วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 21:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2017, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กท. นี้ ได้แรงบันดาลใจพิมพ์จาก กท. เบื่อ :b32:

viewtopic.php?f=1&t=53331&p=403528#p403528

ซึ่งจขกท. พูดพาดพิงตัณหาไว้ ตัณหาที่บางสำนักในเมืองไทย แปลว่า หาไม่เจอะ คือมันตัน เรียกว่าตัณหา เขาว่างั้น คิกๆๆ ว่ากันไป :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2017, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(จับประเด็นจากพุทธธรรมหน้า 1014 ไว้ก่อน)


ธรรมดาของมนุษย์ปุถุชนย่อมยังมีตัณหา การที่จะให้มนุษย์ปุถุชนเหล่านี้ทำการใดโดยไม่มีตัณหาเข้ามาเกี่ยวข้องชักจูงด้วยเลยนั้น เป็นอันแทบไม่ต้องหวัง ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวว่าคนจะไม่มีตัณหา


ข้อควรคำนึงอยู่ที่ว่า ตัณหาเป็นสิ่งมีโทษ เป็นตัวการก่อทุกข์หรือปัญหาทั้งหลาย ทั้งแก่บุคคลและสังคม จึงต้องหาทางแก้ไข ไม่ให้มีโทษภัยเหล่านั้น วิธีแรก ละหรือไม่ให้เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทำได้โดยการดับอวิชชาด้วยปัญญาแล้ว ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาอย่างเดียว


แต่สำหรับปุถุชน ผู้ดำเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งล่อเร้าเย้ายวนและเรื่องราวกระทบกระทั่งต่างๆ โดยยังมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน พรั่งพร้อมอยู่ภายใน คอยรอขานรับสิ่งล่อเร้า เป็นต้นนั้น อยู่ตลอดเวลา ถึงจะระมัดระวังนึกอยากจะใช้ปัญญาเพียงไร ก็อดไม่ได้ที่จะเผลอ ปล่อยให้ตัณหาได้โอกาสแสดงบทบาทเบาบ้าง แรงบ้าง โจ่งแจ้ง หรือไม่ก็แอบแฝง ไม่ที่จุดหรือขั้นตอนใด ก็แห่งหนึ่ง

หนทางแก้ไขที่พึงเน้นก็คือ การพยายามใช้และปลูกฝังฉันทะ ที่เป็นความต้องการสิ่งดีงามขึ้นมา ให้เป็นตัวชักนำการกระทำให้มากที่สุด


ข้อควรปฏิบัติก็คือ ถ้าเป็นไปได้ ควรให้มีแต่ฉันทะล้วนๆ แต่ถ้าทำไม่ได้ ยังยอมให้ตัณหาออกโรง ก็ควรหันเหให้เป็นตัณหาที่หนุนฉันทะ คือเป็นปัจจัยแก่ฉันทะ

เมื่อสามารถสร้างเสริมฉันทะขึ้นมานำพฤติกรรมได้ ตัณหาก็ถูกควบคุมและขัดเกลาไปเองในตัว

อย่างนี้ จึงจะเป็นวิธีการละและควบคุมตัณหาตามหลักพุทธธรรม ไม่ใช่ไปคุมไปกักกดไปละลดกันทื่อๆ อย่างไม่รู้เรื่องรู้ราวไม่รู้ที่ไปที่มา ปล่อยให้อวิชชาสุมตัวหนุนอยู่หลังตัณหา จะยิ่งก่อผลร้ายมากกว่าผลดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2017, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(รู้จัก เจตนา,ตัณหา,ฉันทะ สั้นๆจากพุทธธรรม หน้า 972 อีกหน่อย)


คนสัตว์ไม่เหมือนใบไม้กิ่งไม้ ที่สะบัดไหวแกว่งไกวไปตามแรงลม เป็นต้นซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก แต่คนสัตว์เคลื่อนไหวทำอะไรได้เองจากปัจจัยภายใน แล้วปัจจัยภายในเหล่านั้น มีอะไรบ้าง

เมื่อด้านร่างกายอวัยวะยังดี พร้อมที่จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแล้ว ในใจ เริ่มด้วยต้องมีความรู้ว่า ข้างหน้าข้างหลัง ข้างบนข้างล่าง ที่ไกลที่ใกล้ ตรงไหนมีหรือไม่มีอะไร ฯลฯ พูดง่ายๆว่า รู้ที่ที่จะไปได้ คือมีความรู้

เมื่อรู้ที่ไปแล้ว ทีนี้ก็ต้องเลือก ตกลง ตัดสินใจว่าจะไปที่ไหน ทางไหน ตลอดจนว่าจะทำอะไร อย่างไร ตัวการในใจที่ทำการตัดสินตกลงใจ หรือตัวเจ้าของอำนาจตัดสินใจนี้ ซึ่งเป็นตัวบงการ หรือสั่งการนั้น เรียกว่า “เจตนา

ถามต่อไปว่า เมื่อรู้ที่ที่จะไป รู้เรื่องที่จะทำแล้ว เจตนาจะเลือกตัดสินใจไปไหน จะทำอันใด ตรงนี้แหละสำคัญ คือ เจตนาก็มีแรงจูงใจให้เลือกตัดสินใจ โดยทำตามแรงจูงใจนั้น

ถ้าพูดให้ง่ายๆอย่างภาษาชาวบ้าน แรงจูงใจนี้ ก็คือความอยาก เมื่ออยากไป อยากได้ อยากทำอะไร เจตนาก็เลือกตัดสินใจเคลื่อนไหวไปนั่น ไปทำอันนั้น

ก็ถามต่อไปว่า ความอยากนี้คืออะไร อย่างง่ายๆ ก็บอกว่า ความอยากก็มาจากความชอบใจ และไม่ชอบใจ ตัวชอบอะไร อะไรถูกลิ้น ถูกหู ถูกตา ถูกใจ ก็อยากได้ อยากเอา อยากกิน อยากเสพ ฯลฯ ถ้าอะไรไม่ถูกลิ้น ไม่ถูกหู ไม่ถูกตา ไม่ถูกใจ ตัวไม่ชอบ ก็อยากหนีไปเสีย อยากทิ้ง อยากทำลาย ฯลฯ แล้วเจตนาก็ตัดสินใจทำไปตามนั้น ความอยากที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจแล้วจะเอาหรือไม่เอานี้ เรียกว่า “ตัณหา

เป็นอันว่า ในการเคลื่อนไหวทำอะไรๆนี้ มีปัญญาช่วยบอกช่วยส่องสว่างให้ความรู้ว่ามีอะไรอยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร แล้วตัณหาอยากจะเอา ไม่เอาอะไร เจตนาก็สั่งให้ชีวิตร่างกายเคลื่อนไหวทำอะไรๆ ไปตามนั้น

แต่ตรงนี้ หยุดคิด มาคิดดูหน่อย การที่ชีวิตจะเคลื่อนไหวทำ หรือไม่ทำอะไรนี้ ที่จริงนั้น ชีวิตมีความประสงค์ มีความต้องการ พูดง่ายๆว่า มีความอยากที่ลึกลงไปอีก คือ อยากเป็นอยู่ อยากรอด อยากปลอดภัย อยากแข็งแรงสมบูรณ์ อยากมีความสุข อยากเป็นอยู่ให้ดีที่สุด พูดรวมๆว่า อยากมีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์

ขอให้ทุกคนมองลึกเข้าไปข้างในจิตใจ จะเห็นว่าเรามีความต้องการอันนี้อยู่ ความอยากความต้องการอันนี้ คือ แรงจูงใจที่เรียกว่า “ฉันทะ


เป็นอันว่า คราวนี้ ขบวนงานของชีวิตที่เคลื่อนไหวทำอะไรๆ ก็เปลี่ยนใหม่ เรียกว่าพัฒนาขึ้นมาสู่ขั้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีปัญญาช่วยบอกช่วยส่องสว่างให้ความรู้ว่าอะไรไม่ดีมีโทษ อะไรดีมีคุณค่าเป็นประโยชน์ และจะทำให้ดีงามสมบูรณ์ได้อย่างไร แล้วฉันทะก็ต้องการให้ดีงามสมบูรณ์และอยากทำให้ดีงามสมบูรณ์อย่างนั้น ตามด้วยเจตนาก็สั่งให้ชีวิตร่างกายเคลื่อนไหวทำอะไรๆไปตามนั้น

เมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้นๆ ชีวิตก็ปลดลดขบวนงานของ อวิชชา > ตัณหา > เจตนา (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อวิชชา > ตัณหา> อกุศลกรรม) ให้เข้ามาปฏิบัติการได้น้อยลงไปๆ

พร้อมกันนั้น ก็เปิดให้ขบวนงานที่ก้าวหน้าของ ปัญญา>ฉันทะ > เจตนา (หรือเรียกให้ชัดขึ้นอีกว่า ปัญญา>ฉันทะ>กุศลกรรม) เข้ามาดำเนินการมากขึ้นๆ จนกลายเป็นวิถีชีวิตของอริยชนในที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(แทรกข้อคิดนิดก่อน)

ผู้รักธรรมจะต้องรู้แน่ชัดด้วยว่าอะไรเป็นธรรม มิฉะนั้น อาจทำการผิดพลาดได้ ความรักธรรมและความรู้ธรรมต้องมาด้วยกัน จึงจะทำความจริงความถูกต้องดีงามที่ประสงค์ให้สำเร็จได้ (ข้อนี้ช่วยเน้นหลักการใหญ่ของพุทธธรรม ที่ถือปัญญาเป็นองค์ธรรมหลัก ในมรรคาแห่งการพัฒนาชีวิต)


รูปภาพ


ไม่ใช่ไปคุมไปกักกดไปละลดกันทื่อๆ อย่างไม่รู้เรื่องรู้ราวไม่รู้ที่ไปที่มา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พุทธธรรม หน้า 971)

ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ

มีคำถาม และคำกล่าวเชิงค่อนว่าพระพุทธศาสนา ที่ได้พบบ่อยครั้ง ซึ่งน่าสนใจ คือคำพูดทำนองว่า

-พระพุทธศาสนาสอนให้ละตัณหา ไม่ให้มีความอยาก เมื่อคนไม่อยากได้ ไม่อยากร่ำรวย จะพัฒนาประเทศชาติได้อย่างไร ? คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดขวางต่อการพัฒนา

-นิพพานเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมก็เพื่อบรรลุนิพพาน แต่ผู้ปฏิบัติธรรมจะอยากในนิพพานไม่ได้ เพราะถ้าอยากได้ ก็กลายเป็นตัณหา กลายเป็นปฏิบัติผิด เมื่อไม่อยากได้แล้วจะปฏิบัติได้อย่างไร คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งกันเอง และเป็นการให้ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้


คำถามและคำค่อนว่า 2 ข้อนี้ ฟังดูเหมือนว่าจะกระทบหลักการของพระพุทธศาสนาตลอดสาย ตั้งแต่การ
ดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน จนถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน หรือตั้งแต่ระดับโลกีย์
จนถึงโลกุตระ
แต่ที่จริง ความสงสัยหรือการค่อนว่านั้น มิได้กระทบอะไรต่อพระพุทธศาสนา แต่กลับสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ที่สงสัยหรือค่อนว่าก็ตาม ไม่เข้าใจทั้งธรรมชาติของมนุษย์ และมองพระพุทธศาสนาไม่ออก

ความเข้าใจพร่ามัวสับสนที่เป็นเหตุให้เกิดคำถามและคำค่อนว่าเช่นนี้ มีอยู่มาก แม้แต่ในหมู่ชาวพุทธเอง และเป็นปัญหาเกี่ยวกับถ้อยคำ หรือเป็นเรื่องของภาษาด้วย

จุดสำคัญ คือ คนทั่วไปได้ยินว่า พระพุทธศาสนาสอนให้ละตัณหา และตัณหานั้นแปลว่า ความอยาก แล้วจะด้วยเหตุใดก็ตาม ต่อมาคนทั่วๆไปนั้น ก็ไม่รู้จักแยกแยะ รู้เข้าใจเพียงแต่ว่า ตัณหา คือ ความอยาก และความอยาก ก็คือตัณหา และเข้าใจต่อไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้ละความอยาก หรือ สอนไม่ให้มีความอยากใดๆเลย

นอกจากนั้น บางทีรู้จักข้อธรรมอื่น ที่มีความหมายทำนองเดียวกันนี้ แต่รังเกียจที่จะแปลว่า ความอยาก จึงเลี่ยงแปลเป็นอื่นเสีย เมื่อถึงคราวจะพูดเรื่องเกี่ยวกับความอยาก จึงลืมนึกถึงคำนั้น

ถ้าจะศึกษาธรรม ถ้าจะเข้าใจพระพุทธศาสนา จะต้องแก้ไขความเข้าใจผิดนี้ เบื้องแรก พูดไว้สั้นๆก่อนว่า ตัณหาเป็นความอยาก (ชนิดหนึ่ง) แต่ความอยากไม่ใช่คือตัณหา ความอยากเป็นตัณหาก็มี ไม่เป็นตัณหาก็มี ความอยากที่ดี ซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติธรรม และต้องใช้ในการพัฒนามนุษย์ ก็มี

ความอยากนี้เป็นเรื่องใหญ่ จะต้องเข้าใจกันให้ชัดเต็มที่ ถ้ามิฉะนั้นจะไม่มีทางเข้าถึงพระพุทธศาสนา

เรื่องนี้เป็นอย่างไร พูดนำไว้แค่นี้ เดี๋ยวอธิบายเรื่องโน้นเรื่องนี้ไป ก็จะค่อยๆเข้าใจได้เอง

ก่อนจะพูดลึกลงไปในรายละเอียด มาศึกษากลไกของชีวิตในการกระทำต่างๆ สักเล็กน้อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 15:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


grin
ฟุ้งซ่านและทำให้เรื่องมากไปใหญ่เลยกรัชกายเพราะเข้าใจผิดและเอาโลกย์เป็นหลัก

ถ้ามีสติปัญญาดีจริงๆและมีภาคปฏิบัติรองรับเพียงพอ ก็จะได้รู้ด้วยตนเองว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าตัณหาเป็นสมุทัยและสอนให้ละหรือถอนตัณหานั้นมันมีความจริงที่ต้องลงมือภาวนาจริงๆเอาถึงจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่า

ตัณหานั้นมีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นอยู่กับ สักกายทิฏฐิ หรืออัตตา การหมายถอนตัณหานั้นมันเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การถอนทำลายสักกายทิฏฐิอันเป็นสังโยชน์ตัวสำคัญตัวที่ 1 ไปโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรม

ไม่ใช่ฟุ้งมั่วสังขารปรุงแต่งไปในโลกย์อย่างที่กรัชกายคิดเห็นและเข้าใจเลยนะครับ
โปรดทำความเห็นให้ถูกต้องเสียใหม่ให้ตรงตามธรรม
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

ฟุ้งซ่านและทำให้เรื่องมากไปใหญ่เลยกรัชกายเพราะเข้าใจผิดและเอาโลกย์เป็นหลัก

ถ้ามีสติปัญญาดีจริงๆและมีภาคปฏิบัติรองรับเพียงพอ ก็จะได้รู้ด้วยตนเองว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าตัณหาเป็นสมุทัยและสอนให้ละหรือถอนตัณหานั้นมันมีความจริงที่ต้องลงมือภาวนาจริงๆเอาถึงจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่า

ตัณหานั้นมีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นอยู่กับ สักกายทิฏฐิ หรืออัตตา การหมายถอนตัณหานั้นมันเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การถอนทำลายสักกายทิฏฐิอันเป็นสังโยชน์ตัวสำคัญตัวที่ 1 ไปโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรม

ไม่ใช่ฟุ้งมั่วสังขารปรุงแต่งไปในโลกย์อย่างที่กรัชกายคิดเห็นและเข้าใจเลยนะครับ
โปรดทำความเห็นให้ถูกต้องเสียใหม่ให้ตรงตามธรรม


อ้างคำพูด:
ให้ตรงตามธรรม


ยังไม่เห็นสาระอะไรทั้งภาคปริยัติ ทั้งปฏิบัติ

ได้แต่พูดเหวี่ยงซ้าย เหวี่ยงขวา โยงศัพท์นั่นบ้างนี่บ้าง สติปัญญา ฯลฯ อะไรก็ว่าไป แล้วก็ลงสรุปท้าย ตามธรรม ตามธรรม โดยธรรม (แถวๆนี้แหละ) ซึ่งตนกลัวเหลือเกินว่าพูดๆแล้วจะไม่เป็นธรรม ก็เลยโหนธรรม เป็นธรรม ตามธรรม โดยธรรม คิกๆๆ :b32: ธรรมๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ :b1:

อ้างคำพูด:
ผู้รักธรรมจะต้องรู้แน่ชัดด้วยว่าอะไรเป็นธรรม มิฉะนั้น อาจทำการผิดพลาดได้ ความรักธรรมและความรู้ธรรมต้องมาด้วยกัน จึงจะทำความจริงความถูกต้องดีงามที่ประสงค์ให้สำเร็จได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ท่านอโศกปวดหัวเล่น :b13:

ต่อจาก คคห.ข้างบน :b32:


กลไกชีวิตในการกระทำ

มีข้อสงสัยว่า คนทั้งหลายที่ทำอะไรต่างๆนี้ ก็ทำด้วยความอยากทั้งนั้น คือมีความอยากจะทำจึงทำ และอยากทำอะไร ก็ทำอันนั้น ถ้าหมดตัณหา ไม่มีความอยากเสียแล้ว ไม่มีตัณหาเป็นแรงชักจูงให้ทำโน่นทำนี่แล้ว ก็ไม่ต้องเคลื่อนไหวอะไรเลย แล้วจะอยู่ได้อย่างไร มิกลายเป็นคนนิ่งเฉย ไม่กระตือรือร้น ไม่มีชีวิตชีวาไปหรือ คงเป็นอย่างที่เรียกว่า หมดอาลัยตายอยาก


ข้อสงสัยนี้ ที่จริงไม่ต้องตอบ เดี๋ยวก็เข้าใจเอง ตอนแรก ขอให้มองง่ายๆว่า ที่ว่าทำอะไรๆทุกอย่างนั้น ก็รวมอยู่ในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะทำอะไร ก็เคลื่อนไหวทั้งนั้น (แม้แต่ “ทำการไม่เคลื่อนไหวก็ต้องมีการเคลื่อนไหวในใจ)

เป็นธรรมดาของธรรมชาติ การเคลื่อนไหวเป็นลักษณะที่สำคัญของชีวิต เมื่อเป็นชีวิต และยังมีชีวิต ก็มีการเคลื่อนไหว

ถามว่า ที่คนสัตว์ทั้งหลายเคลื่อนไหวทำอะไรๆนั้น เคลื่อนไหวทำไปได้อย่างไร หรือว่าชีวิตมีกลไกการทำงานอย่างไร ในการเคลื่อนไหวทำการต่างๆ

อย่างที่เคยพูดแล้ว คนสัตว์ไม่เหมือนใบไม้กิ่งไม้ ที่สะบัดไหวแกว่งไกวไปตามแรงลม เป็นต้นซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก แต่คนสัตว์เคลื่อนไหวทำอะไรได้เองจากปัจจัยภายใน แล้วปัจจัยภายในเหล่านั้น มีอะไรบ้าง

เมื่อด้านร่างกายอวัยวะยังดี พร้อมที่จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแล้ว ในใจ เริ่มด้วยต้องมีความรู้ว่า ข้างหน้าข้างหลัง ข้างบนข้างล่าง ที่ไกลที่ใกล้ ตรงไหนมีหรือไม่มีอะไร ฯลฯ พูดง่ายๆว่า รู้ที่ที่จะไปได้ คือมีความรู้

เมื่อรู้ที่ไปแล้ว ทีนี้ก็ต้องเลือก ตกลง ตัดสินใจว่าจะไปที่ไหน ทางไหน ตลอดจนว่าจะทำอะไร อย่างไร ตัวการในใจที่ทำการตัดสินตกลงใจ หรือตัวเจ้าของอำนาจตัดสินใจนี้ ซึ่งเป็นตัวบงการ หรือสั่งการนั้น เรียกว่า “เจตนา

ถามต่อไปว่า เมื่อรู้ที่ที่จะไป รู้เรื่องที่จะทำแล้ว เจตนาจะเลือกตัดสินใจไปไหน จะทำอันใด ตรงนี้แหละสำคัญ คือ เจตนาก็มีแรงจูงใจให้เลือกตัดสินใจ โดยทำตามแรงจูงใจนั้น

ถ้าพูดให้ง่ายๆอย่างภาษาชาวบ้าน แรงจูงใจนี้ ก็คือความอยาก เมื่ออยากไป อยากได้ อยากทำอะไร เจตนาก็เลือกตัดสินใจเคลื่อนไหวไปนั่น ไปทำอันนั้น

ก็ถามต่อไปว่า ความอยากนี้คืออะไร อย่างง่ายๆ ก็บอกว่า ความอยาก ก็มาจากความชอบใจ และไม่ชอบใจ ตัวชอบอะไร อะไรถูกลิ้น ถูกหู ถูกตา ถูกใจ ก็อยากได้ อยากเอา อยากกิน อยากเสพ ฯลฯ ถ้าอะไรไม่ถูกลิ้น ไม่ถูกหู ไม่ถูกตา ไม่ถูกใจ ตัวไม่ชอบ ก็อยากหนีไปเสีย อยากทิ้ง อยากทำลาย ฯลฯ แล้วเจตนาก็ตัดสินใจทำไปตามนั้น ความอยากที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจแล้วจะเอา หรือไม่เอานี้ เรียกว่า “ตัณหา

เป็นอันว่า ในการเคลื่อนไหวทำอะไรๆนี้ มีปัญญาช่วยบอกช่วยส่องสว่างให้ความรู้ ว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร แล้วตัณหาอยากจะเอา ไม่เอาอะไร เจตนาก็สั่งให้ชีวิตร่างกายเคลื่อนไหวทำอะไรๆ ไปตามนั้น

แต่ตรงนี้ หยุดคิด มาคิดดูหน่อย การที่ชีวิตจะเคลื่อนไหวทำ หรือไม่ทำอะไรนี้ ที่จริงนั้น ชีวิตมีความประสงค์ มีความต้องการ พูดง่ายๆว่า มีความอยากที่ลึกลงไปอีก คือ อยากเป็นอยู่ อยากรอด อยากปลอดภัย อยากแข็งแรงสมบูรณ์ อยากมีความสุข อยากเป็นอยู่ให้ดีที่สุด พูดรวมๆว่า อยากมีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์

ทีนี้ ก็ถามว่า ที่ปัญญารู้ว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน ตรงไหน เป็นของกินได้หรือไม่ได้ อร่อยไหม ฯลฯ แล้วตัณหาชอบใจ อยากกิน อย่างไหนที่อร่อยถูกลิ้น ไม่ชอบไม่อยากกินที่เห็นว่าไม่อร่อย แล้วเจตนาก็ให้กินและไม่ให้กินไปตามเสียงชักจูงกระซิบบอกของตัณหานั้น ถามว่า อย่างนี้ แค่นี้ พอไหม ที่จะให้มีชีวิตดีงามสุขสมบูรณ์


ตอนนี้ ปัญญาเองนั่นแหละก็จะบอกว่า รู้แค่นั้นไม่พอหรอก จะไปพออะไรกัน มองเห็น รู้ว่าอันนั้นอร่อย แถมแต่สีเสียสวย น่ากิน ตัณหาบอกว่าอยากกิน ลองกินเข้าไปสิ ก็เหมือนใส่ยาพิษให้ทีละน้อย นานไปในระยะยาว จะแย่แน่ๆ ถึงอันโน้นก็เถอะ ไม่ถึงกับมียาพิษเทียมพิษ ตัณหาว่าอร่อย อยากนัก ลองกินเปิบเข้าไปๆ ตามใจตัณหาสิ ไม่ช้าหรอก จะเป็นโรคอ้วน ฯลฯ รู้แค่นั้นไม่พอเลย ความรู้แค่นั้นใช้ไม่ได้ แค่รู้สึกเท่านั้นเอง ก็เอาชื่อฉันไปใช้ แต่ที่จริงไม่ใช่ ยังไม่ใช่ปัญญา เป็นความรู้โง่ๆ เป็นอัญญาณ์เท่านั้น ไม่ใช่ปัญญา ก็อวิชชานั่นแหละ รู้ไม่พอ แล้วก็ไว้ใจไม่ได้

ปัญญาเก๊บอกว่า ที่โน่นแหล่งเที่ยวสนุก มีการเล่น มีของกินของเสพมั่วได้เต็มที่ มีวิธีไปให้สะดวกอย่างนี้ๆ เจ้าตัณหาได้แง่จากความรู้ จับเอาที่ถูกใจชอบใจ อยากไปเที่ยวเล่นกินเสพสนุกสนาน บอกว่าอย่าไปเลยโรงเรียน ฟังวิชาทำกิจกรรมทักษะเหนื่อยยาก ไม่สนุกสนาน บอกเจตนาสั่งการให้หนีเรียนไปเที่ยวสถานอบายมุขแทน


เมื่อปัญญาพัฒนาขึ้นไป เป็นปัญญาจริง นอกจากรู้ว่าที่ไหนมีอะไร อันนั้นอันนี่เป็นอะไรแล้ว ก็รู้ด้วยว่า ที่ชีวิตต้องการจะเป็นชีวิตดีงามมีความสามารถสมบูรณ์ดีมีความสุขจริงนั้น อะไรจะทำให้ชีวิตเป็นอย่างนั้นได้ อะไรมีคุณมีโทษอย่างไร มองเห็นเหตุปัจจัยในกาลทั้งใกล้ทั้งไกล ว่าทำอันนี้ไป ในระยะสั้นได้ผลอันนี้แล้ว ต่อไปในระยะยาวจะมีผลอันนั้นตามมาอีก รู้เข้าใจเหตุผลว่าทำไมจึงควรทำอันนี้อย่างนี้ ทำไมจึงไม่ควรทำอันอย่างนั้น รู้ว่าถ้าไปเที่ยวมั่วที่สถานอบายมุข จะสนุกสนานเฉพาะหน้า แต่ในเวลายาวไกล ทั้งร่างกายของตัว และพ่อแม่ครอบครัว ตลอดไปจนถึงสติปัญญา จะย่ำแย่ทั้งหมด


ส่วนในทางตรงข้าม ถ้ายอมงดสนุก ไปเรียนวิชาทำกิจกรรมทักษะ ถึงเดี๋ยวนี้จะขี้เกียจไม่ได้ ต้องขยันและเหนื่อยบ้าง แต่นานไปเราจะได้พัฒนาทุกด้าน และทุกอย่างก็จะดีขึ้นสำหรับชีวิต


เจ้าตัณหานี่แหละ เป็นตัวการ อยากนั่นอยากนี่ จะเอาอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่เจ้าปัญญาเก๊ไม่รู้จริงว่า อันนั้นอันนี้ อันไหนดีจริงหรือไม่ มีคุณมีโทษ ในระยะสั้นระยะยาวอย่างไร รู้นิดรู้หน่อย รู้ผิดๆ ยังไม่ทันรู้จริง ไม่รู้ชัด เจ้าตัณหาได้แง่ที่ชอบใจ เอาแค่อยาก ก็บอกหัวหน้าเจ้าเจตนาให้สั่งการไป ขืนอยู่อย่างนี้ ในที่สุด ชีวิตจะแย่ เอาดีไม่ได้


เป็นอันว่า เมื่อปัญญาแท้ตัวจริงมา รู้ว่าจะตามใจตัณหา เอาตามที่ตัวชอบตัวอยากว่าจะได้เสพได้สนุกเท่านั้นไม่ได้ จะก่อปัญหาพาทุกข์โทษภัยมาให้ ขบวนการอวิชชา ตัณหา เจตนา ก็สะดุด หยุดชะงักหรือผ่อนซาไป


ดังที่ว่าแล้ว ปัญญารู้จริงว่าอะไรดีหรือไม่ดี อะไรเป็นคุณเป็นประโยชน์ อะไรมีโทษ รู้เหตุผล รู้จักพิจารณา แยกแยะสืบสาว มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย
เช่น
รู้ว่าชีวิตจะดีมีความสุข ต้องมีสุขภาพดี แล้วปัญญา ก็บอกช่องทางหาข่าวสารข้อมูล พร้อมทั้งมองเหตุผลและความสัมพันธ์อิงอาศัยกันของสิ่งทั้งหลาย แล้วปัญหาก็บอกได้ว่า จะให้ชีวิตมีสุขภาพดี ควรกินอันนั้นๆ ควรอยู่อย่างนั้นๆ ควรจัดสภาพแวดล้อมเช่นนั้นๆ ควรทำกิจวัตรวิธีนั้นๆ ควรบริหารร่างกาย บริหารจิตใจ รู้จักใช้เวลาอย่างไรๆ ฯลฯ


แต่สิ่งที่ปัญหาบอกทั้งหมดนี้ ไม่มีอะไรที่ตัณหาชอบใจอยากได้อยากเอาเลย ตัณหาเอาแต่สิ่งที่ชอบใจ อยากให้ตัวได้ ให้ตัวเสพ ให้ตัวอร่อย ให้ตัวโก้ ให้ตัวโอ่ ให้ตัวพอง ให้ตัวยิ่งใหญ่ และอะไรที่ไม่ชอบ ก็ขัดตาขัดใจ อยากจะให้ตัวพ้นไป อยากจะทำลาย หรือกำจัดเสีย


เป็นอันว่า สิ่งที่ปัญญารู้และบอกให้ว่าเป็นสิ่งที่ดีจริงแก่ชีวิตนี้ ตัณหาไม่เอาด้วย อาศัยตัณหาไม่ได้ ก็เลยไม่มีแรงจูงใจที่จะไปกระซิบชวนให้เจตนาสั่งการให้ทำอะไรมากมายที่ปัญญาบอกให้ ขบวนงานของชีวิตก็ตัดขัด ทำท่าจะไม่เดิน

ตรงนี้แหละ ที่มีแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง หรืออีกตัวหนึ่งเข้ามา คือ ที่จริงนั้น คนเรามีความอยากหรือความต้องการอีกอย่างหนึ่งประจำอยู่ในใจ แต่ในชีวิตประวันนั้น อะไรๆที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น และสัมผัสกาย ซึ่งเป็นส่วนเปลือกผิวของชีวิต ก็จะเป็นของเด่นของไว

พอเห็น ได้ยิน หรือเจอะอะไร ความรู้สึกที่สบาย ไม่สบาย ถูกหู ถูกตา หรือไม่ ก็นำหน้าออกมา แล้วก็ตามด้วยชอบหรือชัง นี่คือเข้าทางของตัณหา
และ
ตัณหาก็อยากได้อยากเอาสิ่งที่ตัวชอบ อยากหนีอยากทำลายสิ่งที่ตัวเกลียด ชัง ไม่ชอบ แล้วเจตนาก็สั่งการให้ชีวิตทำการไปตามนั้น

ถ้าชีวิตเป็นของตื้นๆ ไม่มีอะไรลึกซึ้งซับซ้อน เราก็พออาศัยตัณหาพาชีวิตวนเวียนเรื่อยเปื่อยไปได้อย่างนี้ เหมือนอย่างแมวอย่างหนูหรือปูกุ้งกาไก่ จนกว่าจะหมดเวลาถึงคราชีวิตต้องจากไป


แต่อย่างที่ว่าแล้ว ในชีวิตของคนที่ว่าเป็นสัตว์ประเสริฐนั้น เรามิใช่มีตัณหาเท่านั้นเป็นแรงจูงใจ แต่เรามีความอยากหรือความต้องการอีกอย่างหนึ่งที่ประณีตลึกลงไป นั่นคือความใฝ่ดี ได้แก่ ความต้องการให้ชีวิตดีงามดำเนินไปอย่างถูกต้อง มีความสุขที่แท้จริงยั่งยืน ให้ชีวิตมีคุณสมบัติทุกอย่างถูกถ้วนสมบูรณ์อย่างที่มันควรจะมีจะเป็นไปได้ และไม่เฉพาะชีวิตของตนเท่านั้น ไม่ว่าจะไปพบพาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอะไรๆก็อยากให้สิ่งนั้นๆ ดีงาม สมบูรณ์เต็มตามสภาวะที่ควรจะเป็นของมัน แล้วก็ไม่ใช่แค่อยากให้มันดีงามสมบูรณ์เท่านั้น แต่อยากทำให้มันดีงามสมบูรณ์เต็มสภาวะของมันด้วย


ขอให้ทุกคนมองลึกเข้าไปข้างในจิตใจ จะเห็นว่าเรามีความต้องการอันนี้อยู่ ความอยาก ความต้องการอันนี้ คือ แรงจูงใจที่เรียกว่า “ฉันทะ


เป็นอันว่า คราวนี้ ขบวนงานของชีวิตที่เคลื่อนไหวทำอะไรๆ ก็เปลี่ยนใหม่ เรียกว่าพัฒนาขึ้นมาสู่ขั้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีปัญญาช่วยบอกช่วยส่องสว่างให้ความรู้ว่าอะไรไม่ดีมีโทษ อะไรดีมีคุณค่าเป็นประโยชน์ และจะทำให้ดีงามสมบูรณ์ได้อย่างไร แล้วฉันทะก็ต้องการให้ดีงามสมบูรณ์และอยากทำให้ดีงามสมบูรณ์อย่างนั้น ตามด้วยเจตนาก็สั่งให้ชีวิตร่างกายเคลื่อนไหวทำอะไรๆไปตามนั้น


เมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้นๆ ชีวิตก็ปลดลดขบวนงานของ อวิชชา > ตัณหา > เจตนา (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอวิชชา > ตัณหา> อกุศลกรรม) ให้เข้ามาปฏิบัติการได้น้อยลงไปๆ

พร้อมกันนั้น ก็เปิดให้ขบวนงานที่ก้าวหน้าของ ปัญญา>ฉันทะ > เจตนา (หรือเรียกให้ชัดขึ้นอีกว่าปัญญา>ฉันทะ>กุศลกรรม) เข้ามาดำเนินการมากขึ้นๆ จนกลายเป็นวิถีชีวิตของอริยชนในที่สุด



เมื่อปัญญาแท้มา ปัญญาเทียมคืออวิชชาก็หลบไป พอปัญญาแท้บอกอย่างที่ยกตัวอย่างเมื่อกี้ว่า ชีวิตต้องการสุขภาพที่ดี โดยมีวิธีทำวิธีปฏิบัติอย่างนี้ๆ สิ่งที่ปัญญาแท้บอกนั้นไม่ถูกใจอย่างที่ตัณหาชอบ อย่างที่ตัณหาอยากเอาอยากเสพเลย เป็นอันว่า ตัณหาชอบใจเมื่อได้อวิชชาคอยพะเน้าพะนอ

แต่พอปัญญาแท้มา ตัณหาไม่เอาด้วยและอยู่ไม่ได้ ตอนนี้แหละ ฉันทะจะได้โอกาส

พอปัญญาบอกให้ว่า ชีวิตจะดีงามสมบูรณ์มีสุขภาพได้ สิ่งนี้มีคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อชีวิตอย่างนี้ๆ ควรปฏิบัติจัดทำอะไรต่างๆอย่างนี้ๆ ฉันทะที่อยากให้ดีงามสมบูรณ์ และอยากทำให้ดีงามสมบูรณ์ ก็เข้ามารับเรื่องจากปัญญา แล้วก็แจ้งจูงเจตนาให้สั่งการบัญชาออกมาเป็นการกระทำทั้งหลายที่จะให้สำเร็จผลตามนั้น

เท่าที่พูดมา คงพอให้ได้ความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องแรงจูงใจ คือความอยาก ความปรารถนา หรือความต้องการ ที่มี ๒ อย่าง คือ ตัณหา กับ ฉันทะ และคงชัดเจนแล้วว่าแตกต่างกันอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนผ่านไป มีข้อที่ขอให้สังเกต อันจะช่วยให้ยิ่งเห็นความหมายของความต้องการ ๒ อย่างนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
กล่าวคือ
ในสายขบวนของอวิชชา - ตัณหา นั้น พอเริ่มต้นโดยมีความรู้สึกชอบใจ หรือไม่ชอบใจขึ้นมา อยากได้ อยากเอา อยากเสพ ก็จะเกิดมีตัวตนขึ้นมารับสมอ้างเป็นผู้ได้ เป็นผู้เอา เป็นผู้เสพขึ้นมาทันที แล้วแน่นอน ก็ย่อมมีเป็นคู่กันขึ้นมาว่า เป็นตัวเรา ตัวกู ผู้ได้ ผู้เอา ผู้เสพ ก็สิ่งที่จะเอา จะได้ จะได้ จะเสพ .....

(ต่อจากนั้น ยังจะมีตัวเขา ตัวมึง ตัวมัน ที่จะมาคุกคามมาขัดมาขวาง มาแย่ง มาชิง ฯลฯ ต่อไปอีก)

แล้วลึกลงไป ก็จะอยากให้ตัวเรา ตัวกู ที่จะได้ จะเอา จะเสพนั้น มั่นคงถาวรยั่งยืน จะได้เสพเรื่อยไปตลอดไป แล้วก็ให้ตัวเรา ตัวกูนั้นยิ่งใหญ่ จะได้แน่ใจที่จะเสพจะได้ให้มากที่สุด โดยไม่มีตัวอื่นมาขัดขวางได้ ฯลฯ .....

(รวมทั้งถ้าเจอะสิ่งที่ไม่อยาก ไม่ปรารถนา ไม่ต้องการ ก็จะต้องพ้นไปให้ได้ จะต้องกำจัด ทำลาย หรือถ้าไม่ไหว ก็ตีกลับมา บางที ถึงกับอยากให้ตัวเรา ตัวกูนี้มลาย ตาย หาย สูญ จากมันไป)


แต่ในขบวนของปัญญา – ฉันทะนั้น ตรงกันข้าม เมื่ออยากให้สิ่งนั้นๆดีงามสมบูรณ์ ก็เป็นความอยากเพื่อความดีงาม ความสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ ตามสภาวะของมัน โดยไม่ต้องมีตัวตนที่ไหน ไม่ว่าตัวเรา ตัวเขา หรือตัวใคร ที่จะต้องมาเป็นผู้อยาก ผู้อะไรๆ คือ เป็นธรรมชาติอยู่ตามสภาวะอย่างนั้นเอง


ทีนี้ ก็สรุปไว้ให้สั้นอีกครั้งหนึ่ง ว่าความอยาก ความปรารถนา ความต้องการ ที่เป็นแรงจูงใจให้คนทำการหรือทำกรรมต่างๆนั้น มี ๒ อย่าง ได้แก่

๑. ตัณหา คือ ความอยากเสพ อยากได้ อยากเอาเข้ามาให้แก่ตัว เอามาบำเรอตัว อยากให้ตัวเป็นหรือไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นความต้องการเพื่อตัวตน

๒. ฉันทะ คือความชื่นชมยินดีในความดีงามสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ อยากให้สิ่งนั้นๆ อยู่ในภาวะที่ดีงามสมบูรณ์และอยากทำให้มันดีงามสมบูรณ์เต็มตามสภาวะของมัน เป็นความต้องการเพื่อความดีงามสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ เอง


ขอย้ำที่ว่า ต้องการเพื่อความดีงามสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ ก็รวมทั้งความต้องการเพื่อความดีงามสมบูรณ์ของชีวิตของเรานี้ด้วย
เช่น
อยากให้แขน ขา ของเรานี้ดีงามสมบูรณ์ แต่เป็นความอยากให้แขน ขานั้น ดีงามสมบูรณ์ ในฐานะ และตามสภาวะที่มันเป็นแขน ขา ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของชีวิตนี้ที่ควรจะให้ดีงามมีสุขภาวะสมบูรณ์ตามสภาวะของมันนั้น

(ลองพิจารณาดูว่า ความอยากที่มีต่อแขน ขา ตรงตามสถานะและสภาวะนี้ จะดีกว่าอยากให้แขน ขาของตัวตนของเราสวยดีน่าชอบใจ หรือไม่ ? - นี่ก็ฉันทะ กับ ตัณหา ที่ท้าทายปัญญาผู้แยกแยะ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
grin
ฟุ้งซ่านและทำให้เรื่องมากไปใหญ่เลยกรัชกายเพราะเข้าใจผิดและเอาโลกย์เป็นหลัก

ถ้ามีสติปัญญาดีจริงๆและมีภาคปฏิบัติรองรับเพียงพอ ก็จะได้รู้ด้วยตนเองว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าตัณหาเป็นสมุทัยและสอนให้ละหรือถอนตัณหานั้นมันมีความจริงที่ต้องลงมือภาวนาจริงๆเอาถึงจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่า

ตัณหานั้นมีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นอยู่กับ สักกายทิฏฐิ หรืออัตตา การหมายถอนตัณหานั้นมันเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การถอนทำลายสักกายทิฏฐิอันเป็นสังโยชน์ตัวสำคัญตัวที่ 1 ไปโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรม

ไม่ใช่ฟุ้งมั่วสังขารปรุงแต่งไปในโลกย์อย่างที่กรัชกายคิดเห็นและเข้าใจเลยนะครับ
โปรดทำความเห็นให้ถูกต้องเสียใหม่ให้ตรงตามธรรม


อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ฟุ้งมั่วสังขารปรุงแต่งไปในโลกย์


"สังขาร" เห็นพูดหลายหนแระ สังขารที่ว่า ได้แก่ อะไรขอรับ เอาชัดๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 18:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
grin
ฟุ้งซ่านและทำให้เรื่องมากไปใหญ่เลยกรัชกายเพราะเข้าใจผิดและเอาโลกย์เป็นหลัก

ถ้ามีสติปัญญาดีจริงๆและมีภาคปฏิบัติรองรับเพียงพอ ก็จะได้รู้ด้วยตนเองว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าตัณหาเป็นสมุทัยและสอนให้ละหรือถอนตัณหานั้นมันมีความจริงที่ต้องลงมือภาวนาจริงๆเอาถึงจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่า

ตัณหานั้นมีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นอยู่กับ สักกายทิฏฐิ หรืออัตตา การหมายถอนตัณหานั้นมันเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การถอนทำลายสักกายทิฏฐิอันเป็นสังโยชน์ตัวสำคัญตัวที่ 1 ไปโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรม

ไม่ใช่ฟุ้งมั่วสังขารปรุงแต่งไปในโลกย์อย่างที่กรัชกายคิดเห็นและเข้าใจเลยนะครับ
โปรดทำความเห็นให้ถูกต้องเสียใหม่ให้ตรงตามธรรม


อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ฟุ้งมั่วสังขารปรุงแต่งไปในโลกย์


"สังขาร" เห็นพูดหลายหนแระ สังขารที่ว่า ได้แก่ อะไรขอรับ เอาชัดๆ

:b38:
ได้แก่จิตสังขาร ความคิดนึกปรุงแต่งที่ไม่รู้จักหยุดหย่อน ผมหมายถึงตรงนี้ครับ
onion
http://www.nkgen.com/731.htm

อ่านดูในลิ้งค์นี้ถ้าอยากได้รายละเอียด
:b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
grin
ฟุ้งซ่านและทำให้เรื่องมากไปใหญ่เลยกรัชกายเพราะเข้าใจผิดและเอาโลกย์เป็นหลัก

ถ้ามีสติปัญญาดีจริงๆและมีภาคปฏิบัติรองรับเพียงพอ ก็จะได้รู้ด้วยตนเองว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าตัณหาเป็นสมุทัยและสอนให้ละหรือถอนตัณหานั้นมันมีความจริงที่ต้องลงมือภาวนาจริงๆเอาถึงจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่า

ตัณหานั้นมีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นอยู่กับ สักกายทิฏฐิ หรืออัตตา การหมายถอนตัณหานั้นมันเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การถอนทำลายสักกายทิฏฐิอันเป็นสังโยชน์ตัวสำคัญตัวที่ 1 ไปโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรม

ไม่ใช่ฟุ้งมั่วสังขารปรุงแต่งไปในโลกย์อย่างที่กรัชกายคิดเห็นและเข้าใจเลยนะครับ
โปรดทำความเห็นให้ถูกต้องเสียใหม่ให้ตรงตามธรรม


อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ฟุ้งมั่วสังขารปรุงแต่งไปในโลกย์


"สังขาร" เห็นพูดหลายหนแระ สังขารที่ว่า ได้แก่ อะไรขอรับ เอาชัดๆ


ได้แก่จิตสังขาร ความคิดนึกปรุงแต่งที่ไม่รู้จักหยุดหย่อน ผมหมายถึงตรงนี้ครับ


หน้าที่ของจิตคือคิดอารมณ์ มันต้องคิดซี่ เออท่านอโศกนี่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำมาให้ศึกษาคร่าวๆ



สังขาร 1. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ตรงกับคำว่า สังขตะ หรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง"ดังนี้เป็นต้น 2. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล ที่กลางๆเป็นอัพยากฤต ฯลฯ


กายสังขาร 1. ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้า หายใจออก 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม


วจีสังขาร 1. ปัจจัยปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก (ตรึก) และวิจาร (ตรอง) ถ้าไม่มีตรึกตรองก่อนแล้ว พูดย่อมไม่รู้เรื่อง 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา ที่ก่อให้เกิดวจีกรรม


จิตตสังขาร 1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
grin
ฟุ้งซ่านและทำให้เรื่องมากไปใหญ่เลยกรัชกายเพราะเข้าใจผิดและเอาโลกย์เป็นหลัก

ถ้ามีสติปัญญาดีจริงๆและมีภาคปฏิบัติรองรับเพียงพอ ก็จะได้รู้ด้วยตนเองว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าตัณหาเป็นสมุทัยและสอนให้ละหรือถอนตัณหานั้นมันมีความจริงที่ต้องลงมือภาวนาจริงๆเอาถึงจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่า

ตัณหานั้นมีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นอยู่กับ สักกายทิฏฐิ หรืออัตตา การหมายถอนตัณหานั้นมันเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การถอนทำลายสักกายทิฏฐิอันเป็นสังโยชน์ตัวสำคัญตัวที่ 1 ไปโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรม

ไม่ใช่ฟุ้งมั่วสังขารปรุงแต่งไปในโลกย์อย่างที่กรัชกายคิดเห็นและเข้าใจเลยนะครับ
โปรดทำความเห็นให้ถูกต้องเสียใหม่ให้ตรงตามธรรม


อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ฟุ้งมั่วสังขารปรุงแต่งไปในโลกย์


"สังขาร" เห็นพูดหลายหนแระ สังขารที่ว่า ได้แก่ อะไรขอรับ เอาชัดๆ

:b38:
ได้แก่จิตสังขาร ความคิดนึกปรุงแต่งที่ไม่รู้จักหยุดหย่อน ผมหมายถึงตรงนี้ครับ
onion
http://www.nkgen.com/731.htm

อ่านดูในลิ้งค์นี้ถ้าอยากได้รายละเอียด
:b43:



ที่เรียกกันว่าคนนี่แหละธรรมะ ถ้าค้นหาธรรมะนอกจากคนพ้นคนไป จ้างก็ไม่จอง เอ้ยจ้างก็ไม่เจอ แต่ต้องแยกคำว่า "คน" ออกอีกที จึงพบธรรมะล้วนๆ นึกออกไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2017, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
นำมาให้ศึกษาคร่าวๆ



สังขาร 1. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ตรงกับคำว่า สังขตะ หรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง"ดังนี้เป็นต้น 2. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล ที่กลางๆเป็นอัพยากฤต ฯลฯ


กายสังขาร 1. ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้า หายใจออก 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม


วจีสังขาร 1. ปัจจัยปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก (ตรึก) และวิจาร (ตรอง) ถ้าไม่มีตรึกตรองก่อนแล้ว พูดย่อมไม่รู้เรื่อง 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา ที่ก่อให้เกิดวจีกรรม


จิตตสังขาร 1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม



นี่มันคนทั้งเพทั้งระยอง เออ เกาะเสม็ดด้วยเอ้า คิกๆๆ

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร