วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2017, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ฝึกศึกษาพัฒนาในศีล จะต้องเข้าใจหลักการ สาระสำคัญ และที่สำคัญยิ่ง คือ วัตถุประสงค์ของศีลเหล่านั้น ทั้งในส่วนรายละเอียดที่ต่างกัน และส่วนรวมสูงสุดที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะชื่อว่ามีความเข้าใจถูกต้อง ไม่งมงาย ปฏิบัติธรรมไม่ผิดพลาด และได้ผลจริง

ต่อจากลิงค์นี้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&p=411021

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2017, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิตและสังคม

หลักคำสอนในสิงคาลสูตร* (ที.ปา.11/172-206/194-207) ที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ให้เป็น คิหิวินัย * (ที.อ.3/167) คือ วินัยของคฤหัสถ์ หรือศีลสำหรับชาวบ้าน หรือศีลสำหรับประชาชน ดังสาระที่สรุปได้ ดังต่อไปนี้

หมวด ๑: ปลอดความชั่ว ๑๔ ประการ คือ

ก. ละกรรมกิเลส (ข้อเสื่อมเสียของความประพฤติ) ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ปาณาติบาต
๒ อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร
๔. มุสาวาท

ข. ไม่กระทำบาปกรรมโดย ๔ สถาน คือ ไม่ทำกรรมชั่วด้วยลุแก่
๑. ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะชอบ
๒. โทสาคติ - ลำเอียงเพราะชัง
๓. โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา
๔. ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว

ค. ไม่เสพอบายมุข (ช่องทางเสื่อมเสีย หรือหายหมดไป) แห่งโภคะ ๖ ประการ คือ (ในพระสูตรท่านแสดงโทษของอบายมุขแต่ละอย่างไว้ด้วย แต่ไม่นำมาลง เพราะเกรงจะยืดยาวมาก)
๑. ติดสุรา และของมึนเมา
๒. ติดเที่ยวกลางคืน
๓. ติดเที่ยวดูการเล่น
๔. ติดการพนัน
๕. ติดคบเพื่อนชั่ว
๖. เกียจคร้านการงาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2017, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวด ๒: (เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน คือ)

- รู้จักมิตรแท้ มิตรเทียม ซึ่งควรคบ และไม่ควรคบ ได้แก่

ก. มิตรเทียม ๔ จำพวก คือ
๑. คนปอกลอก
๒. คนดีแต่พูด
๓. คนหัวประจบ
๔. คนชวนฉิบหาย

ข. มิตรแท้ ๔ จำพวก คือ
๑. มิตรอุปการะ
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓. มิตรแนะนำประโยชน์
๔. มิตรมีน้ำใจ

- เก็บรักษาสะสมทรัพย์ เหมือนดังผึ้งขยันรวบรวมน้ำเกสรดอกไม้สร้างรัง หรือเหมือนตัวปลวก ก่อสร้างจอมปลวก แล้วพึงจัดสรรทรัพย์ใช้สอย โดยแบ่งเป็น ๔ ส่วน

ก. กินใช้ เลี้ยงดูคน และทำประโยชน์ ๑ ส่วน
ข. ทำทุนประกอบการงาน ๒ ส่วน
ค. เก็บไว้ใช้คราวจำเป็น ๑ ส่วน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2017, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวด ๓: ปกแผ่ทิศทั้ง ๖

@ ทิศ ๖ ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้องตามฐานะทั้ง ๖ คือ

๑. ก. บุตรธิดา บำรุงมารดาบิดาผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหน้า โดย
๑) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒) ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน
๓) ดำรงวงศ์สกุล
๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

ข. มารดาบิดา อนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้
๑) ห้ามกันจากความชั่ว
๒) ฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔) เป็นธุระในการมีคู่ครองที่สมควร
๕) มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส

๒. ก. ศิษย์ บำรุงครูอาจารย์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องขวา โดย
๑) ลุกรับ แสดงความเคารพ
๒) เข้าไปหา (เช่น ช่วยรับใช้ ปรึกษาซักถาม รับคำแนะนำ)
๓) ตั้งใจฟังและรู้จักฟัง
๔) ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
๕) เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ

ข. ครูอาจารย์ อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้
๑) แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี
๒) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓) สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔) ยกย่องให้ปรากฏในหมู่พวก
๕) สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (สอนให้เอาไปใช้งานเลี้ยงชีพได้จริง)

๓. ก. สามี บำรุงภรรยา ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหลัง โดย
๑) ยกย่องให้เกียรติสมฐานะภรรยา
๒) ไม่ดูหมิ่น
๓) ไม่นอกใจ
๔) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
๕) หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส

ข. ภรรยา อนุเคราะห์สามี ดังนี้
๑) จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
๒) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓) ไม่นอกใจ
๔) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
๕) ขยันช่างจัดช่างทำเอางานทุกอย่าง

๔. ก. บำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องซ้าย โดย
๑) เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒) พูดอย่างรักกัน
๓) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๔) มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
๕) ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน

ข. มิตรสหาย อนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
๑) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
๒) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓) ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔) ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕) นับถือตลอดวงศ์ญาติของมิตร

๕. ก. นาย บำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องล่าง โดย
๑) จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังเพศวัยและความสามารถ
๒) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
๓) จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
๔) มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
๕) ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส

ข. คนรับใช้และคนงาน อนุเคราะห์นาย ดังนี้
๑) เริ่มทำงานก่อน
๒) เลิกงานทีหลัง
๓) เอาแต่ของที่นายให้
๔) ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
๕) นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่

๖. ก. คฤหัสถ์ บำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องบน โดย
๑) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
๒) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
๓) คิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕) อุปถัมภ์ ด้วยปัจจัย ๔

ข. พระสงฆ์ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
๑) ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
๒) แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจงาม
๔) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
๕) ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๖) บอกทางสวรรค์ให้ (สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข)

สังคหวัตถุ ๔: บำเพ็ญหลักการสงเคราะห์ เพื่อยึดเหนี่ยวใจคนและประสานสังคม ๔ ประการ คือ
๑. ทาน - เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒ ปิยวาจา - พูดอย่างรักกัน
๓. อัตถจริยา - ทำประโยชน์แก่เขา
๔. สมานัตตตา - เอาตัวเข้าสมาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2017, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2017, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสัมมาอาชีวะ

ดังได้กล่าวแล้วว่า อาชีวะเป็นหลักการขั้นศีลที่มักถูกมองข้ามไปเสีย ในที่นี้จึงเห็นควรนำหลักคำสอนเกี่ยวกับอาชีวะมาแสดงไว้พอเป็นแนวทางของความเข้าใจ

ในด้านหลักการทั่วไป เรื่องอาชีวะมีเนื้อหาที่ควรแก่การวิจารณ์ และแสดงเหตุผลเป็นอันมาก ....ในที่นี้ไม่อาจบรรยายโดยพิสดารได้ จึงเพียงแต่กล่าวเป็นข้อสังเกตไว้

ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับหลักทั่วไปในเรืองอาชีวะ มีดังนี้

๑. พุทธศาสนามองเป้าหมายของอาชีวะ โดยมุ่งเน้นด้านเกณฑ์อย่างต่ำ ที่วัดด้วยความต้องการแห่งชีวิตของตน คือมุ่งให้ทุกคนมีปัจจัย ๔ พอเพียงที่จะเป็นอยู่ เป็นการถือเอาคนเป็นหลัก มิใช่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ความมีวัตถุพรั่งพร้อมบริบูรณ์ ซึ่งเป็นการถือเอาวัตถุเป็นหลัก

ความข้อนี้จะเห็นได้แม้ในหลักธรรมเกี่ยวกับการปกครอง เช่น กำหนดหน้าที่ของพระเจ้าจักรพรรดิข้อหนึ่งว่า เจือจานหรือเพิ่มทรัพย์ให้แก่ชนผู้ไร้ทรัพย์ หมายความว่า คอยดูแลไม่ให้มีคนขัดสนยากไร้ในแผ่นดิน

พูดอีกอย่างหนึ่ง ความสำเร็จในด้านอาชีวะ หรือเศรษฐกิจของผู้ปกครอง พึงวัดด้วยความไม่มีคนอดอยากยากไร้ มิใช่วัดด้วยการมีทรัพย์เต็มพระคลังหลวง หรือเต็มล้นอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง

เมื่อได้เกณฑ์อย่างต่ำนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่าท่านจะรังเกียจในเรื่องที่จะมีทรัพย์มากน้อยอีกเท่าใด หรือว่าจะมีเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะเนื่องด้วยปัจจัยอื่นๆ อีก เช่นในข้อ ๒ ที่จะกล่าวต่อไป

๒. ความมีปัจจัย ๔ พอแก่ความต้องของชีวิต หรือแม้มีวัตถุพรั่งพร้อมบริบูรณ์ก็ตาม มิใช่เป็นจุดหมายในตัวของมันเอง เพราะเป็นเพียงขั้นศีล เป็นเพียงวิธีการขั้นตอนหนึ่งสำหรับช่วยให้ก้าวต่อไปสู่จุดหมายที่สูงกว่า คือเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาคุณภาพจิตและพัฒนาปัญญา เพื่อความมีชีวิตดีงามและการประสบสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไป

คนบางคนมีความต้องการวัตถุเพียงเท่าที่พอเป็นอยู่ แล้วก็สามารถหันไปมุ่งเน้นด้านการคุณภาพจิตและปัญญา แต่บางคนยังไม่พร้อม ชีวิตของเขายังต้องขึ้นต่อวัตถุมากกว่า เมื่อการเป็นอยู่ของเขาไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น ก็ยังเป็นที่ยอมรับได้

นอกจากนั้น บางคนมีความโน้มเอียง ความถนัด และความสามารถในการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นได้ดี การมีทรัพย์มากมายของเขา ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์

๓. คำว่า สัมมาชีพ ในทางธรรม มีใช่หมายเพียงการใช้แรงงานให้เกิดผลผลิต แล้วได้รับปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีพเป็นผลตอบแทนมาโดยชอบธรรมเท่านั้น แต่หมายถึงการทำหน้าที่ ความประพฤติ หรือการดำรงตนอย่างถูกต้องอย่างหนึ่งอย่างใด ที่ทำให้เป็นผู้สมควรแก่การได้ปัจจัยบำรุงเลี้ยงชีวิตด้วย เช่น การที่พระภิกษุดำรงตนอยู่ในสมณธรรมแล้วได้รับปัจจัย ๔ ที่ชาวบ้านถวาย ก็เป็นสัมมาชีพของพระภิกษุ หรือการที่ลูกประพฤติตนเป็นลูกที่ดี สมควรแก่การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ก็พึงนับเป็นสัมมาชีพของลูก

อนึ่ง ในการวัดคุณค่าของแรงงาน แทนที่จะวัดเพียงด้วยการได้ผลผลิตเกิดขึ้นสนองความต้องการของมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นความต้องการด้วยตัณหา หรือความต้องการของชีวิตแท้จริง ก็ยังไม่แน่ ทางธรรมกลับมองที่ผลอันเกื้อกูล หรือไม่เกื้อกูล แก่ชีวิต แก่สังคม หรือการดำรงอยู่ด้วยดีของหมู่มนุษย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2017, 20:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
อ้างคำพูด:
 “จากสุดเขตแดนใต้ สู่สูงสุดแดนสยาม”
        และด้วยจำนวนโรงพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น เงินที่ต้องการจึงต้องมากขึ้นเช่นกัน กิจกรรมการวิ่งเพื่อระดมทุนครั้งนี.

http://www.komchadluek.net/news/ent/297880



เพื่อสังคม...ไม่รู้ศีลข้อไหน...แต่ได้ทำแล้ว

:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2017, 20:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณโอเคหรือเปล่า? ถ้าคนที่โดนแบบนี้เป็นแฟน หรือแม่ของเราเอง #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง

รูปภาพ

รูปภาพ

น่าสลดใจมากๆ ที่ยังมีคนคิดว่าการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหากับผู้หญิงแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่ผิด #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง

นี่คืออะไรกัน? ถ้าคนที่โดนแบบนี้ เป็นเพื่อน เป็นแฟน หรือเป็นแม่คุณเอง คุณจะโอเคใช่ไหม….ถึงได้กล้าไปทำแบบนี้กับผู้หญิงคนอื่น #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง

ได้ยินมาว่าบางคนก่อนคบกันก็ดูเป็นคนใจเย็น แต่พอคบแล้วกลายเป็นอีกคนนึงที่ชอบใช้ความรุนแรง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครจะทำร้ายผู้หญิงแบบนี้บ้าง? #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง

ติดตามได้เร็วๆ นี้


ศีลข้อไหน..

ดูที่คนถือป้าย...

แล้วคุณทำอะไรเพื่อสังคมยัง.. :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2017, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

อ้างคำพูด:
 “จากสุดเขตแดนใต้ สู่สูงสุดแดนสยาม”
        และด้วยจำนวนโรงพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น เงินที่ต้องการจึงต้องมากขึ้นเช่นกัน กิจกรรมการวิ่งเพื่อระดมทุนครั้งนี.

http://www.komchadluek.net/news/ent/297880



เพื่อสังคม...ไม่รู้ศีลข้อไหน...แต่ได้ทำแล้ว

:b17: :b17: :b17:


วิ่งประจานรัฐหรือเปล่า :b10: เงินภาษีที่เก็บไปเอาไปไหนหมด เอาไปซื้อคุณอาวุธมากไปไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2017, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
คุณโอเคหรือเปล่า? ถ้าคนที่โดนแบบนี้เป็นแฟน หรือแม่ของเราเอง #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง


น่าสลดใจมากๆ ที่ยังมีคนคิดว่าการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหากับผู้หญิงแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่ผิด #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง

นี่คืออะไรกัน? ถ้าคนที่โดนแบบนี้ เป็นเพื่อน เป็นแฟน หรือเป็นแม่คุณเอง คุณจะโอเคใช่ไหม….ถึงได้กล้าไปทำแบบนี้กับผู้หญิงคนอื่น #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง

ได้ยินมาว่าบางคนก่อนคบกันก็ดูเป็นคนใจเย็น แต่พอคบแล้วกลายเป็นอีกคนนึงที่ชอบใช้ความรุนแรง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครจะทำร้ายผู้หญิงแบบนี้บ้าง? #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง

ติดตามได้เร็วๆ นี้


ศีลข้อไหน..

ดูที่คนถือป้าย...

แล้วคุณทำอะไรเพื่อสังคมยัง.. :b32: :b32:


สังคมเป็นของคนทุกคน มิใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2017, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

จากความที่ว่ามานี้ มีข้อพิจารณาสืบเนื่องออกไป ๒ อย่าง คือ

ก. ว่าโดยทางธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงาน กับอาชีวะและผลตอบแทน แยกได้เป็น ๒ ประเภท

๑) สำหรับคนทั่วไปหรือชาวโลก การใช้แรงงานในหน้าที่ เป็นเรื่องของอาชีวะโดยตรง คือเป็นไปเพื่อได้ผลตอบแทนเป็นปัจจัยเครื่องยังชีพ ดังมองเห็นกันอยู่ตามปกติ

๒) สำหรับสมณะหรือผู้สละโลก การใช้แรงงานในหน้าที่ ไม่เป็นเรื่องของอาชีวะ ไม่มีความมุ่งหมายในด้านอาชีวะ หรือไม่เกี่ยวกับอาชีวะเลย คือ ไม่เป็นไปเพื่อได้ผลตอบแทนเป็นปัจจัยเครื่องยังชีพ
แต่เป็นไปเพื่อธรรมและเพื่อผดุงธรรมในโลก ถ้าเอาแรงงานที่พึงใช้หน้าที่มาใช้ในการแสวงหาปัจจัยเครื่องยังชีพ กลับถือเป็นมิจฉาชีพ และถ้าใช้แรงงานในหน้าที่เพื่อผลตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ดี ร้องขอปัจจัยเครื่องยังชีพโดยมิใช่เป็นความประสงค์ของผู้ให้ที่จะให้เอง ก็ดี ก็ถือว่าเป็นอาชีวะไม่บริสุทธิ์

โดยนัยนี้ นอกจากมิจฉาอาชีพอย่างชัดเจน คือการหลอกลวง การประจบเขากิน การเลียบเคียง การขู่เข็ญบีบเอา และการเอาลาภต่อลาภแล้ว* (ม.อุ. 14/275/186) การหาเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้เขา เช่น เป็นคนเดินข่าว ก็ดี ด้วยการประกอบศิลปะและวิชาชีพต่างๆ เช่น ดูฤกษ์ยามทำนายลักษณะ รักษาโรค ก็ดี ก็จัดเข้าเป็นมิจฉาชีพสำหรับพระภิกษุเหมือนกัน* ( เช่น สํ.ข.17/517/297 ฯลฯ)

ภิกษุไม่เจ็บไข้ ขอโภชนะอันประณีตหรือแม้แต่กับข้าวหรือข้าวสุกมา เพื่อตนเอง แล้วฉัน ก็เป็นวิบัติแห่งอาชีวะ* (วินย.3/517/341 ฯลฯ) เอาธรรมทำเป็นดังสินค้า ก็ผิดจรรยาบรรณนักบวช* (ขุ.อุ.25/134/179) แม้แต่เพียงแสดงธรรมโดยคิดให้เขาชอบแล้วอาจได้อะไรๆ ก็เป็นธรรมเทศนาที่ไม่บริสุทธิ์* (สํ.นิ.16/472/234) หรือเพียงแต่การให้ของเขามีลักษณะเป็นการให้ค่าตอบแทนก็ไม่เป็นการสมควร

ดังตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดกับพระพุทธเจ้า ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้า เสด็จไปบิณฑบาต ทรงเข้าไปหยุดประทับยืนในเขตไร่นาของพราหมณ์ผู้หนึ่ง พราหมณ์กราบทูลว่า "ข้าพเจ้าไถหว่านแล้วจึงได้กิน แม้ท่านก็จงไถหว่านแล้วบริโภคเถิด" พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบเป็นคำร้อยกรอง ชี้แจงการไถหว่านของพระองค์ ที่มีผลเป็นอมตะ

พราหมณ์เห็นชอบด้วย เกิดความเลื่อมใส จึงนำเอาอาหารเข้ามาถวาย พระพุทธเจ้าไม่รับ โดยตรัสว่า ไม่ควรบริโภคโภชนะที่ขับกล่อมได้มา* (ขุ.สุ.25/297/340)

ที่มาอันชอบธรรม และบริสุทธิ์แท้จริงของปัจจัยเครื่องยังชีพสำหรับพระภิกษุ ก็คือ การที่ชาวบ้านมองเห็นคุณค่าของธรรม และเห็นความจำเป็นที่จะต้องช่วยให้บุคคลผู้ทำหน้าที่ผดุงธรรม มีชีวิตอยู่และทำหน้าที่นั้นต่อไป จึงเมื่อรู้ความต้องการอาหารของสมณะเหล่านั้น อันแสดงออกด้วยการเที่ยวบิณฑบาตโดยสงบแล้ว ก็นำอาหารไปมอบด้วยความสมัครใจของตนเอง โดยที่ผู้ให้หรือผู้ถวายนั้นได้รับผล คือการชำระจิตใจของตนให้ผ่องใส และชักนำจิตของตนให้เป็นไปในทางสูงขึ้น ด้วยการที่ตระหนักว่า ตนได้ทำสิ่งที่ดีงาม ช่วยสนับสนุนผู้บำเพ็ญธรรม และมีส่วนร่วมในการผดุงธรรม เรียกสั้นๆว่า ทำบุญ หรือได้บุญ

ฝ่ายภิกษุผู้รับปัจจัยทานนั้น ก็ถูกกำกับด้วยหลักความประพฤติเกี่ยวกับปัจจัย ๔ อีกว่า พึงเป็นผู้มักน้อยสันโดษ รู้จักประมาณในการรับปัจจัยสี่เหล่านั้น อันตรงข้ามกับการปฏิบัติหน้าที่ เช่น การสั่งสอนแนะนำแสดงธรรม ซึ่งพึงกระทำให้มากเท่าที่จะทำได้ โดยมุ่งแต่ประโยชน์สุขของผู้รับคำสอนฝ่ายเดียว

โดยนัยนี้ หลักการกินให้น้อยที่สุด โดยทำงานให้มากที่สุด จึงเป็นไปได้สำหรับสมณะ โดยที่แรงงานในการทำหน้าที่ กับอาชีวะ ตั้งแต่คนละฐาน อย่างไม่มีจุดจบที่จะให้มีการยกเอาปริมาณแรงงานขึ้นเปรียบเทียบเพื่อเรียก ร้องสิทธิ์ในด้านอาชีวะได้เลย และเมื่อสมณะยังปฏิบัติอยู่ในหลักการนี้ ระบบของสังคมก็ไม่อาจครอบงำสมณะได้เช่นกัน

หลักการเท่าที่กล่าว มานี้ทั้งหมด มีความมุ่งหมายที่สำคัญ คือ การมีชีวิตแบบหนึ่งที่เป็นอิสระจากระบบทั้งหลายของสังคม หรือมีชุมชนอิสระชุมชนหนึ่งไว้ทำหน้าที่ด้านธรรม ที่ต้องการความบริสุทธิ์สิ้นเชิงแก่ชาวโลก

ข. มองในแง่ของธรรม การใช้แรงงานในทางผลิต ไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือบริการก็ตาม มีเป็นอันมากที่ไม่เป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชีวิตและสังคม นอกจากที่เป็นไปเพื่อทำลายโดยตรง เช่น ผลิตอาวุธ และยาเสพติด เป็นต้นแล้ว ก็ยังมีจำพวกที่ทำลายธรรมชาติแวดล้อมบ้าง ทำลายคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ทำลายคุณธรรมความดีงามและคุณภาพจิต เป็นต้นบ้าง ตลอดจนแรงงานในการป้องกันต่อต้านแก้ไขผลในทางทำลายของการผลิตเหล่านั้น แรงงานผลิตจำพวกนี้ ส่วนมากถือได้ว่าเป็นความสูญเปล่า และการผลิตนั้นก็มีค่าเป็นการทำลาย

ความเจริญในการผลิตอย่าง นี้ โน้มไปในทางที่ทำให้มนุษย์ต้องทุ่มเททุนและแรงงานอย่างมากมายยิ่งๆขึ้น ในด้านที่จะป้องกันแก้ไขผลในทางทำลายเหล่านั้น ที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ส่วนแรงงานที่เกื้อกูลแก่ชีวิตและสังคม ไม่จำเป็นต้องเป็นการผลิตในทางเศรษฐกิจ เช่น ชีวิตแบบอย่างทางธรรม ซึ่งส่งเสริมทั้งปัญญาและคุณธรรมของมนุษย์

แม้มองในแง่การผลผลิต บางทีคุณธรรมก็มีค่ามากกว่าแรงงานที่ใช้เพื่อการนั้น เช่น ภิกษุรูปหนึ่งปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า โดยมิได้ใช้แรงงานเพื่อการรักษาป่าเลย แต่เจ้าหน้าที่รักษาป่าอาจบอกว่า ท่านช่วยสงวนป่าไว้อย่างได้ผลดีกว่าพวกเขา ซึ่งใช้แรงงานเพื่อการนั้นโดยเฉพาะรวมกันหลายๆคน

ถ้าจะมุ่งถึง ประโยชน์สุขของมนุษย์ชาติอย่างแท้จริงแล้ว การมองดูแต่คุณค่าของการผลิตและการบริโภคเท่านั้นหาเพียงพอไม่ จะต้องมองดูคุณค่าของการไม่ผลิต และไม่บริโภคด้วย

เมื่อมองในแง่ธรรม บุคคลผู้หนึ่ง แม้มิได้ผลิตอะไรในแง่ของเศรษฐกิจ แต่ถ้าเขาบริโภคทรัพยากรของโลกให้สิ้นเปลืองไปน้อยที่สุด และมีชีวิตที่เกื้อกูลแก่สภาพแวดล้อมตามสมควร ก็ยังดีกว่าบุคคลอีกผู้หนึ่ง ซึ่งทำงานผลิตสิ่งที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตและสังคมเป็นอันมาก พร้อมทั้งบริโภคทรัพยากรของโลกสิ้นเปลืองไปอย่างมากมาย แต่ดูเหมือนว่า ลัทธิเศรษฐกิจทั้งหลายจะยกย่องบุคคลหลังที่ผลิตและบริโภคมาก (ทำลายมาก) ยิ่งกว่าบุคคลแรกที่ผลิตและบริโภคน้อย (ทำลายน้อย)

เป็นการสมควรหรือไม่ ที่จะกล่าวถึงหน้าที่ในการผลิตของคน โดยไม่พิจารณาถึงด้านบริโภคว่าเขาทำความสิ้นเปลืองแก่ทรัพยากรมากหรือน้อย เพียงใด และการมุ่งเน้นหน้าที่ในการผลิตนั้น เป็นการเกื้อกูลแก่ชีวิต และสังคมแท้จริงหรือไม่

การที่เศรษฐศาสตร์สนใจเฉพาะแต่สิ่งที่ คำนวณนับกำหนดเป็นเป็นตัวเลขได้ และปริมาณที่เพิ่มพูนทางวัตถุด้วยถือตนว่าเป็นจำพวกวิทยาศาสตร์นั้น ก็จะต้องให้เศรษฐศาสตร์ และลัทธิเศรษฐกิจทั้งหลายเท่าที่มีอยู่ ยอมรับด้วยถึงความคับแคบ ไม่เพียงพอ และความไม่สมบูรณ์ของตน ในการที่จะแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่เหนือศาสตร์

การยอมรับความจริงเช่นนี้แหละ จะเป็นความดีงาม และความสมบูรณ์แห่งประโยชน์ของเศรษฐศาสตร์และลัทธิเศรษฐกิจเหล่านั้น

๔. ดังได้กล่าวแล้ว ทางธรรมไม่สู้สนใจแง่ที่ว่าใครจะมีทรัพย์มากน้อยเท่าใด คือไม่ถือเอาการมีทรัพย์มากหรือน้อยเป็นเกณฑ์วัดความชั่วหรือดี และ การถือเอาการมีทรัพย์เป็นเพียงวิถีไปสู่จุดหมายอื่น มิใช่เป็นจุดหมายในตัวมันเอง การที่จะสนับสนุนความมีทรัพย์หรือไม่ จึงอยู่ที่การปฏิบัติเพื่อจุดหมาย

ดังนั้น จุดที่ธรรมสนใจต่อทรัพย์ จึงมี ๒ ตอน คือ วิธีการที่จะได้มาซึ่งทรัพย์ว่า ได้มาอย่างไร และการปฏิบัติต่อทรัพย์ ที่มีหรือได้มาแล้วว่า จะใช้มันอย่างไร

พูดสั้นๆ ว่าไม่เน้นการมีทรัพย์ แต่เน้นการแสวงหา และการใช้จ่ายทรัพย์ การมีทรัพย์ หรือได้ทรัพย์มาแล้วเก็บสะสมไว้เฉยๆ ท่านถือว่าเป็นความชั่วอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับการแสวงหาทรัพย์ในทางที่ผิด และใช้ทรัพย์ในทางที่เกิดโทษ

โดยนัยนี้ ความชั่วร้ายที่เกี่ยวกับทรัพย์สมบัติในขั้นต้นจึงมี ๓ อย่าง คือ การแสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม การครอบครองทรัพย์ไว้โดยไม่ทำให้เกิดประโยชน์ และการใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่เป็นโทษ

อย่างไรก็ดี แม้จะแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม และใช้จ่ายทรัพย์ให้เป็นประโยชน์แล้ว ก็ยังหาชื่อว่าเป็นการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์ที่ถูกต้องทางธรรมโดยสมบูรณ์ไม่ ทั้งนี้เพราะทางธรรมเน้นคุณค่าทางจิตใจ และทางปัญญาด้วย คือการวางใจวางท่าทีต่อทรัพย์นั้น ว่าจะต้องเป็นไปด้วยปัญญาที่เรียกว่า “นิสสรณะปัญญา”

นิสสรณะปัญญา คือความรู้เท่าทันเข้าใจคุณค่าหรือประโยชน์ที่แท้จริงของทรัพย์ และขอบเขตแห่งคุณค่าหรือประโยชน์นั้น มองเห็นตระหนักถึงช่องทางที่ทรัพย์จะเป็นคุณและเป็นโทษ มีจิตใจเป็นอิสระไม่เป็นทาส แต่เป็นนายของทรัพย์ ให้ทรัพย์มี เพื่อรับใช้มนุษย์ เป็นอุปกรณ์สำหรับทำประโยชน์และสิงดีงาม ช่วยผ่อนเบาทุกข์ ทำให้มีความสุข มิใช่กลายเป็นเหตุเพิ่มความทุกข์ ทำให้เสียคุณภาพจิต ทำลายคุณค่าของความเป็นมนุษย์ หรือทำให้มนุษย์ต่อมนุษย์แปลกหน้ากัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2017, 07:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:

อ้างคำพูด:
 “จากสุดเขตแดนใต้ สู่สูงสุดแดนสยาม”
        และด้วยจำนวนโรงพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น เงินที่ต้องการจึงต้องมากขึ้นเช่นกัน กิจกรรมการวิ่งเพื่อระดมทุนครั้งนี.

http://www.komchadluek.net/news/ent/297880



เพื่อสังคม...ไม่รู้ศีลข้อไหน...แต่ได้ทำแล้ว

:b17: :b17: :b17:


วิ่งประจานรัฐหรือเปล่า :b10: เงินภาษีที่เก็บไปเอาไปไหนหมด เอาไปซื้อคุณอาวุธมากไปไหม


รัฐ..มาจากสังคม...สังคมมาจากคน...

รัฐ...ไม่มีชีวิต..
สังคม..ไม่มีชีวิต...
คน....มีชีวิต....

วิ่งประจานรัฐหรือเปล่า?...ก็ถูกนะ...
แต่จะให้ถูกต้องตรงประเด็นคือ..วิ่งประจานคนในสังคม


แต่เก่าก่อน...คนทุจริตคิดไม่ซื่อต่อสังคมคนส่วนใหญ่..นั้น..ส่วนใหญ่จะอยู่นอกวงการ..การศึกษา..การสาธารณสุข...เป็นโอเอซีสให้ชื้นใจ...ขึ้นชื่อว่า..หมอ..ว่าครู..ยกมือไหว้อย่างสนิทใจ

แต่ตอนนี้...2 วงนี้...เป็นอย่างไรละ?...

เรื่องทั้งหมดมันเกิดจากคน...ต้องยอมรับอย่างซื่อตรงว่า..รัฐ..สังคมเป็นภาพสะท้อนมาจากคนในสังคม

คนที่มีขันธ์ 5...ที่ทำงานไปตามตัญหา...

ยามใดที่รัฐชั่ว..สังคมทราม..ก็ให้รู้ซะว่า..ตอนนี้..คนส่วนใหญ่ในสังคมมีใจเป็นอกุศลมากกว่ากุศล
ศีลจะมีกี่ข้อ..กฎระเบียบจะเขียนใว้มากมายยังงัย...เมื่ออกุุศลครอบงำแล้ว...คนมันก็ไม่ทำ

ซึ่งเราต้องยอมรับตรงนี้...จะได้แก้ปัญหาได้ตรงประเด็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2017, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยเหตุนี้ ในการจำแนกผู้ครองเรือน หรือชาวบ้าน (กามโภคี) เป็น ๑๐ ประเภท พระพุทธเจ้าทรงแสดงผู้ครองเรือนประเภทที่ ๑๐ ว่าเป็นผู้ครองเรือนที่ประเสริฐเลิศสูงสุด จากคุณสมบัติของผู้ครองเรือนอย่างเลิศนั้น จะเห็นหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์ ที่ถูกต้องตามหลักธรรม สรุปได้ดังนี้ (องฺ.ทสก.24/91/194)

๑) การหา แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ข่มเหงเบียดเบียน
๒) การใช้ (ขั้นนี้มีการวางแผน ซึ่งถือว่ารวมทั้งการเก็บรักษา และการเป็นอยู่พอดีไว้ด้วยในตัว)
ก. เลี้ยงตน (และคนที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ) ให้เป็นสุข
ข. เผื่อแผ่แบ่งปัน
ค. ใช้ทรัพย์ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์เป็นบุญ (รวมทั้งใช้เผยแผ่ส่งเสริมธรรม)

๓. การมีปัญญาที่ทำให้เป็นอิสระ ไม่ลุ่มหลงหมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์อย่างรู้เท่าทันเห็นคุณ โทษ มีจิตใจเป็นอิสระด้วยนิสสรณปัญญา และอาศัยทรัพย์ได้โอกาสที่จะพัฒนาจิตปัญญายิ่งๆขึ้นไป

ขอยกพุทธพจน์ที่ตรัสสอนในเรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์มาดูเป็นตัวอย่าง

“ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก สามจำพวกไหน ? คือคนตาบอด คนตาเดียว คนสองตา”

“บุคคลตาบอดเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน กับทั้งไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด

“บุคคลตาเดียวเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่ไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว

“บุคคลสองตาเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน อีกทั้งมีดวงตาชนิดที่ช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่าบุคคลสองตา

“คนตาบอด ตาเสีย มีแต่กาลีเคราะห์ร้ายทั้งสองทาง คือโภคทรัพย์อย่างที่ว่า ก็ไม่มี คุณความดี ก็ไม่ทำ

“อีกคนหนึ่ง ที่เรียกว่าตาเดียว เที่ยวเสวงหาแต่ทรัพย์ถูกธรรมก็เอา ผิดธรรมก็เอา ไม่ว่าจะเป็นการลักขโมยคดโกง หรือโกหกหลอกลวงก็ได้ เขาเป็นคนเสวยกามที่ฉลาดสะสมทรัพย์ แต่จากนี้ ไปนรก คนตาเดียวย่อมเดือดร้อน

“ส่วนคนที่เรียกว่าสองตา เป็นคนประเสริฐ ย่อมแบ่งปันทรัพย์ ซึ่งได้มาด้วยความขยัน จากกองโภคะที่ได้มาโดยชอบธรรม ออกเผือแผ่ มีความคิดสูง ประเสริฐ มีจิตใจแน่วแน่ ย่อมเข้าถึงสถานะดีงาม ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก

“พึงหลีกเว้นคนตาบอดและคนตาเดียวเสียให้ไกล ควรคบหาแต่คนสองตา ผู้ประเสริฐ” (องฺ.ติก.20/468/162)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2017, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:

อ้างคำพูด:
 “จากสุดเขตแดนใต้ สู่สูงสุดแดนสยาม”
        และด้วยจำนวนโรงพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น เงินที่ต้องการจึงต้องมากขึ้นเช่นกัน กิจกรรมการวิ่งเพื่อระดมทุนครั้งนี.

http://www.komchadluek.net/news/ent/297880



เพื่อสังคม...ไม่รู้ศีลข้อไหน...แต่ได้ทำแล้ว

:b17: :b17: :b17:


วิ่งประจานรัฐหรือเปล่า :b10: เงินภาษีที่เก็บไปเอาไปไหนหมด เอาไปซื้อคุณอาวุธมากไปไหม


รัฐ..มาจากสังคม...สังคมมาจากคน...

รัฐ...ไม่มีชีวิต..
สังคม..ไม่มีชีวิต...
คน....มีชีวิต....

วิ่งประจานรัฐหรือเปล่า?...ก็ถูกนะ...
แต่จะให้ถูกต้องตรงประเด็นคือ..วิ่งประจานคนในสังคม


แต่เก่าก่อน...คนทุจริตคิดไม่ซื่อต่อสังคมคนส่วนใหญ่..นั้น..ส่วนใหญ่จะอยู่นอกวงการ..การศึกษา..การสาธารณสุข...เป็นโอเอซีสให้ชื้นใจ...ขึ้นชื่อว่า..หมอ..ว่าครู..ยกมือไหว้อย่างสนิทใจ

แต่ตอนนี้...2 วงนี้...เป็นอย่างไรละ?...

เรื่องทั้งหมดมันเกิดจากคน...ต้องยอมรับอย่างซื่อตรงว่า..รัฐ..สังคมเป็นภาพสะท้อนมาจากคนในสังคม

คนที่มีขันธ์ 5...ที่ทำงานไปตามตัญหา...

ยามใดที่รัฐชั่ว..สังคมทราม..ก็ให้รู้ซะว่า..ตอนนี้..คนส่วนใหญ่ในสังคมมีใจเป็นอกุศลมากกว่ากุศล
ศีลจะมีกี่ข้อ..กฎระเบียบจะเขียนใว้มากมายยังงัย...เมื่ออกุุศลครอบงำแล้ว...คนมันก็ไม่ทำ

ซึ่งเราต้องยอมรับตรงนี้...จะได้แก้ปัญหาได้ตรงประเด็น


คนเป็นธรรมะ คือเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง กบยอมรับไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2017, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
 “จากสุดเขตแดนใต้ สู่สูงสุดแดนสยาม”
        และด้วยจำนวนโรงพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น เงินที่ต้องการจึงต้องมากขึ้นเช่นกัน กิจกรรมการวิ่งเพื่อระดมทุนครั้งนี.

http://www.komchadluek.net/news/ent/297880

เพื่อสังคม...ไม่รู้ศีลข้อไหน...แต่ได้ทำแล้ว




หมอดังฝากถึง!! “ตูน” วิ่งอีกล้านก้าวก็แก้ไขปัญหาโรงพยาบาลไม่ได้…ไม่ใช่หน้าที่คุณ

https://helen.in.th/entertainment/24681

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 66 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร