วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 16:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเจริญเข้าสู่จุดหมาย ด้วยการอุดหนุน ขององค์ประกอบต่างๆ อย่างพุทธพจน์ที่ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ประกอบ ๕ อย่างคอยหนุน (อนุเคราะห์) ย่อมมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เป็นผลานิสงส์ องค์ประกอบ ๕ อย่างนั้น คือ

๑. ศีล (ความประพฤติดีงาม เกื้อกูล พฤติกรรมไม่ขัดแย้งเบียดเบียน)

๒. สุตะ (ความรู้จากการสดับ เล่าเรียน อ่านตำรา การแนะนำสั่งสอนเพิ่มเติม)

๓. สากัจฉา (การสนทนา ถกเถียง อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สอบค้นความรู้)

๔. สมถะ (ความสงบ การทำใจให้สงบ การไม่มีความฟุ้งซ่าวุ่นวายใจ)

๕.วิปัสสนา (การใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาวะของมัน คือตามที่มันเป็นจริง) (องฺ.ปญฺจก.22/25/22 - พึงเสริมด้วยพุทธพจน์ว่า การฟังด้วยดี การสอบถามค้นคว้า เป็นอาหารของปัญญา-องฺ.ทสก.24/73/146)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิกับการศึกษา



ในแง่ของการศึกษา กล่าวได้ว่า คนเริ่มมีการศึกษา เมื่อเขามีสัมมาทิฐื บางท่านอาจมองในแง่จากภายนอกเข้าไปตามนัยแห่งไตรสิกขา โดยถือเอาศีลเป็นที่เริ่มต้น แล้วกล่าวว่า การศึกษาเริ่มต้น เมื่อคนประพฤติสุจริต * (คำว่าสุจริต ในที่นี้ หมายถึง สุจริตอย่างที่ใช้ในภาษาไทย คือมุ่งกาย วาจา และอาชีวะสุจริต ไม่รวมถึงมโนสุจริต (มโนสุจริต คลุมสัมมาทิฏฐิได้ด้วย) แต่คำกล่าวเช่นนี้ยังนับว่าไม่เข้าถึงตัวการศึกษา หรือแก่นแท้ของการศึกษา เพราะการฝึกปรือในขั้นศีลให้มีสุจริต ก็ด้วยมุ่งสร้างสมนิสัยหรือความเคยชินในทางที่ดีงาม เป็นทางนำคนระดับเวไนยไปสู่การมองเห็นคุณค่าของความประพฤติสุจริตเช่นนั้น (นี้คือแง่ที่พฤติกรรมกลับเป็นฝ่ายปรุงแต่งค่านิยมได้ เช่นเดียวกับปัจจัยทางสังคมอย่างอื่นๆ)


เมื่อคนมองเห็นคุณค่า เกิดความเข้าใจซาบซึ้ง และใฝ่นิยมความสุจริต เป็นสัมมาทิฐิแล้ว เมื่อนั้นศีลหรือความประพฤติสุจริต จึงจะแน่นแฟ้นมั่นคงได้ (ตอนนี้ค่านิยมจะเป็นฝ่ายกำหนดพฤติกรรม และเมื่อนั้นแหละจึงเรียกได้ว่าเขาเป็นผู้มีการศึกษา)


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การที่ฝึกปรือในไตรสิกขาเริ่มต้นแต่ศีลไป ก็เพื่อเป็นการเพาะบ่มให้องค์มรรคทั้งหลาย เริ่มแต่สัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น เมื่อใด องค์มรรคซึ่งมีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ บังเกิดขึ้นในบุคคล จึงจะนับได้ว่าเขามีการศึกษา เพราะนับแต่บัดนี้ไป องค์ธรรมทั้งหลายในตัวบุคคลนั้น จะเริ่มเข้าประจำทำหน้าที่สอดประสานส่งทอดต่อกัน


สัมมาทิฏฐิ นอกจากจะทำให้ศีล หรือความประพฤติสุจริตนั้นมั่นคงจริงจังแล้ว ยังช่วยให้การประพฤติศีล เป็นไปด้วยความจริงใจไม่เสแสร้ง และเป็นหลักประกันให้ประพฤติได้ถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมายของศีล ไม่ผิดพลาดกลายเป็นสีลัพพตปรามาส หรือถือปฏิบัติโดยงมงายเป็นต้น อีกด้วย


เมื่อใด มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อนั้นจึงวางใจในการปฏิบัติศีลหรือไว้ใจในความสุจริตนั้นได้ แต่ถ้ายังไม่มีสัมมาทิฏฐิ ตราบใด ก็ยังไม่อาจวางใจในศีล ตราบนั้น


ถ้าแสดงความหมายผ่อนลงมา โดยถือเอาปัจจัยของสัมมาทิฏฐิเป็นหลัก ก็อาจกล่าวว่า การศึกษาเริ่มต้น เมื่อคนรู้จักคิด (โยนิโสมนสิการ) ความหมายอย่างนี้ ก็นับได้ว่าถูกต้อง ด้วยเป็นการกล่าวแบบเล็งความถึงกัน เพราะเมื่อมีโยนิโสมนสิการแล้ว ก็หวังได้ว่าสัมมาทิฏฐิจะเกิดตามมา

ดังจะเห็นได้ว่า แม้แต่การปฏิบัติระดับศีล เมื่อได้โยนิโสมนสิการ ช่วยนำพฤติกรรม จึงจะทำให้การปฏิบัติ ดำเนินไปอย่างถูกต้องพอดี และเป็นการกระทำอย่างมีเป้าหมายที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์ ทั้งตนเองก็ได้ความความเข้าใจ มีความมั่นใจ จิตเป็นกุศลโปร่งผ่องใส


ยกตัวอย่าง เช่นในการแต่งตัวให้สะอาดเรียบร้อย นอกจากคำนึงถึงคุณค่าเพื่อชีวิตคือปกปิดและปกป้องร่างกายจากหนาวร้อน และความละอาย เป็นต้น แล้ว โยนิโสมนสิการ ยังช่วยให้คำนึงในทางเกื้อกูลแก่ผู้อื่นและแก่สังคมอีกด้วย เช่น ทำใจว่า เราจะแต่งตัวอย่างนี้ให้สะอาดเรียบร้อยอย่างนี้ เพื่อความเป็นระเบียบดีงามของหมู่ของชุมชนหรือของสังคม เรานุ่งห่มไม่ให้ น่าเกลียดหรือน่ารังเกียจ ให้เรียบร้อยงดงามอย่างนี้ เพื่อรักษาจิตใจของคนอื่นที่เขาพบเห็นให้เป็นกุศล ไม่เศร้าหมองขุ่นมัว เพื่อช่วยเสริมบรรยากาศให้คนอื่นๆ มีจิตใจผ่องใส โน้มน้อมไปในทางดีงาม


แต่ถ้าคิดขึ้นมาว่า จะอวดโก้ อวดฐานะ เอาเด่น จะข่มคนโน้นคนนี้ หรือจะล่อใจคนให้หลงใหลติดพัน หรือมีจิตคิดแง่งอน ว่าจะทำตามใจฉัน ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง ดังนี้ เป็นต้น ก็กลายเป็นอโยนิโสมนสิการ อกุศลธรรมก็เข้าครอบงำใจ จิตก็ปิดล้อมตัวเองให้คับแคบ ไม่โปร่งโล่ง ไม่ผ่องใส และพฤติกรรมในการแต่งกายก็พร้อมที่จะวิปริตออกไปจากความถูกต้องพอดีได้ทันที


เมื่อพูดถึงการศึกษา คนทั่วไปมักนึกถึงการเล่าเรียนความรู้สำหรับทำมาหาเลี้ยงชีพ อันเป็นเรื่องของอาชีวะ และเป็นเรื่องระดับศีล การศึกษาที่มุ่งสร้างแต่อาชีวะ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นสัมมาอาชีวะหรือมิจฉาชีวะ ย่อมไม่มีสาธุชนใดเห็นชอบด้วย


การศึกษาที่มุ่งสร้างสัมมาอาชีวะเพียงอย่างเดียว โดยไม่ใส่ใจสร้างสัมมาทิฏฐิ ก็ยังหาชื่อว่าเป็นการศึกษา ที่ถูกต้องไม่ และน่าจะไม่สำเร็จผลสมความมุ่งหมาย แม้แต่ที่จะให้เกิดสัมมาอาชีวะนั้นด้วย เพราะยังไม่เข้าถึงตัวการศึกษา อาจจะเป็นสัมมาอาชีวะแต่เพียงชื่อ ไม่ใช่สัมมาอาชีวะที่แท้ เพราะเป็นการฝึกหัดศีล โดยไม่ทำองค์มรรคให้เกิดขึ้น จึงยังผิวเผิน ฉาบฉวย ไม่หยั่งรากลง


ทางที่ถูก จะต้องปลูกฝังสัมมาทิฏฐิไว้เป็นรากฐานของสัมมาอาชีวะด้วย พูดง่ายๆว่า จะให้ถือศีลโดยไม่มีความใฝ่นิยมศีล หรือให้ประพฤติสุจริตโดยไม่มีค่านิยมแห่งความสุจริต ย่อมไม่เพียงพอ


ดังจะเห็นสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ แต่มีอยู่ในสังคมบางถิ่นบางสมัย ความใฝ่นิยมทุจริตเป็นไปอย่างแพร่หลาย ถึงกับคนจำนวนมากเห็นไปว่า การทำอะไรได้สำเร็จ หรือหาทรัพย์สินได้ด้วยวิธีหลอกลวงคดโกง ฉลาดในการทุจริต หรือทำร้ายผู้อื่น เป็นความเก่งกล่าสามารถ สังคมนั้น แม้จะมีสภาพทั่วไปอุดมสมบูรณ์ แต่เต็มไปด้วยการทุจริต และอาชญากรรม
พร้อมกันนั้น ในอีกสังคมหนึ่ง ซึงสภาพทั่วไปมีความอดอยากยากแค้นกว่าเป็นอันมาก กลับมีอาชญากรรม ต่างๆน้อย แม้แต่คนจนไร้ ก็ยอมเป็นขอทาน ยิ่งกว่าจะลักขโมยทำการทุจริต (แต่ในสังคมที่ขาดความใฝ่สุจริต แม้แต่การขอทาน คนก็ทำอย่างเป็นการทุจริต)


ความที่กล่าวในตอนนี้ มีความสำคัญถึงขั้นหลักการ ซึ่งควรจะเน้นไว้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมรรค กับ ไตรสิกขา ซึ่งมองดูได้ที่สัมมาทิฏฐิกับการฝึกอบรมศีล อันเป็นข้อแรกของหมวดธรรมแต่ละฝ่าย


ในตอนต้น ได้เคยกล่าวถึงความสัมพันธ์อย่างเป็นปัจจัยกัน ระหว่างศีล กับ สัมมาทิฏฐิว่า เมื่ออยู่ร่วมกันด้วยดี โดยสงบเรียบร้อย ใจก็ไม่ต้องคอยสะดุ้งหวาดระแวง
เมื่อประพฤติดีมีศีล ก็ไม่มีความเดือดร้อนวุ่นวายใจ ทำให้จิตสงบ เป็นสมาธิ
เมื่อใจสงบ แน่วแน่ ผ่องใส ก็ช่วยให้คิดคล่อง มองเห็นอะไรๆชัดเจน ไม่เอนเอียง มีความเข้าใจดี เกิดปัญญา
ถ้าปัญญานั้น รู้ตระหนักมองเห็นคุณค่าของความประพฤติดี มีศีล ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ คือ เห็นถูกต้อง ก็คิด แล้วพูด ทำ ประพฤติปฏิบัติถูกต้องเป็นศีลอีก


อีกตอนหนึ่ง ก็ได้กล่าวว่า การฝึกหัดศีล หรือฝึกอบรมความประพฤติ จะชื่อว่าเป็นการศึกษา ก็ต่อเมื่อสามารถทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ อย่างน้อยตั้งแต่ขั้นซาบซึ้ง ในคุณค่าของศีล หรือ มีค่านิยมแห่งความสุจริตขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกอบรมความประพฤติที่จะให้มีผลเช่นนี้ ได้กล่าวมา ณ ที่นี้ ๒ อย่าง คือ

๑) การฝึกศีลที่อาศัยความเคยชินและศรัทธา เป็นวิธีที่เน้นหนักในด้านระเบียบวินัย ได้แก่การจัดสรรสภาพแวดล้อมให้เป็นกรอบกำกับความประพฤติ และจัดระเบียบความเป็นอยู่ เช่น กิจวัตร เป็นต้น ให้กระชับ
ฝึกคนปฏิบัติให้เกิดความคุ้นและเคยชินเป็นนิสัย พร้อมนั้นก็สร้างเสริมศรัทธา โดยให้กัลยาณมิตร เช่นครูแนะนำชักจูงให้เห็นว่าการประพฤติดี มีระเบียบวินัยเช่นนั้น มีประโยชน์ คุณค่าหรืออานิสงส์อย่างไร และอาจให้ได้ยิน ได้เห็นบุคคลผู้มีความประพฤติดีงามน่าเลื่อมใสศรัทธาที่มีความสุข ความสำเร็จเป็นแบบอย่าง (เช่น ครูนั่นเอง) ประกอบไปด้วย


โดยวิธีนี้ ความซาบซึ้งในคุณค่าของความประพฤติดีงาม ความรักวินัย ความใฝ่นิยมศีลก็เกิดขึ้นได้ แม้ไม่มีกัลยาณมิตรคอยชี้แจงประโยชน์ หรือได้เห็นแบบอย่างอะไรมากนัก
แต่ถ้าระเบียบวินัย หรือ กรอบความประพฤตินั้นเป็นสิ่งที่เขาปรับตัวเข้าได้ เกิดความเคยชินเป็นนิสัยขึ้นมาก็ดี เขาได้รับผลดี มองเห็นประโยชน์แก่ตนบ้างก็ดี เขาก็จะเกิดความใฝ่นิยมและคิดหาเหตุผลเข้ากับความประพฤติดีมีระเบียบวินัยนั้นเอง


เมื่อพ้นจากขั้นประพฤติไปตามกรอบหรือตามบังคับ มาถึงขั้นเห็นคุณค่าใฝ่นิยมที่จะทำอย่างนั้นแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ นับได้ว่า เริ่มมีการศึกษา แม้ว่าจะเป็นสัมมาทิฏฐิชนิดโลกีย์อย่างอ่อนเหลือเกิน และไม่สู้มั่นคง ปลอดภัยนักเพราะอาจกลายเป็นการปฏิบัติด้วยความยึดมั่นงมงายเป็นสีลัพพตปรามาสได้ก็ตาม


๒) การฝึกศีลที่ใช้โยนิโสมนสิการกำกับ เป็นวิธีที่เน้นความเข้าใจในความหมายของการกระทำ หรือ การปฏิบัติทุกอย่าง คือปฏิบัติการ ด้วยโยนิโสมนสิการ หรือใช้โยนิโสมนสิการนำ และคุมพฤติกรรม ดังตัวอย่างเรื่องการแต่งกายที่ได้กล่าวมาแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ตามวิธีนี้ กัลยาณมิตร เช่น ครู จะช่วยได้โดยแนะแนวความคิดให้เห็นช่องทางพิจารณา และเข้าใจความหมาย ของพฤติกรรมนั้นๆไว้ก่อน แต่เมื่อถึงเวลาปฏิบัติ นักเรียนหรือผู้ปฏิบัติ นั้น จะต้องทำใจพิจารณาเอาเองทุกคราวทุกกรณีไป

ตัวอย่างอื่นอีก เช่น ในการไหว้กราบแสดงความเคารพ ผู้กราบไหว้พระสงฆ์หรือแสดงความเคารพผู้ใหญ่กว่า อาจทำใจให้เข้ากับความหมายที่ถูกต้องดีงามเป็นกุศลของการกระทำในกรณีนั้นๆ และเวลานั้นๆ

เช่นว่า เราขอกราบไหว้ เพื่อเป็นการฝึกตนให้เป็นคนอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง หรือ เรากราบไหว้เพื่อเชิดชูระเบียบเพื่อความดีงามของสังคม หรือเรากราบไหว้ เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งการเทิดทูนธรรมที่ท่านผู้นั้นเป็นตัวแทนอยู่ หรือ เรากราบไหว้ด้วยเมตตาหวังดีหวังประโยชน์แก่ท่านผู้นั้น เพื่อเป็นเครื่องช่วยระวังรักษาท่านให้ดำรงอยู่ในภาวะและฐานะที่ดีงามเหมาะ สม หรืออย่างน้อยที่สุดว่า เรากราบไหว้นี้เป็นการจะประพฤติธรรมในส่วนของตัวเรา ให้ถูกต้องให้ดีงามที่สุดของเราก็แล้วกัน ดังนี้เป็นต้น


ทางฝ่ายพระสงฆ์ ผู้ใหญ่หรือครู ที่เป็นผู้จะได้รับความเคารพกราบไหว้ ก็ อาจทำใจเมื่อเขากราบไหว้เคารพตน เช่น นึกเป็นโอกาสที่ได้สำรวจตนว่า เรายังเป็นผู้มีคุณธรรม ความประพฤติสมควรแก่การได้รับความเคารพกราบไหว้ อยู่หรือไม่ หรือนึกว่า ท่านผู้นี้อยู่ในฐานะที่เราพึงแนะนำได้ เขาไหว้กราบถูกต้องหรือไม่อย่างไร เป็นโอกาสที่เราจะรู้ไว้และค่อยนำมาแนะนำด้วยความหวังดีต่อไป หรือใจอนุโมทนาว่าท่านผู้นี้ คนผู้นี้ช่างเป็นผู้มีคุณธรรมสูง รู้จักรักระเบียบของสังคม รู้จักให้เกียรติเทิดทูนธรรม หรือทำใจว่า เอาเถิดว่ากันไปตามสมมุติของโลกแล้วแต่จะทำอย่างไรให้โลกมันดีก็เอา ดังนี้เป็นต้น


เมื่อทำใจด้วยโยนิโสมนสิการอย่างนี้ ก็จะมีความมั่นใจในการกระทำของตน และจะไม่เกิดอกุศลธรรมเข้าครอบงำจิตด้วย เช่น ทางฝ่ายผู้กราบไหว้ก็จะไม่ต้องมาถือเทียบเขาเทียบเราด้วยกิเลสแห่งความยึด ติดถือมั่นในตัวตนว่า เขามีดีอะไรเราจะต้องไหว้ เราดีกว่าเขาเสียอีก จะไหว้ทำไม ดังนี้เป็นต้น ทาง ฝ่ายผู้จะได้รับความเคารพก็จะไม่ต้องเกิดกิเลสคอยระแวง หรือ โทมนัส น้อยใจแค้นเคือง เช่น ว่า ทำไมคนนี้ไม่ไหว้เรา ทำไมคนนั้นไหว้ด้วยอาการไม่ถูกใจเรา หรือลุ่มหลงลืมตัวว่า เรานี้เป็นผู้เลิศประเสริฐสูง ผู้คนทั้งหลายพากันนอบนบกราบไว้ ดังนี้เป็นต้น


ตัวอย่างที่ยกมานี้ ล้วนเป็นโยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลธรรม และให้ เกิดสัมมาทิฏฐิ แบบโลกีย์เท่านั้น แต่ก็จะเห็นได้ว่า วิธีฝึกข้อ ๒ นี้ประณีตลึกซึ้งกว่าวิธีที่ ๑ สามารถป้องกันผลเสีย คือการเกิดขึ้นของอกุศลธรรมที่จะเข้าแฝงซ้อนการ ปฏิบัติ ซึ่งวิธีที่ ๑ ป้องกันไม่ได้ เป็นการปฏิบัติอย่างมั่นใจด้วยปัญญา ทำให้เกิดความเข้าใจเป็นสัมมาทิฏฐิเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยไป พร้อมกันกับการ ฝึกศีล และปิดช่องที่จะกลายเป็นการประพฤติปฏิบัติศีลด้วยความงมงายที่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส


วิธีฝึกที่ถูกต้องตามแนวของมรรคอย่างแท้จริง คือวิธีที่ ๒ หากจะใช้วิธีที่ ๑ ควบไปด้วยก็น่าจะได้ผลดียิ่งขึ้น แต่จะใช้วิธีที่ ๑ อย่างเดียว นับว่ายังไม่เพียงพอสำหรับการศึกษาที่แท้ เพราะในการศึกษาที่ถูกต้อง ภายนอกเริ่มต้นด้วยการฝึกขั้นศีล แต่ ภายในต้องใช้โยนิโสมนสิการสร้างปัญญาให้เกิดสัมมาทิฏฐิพร้อมกันแต่แรกเรื่อย ไป และเมื่อทำอย่างนี้ ก็เป็นการใช้โยนิโสมนสิการในทางปฏิบัติ ซึ่งใช้ได้ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่รอเอาไว้พิจารณาความคิดอย่างเดียว


ที่ว่านั้น ไม่ใช่แต่ในขั้นศีลนี้เท่านั้น แม้ในขั้นสมาธิและขั้นปัญญาแท้ๆ ก็จะต้องใช้โยนิโสมนสิการอย่างนี้เรื่อยไป สัมมาทิฏฐิและองค์มรรคทั้งหลายภายในจึงจะเจริญแก่กล้าพรั่งพร้อมยิ่งขึ้นได้


โดยนัยนี้ ก็จะมองเห็นความเจริญขององค์มรรคที่ควบไปกับการฝึกไตรสิกขา กล่าวคือ เมื่อมองจากข้างนอก หรือมองตามขั้นตอนใหญ่ ก็จะเห็นการฝึกอบรมตามลำดับขั้นของไตรสิกขา เป็นศีล สมาธิ และปัญญา แต่เมื่อมองเข้าไปข้างในที่รายละเอียดของการทำงาน ก็จะเห็นองค์มรรคทั้งหลายเดินไขว่ ทำหน้าที่กันอยู่ หรือว่าบุคคลนั้น กำลังเดินตามมรรคอยู่ตลอดเวลา


พูดสรุปได้ว่า วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือ ภายนอกฝึกตามไตรสิกขาไปภาย ใน ก็เดินตามมรรคด้วย นี้คือความหมายของความที่ว่า เป็นการประสานขานรับกันทั้งระบบฝึกคนจากข้างนอก และระบบก้าวหน้าขององค์ธรรมที่อยู่ข้างใน


มองลึกลงไปอีกถึงพัฒนาการของบุคคล เมื่อพิจารณาตามหลักเท่าที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า
ถ้าปล่อยให้มนุษย์เจริญเติบโตอย่างเป็นไปเองตามธรรมชาติ ไม่อาศัยปัจจัยทางสังคมเข้าช่วยเสียเลย ก็จะมีเพียงอัจฉริยมนุษย์ไม่กี่ คนที่จะสามารถใช้โยนิโสมนสิการโดยลำพังตัว นำตนเข้าถึงชีวิตที่ดีงามสูงสุด


ในทางตรงข้าม การปล่อยให้มนุษย์เจริญเติบโตขึ้น ด้วยการหล่อหลอมของปัจจัยต่างๆ ทางสังคมอย่างเดียว ก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาเข้าถึงความดีสูงสุดที่เขาเองสามารถเข้าถึงได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูตนเอง..ออกมั้ย?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ดูตนเอง..ออกมั้ย?


ดูไงอ่ะ บอกหน่อยดิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังชอบบินเบือน...ใส่ร้ายคนอื่นอยู่อีกมั้ยละ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ยังชอบบินเบือน...ใส่ร้ายคนอื่นอยู่อีกมั้ยละ?


นี่ก็ไส่ร้ายอยู่นะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญามันจำได้...ไม่รู้ปัจจุบันเปลี่ยนแล้วรึยัง..ก็ช่วยไม่ได้ที่ต้องถาม..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ยังชอบบินเบือน...ใส่ร้ายคนอื่นอยู่อีกมั้ยละ?



ไม่ใช่ว่าเอาเอง เอาข่าวมาให้ดู ว่าไปตามข่าวนะ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สัญญามันจำได้...ไม่รู้ปัจจุบันเปลี่ยนแล้วรึยัง..ก็ช่วยไม่ได้ที่ต้องถาม..


กบเปลี่ยนหรือยัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มีอะไรใหม่ๆให้จำแทนอันเก่าๆ..มั้ยละ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สัญญามันจำได้...ไม่รู้ปัจจุบันเปลี่ยนแล้วรึยัง..ก็ช่วยไม่ได้ที่ต้องถาม..



กบยังถือศีลหาเมีย หารถอยู่ไหม หรือเปลี่ยนไปแล้ว :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มีอะไรใหม่ๆให้จำแทนอันเก่าๆ..มั้ยละ?



ไปศึกษาเรื่องศีลให้ถูกนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2017, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มีอะไรใหม่ๆให้จำแทนอันเก่าๆ..มั้ยละ?


บอกไม่เชื่อว่าเสียเวลาเปล่า ไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร