วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 88, 89, 90, 91, 92, 93, 94, 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2017, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่างเช่น การเสพผัสสะผ่านทางหู ได้แก่การฟังเพลง ไล่ตั้งแต่เพลงในแนวกระตุ้นความมันส์ในแนว heavy metal หรือกระตุ้นความสนุกสนานเพลิดเพลินในแนว Pop Dance หรือ Easy Listening .. :b46: :b47: :b46:

ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดเลยนะครับว่า ความสุขที่มาจากความมันส์ ความสนุกสนาน หรือความตื่นเต้นเพลิดเพลินแห่งจิตอันเนื่องมาจากเพลงในแนวเหล่านี้ จะตรงข้าม และเป็นตัวทำลายความสุข อันเนื่องมาจากความสงบสุขความเบิกบานแห่งจิต ด้วยเหตุผลที่ว่า เพลงในแนวเหล่านี้ เมื่อฟังแล้วก็จะทำให้จิตกระเพื่อมและส่งออกนอก ไม่สามารถทำสติสัมปชัญญะและสมาธิลงได้ง่ายๆ :b54: :b48: :b47:

หรือแนวเพลงที่ปราณีตขึ้นมาหน่อย คือเพลงในแนวผ่อนคลายอย่างเช่น เพลงบรรเลง เพลงคลาสสิก รวมไปถึงบทสวดมนต์ที่เป็นทำนองเพลง ก็ยังมีส่วนในการทำลายสติสัมปชัญญะ โดยเฉพาะสมาธิได้อยู่ดี :b51: :b50: :b49:

โดยเพลงเหล่านี้ เมื่อฟังจนติดหูแล้ว จะฝังตัวลงไปเป็นความจำได้หมายรู้ หรือตัวสัญญา ซึ่งจะผุดเกิดขึ้นมาได้เองเวลาผู้ปฏิบัติฝึกสมาธิ ทำให้เวลาฝึกสมาธิ จิตจะซัดส่ายไม่ตั้งมั่นอันเนื่องจากมีสัญญาของเพลงเหล่านี้ผุดขึ้นมาในหัว ซึ่งถ้าเราสังเกตดีๆ ก็จะเห็นจิตร้องเพลงของเขาได้เองระหว่างทำสมาธิ หรือแม้แต่ระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:

และเนื่องจากเพลงเหล่านี้ จะมีเนื้อเพลงหรือทำนองเพลงที่ติดหู ซึ่งเมื่อผุดเกิดขึ้นมาในสมาธิหรือในชีวิตประจำวันแล้ว ก็จะวนเวียนมาหลอกหลอน ทำให้เอาออกจากหัวได้ยากกว่าสัญญาประเภทอื่นนะครับ ซึ่งจะเป็นเหตุให้การทำสมาธิและความสุขสงบเบิกบานอันเนื่องมาจากสติสัมปชัญญะและสมาธินั้น เสียไป :b47: :b48: :b49:

และตามที่เคยเล่าเอาไว้แล้วนะครับว่า แม้กระทั่งการฟังหรือการสวดมนต์ที่ประกอบด้วยทำนองเพลงตรงนี้ พระบรมครูยังทรงชี้ให้เห็นถึงโทษอันเป็นเหตุให้สมาธิไม่ตั้งมั่น นั่นคือ "สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป" ไม่ว่าผู้ฟังหรือผู้สวดก็ตาม พร้อมกำหนดเป็นข้อห้ามในพระวินัยของพระภิกษุโดยตรงเลยทีเดียว :b48: :b47: :b46:

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=152&Z=173
ดูขยายความได้ในพระอรรถกถา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=1


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 02 ต.ค. 2017, 22:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2017, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนการเสพผัสสะทางโลกด้วยอายตนะอื่นๆก็เช่นเดียวกันกับการเสพผัสสะทางโลกด้วยหูนะครับ ล้วนแล้วแต่ทำให้ความสงบสุขและความเบิกบานแห่งจิตอันเนื่องมาจากสติสัมปชัญญะและสมาธินั้น เสียไป ไม่มากก็น้อย :b47: :b48: :b49:

โดยการเสพผัสสะด้วยอายตนะอื่นๆจนติดเพลินแล้วนั้น จะทำให้เกิดความอยากเสพขึ้นมาอีกอยู่เนืองๆ และเจ้าความอยากเสพ หรือตัวโลภะ/ราคะนี้เอง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะคอยเฝ้าเข้ามาวนเวียนรบกวนจิตใจ จนทำให้สติสัมปชัญญะและสมาธิตั้งอยู่ไม่ได้ :b48: :b47: :b46:

และเมื่อสติสัมปชัญญะและสมาธิตั้งอยู่ไม่ได้ ความสุขสงบเบิกบานแห่งจิตก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน เนื่องเพราะจิตนั้น ถูกไฟของโลภะ/ราคะเข้ากลุ้มรุมเสียแล้ว
:b44: :b43: :b49:

แต่ในระดับของโสดาบันเข้าสู่สกทาคามีนั้น ความเพลิดเพลินจากการเสพผัสสะในทางโลกนั้นยังมีอยู่ เพียงแต่เป็นการเสพในระดับที่ไม่ผิดศีล แต่ผู้ปฏิบัติก็ควรรู้เท่าทันความติดเพลินเหล่านั้น และหมั่นสังเกตและเปรียบเทียบความสุขความเพลิดเพลินอันเป็นของชั่วคราวจากการเสพผัสสะทางโลก กับความสงบสุขความเบิกบานที่ยั่งยืนกว่าอันเนื่องมาจากความมีสติสัมปชัญญะและสมาธิ เพื่อเอาไว้สอนใจตนเองให้รู้ว่า :b46: :b47: :b46:

ความสุขใดที่ถูกกิเลสตัณหาผลักดันให้ต้องลำบากดิ้นรนไปไขว่คว้ามา .. กับความสุขใดที่เพียงแค่กลับมาอยู่กับกายใจก็สามารถเกิดขึ้นได้แล้ว :b51: :b50: :b49:

ความสุขใดเมื่อได้เสพเหมือนเดิมซ้ำๆกันแล้ว (เช่น ทานอาหารอร่อยชนิดเดิมซ้ำๆกัน ฟังเพลงเพราะเพลงเดิมซ้ำๆกัน ดูหนังที่สนุกเรื่องเดิมซ้ำๆกัน ฯลฯ) ก็จะเริ่มเกิดความเบื่อในรสของผัสสะที่ซ้ำๆเดิมนั้น จนต้องพลิกผันให้การเสพนั้น เปลี่ยนแปลง หรือพิศดารขึ้นไปเรื่อยๆ .. กับความสุขใดที่ยิ่งได้เสพซ้ำๆกันแล้วก็ยิ่งเบิกบานขึ้นไปได้เรื่อยๆ :b47: :b46: :b42:

และความสุขใดที่เป็นของหยาบของชั่วคราว .. กับความสุขใดที่เป็นของปราณีตและยั่งยืนกว่า นะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2017, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖) ผู้ปฏิบัติจะมี ความโกรธ ความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ความรำคาญ ความกังวลใจ ความกลัว (โทสะ) น้อยลง ตามระดับของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้น :b46: :b47: :b46:

อธิบายเหตุผลตามสภาวะที่เกิดขึ้นได้ว่า ผู้ที่อบรมสติสัมปชัญญะและสมาธิมาดีแล้ว จะมีระบบตรวจจับความขัดข้อง ความขัดเคือง อันเนื่องมาจากการกระทบกระทั่งแห่งจิต (ปฏิฆะ) ที่ดีขึ้น :b50: :b50: :b49: :b48:

พูดในเชิงเปรียบเทียบได้ว่า ระบบ Sensor สำหรับตรวจจับความขัดข้องแห่งจิตสำหรับผู้ปฏิบัตินั้น ดีขึ้นนั่นเอง ทำให้ผู้ปฏิบัตินั้น สามารถมีสติระลึกรู้ความกระทบกระทั่งแห่งจิตได้เร็วกว่าคนที่ไม่ได้ฝึกมา :b48: :b49: :b51:

และการตรวจจับการกระทบกระทั่งแห่งจิตได้เร็วนี้เอง ทำให้เกิดการตัดวงจรแห่งการปรุงแต่งความโกรธ ความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ความรำคาญ ความกังวลใจ หรือความกลัวลงไปได้ ก่อนที่การปรุงแต่งนั้น จะลากความโกรธ ความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ความรำคาญ ความกังวลใจ หรือความกลัว ที่มีไม่มากในตอนเริ่มต้น ให้ก่อตัวจนมีกำลังมากขึ้น กระทั่งทำให้ผู้นั้น สั่งการกระทำต่อในแง่ความรุนแรงจนผิดศีลทางกายและ/หรือวาจาไปได้นะครับ :b1: :b46: :b39:

เปรียบเทียบได้กับการที่เราเห็นไฟไหม้ในระยะเริ่มแรกซึ่งเป็นการไหม้แค่เพียงเปลวไฟเล็กๆขนาดก้นบุหรี่หรือหัวไม่ขีดไฟ ซึ่งถ้าเราสามารถตรวจจับการไหม้นั้นได้ไวตั้งแต่เริ่มต้น การดับก็จะทำได้ง่าย ไม่เปลืองทรัพยากรมากในการดับไฟ :b47: :b48: :b42:

แต่ถ้าเราไม่สามารถตรวจจับไฟนั้นได้ จนกระทั่งไฟในใจนั้นได้เชื้อเพลิงเพิ่ม (คือการปรุงแต่งโทสะอันเนื่องจากจิตไม่ยอมปล่อยเหตุแห่งโทสะ) ทำให้เกิดการลุกลามต่อไปจนกองไฟนั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คราวนี้การดับไฟนั้นก็จะต้องใช้ทรัพยากรและความพยายามมากมายกว่ากันเยอะเลยนะครับ และกว่าจะดับลงไปได้ ก็อาจจะเกิดความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้ไปเสียแล้ว :b50: :b49: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2017, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่างที่เห็นกันได้บ่อยๆในชีวิตประจำวัน เช่น ขณะรถติดเป็นแถวยาว หากมีใครสักคนขับรถเบียดแทรกเข้ามาในช่องทางของเราด้วยอาการที่ไม่เป็นมิตร เช่น ไม่เปิดไฟเลี้ยวขอเข้า แถมยังขับจี้ติดๆคันหน้าเพื่อที่จะแทรกเข้ามาในช่องทางของเราให้ได้ :b48: :b47: :b48:

สำหรับบุคคลที่ไม่ได้ฝึกสติสัมปชัญญะมาดีแล้ว จากผัสสะที่เกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดความขุ่นข้องขึ้นในจิต จนต้องสั่งการกระทำต่อให้ขับรถจี้ติดคันข้างหน้าเพื่อหยุดยั้งการเบียดแทรกนั้น :b51: :b50: :b44:

และถ้าเหตุการณ์ยังดำเนินไปเรื่อยๆแบบไม่มีใครยอมใคร สุดท้ายก็อาจจะเกิดการเฉี่ยวชน จนต้องจอดรถลงมาโต้เถียง หรือถึงกับลงไม้ลงมือจนบาดเจ็บกันไปข้าง หรือถ้ามีใครถ่ายคลิปเอาไว้ได้ ก็อาจจะได้ออกอากาศเผยแพร่ผลของโทสะของทั้งคู่ ให้ได้อับอายกันไปทั่วประเทศก็ได้นะครับ :b1: :b46: :b39:

แต่สำหรับผู้ที่ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิมาดีแล้ว การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะไม่เป็นไปตามอารมณ์โกรธ แต่จะเป็นไปด้วยเมตตาปัญญามากกว่า เช่น อาจจะให้ทางปล่อยให้อีกคันแทรกได้ไป โดยคิดว่าเป็นการเผื่อแผ่ผู้ร่วมทาง หรือถ้าเห็นว่าการกระทำนั้นไม่ถูกต้อง ก็อาจจะให้ทางแต่ทำการอัดคลิปไว้เผยแพร่ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่างนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2017, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกสถานการณ์หนึ่งที่เป็นการกระทบกระทั่งแห่งจิต และโดยมากมักจะภาวนากันไม่ค่อยลง ก็คือเมื่อผู้ปฏิบัติเกิดความกลัว ความกลุ้มใจ ความกังวลใจขึ้นมา ซึ่งอาจจะมาจากการงานที่มีเหตุให้มีโอกาสที่จะไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง หรือมีโอกาสที่จะทำไม่เสร็จตามกำหนดที่วางเอาไว้ หรือตนเองหรือบุคคลอันเป็นที่รักเป็นโรคร้ายที่มีโอกาสรักษาไม่หาย ฯลฯ ทำให้เกิดความกลุ้ม กลัว กังวลขึ้นมาในจิต อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอน และเหตุแห่งความไม่แน่นอนนั้น ยังปรากฏอยู่ :b50: :b49: :b48:

ซึ่งสำหรับบุคคลโดยทั่วไปแล้ว ความทุกข์ ความหวาดกลัว ความกังวล ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ประเภทนี้นั้น จะมาจากสาเหตุใหญ่สาเหตุเดียว นั่นก็คือ อาการ "คิดไปเอง" หรือ "มโนไปเอง" ล่วงหน้าถึงผลลัพท์ในเชิงลบ ของสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนั้น นั่นเอง :b47: :b46: :b47:

เช่น ถ้าเป็นเรื่องการงาน ผู้ที่ตกอยู่ในความกังวลนั้น ก็จะ "คิด" หรือ "มโน" ไปเองว่า งานนั้นจะไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง หรือเสร็จไม่ทันตามกำหนด ทำให้ถูกตำหนิ ถูกต่อว่า ถูกตัด KPI ถูกตัดเงินเดือน ฯลฯ ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้ ยังเป็นเรื่องของอนาคต ยังไม่เกิดขึ้นมาเลยสักนิด :b49: :b43: :b44:

หรือในทางกลับกัน อาจเกิดผลที่ดีในทางตรงกันข้ามก็ได้ แต่คนเราส่วนใหญ่ ก็มักจะมโนไปในทางที่เป็นลบ จนตัวเองกังวลจนเป็นทุกข์ได้อยู่เรื่อย :b51: :b50: :b49:

หรือถ้าเป็นเรื่องสุขภาพของตนหรือของบุคคลอันเป็นที่รัก ผู้ที่ตกอยู่ในความกังวลนั้น ก็จะ "คิด" หรือ "มโน" ไปเองว่า ความเสื่อมไปของสังขารนั้นอาจจะรักษาไม่หาย อาการอาจจะทรุดลงจนทรมานมากขึ้น หรือถึงกับตายจากไปก็เป็นได้ ฯลฯ ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้ ยังเป็นเรื่องของอนาคต ยังไม่เกิดขึ้นมาเลยสักนิด :b55: :b54: :b49:

หรือในทางกลับกัน อาจเกิดผลที่ดีในทางตรงกันข้ามก็ได้ แต่คนเราส่วนใหญ่ ก็มักจะมโนไปในทางที่เป็นลบ จนตัวเองกังวลจนเป็นทุกข์ได้อยู่เรื่อย :b49: :b48: :b47:

และนี่เอง คือสิ่งที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า คนเรานั้น มักจะเป็นทุกข์อันเนื่องมาจากความคิด คือคิดฟุ้งปรุงแต่ง มโนกันไปเองในทางลบถึงเรื่องที่ยังไม่เกิด ยิ่งคิดฟุ้งปรุงแต่ง ยิ่งมโนมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งเครียด ยิ่งกลัว ยิ่งกลุ้ม ยิ่งกังวล และยิ่งเป็นทุกข์กันมากขึ้นเท่านั้น :b47: :b48: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2017, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่สำหรับผู้ที่ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิมาดีแล้ว โดยเฉพาะการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้ใจ นั่นคือการรู้เท่าทันในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของความคิด (วิตก) จนถึงการรู้เท่าทันในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ในต้นรากของความคิด (อันได้แก่เวทนาและสัญญา) :b49: :b48: :b47:

ก็จะสามารถรู้เท่าทันในการเกิดขึ้นของสาเหตุแห่งความเครียด ความกลัว ความกลุ้มใจ ความกังวลใจนั้น (ซึ่งก็คือความคิด ที่เจือไปด้วยตัณหา อยากมีอยากเป็น อยากให้เกิดขึ้น (ภวตัณหา) หรือไม่อยากมีไม่อยากเป็น ไม่อยากให้เกิดขึ้น (วิภวตัณหา)) :b47: :b48: :b49:

และเมื่อรู้เท่าทันในสาเหตุแห่งความเครียด ความกลัว ความกลุ้มใจ ความกังวลใจนั้นได้ ด้วยจิตที่ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิด้วยการรู้ทันใจตนเองมาดีแล้ว ก็จะเห็นในการตั้งอยู่ และดับลงไปของความคิดได้ไว ทำให้ความคิดไปในทางลบของผู้ปฏิบัตินั้น ดับลงไปได้ไว ไม่ก่อร่างสร้างตัวจนเป็นความคิดฟุ้งซ่าน จนเกิดเป็นความจำได้หมายรู้ที่ซับซ้อน อันเกิดจากความคิดฟุ้งปรุงแต่งที่เจือด้วยกิเลสและตัณหาที่มากยิ่งขึ้นไปอีก (ปปัญจสัญญา) :b49: :b50: :b51:

ดังนั้น ความเครียด ความกลัว ความกลุ้มใจ ความกังวลใจ หรือความทุกข์ใจที่ก่อกำเนิดจากความคิดฟุ้งปรุงแต่ง สำหรับผู้ปฏิบัติด้วยการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิฝ่านการรู้ทันใจตนเองมาดีแล้วนั้น ก็จะมีทั้งระยะเวลา ความถี่ และดีกรีแห่งความเข้มข้นที่น้อยลงกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝึกมานะครับ :b1: :b46: :b39:

ดังนั้น สำหรับผู้ที่ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิมาดีแล้วนั้น ก็จะมีโทสะ คือความโกรธ ความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ความรำคาญใจ ความกังวลใจ ความกลัว ฯลฯ น้อยลง :b49: :b50: :b51:

โดยเฉพาะในระดับสกทาคามีแล้ว ถึงแม้จะยังมีจุดเดือดยู่ (คือยังมีโทสะอันเนื่องมาจากปฏิฆะสังโยชน์อยู่) แต่จุดเดือดนั้นก็อยู่สูงมาก จากจิตใจที่อ่อนเหลวเหมือนน้ำในระดับปุถุชน ซึ่งแค่ได้รับความร้อนหรือปฏิฆผัสสะมากระตุ้นเพียงแค่ ๑๐๐ องศาก็เดือนพลุ่งพล่านกลายเป็นไอได้แล้ว กลายมาเป็นจิตใจที่ทนทานเหมือนโลหะ คือต้องได้รับปฏิฆผัสสะเป็น ๑,๐๐๐ องศาถึงค่อยเดือด และถึงเดือดก็จะเดือดไม่นาน ไม่คิดฟุ้งปรุงแต่งจนเดือดมากขึ้น ทำให้โทสะของผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะในระดับสกทาคามีนั้น ลดลงทั้งความถี่ ระยะเวลา และความรุนแรงที่เกิดขึ้นนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2017, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๗) ผู้ปฏิบัติจะมี ความหลง (โมหะ) น้อยลง ตามระดับของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้น :b49: :b47: :b46:

อธิบายเหตุผลตามสภาวะที่เกิดขึ้นได้ว่า ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สติ + ปัญญาสัมปชัญญะ) ได้อย่างจดจ่อต่อเนื่องยาวนาน (สมาธิ) นั้น เป็นองค์ธรรมคู่ปรับกับความหลง ความไม่รู้ชัดกายใจตามความเป็นจริง หรือโมหะ นั่นเอง :b47: :b48: :b49:

ดังนั้น ผู้ที่อบรมสติสัมปชัญญะและสมาธิมาด้วยดีแล้ว จึงมีความหลง ความไม่รู้ชัดกายใจตามความเป็นจริงน้อยลงไปตามลำดับ จนถึงกับหมดไปได้ด้วยกำลังของโลกุตรปัญญาในระดับอรหัตตมรรคนะครับ :b1: :b46: :b39:

และเนื่องด้วยกิเลสที่กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว คือโลภะ/ราคะ กับโทสะ จะเป็นกิเลสที่ต้องมีความ "หลง" ไม่รู้กายใจตามความเป็นจริง ยืนพื้นอยู่ก่อน จึงจะเกิดโลภะ/ราคะ กับโทสะได้ :b46: :b47: :b48:

ดังนั้น ด้วยอีกเหตุผลหนึ่งที่ว่า ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สติ + ปัญญาสัมปชัญญะ) ได้อย่างจดจ่อต่อเนื่องยาวนาน (สมาธิ) นั้น เป็นองค์ธรรมคู่ปรับกับความหลง ความไม่รู้ชัดกายใจตามความเป็นจริง หรือโมหะ นั้นเอง ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้น มีโลภะ/ราคะ กับโทสะ น้อยลงไปด้วยในตัว :b48: :b49: :b48:

สรุปรวมแล้วก็คือ ผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ถูกอบรมมาดีแล้ว ก็จะมีกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) ลดลงในเบื้องต้น จนกระทั่งปฏิบัติต่อไปจนเกิดโลกุตรปัญญาเข้ามาตัดกิเลสทั้งสามให้หมดไปทีละตัว เริ่มตั้งแต่โทสะและโลภะ/ราคะชนิดหยาบในระดับอนาคามี จนกระทั่งตัดโลภะ/ราคะชนิดละเอียด รวมถึงโมหะ (หรืออวิชชา) ให้หมดไปโดยสิ้นเชิงในระดับอรหันต์นะครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วมาต่อข้ออื่นๆกันในคราวหน้า :b48: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2017, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันที่สภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามีกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

๑๘) ผู้ปฏิบัติจะมีศีลทางกาย (กายสุจริต - เว้นจากการฆ่าสัตว์, เว้นจากการลักทรัพย์, เว้นจากการประพฤติผิดในกาม), ทางวาจา (วจีสุจริต - เว้นจากการพูดเท็จ, เว้นจากการพูดส่อเสียด, เว้นจากการพูดคำหยาบ, เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ), และทางใจ (มโนสุจริต - เว้นจากการอยากได้ของเขา, เว้นจากการปองร้าย, เห็นชอบตามคลองธรรม) หรือสุจริต ๓ - กุศลกรรมบถ ๑๐ ที่พัฒนามากขึ้น ตามคำของพระบรมครูในตัณหาสูตรและอวิชชาสูตรที่ว่า สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ และการสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ได้ นะครับ :b1: :b46: :b39:
กุศลกรรมบถ ๑๐ ที่เป็นพุทธพจน์ http://84000.org/tipitaka/read/?%F2%F4/%F1%F6%F5

อธิบายสภาวะและผลที่เกิดขึ้นได้ว่า เมื่อผู้ปฏิบัติฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้ใจและรู้กาย จนมีสติสัมปชัญญะและสมาธิ เข้ามากำกับทั้งความคิด (ใจ) และการกระทำ (กาย วาจา) อยู่เนืองๆได้แล้ว จิตของผู้ปฏิบัติ จะมีความละเอียด ปราณีต และมีความสุขสงบเบิกบานเป็นเครื่องอยู่ เป็นวิหารธรรมของจิต :b49: :b48: :b47:

เมื่อเป็นดังนี้แล้ว เมื่อเกิดความคิดความเห็นที่เป็นอกุศล อันเป็นมโนทุจริตขึ้นในจิต หรือถ้าจะพูดให้เคร่งครัดขึ้นอีกว่า เมื่อสังขารเขาปรุงความคิดที่เป็นอกุศลให้จิตได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นความอยากได้ของผู้อื่น อาการเพ่งร้ายคิดร้ายต่อผู้อื่น หรือมีความเห็นที่ผิดไปจากคลองธรรมแล้วละก็ ความละเอียดปราณีต ความสงบสุขเบิกบานที่มีอยู่ในจิตนั้นก็จะถูกรบกวนด้วยความคิดความเห็นที่เป็นอกุศล ทำให้จิตของผู้ปฏิบัติ เคลื่อนออกจากความสงบสุขเบิกบาน เคลื่อนออกจากความเป็นกลางตั้งมั่น :b49: :b48: :b42:

โดยจิตจะรู้ได้ด้วยตัวจิตเองถึงความหมอง ความไม่สบาย ความเสื่อมลงไปแห่งความละเอียดปราณีต ความเสื่อมลงไปแห่งความสงบสุขเบิกบานแห่งจิต :b50: :b49: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2017, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อนั้น สติที่ฝึกดีแล้วจะตามการเคลื่อนของจิตที่ถูกปรุงไปด้วยความคิดอกุศลนั้นได้ทัน ทำให้โดยทั่วไปแล้ว ผู้ปฏิบัติจะมีความคิดที่โน้มเอียงไปในทางที่เป็นกลางหรือเป็นกุศล ซึ่งก็คือสัมมาสังกัปปะ กุศลวิตก หรือดำริชอบ อันได้แก่ ความคิดในการออกจากกาม (เนกขัมมะ) ความไม่พยาบาท (อพยาบาทะ) และการไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) ซึ่งสอดคล้องกับมโนสุจริต คือเว้นจากการอยากได้ของเขา, เว้นจากการจากการปองร้าย, และมีความเห็นชอบตามคลองธรรม (สัมมาทิฏฐิ) :b50: :b51: :b53:

และความคิดความเห็นที่เป็นกุศล หรือมโนสุจริตนี้ ก็จะทำให้การกระทำที่ต่อเนื่องออกมาทั้งทางวาจาและกายนั้น เป็นไปในทางที่ถูกที่ควรด้วย (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ) ทำให้ชีวิตไม่มีความเดือดเนื้อร้อนใจอันเนื่องมาจากการผิดศีลธรรม ชีวิตมีความสงบสุข เบิกบานเป็นปรกติมากขึ้น :b48: :b49: :b47:

ซึ่งผู้ปฏิบัติจะสังเกตได้ว่า จิตใจของตนเองนั้น มีความละเอียดปราณีต และซื่อตรงมากขึ้น :b44: :b45: :b40:

และจิตที่ละเอียดปราณีตและซื่อตรงมากขึ้นนี้ ในเรื่องของวจีสุจริตแล้ว ผู้ปฏิบัติก็จะพูดโกหกได้ไม่เต็มปาก มีความละอายต่อบาปที่จะพูดคำที่ไม่เป็นจริงออกไป :b46: :b47: :b48:

นอกจากนี้ จิตที่ละเอียดปราณีตและซื่อตรงมากขึ้นนี้ จะไม่มีการหลุดคำพูดที่หยาบหรือส่อเสียดออกมาจากปาก ซึ่งต่างจากจิตใจของคนที่หยาบทราม ซึ่งจะหลุดคำหยาบ คำสบถ คำเหน็บแนม หรือคำส่อเสียดออกมาอยู่เนืองๆ :b48: :b49: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2017, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ดีแล้วนั้น จะมีความสุขสงบอยู่ในจิตใจในระดับสูง ซึ่งถ้ามีสิ่งใดที่เข้ามารบกวนจิตใจให้เผลอเพลิน ฟุ้งซ่านซัดส่ายออกจากความสงบที่เป็นวิหารธรรมนั้น สติก็จะเข้ามาเป็นเครื่องเตือนจิตให้หยุดเผลอเพลิน หยุดฟุ้งซ่านซัดส่ายออกไปจากความสุขสงบ :b46: :b47: :b48:

ทำให้ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่อบรมมาดีแล้วนั้น จะไม่ค่อยมีจิตที่ฟุ้งซ่านซัดส่าย ซึ่งตรงนี้จะมีผลทำให้การพูดจานั้น ก็จะพูดเฉพาะแต่ในเรื่องที่จำเป็น หรือเป็นประโยชน์เท่านั้น ทำให้การพูดที่ออกไปในทางเพ้อเจ้อ หรือพูดเล่นไร้สาระ เลื่อนลอย หาประโยชน์มิได้ อันเนื่องมาจากจิตที่เผลอเพลิน ฟุ้งซ่านซัดส่ายไม่ตั้งมั่นนั้น น้อยลงหรือหมดไปเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:

ตรงนี้ยังไม่ต้องพูดถึงส่วนของการผิดศีลที่ออกมาทางกาย ทางการกระทำ อันได้แก่การจงใจฆ่าหรือทำร้ายสิ่งมีชีวิต (โมหะ + โทสะ) การล่อลวงลักทรัพย์ (โมหะ + โลภะ) และการประพฤติผิดในกาม (โมหะ + โลภะ หรือ ราคะ) ซึ่งเป็นสิ่งที่หยาบกว่าคำพูดหรือวาจา โดยผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะและสมาธิอันอบรมมาดีแล้ว จะรู้สึกได้ถึงความไม่สบายในจิตตั้งแต่เริ่มคิดที่จะทำร้าย หรือโขมยฉ้อโกง หรือประพฤติผิดในกาม โดยที่ยังไม่ได้กระทำผิดทางกายเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2017, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๙) ผู้ปฏิบัติจะมีความเข้าใจโลก เนื่องจากมองโลกได้ตรงตามความเป็นจริงมากขึ้น ทั้งลักษณะเฉพาะขององค์ธรรม (วิเสสลักษณะ) และลักษณะร่วมที่เป็นธรรมดาสามัญขององค์ธรรม (สามัญลักษณะ, ไตรลักษณะ) :b49: :b48: :b47:

อธิบายสภาวะและผลที่เกิดขึ้นได้ว่า เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ดีมากขึ้น สิ่งรบกวนการรับรู้ของจิต (noise ของจิต) หรือกิเลสต่างๆอันได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ โดยเฉพาะโมหะหรือความหลงที่เป็นขั้วตรงข้ามกับสติและปัญญานั้น จะมาบังตาน้อยลง ทำให้การรับรู้เรื่องราวต่างๆ รวมถึงการประมวลผลจากการรับรู้ และการสั่งการกระทำต่อ จะเต็มเปี่ยม บริบูรณ์ไปด้วยสติสัมปชัญญะและสมาธิ :b51: :b50: :b44:

ทำให้เมื่อมีองค์ธรรมหรือกระบวนธรรมใดๆเกิดขึ้นให้จิตได้รับรู้ ก็จะเกิดการรับรู้ที่คมชัดในรายละเอียดของลักษณะเฉพาะ (วิเสสลักษณะ) ขององค์ธรรมหรือกระบวนธรรมที่เกิดขึ้น :b51: :b50: :b49:

และทั้งการรับรู้ ประมวลผล และสั่งการกระทำต่อ ก็จะเป็นไปด้วยปัญญาที่ปราศจากวิปลาสทั้ง ๓ (สัญญาวิปลาส, จิตวิปลาส, ทิฏฐิวิปลาส) ในภาคส่วนของการรับรู้ และปราศจาอคติทั้ง ๔ (ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ, โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง, ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว, โมหาคติ ลำเอียงเพราะไม่รู้) ในภาคส่วนของการประมวลผลและสั่งการกระทำต่อ :b51: :b45: :b53:

ซึ่งในภาคส่วนของการรับรู้ที่ปราศจากวิปลาสทั้ง ๓ นั้น ก็จะเป็นไปด้วยความคมชัดในทั้ง ๔ ด้านขององค์ธรรมหรือกระบวนธรรมที่เกิดขึ้น ก็คือ รับรู้และจดจำในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง (อนิจจสัญญา), รับรู้และจดจำในสิ่งที่ทุกข์ ว่าเป็นทุกข์ (ทุกขสัญญา), รับรู้และจดจำในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าไม่เป็นตัวตน (อนัตตสัญญา), และรับรู้และจดจำในสิ่งที่ไม่งาม ว่าไม่งาม (อสุภสัญญา) ตรงตามความเป็นจริงตามธรรมชาติขององค์ธรรมหรือกระบวนธรรม โดยไม่มีกิเลสเข้ามาปิดบังให้การรับรู้นั้น ปราศจากความคมชัดทางปัญญาไป :b46: :b47: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2017, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะรับรู้โลกได้ตรงตามลักษณะสามัญของเขาเอง ว่าทุกองค์ธรรมและกระบวนธรรม หรือทุกกระแสของธรรมชาติที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาในโลกนั้น ล้วนตกอยู่ภายใต้การบีบคั้นเป็นทุกข์ (ทุกขัง) จึงมีความไม่เที่ยง คงตัวอยู่อย่างถาวรไม่ได้ (อนิจจัง) เนื่องเพราะองค์ธรรมและกระบวนธรรมที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาทั้งหลายในโลกนั้น เป็นไปตามกระแสแห่งเหตุปัจจัยของเขาเอง ไม่เป็นตัวเป็นตนที่ใครจะสามารถสั่งให้เป็นไปตามอยากได้ไม่ (อนัตตา) :b48: :b47: :b46:

ซึ่งพื้นฐานของการรับรู้โลกได้ตรงตามความเป็นจริงของผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะและสมาธิอันอบรมมาดีแล้วนี้ ก็จะต่อยอดให้ผู้ปฏิบัตินั้น มีญาณปัญญาที่เข้าใจโลกได้มากขึ้นโดยผ่านกระบวนการพิจารณาโลกใน ๔ ด้าน คือทางกาย เวทนา จิต และธรรม (สติปัฏฐาน ๔) และเกิดการพัฒนาทางจิต โดยมีความบริบูรณ์ขึ้นใน ๗ ด้าน คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา (โพชฌงค์ ๗) จนกำจัดไปได้เสียซึ่งความไม่รู้ นั่นคืออวิชชา และทำให้เกิดวิชชา และวิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสได้ในท้ายที่สุด ตามคำของพระบรมครูในตัณหาสูตรและอวิชชาสูตรนั่นเองนะครับ :b1: :b46: :b39:

ตัณหาสูตร http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=2782&Z=2853
อวิชชาสูตร http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=2712&Z=2781


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2017, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากในภาคส่วนของการรับรู้ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นแล้ว ในภาคส่วนของการประมวลผลและสั่งการกระทำต่อก็ได้รับการพัฒนาขึ้นไปด้วย :b50: :b51: :b53:

ผู้ปฏิบัติจะเป็นคนที่มีเหตุผลมากขึ้น ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจน้อยลง เนื่องจากผู้ปฏิบัติจะมีความลึกซึ้งและเข้าใจในเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความเป็นไปในโลกตามหลักแห่งอนัตตา ทำให้การเห็นโลก การประมวลผล และการตอบสนองต่อโลกนั้น เป็นกระบวนการที่เต็มไปด้วยความลึกซึ้งต่อกระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย โดยปราศจากเสียซึ่งอคติ ๔ ตามที่ได้ให้รายละเอียดไว้แล้วนะครับ :b1: :b46: :b39:

ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติจึงเป็นผู้ที่มีความเป็นกลางในอารมณ์ที่มากระทบมากขึ้น (ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก การวางจิตที่เป็นกลางต่ออารมณ์นั้นๆ) เนื่องด้วยการมองเห็นโลกที่มากระทบ จะเป็นการมองเห็นเป็นแค่เพียงกระบวนธรรมของเหตุปัจจัยที่ไหลผ่านเข้ามาและไหลผ่านออกไป ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้แน่นอน :b44: :b50: :b51:

ด้วยเหตุนี้ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนที่นิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่นิ่งเฉยไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร แต่เป็นการนิ่งแบบนิ่งรู้ พร้อมที่จะประมวลผลและสั่งการกระทำต่อด้วยสติและปัญญา บนพื้นฐานของการแก้ไขปัญหาหรือสั่งการกระทำต่อที่เหตุปัจจัยโดยปราศจากอาการชอบชัง :b49: :b50: :b44:

จิตของผู้ปฏิบัติจะไม่แกว่งมากเมื่อกระทบผัสสะ ไม่ว่าผัสสะนั้นจะก่อให้เกิดเวทนาใดๆ ทั้งสุขทั้งทุกข์ทั้งเฉยๆ เวลารับรู้เรื่องที่ควรจะขำขันมากๆก็จะยิ้มหรือหัวเราะแต่พอประมาณ เวลารับรู้เรื่องที่ควรจะเศร้ามากๆก็เพียงแค่รับรู้ว่าเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปไม่จีรัง ไม่อนาทรร้อนใจจนเกิดความครวญคร่ำรำพันขึ้นมานะครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วมาต่อกันในคราวหน้า :b48: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2018, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันที่สภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามีกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

๒๐) ผู้ปฏิบัติจะมีความเพียรในการปฏิบัติมากขึ้น ซึ่งความเพียรในที่นี้ หมายถึงการเป็นผู้ที่ได้ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ถี่และยาวนานมากขึ้น ทั้งการฝึกในรูปแบบ และโดยเฉพาะการฝึกในชีวิตประจำวันจนติดเป็นนิสัยไป :b46: :b47: :b48:

ผู้ปฏิบัติจากเดิมที่มีสติขาดๆหายๆ จะกลายเป็นมีสติมากขึ้น นั่นคือ การได้ปฏิบัติมากขึ้นอย่างเป็นไปเองโดยธรรมชาติ ด้วยการที่เห็นประโยชน์ของการมีสติสัมปชัญญะและสมาธิอย่างซาบซึ้งถึงจิตถึงใจแล้ว ทำให้มีความพากเพียรในการปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ โดยเฉพาะเรื่องสติสัมปชัญญะและสมาธิ เพื่อมุ่งตรงต่อพระนิพพานโดยไม่หวั่นไหววอกแวกไปในทางปฏิบัติอย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากมรรคทั้ง ๘ โดยจิตเขาจะมีความระลึกรู้เนื้อรู้ตัวลงในไม่กายก็ใจอยู่เนืองๆอย่างเป็นไปโดยอัตโนมัติ :b48: :b47: :b49:

และการมีความเพียรในการเจริญสติสัมปชัญญะและสมาธิในที่นี้ ก็ทำให้เกิดเป็นทั้งการปฏิบัติ และเป็นทั้งผลในเรื่องเดียวกันกับการเจริญสัมมาวายามะในมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งก็คือ วิริยเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตที่เป็นไปในวิปัสสนาภาวนา หรือสัมมัปปธานทั้ง ๔ อันได้แก่ :b46: :b47: :b46:

๑) การเพียรระวังการกระทำอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น (เพียรระวัง - สังวรปธาน)
๒) การเพียรละเลิกอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว (เพียรละ - ปหานปธาน)
๓) การเพียรฝึกฝนบำรุงกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดและเจริญยิ่งขึ้น (เพียรเจริญ - ภาวนาปธาน) และ
๔) การเพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (เพียรรักษา - อนุรักขนาปธาน)

ซึ่งทั้ง ๔ ข้อ ก็เป็นทั้งผล และเป็นทั้งการปฏิบัติในสิ่งเดียวกันกับการที่ได้เจริญสติสัมปชัญญะและสมาธิที่มากขึ้นนั่นเองครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2018, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑) ผู้ปฏิบัติจะมีหน้าตาที่ผ่องใส มีสุขภาพทั้งกายและทั้งใจที่ดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตาเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ปฏิบัติมานะครับ ทั้งนี้จากผลของการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีธรรมสมาธิ ๕ ตามที่ได้เคยกล่าวเอาไว้แล้ว นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะมี ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิ ที่เพิ่มขึ้น :b46: :b47: :b46:

ซึ่งธรรมสมาธิทั้ง ๕ นี้ จะทำให้ร่างกายหลั่งสาร endogenous morphine หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า Endorphins ออกมา และสาร Endorphins ที่ว่า จะมีผลทำให้ผู้ปฏิบัติ มีหน้าตาที่สดใส มีร่างกายที่สดชื่น สุขภาพแข็งแรง
:b49: :b50: :b43:

นอกจากนี้ สาร Endorphins ยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายทำลายเซลล์ที่มีปัญหารวมถึงเซลล์มะเร็ง และช่วยทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นและไม่ตัน ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นปกติ ช่วยป้องกันโรคหัวใจเพราะเส้นเลือดในหัวใจตีบตัน ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานดีขึ้น ควบคุมความดัน โลหิตสูง เบาหวาน ภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้น :b45: :b44: :b43:

นอกจากนี้ สาร Endorphins ยังช่วยชะลอความแก่และเพิ่มสมรรถนะในการบำบัดโรคตามธรรมชาติของร่างกายให้สูงขึ้นได้ด้วย ลดความเจ็บปวดและความเครียดต่างๆ ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย สามารถปรับสมดุลในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไหลเวียนเลือดและภูมิคุ้มกันของร่างกายของเรา เช่น การทำงานของเม็ดเลือดขาว :b55: :b49: :b43:

นอกจากนี้ สาร Endorphins ยังช่วยให้เรามีความจำและการเรียนรู้ที่ดีขึ้นและลดการเกิดภาวะผิดปกติทางจิตใจ อย่างอาการของโรคซึมเศร้า เพราะเมื่อใดก็ตามที่เรามีอารมณ์ดี สุขภาพจิตดี ก็จะทำให้มีฮอร์โมน Endorphins มากขึ้นไปอีก สุขภาพร่างกายก็ดีมากขึ้นตามไปด้วย แถมยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ ในร่างกายได้อีกทาง กลางคืนนอนหลับสนิท ร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ออกมาในระดับที่สมดุล ทำให้การกระจายของไขมันในร่างกายไปอยู่ในที่ ๆ ควรอยู่ ไม่อยู่ในที่ ๆ ไม่ควรอยู่ รูปร่างก็จะสมส่วน ฯลฯ :b50: :b49: :b48:

ซึ่งข้อดีทั้งหมดของสาร Endorphins นี้ก็มาจากข้อมูลใน Internet โดยผู้อ่านสามารถหาเพิ่มเติมได้ด้วยการค้นผ่าน search engine ต่างๆนะครับ :b1: :b46: :b39:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 88, 89, 90, 91, 92, 93, 94, 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร