วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 01:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2017, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือเล่มนี้

http://www.thaibooksociety.com/pictures ... 149016.jpg

ซึ่งแบ่งเป็นตอนๆ จะคัดเฉพาะตอนที่พูดๆกันคุ้นหูคุ้นตาลง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2017, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำนำผู้เขียน

พอพูดถึงการปฏิบัติธรรม ความคิดของคนส่วนมากก็แล่นไปที่การนั่งหลับตาภาวนาหรือการทำสมาธิวิปัสสนา หรือมิฉะนั้นก็ถือปิ่นโตเข้าวัด รักษาศีล ฟังธรรม ภาพของสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ ก็ย้ำเน้นให้เห็นเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คือ พอพูดถึงการปฏิบัติธรรม ก็จะฉายภาพคนนุ่งขาวห่มขาว บ้าง นุ่งห่มธรรมดา บ้าง นั่งหลับตานิ่งๆเป็นกลุ่มๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง นั่นคือการปฏิบัติธรรมในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป

ข้าพเจ้าเห็นว่า นั่นเป็นเพียงเอกเทศ คือบางส่วนของการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ทั้งหมด ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า การปฏิบัติธรรมคือการกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งหมด การทำหน้าอันถูกต้องชอบธรรมทั้งหมด นั่นแหละ คือการปฏิบัติธรรม โดยนัยนี้ ทุกคนผู้ทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้องเหมาะสมล้วนกำลังปฏิบัติธรรมกันอยู่ทั้งนั้น

แนวทางการปฏิบัติธรรมที่สำคัญแนวหนึ่งตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ขอให้ท่านดูที่มงคล ๓๘ ประการ จะเห็นว่าพระพุทธองค์ ทรงแสดงมงคลอันสูงสุดแห่งชีวิตไว้ ตั้งแต่เบื้องต้นไปถึงสูงสุด คือ เริ่มจากการไม่คบคนชั่ว คบคนดี บูชาคนที่ควรบูชา .... การตั้งตนไว้ชอบ การมีศิลปวิทยา ... การบำรุงบิดามารดา .... การให้ การสงเคราะห์ญาติ ฯลฯ การเห็นอริยสัจ จนถึงจิตที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม จิตไม่โศก ไม่มีธุลีหรือกิเลส จิตเกษม คือปลอดโปร่งพ้นจากกิเลส

ตามนัยแห่งมงคลสูตรนี้ จะเห็นแนวการปฏิบัติที่พระศาสดาทรงประทานไว้ให้เป็นขั้นๆไป แต่ก็ทำพร้อมๆกันไปได้ เพื่อทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ทั้งสาม คือประโยชน์ในโลกนี้ โลกหน้า และประโยชน์สูงสุดคือนิพพาน


เมื่อสอนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าเคยให้หัวข้อให้นักศึกษาเขียนบทความสั้นๆ เช่น “การปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาชีวิต” แล้วให้อ่านสู่กันฟังในชั้นเรียน มีหลายคนเขียนปรารภว่า ไม่ค่อยมีเวลาปฏิบัติธรรม เพราะมัวยุ่งเรื่องการศึกษาและการช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน

ข้าพเจ้าบอกว่า “นั่นแหละคือการปฏิบัติธรรม กำลังปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว”

เมื่อเราไปถามคุณตาคุณยายตามท้องทุ่งว่า ต้องการออกซิเจนบ้างไหม

คุณตาคุณยายอาจตอบว่า “ไม่ต้องการ ไม่จำเป็น”

ทั้งนี้ เพราะทั้งสองไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า “ออกซิเจน” แต่ความจริง คุณตาคุณยายได้รับออกซิเจนอยู่เป็นประจำและได้มากกว่าคนถามซึ่งเป็นคนเมืองเสียอีก

ในทำนองเดียวกัน คนเราปฏิบัติธรรมอยู่โดยไม่รู้ว่าตัวปฏิบัติธรรมก็มี เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจความหมายแห่งการปฏิบัติธรรม ส่วนบางคนเข้าใจว่าตนปฏิบัติธรรมอยู่ อาจปฏิบัติได้น้อย หรือมีธรรมน้อยกว่าผู้ไม่รู้เสียอีก

ธรรมะอาจมีอยู่ในทุ่งนามากกว่าในวัดก็ได้ ถ้าชาวนาผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ไถนาเพื่อเลี้ยงตน มารดาบิดา บุตรภรรยา ทำบุญทำทานตามสมควร ขณะที่ชาววัดไม่ทำหน้าที่ของชาววัดให้ถูกต้อง จ้องแต่จะรับลาภสักการะ ความนับถือจากมวลชนโดยไม่ทำหน้าที่ให้สมควรกัน

ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธจึงควรทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “การปฏิบัติธรรม” ให้ถูกต้องถ่องแท้ เพื่อจะได้ไม่หลงผิดยกตนข่มผู้อื่นผู้ปฏิบัติธรรมอยู่ และเพื่อไม่หลงผิดตำหนิตนเอง โดยไม่จำเป็นว่าไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไรเลย

ขอให้ผู้ปฏิบัติธรรมมั่นใจว่า เมื่อตนได้ประพฤติธรรมสมควรแก่ฐานะสภาวะแห่งตนแล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองจากธรรมให้อยู่เย็นเป็นสุข สมพระพุทธภาษิตที่ว่า

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.


ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2017, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษาตามความหมายที่แท้จริงในพระพุทธศาสนา


ถ้าตั้งปัญหาถามว่า การศึกษาตามความหมายที่แท้จริงในพระพุทธศาสนานั้น คืออะไร ? จะได้คำตอบว่า การศึกษาคือการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ และการลงมือปฏิบัติให้เกิดผล ในพระพุทธศาสนาใช้คำว่า สิกขา เช่นคำว่า ศีลสิกขา คือการศึกษาเรื่องศีล ไม่ได้หมายเพียงแต่การเล่าเรียนรู้ศีลอย่างเดียว ต้องทำความเข้าใจในเรื่องศีลให้ถูกต้องถ่องแท้ด้วย

จิตตสิกขา การศึกษาเรื่องจิต คือการเรียนรู้ทำความเข้าใจและการปฏิบัติในเรื่องจิต เรื่องสมาธิ

ปัญญาสิกขา การศึกษาเรื่องปัญญาก็ทำนองเดียวกัน ต้องมีการอบรม มีการปฏิบัติ มีการพัฒนาปัญญา

ฉะนั้น คำว่า “การศึกษา” ในความหมายที่แท้จริงทางพุทธศาสนา หมายถึง การเรียนรู้ การทำความเข้าใจ และการปฏิบัติให้เกิดผล

ถ้าศึกษาเล่าเรียนอย่างเดียว เรียนอย่างเดียว เรียกว่า ปริยัติ ไม่ใช้คำว่า สิกขา เราคงได้ยินคำว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

ปริยัติ คือ การศึกษาเล่าเรียน

ปฏิบัติ คือการลงมือทำตามที่ศึกษาเล่าเรียนมา

ปฏิเวธ คือการได้บรรลุผลตามขั้นตอนของการปฏิบัตินั้น ไม่ได้หมายความว่าต้องบรรลุมรรคผลนิพพานเสมอไป จึงจะเป็นปฏิเวธ ซึ่งคนส่วนมากเข้าใจอย่างนั้น แต่หมายถึงการได้บรรลุผลเป็นขั้นตอนตามกำลังความสามารถของการปฏิบัติได้ เช่น มีความเพียร มีความอดทน มีสติ มีหิริโอตัปปะ เราปฏิบัติไปตามนั้น ได้บรรลุผล ได้เห็นผลของความเพียร ความอดทนนั้น สุดท้ายหรือสูงสุดของปฏิเวธ คือการได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาชีวิต

แม้แต่ในเรื่องปริยัติ คนบางพวกเรียนเพื่อยกตนข่มผู้อื่น ทำตนเหนือผู้อื่น ซึ่งเป็นเหตุให้กิเลสเพิ่มพูนขึ้น เป็นเหยื่อของกิเลส ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า ศึกษาเล่าเรียนเหมือนจับงูพิษทางหาง เรียก อลคัททูปมปริยัติ ถ้าจับทางหาง งูย่อมเอี้ยวหัวมากัดได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ในวงฆราวาส ในวงการของพระก็เช่นเดียวกัน บางท่านพอเรียนได้เปรียญ ฯ ได้เป็นเจ้าคุณชั้นสามัญ ชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม กิเลสเพิ่มพูนขั้นเรื่อย เป็นเหตุให้ทะนงตน ยกตัวข่มผู้อื่น ในหมู่ชาวบ้าน คนนั้นจบมาจากอังกฤษ อเมริกา การเชิดชูสถาบันทำให้มีแนวโน้มในการที่จะมีอหังการ (Egoistic tendency) พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “เรียนไม่ดี” อย่างนี้ มีความรู้น้อยยังจะดีกว่า

บางพวกศึกษาเล่าเรียนเพื่อจะปฏิบัติขัดเกลาอุปนิสัยจิตใจของตน ให้ดำเนินไปตามร่องรอยของพระอริยเจ้า เรียนเพื่อสลัดตนออกจากกองทุกข์ในสังสารวัฏ เรียก นิสสรณัตถปริยัติ แม้เราจะไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า แต่เดินตามรอยของพระอริยเจ้า วันหนึ่ง ก็ต้องไปถึงที่หมายที่พระอริยะเคยไปถึง ขณะที่เดินตามรอยอยู่นั้น แม้จะยังไม่ถึงก็เปิดปีติปราโมทย์ ได้ความสบายใจ ทั้งที่ยังครองชีวิตแบบชาวบ้าน เหมือนการกินข้าว ใช่ว่าจะไปสบายตอนอิ่มแล้ว เราได้อัสสาทะ ได้รสของอาหารไปเรื่อยๆทุกคำ กินไปสบายไปถึงคำสุดท้าย อิ่มบริบูรณ์ เหมือนกับอบรมตนไปศึกษาไป ปฏิบัติไปก็ได้ประโยชน์ไปเรื่อยๆ ตอนสุดท้าย เรียกได้ว่า มีตนที่เต็มบริบูรณ์ (Self-fulfilment) เหมือนอาบน้ำก็เริ่มสบายตั้งแต่ขันแรก ยิ่งร้อนมากก็รู้สึกอาบสบาย

บางคนมาสนใจธรรมะ เพราะเคยหมักหมมไปด้วยกิเลส มากระทบธรรมะเข้าจะตื่นเต้นมาก เที่ยวพูดคุยให้ใครๆฟังไปเรื่อย จนเพื่อนๆพากันห้าม นั่นเป็นความรู้สึกตื่นเต้นต่อสิ่งใหม่ที่ตนได้มาพบ จากการที่เมื่อก่อนหมักหมมด้วยกิเลส อิจฉา พยาบาท ซึ่งเป็นโลกียวิสัย พอมากระทบกับสิ่งที่บริสุทธิ์ เหมือนเหงื่อเต็มตัวเกรอะกรัง พอมาได้น้ำเย็นก็สบายตัว

แต่คนที่อยู่กับธรรมะเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไร ก็สงบ ความตื่นเต้นนั้น คือ การเริ่มมีปีติ และมีปัสสัทธิ ค่อยๆสงบลงๆ มีอุเบกขา ปฏิบัติไปนานเข้าก็นิ่งเฉย และไม่อยากคุยกับใครแล้ว ซึ่งเป็นไปตามกระบวนธรรมตามกฎธรรมชาติธรรมดาที่เป็นเช่นนั้นเอง นี้เป็นเรื่องของการศึกษาเพื่อขัดเกลาอุปนิสัยจิตใจ ให้ดำเนินไปตามรอยของพระอริยเจ้า เรียนเพื่อสลัดตนออกจากกองทุกข์ในสังสารวัฏ

ท่านทั้งหลายรู้แล้วว่า คนในโลก ในสังคม ที่จะอยู่ในสภาพอย่างท่านทั้งหลายอยู่คงไม่มากเท่าไร ส่วนมากอยู่ในฐานะที่ลำบากยากจนคับแค้น หากินไม่พอใช้ เห็นแล้วทำให้มีความรู้สึกว่าไม่น่าจะมีชีวิตอยู่เลย แต่ตราบใดที่ยังต้องเกิดอยู่ก็ยังต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่ว่าจะเกิดเป็นอย่างไรก็ต้องทุกข์ไปตามประสาอย่างนั้น แม้จะเป็นคนมีบุญก็ทุกข์แบบคนมีบุญ คนมีบาปก็ทุกข์แบบคนมีบาป ไม่ใช่มีบุญแล้วจะไม่ทุกข์ ลองไปถามคนทั้งหลายที่รู้จักว่าเป็นคนที่มีบุญดู จะบ่นกันทุกคนเพราะเห็นโทษของสังสารวัฏ เห็นธรรมดาของสังสารวัฏว่าเป็นอย่างนั้นจนรู้สึกเบื่อ ไม่อยากเวียนตายเวียนเกิดอีก

มีอีกพวกหนึ่ง เรียนเพื่อจะบอกเล่าแก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น สำหรับตัวเขาเอง เขาเพียงพอแล้วที่จะปฏิบัติให้สิ้นทุกข์ได้ด้วยตนเอง แต่เป็นผู้มีจิตใจเผื่อแผ่ มีความกรุณาจึงศึกษาเพิ่มเติมอยู่เรื่อย เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น คล้ายๆเจ้าหน้าที่คลัง พระพุทธเจ้าใช้คำว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ ศึกษาเหมือนกับขุนคลังเก็บของไว้ในคลัง ไม่ใช่เพื่อจะใช้เอง ถ้าใครต้องการมีความจำเป็นที่จะให้ก็เบิกไปใช้ได้ การศึกษาของพระอรหันต์เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ไม่ใช่เพื่อตนเอง เพราะตัวเองถึงที่สุดแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2017, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกต 2 ตอนนี่อีกครั้ง

อ้างคำพูด:
บางคนมาสนใจธรรมะ เพราะเคยหมักหมมไปด้วยกิเลส มากระทบธรรมะเข้าจะตื่นเต้นมาก เที่ยวพูดคุยให้ใครๆฟังไปเรื่อย จนเพื่อนๆพากันห้าม นั่นเป็นความรู้สึกตื่นเต้นต่อสิ่งใหม่ที่ตนได้มาพบ จากการที่เมื่อก่อนหมักหมมด้วยกิเลส อิจฉา พยาบาท ซึ่งเป็นโลกียวิสัย พอมากระทบกับสิ่งที่บริสุทธิ์ เหมือนเหงื่อเต็มตัวเกรอะกรัง พอมาได้น้ำเย็นก็สบายตัว

แต่คนที่อยู่กับธรรมะเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไร ก็สงบ ความตื่นเต้นนั้น คือ การเริ่มมีปีติ และมีปัสสัทธิ ค่อยๆสงบลงๆ มีอุเบกขา ปฏิบัติไปนานเข้าก็นิ่งเฉย และไม่อยากคุยกับใครแล้ว ซึ่งเป็นไปตามกระบวนธรรมตามกฎธรรมชาติธรรมดาที่เป็นเช่นนั้นเอง นี้เป็นเรื่องของการศึกษาเพื่อขัดเกลาอุปนิสัยจิตใจ ให้ดำเนินไปตามรอยของพระอริยเจ้า เรียนเพื่อสลัดตนออกจากกองทุกข์



บุคคลท่อนแรกเท่ากับผู้ปฏิบัติทางจิตประสบกับธัมมุทธัจจ์ ต่อเมื่อเขาปฏิบัติไปๆ ได้รู้เห็นความเป็นอย่างนั้นแล้วๆเล่าๆ ก็เข้าใจว่ามันเป็นอย่างนี้เอง จิตใจก็หายตื่นเต้น สงบเรียบ

ธัมมุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านด้วยสำคัญผิดในธรรม คือ ความฟุ้งซ่านเนื่องจากเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแล้วสำคัญผิดว่าตนบรรลุธรรมคือมรรค ผล นิพพาน จิตก็เลยคลาดเขวออกไปเพราะความฟุ้งซ่านนั้น ไม่เกิดปัญญาที่จะเห็นไตรลักษณ์ได้จริง ธัมมุทธัจจ์ ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2017, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมุทธัจจ์ - วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาวะที่ทำให้วิปัสสนามัวหมองข้องขัด, สภาพน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนาในขั้นที่เป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) แต่กลายเป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา โดยทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงชะงักหยุดเสีย ไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ

๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน

๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว

๓. ญาณ ญาณหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย

๕. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง

๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส ธรรมทั้งหมดนี้ (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม) โดยตัวมันเอง มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน จึงเกิดโทษ เนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเองว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นฌานขั้นนั้นขั้นนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2017, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ปฏิบัติทางจิต ร้อยทั้งร้อยจะตกม้าตายอยู่แถวๆธัมมุทธัจจ์นั่น ที่หลุดรอดไปได้แทบไม่มี :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2017, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ขอบเขตของการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรมมีขอบเขตเพียงไร ตามความเห็นตามประสบการณ์ของผม การปฏิบัติธรรมมีขอบเขตกว้างขวางมาก รวมเอาการกระทำทางกาย วาจา ใจ ที่ถูกต้องทั้งหมดเป็นการปฏิบัติธรรม มีผู้สนใจทางพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก จำกัดขอบเขตของการปฏิบัติธรรมไว้เฉพาะสมถะวิปัสสนา การรักษาอุโบสถศีล เป็นต้น นั่นเป็นเพียงเอกเทศ คือส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ทั้งหมด

ขอยกตัวอย่าง คนที่เลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน แล้วเลี้ยงให้ดีที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ ถ้ามีความตั้งใจให้เขาเป็นเด็กดี นี่ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

ท่านทั้งหลายมาทำงานด้วยความตั้งใจ ให้เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ก็เป็นการปฏิบัติธรรม คือปฏิบัติธรรมในการงานนั่นเอง ฉะนั้น ในความหมายที่แท้จริงแล้ว การปฏิบัติธรรมมีความหมายกว้างขวาง รวมเอาการกระทำทางกาย วาจา ใจ ทุกอย่างที่ถูกต้องชอบธรรม

คนส่วนมากไม่ค่อยเข้าใจ ไปเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะสมถะวิปัสสนา ฯลฯ กิจกรรมอย่างนั้นก็เป็นการปฏิบัติธรรม แต่ถือว่าเป็นเอกเทศ เป็นส่วนหนึ่ง ใครทำก็ทำไป คนที่คิดว่าจะปฏิบัติธรรมแล้วละทิ้งหน้าที่หมด ถ้าเป็นอย่างนั้น คนที่ปฏิบัติธรรมนั้นจะอยู่ไม่ได้ก่อนผู้อื่น เช่น ถ้ามีสำนักหนึ่ง ชักชวนใครไปเข้าสำนักแล้วบอกว่า มาปฏิบัติธรรมแล้ว ต้องเลิกอาชีพ ไม่งั้นปฏิบัติธรรมไม่ได้

การทำอย่างนั้น คนที่ปฏิบัติธรรมเองก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะว่าคนที่ไปปฏิบัติธรรม ต้องอาศัยคนที่มีอาชีพ ต้องไปเรี่ยไรขอเงินมาเกื้อหนุนให้ตนอยู่ได้ คนที่ประกอบอาชีพมีอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ปฏิบัติธรรมไปด้วยในอาชีพนั้นเอง จึงทำให้คนที่สละอาชีพไปอยู่วัดกันได้ เช่น พระ ชี เราจะต้องให้ความหมายของคำว่า “ปฏิบัติธรรม” ให้ถูกต้อง กว้างขวาง ครอบคลุมถึงการกระทำชอบทุกอย่าง

นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่า “ในโบสถ์อาจจะไม่มีการปฏิบัติธรรมก็ได้ แต่ในขณะเดียวกันธรรมอยู่กับรอยไถนั้นเอง เมื่อมีการกระทำที่ถูกต้อง”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2017, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาของการเผยแพร่พุทธศาสนาในสังคมไทย

ตั้งปัญหาว่า พุทธศาสนามีมาในสังคมไทยนานแล้ว การสอนพุทธศาสนาก็มีสอนอยู่ในหมู่คนไทยที่นับถือพระรัตนตรัยอยู่แล้ว แต่ทำไมความเข้าใจในศาสนาจึงไม่บังเกิดขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น

น่าจะมีข้อบกพร่องพื้นฐาน ซึ่งยังแก้ไขไม่ได้ ทั้งๆที่พระธรรมก็เป็นของดีจริง ลองนึกถึงตอนที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วประกาศศาสนา ทรงมีพระชนมายุเพียง ๓๕ พรรษา ศาสดาคณาจารย์ในสมัยนั้น ก็เป็นศาสดาคณาจารย์ผู้เฒ่าสูงอายุ คนในสมัยนั้น นับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพราหมณ์ แต่พระพุทธเจ้าสามารถที่จะสถาปนาพุทธศาสนาขึ้นมาได้ในท่ามกลางศาสนาอื่น

พอมาถึงเมืองไทย คนไทยนับถือพุทธศาสนามานานในดินแดนแถบนี้ จับเอาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ทำไมการสอน ความเข้าใจในพุทธศาสนาจึงมีไม่มากเท่าที่ควร ทั้งๆที่พระเป็นผู้สอนก็อยู่ในหมู่ชาวพุทธ ไม่ได้ไปชักชวนใครให้เขามานับถือ ทำไมไม่ได้ผล

บางคนนับถืออยู่แล้ว กลับไม่นับถือ ไปนับถือศาสนาอื่นก็มี

บางคนเคยใส่บาตร เคยทำบุญ พอเข้าใกล้ศาสนาเข้าไปจริงๆ กลับถอนตัวออกมา

คนเคยบวช พอหลังจากบวชก็ไม่เข้าวัดอีก ไม่นับถือพระสงฆ์ แสดงว่าติดลบ อะไรเป็นข้อบกพร่องมูลฐาน (Fundamental cause) ท่านลองช่วยกันหาดู

ชาวไทยหรือสังคมในฐานะที่นับถือพุทธศาสนามานานหลายชั่วอายุคน น่าจะดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธจนเป็น “แบบ” ว่าชาวพุทธต้องดำเนินชีวิตแบบนี้ ในสังคมไทยมีแบบของชีวิตอย่างนี้สักเท่าไรหรือว่าแบบชีวิตไม่ได้เป็นพุทธแต่เป็นอย่างอื่น ทั้งๆ ที่ยังนับถือพุทธ อย่างนี้ มีอะไรเป็นข้อบกพร่องอยู่ คล้ายคนเป็นมะเร็งไม่หายก็ไม่มีทางที่สุขภาพจะดีได้

เบื้องต้นนี้ ขอสรุปสาเหตุหลักๆไว้ก่อน ๓ ประการ คือ

ประการที่ ๑ มีความเข้าใจผิด ยึดเอาพิธีกรรมต่างๆเป็นสาระของศาสนา โดยเห็นเป็นจริงเป็นจัง เป็นเรื่องสำคัญและดึงคนได้มาก ในทางที่จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนำเอาหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ค่อยมี นี่เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้การเผยแพร่พุทธศาสนาไม่ค่อยได้ผล เมื่อมีการเข้าใจผิดแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดต่อๆกันไป

ประการที่ ๒ ชาวพุทธฝ่ายฆราวาสส่วนมากยกเรื่องศาสนาให้เป็นเรื่องของพระสงฆ์และคนแก่ พวกตนต้องทำมาหากิน จึงไม่มีเวลาสำหรับศาสนา
ฆราวาสเป็นส่วนหนึ่งของพุทธบริษัท ๔ จะปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ได้อย่างไร ที่สำคัญพุทธศาสนาเป็นประโยชน์แก่ตัวฆราวาสเอง ถ้าเผื่อเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ

ประการที่ ๓ คำสอนของพระสงฆ์ไม่เป็นเอกภาพ (unity) ทำให้พุทธบริษัทสับสนว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก คนนี้ดึงไปทางตัดกรรม ทำให้ไม่ก้าวหน้า คนกลางก็ลำบาก ไม่รู้จะไปทางไหนดี ตนเองก็ไม่อาจตัดสินใจได้ เพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ต้องคอยเชื่อพระสงฆ์
ในขณะที่พระบางรูป สอนตรงแนวตามหลักของพุทธศาสนา แต่มีหลายพวกพยายามดึงพุทธบริษัท พุทธบริษัทเห็นว่าทางนี้ง่ายดี ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติ เพียงแต่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ จะได้เอง ยกตัวอย่างเรื่องตัดกรรม มีเวรมีกรรมพากันไปตัดกรรม ตัดได้อย่างไร มีอานุภาพอะไรที่จะตัดกรรมของคนอื่น แต่คนก็เชื่อแล้วสบายใจด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2017, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวทางในการศึกษาพุทธศาสนา

แนวในการศึกษาเรายึดอะไรเป็นหลัก คำตอบที่พอจะถือเป็นแนวทางไปก่อน คือ

หลักที่ ๑ ยึดหลักฐานทางพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ปกรณ์พิเศษต่างๆ ที่ท่านผู้รู้ได้แต่งขึ้น ตามแนวคัมภีร์เหล่านั้น ซึ่งเป็นความหนักใจของชาวพุทธที่จะให้นิยมอย่างนี้ เพราะพระไตรปิฎกก็มีมาก อ่านกันไม่ไหว บางภาค เช่น อภิธรรม มีความยากมาก
ส่วนที่เป็นพระสูตร มีสำนวนที่แปลถอดออกมาทุกตัวอักษร ยากแก่การทำความเข้าใจเช่นกัน ส่วนใหญ่ไม่มีเวลาที่จะมาสนใจศึกษาสิ่งเหล่านี้ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ควรยึดพระไตรปิฎกไว้ก่อน
ส่วน อรรถกถา เป็นหนังสืออธิบายพระไตรปิฎก
ฎีกา อธิบายทั้งพระไตรปิฎก และอรรถกถา
อนุฎีกา อธิบายทั้งพระไตรปิฎกอรรถกถา และฎีกาที่ยังไม่แจ่มแจ้งให้แจ่มแจ้งขึ้น ซึ่งพวกเราที่ทำงานทำมาหากินไม่สามารถที่จะศึกษารายละเอียดได้ จึงต้องอาศัยหลักที่ ๒ คือ

หลักที่ ๒ ยึดท่านผู้รู้ที่เชื่อถือได้ในเรื่องนั้นๆ ในกรณีที่ท่านผู้รู้ขัดแย้งกันจะทำอย่างไร ? เราก็ต้องย้อนกลับไปหาพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา หรือแม้แต่ว่าเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ควรเอาความเห็นของตัวไปคลุมหลักของพุทธศาสนา หรือเหมาเอาว่าเป็นความคิดของตัว เพราะโอกาสจะผิดพลาดมีมาก นอกจากผู้นั้นเป็นผู้แตกฉาน เชี่ยวชาญทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ท่านพูดอย่างไรก็ย่อมจะไปตรงกับพระไตรปิฎกจนได้ แม้ท่านจะไม่อ้างคำพูดของพระพุทธเจ้าก็ย่อมตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

เราต้องใช้โยนิโสมนสิการและใช้ปัญญาของเราให้มาก เพราะว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา หลักธรรมต่างๆ เราควรศึกษาให้เข้าใจและปฏิบัติให้เห็นด้วยตนเอง พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่บังคับเรื่องความเชื่อหรือลงโทษผู้ที่ไม่เชื่อ ผู้ที่ยังไม่มีปัญญาพอ หรือยังไม่เชื่อมั่นในตนเอง จะทำอย่างไร ก็ต้องเชื่อท่านผู้รู้ไปก่อน

แต่ในกรณีที่ต้องเชื่อท่านผู้รู้นั้น ก็ไม่ต้องเชื่ออย่างหมดเนื้อหมดตัว ให้เผื่อไว้ใช้ปัญญาของเราบ้าง รู้จักคิด รู้จักใช้ปัญญา ใช้โยนิโสมนสิการ ใช้การปฏิบัติดูว่าอย่างไหนได้ผลดี ก็ใช้อย่างนั้น
ซึ่งเป็นหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในตอนท้ายของกาลามสูตร ซึ่งคนส่วนมากมักจะพูดถึงรายละเอียดในกาลามสูตรเพียง ๑๐ ข้อ รายละเอียดตอนต้นและตอนท้ายไม่ได้พูดถึง ในตอนท้ายได้กล่าวว่า
เมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว

๑. ใช้ปัญญาพิจารณาดู
๒. ถามท่านผู้รู้
๓.ลองสมาทาน ปฏิบัติดู เมื่อปฏิบัติแล้ว ถ้าไดผลให้ปฏิบัติต่อไป ถ้าไม่ได้ผลให้เลิกเสีย
คล้ายๆเราไปหาหมอนำยามากิน ถ้าหมอวินิจฉัยโรคถูก ยาได้ผล กินไปๆ โรคก็ค่อยๆหายไป ธรรมดาเป็นอย่างนั้น
ถ้ากินนานไปโรคไม่หาย ไม่ดีขึ้น แสดงว่าวินิจฉัยโรคไม่ถูก หรือวินิจฉัยโรคถูกแต่ยากไม่ถูกกับโรคของเรา

การปฏิบัติธรรมก็เหมือนการใช้ยา ปฏิบัติธรรมถูกต้อง ใช้ถูกต้อง ผลย่อมปรากฏออกมาให้เราเห็นชัดด้วยตนเองว่า ชีวิตดีขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น มีความสงบสุข มีความรู้อะไรดีขึ้น มีทุกข์น้อยลง เหมือนโรคหาย เพราะฉะนั้น แนวในการศึกษาธรรมจึงต้องยึดหลักฐานทางพุทธศาสนา และต้องคบหาสมาคมหรือถามท่านผู้รู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้

เวลานี้ ท่านทั้งหลายคงทราบว่า มีความขัดแย้งสับสนเกี่ยวกับปัญหาทางศาสนา ทางธรรม มีผู้รู้ขัดแย้งกันมาก เราต้องสอบจากผู้ที่มีความรู้จริง เชื่อถือได้ เหมือนเมื่อมีปัญหาทางโรคภัยไข้เจ็บ เราต้องถามผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ มีปัญหากฎหมายต้องซักถามนักกฎหมาย จึงจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องแน่นอน ไม่ใช่ถามชาวบ้านธรรมดา หรือเชื่อเพียงคำคนเขาว่า หรือเห็นเขาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ความรู้ที่แท้จริงไม่มี อย่างนี้เป็นการเสี่ยงมาก ข้อนี้เราต้องระวัง

ขอยกตัวอย่าง เรื่องความขัดแย้ง เช่นเรื่อง “ความเกิดเป็นทุกข์” บางท่านกล่าวว่า ที่ว่าเป็นทุกข์นั้น ไม่ใช่ความเกิดแบบที่ว่าเกิดมาเป็นคน เกิดสุนัข เป็นวัว เป็นควาย แต่หมายถึงการเกิดขึ้นของกิเลส ตัณหา ของอหังการ มมังการ จึงเป็นทุกข์ บางท่านกล่าวว่าต้องเกิดมาเป็นตัวเป็นตนจึงทุกข์ เหล่านี้ จึงขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา จึงต้องไปตรวจสอบจากพระไตรปิฎก ซึ่งว่าอย่างไรต้องถือตามนั้น ความขัดแย้งจะหมดไป

ทีนี้ คำอธิบายของบางท่านเช่นที่กล่าวว่า ความเกิดเป็นทุกข์ หมายถึงการเกิดขึ้นของกิเลส ตัณหา อหังการ มมังการ อย่างนี้ ถือเป็นความเห็นของเกจิอาจารย์ เรารับได้ว่านี่เป็นความคิดนัยหนึ่งของความเกิด ความเกิดขึ้นของกิเลสมันก็เป็นทุกข์จริง ไม่ใช่ไม่จริง แต่ไม่ปฏิเสธข้อความที่พระไตรปิฎกระบุไว้ถึงความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าความเกิด แก่ เจ็บ ตาย คืออะไร ก็ต้องเอาตามพระพุทธเจ้า

แนวการศึกษาแบบนี้ จะไม่ขัดแย้งกัน เราจะรับการศึกษา ได้รับความรู้ตามลำดับ ความรู้ของเราจะเป็นขั้นเป็นตอนเป็นลำดับ ไม่กระโดด พอมีความรู้อย่างนี้เป็นพื้นฐานแล้ว ใครจะอธิบายอะไรอย่างไร เราก็รับรู้ได้โดยนัยหนึ่ง ท่านทั้งหลายต้องทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นอเนกปริยาย คือทรงแสดงหลายนัย คนที่เถียงกัน เพราะไปจับเอาโดยนัยหนึ่งแล้วยึดมั่นอยู่ในนัยนั้น โดยไม่เหลียวแลนัยอื่นเลย พลาดจากนัยนั้นแล้วเป็นอันผิดหมด
คล้ายๆคนหนึ่งไปถือเอากิ่งมะม่วง อีกคนหนึ่งไปถือเอาผลมะม่วง อีกคนหนึ่งเอารากมา ต่างคนต่างมาบอกว่า นี่คือมะม่วง นอกจากนี้ไม่ใช่ ย่อมต้องเถียงกัน ฉะนั้น มองพระพุทธศาสนาต้องมองทั้งระบบ ไม่มองเพียงจุดหนึ่ง แล้วบอกว่านั่นคือพุทธศาสนาทั้งหมด ถ้ามองอย่างนั้น ย่อมขัดแย้งกันอยู่เสมอ
การมองพุทธศาสนาทั้งระบบจะรู้ว่าพุทธศาสนาประกอบด้วยอะไรบ้าง ขอฝากแนวนี้ไว้ด้วยเพื่อเราจะได้ลดความรู้สึกขัดแย้งกับผู้อื่นและตัวเราเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2017, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวทางในการปฏิบัติธรรม

แนวในการปฏิบัติ เมื่อจะปฏิบัติธรรมข้อใด ขอให้ศึกษาให้แจ่มแจ้งในขอบเขต ในความหมายของธรรมข้อนั้น ความพอดีของธรรม พิจารณาถึงผลดี ผลเสีย ผลใกล้เคียงโดยรอบคอบก่อนแล้วจึงลงมือปฏิบัติ

ความดีเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ถ้าเรารู้จุดพอดีว่าอยู่ตรงไหน แต่ความดีจะกลับเป็นสิ่งที่ทำยาก ถ้าเราไม่รู้จุความพอดี

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความพอดีนั้นดีเสมอ” ท่านคงเคยได้ยินใครค่อนขอดเรื่องสันโดษว่า ถ้ามีสันโดษแล้วบ้านเมืองไม่เจริญ คนพูดพูดโดยไม่เข้าใจความหมายและขอบเขตของธรรมข้อนั้น จึงสับสน ยังมีธรรมอีกหลายข้อที่เข้าใจผิดไป ฉะนั้น จะปฏิบัติธรรมข้อไหน ต้องศึกษาธรรมข้อนั้นให้ดีก่อน ไม่เช่นนั้น จะทำให้สับสนว่าทำแล้วไม่ได้ผล แม้แต่เรื่องของเมตตากรุณาว่าเมื่อปฏิบัติแล้ว ทำไมเป็นผลร้ายกับตัวเอง เราจึงต้องศึกษาขอบเขตความหมายและผลใกล้เคียงด้วย

เหมือนเรากินยาบางอย่าง แต่ไม่รู้ผลเสียใกล้เคียง หมอก็ไม่ได้บอกไว้ เช่นยาลดกรด กินแล้วมักจะทำให้ท้องอืดด้วย หมอจึงให้กินร่วมกับยาขับลมเพื่อช่วยเหลือกัน
ธรรมะก็คล้ายกัน ปฏิบัติธรรมข้อนี้มีจุดดีอย่างนี้ แต่มีจุดบกพร่องอื่นไหม ตรงจุดเสียนั้น จะเอาธรรมข้อไหนไปช่วยค้ำเอาไว้ เราควรทำความเข้าใจ เช่น
คนที่มีเมตตากรุณามากๆ เจริญเมตตากรุณาอยู่ ทำไปๆ ทำไมจึงเสียไปได้ เสียการปกครอง เสียความยุติธรรมหลายอย่าง จึงต้องหาธรรมอื่นมาช่วยค่ำบ้าง
เมตตาอยู่ใกล้กับความรัก เมตตาฆ่าความพยาบาท แต่เป็นข้อศึกใกล้กับความรัก การมีเมตตาก็ต้องระวัง เมื่อถึงระดับหนึ่ง ต้องหยุด เพื่อไม่ให้เมตตาล้นไปเป็นความรัก นี่คือแนวของการปฏิบัติ

อย่าดูถูกการศึกษา เอาแต่ปฏิบัติอย่างเดียว ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ มีท่านผู้หนึ่งเรียนอภิธรรม แรกๆ น้องชายติดรถไปเรียนหนังสือได้ทุกวัน พี่สาวก็พยายามบีบคั้นให้น้องเรียนอภิธรรมบ้าง ในที่สุดขัดแย้งกันไม่ยอมให้น้องนั่งรถอีก โกรธกัน เป็นคนละพวกกัน นี่คืออะไร ควรวินิจฉัยดู การศึกษาเป็นของดี แต่ถ้ามีอะไรเป็นข้าศึกอยู่บ้าง แต่เจ้าตัวไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็ไม่ระวัง จึงมีปัญหาเกิดขึ้น ขอให้ทำความเข้าใจข้อนี้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2017, 04:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านแล้วพอจำแนกออกเป็น

การดำเนินชีวิตในรูปแบบของพุทธบริษัท4
มีการยกเอาตัวอย่างการเป็นอยู่ในสังคมพุทธ

และคุณธรรม
เช่นการดูแลพ่อแม่
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์

สิ่งที่ขาดคือความเห็น
ยังไม่มีการยกตัวอย่างเรื่องกรรม
ชาตินี้และชาติหน้า

และการเข้าถึงหัวใจของพุทธศาสนาคือ อริยสัจ4
ว่าด้วยทุกข์
ไม่ได้ยกตัวอย่างเดี่ยวกับความทุกข์เลย

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2017, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวทางการเจริญสมาธิ สติและปัญญาในชีวิตประจำวัน


มีข้อปรารภข้อหนึ่งที่มีบางคนเข้าใจว่าการที่เราจะได้รับความสุขหรือเข้าหาความสงบที่เป็นโลกุตรสุขนั้น จะต้องสละกิจการการงานทางโลกก่อนจึงจะทำได้ อันนี้ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะมีบุคคลบางพวกบางกลุ่มที่สามารถจะได้ความสุขทั้งสองฝ่ายพร้อมกัน คือ สามารถที่จะโลกียสุขและโลกุตรสุขพร้อมกันไป ถ้าสามารถปรับปรุงจิตใจได้

ตัวอย่างที่เราเห็นได้คือ พระอริยบุคคลในระดับโสดาบัน ในระดับสกทาคามี ซึ่งถือว่าท่านได้โลกุตรสุขแล้ว ในขณะเดียวกัน ท่านก็ยังเสวยโลกียสุขเกี่ยวข้องกับโลกียสุขอยู่

แต่ชาวพุทธส่วนมากยังเข้าใจว่า ถ้าจะให้ได้โลกุตรสุขต้องสละทิ้งโลกียสุข ละทิ้งหน้าที่การงานหมด ทำอะไรไม่ได้ อยู่บ้านไม่ได้ ครองเรือนไม่ได้ มิฉะนั้นแล้ว จะไม่มีโอกาสได้โลกุตรสุข เมื่อมีความคิดเห็นอย่างนี้ ทำให้คิดว่ายังตัดอะไรไม่ได้ เลยปฏิบัติธรรมไม่ได้

การที่ท่านทั้งหลายยังทำงานอยู่ ยังมีภาระหน้าที่ต่างๆอยู่ แต่สนใจเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา อริยมรรค ธรรมะต่างๆ ถือว่าเป็นการได้กำไรของชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะว่าถ้ามัวรอให้เสร็จกิจต่างๆก่อนแล้วค่อยไปทำ บางทีอาจจะหมดไปทั้งชีวิตก็ได้ เพราะไม่มีโอกาสที่จะทำ แม้จนแก่เฒ่าก็ยังไม่หมดภาระ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2017, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อ่านแล้วพอจำแนกออกเป็น

การดำเนินชีวิตในรูปแบบของพุทธบริษัท4
มีการยกเอาตัวอย่างการเป็นอยู่ในสังคมพุทธ

และคุณธรรม
เช่นการดูแลพ่อแม่
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์

สิ่งที่ขาดคือความเห็น
ยังไม่มีการยกตัวอย่างเรื่องกรรม
ชาตินี้และชาติหน้า

และการเข้าถึงหัวใจของพุทธศาสนาคือ อริยสัจ4
ว่าด้วยทุกข์
ไม่ได้ยกตัวอย่างเดี่ยวกับความทุกข์เลย





อ้อจะเอาเรื่องกรรมหรือขอรับ เหมือนเขาพูดเรื่องตัดกรรมไว้แล้วนะ :b1:

(ความหมายกรรมระหว่างชาวบ้านกับพุทธธรรมยังต้องทำความเข้าใจกันอีกหลายศตวรรษ)

ชาตินี้ก็ดูที่มงคลสูตร

ชาติหน้าก็เป็นผลของชาตินี้ และก็เมื่อชาตินี้ ได้ประสบทุกข์สุขประการใดก็อย่าโยนอย่าโทษว่าเป็นผลของชาติที่แล้วไปสะทุกเรื่องทุกราวไป เพราะนั่นเรียกว่าปุพเพกตวาทซึ่งเป็นลัทธินิครนถ์

เรื่องทุกข์ในอริยสัจ เช่น คุณเป็นไข้เป็นทุกข์ไหม ถ้าเป็นทุกข์ก็นั่นแหละทุกขอริยสัจ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2017, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
อ่านแล้วพอจำแนกออกเป็น

การดำเนินชีวิตในรูปแบบของพุทธบริษัท4
มีการยกเอาตัวอย่างการเป็นอยู่ในสังคมพุทธ

และคุณธรรม
เช่นการดูแลพ่อแม่
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์

สิ่งที่ขาดคือความเห็น
ยังไม่มีการยกตัวอย่างเรื่องกรรม
ชาตินี้และชาติหน้า

และการเข้าถึงหัวใจของพุทธศาสนาคือ อริยสัจ4
ว่าด้วยทุกข์
ไม่ได้ยกตัวอย่างเดี่ยวกับความทุกข์เลย





อ้อจะเอาเรื่องกรรมหรือขอรับ เหมือนเขาพูดเรื่องตัดกรรมไว้แล้วนะ :b1:

(ความหมายกรรมระหว่างชาวบ้านกับพุทธธรรมยังต้องทำความเข้าใจกันอีกหลายศตวรรษ)

ชาตินี้ก็ดูที่มงคลสูตร

ชาติหน้าก็เป็นผลของชาตินี้ และก็เมื่อชาตินี้ ได้ประสบทุกข์สุขประการใดก็อย่าโยนอย่าโทษว่าเป็นผลของชาติที่แล้วไปสะทุกเรื่องทุกราวไป เพราะนั่นเรียกว่าปุพเพกตวาทซึ่งเป็นลัทธินิครนถ์

เรื่องทุกข์ในอริยสัจ เช่น คุณเป็นไข้เป็นทุกข์ไหม ถ้าเป็นทุกข์ก็นั่นแหละทุกขอริยสัจ :b1:


ไม่ได้พูดเรื่องชาวบ้านกับความเขื่อเรื่องกรรมครับ

พูดถึงความเห็นของผู้เขียนกับเรื่องกรรม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2017, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ครับผม
เกิด
แก่
เจ็บ
ตาย

เป็นทุกขสัจอยู่แล้ว

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร