วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2016, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


ยถาภูตญาณ ความรู้ตามความเป็นจริง, รู้ตามที่มันเป็น


ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง


ยม พญายม, เทพผู้เป็นใหญ่แห่งโลกของคนตาย และเป็นเจ้านรก, ยมราช ก็เรียก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2016, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยถากรรม “ตามกรรม” ตามปกติใช้ในข้อความที่กล่าวถึงคติหลังสิ้นชีวิต เมื่อเล่าเรื่องอย่างรวบรัด ทำนองเป็นสำนวนแบบในการสอนให้คำนึงถึงการทำกรรม

ส่วนมากใช้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา เช่นว่า “กุลบุตรนั้น เมื่อเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว ก็ทำให้ตำแหน่งเศรษฐีในเมืองนั้น ดำรงอยู่ตลอดอายุแล้ว ก็ไปตามยถากรรม” (คือไปเกิดตามกรรมดีและชั่วที่ตัวได้ทำไว้)

“พระราชาตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทำบุญทั้งหลายแล้วไปตามยถากรรม” (คือไปเกิดตามกรรมดีทีได้ทำ) ข้อความว่า “ไปตาม(คือไปเกิดตามกรรม” นี้ เฉพาะในอรรถกถาชาดกอย่างเดียวก็มีเกือบร้อยแห่ง,

ในพระไตรปิฎก คำนี้แทบไม่ปรากฏที่ใช้ แต่ก็พบบ้างสัก ๒ แห่ง คือ ในรัฐปาลสูตร (ม.ม.13/449/409) และเฉพาะอย่างยิ่งในอัยยิกาสูตร (สํ.ส.15/401/142) ที่ว่า ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลว่า พระอัยยิกาซึ่งเป็นที่รักมากของพระองค์ มีพระชนม์ได้ ๑๒๐ พรรษา ได้ทิวงคตเสียแล้ว ถ้าสามารถเอาสิ่งที่ค่าสูงใดๆแลกเอาพระชนม์คืนมาได้ ก็จะทรงทำ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเกี่ยวกับความจริงของชีวิต และทรงสรุปว่า “สรรพสัตว์จักม้วยมรณ์ เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ทุกคนจักไปตามกรรม (ยถากรรม) เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป

คนมีกรรมชั่วไปนรก คนมีกรรมดีไปสุคติ เพราะฉะนั้น พึงทำกรรมดี...”

มีบ้างน้อยแห่งที่ใช้ยถากรรม ในความหมายอื่น เช่น ในข้อความว่า “ได้เงินค่าจ้างทุกวันตามยถากรรม” (คือ ตามงานที่ตนทำ)

ในภาษาไทย ยถากรรม ได้มีความหมายเพี้ยนไปมาก กลายเป็นว่า “แล้วแต่จะเป็นไป, เรื่อยเปื่อย, เลื่อนลอยไร้จุดหมาย, ตามลมตามแล้ง” ซึ่งตรงข้ามกับความหมายที่แท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2016, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโส โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด

โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย, การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี เทียบ อโยนิโสมนสิการ

อโยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำนำความคิด, เทียบ โยนิโสมนสิการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2016, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิ กำเนิดของสัตว์ มี ๔ จำพวก คือ

๑. ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น คน แมว

๒. อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น นก ไก่

๓. สังเสทะชะ เกิดในไคล คือ ที่ชิ้นและสกปรก เช่น หนอนบางอย่าง

๔. โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น เช่น เทวดา สัตว์นรก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2016, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยักยอก เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความรักษาของตนไปโดยทุจริต

ยุติ ความถกต้องลงตัวตามเหตุผล, ความเหมาะควรโดยเหตุผล, ความมีเหตุผลลงกันได้ (บาลี ยุตฺติ)

ยุติธรรม “ธรรมโดยยุติ” ความเป็นธรรมโดยความถูกต้องลงตัวตามเหตุผลและหลักฐาน, ในภาษาไทย มักแปลกันว่า ความเที่ยงธรรม

เยภุยยสิกา กิริยาเป็นไปตามข้างมาก ได้แก่ วิธีตัดสินอธิกรณ์ โดยถือเอาตามคำของคนข้างมาก เช่น วิธีจับสลากเพื่อชี้ข้อผิดถูก ข้างไหนมีภิกษุผู้ร่วมพิจารณาลงความเห็นมากกว่า ก็ถือเอาพวกข้างนั้น เป็นวิธีอย่างเดียวกับการโหวตคะแนนเสียง, ใช้สำหรับระงับวิวาทาธิกรณ์ ดู อธิกรณสมถะ

เยวาปนธรรม “ก็หรือว่าธรรมแม้อื่นใด” หมายถึงธรรมจำพวกที่กำหนดแน่ไม่ได้ ว่าข้อไหนจะเกิดขึ้น ได้แก่ เจตสิก ๑๖ เป็นพวกที่เกิดในกุศลจิต ๙ คือ ๑.ฉันทะ ๒.อธิโมกข์ ๓ .มนสิการ ๔. อุเบกขา (ตัตตรมัชฌัตตตา) ๕. กรุณา ๖. มุทิตา ๗. สัมมาวาจา (วจีทุจริตวิรัติ) ๘. สัมมากัมมันตะ (กายทุจริตวิรัติ) ๙. สัมมาอาชีวะ (มิจฉาชีววิรัติ)
เป็นพวกที่เกิดในอกุศลจิต ๑๐ คือ ๑. ฉันทะ ๒.อธิโมกข์ ๓ .มนสิการ ๔. มานะ ๕. อิสสา ๖. มัจฉริยะ ๗. ถีนะ ๘. มิทธะ ๙. อุทธัจจะ ๑๐ กุกกุจจะ นับเฉพาะที่ไม่ซ้ำ (คือเว้น ๓ ข้อแรก) เป็น ๑๖

โยคะ ๑. กิเลสเครื่องประกอบ คือ ประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก มี ๔ คือ
๑. กาม
๒. ภพ
๓. ทิฏฐิ
๔. อวิชชา ๒. ความเพียร


โยคเกษม, โยคเกษมธรรม “ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ” ความหมายสามัญว่าความปลอดโปร่งโล่งใจหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตราย หรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัวมาถึงสถานที่ปลอดภัย,
ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก

โยคาวจร ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร ผู้ประกอบความเพียร, ผู้เจริญภาวนา คือ กำลังปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เขียน โยคาพจร ก็มี

โยคี ฤษี, ผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ, ผู้ประกอบความเพียร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2016, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยติ ผู้สำรวมอินทรีย์, นักพรต, พระภิกษุ


ยโสธรา ๑ เจ้าหญิงศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าชยเสนะ เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอัญนะผู้ครองกรุงเทวทหะ เป็นพระมารดาของพระนางสิริมหามายา และพระนางมหาปชาบดีโคตมี ๒. อีกชื่อหนึ่งว่า พิมพา เป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะ เป็นมารดาของพระราหุล ต่อมาออกบวช เรียกชื่อว่า พระภัททากัจจานา


ยามกาลิก ของที่ให้ฉันได้ ชั่วระยะวันหนึ่ง กับคืนหนึ่ง


ยาวกาลิก ของที่อนุญาตให้ฉันได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน


ยาวชีวิก ของที่ให้ฉันได้ไม่จำกัดเวลาตลอดชีวิต


ยินร้าย ไม่พอใจ, ไม่ชอบใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยมกปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ อันเป็นปาฏิหาริย์พิเศษที่เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้นกระทำได้ ไม่สาธารณะกับพระสาวกทั้งหลาย
เช่น
ให้เปลวไฟ กับ สายน้ำพวยพุ่งออกไปจากกายต่างส่วนต่างด้านพร้อมกันเป็นคู่ๆ
ให้ลำเพลิงพวยพุ่งจากกายเบื้องขวา พร้อมกับอุทกธาราพวยพุ่งออกไปจากกายข้างซ้าย และสลับกัน บ้าง

ให้ลำเพลิงพวยพุ่งจากตาข้างขวา พร้อมกับอุทกธาราพวยพุ่งออกไปจากตาข้างซ้าย และสลับกัน บ้าง
จากหู จมูก บ่า มือ เท้า ขวา ซ้าย ตลอดจนช่ององคุลี และขุมขน ก็เช่นเดียวกัน

นอกจากนั้น ในท่ามกลางฉัพพรรณรังสี พระผู้มีพระภาค กับ พระพุทธนิมิต (พระพุทธรูปที่เนรมิตขึ้น) ก็สำเร็จอิริยาบถที่ต่างกัน เช่น ขณะที่พระผู้มีพระภาคจงกรม พระพุทธนิมิตยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง
ขณะที่พระพุทธนิมิตนอน พระผู้มีพระภาคจงกรม บ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง ดังนี้เป็นต้น



ยมกปาฏิหาริย์นั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงทีใกล้ประตูเมืองสาวัตถี เพื่อกำราบหรือระงับคาวมปรารถนาร้ายของเหล่าเถียรถีย์ ดังมีเรื่องเป็นมาว่า

ครั้งหนึ่ง เศรษฐีชาวเองราชคฤห์ได้ปุ่มไม้แก่นจันทร์มีราคามากมา (อรรถกถาว่าเป็นปุ่มไม้จันทร์แดงที่ลอยตามแม่น้ำคงคามาติดตาข่ายป้องกันบริเวณที่เล่นกีฬาน้ำของท่านเศรษฐี) และเกิดความคิดว่า จะให้กลึงเป็นบาตร เก็บเอาส่วนที่เหลือไว้ใช้ และให้บาตรเป็นทาน

เมื่อให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้แก่นจันทร์นั้นแล้ว ก็ใส่สาแหรกแขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่ ผูกลำไม้ต่อๆกันขึ้นไป (อรรถกถาว่าสูง ๖๐ ศอก)
ประกาศว่า สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม ผู้ใด เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์จงปลอดบาตรที่เราให้แล้วไปเถิด
(อรรถกถาว่า ท่านเศรษฐีทำเช่นนี้ เพราะคิดว่า มีผู้อวดกันมากว่าตนเป็นพระอรหันต์ แต่ไม่เห็นจริงสักราย คราวนี้จะได้ชัดกันไป ถ้ามีจริงก็จะยอมนับถือกันทั้งครอบครัว)

พวกเดียรถีย์ เจ้าลัทธิก็มาติดต่อขอบาตรนั้น ท่านเศรษฐีก็บอกให้เหาะขึ้นไปเอาเอง จนถึงวันที่ ๗ พระมหาโมคคัลลานะ และพระปิณโฑลภารทวาชะเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ ได้ยินพวกนักเลงพูดทำนองเยาะเย้ยว่า มีแต่นักคุยอวดว่าเป็นอรหันต์ แต่เอาเข้าจริง คราวนี้ก็เห็นชัดว่าไม่มี

พระมหาเถระเห็นว่า ถ้าปล่อยไว้ คนจะดูหมิ่นพระศาสนา ในที่สุดพระปิณโฑลภารทวาชะก็เหาะขึ้นไปปลดบาตรนั้น และเหาะเวียนกรุงราชคฤห์ ๓ รอบ

(อรรถกถาว่า พระเถระเหาะแสดงฤทธิ์แล้วมาหยุดที่เหนือบ้านของเศรษฐีโดยมิได้เข้าไปที่บาตร ท่านเศรษฐีแสดงความเคารพและนิมนต์ท่านลงมา แล้วให้คนเอาบาตรลงมาและจัดถวาย)

เหตุการณ์นี้ทำให้คนแตกตื่น พากันตามพระเถระมาที่วัด ส่งเสียงอื้ออึงมาก

พระพุทธเจ้าทรงสดับ เมื่อทราบความแล้ว ทรงให้ประชุมสงฆ์ สอบถามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ได้ความจริงตามเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว ทรงตำหนิว่า การนั้นไม่สมควรแก่สมณะ การที่ถือเอาบาตรไม้เป็นเหตุมาแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ อันเป็นอุตตริมนุสสธรรมแก่คฤหัสถ์ทั้งนั้น ก็เหมือนกับสตรียอมเปิดแสดงของสงวนเพราะเห็นแก่ทรัพย์ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุ มิให้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย และรับสั่งให้ทำลายบาตรนั้น บดจนละเอียดผสมเป็นยาหยอดตาของภิกษุทั้งหลาย กับ ทั้งทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมิให้ใช้บาตรไม้ (วินย. 7/33/16) ในพระวินัยปิฎก มีเรื่องต้นเดิมเป็นมาจบลงเพียงนี้




อรรถกถาเล่าเรื่องต่อไปว่า (ธ.อ.6/70 ชา.อ.6/231) ฝ่ายพวกเดียรถีย์ เมื่อรู้ว่า พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุ มิให้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่คฤหัสถ์ทั้งหลายแล้ว ก็เห็นว่าพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาหมดโอกาสแสดงฤทธิ์แล้ว จึงฉวยโอกาสโฆษณาว่า พวกตนไม่เห็นแก่บาตรไม้ จึงมิได้แสดงฤทธิ์ เมื่อเรื่องบาตรผ่านไปแล้ว ทีนี้ พวกตน ก็จะแสดงความสามารถให้เห็นละ โดยจะแข่งฤทธิ์กับพระสมณโคดม

ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารห่วงใยว่า พวกเดียรถีย์ท้าอย่างนี้ ในเมื่อทรงบัญญัติห้ามพระสงฆ์แสดงฤทธิ์เสียแล้ว จะทำอย่างไร

พระพุทธเจ้าตรัสว่า สิกขาบทนั้น ทรงบัญญัติสำหรับพระสาวก พระองค์จึงจะทรงแสดงฤทธิ์เอง และตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสารว่า จะแสดงในเวลาอีก ๔ เดือนข้างหน้า ในวันเพ็ญเดือน ๘ ณ เมืองสาวัตถี

ต่อจากนั้น พวกเดียรถีย์ก็แสดงออกต่างๆ ให้เห็นเหมือนกับว่าพระพุทธเจ้าทรงหาทางผัดผ่อนเวลาและยักย้ายสถานที่เพื่อหนีการท้าทาย และพวกตนคอยไล่ตาม จนกระทั่งเมื่อมาสู่เมืองสาวัตถีและใกล้เวลาเข้าไป พวกเดียรถีย์ก็ให้ทำมณฑปที่จะทำการแสดงไว้ให้พร้อม


ส่วนของพระพุทธเจ้า ยังไม่มีการเตรียมการอะไร เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถาม ก็ทรงตอบว่าจะแสงที่โคนต้นมะม่วงของนายคัณฑ์ (คัณฑามพพฤกษ์ = คัณฑ (นายคัณฑ์ เป็นคนเฝ้าพระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล) + อัมพ (มะม่วง) + พฤกษ์ (ต้นไม้) ฉบับอักษรพม่า เป็นกัณฑามพพฤกษ์ คือ คนส่วนชื่อนายกัณฑ์)

พวกเดียรถีย์ได้ข่าวดังนั้น ก็ให้คนเที่ยวทำลายถอนต้นมะม่วงแม้แต่ที่เพิ่งเกิดในรัสมีโยชน์หนึ่งทั้งหมด (แต่เข้าไปถอนในพระราชอุทยานไม่ได้)

ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน ๘ นายคัณฑ์ คนเฝ้าพระราชอุทยาน เก็บมะม่วงผลโตรสดีได้ผลหนึ่ง นำไปจะถวายแก่พระราชา พอดีระหว่างทาง เห็นพระพุทธเจ้า เลยเปลี่ยนใจ คิดว่าถวายพระพุทธเจ้าดีกว่า
พระพุทธเจ้าทรงรับแล้ว
พระอานนท์ คั้นทำน้ำปานะถวาย
พระองค์เสวยอัมพปานะ และรับสั่งให้นายคัณฑ์รับเอาเม็ดมะม่วงไปคุ้ยดินปลูกตรงที่นั้นเอง ทรงล้างพระหัตถ์ รดน้ำลงไป ต้นมะม่วงก็งอกโตขึ้นมาๆจนสูงได้ ๑๕ ศอก ออกดอกออกผลพรั่งพร้อม

ขณะนั้น พายุใหญ่พัดและฝนหนักตกลงมา ทำให้ประดาเดียรถีย์หนีกระจัดกระจาย แล้วเมื่อถึงวาระ พระพุทธเจ้าก็ทรงแสงยมกปาฏิหาริย์และแสดงธรรมแก่ประชาชน

เมื่อเสร็จสิ้นพุทธกิจแล้ว ก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ และทรงแสดงอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา และเหล่าเทพ ถ้วนไตรมาส แล้วในวันเพ็ญเดือด ๑๑ เสด็จเทโวโรหณะ คือลงจากเทวโลก ที่สังกัสสนคร คืนสู่พุทธกิจในการโปรดมนุษยนิกรสืบต่อไป

นิกร หมู่,พวก

นิกรสัตว์ หมู่สัตว์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยมทูต ทูตของพญายม, สื่อแจ้งข่าวของความตาย หรือสภาวะที่เตือนให้นึกถึงความตายเพื่อจะได้ไม่ประมาททำความดีเตรียมไว้ เช่น ความแก่หง่อม (ธ.อ. 7/4)


ยมบาล ผู้คุมนรก, ผู้ทำหน้าที่ลงโทษสัตว์นรก, ในคัมภีร์ภาษาบาลี ใช้คำว่า นิรยบาล


ยมบุรุษ คนของพญายม (บาลี ยมปุริส) ผู้ทำหน้าที่ลงโทษสัตว์นรก, นิรยบาล, บางทีใช้เชิงบุคลาธิษฐาน หมายถึงสภาวะที่เตือนให้นึกถึงความตายเพื่อจะได้ไม่ประมาททำความดีเตรียมไว้ เช่น ความแก่หง่อม (ขุ.ธ.25/28/46)


ยมโลก โลกของพญายม, โลกของคนตาย, ในบางแห่ง ซึ่งกล่าวถึงคู่กับเทวโลก
อรรถกถาอธิบายว่า ยมโลก หมายถึงอบายภูมิ ๔ (ธ.อ.3/2) โดยเฉพาะในคัมภีร์เปตวัตถุ มักหมายถึงแดนเปรต (เช่น ขุ.เปต.26/92/111)


ยักษ์ มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่ใช้บ่อย หมายถึงอมนุษย์พวกหนึ่งเป็นบริวารของท้าวกุเวร หรือเวสสุวัณ, ตามที่ถือกันมาว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัวมีเขี้ยวงอกโง้ง ชอบกินมนุษย์กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้ จำแลงตัวได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยศ ความเป็นใหญ่และความยกย่องนับถือ, ในภาษาไทย มักได้ยินคำว่า เกียรติยศ ซึ่งบางครั้งมาคู่ กับ อิสริยยศ และอาจจะมี ปริวารยศ หรือ บริวารยศ มาเข้าชุดด้วย รวมเป็น ยศ ๓ ประเภท


ยักยอก เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความรักษาของตนไปโดยทุจริต


ยาคุภาชนะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกยาคู เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดา เจ้าอธิการแห่งอาหาร


ยาคู ข้าวต้ม, เป็นอาหารเบาสำหรับฉันรองท้องก่อนถึงเวลาฉันอาหารหนักเป็นของเหลว ดื่มได้ ซดได้ ไม่ใช่ของฉันให้อิ่ม เช่น ภิกษุดื่มยาคูก่อนแล้วไปบิณฑบาต ยาคูสามัญอย่างนี้ ที่จริงจะแปลว่าข้าวต้มหาถูกไม่ แต่แปลกันมาอย่างนั้นพอให้เข้าใจง่ายๆ ข้าวต้มที่ฉันเป็นอาหารมื้อหนึ่งได้ อย่างที่ฉันกันอยู่โดยมาก มีชื่อเรียกต่างหากไปอีกอย่างหนึ่งว่า โภชชยาคู


โยม คำที่พระสงฆ์ใช้เรียกคฤหัสถ์ที่เป็นบิดามารดาของตน หรือที่เป็นผู้ใหญ่คราวบิดามารดา บางทีใช้ขยายออกไป เรียกผู้มีศรัทธา ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงพระศาสนา โดยทั่วไปก็มี คำใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระสงฆ์,

สรรพนามบุรุษที่ ๑ สำหรับบิดามารดา พูดกับพระสงฆ์ (บางทีผู้ใหญ่คราวบิดามารดา หรือผู้เกื้อกุลคุ้นเคยก็ใช้)

ยุกติ ชอบ, ถูกต้อง, สมควร


ยัญ การเซ่น,การบูชา, การบวงสรวงชนิดหนึ่งของพราหมณ์ เช่น ฆ่าสัตว์บูชาเทพเจ้าเพื่อให้ตนพ้นเคราะห์ร้ายเป็นต้น


ยัญพิธี พิธีบูชายัญ


ยี่ สอง โบราณเขียน ญี่ เดือนยี่ ก็คือเดือนที่สองต่อจากเดือนอ้ายอันเป็นเดือนที่หนึ่ง

โยคี ฤษี, ผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ; ผู้ประกอบความเพียร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2017, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศัพท์บาลีมีอรรถหลายอย่าง เช่น โยค ในคาถานี้ ตัวแรกหมายถึง ความเพียร ตัวที่สองหมายถึงกิเลส ตัวที่สามหมายถึงนิพพาน


โอเฆน วุยฺหตี พาโล โยคา นุทติ ปณฺฑิโต
สพฺพโยควิสํยุตฺโต โยคกฺเขมีติ วุจฺจติ.



คนพาลถูกห้วงน้ำพัดพาไป บัณฑิตย่อมบรรเทาเสียด้วยความเพียร
บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ.


โยคะ 1. กิเลสเครื่องประกอบ คือ ประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก มี ๔ คือ
๑. กาม ๒. ภพ ๓. ทิฏฐิ ๔. อวิชชา 2. ความเพียร


โยคเกษม, โยคเกษมธรรม “ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ” ความหมายสามัญว่าความปลอดโปร่งโล่งใจหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตราย หรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัวมาถึงสถานที่ปลอดภัย,

ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2017, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตันติ ๑. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไปแสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ๒. เส้น, สาย เช่น สายพิณ

ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า “ตันติภาษา” ในที่นี้หมายถึง ภาษาบาลี (บาลี ตนฺติภาสา)

บาลี ๑. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์” ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ ภาษามคธ ๒. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก,

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี”


ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลีหรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

มคธภาษา ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

มคธ ๑. ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกันกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่า พิมพิสาร


ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารถูกพระโอรสชื่อ อชาตศัตรู ปลงพระชนม์ และขึ้นครองราชย์สืบแทน

ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว

บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร ๒. เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่าภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมาจนบัดนี้ คือ ภาษามคธ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนก อาณาจักรโบราณทางทิศพายัพของชมพูทวีป (ปัจจุบันอยู่ในเขตอัฟกานิสถาน และอุซเบกิสถาน กับ ตาจิกิสถานแห่งเอเซียกลาง) ชื่อว่าบากเตรีย (Bactria เรียก Bactriana หรือ Zariaspa ก็มี) มีเมืองหลวงชื่อ บากตรา (Bactra ปัจจุบันเรียกว่า Baldh อยู่ในภาคเหนือของอัฟกานิสถาน) เป็นดินแดนที่ชนชาติอารยันเข้ามาครอง แล้วตกอยู่ใต้อำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ และคงเนื่องจากมีชนชาติกรีกเผ่า Ionians มาอยู่อาศัยมาก ทางชมพูทวีป จึงเรียกว่า “โยนก” (ในคัมภีร์บาลีเรียกว่า โยนก บ้าง โยนะ บ้าง ยวนะ บ้าง ซึ่งมาจากคำว่า “Ionian” นั่นเอง)

เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) กษัตริย์กรีก ยกทัพแผ่อำนาจมาทางตะวันออก ล้มจักรวรรดิเปอร์เซียลงได้ ในปีที่ ๓๓๑ ก่อน ค.ศ. (ประมาณ พ.ศ.๑๕๘) แล้วจะมาตีชมพูทวีป ผ่านบากเตรียซึ่งเคยขึ้นกับเปอร์เซียมาประมาณ ๒๐๐ ปี ก็ได้บากเตรียคือแคว้นโยนกนั้นในปีที่ ๓๒๙ ก่อน ค.ศ. (พ.ศ.๑๖๐) จากนั้น จึงได้ตั้งทัพทที่เมืองตักสิลาในปีที่ ๓๒๖ ก่อน ค.ศ. เพื่อเตรียมเข้าตีอินเดีย แต่ในที่สุดทรงล้มเลิกพระดำรินั้น และยกทัพกลับในปีที่ ๓๒๕ ก่อน ค.ศ. ระหว่างทางเมื่อพักที่กรุงบาบิโลน ได้ประชวรหนักและสวรรคต เมื่อปีที่ ๓๒๓ ก่อน ค.ศ. แม่ทัพกรีกที่พระเจ้าอเลกซานเดอร์ตั้งไว้ดูแลดินแดนที่ตีได้ ก็ปกครองโยนกต่อมา โยนกตลอดจนคันธาระที่อยู่ใต้ลงมา (ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน และปากีสถาน) จึงเป็นดินแดนกรีก และมีวัฒนธรรมกรีกเต็มที่

ต่อมาไม่นาน เมื่อพระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช คือพระเจ้าจันทรคุปต์ (เอกสารกรีกเรียก Sandrocottos หรือ Sandrokottos) ขึ้นครองแคว้นมคธ ตั้งราชวงศ์โมริยะ (รูปสันสกฤต เป็นเมารยะ) ขึ้นในปีที่ ๓๒๑ ก่อน ค.ศ. (พ.ศ. ๑๖๘) แล้วยกทัพมาเผชิญกับแม่ทัพใหญ่ของอเลกซานเดอร์ ชื่อซีลูคัส (Seleucus) ที่มีอำนาจปกครองดินแดนแถบตะวันออกรวมทั้งโยนกและคันธาระนั้น (ต่อมาได้เป็นกษัตริย์แห่งบาบิโลเนีย ถือกันว่าเป็นกษัตริย์แห่งซีเรียโบราณ) ซีลูคัสได้ยอมยกคันธาระให้แก่จันทรคุปต์ แม้ว่าโยนกก็คงจะได้มาขึ้นต่อมคธด้วย ดังที่ศิลาจาริกของพระเจ้ออโศก (ครองราชย์ พ.ศ.๒๑๘-๒๖๐) กล่าวถึงแว่นแคว้นของชาโยนกในเขตพระราชอำนาจ แต่ผู้คนและวิถีชีวิตที่นั่นก็ยังเป็นแบบกรีกสืบมา

เมื่อพระเจ้าอโศกทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ ใน พ.ศ. ๒๓๕ แล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้มอบภาระให้พระสงฆ์ไปเผยแพร่พระศาสนาในดินแดนต่างๆ ๙ สาย (เรียกกันว่า พระศาสนทูต) อรรถกถากล่าวว่า พระมหารักขิตเถระได้มายังโยนกรัฐ

หลักรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราชไม่เต็มครึ่งศตวรรษ ราชวงศ์โมริยะก็สลายลง ในช่วงนั้น บากเตรียหรือโยนกก็ได้ตั้งอาณาจักรของตนเองเป็นอิสระ (ตำราฝ่ายตะวันตกบอกในทำนองว่า บากเตรียไม่ได้มาขึ้นต่อมคธ ยังขึ้นกับราชวงศ์ของซีลูคัส จนถึงปีที่ ๒๕๐ ก่อน ค.ศ. ซึ่งยังอยู่ในรัชกาลพระเจ้าอโศก บากเตรียจึงแยกตัว จากวงศ์ของซีลูคัส ออกมาตั้งเป็นอิสระ แต่ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกก็บอกชัดว่า มีแว่นแคว้นโยนกในพระราชอำนาจ อาจเป็นได้ว่า โยนกในสมัยนั้น มีทั้งส่วนที่ขึ้นต่อมคธ และส่วนที่ขึ้นต่อราชวงศ์กรีก ของซีลูคัสแล้วแข็งข้อแยกออกมา) จากนั้นบากเตรียได้มีอำนาจมากขึ้น ถึงกับขยายดินแดนเข้ามาในอินเดียภาคเหนือ ดังที่โยนกได้มีชื่อเด่นอยู่ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสมัยของพระเจ้า Menander ที่พุทธศาสนิกชน เรียกว่า พญามิลินท์ ซึ่งครองราชย์ (พ.ศ. ๔๒๓ – ๔๕๓) ที่เมืองสาคละ (ปัจจุบันเรียกว่า Sialkot อยู่ในแคว้นปัญจาบ ที่เป็นส่วนของปากีสถาน)

หลังรัชกาลพญามิลินท์ไม่นาน บากเตรีย หรือโยนกตกเป็นของชนเผ่าศกะที่เร่ร่อนรุกรานเข้ามา แล้วต่อมาก็เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกุษาณ (ที่มีราชายิ่งใหญ่พระนามว่ากนิษกะ ครองราชย์ พ.ศ.๖๒๑ – ๖๔๔) หลังจากนั้น ก็มีการรุกรานจากภายนอกมาเป็นระลอก จนกระทั้งประมาณ ค.ศ. ๗๐๐ (ใกล้ พ.ศ. ๑๓๐๐) กองทัพมุสลิมอาหรับยกมาถึงเข้าครอบครอง โยนกก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งแห่งดินแดนของชนชาวมุสลิมสืบมา ชื่อโยนกก็เหลืออยู่แต่ในประวัติศาสตร์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิลินทปัญหา คัมภีร์สำคัญ บันทึกคำสนทนาโต้ตอบปัญหาธรรม ระหว่างพระนาคเสน กับ พระยามิลินท์


มิลินท์ มหากษัตริย์เชื้อชาติกรีก ในชมพูทวีป ครองแคว้นโยนก ที่สาคลนคร (ปัจจุบันเรียกว่า Sialkot อยู่ในแคว้นปัญจาบ ที่เป็นส่วนของปากีสถาน) มีชาติภูมิที่เกาะอลสันทะ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าตรงกับคำว่า Alexandria คือ เป็นเมืองหนึ่งที่พระเจ้าอเลกซานเดอร์ มหาราชสร้างขึ้นบนทางเดินทัพที่มีชัย ห่างจากสาคลนครประมาณ ๒๐๐ โยชน์ ทรงเป็นปราชญ์ยิ่งใหญ่ โต้วาทะชนะนักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยนั้น จนในที่สุดได้โต้กับพระนาคเสน ทรงเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนาและเป็นองค์อุปถัมภกสำคัญ ชาวตะวันตกเรียกพระนามตามภาษากรีกว่า Menander ครองราชย์ พ.ศ. ๔๒๓ สวรรคต พ.ศ.๔๕๓


นาคเสน พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์สาคลประเทศ ดังมีคำโต้ตอบปัญหามาในคัมภีร์มิลินทปัญหา ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละในหิมวันตประเทศ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อโลณุตตระ ท่านเป็นผู้ชำนาญในพระเวท และต่อมาได้อุปสมบท โดยมีพระโรหณะเป็นพระอุปัชฌาย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร