วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 15:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรม สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง;
เหตุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด;
คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ;
หลักการ ,แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่, ความชอบ, ความยุติธรรม;
พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น


ธรรมดา อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ, สามัญ, ปกติ, พื้นๆ


ธรรมทาน การให้ธรรม, การสั่งสอนแนะนำเกี่ยวกับธรรม, การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง


ทาน การให้, ยกมอบแก่ผู้อื่น, ให้ของที่ควรให้ แก่คนที่ควรให้ เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น, สิ่งที่ให้, ทรัพย์สินสิ่งของที่มอบให้หรือแจกออกไป
ทาน ๒ คือ ๑. อามิสทาน ให้สิ่งของ ๒. ธรรมทาน ให้ธรรม


ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม ๒. ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ

ทานมิใช่ถูกต้องดีงามหรือเป็นบุญเสมอไป ทานบางอย่างถือไม่ได้ว่าเป็นทาน และเป็นบาปด้วย

ในพระไตรปิฎก (วินย.8/979/326) กล่าวถึงทานที่ชาวโลกถือกันว่าเป็นบุญ แต่ที่แท้หาเป็นบุญไม่ (ทานที่เป็นบาป) ๕ อย่างคือ ๑. มัชชทาน (ให้น้ำเมา) ๒. สมัชชทาน (ให้มหรสพ) ๓. อิตถีทาน (ให้สตรี) ๔. อุสภทาน (ท่านอธิบายว่าปล่อยให้โคอุสภะเข้าไปในฝูงโค) ๕. จิตรกรรมทาน (ให้ภาพยั่วยุกิเลส เช่น ภาพสตรีและบุรุษเสพเมถุน)

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา (มิลินท.352) กล่าวถึงทานที่ไม่นับว่าเป็นทาน อันนำไปสู่อบาย ๑๐ อย่าง ได้แก่ ๕ อย่างที่กล่าวแล้ว และเพิ่มอีก ๕ คือ ๖. สัตถทาน (ให้ศัสตรา) ๗. วิสทาน (ให้ยาพิษ) ๘. สังขลิกทาน (ให้โซ่ตรวน) ๙. กุกกุฏสูกรทาน (ให้ไก่ให้สุกร) ๑๐. ตุลากูฎมานกูฎทาน (ให้เครื่องชั่งตวงวัดโกง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรม” เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุด กินความครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามี

ถ้าจะให้ “ธรรม” มีความหมายแคบเข้า หรือจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เติมคำขยายประกอบลงไปเพื่อจำกัดความให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ หรือจำแนกแยกธรรมนั้นแบ่งประเภทออกไป แล้วเลือกเอาส่วนหรือแง่ด้านแห่งความหมายที่ต้องการ
หรือ
มิฉะนั้น ก็ใช้คำว่า ธรรมคำเดียวเดี่ยวโดดเต็มรูปของมันตามเดิมนั่นแหละ แต่ตกลงหรือหมายรู้ร่วมกันไว้ว่า เมื่อใช้ในลักษณะนั้นๆ ในกรณีนั้น หรือในความแวดล้อมอย่างนั้นๆ จะให้มีความหมายเฉพาะในแนวความ หรือในขอบเขตว่าอย่างนั้นๆ เช่น

เมื่อมาคู่กับอธรรม หรือใช้เกี่ยวกับความประพฤติที่ดี ที่ชั่วของบุคคล หมายถึง บุญ หรือคุณธรรม คือ ความดี

เมื่อมาคู่กับคำว่าอัตถะ หรืออรรถ หมายถึง ตัวหลัก หลักการ หรือเหตุ

เมื่อใช้สำหรับเล่าเรียน หมายถึง ปริยัติ พุทธพจน์ หรือคำสั่งสอน ดังนี้เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมคำเดียวโดดๆ เมื่อมาคู่กับอธรรมใช้เกี่ยวกับความประพฤติที่ดี ที่ชั่วของบุคคล หมายถึง บุญ หรือคุณธรรม คือ ความดี

เช่น ตัวอย่างคาถานี้



น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน

อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ.


ความจริง สภาวธรรมทั้ง ๒ คือ ธรรมและอธรรม มีผลเสมอกันหามิได้
อธรรม ย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมนำไปสู่สุคติ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะให้ “ธรรม” มีความหมายแคบเข้าหรือจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เติมคำขยายประกอบลงไปเพื่อจำกัดความให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ หรือจำแนกแยกธรรมนั้นแบ่งประเภทออกไป แล้วเลือกเอาส่วนหรือแง่ด้านแห่งความหมายที่ต้องการ

ให้ธรรมมีความหมายแคบเข้า

ตัวอย่าง เช่น

ธรรม ๒ หมวดหนึ่ง คือ

๑. รูปธรรม ได้แก่ รูปขันธ์ทั้งหมด

๒. อรูปธรรม ได้แก่ นามขันธ์ ๔ และนิพพาน

อีกหมวดหนึ่ง คือ

๑. โลกียธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก

๒. โลกุตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

อีกหมวดหนึ่ง คือ

๑. สังขตธรรม ธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ขันธ์ ๔ ทั้งหมด

๒. อสังขตธรรม ธรรมอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมกาย 1. “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยใจแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก; พรหมกาย หรือพรหมภูต ก็เรียก 2. “กองธรรม” หรือ “ชุมนุมแห่งธรรม” ธรรมกาย ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์แล้ว ฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขา เจริญมรรคาให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า

ข้าแต่พระสุตคเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ... รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต

สรุปตามนัยอรรถกถา ธรรมกาย ในความหมายนี้ ก็คือโลกุตรธรรม ๙ หรืออริยสัจจ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติธรรมถูกทาง ธรรมกาย ก็จะค่อยๆเจริญขึ้นๆ

viewtopic.php?f=1&t=52270

ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไป ธรรมกายเจริญเอง

พระพุทธเจ้าจากเราไปแล้ว แต่พระพุทธศาสนาไม่ได้สูญสิ้นไปด้วย ธรรมก็ยังคงอยู่

แม้พระวรกายหรือที่บาลีเรียกว่า รูปกายของพระพุทธเจ้าจะจากไปแล้ว แต่นามกายของพระองค์ในส่วนที่เรียกว่า ธรรมกาย ก็ยังคงอยู่

พระพุทธเจ้าตรัสไว้มีใจความว่า ผู้เห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา แต่ผู้ใดใจมากด้วยกิเลส ไม่เห็นธรรม แม้จะเกาะชายสังฆาฏิติดตามเราไปตลอดเวลา ผู้นั้นกับเราก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลกัน (สํ.ข.17/216,ขุ.สุ. 25/272)

เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเห็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริง เราก็ต้องเข้าถึงธรรม

ถึงตอนนี้ ก็เลยมีกาย ๒ อย่าง ดังที่บอกว่ารูปกายของพระพุทธเจ้าจากไปแล้ว แต่ธรรมกายหาจากไปไม่

เราเห็นรูปกายของพระองค์ ด้วยตาเนื้อ แต่เราจะสามารถเห็นพระองค์ที่แท้จริง คือ พระธรรมกาย ด้วยดวงตาปัญญา

รูปกายของพระองค์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แตกสลายไปเป็นธรรมดา เพราะเป็นรูปธรรม แต่ธรรมกายนั้นคงอยู่ ถึงแม้รูปกายของพระองค์จะแตกสลายแล้ว ธรรมกายก็ยังหาแตกสลายไปด้วยไม่

ชาวพุทธ เมื่อได้มาเรียนรู้พุทธประวัติ รำลึกถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับพระองค์แล้ว เราก็เห็นความเป็นไปเกี่ยวกับพระรูปกายที่มาจบสิ้น ณ สถานที่ปรินิพพาน แล้วมาถูกพระเพลิงเผาผลาญที่มกุฎพันธนเจดีย์ คือ ที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระนี้

พระรูปกายของพระองค์กลายเป็นเถ้าเป็นอัฐิไปแล้ว แต่พระธรรมกายยังคงอยู่ พระองค์ได้สอนเราไว้แล้วว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น เห็นเรา”

หมายความว่า ถึงแม้ใครจะเกาะชายสังฆาฏิติดตามพระองค์ไป ก็เห็นแค่รูปกาย เราจะต้องมองเห็นธรรม จึงจะเห็นธรรมกายของพระองค์

แต่คำว่า รูปกาย และ ธรรมกาย นั้น จะต้องทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน

คำว่า กาย แปลว่า กอง คือที่ชุมนุม หรือที่ประชุม หมายความว่าเป็นที่มารวมกันของสิ่งต่างๆ เช่น รถกาย คือ กองรถ พลกาย คือกองพล หรือกองทหาร เป็นต้น

เพราะฉะนั้น รูปกายทั้งหลาย มีธาตุต่างๆ อย่างที่เรียกกันว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมกันเข้า ก็รวมเป็นกาย เรียกว่า รูปกาย

รูปกาย ก็คือ กองแห่งรูป หรือที่ประชุมแห่งรูปธรรม มีดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น มารวมกันอยู่

ส่วนธรรมกาย ก็คือ กองแห่งธรรม หรือชุมนุมแห่งธรรม หรือประชุมแห่งธรรม หรือที่มารวมกันของธรรมทั้งหลาย

พระพุทธเจ้านั้น ด้วยรูปกาย คือ พระวรกายของพระองค์ปรากฏอยู่ คนทั้งหลายก็ได้เข้าไปเฝ้า ได้เข้าไปพบเห็น ได้ดู ได้ฟัง

ส่วนธรรมกายของพระองค์ ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้ค้นพบธรรมแล้ว พระองค์ก็กลายเป็นที่ประชุมแห่งธรรม หรือที่ชุมนุมของธรรม เป็นที่ที่ธรรมทั้งหลายมากมายมารวมกันอยู่

เมื่อพระองค์แสดงธรรมที่ตรัสรู้นั้นออกไป พระองค์ก็กลายเป็นแหล่ง ที่เปล่ง ที่หลั่งไหล ที่เผยแพร่ออกไป แห่งธรรมทั้งหลาย พระพุทธเจ้าก็จึงเป็นพระธรรมกาย ดังที่พระองค์ตรัสว่า

ดูกรวาเสฏฐะและภารัทวาช เธอทั้งหลาย มีชาติ-ชื่อ-โคตร-ตระกูล ต่างๆกัน ออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริก...เป็นสมณศากยบุตรเสมอกัน ผู้ใดมีศรัทธาที่ปลูกฝังลงแล้วในตถาคต...ก็สามารถกล่าวได้ว่า เราเป็นบุตร เป็นโอรสเกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เกิดจากธรรม อันธรรมนิรมิต เป็นธรรมทายาท ข้อนั้นเพราะอะไร ? ก็เพราะว่า คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี นี้เป็นชื่อของตถาคต
(ที.ปา.11/55)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมขันธ์ กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่ มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์

กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ และอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์


ธรรมคุณ คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ

๑. สฺวากขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง

๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล

๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู

๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา

๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2017, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมกถา การกล่าวธรรม, คำกล่าวธรรม ถ้อยคำที่กล่าวถึงธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม ธรรมีกถา ก็ใช้


ธรรมกถึก ผู้กล่าวสอนธรรม, ผู้แสดงธรรม, นักเทศก์


ธรรมกามะ ผู้ใคร่ธรรม, ผู้ชอบตริตรองสอดส่องธรรม


ธรรมจริยา การประพฤติธรรม, การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูกตามธรรม เป็นชื่อหนึ่งของ กุศลกรรมบถ ๑๐


ธรรมจักร จักรคือธรรม, วงล้อธรรมหรืออาณาจักรธรรม หมายถึงเทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ (ชื่อของปฐมเทศนา เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)


ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะ เมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือ ญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน


ธรรมจารี ผู้ประพฤติธรรม, ผู้ประพฤติเป็นธรรม, ผู้ประพฤติถูกธรรม คู่กับ สมจารี


สมจารี ผู้ประพฤติสม่ำเสมอ, ประพฤติถูกต้องเหมาะสม


ธรรมชาติ ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2017, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมารมณ์ อารมณ์คือธรรม, สิ่งที่ถูกรับรู้ทางใจ, สิ่งที่รู้ด้วยใจ, สิ่งที่ใจรู้สึกนึกคิด

บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ

ธรรมทายาท ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม, ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึง, โดยตรงหมายถึงรับเอาโลกุตรธรรม ๙ ไว้ได้ด้วยการบรรลุเอง โดยอ้อมหมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชา ที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตรธรรมนั้น เทียบอามิสทายาท


ธรรมทำให้งาม ๒ อย่าง คือ ๑. ขันติ ความอดทน ๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยมหรือความมีอัธยาศัยประณีต


ธรรมนิยาม กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ, ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ตามธรรมดาของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาแสดงชี้แจง อธิบายให้คนทั้งหลายได้รู้ตาม มี ๓ ตามพระบาลี ดังนี้

๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงคงทนอยู่มิได้

๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวง มิใช่เป็นตน


ธรรมเนียม ประเพณี, แบบอย่างที่เคยทำกันมา, แบบอย่าง่ที่นิยมใช้กัน


ธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม, การปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรม


ธรรมปฎิรูป ธรรมปลอม, ธรรมที่ไม่แท้, ธรรมเทียม


ธรรมปฏิสันถาร การต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวธรรมให้ฟัง หรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้ เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศคือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง

ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอย่างบริบูรณ์ คือ การต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก้ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือดร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง


ธรรมเป็นโลกบาล ๒ คือ ๑. หิริ ความละอายแก่ใจ ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป


ธรรมมีอุปการะมาก ๒ คือ ๑.สติ ความระลึกได้ ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2017, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ธรรมที่จะช่วยให้ได้ทุลลภธรรมสมหมาย มี ๔ คือ

๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา

๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล

๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยบริจาค

๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา


ทุลลภธรรม สิ่งที่ได้ยาก, ความปรารถนาของคนในโลกที่ได้สมหมายโดยยาก มี ๔ คือ

๑. ขอโภคสมบัติจงเกิดมีแก่เรา โดยทางชอบธรรม

๒. ขอยศจงเกิดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง

๓.ขอเราจงรักษาอายุอยู่ได้ยืนนาน

๔. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2017, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมไพบูลย์ ความไพบูลย์แห่งธรรม, ความพรั่งพร้อมเต็มเปี่ยมแห่งธรรมด้วยการฝึกฝนอบรมให้มีในตนจนบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหมด


ธรรมภาษิต ถ้อยคำที่เป็นธรรม, ถ้อยคำที่แสดงธรรม หรือเกี่ยวกับธรรม


ธรรมวาที “ผู้มีปกติกล่าวธรรม” ผู้พูดเป็นธรรม, ผู้พูดตามธรรม, ผู้พูดตรงตามธรรม, หรือพูดถูกต้องตามหลัก ไม่พูดผิดธรรม ไม่พูดนอกหลักธรรม


ธรรมวิจัย การเฟ้นธรรม


ธัมมวิจยะ ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม


ธรรมวิจารณ์ การใคร่ครวญพิจารณาข้อธรรมต่างๆ ว่าแต่ละข้อมีอรรถคือความหมายอย่างไร ตื้นลึกเพียงไร แล้วแสดงความคิดเห็นออกมาว่าธรรมข้อนั้นข้อนี้มีอรรถคือความหมายอย่างนั้นอย่างนี้


ธรรมวิภาค การจำแนกธรรม, การจัดหัวข้อธรรมจำแนกออกเป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้าอธิบายและทำความเข้าใจ


ธรรมวิเศษ ธรรมชั้นสูง หมายถึงโลกุตรธรรม


ธรรมสมโภค คบหากันในทางเรียนธรรม ได้แก่ สอนธรรมให้หรือขอเรียนธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2017, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสมาทาน การสมาทานยึดถือปฏิบัติธรรม, การทำกรรม จัดได้เป็น ๔ ประเภท คือ การทำกรรมบางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป


ธรรมสวนะ การฟังธรรม, การหาความรู้ความเข้าใจในหลักความจริงคามถูกต้องดีงาม ด้วยการเล่าเรียน อ่านและสดับฟัง, การศึกษาหาความรู้ที่ปราศจากโทษ, ธัมมัสสวนะ ก็เขียน


ธรรมสวามิศร ผู้เป็นใหญ่โดยฐานเป็นเจ้าของธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า


ธรรมสังคีติ การสังคายนา, การร้อยกรองธรรม, การจัดสรรธรรมเป็นหมวดหมู่


ธรรมสังเวช ความสังเวชโดนธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์)


ธรรมสากัจฉา การสนทนาธรรม, การสนทนากันในทางธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2017, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสามัคคี ความพร้อมเพรียงขององค์ธรรม, องค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทุกอย่างทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่างๆ พร้อมเพรียงแลละประสานสอดคล้องกัน ให้สำเร็จผลที่เป็นจุดหมาย เช่น ในการบรรลุมรรคผล เป็นต้น


ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่, ถือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงามและเหตุผลเป็นใหญ่ ทำการด้วยปัญญา โดยเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา มุ่งเพื่อความดีงาม ความจริง ความชอบธรรมเป็นประมาณ


ธรรมาธิษฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนายกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่า ศรัทธา ศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้ เป็นต้น คู่กับบุคคลาธิษฐาน


บุคคลาธิษฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคคลขึ้นตั้ง คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้าง


ธรรมานุธรรมปฏิบัติ การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงการปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก เช่น หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดมุ่งหมาย, ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนธรรม


ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรม, การสำเร็จมรรคผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2017, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมีกถา ถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรม, การพูดหรือสนทนาเกี่ยวกับธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม นิยมใช้คำว่า ธรรมกถา


ธัมมกามตา ความเป็นผู้ใคร่ธรรม, ความพอใจและสนใจในธรรม, ความใฝ่ธรรม รักความจริง ใฝ่ศึกษาหาความรู้ และใฝ่ในความดี


ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม


ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม


ธัมมัสสวนะ การฟังธรรม, การสดับคำแนะนำสั่งสอน


ธัมมัสสวนานิสงส์ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม, ผลดีของการฟังธรรม, ประโยชน์ที่จะได้จากการฟังธรรม มี ๕ อย่างคือ

๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง

๒. สิ่งที่เคยฟังแล้วก็เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งขึ้น

๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้

๔.ทำความเห็นให้ถูกต้องได้

๕. จิตของเขาย่อมผ่องใส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2017, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์
ตามอธิบายในบาลีหมายถึงรู้หลักหรือรู้หลักการ เช่น ภิกษุเป็นธัมมัญญู คือรู้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จัดเป็นนวังคสัตถุศาสน์


ธัมมาธิปเตยยะ ถือธรรมเป็นใหญ่ คือ นึกถึงความจริง ความถูกต้องสมควรก่อนแล้วจึงทำ บัดนี้ นิยมเขียน ธรรมาธิปไตย


ธัมมานุปัสสนา การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, สติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักแต่ว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา


ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลี เป็น ธัมมานุสสติ


ธัมมานุสารี “ผู้แล่นไปตามธรรม” “ผู้แล่นตามไปด้วยธรรม” พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีปัญญินทรีย์แรงกล้า (เมื่อบรรลุผล กลายเป็นทิฏฐิปปัตตะ)


ธัมมายตนะ อายตนะคือธรรม, ธรรมารมณ์, ได้แก่ สภาวธรรมต่อไปนี้ คือ นามขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา สังขาร) และรูปบางอย่างในรูปขันธ์ กับทั้งอสังขตธาตุ คือ นิพพาน ซึ่งเป็นขันธวินิมุต คือเป็นสภาวะพ้นจากขันธ์ ๕


ธัมมุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านด้วยสำคัญผิดในธรรม คือ ความฟุ้งซ่านเนื่องด้วยจากเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแล้ว สำคัญผิดว่าตนบรรลุธรรมคือมรรค ผล นิพพาน จิตก็เลยคลาดเขวออกไป เพราะความฟุ้งซ่านนั้น ไม่เกิดปัญญาที่จะเห็นไตรลักษณ์ได้จริง ธรรมุธัจจ์ ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร