วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 02:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศัพท์ทางธรรมที่ได้ยินได้ฟังได้นำไปพูดกันบ่อยๆ แต่คลาดเคลื่อนไม่ตรงกับของเดิม :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ก.พ. 2017, 10:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปกาย ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความได้แก่ รูปขันธ์ หรือร่างกาย เทียบ นามกาย

รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์

รูปตัณหา ความอยากในรูป

รูปธรรม สิ่งที่มีรูป, สภาวะที่เป็นรูป คู่กับ นามธรรม

รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม คือ ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต (ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)

รูปรูป รูปที่เป็นรูป หรือรูปแท้ คือ รูปที่เกิดจากปัจจัยหรือสมุฏฐานของมันโดยตรง มีสภาวลักษณะของมันเอง มิใช่เป็นเพียงอาการสำแดง ได้แก่ นิปผันนรูป ๑๘ ดูที่รูป ๒๘

รูปวิจาร ความตรองในรูป เกิดต่อจากรูปวิตก

รูปวิตก ความตรึกในรูป เกิดต่อจากรูปตัณหา

รูปสัญเจตนา ความคิดอ่านในรูป เกิดต่อจากรูปสัญญา

รูปสัญญา ความหมายรู้ในรูป เกิดต่อจากจักขุสัมผัสสชาเวทนา

รูปารมณ์ อารมณ์คือรูป, สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา

รูปาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในรูป, อยู่ในระดับจิตขั้นรูปฌาน, ระดับที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์, เนื่องในรูปภพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูป ๑. สิ่งที่ต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆอันขัดแย้งกัน, สิ่งที่มีรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะของมัน,

ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูต หรือธาตุ ๔
และ
อุปาทายรูป ๒๔ (= รูปขันธ์ ในขันธ์ ๕) ๒. อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) ๓. ลักษณะนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้องค์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูป ๒๘ รูปธรรมทั้งหมดในรูปขันธ์ จำแนกออกไปตามนัยแห่งอภิธรรม เป็น ๒๘ อย่าง จัดเป็น ๒ ประเภท คือ

ก. มหาภูตรูป ๔ รูปใหญ่, รูปอันเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ที่เรียกกันให้ง่ายว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม, ภูตรูป ๔ ก็เรียก (ในคัมภีร์ไม่นิยมเรียกว่า มหาภูตรูป)

พึงทราบว่า ธาตุ ๔ ปฐวี อาโป เตโช วาโย หรือดิน น้ำ ไฟ ลม อย่างที่พูดกันในภาษาสามัญนั้น เป็นการกล่าวถึงธาตุในลักษณะที่คนทั่วไปจะเข้าใจ และสื่อสารกันได้ ตลอดจนที่จะให้ให้สำเร็จประโยชน์ เช่น ในการเจริญกรรมฐาน เป็นต้น
แต่
ในความหมายที่แท้จริง ธาตุเหล่านี้ เป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง เช่น ปฐวีธาตุ ที่เรียกให้สะดวกว่า ดิน นั้น มีอยู่แม้แต่ในสิ่งที่เรียกกันสามัญว่าน้ำ ว่าลม

อาโปธาตุ ที่เรียกให้สะดวกว่าน้ำ ก็เป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้ (เราไม่สามารถรับรู้อาโปธาตุด้วยประสาททั้ง ๕ แต่มันเป็นสุขุมรูปที่รู้ด้วยมโน) และอาโปนั้น ก็มีอยู่ในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในก้อนหินแห้ง ในก้อนเหล็กร้อน และในแผ่นพลาสติก ดังนี้เป็นต้น จึงมีประเพณีจำแนกธาตุสี่ แต่ละอย่างนั้นเป็น ๔ ประเภท ตามความหมายที่ใช้ในแง่และระดับต่างๆ คือ เป็นธาตุในความหมายที่แท้โดยลักษณะ (ลักขณะ) ธาตุในสภาพมีสิ่งประกอบปรุงแต่ง ที่มนุษย์เข้าถึงเกี่ยวข้องตลอดจนใช้งานใช้การ ซึ่งถือเป็นธาตุอย่างนั้นๆ ตามลักษณะเด่นที่ปรากฏ (สสัมภาร) เป็นธาตุในความหมายที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน (นิมิต หรือ อารมณ์) เป็นธาตุในความหมายตามที่สมมติ เรียกกัน (สมมติ) ดังนี้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฐวีธาตุ ๔ อย่าง คือ


๑. ลักษณะปฐวี ปฐวีโดยลักษณะ ได้แก่ ภาวะแข้นแข็งแผ่ไป เป็นที่ตั้งอาศัยให้ปรากฏตัวของประดารูปที่เกิดร่วม (เรียก ปรมัตถปฐวี บ้าง กักขฬปฐวี บ้างก็มี)

๒. สสัมภารปฐวี ปฐวีโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบภายในกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
ภายนอกตัว เช่น ทอง เงิน เหล็ก กรวด ศิลา ภูเขา

๓. อารัมมณปฐวี ปฐวีโดยอารมณ์ คือดินเป็นอารมณ์ในกรรมฐาน โดยเฉพาะมุ่งเอาปฐวีกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต (เรียกนิมิตปฐวีบ้าง กสิณปฐวี บ้างก็มี)

๔. สมมติปฐวี ปฐวีโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือแผ่นดินเป็นเทวดาว่าแม่พระธรณี (บัญญัติปฐวี ก็เรียก)

อาโปธาตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ลักขณอาโป อาโปโดยลักษณะ ได้แก่ ภาวะไหลซ่าน เอิบอาบ ซาบซึม เกาะกุม (เรียกปรมัตถอาโป ก็ได้)

๒. สสัมภารปฐวี อาโปโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบภายในกาย เช่น ดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ
ภายนอกตัว เช่น น้ำดื่ม น้ำชา น้ำยา น้ำผลไม้ น้ำฝน น้ำผึ้ง น้ำตาล ห้วยละหาน แม่น้ำ คลอง บึง

๓. อารัมมณอาโป อาโปโดยเป็นอารมณ์ คือน้ำที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน (เรียกนิมิตตอาโปบ้าง หรือกสิณอาโป ก็ได้)

๔. สมมติอาโป อาโปโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือน้ำเป็นเทวดาว่าแม่พระคงคา พระพิรุณ เป็นต้น (บัญญัติอาโป ก็เรียก)

เตโชธาตุ ๔ อย่าง คือ


๑. ลักขณเตโช เตโชโดยลักษณะ ได้แก่ สภาวะที่ร้อน ความร้อน ภาวะที่แผดเผา สภาวะที่ทำให้ย่อยสลาย (เรียกปรมัตถเตโช ก็ได้)

๒. สสัมภารเตโช เตโชโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบ ภายในกาย เช่น ไอร้อนของร่างกาย ไฟที่เผาผลาญย่อยอาหาร ไฟที่ทำกายให้ทรุดโทรม
ภายนอกตัว เช่น ไฟถ่าน ไฟฟืน ไฟน้ำมัน ไฟป่า ไฟหญ้า ไฟฟ้า ไอแดด

๓. อารัมมณเตโช เตโชโดยเป็นอารมณ์ คือไฟที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน (เรียกนิมิตตเตโช หรือกสิณเตโช ก็ได้)

๔. สมมติเตโช เตโชโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือไฟเป็นเทวดาว่าแม่พระเพลิง แม่พระอัคนีเทพ เป็นต้น (บัญญัติเตโช ก็เรียก)

วาโยธาตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ลักขณวาโย วาโยโดยลักษณะ ได้แก่ สภาวะที่สั่นไหว ค้ำจุน เคร่งตึง (เรียกปรมัตถวาโย ก็ได้)

๒. สสัมภารวาโย วาโยโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบ ภายในกาย เช่น ลมหายใจ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมหาว ลมเรอ
ภายนอกตัว เช่น ลมพัดลม ลมสูบยางรถ ลมเป่าไฟให้โชน ลมร้อน ลมหนาว ลมพายุ ลมฝน ลมเหนือ ลมใต้

๓. อารัมมณวาโย วาโยโดยเป็นอารมณ์ คือลมที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน (เรียกนิมิตตวาโย หรือกสิณวาโย ก็ได้)

๔. สมมติวาโย วาโยโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือลมเป็นเทวดา เรียกว่าแม่พระวารุต พระพาย เป็นต้น (บัญญัติวาโย ก็เรียก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทายรูป ๒๔ รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูต,อาการของภูตรูป, อุปาทารูป ๒๔ ก็เรียก มี ๒๔ คือ

ก. ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆานะ จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย กาย, มโน ใจ,

ข. โคจรรูป หรือวิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป)

ค. ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และ ปุริสภาวะ ความเป็นชาย

ง. หทัยรูป คือ หทัยวัตถุ หัวใจ

จ.ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่

ฉ. อาหารรูป ๑ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา

ช. ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง

ญ. วิญญัตติรูป ๒ คือ กายวิญญัตติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัตติ ไหววาจาให้รู้ความ คือ พูด

ฏ. วิการรูป ๕ อาการตัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา มุทุตา ความอ่อน กัมมัญญตา ความควรแก่งาน (อีก ๒ คือ วิญญัตติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก)

ฎ. ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้ สันตติ สืบต่อได้ ชรตา ทรุดโทรมได้ อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูปเพียง ๓ จึงได้ ๒๔)


รูป ๒๘ นั้น นอกจากจัดเป็น ๒ ประเภทหลักอย่างนี้แล้ว ท่านจัดแยกประเภทเป็นคู่ๆ อีกหลายคู่ พึงทราบโดยสังเขป ดังนี้

คู่ที่ ๑ นิปผันนรูป (รูปที่สำเร็จ คือ เกิดจากปัจจัยหรือสมุฏฐาน อันได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร โดยตรง มีสภาวลักษณะของมันเอง) มี ๑๘ คือ ที่มิใช่อนิปผันนรูป (รูปที่มิได้สำเร็จจากปัจจัยหรือสมุฏฐานโดยตรง ไม่มีสภาวะลักษณะของมันเอง เป็นเพียงอาการสำแดงของนิปผันนรูป) ซึ่งมี ๑๐ คือ ปริจเฉทรูป ๑ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔

คู่ที่ ๒ อินทรียรูป (รูปที่เป็นอินทรีย์ คือ เป็นใหญ่ในหน้าที่) มี ๘ คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ ชีวิตรูป ๑
อนินทรียรูป (รูปที่มิใช่อินทรีย์) มี ๒๐ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๓ อุปาทินนรูป (รูปที่ตัณหาและทิฏฐิยึดครอง คือ รูปซึ่งเกิดแต่กรรม ที่เป็นอกุศลและโลกียกุศล) ได้แก่ กัมมชรูป มี ๑๘ คือ อินทรีย์รูป ๘ นั้น หทัยรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑
อนุปาทินนรูป (รูปที่ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดครอง มิใช่กัมมชรูป) ได้แก่ รูป ๑๐ อย่างที่เหลือ (คือ สัททรูป ๑ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔)

สำหรับข้อที่ ๓ นี้ มีข้อที่ต้องทำความเข้าใจซับซ้อนสักหน่อย คือ ที่กล่าวมานั้น เป็นการอธิบายตามคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี
แต่ในโมหวิจเฉทนี ท่านกล่าวว่า อุปาทินนรูป มี ๙ เท่านั้น ได้แก่ อินทรียรูป ๘ และหทัยรูป ๑
อนุปาทินนรูป ได้แก่ รูป ๑๙ อย่างที่เหลือ (คือ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ สัททรูป ๑ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔)

ที่ท่านว่าอย่างนี้ มิได้ขัดกัน ดังที่บัญจิกา ชี้แจงว่า ที่นับอุปาทินนรูปเป็น ๙ ก็เพราะเอาเฉพาะเอกันตกัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรมอย่างเดียวแท้ๆ (ไม่มีในอุตุชรูป เป็นต้น) ซึ่งมีเพียง ๙ อย่างดังที่กล่าวแล้ว (คือ อินทรียรูป ๘ และหทัยรูป ๑)
ส่วนกัมมชรูปอีก ๙ อย่าง (อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑) ไม่นับเข้าด้วย เพราะเป็น อเนกันตกัมมชรูป คือ มิใช่เป็นรูปที่เกิดจากกรรมอย่างเดียวแท้ (จิตตชรูปก็ดี อุตุชรูปก็ดี อาหารชรูปก็ดี ล้วนมีรูป ๙ อย่าง นี้เหมือนกับกัมมชรูปทั้งนั้น)


โดยนัยนี้ เมื่อนับอเนกันตกัมมชรูป (ยอมนับรูปที่ซ้ำกัน) รวมเข้ามาด้วย ก็จึงมีวิธีพูดแสดงความหมายของรูปคู่ที่ ๓ นี้แบบปนรวมว่า อุปาทินนรูป ได้แก่ กัมมชรูป ๑๘ คือ อินทรียรูป ๘ หทัยรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑)


อนุปาทินนรูป ได้แก่ จิตตชรูป ๑๕ (รูปที่เกิดแต่จิต วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑)
อุตุชรูป ๑๓ (รูปที่เกิดแต่อุตุ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑) อาหารรูป ๑๒ (รูปที่เกิดแก่อาหาร วิการรูป ๓ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑)

คู่ที่ ๔ โอฬาริกรูป (รูปหยาบ ปรากฏชัด) มี ๑๒ คือ ปสาทรูป ๕ วิสัยรูป ๗
สุขุมรูป (รูปละเอียด รับรู้ทางประสาททั้ง ๕ ไม่ได้ รู้ได้แต่ทางมมโนทวาร) มี ๑๖ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๕ สันติเกรูป (รูปใกล้ รับรู้ง่าย) มี ๑๒ คือ ประสาท ๕ วิสยรูป ๗
ทูเรรูป (รูปไกล รับรู้ยาก) มี ๑๖ คือ ที่เหลือจากนั้น (เหมือนคู่ที่ ๔)

คู่ที่ ๖ สัปปฏิฆรูป (รูปที่มีการกระทบให้เกิดการรับรู้) มี ๑๒ คือ ประสาท ๕ วิสยรูป ๗
อัปปฏิฆรูป (รูปที่ไม่มีการกระทบต้องรู้ด้วยใจ) มี ๑๖ คือ ที่เหลือจากนั้น (เหมือนคู่ที่ ๔)

คู่ที่ ๗ สนิทัสสนรูป (รูปที่มองเห็นได้) มี ๑ คือ วัณณะ ๑ ได้แก่ รูปารมณ์
อนิทัสสนรูป (รูปที่มองเห็นไม่ได้) มี ๒๗ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๘ วัตถุรูป (รูปเป็นที่ตั้งอาศัยของจิตและเจตสิก) มี คือ ปสาทรูป ๕ หทัยรูป ๑
อวัตถุรูป (รูปอันไม่เป็นที่ตั้งอาศัยของจิต และเจตสิก) มี ๒๒ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๙ ทวารรูป (รูปเป็นทวาร คือเป็นทางรับรู่ของวิญญาณห้า และทางทำกายกรรม และวจีกรรม) มี ๗ คือ ปสาทรูป ๕ วิญญัตติรูป ๒
อทวารรูป (รูปอันมิใช่เป็นทวาร) มี ๒๑ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๑๐ อัชฌัตติกรูป (รูปภายใน ฝ่ายของตนที่จะรับรู้โลก) มี คือ ปสาทรูป ๕
พาหิรรูป (รูปภายนอก เหมือนเป็นพวกอื่น) มี ๒๓ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๑๑ โคจรัคคาหิกรูป (รูปที่รับโคจร คือ รับรู้อารมณ์ห้า) มี ๕ คือ ปสาทรูป ๕ (แยกย่อยเป็น ๒ พวก ได้แก่ สัมปัตตโคจรัคคาหิกรูป รูปซึ่งรับอารมณ์ที่ไม่มาถึงตนได้ มี ๒ คือ จักขุ และโสตะ กับ อสัมปัตตโคจรัคคาหิกรูป รูปซึ่งรับอารมณ์ที่มาถึงตน มี ๓ คือ ฆานะ ชิวหา แลกาย)
อโคจรัคคาหิกรูป (รูปที่รับโคจรไม่ได้) มี ๒๓ คือ ที่เหลือจากนั้น (เหมือนคู่ที่ ๑๐)

คู่ที่ ๑๒ อวินิพโภครูป (รูปที่แยกจากกันไม่ได้) มี ๘ คือ ภูตรูป ๔ วัณณะ ๑ คันธะ ๑ รสะ ๑ โอชา (คืออาหารรูป) ๑ (ที่ประกอบกันเป็นหน่วยรวมพื้นฐานของรูปธรรม ที่เรียกว่า สุทธัฏฐกกลาป)
วินิพโภครูป (รูปที่แยกจากกันได้) มี ๒๐ คือ ที่เหลือจากนั้น

นอกจากรูปที่จัดประเภทเป็นคู่ดังที่กล่าวมานี้แล้ว ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงรูปชุดที่มี ๒ ประเภท ซึ่งเทียบได้กับที่แสดงข้างต้น คือ (เช่น ที.ปา.11/228/229)

สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป (รูปที่มองเห็นและมีการกระทบให้เกิดการรับรู้ได้) มี ๑ ได้แก่รูปารมณ์ คือ วัณณะ
อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป (รูปที่มองเห็นไม่ได้ และไม่มีการกระทบให้เกิดการรับรู้ ต้องรู้ด้วยใจ) ได้แก่ สุขุมรูป ๑๖

รูปอีกชุดหนึ่งที่กล่าวถึงบ่อย และควรทราบ คือ ชุด ที่จัดตามสมุฏฐาน เป็น ๔ ประเภท ได้แก่ กัมมชรูป ๑๘ จิตตชรูป ๑๕ อุตุชรูป ๑๓ และอาหารชรูป ๑๒ พึงทราบตามที่กล่าวแล้วในคู่ที่ ๓ ว่าด้วยอุปาทินนรูป และ อนุปาทินนรูป ข้างต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้, ๑. ในที่ทั่วไป หมายถึงรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ๒. บางแห่ง หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั่น และ นิพพาน (รวมทั้งโลกุตรธรรมอื่นๆ) ๓. บางแห่ง เช่น ในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย, เทียบ รูป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รส อารมณ์ที่รู้ด้วยลิ้น (ข้อ ๔ ในอารมณ์ ๖) โดยปริยาย หมายถึงความรู้สึกชอบใจ

รัตนตรัย แก้ว ๓ ดวง, สิ่งมีค่า และเคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน ๓ อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ราคะ ความกำหนัด, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่, ความติดใคร่ในอารมณ์

ราคจริต พื้นนิสัยที่หนักในราคะ เช่น รักสวย รักงาม แก้ด้วยเจริญกายคตาสติ หรืออสุภกัมมัฏฐาน (ข้อ ๑ ในจริต ๖)

ริษยา ความไม่อยากให้คนอื่นได้ดี, เห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้, เห็นผู้อื่นได้ดีไม่สบายใจ, คำเดิมในสันสกฤตเป็น อีรฺษา บาลีใช้ว่า อิสฺสา (ข้อ ๓ ในมละ ๙ ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐ หมวด ๒ ข้อ ๗ ในอุปกิเลส ๑๖)

รูปกัมมัฏฐาน กรรมฐานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รจนา แต่ง, ประพันธ์ เช่น อาจารย์ผู้รจนาอรรถกถา คือ ผู้แต่ง อรรถกถา


รัตตัญญู “ผู้รู้ราตรี” คือ ผู้เก่าแก่ ผ่านคืนวันมามาก รู้กาลยืดยาว มีประสบการณ์ทันเรื่องเดิม หรือรู้เห็นเหตุการณ์มาแต่ต้น เช่น พระอัญญาโกฑัญญะ ผู้เป็นปฐมสาวก ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู


รัสสะ (สระ) มีเสียงสั้น อันพึงว่าโดยระยะสั้นกึ่งหนึ่งแห่งสระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลี ได้แก่ อ อิ อุ คู่กับ ทีฆะ


ทีฆะ (สระ) มีเสียงยาว ในภาษาบาลี ได้แก่ อา อี อู เอ โอ คู่กับ รัสสะ


รากขวัญ ส่วนของร่างกายที่เรียกว่าไหปลาร้า


ราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ เป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยคณาจารย์เจ้าลัทธิ
พระพุทธเจ้าเลือกเป็นภูมิที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นปฐม
พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ ครองราชย์สมบัติ ณ นครนี้


ราธะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นพราหมณ์ในเมืองราชคฤห์ เมื่อชราลงถูกบุตรทอดทิ้ง อยากจะบวชก็ไม่มีภิกษุรับบวชให้ เพราะเห็นว่าเป็นคนแก่เฒ่า ราธะเสียใจ ร่างกายซูบซีด
พระศาสดาทราบ จึงตรัสถามว่า มีใครระลึกถึงอุปการะของราธะได้บ้าง

พระสารีบุตรระลึกถึงภิกษาทัพพีหนึ่งที่ราธะถวาย จึงรับเป็นอุปัชฌาย์ และราธะเป็นบุคคลแรกที่อุปสมบทด้วยญัตติจะตุตถกรรมวาจา ท่านบวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต

พระราธะเป็นผู้ว่าง่าย ตั้งใจรับฟังคำสั่งสอน มีความสุภาพอ่อนโยน เป็นตัวอย่างของภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ทั้งพระพุทธเจ้า และพระสารีบุตรก็ชมท่าน

ท่านเคยได้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า เคยทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางก่อให้เกิดปฏิภาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
สาธุขออนุโมทนาสาธุการค่ะ
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้น
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2017, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รัตนจงกรมเจดีย์ เจดีย์คือที่จงกรมแก้ว อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ์กับอนิมิสเจดีย์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้า เสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน (สัปดาห์ที่ ๓ แห่งการเสวยวิมุตติสุข)


รัตนบัลลังก์ บัลลังก์ที่พระพุทธเจ้า ประทับนั่งตรัสรู้, ที่ประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์


รัศมี แสงสว่าง, แสงที่เห็นกระจายออกเป็นสายๆ, แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง, เขียนอย่างบาลีเป็น รังสี แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่ต่างกันออกไปบ้าง


รามัญนิกาย นิกายมอญ หมายถึงพระสงฆ์ผู้สืบเชื้อสายมาจากรามัญประเทศ ส่วนมากเป็นมอญเองด้วยโดยสัญชาติ


รามัญวงศ์ ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์มอญ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2017, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ราชา “ผู้ยังเหล่าชนให้อิ่มเอมใจ” หรือ “ผู้ทำให้คนอื่นมีความสุข” พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ปกครองประเทศ


ราชธรรม ธรรมสำหรับพระแผ่นดิน, คุณสมบัติของนักปกครองที่ดี สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี มี ๑๐ ประการ (นิยมเรียกว่า ทศพิธราชธรรม) คือ

๑. ทาน การให้ทรัพย์สินสิ่งของ
๒. ศีล ประพฤติดีงาม
๓. ปริจจาคะ ความเสียสละ
๔. อาชชวะ ความซื่อตรง
๕.มัททวะ ความอ่อนโยน
๖. ตบะ ความทรงเดชเผากิเลสตัณหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ
๗. อักโกธะ ความไม่กริ้วโกรธ
๘. อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน
๙. ขันติ ความอดทนเข้มแข็งไม่ท้อถอย
๑๐. อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม


ราชสังคหวัตถุ สังคหวัตถุของพระราชา, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง มี ๔ คือ

๑. สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร
๒. ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ
๓. สัมมาปาสะ ผูกประสานรวมใจประชา ด้วยส่งเสริมสัมมาชีพให้คนจนตั้งตัวได้
๔. วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ

ปกครอง คุ้มครอง,ดูแล, รักษา, ควบคุม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2017, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ราศี 3 ความหมาย)


ราศี 1. ชื่อมาตราวัดจักรราศี คือ ๓๐ องศาเป็น ๑ ราศี และ ๑๒ ราศี เป็น ๑ รอบจักรราศี (อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวพระเคราะห์เดิน)

ราศี ๑๒ นั้น คือ ราศีเมษ (แกะ) พฤษภ (วัว) เมถุน (คนคู่) กรกฎ (ปู) สิงห์ (ราชสีห์) กันย์ (หญิงสาว) ตุล (คันชั่ง) พฤศจิก (แมลงป่อง) ธนู (ธนู) มกร (มังกร) กุมภ์ (หม้อน้ำ) มีน (ปลา ๒ ตัว) 2. อาการที่รุ่งเรือง, ลักษณะที่ดีงาม 3. กอง เช่น บุญราศี ว่ากองบุญ

อาคม (-คม) ปริยัติที่เรียน, การเล่าเรียนพุทธพจน์, ในภาษาไทยมีความหมายเพี้ยนไปเป็นเวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็นคาถาอาคม, การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ (มีน+อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน, (ป. ส)

อายน การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น เมษายน คือ เมษ + อายน แปลว่า การมาถึงราศีเมษ (ป. ส)


https://www.youtube.com/watch?v=llPMVAkfJGs

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร