วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2017, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิริ ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล, ความน่านิยม, ลักษณะดีงามที่นำโชคหรือต้อนรับเรียกมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง ตรงข้ามกับ กาฬกรรณี

ศรี มิ่งขวัญ, ราศี, อาการที่น่านิยม

กาลกรรณี,กาลกิณี, กาฬกรรณี, กาฬกัณณี “อันทำให้ที่ตนอาศัยพลอยเป็นดังสีดำอับมืดไป” ตัวก่ออุบาทว์, ตัวนำเคราะห์ร้ายหรือทำให้อับโชค, เสนียดจัญไร,อัปมงคล, บางทีเพี้ยนเป็นกาลกิณี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2017, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พุทธศาสนิกชนที่ทำบุญเลี้ยงพระ เนื่องในงานมงคลต่างๆ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลสมรส เป็นต้น เจ้าภาพจะจุดเทียนน้ำมนต์ เมื่อพระเริ่มขึ้นบทมงคลสูตร (อเสวนา...)

มงคล สิ่งที่ทำให้มีโชคดี, ตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึงธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ, มงคล ๓๘ ประการ หรือเรียกเต็มว่า อุดมมงคล (มงคลอันสูงสุด) ๓๘ ประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมงคลสูตร (ขุ.ขุ.25/5/3 ขุ.สุ.25/317/376) มีดังนี้

คาถาที่ ๑ = ๑. อเสวนา จ พาลานํ ไม่คบคนพาล

๒ . ปญฺฑิตานญฺจ เสวนา คบบัณฑิต

๓. ปูชา จ ปูชนียานํ บูชาคนที่ควรบูชา

คาถาที่ ๒ = ๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ อยู่ในปฏิรูปเทส, อยู่ในถิ่นที่สิ่งแวดล้อมดี

๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา ได้ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน, ทำความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น

๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ ตั้งตนไว้ชอบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2017, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คาถาที่ ๓ = ๗ พาหุสจฺจญฺจ เล่าเรียนศึกษามาก, ทรงความรู้กว้างขวาง, ใส่ใจสดับตรับฟังค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ

๘. สิปฺปญฺจ มีศิลปวิทยา, ชำนาญในวิชาชีพของตน

๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต มีระเบียบวินัย, ได้ฝึกอบรมตนไว้ดีแล้ว

๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา วาจาสุภาษิต, รู้จักใช้วาจาพูดให้เป็นผลดี

คาถาที่ ๔ = ๑๑ มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ บำรุงมารดาบิดา

๑๒/๑๓ ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห = สงฺคห สงเคราะห์บุตร และทารสงฺคห สงเคราะห์ภรรยา
๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา การงานไม่อากุล

คาถาที่ ๕ = ๑๕. ทานญฺจ รู้จักให้, เผื่อแผ่แบ่งปัน, บริจาคสงเคราะห์และบำเพ็ญประโยชน์

๑๖. ธมฺมจริยา จ ประพฤติธรรม, ดำรงอยู่ในศีลธรรม

๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห สงเคราะห์ญาติ

๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ การงานที่ไม่มีโทษ, กิจกรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์ ไม่เป็นทางเสียหาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2017, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คาถาที่ ๖ = ๑๙ อารดี วิรตี ปาปา เว้นจากความชั่ว

๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม เว้นจากการดื่มน้ำเมา

๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย


คาถาที่ ๗ = ๒๒ คารโว จ ความเคารพ, การแสดงออกที่แสดงถึงความเป็นผู้รู้จักคุณค่าของบุคคล สิ่งของหรือกิจการนั้นๆ และรู้จักให้ความสำคัญและความใส่ใจเอื้อเฟื้อโดยเหมาะสม

๒๓.. นิวาโต จ ความสุภาพอ่อนน้อม, ถ่อมตน

๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ ความสันโดษ, ความเอิบอิ่ม พึงพอใจในผลสำเร็จที่ได้สร้างขึ้นหรือในปัจจัยลาภที่แสวงหามาได้ ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรรม

๒๕. กตญฺญุตา มีความกตัญญู

๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ ฟังธรรมตามกาล, หาโอกาสแสวงความรู้ ในเรื่องที่แสดงหลักความจริง


คาถาที่ ๘ = ๒๗. ขนฺตี จ มีความอดทน

๒๘. โสวจสฺสุตา เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย

๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ พบเห็นสมณะ , เยี่ยมเยือนเข้าหาท่านผู้สงบกิเลส

๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา สนทนาธรรมตามกาล, หาโอกาสสนทนาถกเถียงเกี่ยวกับหลักความจริงและหลักความถูกต้องดีงาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2017, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คาถาที่ ๙ = ๓๑. ตโป จ มีความเพียรเผากิเลส, รู้จักบังคับควบคุมตน ไม่ปรนเปรอตามใจอยาก

๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ ประพฤติพรหมจรรย์, ดำเนินตามอริยมรรค, การรู้จักควบคุมตนในทางเพศ หรือถือเมถุนวิรัติตามควร

๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ เห็นอริยสัจจ์, เข้าใจความจริงของชีวิต

๓๔. นิพพานสจฺฉิกิริยา จ ทำพระนิพพานให้แจ้ง, บรรลุนิพพาน


คาถาที่ ๑๐ = ๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ ถูกโลกธรรมแล้ว จิตไม่หวั่นไหว

๓๖. อโสกํ จิตไร้เศร้า

๓๗. วิรชํ จิตปราศจากธุลี (ธุลีคือกิเลส)

๓๘. เขมํ จิตเกษม


https://www.youtube.com/watch?v=v1xxXz1T5PI

บทสวดมงคล 38

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2017, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลาภ ของที่ได้, การได้

โลกธรรม ธรรมที่มีประจำโลก, ธรรมดาของโลก, ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลก และสัตว์โลกก็เป็นไปตามมัน มี ๘ อย่าง คือ ๑. มีลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. มียศ ๔.เสื่อมยศ ๕. มีนินทา ๖. มีสรรเสริญ ๗. มีสุข ๘. มีทุกข์

สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์

สัตว์ “ผู้ติดข้องในอารมณ์ มีรูปารมณ์ เป็นต้น” สิ่งที่มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก
ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2017, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนังสือ "ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม" โดย วศิน อินทสระ คำนำผู้เขียนมีว่า


พอพูดถึงการปฏิบัติธรรม ความคิดของคนส่วนมากก็แล่นไปที่การนั่งหลับตาภาวนาหรือการทำสมาธิวิปัสสนา หรือมิฉะนั้นก็ถือปิ่นโตเข้าวัด รักษาศีล ฟังธรรม ภาพของสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ ก็ย้ำเน้นให้เห็นเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คือ พอพูดถึงการปฏิบัติธรรม ก็จะฉายภาพคนนุ่งขาวห่มขาว บ้าง นุ่งห่มธรรมดา บ้าง นั่งหลับตานิ่งๆเป็นกลุ่มๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง นั่นคือการปฏิบัติธรรมในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป

ข้าพเจ้าเห็นว่า นั่นเป็นเพียงเอกเทศ คือบางส่วนของการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ทั้งหมด ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า การปฏิบัติธรรมคือการกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งหมด การทำหน้าอันถูกต้องชอบธรรมทั้งหมด นั่นแหละ คือการปฏิบัติธรรม โดยนัยนี้ ทุกคนผู้ทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้องเหมาะสมล้วนกำลังปฏิบัติธรรมกันอยู่ทั้งนั้น

แนวทางการปฏิบัติธรรมที่สำคัญแนวหนึ่งตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ขอให้ท่านดูที่มงคล ๓๘ ประการ จะเห็นว่าพระพุทธองค์ ทรงแสดงมงคลอันสูงสุดแห่งชีวิตไว้ ตั้งแต่เบื้องต้นไปถึงสูงสุด คือ เริ่มจากการไม่คบคนชั่ว คบคนดี บูชาคนที่ควรบูชา .... การตั้งตนไว้ชอบ การมีศิลปวิทยา ... การบำรุงบิดามารดา .... การให้ การสงเคราะห์ญาติ ฯลฯ การเห็นอริยสัจ จนถึงจิตที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม จิตไม่โศก ไม่มีธุลีหรือกิเลส จิตเกษม คือปลอดโปร่งพ้นจากกิเลส

ตามนัยแห่งมงคลสูตรนี้ จะเห็นแนวการปฏิบัติที่พระศาสดาทรงประทานไว้ให้เป็นขั้นๆไป แต่ก็ทำพร้อมๆกันไปได้ เพื่อทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ทั้งสาม คือประโยชน์ในโลกนี้ โลกหน้า และประโยชน์สูงสุดคือนิพพาน


เมื่อสอนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าเคยให้หัวข้อให้นักศึกษาเขียนบทความสั้นๆ เช่น “การปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาชีวิต” แล้วให้อ่านสู่กันฟังในชั้นเรียน มีหลายคนเขียนปรารภว่า ไม่ค่อยมีเวลาปฏิบัติธรรม เพราะมัวยุ่งเรื่องการศึกษาและการช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน

ข้าพเจ้าบอกว่า “นั่นแหละคือการปฏิบัติธรรม กำลังปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว”

เมื่อเราไปถามคุณตาคุณยายตามท้องทุ่งว่า ต้องการออกซิเจนบ้างไหม

คุณตาคุณยายอาจตอบว่า “ไม่ต้องการ ไม่จำเป็น”

ทั้งนี้ เพราะทั้งสองไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า “ออกซิเจน” แต่ความจริง คุณตาคุณยายได้รับออกซิเจนอยู่เป็นประจำและได้มากกว่าคนถามซึ่งเป็นคนเมืองเสียอีก

ในทำนองเดียวกัน คนเราปฏิบัติธรรมอยู่โดยไม่รู้ว่าตัวปฏิบัติธรรมก็มี เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจความหมายแห่งการปฏิบัติธรรม ส่วนบางคนเข้าใจว่าตนปฏิบัติธรรมอยู่ อาจปฏิบัติได้น้อย หรือมีธรรมน้อยกว่าผู้ไม่รู้เสียอีก

ธรรมะอาจมีอยู่ในทุ่งนามากกว่าในวัดก็ได้ ถ้าชาวนาผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ไถนาเพื่อเลี้ยงตน มารดาบิดา บุตรภรรยา ทำบุญทำทานตามสมควร ขณะที่ชาววัดไม่ทำหน้าที่ของชาววัดให้ถูกต้อง จ้องแต่จะรับลาภสักการะ ความนับถือจากมวลชนโดยไม่ทำหน้าที่ให้สมควรกัน

ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธจึงควรทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “การปฏิบัติธรรม” ให้ถูกต้องถ่องแท้ เพื่อจะได้ไม่หลงผิดยกตนข่มผู้อื่นผู้ปฏิบัติธรรมอยู่ และเพื่อไม่หลงผิดตำหนิตนเอง โดยไม่จำเป็นว่าไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไรเลย

ขอให้ผู้ปฏิบัติธรรมมั่นใจว่า เมื่อตนได้ประพฤติธรรมสมควรแก่ฐานะสภาวะแห่งตนแล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองจากธรรมให้อยู่เย็นเป็นสุข สมพระพุทธภาษิตที่ว่า

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.


ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร