วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

“สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานเป็นประจำ
อโหสิกรรมก่อนค่อยแผ่เมตตา
มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้วเราก็อุทิศเลย”



วิธีการสวดมนต์

สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ
อโหสิกรรมก่อนค่อยแผ่เมตตา


การสวดมนต์เป็นนิจนี้ มุ่งให้จิตแนบสนิท
ติดในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
จิตใจจะสงบเยือกเย็นเป็นบัณฑิต มีความคิดสูง
ทิฏฐิมานะทั้งหลาย ก็จะคลายหายไปได้
เราจะได้รับอานิสงส์ เป็นผลของตนเองอย่างนี้
จากสวดมนต์เป็นนิจ

การอธิษฐานจิตเป็นประจำ นั้น มุ่งหมายเพื่อแก้กรรมของผู้มีกรรม
จากการกระทำครั้งอดีต ที่เรารำลึกได้
และจะแก้กรรมในปัจจุบัน เพื่อสู่อนาคต
ก่อนที่จะมีเวรมีกรรม ก่อนอื่นใด เราทราบเราเข้าใจแล้ว
โปรดอโหสิกรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย เราจะไม่ก่อเวรก่อกรรมก่อภัยพิบัติ
ไม่มีเสนียดจัญไรติดตัวไป
เรียกว่า เปล่า ปราศจากทุกข์ ถึงบรมสุข คือนิพพานได้
เราจะรู้ได้ว่ากรรมติดตามมา และเราจะแก้กรรมอย่างไร ในเมื่อกรรม
ตามมาทันถึงตัวเรา เราจะรู้ตัวได้อย่างไร
เราจะแก้อย่างไร เพราะมันเป็นเรื่องที่แล้วๆ มา

การอโหสิกรรม หมายความว่า เราไม่โกรธ ไม่เกลียด
เรามีเวรกรรมต่อกันก็ให้อภัยกัน อโหสิกันเสีย
อย่างที่ท่านมาอโหสิกรรม ณ บัดนี้ ให้อภัยซึ่งกันและกัน
พอให้อภัยได้ ท่านก็แผ่เมตตาได้
ถ้าท่านมี อารมณ์ค้างอยู่ในใจ เสียสัจจะ ผูกใจโกรธ อิจฉาริษยา
อาสวะไม่สิ้น ไหนเลยล่ะท่านจะแผ่เมตตาออกได้
เราจึงไม่พ้นเวรพ้นกรรมในข้อนี้ การอโหสิกรรมไม่ใช่ทำง่าย



จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๔ เรื่อง แก้กรรมด้วยการกำหนด
โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule04p0301.html
จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง ทำความดีนี้แสนยาก
โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule03r0801.html

คัดลอกจาก...
http://jarun.org/v6/th/dhamma-pray.html#12

:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 09 พ.ค. 2010, 10:10, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สวดให้คล่องปาก

วิธีในการสวดมนต์พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้สอนไว้ว่า

“เอาตำรามาดูกันก็ไม่ได้ผล แต่ดูตำราเพื่อให้ถูกวรรคตอน
และให้คล่องปาก แล้วจะได้คล่องใจ เป็นสมาธิ”


ท่านสามารถฟังเสียงสวดมนต์ บทพาหุง มหากาฯ ได้ที่นี่

http://fs1.netdiskbytrue.com/Pub014/44/ ... pahung.wma


จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง วิธีแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล
โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule09p0301.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


การวางจิต

เมื่อสวดมนต์ได้ถูกวรรคตอน เป็นสมาธิดีแล้ว ก็วางจิตให้ถูกต้อง

สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ (ลิ้นปี่)
อโหสิกรรมเสียก่อนและเราก็แผ่เมตตา... (ลิ้นปี่)
มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้วเราก็อุทิศเลย (อุณาโลม)


“แผ่ส่วนกุศลทำอย่างไร อุทิศตรงไหน ทำตรงไหน
และวาง จิตไว้ตรงไหน ถึงจะได้ อย่าลืมนะ ที่ลิ้นปี่ หายใจยาว ๆ สำรวม
เวลาสวดมนต์นั้นน่ะ ได้บุญแล้ว ไม่ต้องเอาสตางค์ไปถวายองค์โน้น องค์นี้หรอก
แล้วสำรวมจิต ส่งกระแสจิตที่หน้าผาก อุทิศส่วนกุศล..”
สวดมนต์เป็นนิจ (ลิ้นปี่)

“ลิ้นปี่ จะอยู่ครึ่งทางระหว่างจมูกถึงสะดือ”

“........อธิษฐานจิต หมายความว่า ตั้งสติสัมปชัญญะ ไว้ที่ลิ้นปี่
สำรวมกาย วาจา จิตให้ตั้งมั่นแล้ว จึงขอแผ่เมตตาไว้ในใจ สักครู่หนึ่ง
แล้วก็อุทิศให้มารดา บิดาของเรา ว่าเราได้บำเพ็ญกุศล
ท่านจะได้บุญ ได้กุศลแน่ ๆ เดี๋ยวนี้ด้วย
ผมเรียนถวายนะ มิฉะนั้นผมจะอุทิศไปยุโรปได้อย่างไร........”
อธิษฐานจิตเป็นประจำ (ลิ้นปี่)

แผ่เมตตากับอุทิศ มันต่างกัน ทำใจให้เป็นเมตตาบริสุทธิ์ก่อน
ไม่อิจฉา ริษยา ไม่ผูกพยาบาทใครไว้ในใจ ทำใจให้แจ่มใส ทำให้ใจสบาย
คือ เมตตาแล้วเราจะอุทิศให้ใครก็บอกกันไป มันจะมีพลังสูง
สามารถจะอุทิศให้ คุณพ่อคุณแม่ ของเรากำลังป่วยไข้
ให้หายจาก โรคภัยไข้เจ็บได้ เช่น วีโก้ บรูน
ชาวนอรเวย์ที่เคยมาบวชที่วัดนี้ เป็นต้น....
อโหสิกรรมก่อนแล้วค่อยแผ่เมตตา

“หายใจยาวๆ ตั้งกัลยาณจิตไว้ที่ลิ้นปี่ ไม่ใช่พูดส่งเดช
จำนะ ที่ลิ้นปี่ เป็นการแผ่เมตตาจะอุทิศก็ยกจากลิ้นปี่ สู่หน้าผาก
เรียกว่า อุณาโลมา ปจชายเต....”
แผ่เมตตา (ลิ้นปี่) อุทิศส่วนกุศล (อุณาโลม)


จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๖ เรื่อง การอุทิศส่วนกุศล
โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule06p0101.html
จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง วิธีแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล
โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule09p0301.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ลำดับการสวดมนต์

“พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า
บางคนเขาไปหาหมอดู เคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์
อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู
อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ
บอกว่า โยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี
แล้วสวด “พาหุงมหากาฯ” หายเลย สติก็ดีขึ้น เท่าที่ใช้ได้ผล
สวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง
พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากาฯ
จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว
(อิติปิโส ภะคะวา จนถึง พุทโธ ภะคะวาติ)
ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล”


* ตั้งนะโม ๓ จบ

* สวดพุทธัง ธัมมัง สังฆัง

* สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

* สวดพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)

* สวดมหาการุณิโก

* สวดพุทธคุณ อย่างเดียวเท่ากับอายุ บวก ๑
เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ
อายุ ๕๔ ปี ให้สวด ๕๕ จบ เป็นต้น

* แผ่เมตตา

* อุทิศส่วนกุศ


จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๓ เรื่อง อานิสงส์ของการสวดพุทธคุณ
โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule03r0801.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เหตุใดต้องสวดพุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑
(อิติปิโสเท่าอายุ+๑)


“อาตมาเคยพบคนแก่อายุ ๑๐๐ กว่าปี มีคนเอากับข้าวมาให้
ก็สวด อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ๑ จบ ให้ตัวเองก่อน
สวนอีกจบหนึ่งให้คนที่นำมาให้ เสร็จแล้วให้ถ้วยคืนไป
อาตมาจับเคล็ดลับได้ จะให้ใครต้องเอาทุนไว้ก่อน
ถึงได้เรียกว่า สวดพุทธคุณเท่าอายุเกินหนึ่งไงเล่า”

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙
เรื่อง ทำความดีนี้แสนยาก โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule03r0801.html

“ที่ว่าให้ว่าสวดเท่าอายุนี่ หมายความว่าอายุเท่าไหร่ ๒๐
ถ้าเราสวดแค่ ๑๐ เดียว
มันก็ไม่เท่าอายุสวดไปเนี่ยเท่าอายุก่อนนะมันคุมให้มีสติ
แล้วก็เกินหนึ่งเพราะอะไร ที่พูดเกินหนึ่งเนี่ยหมายความ
คนมักง่ายมักได้ คือ มันมีเวลาน้อย
ถ้าสวดแค่เกินหนึ่งทำอะไรให้มันเกินไว้
เหมือนคุณโยมเนี่ยไปค้าขาย ยังไม่ได้ขายได้สักกะตังค์เลย
จะเอาอะไรไปให้ทาน ยังไม่ได้กำไรเลยต้องให้ตัวเองก่อนนะ
นี่ต้องค้าขายต้องลงทุนนี่ ต้องลงทุนก็สวดไป
แต่สวดมากเท่าไรยิ่งดีมาก ได้มีสมาธิมาก
แต่อาตมาที่พูดไว้คือคนมันไม่มีเวลา ก็เอาเกินหนึ่งได้ไหม
เกินหนึ่งได้ก็ใช้ได้นะ แต่ถ้าเกินถึง ๑๐๘ ได้ไหม ยิ่งดีใหญ่
ทำให้เกิดสมาธิสูงขึ้น”


จากบทสัมภาษณ์ในรายการ “ชีวิตไม่สิ้นหวัง” ทางช่อง ๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


การเปลี่ยนจาก “เต” เป็น “เม” ในบทสวดมนต์

“เม” คือ ข้า หมายถึง ผู้สวดนั่นแหละ ส่วน “เต” คือท่าน

พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้เทศน์ตอบผู้ให้สัมภาษณ์
จากเทปธรรมบรรยาย “สวดมนต์จนหายป่วย” และ “มารไม่มี บารมีไม่เกิด”

เราสามารถเลือกสวดได้ทั้ง “เม” และ “เต”
แต่ขอฝากย้ำคำสอน ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ
เรื่องการแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล มาให้พิจารณาดังนี้

“ท่านไปขุดน้ำกินเสียบ้านเดียว ท่านจะได้อะไรหรือ
ขุดบ่อน้ำสาธารณะกินได้ทุกบ้าน
ใครมาก็กิน ใครมาก็ใช้ ท่านได้บุญมาก
มีถนนส่วนบุคคล ท่านเดินได้เฉพาะบ้านเดียว
ไม่สาธารณะแก่คนทั่วไป
ท่านจะได้บุญน้อยมาก มีอานิสงส์น้อยมาก
นี่เปรียบเทียบถวาย เรื่องจริงเป็นอย่างนั้น”


จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙
เรื่อง วิธีแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule09p0301.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


วิธีการแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล

วันนี้จะขอฝากญาติโยมไว้
การอุทิศส่วนกุศล และการแผ่ส่วนกุศลไม่เหมือนกัน
การแผ่คือการแพร่ขยาย เป็นการเคลียร์พื้นที่
แผ่ส่วนบุญออกไป เรียกว่า สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์
เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เรียกว่าการแผ่แพร่ขยาย
แต่การอุทิศให้ เป็นการให้โดยเจาะจง ถ้าเราจะให้ตัวเองไม่ต้องบอก
ไม่ต้องบอกว่าขอให้ข้าพเจ้ารวย ขอให้ข้าพเจ้าดี ขอให้ข้าพเจ้าหมดหนี้
ทำบุญก็รวยเอง เราเป็นคนทำ เราก็เป็นคนได้
และการให้บิดามารดานั้นก็ไม่ต้องออกชื่อแต่ประการใด
ลูกทำดีมีปัญญา ได้ถึงพ่อแม่ เพราะใกล้ตัวเรา พ่อแม่อยู่ในตัวเรา
เราสร้างความดีมากเท่าไรจะถึงพ่อแม่ มากเท่านั้น
เรามีลูก ลูกเราดี ลูกมีปัญญา
พ่อแม่ก็ชื่นใจโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปบอก

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๖
เรื่อง การอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule06p0101.html



ผู้ปรารถนาจะปลูกเมตตาให้งอกงามอยู่ในจิต
พึงปลูกด้วยการคิดแผ่ ในเบื้องต้นแผ่ไปโดยเจาะจงก่อน
ในบุคคลที่ชอบพอ มีมารดา บิดา ญาติมิตร เป็นต้น
โดยนัยว่าผู้นั้น ๆ จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีสุขสวัสดี
รักษาตนเถิด เมื่อจิตได้รับการฝึกหัดคุ้นเคยกับเมตตาเข้าแล้ว
ก็แผ่ขยายให้กว้างออกไปโดย
ลำดับดังนี้ ในคนที่เฉย ๆ ไม่ชอบไม่ชัง
ในคนไม่ชอบน้อย ในคนที่ไม่ชอบมาก
ในมนุษย์และดิรัจฉานไม่มีประมาณ
เมตตาจิต เมื่อคิดแผ่กว้างออกไปเพียงใด
มิตรและไมตรีก็มีความกว้างออกไปเพียงนั้น
เมตตา ไมตรีจิตมิใช่อำนวยความสุขให้เฉพาะบุคคล
ย่อมให้ความสุขแก่ชนส่วนรวมตั้งแต่สองคนขึ้นไป
คือ หมู่ชนที่มีไมตรีจิตต่อกัน
ย่อมหมดความระแวง ไม่ต้องจ่ายทรัพย์ จ่ายสุข
ในการระวังหรือเตรียมรุกรับ
มีโอกาสประกอบการงาน
อันเป็นประโยชน์แก่ตนเอง และหมู่เต็มที่
มีความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขโดยส่วนเดียว

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๑๓
เรื่อง สุจริตธรรมเหตุแห่งความสุขที่แท้จริง โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule13p0303.html



สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ
อโหสิกรรมเสียก่อนและเราก็แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ที่เราไปสร้างกรรมมาครั้งอดีต รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง รู้เท่าทันหรือไม่เท่าทันก็ตาม
ถ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์เช่นนี้แล้ว
ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า มันก็จะน้อยลงไป

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๓
เรื่อง กรรมฐานแก้กรรมได้อย่างไร โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule03p0201.html



“ตั้งสติหายใจยาว ๆ ตอนที่กรวดน้ำเสร็จแล้วอธิษฐานจิตไว้ก่อน
อธิษฐานจิตหมายความว่า ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ที่ลิ้นปี่
สำรวมกาย วาจา จิต ได้ตั้งมั่นแล้ว จึงขอแผ่เมตตาไว้ในใจสักครู่หนึ่ง
แล้วก็ขอ อุทิศให้บิดามารดาของเราว่า เราได้บำเพ็ญกุศล
ท่านจะได้บุญได้ผลแน่ ๆ เดี๋ยวนี้ด้วย...”


“หายใจ ยาว ๆ ตั้งสติก่อน
หายใจลึก ๆ ยาว ๆ แล้วก็แผ่เมตตาก่อน
มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้ว เราก็อุทิศเลย
อโหสิกรรม ไม่โกรธ ไม่เกลียด
ไม่พยาบาทใครอีกต่อไป และเราจะขออุทิศให้ใคร
ญาติบุพเพสันนิวาสจะได้ก่อน
ญาติเมื่อชาติก่อนจะได้มารับ
เราก็มิทราบว่าใครเป็นพ่อแม่ในชาติอดีต
ใครเป็นพี่น้องของเราเราก็ไม่ทราบ แต่
แล้วเราจะได้ทราบตอนอุทิศส่วนกุศลนี้ไปให้
เหมือนโทรศัพท์ไป เขาจะได้รับหรือไม่ เราจะรู้ได้ทันที”


“นี่ ก็เช่นเดียวกัน เราจะปลื้มปีติทันทีนะ เราจะตื้นตันขึ้นมาเลย
ถ้าท่านมีสมาธิ น้ำตาท่านจะร่วงนะ
ขนพองสยองเกล้าเป็นปีติเบื้องต้น
ถ้าท่านมาสวดมนต์กันส่งเดช ไม่เอาเหนือเอาใต้
ท่านไม่อุทิศ ท่านจะไม่รู้เลยนะ... ”


“วันนี้ ท่านทำบุญอะไร สร้างความดีอะไรบ้าง
ดูหนังสือท่องจำบทอะไรได้บ้าง ก็อุทิศได้
เมืองฝรั่งเขาไม่มีการทำบุญ เราไปทอดกฐิน ผ้าป่า ถวายสังฆทาน
เขาทำไม่เป็น แต่ทำไมเขาเป็นเศรษฐี
ทำไมเขามีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี
ทำไมถึงเจริญด้วยอารยธรรมของเขา เพราะเขามีบุญวาสนา
เขาตั้งใจทำ มีกิจกรรมในชีวิตของเขา
จะยกตัวอย่าง วันนี้เขาค้าขายได้เป็นพันเป็นหมื่นด้วยสุจริตธรรม
เขาก็เอาอันนั้นแหละอุทิศไป วันนี้เขาปลูกต้นไม้ได้มากมาย
เขาก็เอาสิ่งนี้อุทิศไป ว่าได้สร้างความดีในวันนี้
ไม่ได้อยู่ว่างแต่ประการใดเขาก็ได้บุญ
ไม่จำเป็นต้องเอาสตางค์มาถวายพระเหมือนเมืองไทย
ถวายสังฆทานกันไม่พัก ถวายโน่นถวายนี่แต่ใจเป็นบาป
อุทิศไม่ออก บอกไม่ได้อย่างนี้เป็นต้น จะไม่ได้อะไรเลยนะ ...



“...ที่ผมแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล
ไปเข้าบ้านลูกสาวญวนที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส
ทำอย่างนี้นะ เวลาสวดมนต์ อิติปิโส... ยาเทวตา...
ตั้งใจสวดด้วยภาษาบาลีเช่นนี้ ที่หยุดเงียบไปน่ะ
ผมสำรวมจิตตั้งสติ แผ่เมตตา จิตสงบดีแล้วจึงอุทิศไป”


“… ที่ท่องจำโคลงให้ได้น่ะเพื่อให้คล่องปาก
ว่าให้คล่องปาก แล้วก็จะคล่องใจ
คล่องใจแล้วถึงจะเป็นสมาธิ
เป็นสมาธิแล้วถึง จะอุทิศได้ ไม่อย่างนั้นไม่ได้นะ”


“เอาตำรามาดูกันก็ไม่ได้ผล แต่ดูตำราเพื่อให้ถูกวรรคตอน
และให้คล่องปาก แล้วจะได้คล่องใจ เป็นสมาธิ
ถึงจะมีกำลังส่งอุทิศ ไม่อย่างนั้นไม่มีกำลังส่งเลยนะ”


“การอุทิศส่วนกุศล นี่สำคัญนะ แต่ต้องแผ่เมตตาก่อน
แผ่เมตตา ให้มีสติก่อน แผ่เมตตาให้มีความรู้ว่าเราบริสุทธิ์
ใจมีเมตตาไหม และอุทิศเลย มันคนละขั้นตอนกันนะ
แผ่เมตตากับอุทิศมันต่างกัน ทำใจให้เป็นเมตตาบริสุทธิ์ก่อน
ไม่อิจฉา ไม่ริษยา ไม่ผูกพยาบาทใครไว้ในใจ
ทำให้แจ่มใส ทำใจให้สบาย คือเมตตา
แล้วเราจะอุทิศให้ใครก็บอกกันไป มันจะมีพลังสูง
สามารถจะอุทิศให้คุณพ่อคุณแม่ของเรากำลังป่วยไข้
ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้ เช่น วีโก้ บรูน ชาวนอรเวย์
ที่เคยมาบวชที่วัดนี้ เป็นต้น”


“เรามาสวดมนต์ไหว้พระ กันว่า โยโสภะคะวา.... ใจเป็นบุญไหม
สวากขาโต... สุปฏิปันโน... ใจเป็นบุญไหม
ท่านจะฟุ้งซ่านไปทางไหน สำรวมอินทรีย์ หน้าที่คอยระวัง
เอาของจริงไปใช้ อย่าเอาของปลอมมาใช้เลย ...


ท่านทำประโยชน์อะไรในวันนี้
เอามาตีความ สำรวมตั้งสติไว้ก่อน
ว่าขาดทุนหรือได้กำไรชีวิต
และจะไปเรียงสถิติในจิตใจเรียกว่า เมตตา
แปลว่าระลึกก่อน เมตตาแปลว่าปรารถนาดีกับตนเอง
สงสารตัวเองที่ได้สร้างความดีหรือความชั่วเช่นนี้”


“หายใจยาว ๆ ตั้งกัลยาณจิตไว้ที่ลิ้นปี่ ไม่ใช่พูดส่งเดช
จำนะ ที่ลิ้นปี่เป็นการแผ่เมตตา
จะอุทิศก็ยกจากลิ้นปี่สู่หน้าผาก เรียกว่า อุณา โลมา ปจชายเต


นะ อยู่หัว สามตัวอย่าละ นะอยู่ที่ไหน ตามเอามา
แล้วก็อุทิศทันที จึงถึงตามที่ปรารถนา ไม่ว่าเป็นโยมพ่อ โยมแม่
จะให้น้องเรียนหนังสือ จะให้พี่เรียนหนังสือ
หรือจะให้บุตรธิดาของตน จะได้ผลขึ้นมาทันที”


“ลูกว่านอนสอนยาก ลูกติดยาเสพติด ถ้าทำถูกวิธีแล้ว
มันจะหันเหเร่มาทางดีได้ พ่อแม่กินเหล้าเมายา เล่นการพนัน
ลูกจะไปสอนพ่อแม่ไม่ได้ มีทางเดียวคือ เจริญพระกรรมฐาน
สำรวมจิตแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล



นะอยู่หัว สามตัวอย่าละ นะอยู่ที่ไหนตามเอามาให้ได้
หมายความว่ากระไร ถ้าท่านทำกรรมฐาน ท่านจะทายออก นะตัวนี้สำคัญ
นะ มีทั้งเมตตามหานิยม
นะ แปลว่า การกระทำอกุศลให้เป็นกุศล
นะ แปลว่า ทำศัตรูให้เป็นมิตร สร้างชีวิตในธรรม
แล้วก็อุทิศส่วนกุศลไป”



“… อย่าทำด้วยอารมณ์ อย่าทำด้วยความผูกพยาบาท อาฆาตต่อกัน
ละเวรละกรรมเสียบ้าง แล้วจิตจะโปร่งใส ใจก็จะสะอาด แล้วก็อุทิศไป

จิต มันไม่ติดไฟแดง จิตไม่เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา จิตมันทะลุฝาผนังได้
ท่านเข้าใจคำนี้หรือยัง จิตมันตรงที่หมาย จิตไม่มีตัวตน จิตคิดอ่านอารมณ์
มีจิตโปร่ง ท่านจะทำอะไรก็โล่งใจ สบายอกสบายใจ
นะอยู่หัว สามตัวอย่าละ เอานะไปอุทิศให้ได้
ถ้าท่านมีครอบครัวแล้วโปรดตั้งปฏิญาณในใจว่า
ให้บุตรธิดาของเรารวยสวยเก่ง เร่งเป็นดอกเตอร์ อย่างนี้ซิถึงจะถูกวิธีของผม”

“ท่าน ไปขุดน้ำกินเสียบ้านเดียว ท่านจะได้อะไรหรือ
ขุดบ่อน้ำสาธารณะกินได้ทุกบ้าน ใครมาก็กิน ใครมาก็ใช้ ท่านได้บุญมาก
มีถนนส่วนบุคคล ท่านเดินได้เฉพาะบ้านเดียว ไม่สาธารณะแก่คนทั่วไป
ท่านจะได้บุญน้อยมาก มีอานิสงส์น้อยมาก
นี่เปรียบเทียบถวาย เรื่องจริงเป็นอย่างนั้น”


“…อย่าลืมนะ ที่ลิ้นปี่ หายใจยาว ๆ สำรวมเวลาสวดมนต์นั้นน่ะ ได้บุญแล้ว …
แล้วสำรวมจิตส่งกระแสจิตที่หน้าผาก อุทิศส่วนกุศล
เวลาแผ่เมตตาเอาไว้ที่ลิ้นปี่ สำรวมอินทรีย์
หน้าที่คอยระวัง นะอุ อุอะมะ อุอะมะ อะอะอุ นะอยู่ตรงไหน
เอามาไว้ตรงไหน จับให้ ได้แล้วอุทิศไป



“ผมทำมา ๔๐ กว่าปีแล้ว ทำได้ผล
ขอถวายความรู้เป็นบุญเป็นกุศล
ให้ท่านได้บุญอย่างประเสริฐไป
จะได้อุทิศให้โยมเขา เขาเป็นโรคภัยไข้เจ็บ
ถ้าไม่เหลือวิสัยมันก็หายได้”


จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙
เรื่อง วิธีแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule09p0301.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถามตอบเรื่องการสวดมนต์


พิธีกร: กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ
หลวงพ่อจรัญ: ขอเจริญพร


พิธีกร: วันนี้ลูกอยากเรียนถามหลวงพ่อว่า
การสวดพุทธคุณหมายความ ว่าอย่างไรค่ะ
หลวงพ่อจรัญ: ขอเจริญพรพุทธคุณหมายความว่ากระไร
พุทธคุณมีมานานแล้ว
ไม่จำเป็นต้องกล่าวพุทธคุณมันเรียกรวมกันเรียกพุทธคุณ
ถ้าจะเรียกให้ครบถ้วนก็เรียกว่าไตรรัตน์ รัตนตรัย
คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อยู่รวมกันเป็นพุทธคุณ
เป็นอำนาจของพุทธคุณ อำนาจของพระพุทธเจ้า
แต่ที่ว่าสวดพุทธคุณอานิสงส์หรืออะไรก็ตามมีความหมายยังไง
มีความหมายมานานแล้วคนไทยชาวพุทธไม่ได้ศึกษา มาที่วัดกันเยอะแยะ
อาตมาบอกว่าโยมไม่สบายใจสวดพุทธคุณสิ ธรรมคุณ สังฆคุณ
พาหุงมหากาฯ สวดพุทธคุณ ยาว.. ยาว... ไม่สวด
แต่เสียใจด้วย สร้างความดี ยาว... สร้างความดีนิดเดียว
ไปสร้างความ ชั่วยาวกว่าความดี มันจะไปกันได้หรือ ไปไม่ได้

พุทธคุณ นี่คือคุณพระพุทธเจ้า เอาคุณพระพุทธเจ้ามาไว้ในใจ มีมานานแล้ว
พระธรรมคุณ ก็หมายความว่าเอาธรรมะมาไว้ในใจ ปฏิบัติ สังฆคุณ ปฏิบัติได้แล้ว
คือสังฆะแปลว่าสามัคคี กายสามัคคี จิตสามัคคี
มีรูปแบบดีเป็นพฤติกรรม แสดงออกประพฤติดีแล้ว ปฏิบัติชอบแล้ว
ก็สอนตัวเองได้สอนคนอื่นต่อไปเรียกว่าสังฆคุณ
พุทธคุณนี่ก็หมายความว่าเอาคุณพระพุทธเจ้า มาไว้ในใจ
คุณพระพุทธเจ้าคืออะไร มี ๓ ประการทุกท่าน

๑. พระปัญญาคุณ ๒. พระวิสุทธิคุณ ๓. พระมหากรุณาธิคุณ

แต่ถ้าจะตีความให้ชัด เดี๋ยวจะไม่เข้าใจ ว่าพุทธคุณเนี่ยคุณพระพุทธเจ้า
ปัญญาคุณหมายความว่าไร คนไทยชาวพุทธไม่เข้าใจเยอะ
ปัญญาเกิด ๓ ทาง ทางที่ ๑ คือ สุตะมยปัญญา แปลว่าสดับตรับฟัง
สดับตรับฟัง ต้องมีครรลอง ๕ ประการ
๑. ศรัทธาฟัง ๒. สนใจฟัง ๓. จดหัวข้อไว้ ๔. ทบทวน
๕. ปฏิบัติทันทีอย่ารอรีแต่ประการใด เกิดปัญญาในการฟัง
เดี๋ยวนี้ไปฟังเป็นนักเรียนก็ตาม ฟังหลับ
แล้วก็ญาติโยมฟังเทศน์ก็หลับ นี่มันมีศรัทธาฟังไหม
ไม่สนใจฟังเลย ไม่จดหัวข้อไว้ ไม่เกิดปัญญา ในการฟัง
๒. ก็ยัง ยังไม่ครรลอง ยังไม่เต็มคราบ ยังไม่เข้าจุด
ต้องมี จินตามยปัญญา ต้องเอาฟังแล้วเนี่ยเอาไปคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์
ริเริ่มดำเนินงานทันทีอย่ารอรีแต่ประการใดถึงจะเกิดปัญญา
ถ้าฟังแล้วเอาไปทิ้ง มันไม่เกิดปัญญาจะไม่ได้คิดไม่ได้ริเริ่ม
จึงเรียกว่าความคิด มันเกิดปัญญา
เดี๋ยวนี้มีคนความรู้มากเป็นด๊อกเตอร์ก็เยอะ แต่ไม่มีความคิดอยู่
ประการที่ ๓ สู้ประการที่ ๓ ไม่ได้ ภาวนามยปัญญา
สวดมนต์ไหว้พระ สวดมนต์ไหว้พระไว้ แล้วก็จะนึกถึงภาวนา
เช่นเด็กดูหนังสือสามหนเรียกว่า ภาวนา
ดูหนังสือหนเดียวเรียกว่าดูหนังสือพิมพ์ทิ้งขว้างไป ดูครั้งที่หนึ่ง
หมายความว่า รู้นี่เรื่องพระเวสสันดร
ยกตัวอย่าง ดูครั้งสองซ้ำไปมีกี่ตอน มีกี่กัณฑ์
ดูครั้งที่สามเนื้อหาสาระเป็นประการใด นี่เรียกว่าภาวนา

ภาวนา แปลว่าอะไรอีก แปลว่า “สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน”
ที่พูดมานานแล้ว ทำให้มันผุดขึ้นมาเอง
และสามารถจะกำจัดความชั่วออกจากตัวได้ จึงเรียกว่าบริสุทธิ์
ในเมื่อเกิดบริสุทธิ์แล้ว บริสุทธิ์นี่ได้มาจากไหน ตีความต่อไป
คนจะบริสุทธิ์ได้ก็ไม่เป็นคนหละหลวมเหลาะแหละเหลวไหลขึ้นห้วยลงเขา
คนบริสุทธิ์นี่จะ คนมีจริงจัง จริงใจ ต่อตัวเอง จริงใจต่อคนอื่นเขา
เรียกตีครรลองเป็นธรรมะให้เด็กเข้าใจ
สัจจะ เมตตา สามัคคี มีวินัย ถึงจะบริสุทธิ์ได้
ถ้าไม่มีหลักสี่ประการเป็นการรับรองแล้ว
คนนั้นไม่บริสุทธิ์และคนบริสุทธิ์แล้วที่มักจะมีเมตตา
เรียกว่าพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า
นี่เรียกว่าพุทธคุณ นี่เอามาไว้ในใจ อย่างนี้ไง
และธรรมคุณก็เช่นเดียวกัน พอมีพุทธคุณซะแล้ว ธรรมคุณมาเอง
มีธรรมะมาเอง พอธรรมะมีแล้วพระสงฆ์มาเลยเรียกว่า พระรัตนตรัย
ขอเจริญพร อย่างนี้ความหมาย ขอเจริญพร


พิธีกร: ประเด็นถัดมานะคะ สวดพาหุงฯ น่ะค่ะ
มีความเกี่ยวเนื่องกันยังไงคะ ที่หลวงพ่อให้อุบาสกอุบาสิกาที่นี่สวดพาหุงฯ
หลวงพ่อจรัญ: ขอเจริญพร ดีแล้ว ถามนี่ดีแล้วคนไม่เข้าใจเยอะ
แล้วไปสวดอย่างอื่นกันลามปาม พาหุงมหากาฯ มันบทติดต่อกัน
พาหุงฯ เนี่ยมันมีมานานแล้ว แต่เราก็ไม่ทราบต้นเหตุสาเหตุที่มันมาจากไหน
ก็มี ในหนังสือสวดมนต์ก็เยอะแยะ คนเปิดข้ามหญ้าปากคอกแท้ ๆ
พาหุงมหากาฯ ก็แปลว่าพระพุทธเจ้าพิชิตมาร
เรียกว่าปางมารวิชัย ผจญมารมา ๘ บท อยู่ในนั้นเลยไปดูเอาหาดูได้
ผจญมาร พระพุทธเจ้า ชนะมารแล้ว เรียกว่า พาหุงมหากาฯ มหากาแปลว่าอะไร
ชยันโตโพธิยาฯ ใช่ไหม สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
ทำดีตอนไหนได้ตอนนั้น “ฤกษ์” จึงเอามานิยมสวดมนต์ด้วยการเจิมป้าย
และก็เปิดสำนักงานและก็วางศิลาฤกษ์
หมายความว่า (๑.) ฤกษ์คืออากาศดี (๒.) ยามแปลว่าเวลาว่าง
(๓.๗ เครื่องพร้อม ที่จะดำเนินงานได้ทันทีอย่ารอรีแต่ประการใด
ถึงได้เริ่มดำเนินงานใด ๆ เรียกว่ามหากาฯ

พาหุงฯ บทนี้คือพระพุทธเจ้าเราก่อนจะสำเร็จสัมโพธิญาณ
พระองค์ผจญมารมาก มารมาผจญกับพระองค์มากมาย
ใช่ว่าอธิบายทุกบททุกข้อ มันมี ๘ ข้อ
แต่จะเสียเวลามากจะไม่สามารถจะจบในที่นี้ได้
ขอให้ท่านสาธุชนทั้งหลายไปดูเอาในหนังสือสวดมนต์แปลในพาหุงมหากาฯ
หรือ เรียกว่าฎีกาพาหุงฯ นี่อย่างนี้เป็นต้น

แสดงว่าพระพุทธเจ้านั่งหลับตาก็ไปสู้มาร ไปต่อสู้กับมาร
“มารไม่มีบารมีไม่เกิด ประเสริฐไม่ได้”
พระองค์ผจญมารมาครบแล้วชนะรวด ชนะรวดเรียกว่าพาหุงฯ
นี่ เรามีมานานแล้วแต่คนน่ะ ไม่สวดกัน
ต้นสายปลายเหตุมาจากไหนเดี๋ยวค่อยถามทีหลัง
บางคนไม่รู้จริง ๆ พาหุงมหากาฯ ไม่รู้เลย หญ้าปากคอกแท้ ๆ ข้ามไปหมด
เราเนี่ย..เราเกิดมาเนี่ยขอฝาก ท่านนุ.. โยมด้วยว่า มารไม่มี บารมีไม่เกิด
คนเกิดมาเนี่ยสร้างความดีต้องมีอุปสรรค
ถ้าเป็นความชั่วจะไม่มีอุปสรรค มันจะไหลไปเลยนะ จะไหลไปเลยนะ
คนเราเนี่ยไม่ตีความ ความชั่ว นี่มันก็ไหลไปเลยไม่มีใครมาขัดคอ
ถ้าหากว่าท่านด็อกเตอร์สร้างความดีปั๊บมีคนขัดคอ
มีมารผจญแล้ว ต้องสู้มารต่อไปคือขันติ
ขันติความอดทนอดกลั้น อดออมประนีประนอมยอมความ
ต้องตรากตรำลำบาก อดทนต่อการทำงาน
อดทนต่อความเจ็บใจในสังคมด้วย นี่ถึงจะพ้นเรียกว่าพระพุทธเจ้าพ้นมาร
แล้วก็ท่านเข้าสมาธิเดี๋ยวสาธิตให้ดู
นั่งสมาธิหลับตามารมารอบด้าน มาทุกอย่างเลย
จิญจมาณวิกาก็หาว่าพระพุทธเจ้าท้องกับเขา
ท่านก็ไม่ว่า เอ้าแผ่เมตตาด้วย การสวดพาหุงฯ นี่
ท่านก็สวดไปสวดมาชนะ ชนะแล้วเนี่ย ชนะแล้ว สะดุ้งมาร
เรียกว่า ชนะเรียกปางมารวิชัย เนี่ยปางมารวิชัยชนะมารได้ นี่บทนี้ชนะมาร
ถ้าบ้านสาธุชนได้สวดแล้วชนะมาร มารไม่มีบารมีไม่เกิด
ถ้าคนไหนไม่มีมาร คนนั้นไม่มีบารมีนะ
นี่ขอให้ท่านทั้งหลายไปตีความเอาเอง เพราะเวลามันจำกัด
นี่พาหุงมหากาฯ เป็นอย่างนี้ ขอเจริญพร


พิธีกร: ทำยังไงคะ ที่จะสวดมนต์ไม่ว่าจะเป็นพุทธคุณก็ดีนะคะ
พาหุงฯ ก็ดี มหาการุณิโกฯ ก็ดี ให้เป็นอานิสงส์กับตัวของเราค่ะ
หลวงพ่อจรัญ: เพราะงั้นต้องมีศรัทธา..ต้องมีความเชื่อ
ความเลื่อมใสในการสวด ถึงจะเป็นอานิสงส์ในศรัทธาของเขาก่อน
แต่บางคนเนี่ยนะ.. ต่างชาติต่างภาษา เขาไม่เข้าใจเลย
ถ้าสวดไปนาน ๆ จะรู้เองนะ ถ้าเกิดสมาธิจะรู้ว่าเนี่ยแปลว่ากะไร
มีคนทำได้เยอะ แต่คนเราสวดจิ้ม ๆ จ้ำ ๆ ไปมันจะได้อะไร
บางคนเนี่ยรู้ว่าสวดพุทธคุณ สวดมนต์ล่ะก็ดี
สวดไปมันก็ไม่ดีเพราะอะไร จิตไม่ถึง เข้าไม่ถึงธรรมะ
ถ้าจิตมีศรัทธาเลื่อมใส สวดให้มันเข้าถึง
๑. เข้าถึง ๒. จะซึ้งใจ ๓. จะใฝ่ดี ๔. จะมีสัจจะ
พูดจริงทำจริงเลยเนี่ยนะออกมาชัดเลย
นี่อานิสงส์ มีสัจจะ แล้วก็จะมี กตัญญูกตเวทิตาธรรม
รู้หน้าที่การงานของตน นี่สวดเข้าไม่ถึงเนี่ย
มันจะไปรู้ได้ยังไงจะซึ้งใจไหม ไม่มีศรัทธาเลยสวดจิ้ม ๆ จ้ำ ๆ
เหมือนพ่อค้า แม่ค้าไปแลกเปลี่ยนของในตลาดกันได้เป็นธุรกิจ
การสวดมนต์ไม่ใช่นักธุรกิจ สวดมนต์เนี่ยต้องการให้ระลึกถึงตัวเอง
มีสติสัมปชัญญะให้สวดเข้าไปสวดไป พอถึงจิตถึงใจแล้ว
เหมือนอย่างเนี้ยยกตัวอย่าง เขายังท่องไม่ได้
อ่านไปยังไม่เป็นสมาธิ อ่านไปอ่านให้ดัง ๆ คล่องปาก
พอคล่องปากแล้วก็คล่องใจ พอคล่องใจแล้วติดใจแล้วมันก็เกิดสมาธิ
นี่.. พอเกิดสมาธิจิตก็ถึง พอถึงหนักเข้าแล้วจะซึ้งใจ
พอซึ้งใจแล้ว.. ซึ้งธรรม ซึ้งธรรมะมันจะใฝ่ดี


พิธีกร: ที่ว่าจิตเป็นสมาธินี่ก็คือว่า จิตเป็นหนึ่ง
หลวงพ่อจรัญ: จิตเป็นหนึ่ง นั่นเอกัตคตา
ถ้าหากว่าจิตยังวุ่นวายหรืออะไร สวดมั่งแล้วก็ไปทำงานบ้างไม่ได้ผล


พิธีกร: ในลักษณะนี้หลวงพ่อขา การที่สวดมนต์เนี่ยนะคะ
พอจิตเป็นหนึ่งแล้วเนี่ย ก็มีคุณค่าเท่ากับทำสมาธิเหมือนกัน
หลวงพ่อจรัญ: ใช้ได้ ใช้ได้ นี่คือสมาธิ
การสวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน
ทาไปก่อน สวดไปก่อน สวดแล้วเนี่ยมันซึ้งใจ
จะเป็นต่างชาติ ต่างภาษา คนจีนหรือคนฝรั่งเขานิยมเนี่ย
เขาสวดโดยไม่รู้เรื่อง แต่สวดไปสวดไปเกิดสมาธิน่ะสิ
เกิดสมาธิเกิดจิตสำนึกเกิดหน้าที่การงาน
และการงานนั่นคือกรรมฐานอันหนึ่ง เรียกว่าภาวนา
สวดมนต์ เป็นภาวนา


พิธีกร: แล้วหลวงพ่อจะให้ลูกสวดสักกี่จบคะ
เห็นบอกว่าให้สวด เท่าอายุบวกกับหนึ่งหรือคะ
หลวงพ่อจรัญ: คืออย่างนี้ ขอเจริญพร ที่ว่าให้ว่าสวดเท่าอายุนี่
หมายความว่าอายุเท่าไหร่ ๒๐ ถ้าเราสวดแค่ ๑๐ เดียว มันก็ไม่เท่าอายุ
สวดไปเนี่ยเท่าอายุก่อนนะมันคุมให้มีสติ แล้วก็เกินหนึ่งเพราะอะไร
ที่พูดเกิน หนึ่งเนี่ยหมายความคนมักง่ายมักได้ คือ มันมีเวลาน้อย
ถ้าสวดแค่เกินหนึ่ง ทำอะไรให้มันเกินไว้
เหมือนคุณโยมเนี่ยไปค้าขาย ยังไม่ได้ขายได้สักกะตังค์เลย
จะเอาอะไรไปให้ทาน ยังไม่ได้กำไรเลยต้องให้ตัวเองก่อนนะ
นี่ต้องค้าขายต้องลงทุนนี่ ต้องลงทุนก็สวดไป
แต่สวดมากเท่าไรยิ่งดีมาก ได้มีสมาธิมาก
แต่อาตมาที่พูดไว้คือคนมันไม่มีเวลา ก็เอาเกินหนึ่งได้ไหม
เกินหนึ่งได้ก็ใช้ได้นะ แต่ถ้าเกินถึง ๑๐๘ ได้ไหม ยิ่งดีใหญ่
ทำให้เกิด สมาธิสูงขึ้น


พิธีกร: อันนี้หมายถึง สวดทั้งบทพุทธคุณ
บทพาหุงฯ และก็บทมหาการุณิโกฯ
หลวงพ่อจรัญ: คืออย่างนี้ขอเจริญพร เพื่อต้องการอย่างนี้
เอาพุทธคุณ เอาพระพุทธเจ้ามาไว้ในใจ ก็สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากาฯ
หนึ่งจบแล้วใช่ไหม แล้วก็ย้อนมาพุทธคุณห้องเดียวเท่าอายุเกินหนึ่ง
เนี่ยบางคนไม่เข้าใจเยอะ เลยไปเห็นว่า เอ้ยต้องสวดพาหุงฯ ด้วย
ต้องเท่าอายุ เลยเลิกเลย ไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจ... จึงเลิกไป เลยทิ้งไปเลย
หาว่ายาว ยาวอะไร เวลาไปนั่งแบะแซะดูทีวีไปนั่งโกหกมดเท็จเขาน่ะ ไม่ยาวเหรอ
สร้างความดีน่ะนิดเดียว เวลาพระเทศน์น่ะ
นี่พระเดชพระคุณเทศน์แค่ ๕ นาทีพอแล้ว เดี๋ยวผมจะไปรับแขก
สร้างความดีนิดเดียว แล้วความไม่ดีมากกว่า
บวกลบ คูณหารคอมพิวเตอร์จะตีมาว่ายังไงครับ จะตีออกมาแบบไหน
ตีลบหรือตีบวกกันแน่ ขอเจริญพรอย่างนี้


พิธีกร: เรื่องคาถาพระชินบัญชร เห็นคนสมัยนี้นิยมสวดกันมาก
มีความเกี่ยวข้องอย่างไร กับที่เราจะสวดพุทธคุณกับพาหุงฯ ไหมคะ
แล้วก็มีที่มาอย่างไร
หลวงพ่อจรัญ: ขอเจริญพรอย่างนี้นะ ส่วนมากจะเป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่
นิยมสวดชินบัญชรกันมาก แต่อย่าลืมว่าชินบัญชรนี่สมเด็จโต
ท่านสวดบูชาพระอรหันต์ชั้นสูง แล้วเรายังไม่ได้ชั้นอะไร
พุทธคุณสักข้อก็ไม่มี ธรรมะข้อเดียวไม่มีไปสวด
อย่างคุณโยมนี่สมมุติยังไม่ได้ชั้นมัธยมเลย ขึ้นมหาวิทยาลัยเลยได้เหรอ
ยังไม่ได้เลยต้องเอาไว้ก่อน ขั้นต้นของบันไดหญ้าปากคอก
ต้องมีคุณพระพุทธเจ้าไว้ในใจ มีพระธรรมคุณ สังฆคุณ
เรียกว่า พระรัตนตรัยยึดเหนี่ยวทางใจก่อน แล้วค่อยไปสวด
อันโน้นน่ะได้ผลแน่ ถ้ายังไม่มีอะไรเลยพื้นฐานอะไรเลย
สวดชินบัญชรสวดกันมาก แล้วก็ไม่ได้ผล
สวดไม่ได้ผลแล้วก็มาว่าอย่างโน้นอย่างนี้
ถ้าคนไหนมีธรรมะหรือบูชาพระอรหันต์ บูชาพระพุทธเจ้าได้แล้ว
สวดได้แน่ ดีด้วย แต่ยังไม่รู้เรื่องเลย ก.ไก่ ก็ยังไม่รู้เรื่องเลยขึ้นมัธยมแล้ว
ประถมยังไม่ผ่าน แล้วก็มัธยมไม่ผ่านผ่าเสือกไปมหาลัยเลย..ใช้ได้เหรอ
แต่อาตมาว่าดีทั้งหมด ชินบัญชรก็ดี ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะ
แต่สมเด็จโตท่านบูชาพระอรหันต์ ท่าน ธรรมชั้นสูง


พิธีกร: อยากให้หลวงพ่อเล่าเรื่องลุงพัดน่ะค่ะ
ว่าลุงพัดเขาสวดพุทธคุณ แล้วเขารักษาตัวเค้าเองได้อย่างไรคะ
ลุงพัดที่ว่าเป็นอัมพาตค่ะ
หลวงพ่อจรัญ: ขอเจริญพร คุณโยมถามดีมาก เป็นเรื่องจริง
ที่ผ่านมาในกฎแห่งกรรม ลุงพัดอายุ ๗๐ เศษ
แต่อาตมาจำเศษไม่ได้ แกเป็นอัมพาตแล้วต้องให้ลูกให้หลาน
ต้องมาเช็ดก้นเช็ดตูด เดินไม่ได้ นอนแอ้งแม้งอยู่บนเตียง
แล้วก็เสียใจ คิดกินยาตาย กินยาตายก็ให้พวกเด็ก ๆ
หรือลูกหลานหรือใครก็ไม่ทราบล่ะ ไปซื้อยา ยากะโหลกไขว้น่ะ
ยาที่กินแล้วตายน่ะ เอามาจะกิน เลยครูอ่อนจันทร์ครูโรงเรียนทั้งผัวเมีย
ก็ได้ข่าวบ้านใกล้เรือนเคียงกันก็ไปเยี่ยมลุงพัด
ไปเยี่ยมลุงพัดแล้วก็ถาม บอกลุง..ทำไมถึงกินยาตายล่ะลุง
ลุงก็เป็นทายก แล้วก็เป็นผู้เสียสละเป็นนักธรรมะธัมโม
แล้วจะกินยาตายด้วยประโยชน์อันใด ลุงพัดก็แก้ปัญหา
บอกว่า ครู...ผมน่ะ ก็แก่แล้ว แล้วก็ลูกต้องมาเอาใจใส่หลานต้องมาดูแล
จะไปโรงเรียนก็เสียเวลาเขา ต้องมานั่งเช็ดก้นเช็ดตูด
แล้วมาป้อนข้าวผมเนี่ย เกรงใจ ลูกหลาน ผมตายเสียดีกว่า
เลยครูอ่อนจันทร์ก็พูด อ้อนวอนว่า
ลุง.. อย่าตายเลย ตายเป็นบาป..ลุงก็ทราบ แต่เราเกรงใจหลาน
เขาต้องมานั่งดูแลเรา กลับมาจากโรงเรียนก็ต้องมาเช็ดก้นเช็ดตูด
ต้องมาปฏิบัตินะ ต้องมาป้อนข้าว เลยก็ลุงก็อยากจะกินยาตายให้มันหมดสิ้นไป
ลุงอย่าเพิ่งกินเลยสวดมนต์เถอะ สวดมนต์อะไรเล่า
สวดพุทธคุณ ของหลวงพ่อวัดอัมพวัน ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากาฯ

อ๋อ ลุงได้ แล้ว แต่ไม่ได้สวดเลยตาลุงก็เอ้าหันเหเร่ทิศตามครูอ่อนจันทร์
ที่เขาเคยมาปฏิบัติธรรมที่วัดนี้ไง
เลยก็สวด สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากาฯ
แล้วก็สวดพุทธคุณเท่าอายุ ๗๐ เศษ เศษเท่าไร
อาตมาจำไม่ได้ สวดไปแล้วหายใจยาว ๆ เจริญกรรมฐานไปด้วย
ตาลุงนี่ก็เกิดปฏิกิริยาปวด ไปเรียกครูอ่อนจันทร์มา
ปวดจัง ปวดจัง ขอเจริญพรคุณโยม ถ้าเป็นอัมพาตถ้าปวดต้องหายทุกราย
ถ้าไม่ปวดไม่มีทางหาย เลยก็ลุงก็ปวดหนักเข้า ๆ ลุกนั่งดะแล้ว
สรุปใจความว่าเดินได้ เดินได้ถีบจักรยานได้เลย และเป็นตัวตุ๊ย* ไปเลย
เป็นพระเอกในเมืองหนองคายไป เลยก็ไปสอน บัดนี้บวชแล้ว
ขี่จักรยานก็ได้ไปไหนก็ได้ เลยก็สอนเรื่องพาหุงมหากาฯ สวดกันใหญ่


พิธีกร: แต่ตอนนั้นไม่ได้มาหาหลวงพ่อนะคะ
เพียงแต่ปฏิบัติตาม เท่านั้นเอง
หลวงพ่อจรัญ: ไม่ได้มา ไม่ได้มา ปฏิบัติตามเหมือนคุณตะกี้นี้ไง
ได้แต่ปฏิบัติตามอย่างนั้น เลยก็สวดใหญ่เลย สวดใหญ่เลยก็เป็นหมอเอกไปเลย


พิธีกร: อานิสงส์ของการสวดพุทธคุณนี่นะคะ
ได้แก่ตัวเราคนเดียว ทำให้คนอื่นได้ไหมคะ
หลวงพ่อจรัญ: ได้ สวดพุทธคุณเนี่ย อาตมาไปเห็นโยมแก่คนหนึ่ง
ที่ สุพรรณบุรีนะ อายุ ๙๐ กว่า ไม่มีครอบครัวนะ
อาตมาไปได้ตัวอย่างมา มีกับข้าวบริบูรณ์เลยอาตมาเอาแล่นเรือยนต์ไป
พระตั้งหลายองค์แล้ว ก็ฆราวาสอีก ๘
แกไม่มีหม้อข้าวหม้อเตาไฟเลยนะ บอกนิมนต์ฉันเพล
เราบอก เอ้ย ยายแก่นี่โกหกเราแล้ว เราจำเป็นเหลือ ๑๐ นาทีจะเพลแล้ว
จะไปตลาดซื้อไม่ทันก็จอดเรือเข้าไปที่แพแก อายุมากแล้วสวยด้วย
เดี๋ยวเพล ตึง ตึง ตึง กับข้าวมาเต็มเลย มาเต็มเลยอาตมายังจำได้
อ้าว คนนั้นส่งมาถ้วย แก.. อิติปิ โส ภควา อะระหังสัมมา สัมพุทโธวิชชา...
แล้วแกก็เท ถ่ายแล้ว อิติปิ โส ภควา... จบแล้วก็บอกนี่เอาไปฝากแม่เธอด้วย
ถาม อาตมาถามว่า ยาย...ทำไมต้องสวดสองหน อิ...(อิติปิโส)
หนนึงเราต้องเอาก่อน อิ...(อิติปิโส) หนนี้ไปให้เขา
ได้แน่ ได้แน่ ๆ นี่มันมีประโยชน์อยู่ นี่อาตมาก็จำไว้

พิธีกร: อ๋อ หมายถึงว่าหลวงพ่อได้ฉันอาหารจากคุณยายคนนี้
ในลักษณะ อย่างนี้เหรอคะ
หลวงพ่อจรัญ: เนี่ยกับข้าวเยอะเลย ถามบอก..ยายนี่มาไงกันเนี่ย
แล้วก็ยายมีลูกไหม ฉันไม่มีครอบครัว มีนาอยู่เจ็ดแปดร้อยไร่
ยกให้วัดและก็ยกให้เด็ก ๆ บ้านนี้หมด
แล้วเขาก็มาปฏิบัติมานอนด้วยซักผ้าซักผ่อนให้ด้วย
ขอเจริญพรพูดนอกนิดนึง บางคนเนี่ยกลัวไม่มีลูกมาปฏิบัติ
มีลูกตั้งแปดเก้าคนไม่เคยมาเช็ดก้นเช็ดตูดเลยนะ
เพราะเป็นเวรกรรมของแม่ไม่เคยทำต่อเนื่องกันมา
แต่คุณยายเนี่ยไม่มีลูกไม่มีผัว นี่ขอพูดอย่างชาวบ้านนอก
แต่มีคนปฏิบัติทั้งแถวเลย แล้วกลางคืนมีคนมานอน
แล้วเสื้อผ้าซักรีดให้เสร็จแต่กับข้าวไม่มีเลย
แต่ถึงเวลาเต็มเลย คนละถ้วยใช่ไหมทั้งแถวเลย
เนี่ยแล้วแกก็ทำอย่างเนี๊ย ถามบอก ยาย..ทำไมต้องสวดสองหน
อิ...(อิติปิโส) หนนึงเราต้องเอาไว้ก่อน เราต้องเอาเป็นบุญก่อน อิ...(อิติปิโส)
หนที่สองเป็นกำไรให้เขาไป
นี่อาตมาจำซึ้งมาแล้วก็ใช้ได้ผลอย่างนี้ ขอเจริญพร


พิธีกร: หลวงพ่อขาอานิสงส์ของพุทธคุณ
ในการที่จะรักษาไข้เนี่ยนะคะ นอกจากจะรักษาไข้แล้วนี่
ยังเป็นประโยชน์อย่างอื่นได้ไหมคะ
หลวงพ่อจรัญ: เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากมาย
เด็ก..ที่จะไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยและฝรั่งมังค่าก็ตามนะ สวดเท่าอายุเกินหนึ่ง
แล้วก็พาหุงมหากาฯ เข้าไว้ แล้วก็สวดเกินหนึ่งไป สอบไม่เคยตก
นี่อานิสงส์สำหรับเด็ก สวดเข้ามันมีปัญญา มันมีปัญญามันมีความคิด
และสามารถผจญมารได้ทุก ๆ บท ดีอย่างนี้ดีสำหรับเด็ก ให้เด็กสวดไว้
กล้ารับรองว่าเด็กเกเรเกเสน่ะพ่อแม่เอาใจใส่ลูกเป็นกรณีพิเศษ
ให้ลูกสวดมนต์ไหว้พระไว้แล้ว ก็ไปสวดเท่าอายุ
ไม่เคยพลาดเลยไปสอบไม่เคยตก ไปสอบสัมภาษณ์อะไรก็ไม่เคยตก
ไปเมืองสหรัฐอเมริกาหรือไปกรุงปารีสไม่เคยตก
ที่เป็นด๊อกเตอร์มานี่เขาสวดกัน ขอเจริญพร


พิธีกร: สำหรับคนที่อยากจะสวดพุทธคุณนะคะ
แต่ยังไม่ได้รู้เบื้องต้นเลยนี่นะคะ หลวงพ่อจะกรุณาแนะนำอย่างไรบ้างคะ
หลวงพ่อจรัญ: ได้ได้ ถ้ายังไม่รู้อะไรเลยนะ ถ้าขอให้มีศรัทธาหน่อย
มั่นใจหน่อย เพราะว่าศาสนาเนี่ยต้องการจะให้มีศรัทธาและมั่นใจ
ถ้ามั่นใจเป็นตัวของตัวเองขึ้นมานะ อ่านไปก่อน
จะขี้เกียจท่องอ่านทุกวัน เดี๋ยวมันจำได้
พอจำได้จิตมันเป็นสมาธิ เอกัตคตา ได้ผลตอนนั้น ได้ผลแน่ ๆ
บอกขอให้ทำเถอะ สวดดีกว่าไม่สวด
ดีกว่าไปเที่ยวเล่นชมวิวชมอะไร ไปช้อปปิ้งกันเสียเวลา ขอเจริญพรอย่างนี้

หมายเหตุ ตัวตุ๊ยที่หลวงพ่อพูดถึงนั้น คือ ตัวตลก
ในการสวดคฤหัสถ์ มีหน้าที่สร้างความขบขัน ความสนุกสนานให้แก่ผู้ชม
ไม่ว่าจะเป็นการพูดขัดแย้งหรือแสดงโลดโผนใด ๆ กับผู้สวดคนอื่น ๆ
ที่มีทั้งหมด ๔ คนก็ได้ เพียงแต่ให้อยู่ในแบบแผน
รักษาแนวทางมิให้ออกนอกลู่นอกทางไปเท่านั้น

จากบทสัมภาษณ์ในรายการ “ชีวิตไม่สิ้นหวัง” ทางช่อง ๓
*บทความนี้ถอดตรงตามภาษาพูด จากบทสัมภาษณ์
ควรฟังจากเสียงธรรมะบรรยายอีกครั้งหนึ่ง


ท่านสามารถรับฟังเสียงธรรมบรรยายได้ที่
ถามตอบเรื่องการสวดมนต์
โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ ตอนที่ 1

http://fs4.netdiskbytrue.com/Pub043/40/ ... file01.mp3

ถามตอบเรื่องการสวดมนต์
โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ ตอนที่ 2

http://fs3.netdiskbytrue.com/Pub034/45/ ... file02.mp3


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


บทสวดมนต์

กราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)


นมัสการ (นะโม)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

ไตรสรณคมน์ (พุทธัง ธัมมัง สังฆัง)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉาม

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ


พระพุทธคุณ (อิติปิ โส)

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ


พระธรรมคุณ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ *

(* อ่านว่า วิญญูฮีติ)


พระสังฆคุณ


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย* ปาหุเนยโย* ทักขิเณยโย* อัญชะลี กะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

(อ่านออกเสียง อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไณยโย โดยสระเอ กึ่งสระไอ)


พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง* วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ

* พรัหมัง อ่านว่า พรัมมัง


มหาการุณิโก

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง
ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะรา
ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก
สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ

สุนั ขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ
สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ** จาริสุ ปะทักขิณัง
กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ
กัตตะวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

** พรัหมะ อ่านว่า พรัมมะ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ


หลังจากสวดมนต์ตั้งแต่ต้นจนจบบทพาหุงมาหากาฯ
แล้วก็ให้สวดเฉพาะบทพระพุทธคุณ หรืออิติปิโส
ให้ได้จำนวนจบเท่ากับอายุของตนเอง แล้วสวดเพิ่มไปอีกหนึ่งจบ
ตัวอย่างเช่น ถ้าอายุ ๓๕ ปี ต้องสวด ๓๖ จบ
จากนั้นจึงค่อยแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล


พุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


บทแผ่เมตตา

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ


บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า
ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า
ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


บทสดมนต์ (แปล)

คำแปลกราบพระรัตนตรัย

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้า อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

คำแปลนมัสการ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งเป็น ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (๓ จบ)

คำแปลไตรสรณคมน์

ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

คำแปลพระพุทธคุณ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ)
เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความเจริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ฯ

คำแปลพระธรรมคุณ

พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัตึพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ฯ

คำแปลพระสังฆคุณ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัว บุรุษได้ ๘ บุรุษ
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ฯ

คำแปลพุทธชัยมงคลคาถา

๑. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน
ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารชื่อครีเมขละ พร้อมด้วยเสนา
มารโห่ร้องกึกก้องด้วยธรรมวิธี คือ ทรงระลึกถึงพระบารมี ๑๐ ประการ
ที่ทรงบำเพ็ญแล้ว มีทานบารมีเป็นต้น
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๒. พระจอมมุนีได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง
ดุร้ายเหี้ยมโหด มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามาร ผู้เข้ามาต่อสู้ยิ่งนัก จนตลอดรุ่ง
ด้วยวิธีที่ทรงฝึกฝนเป็นอันดี คือ ขันติบารมี
(คือ ความอดทน อดกลั้น ซึ่งเป็น ๑ ในพระบารมี ๑๐ ประการ)
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๓. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญาช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี เป็นช้างเมามันยิ่งนัก
ดุร้ายประดุจไฟป่า และร้ายแรงดังจักราวุธและสายฟ้า (ขององค์อินทร์)
ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ พระเมตตา
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๔. พระจอมมุนีทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยม
ชนะโจรชื่อองคุลิมาล (ผู้มีพวงมาลัย คือ นิ้วมือมนุษย์) แสนร้ายกาจ
มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๕. พระจอมมุนีได้ทรงชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา
ผู้ทำอาการประดุจว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้สัณฐานกลม
(ผูกติดไว้) ให้เป็นประดุจมีท้อง
ด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือ ความสงบระงับพระหฤทัย
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๖. พระจอมมุนี ทรงรุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป คือ ปัญญา ได้ชนะสัจจกนิครนถ์
(อ่านว่า สัจจะกะนิครนถ์, นิครนถ์ คือ นักบวชประเภทหนึ่งในสมัยพุทธกาล)
ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มุ่งยกถ้อยคำของตนให้สูงล้ำดุจยกธง
เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก
ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้ว ตรัสเทศนาให้มองเห็นความจริง
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๗. พระจอมมุนีทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส
นิรมิตกายเป็นนาคราชไปทรมานพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ
ผู้มีความหลงผิดมีฤทธิ์มาก
ด้วยวิธีให้ฤทธิ์ที่เหนือกว่าแก่พระเถระ
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๘. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพรหมผู้มีนามว่าพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์
สำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์
มีความเห็นผิดประดุจถูกงูรัดมือไว้อย่างแน่นแฟ้นแล้ว
ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

นรชนใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี
ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ บทนี้ทุก ๆ วัน
นรชนนั้นจะพึงละเสียได้ ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลายมีประการต่าง ๆ
เป็นอเนกและถึงซึ่งวิโมกข์ (คือ ความหลุดพ้น) อันเป็นบรมสุขแล

คำแปลมหาการุณิโก

ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา
ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพ
สัตว์ทั้งหลาย ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

ขอ ท่านจงมีชัยชนะ ดุจพระจอมมุนีที่ทรงชนะมาร
ที่โคนโพธิพฤกษ์ ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก
ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพี
ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่ เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้นเทอญ

เวลาที่ “สัตว์” (หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น มนุษย์และสรรพสัตว์)
ประพฤติชอบ ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี
และขณะดี ครู่ดี บูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย
กายกรรม เป็นประทักษิณ วจีกรรม เป็นประทักษิณ
มโนกรรม เป็นประทักษิณ ความปรารถนาของท่านเป็นประทักษิณ
สัตว์ทั้งหลายทำกรรม อันเป็นประทักษิณแล้ว
ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็น ประทักษิณ*

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแกท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ


หมายเหตุ ประทักษิณ หมายถึง การกระทำความดีด้วย
ความเคารพ โดยใช้มือขวาหรือแขนด้านขวา หรือที่หลายท่าน
เรียกว่า “ส่วนเบื้องขวา” ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่มีมาช้านานแล้ว
ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่า การประทักษิณ
คือ การเดินเวียนขวารอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบุคคลที่ตนเคารพนั้น
เป็นการให้เกียรติ และเป็นการแสดงความเคารพสูงสุด เป็นมงคลสูงสุด
เพราะฉะนั้นบาลีที่แสดงไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ความปรารถนาและการที่กระทำกรรมทั้งหลาย เป็นประทักษิณ
อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวานั้น
จึงหมายถึงการทำการพูดการคิดที่เป็นมงคล
และผลที่ได้รับก็เป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวา
ก็หมายถึงได้รับผลที่เป็นมงคลอันสูงสุดนั่นแลฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


มูลเหตุแห่งการค้นพบพระชัยมงคลคาถา
เมื่ออาตมาได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว.........


คืนหนึ่งอาตมานอนหลับ แล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง
ได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส
อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโส ผู้รัตตัญญู จึงน้อมนมัสการท่าน
ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมา แล้วกล่าวกับอาตมาว่า

"ฉัน คือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา
ฉันต้องการให้เธอไปที่วัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อดูจารึก
ที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแด่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้เป็นเจ้า
เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะ เหนือพระมหาอุปราชแห่งพม่า
และประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก
เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว"


ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งที่บรรจุให้
แล้วก็ตกใจตื่นตอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝัน
ก็นึกอยู่ในใจว่า เราเองนั้น กำหนดจิตด้วยกรรมฐาน มีสติอยู่เสมอ
เรื่องฝันฟุ้งซ่านเป็นไม่มี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า
ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ ในวัดใหญ่ชัยมงคล
และจะทำการบรรจุพระบรมธาตุที่ยอดพระเจดีย์
อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ แล้วจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น

อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร บอกนายภิรมณ์ ชินเจริญ
ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่ง เพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย
ซุ้มเสมาขอที่อาตมาได้สร้างขึ้น ตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใกล้กับวัดอัมพวัน
ซึ่งพังลงน้ำ ที่ก๋งเหล๋งเป็นคนรวบรวมเอามาให้อาตมา
ตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ ๆ แต่แตกหัก ผุพัง ทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ
อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง

วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึง ก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันได
แล้วมองเห็นโพรงที่ทางเข้าทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม่พอไต่ลงไปภายใน
ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่า ลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านไม้ ก็ยอมตาย
คนที่ร่วมเดินทางมา เขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง
มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๙.๐๐ น.
อาตมาลงไปภายในพบลานทองคำ ๑๓ ลาน
ดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง ๆ
าตมาจึงได้พบว่า แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว
ท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือ บทสวดมนต์ที่เรียกว่า "พาหุง มหาการุณิโก"
ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ศรีอโยธเยศ
คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ ถวายพระพรแด่พระมหาบพิตรเจ้า
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พาหุงมหาการุณิโก คืออะไร

พาหุงมหากา คือ บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
แล้วก็ พรพาหุงอันเริ่มด้วย พาหุงสะหัส จนไปถึง ทุคคาหะทิฏฐิ
แล้วเรื่อยไปจนถึง มหาการุณิโกนาโถหิตายะ และจบลงด้วย
"ภะวะตุสัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธรรมา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต"
อาตมาเรียกรวมกันว่า "พาหุงมหากาฯ"

อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือ
บทสวดมนต์ที่ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว
ได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำ
เวลาอยู่กับพระบรมราชวัง และในระหว่างศึกสงคราม
จึงปรากฎว่า พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า
ทรงรบ ณ ที่ใดทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมา มิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลย
แม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า
ท่ามกลางกองทัพพม่า ด้วยการกระทำยุทธหัตถี
มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ ดอนเจดีย์ปูชนียสถาน
แม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากัน
พระศพของพระมหาอุปราชาออก ไปราวกับห่าฝนก็มิปาน
แต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากา
ที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง อาตมาได้พบตามที่นิมิต
แล้วก็ไต่ขึ้นมาด้วยความสบายใจ ถึงปากปล่องที่ลงไป
เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า
หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ

ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาฯ ให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา
เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้น เป็นบทสวดมนต์ที่มีค่ามากที่สุด มีผลดีที่สุด
เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากพญาวัสดีมาร
จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคีรี จากองคุลิมาล จากนางจิญมานวิกา
จากสัจจะกะนิครนธ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม
เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มา ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้
ผู้ใดได้สวดไว้เป็นประจำทุกวัน จะมีชัยชนะ
มีความเจริญรุ่งเรือง ตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ


ขอให้คุณโยมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ด้วยนะ ว่าให้สวดพาหุงมหากากันให้ถ้วนหน้า
นอกจากจะคุ้มตัวแล้วยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมาก ๆ เข้า
สวดกันทั้งหลายประเทศ ก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง
พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า

ไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น
ที่พบความมหัศจรรย์ของพบพาหุงมหากา
แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงพบเช่นกัน
โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้


" เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเล็งเห็นว่า
สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว
จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น
แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ
และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตาม พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อานิสงส์ของการสวดพระชัยมงคลคาถา และพุทธคุณ

ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
เป็นใบลานทองคำจารึกของ "สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว"
ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา
ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


อานิสงส์ ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากาฯ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ
พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุงมหากาฯ

ผู้ใดสวดมนต์ชัย มงคลคาถา หรือพาหุงมหากาฯ เป็นประจำทุก ๆ วันแล้ว
มีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ
ผู้ใดสวดทุกเช้าค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล จะสมความปรารถนาทุกประการ

ปฐมเหตุ ต้นพุทราในพระราชวังโบราณอยุธยา

ขอฝาก พ.อ.ทองคำ ศรีโยธิน ไว้ด้วยว่าคัมภีร์ใบลานทองคำ
จารึกบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถานั้น
อาตมาให้สัญญาสมเด็จพระพนรัตน์มาจะไม่ให้ใครดู
ถ้าไปให้ใครดู อาตมาก็สิ้นชีวีแน่ ๆ
เหมือนอาจารย์ปถัมภ์ เรียนเมฆ ที่ให้อาตมาเล่าเรื่องพระในป่าให้ฟัง

อาตมาบอกว่า ถ้าเล่าแล้วอาจารย์ต้องตายนะ
เขาบอกว่าตายให้ตาย เพราะพระในป่าบอกว่า ตายไปแล้ว ๓ เดือนจะฟื้น
และบอกว่าวันนี้จะมาสาวไส้หลวงพ่อวัดอัมพวันให้หมด

เลยบอกว่า เอ้าตกลง โยมต้องตายนะ
เลยเล่าเหตุการณ์ให้ฟังที่ร้านก๋วยเตี๋ยวปากบาง
เขาอัดเทปไว้ ๕-๖ ม้วน ถ่ายรูปด้วย ขณะเล่ามีงูใหญ่โผล่ขึ้นมา
ไม่มีรู หลานเขยจะตี ก็ห้ามไว้ ก็นึกว่าอาจารย์ปถัมภ์ต้องตายแน่

พอเล่าเหตุการณ์เรียบร้อย อาจารย์ปถัมภ์เอาพระเกศ
พระที่หล่อที่หอประชุมภาวนา-กรศรีทิพา มาขอถ่ายกลับไปเทปก็ไม่ติด
รูปก็ถ่ายไม่ติด อาจารย์ปถัมภ์ก็แน่นที่หัวใจ รุ่งเช้าถึงแก่กรรม

ภรรยาอาจารย์ปถัมภ์ มาถามอาตมาว่า
อาจารย์ปถัมภ์ จะฟื้นหลัง ๓ เดือนแล้วจริงหรือไม่
อาตมาบอกว่าโยมไปดูเสียให้ดี เลือดออกทาง หู ตา ปาก หรือเปล่า
ถ้าออกแล้วไม่มีฟื้น ถ้าทวาร ๙ เปิดไม่มีฟื้นนะ

แต่คนที่ฟื้นแบบ พ.อ.เสนาะ ไม่ใช่ตายนะ แค่สลบไป
หัวใจยังเต้นทำงานอยู่ ฟื้นได้ ถ้าขาดใจตาย
ไม่มีลมวิญญาณออกไปแล้วไม่มีกลับมา
เลยอาจารย์ปถัมภ์ถึงแก่ความตาย
ถ้าอาตมาไม่ได้รับสัญญามา จะให้คุณโยมทองคำดูให้ได้

อย่าลืมนะเขา ขึ้นไปยอดเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลกัน
อาตมาโดดลงบ่อ ถ้าขึ้นไม่ได้ก็ขอตายที่นี่
ที่สมเด็จพระพนรัตน์ท่านมาเข้าฝันบอก และได้ตามนั้นด้วย

อาตมาถึงยืนยันว่า พระสงฆ์ไทยเรานี้ มีความรู้ในพระพุทธศาสนาลึกซึ้ง
กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี พระอุบาลีที่ไปประกาศศาสนาที่ประเทศศรีลังกา
ท่านแปลพระไตรปิฎกจบ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว
ท่านเป็นผู้รจนาฉันท์บาลีว่าด้วยชัยชนะของพระพุทธเจ้า ๘ บท
ที่เรียก พาหุงมหากาฯ ขึ้นมา ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระนเรศวร

อาตมาจึงให้เขาสวดมนต์บท “พาหุงมหากาฯ” เป็นประจำ
ถ้าเด็กมีศรัทธาสวด สอบได้ที่หนึ่งเลย
ถ้าสวดไปซังกะตาย ไม่มีศรัทธาสวด รับรองไม่ได้ผล

บท “พาหุงมหากาฯ” เป็นจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว
เอาประวัติที่พระพุทธเจ้าผจญมาร มารจนาขึ้น
แล้วท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เอาไปเผยแผ่ที่ประเทศศรีลังกา
จนได้รับยกย่องมาจนทุกวันนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ปฐมเหตุต้นพุทรา ในพระราชวังโบราณกรุงศรีอยุธยา

คุณโยมทองคำโปรดทราบ มีอีกคัมภีร์หนึ่ง
เป็นคัมภีร์ฉลองวัด ฉลองศึกมหาอุปราช จารึกไว้ว่า
ทำไมมีต้นพุทราที่พระราชวังมากมาย
ถ้าไม่มีเหตุผลเขาไม่ปลูกไว้หรอก นี่คนโบราณ

คัมภีร์นี้บอกไว้ชัด ตอนที่สมเด็จพระนเรศวร
ยกทัพไปได้นำคัมภีร์ชัยมงคลคาถาไปด้วย พอสวดพาหุงสะหัสฯ
ช้างตกน้ำมันแผลงฤทธิ์เลย แม่ทัพนายกองตามไม่ทัน
เข้าไปถึงกองทัพพม่า พม่าล้อมไว้เลย

ไปเพียงสองพระองค์กับพระเอกาทศรถ พระอนุชา พม่าจะฆ่าเสียก็ตาย
แล้วเหมือนลูกไก่ในกำมือ จะบีบก็ตายจะคลายก็รอด
แต่พระองค์มีบุญญาธิการเพราะมนต์บทพาหุงสะหัส

ผลสุดท้าย มีสุนทรวาจาทักทายปราศรัย
ก่อนกระทำยุทธหัตถีว่าทั้งสองฝ่ายขอสมาลาโทษต่อกัน

พระนเรศวรตรัสว่า เจ้าพี่มหาอุปราชเอ๋ย เราเป็นพี่น้องกัน
อย่าให้ทหารไพร่พลต้องล้มตาย เรามายุทธนากันตัวต่อตัวดีกว่า

พระมหาอุปราชเห็นด้วยทันที เพราะบทสวดมนต์พาหุงมหากาฯ
อิติปิโส ภควา ใครจะสู้ได้ อัญเชิญพระคุณของพระพุทธเจ้า
ออกไปสนทนาไปด้วยจิตเป็นเมตตา คนจึงเชื่อถือ

ถ้าออกปากไปด้วยโทสะ คนไม่เชื่อถือ ลูกก็ไม่สนใจ นี่เรื่องจริงตรงนี้
พระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีด้วยช้างตกน้ำมัน มีกำลังเจ็ดช้างสาร
มีพลังยิ่งกว่าช้างมหาอุปราช ก็พุ่งเข้าไปเลย

“เราไม่โกรธกันนะ อย่าเอาบาปกันนะ” พระมหาอุปราชก็ตกลง

พอพูดขาดคำปั๊บ ช้างแปร๋นเลย เสียท่าเข้าไปเลย เข้าไปทำอย่างไร
มหาอุปราชฟันเลย ไปชนกันอย่างนี้จึงฟันถึง จำไว้

พระนเรศวรเก่งมาก ทรงหมอบเลยถูกพระมาลาเบี่ยง
เบี่ยงแล้วทำอย่างไร กำลังอยู่กระชั้นชิด ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า
เอาของ้าวฟัน ไม่มีทาง ขอเคียงฟันได้เหรอ จะขาดไหม
มันมีน้ำหนักอยู่ตรงไหน มันยาว ฟังตรงนี้นะ อยู่ในคัมภีร์เสร็จ

พระนเรศวรหมอบ ข้างหลังส่งของ้าว ภายใน ๑ วินาที
สอดเข้าไปในรักแร้เลย แล้วชักด้ามกลับ ช้างเผ่นทันที
ช้างพระนเรศวรเสียหลักแล้วก็ช่วยดึงด้วย

พระนเรศวรจับของ้าวแน่นเลย ของ้าวขึ้นมาที่คอสะพายแล่งแล้ว
พอช้างดึงปั๊บ ช้างจะล้ม พระมหาอุปราชสะพายแล่งขาดลงคอช้างทันที
แต่ช้างพระนเรศวรจะต้องล้ม เสียท่าทหารพม่าแน่
แต่ช้างกลับถอยหลังไปโดนต้นพุทรา เอาขายันเข้าไว้ได้
ต้นพุทราจึงมีบุญคุณต่อพระนเรศวร
พระนเรศวรจึงเอาพุทราต้นนี้มาปลูก และไหว้ต้นพุทรา
พระนเรศวรจึงบูชาต้นพุทรา ว่ารอดตายนี่เพราะต้นพุทราแท้ ๆ
ช้างมายันต้นพุทราไว้ เพราะปฐมเหตุนี้
ต้นพุทราจึงมีมาก จนตราบเท่าทุกวันนี้ ในราชวังโบราณกรุงศรีอโยธยา


ใครไม่เชื่อไม่เป็นไร อาตมาเชื่อหมื่นเปอร์เซ็นต์ เพราะเราฝันของเราเอง
และโดดลงบ่อได้คัมภีร์นี้มา คนอื่น ๆ ขึ้นข้างบน
อัญเชิญพระธาตุไปบรรจุ และนำพระเครื่องเมืองพรหมนคร
พระเสมาชัย พระเสมาขอ ไปบรรจุไว้ที่วัดใหญ่ชัยมงคลด้วย

พระเสมาขอ คือ พระนเรศวรขอเมืองคืน

พระเสมาชัย คือ ได้ชัยชนะปลงพระชนม์พระมหาอุปราชแล้ว
พระนเรศวรสร้างแล้วบรรจุไว้ที่เจดีย์วัดชัยชนะสงคราม อยู่ใต้วัดอัมพวัน

อาตมาก็ขอบรรจุพระเสมาขอ และเสมาชัยไว้ที่วัดใหญ่ชัยมงคล
เพื่อเป็นอนุสรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสืบไป


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร