วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2017, 05:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:
พุทธโอวาทหรือสรุปคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
3 ข้อแรกคือ
1.สัพพปาปัสสะ อะกรณัง......การไม่ทำบาปทั้งปวง=ละชั่ว

2.กุสลัสสูปสัมปทา....การทำกุศลให้ถึงพร้อม=ทำดี

3.สะจิตตะปริโยทปะนัง.....การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ

2 ข้อแรกนั้นคล้ายกันกับคำสอนในศาสนาอื่นๆ ต่างกันแค่รายละเอียดในบางข้อ

แต่ข้อที่ 3 การชำระจิตของตนให้ขาวรอบนั้น เป็นความแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากศาสนาและลัทธิคำสอนอื่นๆ จนถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนา เป็นสัญญลักษณ์ที่สำคัญของชาวพุทธ เป็นเครื่องชี้วัดแลรับรองว่าใครเป็นพุทธแท้หรือพุทธเทียมได้เลยทีเดียว

การจะชำระจิตของตนให้ขาวรอบได้นั้นต้องใช้
วิปัสสนาภาวนา อันเป็นวิชาที่ค้นพบโดยพระพุทธเจ้า

วิปัสสนาภาวนา....สติปัฏฐาน 4.....มรรค 8 การเจริญโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ และการพอกพูนความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ เป็นอันเดียวกัน คือเพื่อชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
(มีต่อ)
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2017, 19:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b46:
วิปัสสนาภาวนา ช่วยชำระจิตของตนให้ขาวรอบได้อย่างไร?

ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าอะไรที่มาทำให้จิตใจเราสกปรก มืด ดำ
สิ่งที่ทำให้จิตใจสกปรก มืด ดำคือ
อาสวะทั้ง 4
1.กามาสวะ ความยินดี ยินร้ายต่อผัสสะทั้งปวง
2.ภวาสวะ ความยึดติดในความมีความเป็น
3.ทิฏฐาสวะ ความยึดติดในความเห็น
4.อวิชชาสวะ ความไม่รู้อริยสัจจ

อาสวะ=สิ่งหมักดอง เครื่องข้อง ปฏิกูล เครื่องทำให้แปดเปื้อน เศร้าหมอง ขยะ ของจิตใจ

วิปัสสนาภาวนา เป็นกระบวนการเข้าไปรู้ ไปสังเกต ปรากฏการณ์ต่างๆของกายและจิต โดยไร้การแทรกแซงจากความเห็นความยึดใดๆ จนปฏิกิริยาหรือปรากฏการณ์ทั้งหลาย หมดเหตุหมดปัจจัย ดับสลายไปเอง

ผลพลอยได้จากการรู้และสังเกตกายใจนี้ก็คืออาสวะทั้ง 4 ก็จะสูญสลายเบาบางลงไปทุกทีจนเหลือน้อยและหมดไปเองในที่สุด


หลังจากการไปรู้ ไปสังเกตปรากฏการณ์ทุกอย่างทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดแล้ว จะเกิดความรู้จริงรู้ยิ่ง ถึงความจริงของชีวิตหรือขันธ์ 5 รูป นาม กายใจ นี้ว่ามีแต่ความเกิดขึ้นและดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หาสาระแก่นสารอะไรให้ยึดถือ
มิได้ ทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามกำลังแห่งเหตุ ปัจจัยและผล หมุนวนเปลี่ยนไปไม่รู้จบ จนพบว่าเพราะความเห็นผิดยึดผิดเพียงเท่านี้ที่เป็นตัวกระทำ ผลักดันให้ จิตดวงนี้ต้องตกอยู่ในกระแสแห่งความหมุนวน รู้แล้ว สติ ปัญญาก็จะสลัดคืนความเห็นผิดยึดผิด สลายทิ้งอาสวะทั้ง 4 พาจิตสู่ความหลุดพ้น ถึงนิพพานพลัน
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2017, 07:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
ขณะที่นั่ง ยืนหรือนอน นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์อยู่เฉยๆนั้น เหตุ ปัจจัย คือ ผัสสะ กรรม วิบากต่างๆ ที่มีกำลังอยู่ก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆขึ้นมาในกายและจิตเป็นอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ จนมารวมลงกลายเป็นอภิชฌาและโทมนัสสัง
ที่แปลว่าความยินดียินร้ายซึ่งเป็นเวทนาทางจิตที่จะต่อไปให้เกิด ตัณหา 3

ณ.จุดนี้พระบรมศาสดาได้ทรงแนะนำไว้ให้
"อาตาปี สัมปฌาโน สติมา วิเนยยะ โลเกอภิชฌา โทมนัสสังแปลเป็นไทยได้ว่า ให้มีความเพียรเผากิเลส มีปัญญา มีสติ
เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก

อาตาปี ความเพียรเผากิเลส จะเป็นตัวหยุดยั้งความยินดียินร้ายไว้

สัมปฌาโน ปัญญา ความรู้ตัวทั่วพร้อม ความเฝ้ารู้เฝ้าสังเกต
สภาวะที่ปรากฏ

สติมา ความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืมคำสอน
จะคอยกำกับจิตมิให้ทำตามอำนาจความยินดียินร้าย

ทั้งความเพียรเผากิเลส ทั้งปัญญาทั้งสติ 3 อย่างนี้เมื่อมีกำลังมากก็จะสามารถต้านทานและระงับยับยั้งความยินดียินร้ายไว้ได้ จนหมดกำลังแห่งความยินดียินร้ายแล้วดับไปเอง

ขั้นตอนนี้สำคัญมากเพราะจะเกิดผลตามมาอย่างมากมาย
1.ชดใช้วิบากกรรมเก่า
2.ระงับการเกิดกรรมใหม่
3.ส่งใจสู่อุเบกขา
4.ชำระความเปื้อนออกจากใจ

หากเอาความยินดียินร้ายออกเสียได้ทันจนครบทุกผัสสะอารมณ์ จิตจะถูกชำระและขาวยิ่งขึ้นๆ จนขาวรอบ บริสุทธิ์
หมดจด ไร้มลทิน ในที่สุด ถ้าคนผู้นั้นไม่ละความเพียรไปเสียก่อน

:b37:
นี่คือประเด็นสำคัญของวิปัสสนาภาวนาที่ซ่อนไว้ลึกลงไปอีกชั้นหนึ่งจากบัญญัติภาษาที่บอกกล่าวไว้

ใครเข้าใจและเข้าถึงความจริงที่ว่านี้ได้แล้วก็จะได้หัวใจของวิปัสสนาภาวนาไปใช้ชำระกายใจตน ตลอดชีวิต
:b36:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2017, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b38:

หากเอาความยินดียินร้ายออกเสียได้ทันจนครบทุกผัสสะอารมณ์ จิตจะถูกชำระและขาวยิ่งขึ้นๆ จนขาวรอบ บริสุทธิ์
หมดจด ไร้มลทิน ในที่สุด ถ้าคนผู้นั้นไม่ละความเพียรไปเสียก่อน


:b37:
นี่คือประเด็นสำคัญของวิปัสสนาภาวนาที่ซ่อนไว้ลึกลงไปอีกชั้นหนึ่งจากบัญญัติภาษาที่บอกกล่าวไว้

ใครเข้าใจและเข้าถึงความจริงที่ว่านี้ได้แล้วก็จะได้หัวใจของวิปัสสนาภาวนาไปใช้ชำระกายใจตน ตลอดชีวิต
:b36:


ฝันกลางวัน....ฝันถึงดอกไม้หอม

น่านอน...จนไม่อยากจะตื่น..

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2017, 05:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
ตื่นจากฝันหรือยังล่ะคุณกบ ?

ชีวิตของคนที่คลุกเคล้าอยู่แต่หลักทฤษฎี ไม่มีการปฏิบัติจริง
พิสูจน์หลักทฤษฎีให้เห็นความจริงไปด้วยนั้น ดุจคนที่ตกอยู่ในห้วงความคิดฝันไม่ยอมตื่น ....ยิ่งรู้ทฤษฎี มากและลึกซึ้งเท่าไหร่ก็ยิ่งฝันหวานฝันเปียกไปมากเท่านั้น ชีวิตอยู่ห่างจากปัจจุบันไปมากยิ่งขึ้นทุกที มีสติดีแต่สัมปชัญญะขาดอยู่เป็นนิจ
ชีวิตดุจเลื่อนลอยไปตามสายลมและปุยเมฆ หาที่ยึดเหนี่ยวเกาะกุมเป็นหลักไม่ได้ จึงต้องหลงล่องลอยไปตามวิบาก กรรมและความหมุนวน ไม่พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตายไปได้สักที

จงตื่นจากฝันมาขยันหมั่น "นิ่งรู้นิ่งสังเกตกายใจ ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์"ให้บ่อย ให้มากยิ่งขึ้นจนเป็นนิสัย อุปนิสัย เพื่อทำลายโมหะ ชำระกายชำระใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
ด้วยวิปัสสนาภาวนา ตามวิชาที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
อย่าได้นิ่งนอนใจ อย่าได้คะนองลำพองไปด้วยความคิดนึก
รู้มากในหลักทฤษฎีเพราะ....."คิดบ่ทำ บ่ได้เสร็จสิ้นดังใจ"

:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2017, 05:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion
ตื่นจากฝันหรือยังล่ะคุณกบ ?

ชีวิตของคนที่คลุกเคล้าอยู่แต่หลักทฤษฎี ไม่มีการปฏิบัติจริง
พิสูจน์หลักทฤษฎีให้เห็นความจริงไปด้วยนั้น ดุจคนที่ตกอยู่ในห้วงความคิดฝันไม่ยอมตื่น ....ยิ่งรู้ทฤษฎี มากและลึกซึ้งเท่าไหร่ก็ยิ่งฝันหวานฝันเปียกไปมากเท่านั้น ชีวิตอยู่ห่างจากปัจจุบันไปมากยิ่งขึ้นทุกที มีสติดีแต่สัมปชัญญะขาดอยู่เป็นนิจ
ชีวิตดุจเลื่อนลอยไปตามสายลมและปุยเมฆ หาที่ยึดเหนี่ยวเกาะกุมเป็นหลักไม่ได้ จึงต้องหลงล่องลอยไปตามวิบาก กรรมและความหมุนวน ไม่พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตายไปได้สักที

จงตื่นจากฝันมาขยันหมั่น "นิ่งรู้นิ่งสังเกตกายใจ ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์"ให้บ่อย ให้มากยิ่งขึ้นจนเป็นนิสัย อุปนิสัย เพื่อทำลายโมหะ ชำระกายชำระใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
ด้วยวิปัสสนาภาวนา ตามวิชาที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
อย่าได้นิ่งนอนใจ อย่าได้คะนองลำพองไปด้วยความคิดนึก
รู้มากในหลักทฤษฎีเพราะ....."คิดบ่ทำ บ่ได้เสร็จสิ้นดังใจ"

:b38:


ฝันซ้อนฝัน...

ฝันว่าตื่นจากฝันแล้ว..

อิอิ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2017, 06:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
มิเตอร์ ช่วยวัดระดับสมาธิ ความละเอียด
ความเฉียบแหลมคมกล้าและความสะอาดขาวรอบของจิต
:b37:
1.ลมหายใจ
2.หัวใจเต้น ....อาการเต้นของหัวใจ
3.ชีพจร....อาการเต้นตอดของชีพจร
4.กระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย
5.เวลาที่สามารถนิ่งรู้นิ่งสังเกตสภาวธรรมในกายใจ
6.ความโกรธ....โลภ หลง

มิเตอร์หรือเครื่องมือทั้ง 6 อย่างนี้สามารถช่วยชี้วัด
ระดับสมาธิ ความละเอียดความเฉียบแหลมคมกล้า และความสะอาดขาวรอบของจิตได้
เป็นผลจากการวิเคราะห์วิจัยธรรมของนักวิปัสสนาภาวนา
นำมาเล่าสู่กันฟังเป็นธรรมทัศนะ และลองเอาไปใช้กันดูนะครับ

สติ สมาธิ ปัญญาของปุถุชนคนชาวบ้านธรรมดาทั่วไปจะมีระดับความแตกต่างกันเห็นได้ชัดวัดได้ง่ายจากเครื่องมือเหล่านี้
1.ลมหายใจ....ใครสามารถกำหนดจิตให้รู้ลมหายใจเข้าออก
ของตนเองได้เร็วและทรงความรู้อยู่กับลมหายใจได้นานมากเพียงไรก็แสดงว่าสติ สมาธิ ปัญญามีความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้า และมีความสะอาดของจิตมากขึ้นเพียงนั้น
นับเป็นระดับที่ 1

2.หัวใจเต้น....ใครสามารถกำหนดจิตให้รู้อาการเต้นตอดของหัวใจของตนเองได้เร็วและทรงความรู้อยู่กับหัวใจเต้นได้นานมากเพียงไรก็แสดงว่าสติ สมาธิ ปัญญามีความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้า และมีความสะอาดของจิตมากขึ้นเพียงนั้น
นับเป็นระดับที่ 2

3.ชีพจร....ใครสามารถกำหนดจิตให้รู้ชีพจร
ของตนเองได้เร็วและทรงความรู้อยู่กับชีพจรได้นานมากเพียงไรก็แสดงว่าสติ สมาธิ ปัญญามีความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้า และมีความสะอาดของจิตมากขึ้นเพียงนั้น
นับเป็นระดับที่ 3

4.กระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย....ใครสามารถกำหนดจิตให้รู้กระแสสั่นสะเทือนในร่างกายของตนเองได้เร็วและทรงความรู้อยู่กับกระแสสั่นสะเทือนในร่างกายได้นานมากเพียงไรก็แสดงว่าสติ สมาธิ ปัญญามีความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้า และมีความสะอาดของจิตมากขึ้นเพียงนั้น
นับเป็นระดับที่ 4

5.เวลาที่สามารถนิ่งรู้นิ่งสังเกตสภาวธรรมในกายใจ...
ใคร ท่านใดสามารถสำรวมกายใจมานิ่งรู้นิ่งสังเกตสภาวธรรม
ที่เกิดขึ้นในกายใจได้นานมากเท่าไร ก็แสดงว่าสติ สมาธิ ปัญญามีระดับความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้า ลึกซึ้งและสะมีจิตสะอาดหมดจดมากขึ้นเพียงนั้น...เช่น 1 - 2 - 3 - 4 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น

6.ความโกรธ.....เอาความโกธก่อนเพราะเห็นง่าย
ใครท่านใดที่กระทบผัสสะ เวทนา อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆแล้ว
ความขุ่นมัว(ปฏิฆะ)หรือความโกรธเกิดขึ้นในจิตลดน้อยลงมากเพียงใด ก็แสดงได้ถึงระดับของสะอาด ขาวรอบของจิตตนได้มากเพียงนั้น ความโลภ ความหลงก็เช่นกันแต่จะเห็นยากและไม่ชัด ไม่ไวเท่าความโกรธ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2017, 07:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
อุปมาเปรียบเทียบระดับการชำระจิตของบุคคลระดับต่างๆ

ปุถุชน จิตแปดเปื้อน 100%
กัลยาชน เตรียมชาวพุทธ ชาวพุทธ เป็นผู้มีกาย วาจา ความคิดนึก สะอาด

จุลโสดาบันบุคคล จิตขาวไปแล้วเกือบถึง 1%
โสดาบันบุคคล จิตขาวตั้งแต่ 1 - 25%
สกิทาคามีบุคคล จิตขาวตั้งแต่ 26 - 50%
อนาคามีบุคคล จิตขาวตั้งแต่ 51 - 75%
อรหันตบุคคล จิตขาวรอบ 76 - 100%

คงพอทำให้นึกภาพ จินตนาการกันออกได้ว่า เมื่อเจริญการชำระจิตของตนให้ขาวรอบแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นมาบ้างนะครับ
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2017, 09:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


http://larndham.org/index.php?/topic/44 ... ntry818618

อ้างคำพูด:
ของจริง...มีอย่างเดียว....

หากจะเอาสมมุติบัญญัติที่เราพบเจอ..ที่เราคลุกคลีอยู่..ไปเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้สมมุติเข้าใจได้...ก็คือ...สะอาด..สว่าง...(เพื่อแสดงให้เห็นว่า..มันไม่มีอะไรเจือปน)

ของจริง...มีหนึ่งเดียว...ไม่ปนเปื้อน..ไม่เปลี่ยนแปลง...ไม่แปรผัน...ไม่มีสอง...มีแค่หนึ่ง...เสมือนอากาศอันบริสุทธิ..แม้จะมีกลุ่มควันหรือเมฆฝนลอยเข้ามาในที่อากาศบริสุทธิ์...อากาศบริสุทธิ์ก็ยังอยู่ ณ. ที่นั้น..ไม่เปลี่ยนแปลง..สิ่งที่มีเพิ่ม ณ. ที่นั้น..คือควันหรือเมฆ..ก็เป็นแต่เพียง..การแทรกอยู่เท่านั้น...มิได้ทำให้อากาศที่บริสุทธิ์เปลี่ยนไปเป็นไม่บริสุทธิ์

หน้าที่ของเรา...คือ...เห็นให้จริง..ว่า..สิ่งที่แทรกอยู่...เป็นอย่างไร...เมื่อเห็นสิ่งที่แทรกอยู่ได้..ก็จะเห็นความจริงอันบริสุทธิ์อัตโนมัต..

สิ่งที่แทรกอยู่...เป็นของไม่จริง....
ของไม่จริง..มีลักษณะ..ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์...ไม่มีตัวตนที่แท้จริง..ปรากฏขึ้นด้วยเหตุปัจจัย


ไอ้ที่เราหลง...ก็เพราะไปยึดเอาของไม่จริงเข้า..

:b32: :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 09 ก.ค. 2017, 21:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2017, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านๆ มานาน ก็ไม่เท่าไหร่
จนมา เจอ "จุลโสดาบัน"
V
อโศกะ บุคคลบัญญัติ 4 คู่ 8 บุรุษ
คงต้องเปลี่ยน ไหม?
เป็น 5 คู่ 10 บุรุษ
มีจุลโสดาปฏิมรรค จุลโสดาปฏิผล ?????

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2017, 14:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อ่านๆ มานาน ก็ไม่เท่าไหร่
จนมา เจอ "จุลโสดาบัน"
V
อโศกะ บุคคลบัญญัติ 4 คู่ 8 บุรุษ
คงต้องเปลี่ยน ไหม?
เป็น 5 คู่ 10 บุรุษ
มีจุลโสดาปฏิมรรค จุลโสดาปฏิผล ?????


คำสอนมีหลายนัยหลายสูตร
คำว่าจูฬโสดามีกล่าวในวิสุทธิ 7 ครับ

กังขาวิตรณวิสุทธิ ตรงนี้แหละที่กล่าวว่า จูฬโสดา
เป็นชื่อเรียกกันว่า โสดาน้อยๆ หมายถึงผู้ที่ข้ามพ้น
ความสงสัยได้แล้ว แต่ยังไม่ถึงมรรคามรรคญาณวิสุทธิ

ที่เรียกว่าโสดาบันน้อยๆ นั้น ท่านนั้นมีแนวโน้มเอนเอียงไป
สู่พระอริยะอย่างแน่นอนโดยจะไม่หวนคืนกลับมาอีก
ฉะนั้นจึงเรียกได้ว่าโสดาบันน้อยๆ

คำว่า 5 คู่ 10 บุรุษนั้นไม่มีอยู่ในคำสอนครับ
จึงจำเป็นต้องอ่านในหลายๆสูตรจึงจะเข้าใจได้ดี
เพื่อป้องกันความเห็นผิดที่จะเกิดขึ้นกับตนด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2017, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b38:
มิเตอร์ ช่วยวัดระดับสมาธิ ความละเอียด
ความเฉียบแหลมคมกล้าและความสะอาดขาวรอบของจิต
:b37:
1.ลมหายใจ
2.หัวใจเต้น ....อาการเต้นของหัวใจ
3.ชีพจร....อาการเต้นตอดของชีพจร
4.กระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย
5.เวลาที่สามารถนิ่งรู้นิ่งสังเกตสภาวธรรมในกายใจ
6.ความโกรธ....โลภ หลง

มิเตอร์หรือเครื่องมือทั้ง 6 อย่างนี้สามารถช่วยชี้วัด
ระดับสมาธิ ความละเอียดความเฉียบแหลมคมกล้า และความสะอาดขาวรอบของจิตได้
เป็นผลจากการวิเคราะห์วิจัยธรรมของนักวิปัสสนาภาวนา
นำมาเล่าสู่กันฟังเป็นธรรมทัศนะ และลองเอาไปใช้กันดูนะครับ

สติ สมาธิ ปัญญาของปุถุชนคนชาวบ้านธรรมดาทั่วไปจะมีระดับความแตกต่างกันเห็นได้ชัดวัดได้ง่ายจากเครื่องมือเหล่านี้
1.ลมหายใจ....ใครสามารถกำหนดจิตให้รู้ลมหายใจเข้าออก
ของตนเองได้เร็วและทรงความรู้อยู่กับลมหายใจได้นานมากเพียงไรก็แสดงว่าสติ สมาธิ ปัญญามีความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้า และมีความสะอาดของจิตมากขึ้นเพียงนั้น
นับเป็นระดับที่ 1

2.หัวใจเต้น....ใครสามารถกำหนดจิตให้รู้อาการเต้นตอดของหัวใจของตนเองได้เร็วและทรงความรู้อยู่กับหัวใจเต้นได้นานมากเพียงไรก็แสดงว่าสติ สมาธิ ปัญญามีความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้า และมีความสะอาดของจิตมากขึ้นเพียงนั้น
นับเป็นระดับที่ 2

3.ชีพจร....ใครสามารถกำหนดจิตให้รู้ชีพจร
ของตนเองได้เร็วและทรงความรู้อยู่กับชีพจรได้นานมากเพียงไรก็แสดงว่าสติ สมาธิ ปัญญามีความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้า และมีความสะอาดของจิตมากขึ้นเพียงนั้น
นับเป็นระดับที่ 3

4.กระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย....ใครสามารถกำหนดจิตให้รู้กระแสสั่นสะเทือนในร่างกายของตนเองได้เร็วและทรงความรู้อยู่กับกระแสสั่นสะเทือนในร่างกายได้นานมากเพียงไรก็แสดงว่าสติ สมาธิ ปัญญามีความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้า และมีความสะอาดของจิตมากขึ้นเพียงนั้น
นับเป็นระดับที่ 4

5.เวลาที่สามารถนิ่งรู้นิ่งสังเกตสภาวธรรมในกายใจ...
ใคร ท่านใดสามารถสำรวมกายใจมานิ่งรู้นิ่งสังเกตสภาวธรรม
ที่เกิดขึ้นในกายใจได้นานมากเท่าไร ก็แสดงว่าสติ สมาธิ ปัญญามีระดับความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้า ลึกซึ้งและสะมีจิตสะอาดหมดจดมากขึ้นเพียงนั้น...เช่น 1 - 2 - 3 - 4 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น

6.ความโกรธ.....เอาความโกธก่อนเพราะเห็นง่าย
ใครท่านใดที่กระทบผัสสะ เวทนา อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆแล้ว
ความขุ่นมัว(ปฏิฆะ)หรือความโกรธเกิดขึ้นในจิตลดน้อยลงมากเพียงใด ก็แสดงได้ถึงระดับของสะอาด ขาวรอบของจิตตนได้มากเพียงนั้น ความโลภ ความหลงก็เช่นกันแต่จะเห็นยากและไม่ชัด ไม่ไวเท่าความโกรธ


ทำเจตนา ฟุ้งไปในรูปสัญญาต่างๆนาๆ
จิตไม่เป็นสมาธิตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
แต่ไหลเลื่อนไปสู่ รูป ทั้งหลาย
การทำสมาธิเช่นนี้ เป็นสมาธิเลื่อนลอย
ขยับไปมา ในกายสัมผัส ต่างๆ นับเป็นอันตรายต่อกัมมัฏฐาน

การชำราะจิตให้ขาวรอบ ในรูปสัญญานั้นจิตต้องตั้งมั่นแนบแน่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง แล้วออกจากอารมณ์นั้นมาทำปัจเวก จากนั้นจึงเข้าสู่รูปสัญญา ในระดับต่อๆไป

จะทำอานาปานสติ ก็เลือกเอา
จะดูหัวใจเต้น ก็เลือกเอา
จะดู.... ใดๆ ก็เลือกสักอย่างครับ อย่าสะเปะสะปะจนสับสนไปหมด
เข้าใจนะครับ อโสกะ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2017, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อ่านๆ มานาน ก็ไม่เท่าไหร่
จนมา เจอ "จุลโสดาบัน"
V
อโศกะ บุคคลบัญญัติ 4 คู่ 8 บุรุษ
คงต้องเปลี่ยน ไหม?
เป็น 5 คู่ 10 บุรุษ
มีจุลโสดาปฏิมรรค จุลโสดาปฏิผล ?????


คำสอนมีหลายนัยหลายสูตร
คำว่าจูฬโสดามีกล่าวในวิสุทธิ 7 ครับ

กังขาวิตรณวิสุทธิ ตรงนี้แหละที่กล่าวว่า จูฬโสดา
เป็นชื่อเรียกกันว่า โสดาน้อยๆ หมายถึงผู้ที่ข้ามพ้น
ความสงสัยได้แล้ว แต่ยังไม่ถึงมรรคามรรคญาณวิสุทธิ

ที่เรียกว่าโสดาบันน้อยๆ นั้น ท่านนั้นมีแนวโน้มเอนเอียงไป
สู่พระอริยะอย่างแน่นอนโดยจะไม่หวนคืนกลับมาอีก
ฉะนั้นจึงเรียกได้ว่าโสดาบันน้อยๆ

คำว่า 5 คู่ 10 บุรุษนั้นไม่มีอยู่ในคำสอนครับ
จึงจำเป็นต้องอ่านในหลายๆสูตรจึงจะเข้าใจได้ดี
เพื่อป้องกันความเห็นผิดที่จะเกิดขึ้นกับตนด้วย

โสดาบันบุคคล เป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้วครับ
เพราะละวิจิกิจฉา ซี่งเป็นสังโยชน์ได้

กังขาวิตรณวิสุทธิ ในส่วนของความสงสัยในอริยสัจจ์ นั้นละได้ในชั้นโสดาปฏิผลครับ
ไม่มีหรอกครับ โสดาบันครึ่งๆ กลางๆ เรียกว่า จูฬโสดาบัน หรือโสดาบันน้อยๆ ครับ
ทำความเข้าใจใหม่นะครับ
ผู้ที่มีเพียงแนวโน้มเอียงไปสู่อริยะมรรคชั้นแรก ก็เพียงโคตรภู ครับ
สาวกสังโฆ มีเพียง 4 คู่ 8 บุรุษ ครับ
ไม่มี จูฬโสดาปฏิมรรค จูฬโสดาปฏิผลครับ
มิเช่นนั้น จะกลายเป็น 5 คู่ 10 บุรุษไปครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2017, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความวุ่นวายในการ บัญญัติคำของ อาจารย์ซึ่งบัญญ้ติคำโดยไม่จำเป็นขึ้นมา
นอกจาก จะบัญญัติคำ ว่า จุลโสดาบัน (จูฬโสดาบัน) ขึ้นมา
ยังบัญญัติ คำว่า มหาโสดาบัน อีกด้วย

ต้องทราบไว้ให้พึงดีว่า
สาวกสังโฆ มีเพียง 4 คู่ 8 บุรุษ เท่านั้น

การบัญญัติ คู่บุคคลอื่นใดเพิ่มขึ้น เป็นการบัญญัติโดยอรรถกถาจารย์ ไม่ปรากฏเป็นพุทธวจนะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2017, 21:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไม่ถึงอริยะบุคคล...ความกังขายังไม่สิ้นไปหรอก..เป็นแต่เชื่อเท่านั้น...อิอิ.. :b1: :b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร