให้ตกนรก เป็นจำพวกสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น แต่ให้มีสภาพเป็นมนุษย์ตลอดกาล ป้องกันไม่ให้ตกไปในอบาย คือ ความชั่วทั้งหลายในจิตใจ

พระสงฆ์ เป็นเหมือนพี่เลี้ยงคอยสะกิดใจเราให้นึกถึงความดี ความงามทั้งหลาย เกิดความนึกคิดในทางที่ถูกที่ชอบ ที่เรากล่าวว่า สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้บวชพระแล้วก็ยังกล่าว

บางคนก็กล่าวว่า เราก็เป็นพระแล้ว จะไปถึงทำไม ถึงอย่างไร ? เราถึง พระอริยสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระอริยสงฆ์ หรือพระอริยเจ้า มี ๔ จำพวก คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ๔ จำพวกนี้ แบ่งเป็น ๔ คู่ เป็น ๘ บุคคล คือ พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล พระอรหัตมรรค พระอรหัตผล

มรรค เป็นเครื่องตัด ผล เป็นสิ่งที่จะเกิดจากการตัด

คนเป็นพระโสดาบันต้องถึงโสดาปัตติมรรคก่อน พอได้โสดาปัตติมรรคแล้ว กิเลสถูกตัดไปบ้างก็ถือว่าบรรลุพระโสดาบัน เป็นผู้ถึงกระแสธรรม เป็นอริยบุคคลขั้นต้น เที่ยงแท้แน่นอนว่าจะไปถึงนิพพาน ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก ไม่เป็นโลกียชนอีกต่อไป แต่ว่า จะเป็นพระอริยบุคคลก้าวไปโดยลำดับ จนถึงขั้นสู่สุดในพระพุทธศาสนา เราหมายถึงพระสงฆ์นั้น เราจึงเรียกว่า เข้าถึงอริยสงฆ์ของพระพุทธเจ้าผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์

รัตนะสามอย่างนี้ จึงเป็นที่พึ่งทางใจที่เราต้องนำมาใช้อยู่ตลอดเวลา การใช้ก็คือ ปฏิบัติตามแบบธรรมะ นั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2017, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเรื่องพระธรรม : คำว่า “ธรรม” เป็นคำมีความหมายกว้าง ลึก เราเอามาใช้ในภาษาไทยเหมือนกับเป็นภาษาไทย เวลาพูดว่า “ธรรม” ก็เข้าใจ แต่ความจริงเป็นคำบาลี เราเอามาเขียนเป็นรูปสันสกฤตว่า “ธรรม” โดยมากภาษาไทยมักเป็นอย่างนั้น ถ้าแผลงมาจากบาลี มักเขียนแบบสันสฤต

ถ้าเขียนแบบบาลีก็ว่า “ธมฺม” เขียนแบบสันสกฤตนั้นต้องอ่านว่า “ธะร์มะ” ฉะนั้น ธรรมะจึงเป็นคำที่ใช้ทั่วไป และมีความหมายกว้าง กินความคลุมหมดทั้งสิ่งที่เป็นรูปและไม่ใช่รูป
สิ่งที่ไม่ใช่รูป เรียกว่า นาม เราควรรู้ว่า เขาเรียกว่า รูปธรรม นามธรรม
รูป นั้นเป็นสิ่งที่เป็นรูปร่าง สัมผัสได้ด้วยประสาททั้งห้า
สิ่งที่สัมผัสด้วยใจ เรียกว่า นาม
เช่น ตาเห็นรูป ตานั้นเป็นรูป สิ่งที่เห็นนั้นก็เป็นรูป ความรู้สึกทางตานั้น เป็นนาม
หูได้ยินเสีย หูก็เป็นรูป เสียงก็เป็นรูป ความรู้สึกได้ยินนั้นเป็นนาม ฯลฯ
สิ่งที่เป็นรูป ก็เป็น รูปธรรม
สิ่งเป็นนามก็เป็น นามธรรม
สิ่งที่เป็นความดีก็เป็น ธรรม สิ่งที่เป็นความชั่วก็เป็น ธรรม
สิ่งที่เป็นความดีเรียก ธรรม กุศลธรรม ถ้าเป็นความชั่วก็เรียก อกุศลธรรม กุศลธรรมคือ ธรรมฝ่ายดี อกุศลธรรมก็เป็นธรรมฝ่ายชั่ว
ธรรมคำเดียวเอาไปเติมแต่งเข้ามามากมายก่ายกอง หมายถึงอะไรๆ หมดทุกอย่าง

ความดี ความชั่ว ความสุขก็เป็นธรรม ความทุกข์ ก็เรียกว่าเป็นธรรมเช่นกัน ฉะนั้น เมื่อเราไปฟังพระสวด ในเวลามีงานศพจะได้ยินว่าอะไรๆ ก็ลงท้ายว่าธรรมทั้งนั้น “กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา สุขายะ เวททะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา ทุกขายะ เวททะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา อะทุกขะมะสุขายะ เวทะทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา วิปากา ธัมมา วิปากะธัมมะ ธัมมา ฯลฯ” เป็นธรรมทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรม ของทั้งหลายในสากลโลกเป็นธรรมทั้งนั้น

ถ้า “ธรรม” เฉยๆ นั้น หมายถึงว่าอะไรๆ ก็แล้วแต่เรื่องนั้นบ่งถึง ล้วนแต่เป็นธรรมทั้งนั้น ถ้า “พระธรรม” นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

คำว่า “ธรรม” หมายถึงความสำคัญ ๔ ประการ ควรจำ คือ เรื่อง ธรรมชาติ ในภาษาบาลีใช้ศัพท์ว่า สภาวธรรม ซึ่งหมายความว่า มันเกิดและเป็นอย่างนั้นตามเรื่อง สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป ติดต่อสัมพันธ์กันตามกฎที่เรียกว่า “อิทัปปัจจยตา” คือ เมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งก็เกิดขึ้น เช่น ฝนตก แล้วแดดออก น้ำกลายเป็นไอ ไอไปเป็นเมฆ เป็นฝน วนเวียนเป็นธรรมชาติธรรมดา

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมะ หมายถึง กฎของธรรมชาติ ซึ่งมีในตัวมันเอง ทางภาษาบาลีเรียกกฎนี้ว่า “ธัมมตา” แปลว่า ความเป็นตามธรรม ถ้าเราพูดในภาษาไทยก็ว่า ธรรมดา

อันที่ ๓ หมายถึง หน้าที่ที่เราต้องปฏิบัติ ในภาษาบาลี เรียกว่า กรณียธรรม
กรณี แปลว่า กิจที่จะต้องทำ ชอบก็ตาม ไม่ชอบก็ตาม เมื่อเป็นหน้าที่ก็ต้องทำ เป็นการปฏิบัติธรรม ผู้ใดละเลยหน้าที่ ก็แปลว่าเขาไม่ประพฤติธรรม คนไม่ประพฤติธรรมก็ไม่มีธรรม อยู่ที่ใดก็วุ่นวายเกิดปัญหา

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ธัมมัง สุจะริตัง จะเร - พึงประพฤติธรรม (คือหน้าที่) ให้สุจริต “นะ ตัง ทุจจะริตัง จะเร - อย่าประพฤติธรรม (คือหน้าที่) ให้ทุจริต” ธรรมตัวนี้ หมายถึง หน้าที่ที่เราต้องทำ เป็นธรรมะในชีวิตของเรา

อันที่สี่สุดท้าย เรียกว่า “วิปากธรรม” คือ ผลอันเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ เราทำอะไรก็ต้องมีผล เรียกว่ามีกิริยา ก็มีปฏิกิริยา มีกรรม ก็มีผลแห่งกรรม ผลที่เกิดจากการกระทำหน้าที่ นี้เรียกว่า วิปากธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2017, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะ มีความหมาย ๔ ชั้น ดังนี้ คือ ธรรมชาติ, กฎของธรรมชาติ, หน้าที่, และผลอันเกิดขึ้นจากหน้าที่ เรียกว่า เป็นธรรมะทั้งนั้น เป็นธรรมะทั่วไป

แต่ถ้าเราพูดถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระธรรม ซึ่งเป็นตัวศาสนา ในภาษาบาลีใช้น้อยมาก คำว่า “ศาสนา” นี้ พระไตรปิฎกมีคัมภีร์ ๔๕ เล่ม แต่ใช้คำว่า “ศาสนา” ๒-๓ คำ

คนอินเดียเรียก ธรรมะ เช่น ถ้าพบกันไม่ถามว่า ท่านถือศาสนาอะไร เขาถามว่า ท่านประพฤติธรรมของใคร คนสมัยก่อน ถามอย่างนั้น

ถ้าเขาพูดภาษา “ฮินดู” ภาษาพื้นบ้าน เขาจะไม่ถามว่า เราถือศาสนาอะไร เขาจะถามว่า เราประพฤติธรรมอะไรในชีวิตประจำวัน เราบอกว่าชอบใจธรรมของพระพุทธเจ้า ก็หมายความว่าท่านเป็นพุทธบริษัท เขาถามกันอย่างนั้น ตั้งแต่โบราณจนปัจจุบัน

การใช้คำว่า “ศาสนา” ที่เห็นชัดมีอยู่แห่งหนึ่ง สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง - การไม่ทำบาปทั้งปวง” “กุสะลัสสูปะสัมปะทา - การทำกุศลให้ถึงพร้อม” “สะจิตตะปะริโยทะปะนัง - การทำจิตของตนให้ขาวสะอาด” “เอตัง พุทธานะสาสะนัง - นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

นอกนั้น ไม่ใช้ ใช้เรียกว่า ธรรม ว่า พรหมจรรย์ พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า “ธัมม” เช่น บอกว่า “โย โข อานันทะ ธัมโม จะ วินะโย จะ เทสิโต มะมัจจะเยนะ สัตถา - ดูก่อนอานนท์ ธรรมวินัยอันใดที่เราได้สอนแล้ว บอกแล้วแก่เธอ อันนั้น จะเป็นครูเป็นอาจารย์ของพวกเธอเมื่อเราล่วงลับไป”

เวลาส่งสาวกไปประกาศ พระองค์ตรัสว่า “พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ - เธอทั้งหลายจงไปประกาศพรหมจรรย์” ประกาศการครองชีวิตบริสุทธิ์ให้เขาดู คือไปทำให้เขาดู พูดให้เขาฟัง สอนให้เขาเข้าใจในเรื่องพรหมจรรย์ ว่าถือการดำรงชีวิตอันบริสุทธิ์

การไปสอน ต้องทำให้เขาดูด้วย จึงจะเรียกว่าสอน คือให้รู้ถึงสภาพชีวิตทุกอย่างของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ให้เขาเห็นโดยใช้ตัวเราเองเป็นการสอน ไม่ได้ทรงบอกว่าให้ไปสอนศาสนา แต่ให้ไปสอนพรหมจรรย์ ตัวพรหมจรรย์ นั้นก็คือ ตัวคำสอนของพระพุทธเจ้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2017, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนในทางพุทธศาสนานี้ มี ๒ ชั้น คือธรรมะหรือพระธรรมมี ๒ ชั้น : ธรรมะที่เป็นศีลธรรมอย่างหนึ่ง กับ ที่เป็นสัจธรรมอีกอย่างหนึ่ง (หรือว่า จริยธรรมอย่างหนึ่ง กับ สภาวธรรม อีกอย่างหนึ่ง)

ศีลธรรม นั้นเป็นคำสอนชั้นธรรมดา ที่มีคล้ายกันทุกศาสนา ศาสนาคริสต์ อิสลาม ฮินดู พุทธ มีคำสอนในด้านศีลธรรมคล้ายกัน ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก

เรื่องของศีลธรรมเกิดขึ้นอย่างไร เราควรรู้ เพราะศีลธรรมเป็นเครื่องแก้ปัญหาของสังคม

สัจธรรมเป็นเครื่องแก้ปัญหาเฉพาะคน

ถ้าพูดเป็นศัพท์แสงหน่อย ก็เรียกว่า สัจธรรมเป็นเรื่อง “ปัจเจกชน

ศีลธรรมเป็นเรื่อง “สังคม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2017, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลธรรมนี้ มีความเป็นมา คือ ในสมัยก่อนไม่เจริญก้าวหน้า อยู่อย่างคนป่า ไม่ยุ่ง แต่เมื่อมากเข้าก็เกิดปัญหา เกิดการทำอะไรๆ ที่ไม่ถูกใจกันขึ้น เมื่อแรกคือเรื่องขโมย ซึ่งเกิดจากความขี้เกียจ และเป็นเหตุให้ยากจนด้วย ใน “อัคคัญญสูตร” เล่าว่า คนสมัยนั้นหาผลไม้มากินเป็นอาหาร กินไม่หมดก็ทิ้งไว้ในบ้าน แล้วเช้าก็ออกไปหาใหม่

ต่อมาเกิดความชั่วขึ้นในคนคนหนึ่ง ความชั่วอันแรกก็คือตัวขี้เกียจ ไม่อยากหาอาหาร เลยนอนไปเรื่อย พอตื่นขึ้นมาก็เกิดความหิว เที่ยวไปหยิบเอาของที่เขาเก็บไว้กินเสีย เจ้าของกลับมาไม่เจอก็นึกสงสัยว่าหายไปไหน จึงแอบดู

ก็จับได้ว่านายคนนั้นเป็นผู้ขโมย ก็จับไปประกาศให้ที่ประชุมทราบ ที่ประชุมก็ติว่าไม่ดี เลยตราเป็นกฎระเบียบขึ้นว่า พวกเราที่อยู่ร่วมกันนี้ ถ้าประพฤติเช่นนี้ผิดกฎของสังคม ต้องถูกลงโทษ โดยการไล่ออกจากหมู่จากพวก ให้อยู่ป่าคนเดียว

แม้แต่การไม่พูดด้วยก็แย่แล้ว เขาเรียกว่าการถูกลงโทษ “พรหมทัณฑ์” บอยคอด เป็นขโมย เป็นความชั่ว จึงเกิดกฎระเบียบเป็นครั้งแรก

แล้วต่อมา ก็เกิดกฎระเบียบตามมาอีก จากเหตุจากการทำผิดของคน เช่นเดียว กับ พระวินัย ของพระพุทธเจ้า ก็บัญญัติตามหลังเหตุการณ์ มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นแล้วจึงได้บัญญัติพระวินัย ถ้าไม่มีเรื่องก็ไม่บัญญัติ

หลักศีลก็เหมือนกัน มีเรื่องเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ที่มันเกิดอยู่กันไม่เรียบร้อย ไม่สงบ วุ่นวาย ก็ต้องวางกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ทางศีลธรรม การสอนให้คนมีความเพียร ความกตัญญู อดทน เสียสละ เรียกว่าเป็นคำสอนทางศีลธรรมทั้งนั้น เป็นคำสอนขั้นพื้นฐาน ที่ทุกคนต้องปฏิบัติ

สูงขึ้นไปกว่านั้นก็เป็นอีกชั้น คนเราแม้จะได้ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมดีแล้ว แต่ยังมีเรื่องความทุกข์ ซึ่งไม่สามารถเอาศีลธรรมมาแก้ได้

ศีลธรรมนี้แก้ปัญหาสังคม เป็นเครื่องหล่อหลอมคนให้อยู่ในกฎในระเบียบวินัย อยู่กันดี ไม่ทะเลาะกัน แต่ว่าเรื่องเฉพาะคนมันยังมี เป็นความทุกข์อยู่ในใจ

ความทุกข์ทางใจจะแก้ด้วยศีลธรรมไม่ได้ จึงต้องมีธรรมะที่สูงขึ้นไปอีกขั้น เรียกว่า สัจธรรม เป็นธรรมะสำหรับเฉพาะตน แก้ปัญหาเป็นรายบุคคลไป ใครทุกข์เรื่องอะไร ก็แก้กันโดยเฉพาะ สัจธรรมไม่ใช่สิ่งที่คนบัญญัติแต่งตั้งขึ้น ศีลธรรมนั้นบัญญัติขึ้น

สัจธรรมมีอยู่ตามธรรมชาติ พระพุทธเจ้าท่านก็บอกว่า ตถาคตจะเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดก็ตาม สิ่งที่เรียก ธรรม ธรรมนิยาม คือ สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา มันมีอยู่แล้ว มีอยู่ตลอดเวลา พระองค์เป็นแต่เพียงค้นพบ เปิดเผยออกให้ท่านทั้งหลายรู้ ไม่ใช่พระองค์บัญญัติ

คล้ายกับวัตถุต่างๆที่มีในแผ่นดิน เช่น แร่ทองแดง เงิน ฯลฯ ไม่มีใครรู้ คนที่อยู่ภูเก็ต พังงา นอนทับแร่อยู่ทุกบ้านเรือนก็ไม่รู้ คนอื่นก็มาขุดไปใช้ ใครเป็นผู้พบสิ่งใดเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ เราก็เรียกผู้นั้นว่า ผู้ค้นพบ เปิดเผยสิ่งนั้นขึ้นมา เช่น ฝรั่งคนหนึ่งไปนอนอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล แล้วถูกลูกแอปเปิ้ลหล่นลงมาใกล้ตัวแก แกเลยเอามาคิดว่าทำไมมันไม่หล่นออกไปทางโน้น หล่นมาทำไม่ตรงนี้ แกเลยรู้ว่าโลกนี้มีความดึงดูด มันดึงดูดกัน เลยหล่นลงมาสู่โลก ไม่ได้หล่อนออกไปนอกโลก เลยรู้กฎแห่งความดึงดูดขึ้นมา นายคนนั้น ก็เป็นผู้ค้นพบกฎนั้น


(สังเกต ความหมาย “บัญญัติ” ด้วย ดูให้ชัด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2017, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้า ก็เหมือนกัน พระองค์เป็นผู้ค้นพบความจริง เรียกว่า “สัจธรรม” เรียกว่า ค้นพบอริยสัจ ๔: ความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ทุกข์นี้ มันมีอยู่ ก่อนมีพระพุทธเจ้ามันก็มีทุกข์ มีเหตุให้เกิดทุกข์ แต่ว่าไม่รู้ว่าทุกข์นี้ จะดับอย่างไร แก้โดยวิธีใด พระพุทธเจ้าท่านเอาไปนั่งคิด นั่งค้น นั่งตามดูจนตรัสรู้ ตรัสรู้นั่นก็คือนั่งคิดค้นพิจารณา ดูเอาจนรู้ นั่งคิดนั่งค้น นั่งทดลอง

เอาต้นโพธิ์นั่นแหละเป็นห้องแล็บ ทดลองค้นคว้า ร่างกายของพระองค์เป็นเครื่องพิจารณา ค้นคว้าไปมาก็โพล่งขึ้นในใจ ถ้าเป็นคนเชื่อพระเจ้า ก็ต้องบอกว่า พระผู้เป็นเจ้ามาหาแล้วเอาคำสอนมาให้

แต่พระพุทธเจ้าไม่เชื่ออย่างนั้น ท่านว่าไอ้ที่เกิดมาได้ก็ต้องอาศัยการคิด การค้น อาศัยสมองที่ปราดเปรื่อง สิ่งที่ค้นพบมันมีอยู่แล้ว

พระองค์ค้นพบ ทำให้ตื้น เอามาแสดงแก่คนทั้งหลาย สิ่งนี้เรียกว่า “สัจธรรม” เป็นเรื่องสำหรับแก้ปัญหาชีวิตของคน เช่นว่า เรามีความทุกข์ แม้เราจะถือศีลปฏิบัติศีลธรรมอยู่ เราก็ไม่พ้นความทุกข์ แต่ว่าเราเป็นคนดีในสังคม เราจึงต้องใช้หลักสัจจธรรมเป็นเครื่องแก้ความทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้อีกอันหนึ่ง ที่ควรจะทำความเข้าใจไว้ คือ ศีลธรรม กับ ศาสนา

ศาสนานี่ไม่ใช่คำสั่งสอนเฉยๆ ให้เราเข้าใจว่า "ศาสนา" นี่คือคำสอนด้วยเหตุผล หรือข้อปฏิบัติที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติตาม ได้พ้นจากความทุกข์หรือความเดือดร้อน นี่แหละคือตัวศาสนา

ข้อปฏิบัติที่จะทำคนให้พ้นจากความทุกข์หรือความเดือดร้อน นี่แหละคือตัวศาสนา

ถ้าปฏิบัติแล้ว ไม่พ้นจากทุกข์ ไม่ใช่ตัวศาสนา ศาสนาต้องทำคนให้พ้นทุกข์ มันหมายถึงอย่างนั้น เนื้อแท้หมายถึงอย่างนั้น

ทีนี้ คำว่า ศีลธรรม กับ ศาสนา

ศีลธรรมเป็นเรื่องของสังคม ต้องมีศีลธรรม ไม่มีศาสนาเพื่อนเรามองไม่รู้ดอก แต่ถ้าไม่มีศีลธรรมละเพื่อนต้องรู้แน่ เพราะศีลธรรมและศาสนามันเป็นคนละขั้นกัน

ศาสนา หมายถึงระบบปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นทุกข์ เราอาจไม่มีก็ได้ ไม่ได้ปฏิบัติก็ได้ แล้วคนเราก็ไม่ว่าอะไรดอก

แต่ถ้าเราไม่ปฏิบัติในเรื่องศีลธรรม คนมันจะด่าว่าไอ้คนไม่มีศีลธรรมเพราะเขาเห็น เอารัดเอาเปรียบเขาก็เห็น เป็นคนอกตัญญูเขาก็เห็น เป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณพ่อแม่ คนเขาก็เห็น

เรื่องศีลธรรม เป็นเหมือนยี่ห้อของคน เดินไปไหนคนเขารู้ทั้งนั้นว่าคนนั้นเป็นอย่างไร

แต่ศาสนานั้นคนไม่เห็น เพราะเรื่องศาสนามันอยู่ข้างใน กลุ้มใจหรือไม่กลุ้มใจมันก็อยู่ข้างใน ไม่มีใครเขาเห็นดอก

เรื่องไม่มีศีลธรรม เขามองเห็น อยู่ในโลกไม่มีศีลธรรมแล้วมันเสียยี่ห้อ ยิ่งเรามาบวชมาเรียนแล้ว ยิ่งเสียยี่ห้อหนักขึ้นอีก เขาถามว่าบวชวัดไหน พอบอกว่าบวชวัดชลประทาน ฯ ยิ่งเสียยี่ห้อเข้าไปใหญ่ ก็เจ้าคุณท่านสอนนักสอนหนาที่นา ไอ้นี่ถ้ามันไม่ได้ความเหมือนตักน้ำรดหัวสาก เลยยิ่งเสียหายใหญ่โตเลย แต่ถ้า ไม่มีศาสนาไม่เป็นไร คนไม่รู้ ให้เข้าใจไว้อย่างนี้

ศาสนา คือเรื่องสัจธรรมนั่นแหละ มีไว้แก้ความทุกข์ ความเดือดร้อน ศีลธรรมเป็นเรื่องของระเบียบ เรื่องความเป็นอยู่ในสังคม เราจึงต้องถือศีลธรรมอย่างเคร่งครัด แต่ถ้าเราอยากพ้นทุกข์ อยากจะมีชีวิตอย่างสดชื่น เราก็ต้องปฏิบัติตามหลักสัจธรรม

ที่เราทำวัตรสวดมนต์ตอนสุดท้ายว่า “สัพเพ สังขารา อะนิจจา - สังขารทั้งหลาย (คือรูปธรรมนามธรรม) ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เที่ยง นั่นแหละคือสัจธรรม ที่เราจะเอาไปแก้ปัญหาชีวิต

สมมติว่า นาฬิกาเราหายไปเราก็กลุ่มใจ ว่าเคยวางไว้ตรงนั้น พอไม่เห็นเข้าก็กลุ้มทุกที กลุ่มอย่างนี้ ต้องอาศัยศาสนาละ ศีลธรรมช่วยไม่ได้

แล้วศาสนาแก้ยังไง ? ก็ต้องปลงตกว่า มันไม่เที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงมันก็ต้องมีการย้ายที่บ้าง ต้องปลงตกเสีย มันจะอยู่กับเราตลอดไปได้อย่างไร แล้วอะไรๆ มันเป็นของเราเมื่อไหร่เล่า เรายืมเขามาใช้จากธรรมชาติ ยืมมาชั่วครั้งชั่วคราว อย่าไปเสียใจอะไร เสียแล้วเสียไป ซื้อใหม่ก็ได้ คิดถูกก็ไม่เสียใจ คิดผิดมันยิ่งกลุ้มใจ คนเรามันคิดไม่ออก คือว่ามีอะไรสูญเสียไปก็ยิ่งเศร้าโศกเสียใจ จนเหลือเกิน ไม่ได้คิดว่าอะไรเป็นอะไร

มีคราวหนึ่ง ไฟไหม้ที่พิษณุโลก ไหมทั้งเมือง ไหม้อย่างมีระเบียบ จากถนนนี้ไปถนนโน้น ไหม้ตั้งแต่ตี ๔ จนถึงตี ๕ อีกวัน ตั้ง ๒๔ ชั่วโมง

พอดีหลวงพ่อไปเทศน์ที่เมืองตาก พอดีตรงกับวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด ก็ไม่มีใครสั่งงาน ผมก็ไปเดินเยี่ยมเยียนราษฎร

มีข้าราชการคนหนึ่งมาไหว้ แล้วบอกว่า ผมแย่แล้วครับหมดเนื้อหมดตัว

หลวงพ่อบอกว่า ยังไม่หมด

นั่นแหละครับหลังที่กำลังไหม้ ไอ้หลังโน้นเกลี้ยงเป็นขี้เถ้าไปหมดแล้ว หลังนี้กำลังไหม้อยู่ หมดเนื้อหมดตัวกันละคราวนี้

ผมยืนกรานบอกว่า ยังไม่หมด เจริญพร

แกก็ถลึงตาคงคิดว่า พระองค์นี้ยังไงนะ พูดไม่รู้เรื่อง ชี้ให้ดูก็ยังบอกว่าไม่หมดอีก

ก็เลยบอกว่า คิดดูเถอะ ไอ้ตึกรามบ้านช่องน่ะ เมื่อออกจากท้องพ่อท้องแม่น่ะ แบกมันออกมาด้วยหรือเปล่า

แกบอกว่า ผมหาได้ด้วยสติปัญญาของผมเอง ภรรยาของผมค้าขายได้เงินเพิ่ม เลยซื้อบ้านเพื่ออีกแห่งหนึ่ง

แล้วตัวคุณเองนี่ไฟไหม้หรือเปล่า ภรรยาไฟไหม้หรือเปล่า ความรู้ทั้งหลายของคุณน่ะไฟไหม้หรือเปล่า แกบอกว่า ไม่ได้ไหม้ครับ ก็เลยยกโคลงโลกนิติให้ฟังว่า

ช้างม้ามิ่งเมียแก้ว เงินทอง
ตัวมิตายจากกอง ย่อมได้
ชีวิตสิ่งเดียวของ หายาก
ใช่ประทีปเทียนไต้ ดับแล้ว จุดคืน ฯ

แกยกมือไหว้ บอกว่า จริงครับ เลยก็หายโศกไปเท่านั้นเอง คิดได้ ก็เลยบอกว่าดีแล้ว ตึกผมก็ชักเก่าแล้ว จะได้สร้างใหม่ต่อไป คิดแง่นี้ มันก็สบายใจ นี่คิดแต่ว่าของถูกไฟไหม้ ไฟไหม้ของกูแล้ว อย่างนี้มันก็เสียใจจนตาย เราต้องคิดในแง่ดีว่า ไหม้เสียก็ดีจะได้สร้างใหม่ ใครมาสร้างจะเรียกแป๊ะเจี๊ย ะ ให้เจ็บไปเลย มันก็ได้ดีอีก ดูในกรุงเทพฯ ซี่ ตรงไหนไฟไหม้ตรงนั้นมันก็สวย ก็ดีเหมือนกันน่ะ ถ้ามันไหม้ไปแล้วนะ ถ้ามันยังไม่ไหม้ก็อย่าเอาไฟไปจุดมันเสียล่ะ ให้มันอยู่ของมันอย่างนั้นแหละ

มีคุณยายคนหนึ่ง อยู่เชียงใหม่ ลูกสาวตาย ลูกเขยตาย ไม่รู้ว่ามันอย่างไร มันยิงกันตายทั้งคู่ เหลือลูกไว้ ๒ คน แม่ของผู้หญิงร้องไห้จนตาบวม ตาแดงทีเดียว พอดีผมไปถึง เขาก็รีบเอาตัวไปเลย ให้ไปเทศน์ที่สันป่าข่อย แม่คนนั้น แกเสียใจเรื่องลูกสาวตาย
นั่งเทศน์ไป เขาก็นั่งก้มหน้าไป ไม่ได้ยินดอก เราก็เทศน์ไปตามเรื่อง เลยหาวิธีบอกว่า น้านี่ ไม่น่าเสียใจเลย ลงทุนหนึ่งแล้วได้ตั้งสอง จะเสียใจทำไม
แกเป็นแม่ค้า พอพูดว่า “กำไร” แกเลยลืมตาเลย เรียกว่า เกาถูกแผลคันเข้าให้แล้ว
แกลืมตาโพลงมอง ถามว่า กำไรอะไร
อาตมาก็บอกว่า น้ามีลูกสาวคนหนึ่งคน ลงทุนแต่งงานหนึ่ง ได้หลานไว้สองไม่มีกำไรหรือไง
กำไรค่ะ แก่ตอบอย่างนั้น น้าก็เลี้ยงดูกำไรไว้ให้ดีก็แล้วกัน อย่าให้มันมายิงกันอีกอย่างนี้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนเรามันมีเพียงนิดเดียว เหมือนเส้นผมบังภูเขา เอาเส้นผมออกก็เห็นภูเขา พูดให้เข้าใจนิดเดียว ก็เข้าใจ หายโศกหายเศร้า แต่ก็เรียกว่าตัวเรา นิ้วชี้เราตำตาตัวเราไม่เข้ามัวแต่คอย เลยต้องให้คนอื่นตำให้เสียหน่อย มันก็ต้องถูกละ เหมือนกับให้คนอื่นเขาสะกิดให้

ความเข้าใจความจริงของชีวิตนั่นแหละคือศาสนา ที่จะทำให้เรารู้อะไรถูกต้อง แล้วเราก็ไม่ต้องเศร้าโศก เรื่องแบบนี้ต้องคิดไว้บ่อยๆ เพราะฉะนั้น พระจึงสอนให้คิดว่า “เราแก่เป็นธรรมดา หนีไม่พ้น เราเจ็บไข้เป็นธรรมดา หนีไม่พ้น เราจะต้องตายเป็นธรรมดา หรือจะต้องพลัดพรากจากของรัก หนีไม่พ้น เราทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว หนีไม่พ้น” ท่านให้คิดไว้บ่อยๆ นั่นมันคือแง่สัจธรรม เป็นแง่ความจริง เพราะธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น ถ้าได้คิดไว้อย่างนั้น มันก็สบายใจ เตรียบรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า

สมมติว่า เรามีของอะไรชิ้นหนึ่งซื้อมาใหม่ เช่น นาฬิกานี่ อย่าไปหลงว่าราคามันแพง ยี่ห้อมันดี

ผู้มีธรรมะต้องพูดเสียว่า ราคามันแพงอยู่ ยี่ห้อมันก็ดี แต่ว่ามันก็ไม่แน่ดอกว่า มันจะอยู่กับฉันตลอดไป วันหนึ่ง ไม่รู้จะมีใครจี้เอาไปเสียก็ได้ บอกไว้อย่างนั้น หรืออาจตกแตกก็ได้ มันจะหายจะสูญไปเมื่อไหร่ก็ได้ พูดไว้ล่วงหน้า พอมันหายเข้าจริงๆ ก็บอกกับตัวเองว่า กูว่าแล้ว ว่ามันจะหาย อย่างนี้ก็สบายใจ เพราะเราได้คิดไว้ล่วงหน้าว่า กูว่าแล้วว่ามันจะหายสักวันหนึ่ง นี่คนเราไม่คิดถึงมุมกลับ คือคิดถึงแต่เรื่องมี แต่ไม่คิดถึงเรื่องไม่มี

เรื่องความมีกับความไม่มี มันก็อยู่ด้วยกัน สุขทุกข์มันก็อยู่ด้วยกัน แต่คนเรามันเป็นอย่างนี้ เห็นความมีแล้ว ไม่เห็นความไม่มี เห็นความสุขแล้ว ไม่นึกถึงความทุกข์ เห็นความเที่ยงแล้วมองไม่เห็นความไม่เที่ยง มันต้องมองทั้งสองอย่าง เพราะฉะนั้น คนมีธรรมะแล้ว ต้องเห็นทั้งสองอย่าง เห็นความมีแล้วต้องเห็นความไม่มี เห็นหัวเราะแล้วก็ต้องอาจร้องไห้เข้าสักวันหนึ่ง นึกเอาไว้อย่างนั้น ใจมันก็สบาย ไม่วุ่นวายไม่เดือดร้อน เอาธรรมะแก้ปัญหาชีวิต เป็นเครื่องปลอบโยนจิตใจเราและคนอื่นก็ยังได้ ไม่ต้องเสียอกเสียใจอะไรไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีเรื่องจะเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่ง ลุงคนหนึ่ง เป็นชาวสงขลา แล้วแกก็มาทำงานอยู่ที่ตำบลเจดีย์งาม สร้างศาลามุงหลังคาด้วย หลานชายแกตาย หลานที่ตายแกรักมาก หัวแก้วหัวแหวนทีเดียว คนก็มาบอกข่าวให้รู้ว่าหลานตาย

แต่ว่าเมื่อคนนั้นเข้ามาในวัดได้พบพระเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นนักธรรมะ ท่านก็ถามว่าจะมาธุระอะไร แกก็บอกว่าจะมาบอกข่าวหลานชายตาย พระก็บอกว่าอย่าเพิ่งบอก ฉันจะบอกเอง แกทำงานอยู่บนหลังคา ขืนไปตะโกนบอกว่า ลุงๆๆ หลานลุงน่ะตายแล้ว แกอาจกลิ้งลงมาก็ได้นา เป็นลม หรือช็อกกลิ้งมาก็ได้ พระท่านรู้เลยไม่ให้บอก ให้ทำงานตามปกติ

ถึงเวลาสิบโมงครึ่งลงมาเตรียมตัวกินข้าว พระก็ไม่บอก พอถึงเวลาพระฉันเสร็จก็ให้แกกินข้าว เสร็จแล้วก็ชวนมานั่งคุยกันถึงเรื่องอะไรต่อมิอะไร ให้ดูใบไม้เหี่ยว ใบไม้แห้ง ต้นไม้ที่ตาย ดูไอ้นั่นดูไอ้นี่ คุยเรื่อยไป คุยธรรมะเรื่องตายๆ ทั้งนั้น ที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นแหละ

คุยไปคุยมาก็บอกว่า โยมมาอยู่นี่ไม่คิดถึงบ้านบ้างเรอะ
ก็คิดถึงบ้างเป็นธรรมดา แกก็ตอบ
แล้วที่บ้านโยน่ะ มีอะไรที่คิดถึงมากกว่าเพื่อน
ก็ไม่มีอะไรดอกครับ มีหลานชายมันน่าเอ็นดูอยู่หน่อย คิดถึงมันพอสมควร

ท่านก็บอกว่า ถ้าสมมติว่าไอ้หลานมันเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วมันตายไปจะนึกอย่างไร
แกก็ว่าเรื่อยๆ ครับ ไอ้เรื่องตาย มันก็ไอ้เรื่องธรรมดา จะไปคิดถึงอะไรนักหนา คนเราเมื่อเกิดมามันก็ต้องตายทั้งนั้น เด็กก็ตาย หนุ่มก็ตาย แก่ก็ตาย พระท่านได้ปูพื้นฐานไว้เรียบร้อยแล้ว
เสร็จแล้วท่านก็บอก เสียใจที่จะบอกกับโยมว่า คนเขามาบอกเมื่อตะกี้ว่าหลานโยมน่ะตายแล้ว
แกก็ไม่เศร้าโศกเสียใจ เพราะอะไร ? เพราะพระท่านปูพื้นฐานไว้เรียบร้อยแล้ว เอามาวางลงไปก็ไม่กระเทือนเลย ถ้าไม่ได้ปูพื้นไว้มาบอกเขาคงเสียใจมากเป็นลมไปก็ได้.

อันนี้ จะสอนไว้ ถ้ามีเรื่องเศร้าโศกเสียใจเรื่องกระทบอารมณ์ใดๆ อย่ารีบพูดกับใครนะ ก่อนพูดต้องปูพื้นทางจิตใจเสียก่อนให้เตรียมรับสถานการณ์
ถ้าได้ปูพื้นฐานทางจิตใจให้เรียบร้อยแล้วพูด ไม่กระทบอารมณ์ เพราะเขาได้มีสติปัญญาแล้ว
แต่บางคนใจร้อน เพื่อนมาถึงใหม่ๆ บอกเลยว่า เรื่องนั้นเรื่องนี้ มันก็กระทบใหญ่เลย อันนี้ เขาไม่ให้พูด ให้จิตใจเย็นเสียก่อน โดยให้อาบน้ำอาบท่า จึงค่อยพูดค่อยจา

แม่บ้านก็เหมือนกัน พอมีอะไร ผัวมาเหนื่อยๆ บอกเลย หาเรื่องให้ทะเลาะกับเพื่อนบ้านอย่างนั้นแหละ ต้องค่อยๆพูดกัน กินข้าวกินน้ำให้เย็นๆ สบาย แล้วเข้าไปในมุ้งนอนคุยกัน ๒ คน มันก็ไม่เสียหาย ซึ่งแสดงถึงความฉลาด มันก็ไม่มีเรื่อง

อะไรๆมันต้องใช้อุบาย ไม่มีอุบายแล้วมันเสียหาย ต้องค่อยพูดค่อยจา “อย่าเอาเหล็กแดงไปกระทุ้งพญานาค” ทำเกินไปมันก็เดือดร้อน

เรื่องพื้นฐานทางจิตใจมันต้องปูไว้ก่อน ก็จะไม่เศร้าโศกเสียใจ อันนี้ เขาเรียกว่า ธรรม สัจธรรม เป็นหลักสำหรับแก้ไขปัญหาชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราต้องใช้ทั้ง ๒ อย่าง ศีลธรรม ก็ต้องใช้เพราะเราอยู่ในสังคม เข้าไปในสังคมใดต้องประพฤติให้พอเหมาะพอควรกับสังคมนั้น อันนี้ มีระเบียบมีธรรมะเครื่องมือหลายข้อ ที่ควรจะนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน แล้วเราก็รู้จักหลบรู้จักหลีก ถ้าหลบหลีกได้ก็ทำเสีย เราเป็นผู้มีธรรมะต้องรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ เรื่องมันไม่เสียหาย

แล้วก็ต้องมีสัจจธรรมไว้แก้ปัญหาชีวิตในเรื่องความทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา ฯลฯ ไอ้ที่เราสวดๆ อยู่นั่นแหละมันทุกข์เยอะแยะ จะแก้อย่างไร มันต้องแก้ด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ให้รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมันเป็นอย่างไร นี่ธรรมะมันช่วยถึงสองชั้น เรียกว่า ศีลธรรม สัจจธรรม เป็นของคู่กัน

เรื่องพุทธศาสนานี้สอนศีลธรรมก็มาก สอนสัจจธรรมก็มาก ดูเหมือนมากกว่าศาสนาไหนๆ คัมภีร์ใดๆ ในโลก พระพุทธเจ้าสอนเรื่องนี้มาก สอนอย่างลึกซึ้งทีเดียว ซึ่งเราจะได้ศึกษากันต่อไป ในเรื่องนี้

วันนี้ ให้รู้ไว้ว่า ธรรมะ คืออะไร เกี่ยวกับอะไรบ้าง มีกี่ชั้น ซึ่งเราควรจะนำมาเป็นหลักในชีวิตประจำวัน และโดยเฉพาะคำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าท่านสอน เรียกว่าพระธรรมนั้น คืออะไร มีหลัก ๓ ประการ เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เพื่อสงบกิเลส เพื่อนิพพาน นี่เป็นหลักๆ ที่พระสุคตประกาศ

เริ่มแรกทีเดียว ท่านสอนธรรมลึก สอนแต่ธรรมะที่เป็นสัจจธรรมล้วน แต่เมื่อสอนไปๆ ก็พบคนหลายประเภท ก็เลยต้องสอนศีลธรรมกันบ้าง แต่ว่าก็ต้องปูพื้นไว้เมื่อสอนศีลธรรม แล้วก็ยกระดับสูงขึ้นไปอีก.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีธรรมะอยู่หมวดหนึ่ง เรียกว่า ธรรมะโดยลำดับ (อนุปุพพิกถา) พระองค์จะสอนเรื่อง ทาน การให้

สอนเรื่อง ศีล ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม

สอนเรื่องสวรรค์ เป็นผลจากทาน จากศีล เมื่อให้ทานรักษาศีลแล้ว จะเป็นสุขอย่างไร หรืออยู่กันด้วยความสงบอย่างไร

แล้วก็สอนโทษของสวรรค์ ไม่ให้มัวเมาอยู่ในความสุขเพียงขั้นนั้น เพราะขั้นนั้นเป็นความสุขจอมปลอม ถ้าเป็นวิมานก็เหมือนกับเอาไม้ทองหลางมาตอกเข็มเท่านั้น ไม่มั่นคงอะไร ทำให้เบื่อหน่าย

แล้วสอนเรื่องของธรรมะให้ออกจากกาม ใจเบื่อน่ายไป คนใดที่จะได้รับการสอนตามลำดับขั้นนี้ พระองค์ต้องเห็นว่ามีนิสสัยที่จะสำเร็จมรรคผลได้ทันที จึงได้ทรงพูดฟอกนิสสัยไปเป็นลำดับ แล้วก็สอนให้บรรลุมรรคผล

พวกเรา อาจนึกว่า พระพุทธเจ้าเทศน์ ทำไมคนถึงบรรลุมรรคผลง่าย คือ สอนถูกจุดถูกใจดำนั่นเอง ทำไมพระองค์จึงได้เทศน์ถูกจุด ? เพราะพระองค์มีญาณคือความรู้พิเศษ ที่สามารถรู้ความคิดผู้อื่นว่า ผู้นี้ มีความคิดนึกอย่างไร มีการกระทำในรูปใด รู้นิสัยใจคอของคนที่เข้ามาใกล้ ญาณพิเศษนี้มีอยู่ในพระพุทธเจ้า พระองค์จึงให้การสอนที่ถูก เหมือนหมดให้ยาถูกแก่โรค พระพุทธเจ้าท่านเป็นนายแพทย์ทางจิตวิญญาณ พระองค์จะให้ยาแก่ใคร นี่ต้องตรวจให้เหมาะแก่โรค แทงใจดำเลย ดังนั้น คนก็บรรลุได้เร็ว เข้าใจบรรลุได้ทันที เดี๋ยวนี้เราเทศน์แบบเหวี่ยงแห แล้วคนฟังก็เยอะแยะ เทศน์ถูกเทศน์ผิด บางคนก็ฟังผิด เอาไปใช้ถูกๆผิดๆเหมือนกัน เลยวุ่นวายกันไปก็มี แต่พระองค์พูดเฉพาะคน เฉพาะเรื่องไม่ปนกัน

อีกประการหนึ่ง คนสมัยนั้น พร้อมจะบรรลุมรรคผล ความเป็นอยู่ไม่วุ่นวาย อาการการกินอุดมสมบูรณ์ ปัญหาต่างๆ มันน้อย จิตใจคนก็มีความสงบ ค่าครองชีพมันไม่ลำบากเหมือนเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้มันเกี่ยวกับเรื่องปากท้องมาก ความจริงมันต้องสนใจต้องศึกษาธรรมเหมือนกัน คล้ายๆกับควาย ๒ ตัว นั่นแหละ พวกเราคงอ่านแล้วในหนังสือ ฆราวาสธรรม นั่นแหละ ลองอ่านให้ดี เรามันต้องใช้ควาย ๒ ตัว ตัวหนึ่ง ปัญญา อีกตัวหนึ่งมัน แรง แรงนั่น คือ เทคโนโลยีทั้งหลายที่มีอยู่ในโลก

ตัวปัญญานั้นคือ เรื่องเกี่ยวกับตัวเราเองรู้สภาพชีวิตจิตใจ เข้าใจอะไรถูกต้อง รู้จักปรับปรุงแก้ไข อันนี้ เป็นตัวปัญญาที่เราจะต้องใช้

ถ้ามีปัญญาที่เราจะต้องใช้ มีปัญญาคิดสร้างแต่วัตถุต่างๆ แต่ไม่มีปัญญารักษาใจ ล่อแหลมที่จะเป็นโรคประสาทได้ง่าย กลุ้มใจ ไม่รู้จะทำอย่างไร นอนไม่หลับ ไม่รู้จะทำอย่างไร แต่ผู้ศึกษาธรรมะ หัดใช้ธรรมะเป็นเครื่องบังคับจิตใจ มันก็ดียิ่งขึ้น มีอะไรเกิดขึ้นก็พอปลงพอวาง ไม่ต้องเป็นทุกข์เป็นร้อนกับเรื่องนั้นมากไป หลักธรรมะมันช่วยอย่างนี้ เราจึงต้องศึกษา เพื่อเอาไปใช้ ชีวิตยังจะเป็นประโยชน์บ้าง ถ้าเรามีคุณธรรมทางจิตใจสูง เราใช้ชีวิตเป็นประโยชน์ได้มาก

โลกเวลานี้ขาดคนมีคุณธรรม โลกเรามันถึงยุ่ง ยุ่งเพราะขาดคุณธรรม มีคุณธรรมแล้วมันไม่ยุ่ง
ชีวิตเรียบร้อยก็เพราะประพฤติธรรม ไม่มีการประพฤติธรรมแล้วก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราต้องคิดถึงพระธรรมไว้ ในฐานะที่เป็นพุทธบริษัท ต้องคิดถึงพระธรรมไว้

ถ้าถึงพระธรรม ก็มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พร้อมกันไปในตัว เพราะพระสงฆ์ก็คือตัวปฏิบัตินั่นเอง ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติเพื่อให้ออกจากทุกข์ ก็เป็นคุณของพระสงฆ์อยู่แล้ว
ข้อปฏิบัติก็คือตัวพระธรรม

ความสุขที่เกิดขึ้นก็คือตัวพระพุทธ เราก็มีพร้อม ถึงพร้อมทั้ง ๓ ประการ มีอยู่ในจิตใจของเรา เป็นพระข้างใน ใช่ต้องกลัวขโมยจี้ขโมยลัก

พระข้างในนี้รักษาง่าย พระข้างนอกไม่ได้ มันจี้เอาไปเลย หลวงตาที่โดนฆ่าแล้วเอาพระไปแล้วน่ะ พระนั้นไม่เห็นสวยอะไร มันเอาไปทิ้งไว้ที่ประตูน้ำรังสิต เขางมขึ้นมาไม่เห็นสวยอะไรเลย แต่ขโมยมันก็เอาทั้งนั้น พอขายได้ละก้อ

นี่ทั้งโลกมันเดือดร้อนกันอย่างนี้ ขอให้เรามีอุดมการณ์ขึ้นในจิตใจว่า เราคนหนึ่ง จะไม่สร้างความวุ่นวายให้แก่โลก ไม่เพิ่มความยุ่งขึ้นในโลก คือว่า ลดความรู้สึกนึกคิดฝ่ายต่ำในจิตใจของเราโดย อาศัยศีลธรรม บ้าง อาศัยสัจจธรรม บ้าง เป็นเครื่องช่วย.

(จบตอน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2018, 14:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2018, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2018, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
พระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นความจริงที่เกิดจากการตรัสรู้ความจริงของทุกสิ่ง
และทรงเปล่งพระวาจาแสดงความจริงทั้งหมด45พรรษา
เพื่อให้เข้าใจความจริงนั้นถูกตามได้ทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี
ผู้ที่สะสมปัญญาจากการฟังมามากเท่านั้นจึงแทงตลอดตาม
ตรงตามที่กำลังมีสภาพธัมมะปรากฏตามเป็นจริงทุกประการ
ทุกคำในพระไตรปิฎกเป็นปัจจุบันธรรมตรงปัจจุบันขณะจริงๆ
การเข้าใจต้องอาศัยฟังแล้วไตร่ตรองตามตรงคำตรงขณะ
คือเดี๋ยวนี้เองที่กำลังมีความจริงปรากฏตามเป็นจริง
แต่อวิชชารู้ไม่ได้และปัญญาเท่านั้นที่รู้ชัดตรง
ปัญญาแรกที่เกิดได้ต้องตรงจริงจากการฟัง
คือสุตมปัญญาจึงต้องเริ่มที่ฟังทุกครั้ง
เพราะสุตะคือทางหูคือจิตได้ยิน
หนทางถูกทางเดียวสายเอก
ทางรู้คือเอกายโนมัคโค
ฟังเพื่อรู้ความจริงที่
กำลังมีที่กายจิตตน
ส่งจิตไปตามเห็นเป็นกิเลสของตน
ต้องพึ่งคิดตามการฟังทีละคำตรงๆ
คิดถูกตรงจริงทีละคำดีตรงดีชั่วตรงชั่ว
ดี-ชั่วคือ2คำคิดดีตรงชั่วไม่ได้คือปกติจริงๆ
เป็นเอกทุกขณะพิสูจน์ได้จากออกเสียง
คิดคือพูดในใจและพูดคือคิดออกเสียง
จึงต้องเพียรฟังเพื่อรู้ตามตรง1คำจริงๆ
ฟังเวลาใหม่คือจิตขณะใหม่ทั้งหมด
ไม่มีจิตขณะเดิมแม้แต่ขณะเดียว
ฟังไม่เข้าใจให้ทราบว่าปัญญามีไม่พอ
https://youtu.be/4DmsUZvSXNk
onion onion onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร