วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 02:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อโยคีบุคคลปฏิบัติถูกต้องแล้วองค์มรรคทั้งหมด ก็ร่วมกันทำงานสำเร็จผลชั่วขณะจิตเดียว ไม่ต้องรอกินเวลาเป็นชั่วโมงๆเช่นว่านี้หรอก :b1:

อ้างคำพูด:
สนใจอยากรู้ว่าอโศกะเคยทำภาวนาแบบไหน แล้วไปเกิดญาณ 16 จากการภาวนาแบบไหน เชนนั้นหรือ?

ถ้าสนใจก็จะเล่าให้ฟังคร่าวๆเป็นวิทยาทาน

ภาวนาที่อโศกะเคยทำมา

1.พองหนอยุบหนอ....หรือหนอให้ทันปัจจุบันอารมณ์

2.ท่องคาถาปลุกพระ ท่องคาถาหัวใจต่างๆเป็นคาบๆ

3.กำหนดต้นธรรม ตามแบบเจ้ามาวหลวง อ.อริยวังโส(ไทยใหญ่)

4.พิจารณาอนิจจัง ตามแบบหลวงพ่อพุทธวาที (พม่า)

5.สมาธิหมุน (พระอาจารย์รัตน์ รัตนยาโน)

6.พุทโธ (สายหนองป่าพง)

7.อนัตตา (หลวงพ่อธี)

8.กำหนดกระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย(ท่านโกเอ็นก้า)

9.เจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์(ตามภัทเทกรัตคาถา)
ใช้อยู่ประจำในปัจจุบัน

ตอนที่จะรู้ชัดญาณ 16 และปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นการเจริญภาวนาตามแบบที่ 9 โดยธรรมชาติ ไม่ได้ตั้งท่า ไม่ได้เข้ากรรมฐาน มันเกิดขึ้น เจริญไปและไหลไปเองตามธรรม ตอน
วันแรม 14 ค่ำหลังวิสาขะบูชาปี 2542 เริ่มประมาณตีสามกว่า จบปัจจเวกตอนเกือบหกโมงเช้า



คคห. จาก

viewtopic.php?f=1&t=53339&p=402763#p402763

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่นึกคิดเทียบเคียงเอา ว่าน่าจะใช่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดเอาตรงที่อ่านเข้าใจง่ายๆนี้ก่อน (พุทธธรรมหน้า ๘๓๘-๙) พึงสังเกต ถ้าปฏิบัติทางจิตจริงๆ แค่ชั่วขณะจิตเดียว วิบเดียว แต่ถ้าคิดเอาอย่างนั้น จะเอานั่นเอานี่เนี่ยก็ต้องว่ากันเป็นชั่วโมงๆ ดังนั้น ในบางคนคิดเอาว่า บรรลุอรหันต์ บรรลุธรรมขณะยืนเยี่ยวยืนฉี่ :b32: (หลอกสาวกสำเร็จ อิอิ)


........

องค์มรรคสามัคคีพร้อมได้ที่

มรรคมีองค์ ๘ หรืออัฏฐังคิกมรรคนี้ เมื่อเจริญพรั่งพร้อมถึงที่ ก็จะถึงขีด และถึงขณะหนึ่ง ซึ่งองค์มรรคทั้งหมดร่วมกันทำหน้าที่ ให้ เกิดญาณอันแรงกล้าสว่างขึ้นมา หยั่งเห็นสัจธรรม และกำจัดกวาดล้างกิเลสที่หุ้มห่อบีบคั้นจิตออกไป การที่องค์มรรคทั้งหมดทำหน้าที่พร้อมกันเช่นนี้ เรียกว่าเป็น มรรค เพราะเป็นขณะ ซึ่งมีองค์ประกอบทั้งหมดครบเป็นมรรคจริงๆ

เมื่อมรรคทำหน้าที่แล้ว ก็มีภาวะที่เป็นผลตามมา คือความรู้ความเข้าใจในสัจธรรม และความหลุดพ้นจากกิเลส ไร้สิ่งบีบคั้น เป็นอิสระ เรียกสั้นๆว่า ผล

ถ้าทุกอย่างค่อยดำเนินไปตามลำดับ จะมีการทำหน้าที่ของมรรคเช่นนี้ ที่แรงหรือเบ็ดเสร็จยิ่งขึ้น จนเสร็จสิ้นรวมทั้งหมด ๔ คราว หรือ ๔ ขั้น จึงเรียกว่ามรรค ๔ และภาวะที่เป็นผลก็จึงมี ๔ เช่นเดียวกัน รวมเรียกว่า มรรค ๔ ผล ๔ หรืออริยมรรค ๔ อริยผล ๔ คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค อรหัตผล

จะเห็นว่ามรรคนี้ ว่าโดยองค์ประกอบมี ๘ จึงเรียกว่า อัฏฐังคิกมรรค แปลว่า มรรคมีองค์ ๘

แต่ว่าโดยปฏิบัติการ หรือการทำกิจ มี ๔ ลำดับขั้น เรียกกันว่า จตุมรรค แปลว่า มรรค ๔ (คู่กับจตุผล คือ ผล ๔)

อาการที่องค์ธรรมทั้งหลายทำหน้าที่พร้อมกัน ในขณะจิตเดียว ยังผลที่ต้องการให้สำเร็จนี้ ท่านอธิบายว่า ธรรมสามัคคี และธรรมสามัคคี ก็คือ โพธิ อันได้แก่ ความตรัสรู้* (*ม.อ.1/115 ขุทฺทก.อ.93)

ในขณะแห่งมรรคนี้ มิใช่เฉพาะองค์ธรรมเพียง ๘ เท่านั้น แม้โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการก็เกิดขึ้นทำหน้าที่พร้อมหมดในขณะจิตเดียวกัน * (ขุ.ปฏิ.31/527-9/419-424...)

อย่างไรก็ตาม โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดนั้น ก็สรุปลงได้ในองค์มรรคทั้ง ๘ นั่นเอง * (วิสุทฺธิ.3/99-100...) ดังนั้น เมื่อพูดถึงมรรค ก็จึงเป็นอันครอบคลุมถึงธรรมอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อาจมีผู้สงสัยว่า องค์มรรคหลายอย่าง จะทำหน้าที่ในขณะหนึ่งขณะเดียวกันได้อย่างไร โดยเฉพาะองค์ฝ่ายศีล เช่น สัมมาวาจา และสัมมากัมมันตะ ดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องในกรณีอย่างนี้เลย

ปัญหานี้คงจะเข้าใจได้ ด้วยเอาตัวอย่างที่ง่ายกว่าเขาเทียบ เช่น คนยิงปืนแม่น หรือยิงธนูแม่น

ในวันที่มีการประกวดหรือแสดง เราเห็นเขายิงปืนหรือธนูถูกเป้า ประสบความสำเร็จ เขาได้รับชัยชนะ ยิงถูกเป้าด้วยการยิงที่เป็นไปในเวลาขณะเดียวเท่านั้น

ถ้ามองผิวเผิน ก็อาจพูดเพียงแค่ว่า เขามือดีหรือมือแม่นจึงยิงถูก แล้วก็ผ่านไป แต่ถ้ามองเหตุปัจจัยให้ลึกซึ้ง เบื้องหลังความมีมือดี มือแม่น และการยิงถูกขณะเดียวคราวเดียวนั้น เราอาจสืบเห็นการฝึกหัดซักซ้อมที่ใช้เวลาก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นยาวนาน

เขาอาจฝึกตั้งแต่การวางท่า การยืน การวางเท้า วางขา วางไหล่ วางแขน วิธีจับ วิธีประทับอาวุธ การเล็ง การกะระยะ การหัดใช้กำลังให้พอดี ปัญญา ไหวพริบ การตัดสินใจ และจิตใจที่แน่วแน่ เป็นต้นมากมาย จนเกิดความคล่องแคล่วช่ำชอง ทำได้ในเวลาฉับไว เข้าที่ทันที จนรู้สึกเหมือนเป็นไปเอง โดยไม่ต้องมีความพยายาม

ครั้นถึงคราวแสดง ในเวลาที่เขายิงถูกเป้าหมายแม่นยำ อันเป็นไปในขณะเดียวนั้น ย่อมมีความจริงที่เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า การยิงแม่นวิบเดียวนั้น เป็นผลรวมของการจับถือ วางกิริยาท่าทาง ใช้กำลังพอดีด้านร่างกาย ความมั่นใจ จิตตั้งมั่นแน่วแน่ และความรู้ไวไหวพริบทั้งหมดที่เป็นเหตุปัจจัยพรั่งพร้อมอยู่เบื้องหลังตั้งมากมาย

พูดอีกอย่างหนึ่ง กิริยาอาการ ความพอดีของร่างกายทั้งหมด ก็ดี ภาวะจิตใจที่พร้อม และทำงานได้ที่ ก็ดี ปัญญาที่รู้เข้าใจบัญชาให้ตัดสินทำการก็ดี ทำหน้าที่ร่วมกันทั้งหมด ในการยิงขณะเดียวกัน

มองย้อนทางว่า ความพร้อมพอดีของกาย ความพร้อมดีของใจ ความพร้อมพอดีของปัญญา ในเวลาขณะนั้น ก็คือผลของการซักซ้อมฝึกหัดตลอดเวลายาวนานเป็นแรมเดือนแรมปีทั้งหมด

จึงพูดได้ว่า การยิงถูกเป้าขณะเดียวนั้น เป็นผลงานของการฝึกซ้อมที่ยาวนาน เป็นเดือน เป็นปี ทั้งหมด โดยที่ความถนัด ความสามารถ ความชำนิชำนาญ ที่เป็นผลของการฝึกแรมเดือนแรมปีทั้งหมดนั้น ไม่ว่าทางกาย ทางจิตใจ และทางปัญญา ทุกอย่าง ทุกด้าน ทุกส่วน ทำงานร่วมพร้อมกันทั้งหมดในการยิงขณะเดียวนั้น


รูปภาพ

อนึ่ง ณ จุดนี้แหละ ที่ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะความพร้อม หรือแก่กล้าของอินทรีย์ต่างๆ

- บางคนอาจฝึกซ้อมไม่ต้องมาก ก็ประสบความสำเร็จโดยง่าย

- บางคนอาจฝึกหัดใช้เวลานาน แต่ฝึกไปสบายๆ ก็สำเร็จ

- บางคนทั้งฝึกยากลำบาก ทั้งต้องใช้เวลายาวนาน จึงสำเร็จ

- บางคนจะฝึกหัดอย่างไร ก็ไม่ประสบความสำเร็จเลย

นอกเหนือจากความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ความสำเร็จ และความช้าเร็ว เป็นต้น ยังขึ้นต่อปัจจัยอื่นอีก โดยเฉพาะการฝึกที่ถูกวิธี การมีผู้แนะนำ หรือครูดี ที่เรียกว่า กัลยาณมิตร ตลอดจนสภาพในกาย และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


โดยนัยนี้ ท่านจึงจำแนกการปฏิบัติธรรมที่ประสบความสำเร็จออกเป็น ๔ ประเภท เรียกว่า ปฏิปทา ๔ * คือ

๑. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก ทั้งรู้ช้า (มีอภิญญาช้า)

๒. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก แต่รู้เร็ว (มีอภิญญาเร็ว)

๓. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกสบาย แต่รู้ช้า (มีอภิญญาช้า)

๔. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกสบาย ทั้งรู้เร็ว (มีอภิญญาเร็ว)


ในบรรดาองค์ประกอบต่างๆ หลายๆอย่าง ที่ทำให้ปฏิบัติยากหรือง่าย รู้ได้ช้า หรือเร็วนั้น สมาธิก็เป็นปัจจัยแห่งความแตกต่างอย่างหนึ่งด้วย

ได้กล่าวแล้วว่า ผู้ปฏิบัติธรรมอาจเจริญวิปัสสนาไปได้ทันที โดยอาศัยสมาธิขั้นต้นเพียงเล็กน้อย และก็เป็นไปได้ที่จะบรรลุอาสวักขยญาณที่เป็นจุดหมาย แต่ใครจะบำเพ็ญสมถะให้ได้ฌานเสียก่อน เป็นฐานมั่นคงแล้วจึงเจริญวิปัสสนา ก็ได้

ความข้อนี้ ก็มาชัดขึ้นที่เรื่องปฏิปทา ๔ นี้ด้วย กล่าวคือ ท่านแสดงว่า ผู้ที่ได้ฌาน ๔ แล้ว จะมีการปฏิบัติที่เป็นสุขา ปฏิปทา คือ ปฏิบัติสะดวกสบาย

ส่วนผู้ที่เจริญอสุภสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา และมรณสัญญา เป็นต้น (พวกนี้ ตามหลักที่ผ่านมาแล้วว่า ได้อย่างมากเพียงปฐมฌาน หรือเพียงอุปจารสมาธิ) จะมีการปฏิบัติที่เป็น ทุกขา ปฏิปทา คือ ปฏิบัติยากลำบาก ไม่สู้ฉ่ำชื่นในระหว่างปฏิบัติ

……

อ้างอิง *

* (องฺจตุกฺก.21/161-3/200-4; 166-8/207-9 ฯลฯ ตัวอย่างในบาลีในอังคุตตรนิกายว่า พระสารีบุตรเป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา พระมหาโมคคัลลานะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างพุทธพจน์แสดงวิธีปฏิบัติธรรม ซึ่งให้เห็นการที่โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดเนื่องอยู่ด้วยกันกับมรรคมีองค์ ๘ และเป็นวิธีปฏิบัติที่มองเผินๆอาจว่าง่าย ไม่มีอะไรมาก คือ สำหรับผู้พร้อมแล้วก็ง่าย
แต่ผู้ไม่พร้อม อาจยาก และอาจต้องปฏิบัติอะไรๆ อื่นอีกมาก เพื่อให้พร้อม



"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ตามเป็นจริง ซึ่งจักษุ...ซึ่งรูปทั้งหลาย...ซึ่งจักขุวิญญาณ...ซึ่งจักสัมผัส...ซึ่ง เวทนา สุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมไม่ติดใคร่ใน (จักขุ เป็นต้น ที่กล่าวมาแล้ว) นั้น เมื่อเขาไม่ติดใคร่ ไม่ผูกรัดตัว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงความไม่เติบขยายต่อไป ตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ ซึ่งประกอบด้วยความกำหนัดยินดี คอยเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ก็ถูกละได้ ความกระวนกระวายกายก็ดี ความกระวนกระวายใจก็ดี ความแผดเผาทางกายก็ดี ความแผดเผาทางใจก็ดี ความเร่าร้อนกายก็ดี ความเร่าร้อนใจก็ดี ก็ถูกละได้ เขาย่อมได้เสวยทั้งสุขทางกาย ทั้งสุขทางใจ


"บุคคลที่เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้น ก็เป็นก็เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความดำริใด ความดำรินั้น ก็เป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามใด ความพยายามนั้น ก็เป็นสัมมาวายามะ มีสติใด สตินั้น ก็เป็นสัมมาสติ มีสมาธิใด สมาธินั้น ก็เป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีตั้งแต่ต้นทีเดียว มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะของเขา ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้”


เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้ แม้สติปัฏฐาน ๔ ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ แม้สัมมัปปธาน ๔ ...แม้อิทธิบาท ๔ ...แม้อินทรีย์ ๕...แม้พละ ๕...แม้โพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เขาย่อมมีธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนา เข้าเคียงคู่กันเป็นไป"


"ธรรมเหล่าใด พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา * เขาก็กำหนดรู้ด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด พึงละด้วยอภิญญา เขาก็ละด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด พึงให้เกิดมีด้วยอภิญญา เขาก็ทำให้เกิดมีด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด พึงประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา เขาก็ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น"


“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าไหน พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา ? ได้แก่ สิ่งที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ กล่าวคือ รูปอุปาทานขันธ์ เวทนาอุปาทานขันธ์ สัญญาอุปาทานขันธ์ สังขารอุปาทานขันธ์ วิญญาณอุปาทานขันธ์...

“ธรรมเหล่าไหน พึงละด้วยอภิญญา ? ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา..

.“ธรรมเหล่าไหน พึงให้เกิดมี (เจริญ) ด้วยอภิญญา ? ได้แก่ สมถะ และวิปัสสนา”

“ธรรมเหล่าไหน พึงทำให้ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ? ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ”*

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ธ.ค. 2016, 08:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 08:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อโยคีบุคคลปฏิบัติถูกต้องแล้วองค์มรรคทั้งหมด ก็ร่วมกันทำงานสำเร็จผลชั่วขณะจิตเดียว ไม่ต้องรอกินเวลาเป็นชั่วโมงๆเช่นว่านี้หรอก :b1:

อ้างคำพูด:
สนใจอยากรู้ว่าอโศกะเคยทำภาวนาแบบไหน แล้วไปเกิดญาณ 16 จากการภาวนาแบบไหน เชนนั้นหรือ?

ถ้าสนใจก็จะเล่าให้ฟังคร่าวๆเป็นวิทยาทาน

ภาวนาที่อโศกะเคยทำมา

1.พองหนอยุบหนอ....หรือหนอให้ทันปัจจุบันอารมณ์

2.ท่องคาถาปลุกพระ ท่องคาถาหัวใจต่างๆเป็นคาบๆ

3.กำหนดต้นธรรม ตามแบบเจ้ามาวหลวง อ.อริยวังโส(ไทยใหญ่)

4.พิจารณาอนิจจัง ตามแบบหลวงพ่อพุทธวาที (พม่า)

5.สมาธิหมุน (พระอาจารย์รัตน์ รัตนยาโน)

6.พุทโธ (สายหนองป่าพง)

7.อนัตตา (หลวงพ่อธี)

8.กำหนดกระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย(ท่านโกเอ็นก้า)

9.เจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์(ตามภัทเทกรัตคาถา)
ใช้อยู่ประจำในปัจจุบัน

ตอนที่จะรู้ชัดญาณ 16 และปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นการเจริญภาวนาตามแบบที่ 9 โดยธรรมชาติ ไม่ได้ตั้งท่า ไม่ได้เข้ากรรมฐาน มันเกิดขึ้น เจริญไปและไหลไปเองตามธรรม ตอน
วันแรม 14 ค่ำหลังวิสาขะบูชาปี 2542 เริ่มประมาณตีสามกว่า จบปัจจเวกตอนเกือบหกโมงเช้า



คคห. จาก

viewtopic.php?f=1&t=53339&p=402763#p402763

:b32:
กรัชกายพูดแต่ตอนมรรคสมังคีหรืออนุโลมญาณมันจึงแค่พริบตาเดียว

แต่การเกิดญาณตั้งแต่นามรูปปริเฉทญาณ ขึ้นมานั้น ต้องใช้เวลาพอสมควรตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัยของแต่ละคน
มันไม่มีพริบตาเดียวเกิดญาณครบทั้ง 16 ขั้นตอนหรอกนะครับกรัชกาย

ส่วนลุงหมานก็คงคาดเดาอนุมานเอาตามระดับจิตของตนเองมากกว่ามีประสบการณ์จริงนะครับ

"ว่าให้เขา อิเหนาเป็นเอง"

wink


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงที่ * เหนือ คคห.ท่านอโศกขึ้นไป)

* ม.อุ.14/828-831/523-6 ฯลฯ ข้อความที่ตรัสเกี่ยวกับ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เป็นอย่างเดียวกัน

คำว่า "อภิญญา" เป็นคำน่าศึกษามากคำหนึ่ง แปลกันมาว่า ปัญญาอันยิ่ง หรือความรู้ยิ่ง (= อุตตมปัญญา ที่ องฺ.อ.2/8 และอธิกญาณ ที่ วินย. อ. 1/134...อาจแปลโดยอาศัยรูปศัพท์ว่า ความรู้เจาะตรง ความรู้จำเพาะ ความรู้เหนือ (ประจักษ์ทางประสาททั้ง ๕)

คัมภีร์อัฏฐสาลินี และวิสุทธิมัคค์ อธิบายว่า ปัญญาที่เป็นไปตั้งแต่อุปจาระ (อุปจารสมาธิ) จนถึงอัปปนา (อัปปนาสมาธิ) เรียก อภิญญา คัมภีร์ปรมัตถมัญชุสาชี้เฉพาะลงไปอีกว่า อภิญญา คืออัปปนาปัญญา (ปัญญาที่เกิดเมื่อจิตเป็นอัปปนาสมาธิ. ปราชญ์บางท่านแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า direct knowledge บางทีจะเป็นความรู้จำพวก intuition ข้อควรศึกษา คือ น่าตรวจสอบว่า สภาพจิตขณะเกิด intuition เป็นอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เมื่อโยคีบุคคลปฏิบัติถูกต้องแล้วองค์มรรคทั้งหมด ก็ร่วมกันทำงานสำเร็จผลชั่วขณะจิตเดียว ไม่ต้องรอกินเวลาเป็นชั่วโมงๆเช่นว่านี้หรอก :b1:

อ้างคำพูด:
สนใจอยากรู้ว่าอโศกะเคยทำภาวนาแบบไหน แล้วไปเกิดญาณ 16 จากการภาวนาแบบไหน เชนนั้นหรือ?

ถ้าสนใจก็จะเล่าให้ฟังคร่าวๆเป็นวิทยาทาน

ภาวนาที่อโศกะเคยทำมา

1.พองหนอยุบหนอ....หรือหนอให้ทันปัจจุบันอารมณ์

2.ท่องคาถาปลุกพระ ท่องคาถาหัวใจต่างๆเป็นคาบๆ

3.กำหนดต้นธรรม ตามแบบเจ้ามาวหลวง อ.อริยวังโส(ไทยใหญ่)

4.พิจารณาอนิจจัง ตามแบบหลวงพ่อพุทธวาที (พม่า)

5.สมาธิหมุน (พระอาจารย์รัตน์ รัตนยาโน)

6.พุทโธ (สายหนองป่าพง)

7.อนัตตา (หลวงพ่อธี)

8.กำหนดกระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย(ท่านโกเอ็นก้า)

9.เจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์(ตามภัทเทกรัตคาถา)
ใช้อยู่ประจำในปัจจุบัน

ตอนที่จะรู้ชัดญาณ 16 และปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นการเจริญภาวนาตามแบบที่ 9 โดยธรรมชาติ ไม่ได้ตั้งท่า ไม่ได้เข้ากรรมฐาน มันเกิดขึ้น เจริญไปและไหลไปเองตามธรรม ตอน
วันแรม 14 ค่ำหลังวิสาขะบูชาปี 2542 เริ่มประมาณตีสามกว่า จบปัจจเวกตอนเกือบหกโมงเช้า



คคห. จาก

viewtopic.php?f=1&t=53339&p=402763#p402763

กรัชกายพูดแต่ตอนมรรคสมังคีหรืออนุโลมญาณมันจึงแค่พริบตาเดียว

แต่การเกิดญาณตั้งแต่นามรูปปริเฉทญาณ ขึ้นมานั้น ต้องใช้เวลาพอสมควรตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัยของแต่ละคน
มันไม่มีพริบตาเดียวเกิดญาณครบทั้ง 16 ขั้นตอนหรอกนะครับกรัชกาย


ส่วนลุงหมานก็คงคาดเดาอนุมานเอาตามระดับจิตของตนเองมากกว่ามีประสบการณ์จริงนะครับ

"ว่าให้เขา อิเหนาเป็นเอง"



อ้างคำพูด:
แต่การเกิดญาณตั้งแต่นามรูปปริเฉทญาณ ขึ้นมานั้น ต้องใช้เวลาพอสมควรตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัยของแต่ละคน
มันไม่มีพริบตาเดียวเกิดญาณครบทั้ง 16 ขั้นตอนหรอกนะครับกรัชกาย


นั่นเป็นการฝึกซ้อม เหมือนนักมวย หรือนักกีฬาก่อนขึ้นชกจริงหรือก่อนแข่งขันจริง เขาใช้เวลาฝึกซ้อมเป็นปีๆเป็นเดือนๆสม่ำเสมอนินะ :b1: วันแข่งขันจริง แป๊บเดียวรู้ผลแพ้ชนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ย้อนกลับไปตอนที่ข้ามข้างต้น


องค์มรรคสามัคคีพร้อมได้ที่


ดังได้กล่าวแล้วว่า ความมุ่งหมายของสัมมาสมาธิ ก็เพื่อให้เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา หรือพูดให้กว้างว่า เพื่อทำให้จิตเป็นสถานที่เหมาะสมดีที่สุด ที่องค์ธรรมทั้งหลายจะมาทำงานร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์ คือ การรู้แจ้งสัจธรรม กำจัดกิเลส ถึงภาวะดับปัญหาไร้ทุกข์ และก็ได้กล่าวแล้วเช่นกันว่า องค์มรรคทั้ง ๘ ประการ ทำงานประสานสอดคล้องส่งเสริมกัน โดยมีสัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้านำทางไป


จึงเป็นอันได้ความในตอนนี้ว่า องค์มรรคอื่นทั้ง ๗ ข้อ เป็นเครื่องเกื้อหนุนให้กำลังแก่สมาธิ ช่วยให้สมาธิเกิดขึ้นได้ ดำรงอยู่ได้ที่ เป็นสัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่ถูกต้อง ซึ่งจะใช้งานได้ผลตามต้องการ ส่งผลคืบหน้าต่อไปอีกจนถึงจุดหมาย โดยช่วยให้เกิดองค์ธรรมเพิ่มขึ้นอีก ๒ อย่างในขั้นสุดท้าย เรียกว่า สัมมาญาณ (หยั่งรู้ชอบ) และสัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)


เมื่อมองในแง่นี้ ท่านเรียกองค์มรรคอื่นทั้ง ๗ ข้อ ว่าเป็น "สมาธิบริขาร" แปลว่า บริขารของสมาธิ หมายความว่า เป็นเครื่องประกอบ เครื่องแวดล้อม เครื่องหนุนเสริม หรือเครื่องปรุงของสมาธิ

สมาธิที่ประกอบด้วยบริขารนี้แล้ว เรียกว่า เป็นอริยสัมมาสมาธิ นำไปสู่จุดหมายได้ ดังบาลีว่า


"สมาธิบริขาร ๗ ประการเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ทรงจัดวางไว้เป็นอย่างดีแล้ว เพื่ออบรมบ่มสัมมาสมาธิ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสัมมาสมาธิ
เจ็ดประการไหน ? ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ


"เอกัคคตาแห่งจิต ที่แวดล้อมด้วยองค์ ๗ เหล่านี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ ซึ่งมีอุปนิสัย (มีที่อิงที่ยันที่รองรับ) บ้าง มีบริขาร (มีเครื่องประกอบหรือเครื่องช่วยหนุน) บ้าง"


"เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาสังกัปปะจึงพอแก่การ เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอแก่การ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอแก่การ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอแก่การ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอแก่การ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอแก่การ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอแก่การ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณจึงพอแก่การ เมื่อมีสัมมาญาณ สัมมาวิมุตติจึงพอแก่การ" * (* ที.ม. 10/206/248.)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกบอกว่า ตนเองเริ่มเข้าสู่ทางธรรม ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ (หกปี) :b1: ถ้ายังงั้น นับวัน/เดือน/ปี ถึงวันนี้ ก็ไม่น้อยกว่า 60 ปีแล้ว อิอิ สรุปที่ผ่านมาเสียเวลาเปล่า เคยบอกว่าปลูกผักปลูกหญ้าขายยังได้เฮิน :b32: ยิ่งตอนนี้ข้าวยากหมากแพงด้วย เพราะอะไรน่าจะรู้นะ คิกๆๆ

และเคยบอกอีกด้วยว่า ให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ ที่ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ปิดทองฝังลูกนิมิต เป็นต้น ไปก่อน เอาให้แน่นก่อนเชีย บอกไม่เชื่อ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกขอรับ สองตัวอย่างเป็นต้นนี้ โยคีก็ยังอยู่ในขั้นฝึกหัดพัฒนาจิต เขายังต้องประสบพบเจอสภาวะที่แปลกๆขณะเดินทางอีกมากมาย คือตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเห็นเจอะเจอเลย :b1:

พอปฏิบัติไปๆ จิตเริ่มๆจะมีสมาธิบ้างเอาแล้ว (ความจริงก็เดินถูกทาง) แต่ร้อยทั้งร้อยตกม้าตายเลิกกลางคันเอาตอนนี้ ไปไม่ถึงฝั่ง

ดังนั้น วิธีเดินทางทางจิต ซึ่งเป็นนามธรรมที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ... รู้สึกนั่นนี่ รู้สึกยังไงก็ยังงั้น โยคีพึงว่าในใจ (กำหนด) ยังงั้น ทุกๆขณะที่เห็น ได้ยิน เป็นต้น เช่น เห็น ก็เห็นหนอๆๆ (ทันที) ได้ยินเสียง ก็เสียงหนอๆๆ ได้กลิ่น ก็กลิ่นหนอๆๆ รู้ปวดก็ ปวดหนอๆๆ รู้สึกกลัว ก็กลัวหนอๆๆ อย่าเลี่ยงอย่าบิดเบียนความจริง อย่าหลอกตนเอง รู้สึกเป็นสุข ก็สุขหนอๆๆๆ


อ้างคำพูด:
คือเวลานั่งสมาธิแล้วเห็นภาพหัวกะโหลกบ้าง โครงกระดูกบ้าง ทำให้รู้สึกกลัว ทำไมถึงมีภาพเหล่านี้มาปรากฏ


อ้างคำพูด:
คือ เวลาที่นั่งสมาธิสักพัก จิตเริ่มสงบแล้ว ก็เกิดนิมิตเห็นคนหรือวิญญาณไม่แน่ใจค่ะ นั่งก้มหน้าสงบนิ่งอยู่ข้างๆเรา เจอหลายครั้ง บางทีก็มากันหลายคน มีอยู่ครั้งหนึ่งชัดเจนมาก มาด้วยกัน 4 คนค่ะ ผู้ชาย 2 คนหญิงอุ้มลูกเล็กๆอีกหนึ่ง เกิดจากอะไรคะ และทำอย่างไรคะหากเจอแบบนี้ แค่แผ่เมตตาพอหรือเปล่า



ท่านอโศกเคยสังเกตไหม กรัชกายพูดแล้ว จะยกตัวอย่างภาคปฏิบัติประกอบคำพูดทุกครั้ง และก็บอกวิธีแก้อารมณ์ไปพร้อมกัน ซึ่งท่านอโศกไม่มี พูดยังไม่ถูกหลักเลย :b32: ฤๅจะเถียง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 20:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:
เหอะๆๆๆๆๆ......

แนะนำมาดีแล้วแต่กรัชกายจับจุดจับประเด็นสำคัญไม่ได้เอง

"นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา"

คำแนะนี้มันยิ่งกว่าหนอให้ทันทุกอารมณ์เสียอีก

เพราะตราบใดยังพึ่งหนอ มันก็จะเป็นได้แค่
"วิปัสสนาขั้นฝึกหัด"

ทิ้งหรือวางหนอเสียได้ เหลือแต่สติปัญญาโดยธรรมชาติแท้
ทำงานรู้และสังเกตทันปัจจุบันอารมณ์ได้เมื่อไหร่ วิปัสสนาภาวนาจึงจะเดินเครื่องได้เต็มร้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b32:
เหอะๆๆๆๆๆ......

แนะนำมาดีแล้วแต่กรัชกายจับจุดจับประเด็นสำคัญไม่ได้เอง

"นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา"

คำแนะนี้มันยิ่งกว่าหนอให้ทันทุกอารมณ์เสียอีก

เพราะตราบใดยังพึ่งหนอ มันก็จะเป็นได้แค่
"วิปัสสนาขั้นฝึกหัด"

ทิ้งหรือวางหนอเสียได้ เหลือแต่สติปัญญาโดยธรรมชาติแท้
ทำงานรู้และสังเกตทันปัจจุบันอารมณ์ได้เมื่อไหร่ วิปัสสนาภาวนาจึงจะเดินเครื่องได้เต็มร้อย


หนอที่ท่านอโศกว่า มันคืออะไร :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2016, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นพูดหนอ ทิ้งหนอ วางหนอ พอถามว่า หนอที่ว่ามันอะไร เพ่นจนป่าราบ คิกๆๆ

บอกอะไร ? บอกว่า พูดเอา ไม่ใช่รู้จริง ไม่ใช่ปฏิบัติจริง :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron